หน้า 1 จากทั้งหมด 1
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 30, 2005 10:58 pm
โดย สามัญชน
:lol: :lol: :lol: :lol:
มีความเชื่อเกี่ยวกับการเลือกหุ้นที่ดีมากมาย ที่ผมเชื่อมากที่สุดคือ เลือกหุ้นหรือบริษัทที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน เพราะว่า
1. ฟันฝ่าอุปสรรคได้มากกว่าและยาวนานกว่า รวมทั้งโดนกระทบจากคู่แข่งน้อยกว่า
2. เป็นคำพูดของบัฟเฟตต์ ผู้ซึ่งเล่นหุ้นจนกระทั่งรำรวยที่สุดในโลก แม้จะเป็นการเชื่อที่ตัวบุคคลซึ่งดูจะค้านกับกาลามสูตร แต่เขาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วด้วยระยะเวลาที่ยาวนานว่าวิธีของเขาเป็นวิธีที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่เป็นนักลงทุนด้วยกัน( ก็เขารวยที่สุดนี่นา ผมสรุปจากผลมาเหตุดื้อๆ อิอิ )
3.เขาเลือกและซื้อหุ้นเสมือนว่าเขาลงทุนทำธุรกิจนั้นๆจริงๆ ซึ่งตรงกับปรัชญาการลงทุนมากกว่าวิธีอื่นๆ
แต่ผมก็ยังรู้สึกลึกๆว่ายังมีอะไรที่ขัดๆอยู่แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร คือสงสัยว่ามันมีด้วยหรือสิ่งที่ยั่งยืนนิจนิรันด์ ( เห็นมีแต่เพลงเท่านั้นเอง ที่เขามีรวมฮิตอมตะนิรันด์กาล อิอิ )
ผมเคยลองตอบคำถามนี้หลายๆครั้งก็ไม่พบว่ามีอะไรสะดุด
1. เคยได้ยินหลัก demand supply ว่าถ้าธุรกิจใหนดีมีกำไรเยอะๆ เดี๋ยวก็จะมีคนแห่มาทำ กำไรก็จะโดนแบ่งๆไป สุดท้ายกำไรก็จะอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยที่พอๆกับที่ธุรกิจอื่นทำได้ แต่เรื่องนี้ใช้ไม่ได้กับธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน เพราะชื่อก็บอกสรรพคุณอยู่ในตัวว่าเข้ามาแข่งไม่ได้ง่ายๆ
2.เคยได้ยินหลักเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่อง invisible hand ( ขอยืมชื่อท่าน IH นะครับ ผมชอบชื่อนี้จัง ) ที่จะมาปรับอะไรๆที่ไม่สมดุลให้สมดุลขึ้น แต่เรื่องนี้ก็คล้ายๆกับข้อแรก เผลอๆอาจจะเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่ข้อแรกเป็นเรื่องที่มองเห็นง่ายกว่า แต่ข้อหลังนี้ อาจจะยังอยู่ในกล่องดำ ยังล่องหนอยู่
3.สุดท้ายผมเคยอ่านหนังสือของคุณเฟยหง เขาถามคุณเฟยหงว่าเคยคิดจะซื้อหุ้นแล้วเก็บไว้ยาวนานเป็นสิบปีหรือไม่ คุณเฟยหงตอบว่า วัฏฏะสงสารเป็นคำตอบสำหรับเรื่องนี้
วัฏฏะสงสารเป็นเรื่องที่เป็นสัจจธรรม ถูกต้องมานานแล้ว ปัจจุบันก็ยังไม่มีอะไรมาแย้งได้ ???? อ้าว...แล้วหุ้นที่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืนของบัฟเฟตต์ล่ะ ???? มันผิดธรรมชาติตรงไหน
ผมเพิ่งจะได้คิดว่า :lol: ถูกต้องแล้วทุกฝ่าย กล่าวคือ หุ้นทุกตัว ( ไม่มียกเว้น ) ล้วนแล้วแต่มีวัฏจักรของมัน ล้วนแล้วแต่อยู่ในวัฎฎะสงสาร บางตัวรอบสั้นปีหนึ่งก็ครบวัฏจักร บางตัวอาจจะใช้เวลา 4-5 ปีก็จะครบรอบเกิดแก่เจ็บตาย ( แล้วฟื้นคืนชีพใหม่หรืออาจตายไปเลย ) แต่หุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนอาจจะมีรอบที่ยาวกว่ามากๆเช่น 20-40 ปี เป็นต้น
ผมเข้าใจถูกใหมครับ
:lol: :lol: :lol: :lol:
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 30, 2005 11:03 pm
โดย Mon money
จริงครับคุณหมอ มันเป็นความแน่นอนว่าทุกสิ่งไม่แน่นอน
แต่...
ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน นั้นมันจะถูกทำลายได้ยากกว่าแบบทั่วๆไป
Warren กล่าวว่า ถ้ามองไม่เห็นว่าความสามารถในการแข่งขันใน10ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไรก็อย่าไปยุ่งกับมัน ถ้าเราเห็นและมันเกิดเปลี่ยนแปลงเราจะเห้นก่อนใคร....
หมายความว่า ...เผ่นได้ก่อนชาวบ้านครับ
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 30, 2005 11:17 pm
โดย Jeng
อืม ผมคิดว่า เรากำลังคิดในกรอบของเรา และวอเรนก็กำลังคิดในกรอบของเขา
เท่าที่ผมเห็น เมกากับเมืองไทย เหมือนคนละโลกเลย
ผมว่าไม่ไทยก็เมกา ต้องเป็นมนุษย์ต่างดาวแน่นอน
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 31, 2005 12:43 am
โดย genie
ในหลักทางเศรษฐศาสตร์ แม้ว่าจะอธิบายเรื่อง Economic Cycle ไว้ก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันด้วยการแข่งขันตามกลไกตลาดแล้ว สุดท้ายจะเหลือเพียง Player ที่จำกัดเท่านั้นที่จะสามารถอยู่รอดได้ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโดยองค์รวม(เช่นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ฯลฯ) ยกตัวอย่างเช่น โค้กกับเป็บซี่ ที่เห็นตัวอย่างได้ชัดหน่อย ก่อนที่จะเหลือแค่ โค้กกับเป็บซี่ ในอดีตย่อมมี Player หลายรายเข้ามาแข่งขันกัน ซึ่งถ้าพอจะจำได้เลือนลางบ้างก็จะมี RC, ซาสี่, ฯลฯ ที่ผมอาจจะเกิดไม่ทัน ซึ่งหลังจากผ่านการแข่งขันทั้งทางด้านราคาก็ดี ภาพลักษณ์ก็ดี สุดท้ายจะเหลือเพียง Player ที่สามารถบริหารต้นทุนได้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่านั้นที่จะอยู่รอด (คำว่าต้นทุนไม่ใช่เพียงการผลิตเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงต้นทุนทุกชนิดเช่น ค่าความนิยม(Product) ช่องทางการจัดจำหน่าย(Place) ต้นทุนการผลิต(Price) หรือ ความสามารถในการสร้างกระแสอย่างต่อเนื่อง(Promotion) เป็นต้น) ดังนั้นอาจจะเป็นด้วยทุนก็ดี ภาพลักษณ์ก็ดี ความต่อเนื่องในการสร้างความจดจำก็ดี รวมถึงการบริหารภายในก็ดี สิ่งเหล่านี้จะชี้ให้เห็นว่าผู้ที่มี Cost ต่ำที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่รอด(ตายเป็นคนสุดท้าย) จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขององคาภยพของอุตสาหกรรม และผู้ที่เหลือรอดนี่แหละเป็นที่มาของ ธุรกิจที่มีศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 31, 2005 10:44 am
โดย genie
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 31, 2005 10:42 pm
โดย มือเก่าหัดขับ
ธุรกิจหลายๆ อย่าง มี Entry Barrier ค่อนข้างสูงครับ
ไม่ได้เข้ามาง่ายๆ อย่างที่คิดครับ แม้ Demand จะมาก Supply จะค่อนข้างน้อย
แต่ผู้เล่นรายใหม่ จะหาทุนจากคนที่รอนานๆ ได้ คงจะยากเหมือนกัน
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 31, 2005 10:46 pm
โดย CK
มีความเชื่อเกี่ยวกับการเลือกหุ้นที่ดีมากมาย ที่ผมเชื่อมากที่สุดคือ คุณธรรมผู้บริหารครับ
