IPSTAR กำลังจะพุ่งทะยาน
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 13, 2005 9:47 pm
อีก 2 สัปดาห์นำไอพีสตาร์ไปฐานจัดส่ง เชื่อเป็นตัวสร้างรายได้หลักของชินแซทฯ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤษภาคม 2548 18:55 น.
ชินแซทเตรียมเคลื่อนย้ายดาวเทียมไอพีสตาร์ไปที่ฐานจัดส่ง หลัง ผ่านการตรวจรับบนภาคพื้นดินขั้นสุดท้ายแล้ว มั่นใจจะเป็นตัวสร้างรายได้หลักในกลุ่ม พร้อมโชว์ผลประกอบการไตรมาสแรกรอบปี 2548 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,229 ล้านบาท คิดเป็นกำไร 201 ล้านบาท
นายธนฑิต เจริญจันทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานการเงินและบัญชี บริษัท ชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าของดาวเทียมไอพีสตาร์-1 ว่า การจัดสร้างดาวเทียมได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และผ่านการตรวจรับบนภาคพื้นดินแล้ว ซึ่งขณะนี้ Space System Loral ได้เก็บรักษาดาวเทียมไว้ เพื่อรอการจัดส่งไปยังฐานยิงจรวด ซึ่งคาดว่าหลังจากนี้ไปจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการย้ายดาวเทียมไปที่ประเทศเฟรนซ์เกียร์น่า ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ซึ่งจะใช้เป็นฐานจัดส่งดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยบริษัท แอเรียนสเปซ
ส่วนภาพรวมเกี่ยวกับธุรกิจของชินแซทฯ ในช่วงไตรมาสแรกรอบปี 2548 ประเภทดาวเทียมและธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับดาวเทียมนั้น ตลาดมีการขยายตัวเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโต จึงทำให้มีการใช้งานเครือข่ายดาวเทียมเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ภาวการณ์แข่งขันก็มีความรุนแรงเช่นกัน เพราะช่องสัญญาณดาวเทียม (ทรานสปอนเดอร์) ที่มีให้บริการในบางพื้นที่มีมากกว่าความต้องการใช้งาน
สำหรับลูกค้าหลักของดาวเทียมไทยคม ยังเป็นกลุ่มประเทศในแถบอินโดจีน โดยการพัฒนาเทคโนโลยีและรูปแบบการประยุกต์ใช้งานดาวเทียม ส่งผลให้มีการใช้งานดาวเทียมเพิ่มขึ้น เช่น ระบบโทรศัพท์ทางไกลชนบทผ่านดาวเทียม ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบออกอากาศโทรทัศน์โดยตรงผ่านดาวเทียม หรือดีทีเอช
นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว ชินแซทฯ ยังมีการจำหน่ายอุปกรณ์ปลายทางไอพีสตาร์ (ยูที) รุ่น ASIC ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับไอพีสตาร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับอุปกรณ์ และมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง แต่ประสิทธิภาพดีขึ้นในช่วงไตรมาแรกของปีนี้ด้วย ขณะเดียวกันก็ยังมีบริการประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการอินเทอร์เน็ต บริการโทรศัพท์ในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในลาว กัมพูชา และอีกหลายประเทศ
จากการให้บริการประเภทต่างๆ ในช่วงไตรมาสแรก ชินแซทฯ ได้เผยถึงผลประกอบการโดยแจ้งว่า มีรายได้จากการขายและบริการจากการให้บริการวงจรดาวเทียมที่ให้บริการโดยชินแซทฯ รายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการโดยแอลทีซี แคมชิน และเอสบีไอ รายได้จากการให้บริการโทรศัพท์ ที่ให้บริการในนามแอลทีซี และแคมชินรวมทั้งสิ้น 1,229 ล้านบาท คิดเป็นกำไร 201 ล้านบาท
รายได้ดังกล่าวเป็นรายได้มาจากการให้บริการโทรศัพท์ในประเทศลาวและกัมพูชา จำนวน 460 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.2% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ทำได้ 340 ล้านบาท ส่วนปัจจัยที่ทำให้โตเพราะผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินหรือพรีเพดเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ผู้บริหารชินแซทฯ ยังเชื่อว่า หลังมีการขยายโครงข่ายระบบซีดีเอ็มเอทั้ง 2 ประเทศโดยเฉพาะบริเวณที่สายโทรศัพท์เข้าไม่ถึง จะทำให้ชินแซทฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้
นอกจากนี้เป็นรายได้จากบริการวงจรดาวเทียม และไอพีสตาร์จำนวน 755 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 โดยเป็นรายได้จากบริการไอพีสตาร์ ประเภทการขายยูทีเพิ่มขึ้น 107% ส่วนรายได้จากธุรกิจอินเทอร์เน็ต หากรวมรายได้ส่วนของซีเอสแอลมีรายได้อยู่ที่ 352 ล้านบาท หรือลดลง 1.4%
อย่างไรก็ตาม หลังจากบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ หรือซีเอสแอล จำหน่ายหุ้นให้กับประชาชน (ไอพีโอ) เป็นครั้งแรกในเดือน เม.ย. 2547 ทำให้ชินแซทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นในซีเอสแอลลดลง ทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีการรับรู้ผลการดำเนินงานของซีเอสแอล จากวิธีงบการเงินรวมเป็นวิธีส่วนได้เสีย การเปรียบเทียบงบการเงินของชินแซทฯ ระหว่างไตรมาสแรกปีนี้ และไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมาต้องจัดทำในวิธีที่ต่างกัน
แล้ว หุ้น SATTEL จะพุ่งหรือเปล่า
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤษภาคม 2548 18:55 น.