อย่างอื่นเป็นเรื่องรองลงไปมากๆ
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 01, 2005 6:16 pm
โดย MO101
ผมเชื่อ วัฏฏะสงสาร ครับ
จับตาดูๆ ว่าปู่บัฟ จะหาวิธีโยกเงินทุนอันมหาศาลอย่างไรก่อนศก เมกาพัง
ตอนนี้เห็นลงทุนใน เงิน และก็ พลังงาน แล้ว
เลยเดาว่าปู่กำลังย้ายเงินแล้วครับ
ถ้าจำกันได้ ยุกเฟื่องฟูของเพลงและVDO
คงประมาณ ปี 40 นะครับ 8 ปี อะไรๆ ก็เปลี่ยนVHS กลายเป็น VCD DVD
ส่วนตอนนี้จับตาเทคโนโลยี MP3 ดีๆ ครับ
เครื่องเล่นพกพาตอนนี้เป็น MP3 แล้วเล่น MP3 ไม่ได้ขายไม่ออก แต่ ...(เติมเอง)
ไม่ยอมผลิตผลงานออกมาเป็น MP3 จะฝืนกระแสไปได้สักเท่าไหร่กัน
เสริมอีกนิดครับ
โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 26, 2007 1:51 pm
โดย path2544
genie เขียน:ในหลักทางเศรษฐศาสตร์ แม้ว่าจะอธิบายเรื่อง Economic Cycle ไว้ก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันด้วยการแข่งขันตามกลไกตลาดแล้ว สุดท้ายจะเหลือเพียง Player ที่จำกัดเท่านั้นที่จะสามารถอยู่รอดได้ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโดยองค์รวม(เช่นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ฯลฯ) ยกตัวอย่างเช่น โค้กกับเป็บซี่ ที่เห็นตัวอย่างได้ชัดหน่อย ก่อนที่จะเหลือแค่ โค้กกับเป็บซี่ ในอดีตย่อมมี Player หลายรายเข้ามาแข่งขันกัน ซึ่งถ้าพอจะจำได้เลือนลางบ้างก็จะมี RC, ซาสี่, ฯลฯ ที่ผมอาจจะเกิดไม่ทัน ซึ่งหลังจากผ่านการแข่งขันทั้งทางด้านราคาก็ดี ภาพลักษณ์ก็ดี สุดท้ายจะเหลือเพียง Player ที่สามารถบริหารต้นทุนได้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่านั้นที่จะอยู่รอด (คำว่าต้นทุนไม่ใช่เพียงการผลิตเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงต้นทุนทุกชนิดเช่น ค่าความนิยม(Product) ช่องทางการจัดจำหน่าย(Place) ต้นทุนการผลิต(Price) หรือ ความสามารถในการสร้างกระแสอย่างต่อเนื่อง(Promotion) เป็นต้น) ดังนั้นอาจจะเป็นด้วยทุนก็ดี ภาพลักษณ์ก็ดี ความต่อเนื่องในการสร้างความจดจำก็ดี รวมถึงการบริหารภายในก็ดี สิ่งเหล่านี้จะชี้ให้เห็นว่าผู้ที่มี Cost ต่ำที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่รอด(ตายเป็นคนสุดท้าย) จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขององคาภยพของอุตสาหกรรม และผู้ที่เหลือรอดนี่แหละเป็นที่มาของ ธุรกิจที่มีศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
ปัจจัยอีกตังที่มีผลสูง คือ การเมือง ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ เนื่องจากเป็นตัวคุมกฎ กติกา และมารยาท
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 06, 2008 4:03 pm
โดย kmphol
ป้อมค่ายคูเมืองของธุรกิจที่ ดร นิเศน์เขียนไว้ มีดังนี้ครับ
1. Brand Loyalty
2. สัญญาซื้อขายระยะยาว ที่กำหนดราคาขายและความเสี่ยงเรื่องการปรับขึ้นของต้นทุนอย่างชัดเจน
3. สัมปทานที่ผูกขาดและโอกาสเปิดเสรีมีน้อย
4. ขนาดของธุรกิจที่ใหญ่และแข่งกันเรื่อง economy of scale / economy of scope
5.Management Team และ Know How ในการผลิตหรือบริการ
6.มี franchise และ network มีทำเลที่ดี และจะดีแบบนี้ต่อไปอีกนาน(จนกว่าจะมีระเบิดมาลง) ครอบคลุมทุกแหล่งซึ่งคู่แข่งที่ขนาดใหญ่กว่าไม่สามารถมาแย่งทำเลเหล่านี้ไปได้ (ข้อนี้ผมเติมให้เองครับ)
นอกจากนี้มีใครพอจะเพิ่มเติมได้บ้างครับ
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 06, 2008 8:29 pm
โดย mprandy
ปกติกระทู้ในห้องคลังกระทู้คุณค่านี้ ผมอ่านอย่างเดียวเพราะว่ามีแต่กระทู้สุดยอดของเหล่าเซียนเหยียบเมฆทั้งนั้น แต่ขออาจเอื้อมให้ความเห็นกระทู้ของพี่หมอครับเพราะผมเคยสงสัยเหมือนกัน
จนกระทั่งได้ไปอ่านหนังสือ Dhandho Investor ของ Monish Pabrai เมื่อปีก่อน เลยถึงบางอ้อครับ
1. Business cycle เป็นเรื่องจริงแท้แน่นอนในโลกธุรกิจ ทุกสิ่งในโลกล้วนอนิจจัง มีขึ้นย่อมมีลงเป็นธรรมดา ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจที่มี DCA (moat) อย่างไรก็ดี บางคนเขามองว่าการเข้าสู่วัฏจักรขาลงของธุรกิจ เป็นสิ่งดีสำหรับธุรกิจยอดเยี่ยมด้วยซ้ำไป เพราะการวัดฝีมือของผู้บริหาร และกิจการ มันวัดกันได้ยากถ้าตลาดเฟื่องฟูเพราะทุกคนมีแต่ได้กำไรกันหมด แต่มันจะเห็นชัดเอาตอนยากลำบากนี่แหละ เปรียบเหมือนหมู่เรือประมง พอถึงเวลาพายุเข้า ทุกลำก็เจอมรสุมกันทั่ว แต่มันจะต่างกันตรงที่ เรือที่จะยังอยู่รอดหลังพายุสงบต้องเป็นเรือที่แข็งแรง, กัปตันเก่ง ธุรกิจที่มี DCA ที่ดีจริง จะสามารถรอดมรสุมได้ในขณะที่คู่แข่งพากันล้มหายตายจากไป ผลหลังมรสุมธุรกิจ กลับทำให้ DCA ของกิจการแข็งแกร่งขึ้นมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ
2. อย่างไรก็ดี DCA เป็นอนิจจังเช่นเดียวกัน คู่แข่งพยายามบุกโจมตี ก้าวข้ามคูเมือง กำแพงสูง ที่ล้อมรอบความได้เปรียบอยู่ตลอดเวลา แม้ moat จะกว้างและแข็งแรงขนาดไหน ถ้าไม่มีการปรับปรุงย่อมต้องพังทลายไม่เร็วก็ช้า ธุรกิจที่แข็งแกร่ง และมี DCA ที่ยั่งยืน ย่อมต้องพยายามปรับปรุง ป้องกันกำแพงของตนเองให้แข็งแกร่งอยู่เสมอ
การมองดู DCA อันแข็งแกร่งในอดีตจึงไม่ได้เป็นตัวทำนายได้เสมอว่ากิจการจะยังมี DCA ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ผู้ลงทุนจึงจำเป็นต้องคอยตรวจสอบผู้บริหารและกิจการอยู่เสมอว่า จะดำรงความได้เปรียบที่มีอยู่ และมีการปรับตัว ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงอะไรที่จะพยายามบำรุงรักษา DCA ของกิจการให้แข็งแกร่งได้ต่อไป
(ใครไม่เชื่อเรื่อง อนิจจังของ DCA ลองย้อนกลับไปดูบริษัทชั้นนำ 30 แห่งที่ประกอบกันเป็น Dow Jones Industrial Average เมื่อครั้งสถาปนาดัชนีตัวนี้ เทียบกับปัจจุบันว่าเหลือกิจการที่ยังไม่ล้มหายตายจากซักกี่ตัว)
คิดว่าไอเดียนี้ พอไหวหรือเปล่าครับ
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 19, 2009 8:14 am
โดย dome@perth
ขุดกระทู้ขึ้นมาอ่านอีก ครับ
ในสภาวะ ที่พายุกำลัง โหมกระำหน่ำ
จะมีเรือประมง (จากตัวอย่างของหมอด้า)