ชินแซทเตรียมเคลื่อนย้ายดาวเทียมไอพีสตาร์ไปที่ฐานจัดส่ง หลัง ผ่านการตรวจรับบนภาคพื้นดินขั้นสุดท้ายแล้ว มั่นใจจะเป็นตัวสร้างรายได้หลักในกลุ่ม พร้อมโชว์ผลประกอบการไตรมาสแรกรอบปี 2548 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,229 ล้านบาท คิดเป็นกำไร 201 ล้านบาท
นายธนฑิต เจริญจันทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานการเงินและบัญชี บริษัท ชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าของดาวเทียมไอพีสตาร์-1 ว่า การจัดสร้างดาวเทียมได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และผ่านการตรวจรับบนภาคพื้นดินแล้ว ซึ่งขณะนี้ Space System Loral ได้เก็บรักษาดาวเทียมไว้ เพื่อรอการจัดส่งไปยังฐานยิงจรวด ซึ่งคาดว่าหลังจากนี้ไปจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการย้ายดาวเทียมไปที่ประเทศเฟรนซ์เกียร์น่า ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ซึ่งจะใช้เป็นฐานจัดส่งดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยบริษัท แอเรียนสเปซ
ส่วนภาพรวมเกี่ยวกับธุรกิจของชินแซทฯ ในช่วงไตรมาสแรกรอบปี 2548 ประเภทดาวเทียมและธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับดาวเทียมนั้น ตลาดมีการขยายตัวเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโต จึงทำให้มีการใช้งานเครือข่ายดาวเทียมเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ภาวการณ์แข่งขันก็มีความรุนแรงเช่นกัน เพราะช่องสัญญาณดาวเทียม (ทรานสปอนเดอร์) ที่มีให้บริการในบางพื้นที่มีมากกว่าความต้องการใช้งาน
สำหรับลูกค้าหลักของดาวเทียมไทยคม ยังเป็นกลุ่มประเทศในแถบอินโดจีน โดยการพัฒนาเทคโนโลยีและรูปแบบการประยุกต์ใช้งานดาวเทียม ส่งผลให้มีการใช้งานดาวเทียมเพิ่มขึ้น เช่น ระบบโทรศัพท์ทางไกลชนบทผ่านดาวเทียม ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบออกอากาศโทรทัศน์โดยตรงผ่านดาวเทียม หรือดีทีเอช
นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว ชินแซทฯ ยังมีการจำหน่ายอุปกรณ์ปลายทางไอพีสตาร์ (ยูที) รุ่น ASIC ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับไอพีสตาร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับอุปกรณ์ และมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง แต่ประสิทธิภาพดีขึ้นในช่วงไตรมาแรกของปีนี้ด้วย ขณะเดียวกันก็ยังมีบริการประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการอินเทอร์เน็ต บริการโทรศัพท์ในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในลาว กัมพูชา และอีกหลายประเทศ
จากการให้บริการประเภทต่างๆ ในช่วงไตรมาสแรก ชินแซทฯ ได้เผยถึงผลประกอบการโดยแจ้งว่า มีรายได้จากการขายและบริการจากการให้บริการวงจรดาวเทียมที่ให้บริการโดยชินแซทฯ รายได้จากบริการอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการโดยแอลทีซี แคมชิน และเอสบีไอ รายได้จากการให้บริการโทรศัพท์ ที่ให้บริการในนามแอลทีซี และแคมชินรวมทั้งสิ้น 1,229 ล้านบาท คิดเป็นกำไร 201 ล้านบาท
รายได้ดังกล่าวเป็นรายได้มาจากการให้บริการโทรศัพท์ในประเทศลาวและกัมพูชา จำนวน 460 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.2% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ทำได้ 340 ล้านบาท ส่วนปัจจัยที่ทำให้โตเพราะผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินหรือพรีเพดเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ผู้บริหารชินแซทฯ ยังเชื่อว่า หลังมีการขยายโครงข่ายระบบซีดีเอ็มเอทั้ง 2 ประเทศโดยเฉพาะบริเวณที่สายโทรศัพท์เข้าไม่ถึง จะทำให้ชินแซทฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้
นอกจากนี้เป็นรายได้จากบริการวงจรดาวเทียม และไอพีสตาร์จำนวน 755 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 โดยเป็นรายได้จากบริการไอพีสตาร์ ประเภทการขายยูทีเพิ่มขึ้น 107% ส่วนรายได้จากธุรกิจอินเทอร์เน็ต หากรวมรายได้ส่วนของซีเอสแอลมีรายได้อยู่ที่ 352 ล้านบาท หรือลดลง 1.4%
อย่างไรก็ตาม หลังจากบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ หรือซีเอสแอล จำหน่ายหุ้นให้กับประชาชน (ไอพีโอ) เป็นครั้งแรกในเดือน เม.ย. 2547 ทำให้ชินแซทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นในซีเอสแอลลดลง ทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีการรับรู้ผลการดำเนินงานของซีเอสแอล จากวิธีงบการเงินรวมเป็นวิธีส่วนได้เสีย การเปรียบเทียบงบการเงินของชินแซทฯ ระหว่างไตรมาสแรกปีนี้ และไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมาต้องจัดทำในวิธีที่ต่างกัน
แล้ว หุ้น SATTEL จะพุ่งหรือเปล่า