รำไหนบ้างรอดพ้น
ยืนหยัดหลังพายุสงบ แล้วหาปลาได้ตามปกติ
แล้วรำไหนบ้าง ล่มหายตายจากไป
ใครคือ DCA ตัวจริง
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 19, 2009 5:43 pm
โดย noooon010
ขอบคุณมากๆนะครับผม
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 15, 2009 11:40 am
โดย baby-investor
เป็นกระทู้ที่มีคุณค่าอีกกระทู้นึงครับ
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 03, 2009 11:27 am
โดย slowseaa
บางครั้งซื้อหุ้น ผมว่าบางทีก้อไม่อยากจะหาเหตุผลนะครับ 55 เเบบเหนธุรกิจดี ผมก้อซื้อเลย ไม่คิดมาก
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 24, 2009 11:07 pm
โดย luckyman
ผมมองไม่ออกว่า 7-11 ถ้าถึงช่วงขาลงจะเป็นยังไงครับ
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 25, 2009 6:34 am
โดย sai
piggyman007 เขียน:ผมมองไม่ออกว่า 7-11 ถ้าถึงช่วงขาลงจะเป็นยังไงครับ
ไม่ทราบที่ญี่ปุ่นจะเรียกเป็นขาลงของ 7-11 ได้หรือไม่ครับ :lol:
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 29, 2009 12:47 pm
โดย centrady
เป็นหุ้น แบบเดียว กับที่ ดร นิเวศน์ เรียกว่าหุ้น prime รึเปล่าครับ ผมเข้าใจว่าเป็นแบบเดียวกันนะ ไม่ทราบถูกมั้ยครับ
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 05, 2010 12:17 pm
โดย kabu
sai เขียน:
ไม่ทราบที่ญี่ปุ่นจะเรียกเป็นขาลงของ 7-11 ได้หรือไม่ครับ
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 02, 2010 7:54 pm
โดย Croyoty
ผมเชื่อลึกๆครับว่า 7-11 จะมีคู่แข่งและอาจจะครองตลาดได้ที่1ไม่ตลอดไป
เพราะคนที่ชอบ 7-11 ฝันจะมีร้านเอง แล้วโดน 7-11 เอาเปรียบเอง เช่น มาเปิดร้านของบริษัทแข่งแย่งยอดขาย ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะได้ เรื่องมากในการเลือกผู้ลงทุนอันนี้ทำให้เกิดแผลในใจคนที่ชอบและแนวคิดเกลียด 7-11 จะค่อยๆขึ้นมาๆๆ และจะแผ่กันต่อไปเรื่อนๆ
ถ้ายังไม่มีธรรมาภิบาล เช่น ถ้าสาขาแฟรนไชส์ไหนขายดีจัด ต้องให้เจ้าของเดิมขยายสาขาเอง ไม่ใช่ของบริษัทเองมาแย่งเปิด ได้ส่วนแบ่งจากแฟรนไชส์อีก
กินนิ่มทั้งยวง
ลึกๆครับ ผมมองว่า 7-11 อยู่เป็นอันดับ 1 ได้ ไม่เกิน 20 ปีครับ :x
วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 02, 2010 7:58 pm
โดย Croyoty
Family mart ราคาสินค้าเดียวกันหลายรายการจะถูกกว่านะครับ ไม่ว่าจะถูกกว่าโดยราคาตรง หรือมีโปรโมชั่น สินค้าลดราคามากกมายต่างๆ
คุณภาพสินค้าก็เดียวกัน คือจากผู้ผลิตครับ
โอกาสของfamily mart เห็นว่าจะจับมือกับ yamasaki + พรานทะเล
จะเพิ่ม bakery กับ ready meal สู้กับเซเว่น
ผมว่าเราbiasชอบ 7-11 กันมากไปรึเปล่า
ธรรมาภิบาลกับแฟรนไชส์family martก็ดีกว่า 7-11
ปล.ผมไม่มีร้าน ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับ ทั้ง 7-11 และfamily mart ครับ
Re: วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 08, 2012 12:58 am
โดย kongkiti
เกิดข็้น ตั้งอยู่ และดับไปครับ
Re: วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งย
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 21, 2012 12:19 am
โดย Nevercry.boy
เอาจริง ๆ แล้ว ผมว่า อาณาจักรธุรกิจหนึ่งรอบวัฏฏะ = หนึ่งชีวิตของ CEO
Re: วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งย
โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 22, 2012 3:03 pm
โดย Nevercry.boy
มีนักลงทุนที่เชื่อเรื่องหุ้นและวัฏฏะ และอธิบายไว้ดีชัด โดย ดร.นิเวศน์ ของเรานี่เองครับ เกี่ยวกับ T.Lowe Price ซึ่ง ดร. เขียนบทความไว้นานแล้ว ผมคิดว่าเกี่ยวข้องกันเลยขอบันทึกไว้ครับ
Monday, 18 August 2008
Mr. Growth Stock
ถ้าจะให้ Vote กันว่าใครคือคนที่จะเรียกว่าเป็น “Father Of Growth Stock” หรือ “บิดาแห่งการลงทุนในหุ้นโตเร็ว” คนที่จะได้รับคะแนนสูงสุดน่าจะเป็น T. Rowe Price เหตุผลก็คือ เขาเป็นคนแรก ๆ ในตลาดหุ้นนิวยอร์คที่พูดถึงวิธีการลงทุนในหุ้นที่โตเร็วซึ่งคนยังไม่สนใจกัน เพราะก่อนหน้าที่เขาจะพูดนั้นนักลงทุนในวอลสตรีทต่างก็มองว่าหุ้นทุกตัวนั้นเป็นหุ้น Cyclical หรือหุ้นวัฏจักร นั่นคือ มันจะขึ้นลงตามวัฏจักรของเศรษฐกิจ แต่ ที โรว์ ไพร้ซ์ มองต่างออกไป ในปี 1939 เขาเขียนว่า “กำไรของบรรษัทส่วนใหญ่จะผ่านวัฏจักรของชีวิตซึ่งคล้าย ๆ กับชีวิตของคนที่มีช่วงชีวิตสำคัญสามช่วง นั่นคือ เติบโต อิ่มตัว และเสื่อมถอย” ดังนั้น เขาจึงกำหนดแผนการลงทุนที่จะทำให้เขาสามารถเอาชนะตลาดได้โดยการลงทุนในช่วงต้นของวัฏจักร โดยวิธีการนี้และหลังจากการวิเคราะห์อย่างเข้มข้น เขาได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัทที่คนยังไม่ค่อยรู้จักแต่กำลังเติบโตหลายบริษัทเช่น IBM โคคาโคล่า P&G ดาวเคมิเคิล และถือไว้จนกระทั่งมันทำกำไรให้เขามหาศาล
การค้นหาและเลือกหุ้นโตเร็วของไพร้ซนั้นแตกต่างจากวิธีการของ Value Investor อย่าง เบน เกรแฮม ชัดเจน ไพร้ซมองว่าการใช้ข้อมูลทางด้านปริมาณเช่นกำไรหรือยอดขายในการเลือกหุ้นนั้นเป็นวิธีที่ไม่ยืดหยุ่นและไม่สามารถป้องกันข่าวร้ายที่ไม่คาดคิดได้ วิธีของไพร้ซ์นั้น เขาจะมองหาบริษัทอันดับหนึ่งหรือสองในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นและ “มาแรง” ที่แสดงตัวเลขยอดขายที่เป็นหน่วยเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่องเช่นเดียวกับกำไรที่เติบโตตามกันไปถึงแม้ว่าธุรกิจจะอยู่ในช่วงวัฏจักรที่ตกต่ำ และเมื่อเขาเจอบริษัทดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ไพร้ซ์จะต้องวิเคราะห์ต่อก็คือ บริษัทนั้นควรจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่ง บริษัทจะต้องมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์และการตลาดที่โดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง
ข้อสอง ไม่มีการแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตายเช่นการตัดราคาสินค้ากันในธุรกิจ
ข้อสาม ค่อนข้างจะถูกควบคุมโดยกฎหมายหรือรัฐบาลน้อยกว่าธุรกิจโดยทั่วไป
ข้อสี่ ต้นทุนทางด้านแรงงานต่ำแต่บริษัทจ่ายค่าแรงพนักงานดีกว่าบริษัทอื่น
ข้อห้า บริษัทมีผลตอบแทนจากเม็ดเงินที่ลงทุนในธุรกิจไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี มีกำไรต่อยอดขายที่สูงและต่อเนื่อง และมีการเติบโตของกำไรต่อหุ้นที่โดดเด่น
หลังจากลงทุนไปแล้ว ไพร้ซ์จะขายหุ้นเมื่อบริษัทนั้น “อิ่มตัว” แล้ว ซึ่งปกติมักจะกินเวลาเป็นสิบปีขึ้นไป แต่สัญญาณที่แสดงว่าบริษัทเริ่มอิ่มตัวอย่างชัดเจนนั้นก็คือ การลดลงของยอดขายต่อหน่วย กำไรต่อยอดขาย และผลตอบแทนต่อเม็ดเงินลงทุน นอกจากนั้น ไพร้ซ์ยังจับตาดูเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ที่อาจทำให้เขาขายหุ้น
ข้อหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารที่แย่ลง
ข้อสอง ตลาดเริ่มอิ่มตัว
ข้อสาม ลิขสิทธิ์หมดอายุหรือการคิดค้นใหม่ทำให้สินค้าเดิมมีค่าน้อยลง
ข้อสี่ การแข่งขันรุนแรงขึ้น
ข้อห้า สภาพแวดล้อมทางด้านกฎหมายหรือข้อกำหนดของรัฐเป็นอุปสรรคมากขึ้น
ข้อหก ค่าแรง วัตถุดิบ หรือภาษี เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ชื่อเสียงของไพร้ซ์ก็โด่งดังและเขามีสาวกที่ติดตาม “แนวทางของ ที โรว์ ไพร้ซ์” จำนวนมาก และหุ้นที่ไพร้ซ์ชื่นชอบกลายเป็น “หุ้น ที โรว์ ไพร้ซ์” ที่ทุกคนอยากมีไว้ในพอร์ต พอถึงปลายทศวรรษหลังจากที่แนวความคิดของเขากลายเป็นกระแสหลักในตลาดหุ้น ไพร้ซ์ก็เริ่มคิดว่าหุ้นเติบโตเหล่านั้นเริ่มจะแพงเกินไปเขาจึงขายกิจการบริหารกองทุน T. Rowe Price & Associates ของเขาทิ้งและถอนการลงทุนในหุ้นโตเร็วที่แพงเกินไป พอถึงปี 1974 เมื่อ “ฟองสบู่” ของหุ้นโตเร็วแตกและราคาหุ้นโตเร็วตกกันลงมาถึง 70-80% ชื่อของไพร้ซ์จึงดังเป็นพลุอีกครั้งหนึ่ง หลังจากตลาดหมีที่รุนแรงในปี 1973-1974 ราคาหุ้นโตเร็วตกลงมามาก ไพร้ซ์กลับเข้ามาซื้อหุ้นโตเร็วอีกครั้งแม้ว่าหลายตัวจะไม่ใช่หุ้นตัวเดิม เช่นหุ้นของพวกเคเบิลทีวี เหตุผลของไพร้ซ์ก็คือ หุ้นโตเร็วหมดความนิยมลงและนั่นคือเวลาซื้อหุ้นอีกครั้งหนึ่ง และนี่ก็เป็นนิสัยของไพร้ซ์ตลอดมาที่เป็น Contrarian หรือเป็นคนที่ชอบมองสวนกระแสหรือที่ในวงการหุ้นบ้านเราเรียกว่าเป็น “ชาวสวน” และก็เช่นเคย ไพร้ซ์ประสบความสำเร็จในการลงทุน
ชีวิตส่วนตัวของไพร้ซ์นั้น เขาเรียนจบทางด้านเคมีแต่ผันตัวเองเป็นนักบริหารการลงทุน เขาเป็นคนที่บ้างานการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ ดูเหมือนว่าการลงทุนอาจจะสำคัญกว่าครอบครัวด้วยซ้ำ เขาเป็นคนที่ทำงานหนักและมีวินัยการทำงานสูงมาก เป็นคนที่ยืนหยัดในความคิดของตนเองสูงมากดังนั้นเขาจึงเป็นคนที่มีเพื่อนน้อย และก็เช่นเดียวกับนักลงทุนเอกของโลกทั้งหลาย เขาเป็นคนที่สมถะมาก แต่ก็แทบไม่บริจาคเงินกับสาธารณกุศลเลย เขาตายในปี 1983 ด้วยวัย 85 ปี
โลกจดจำไพร้ซ์ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกคนสำคัญในการลงทุนแบบ Growth Investment แต่คนที่มีเครดิตที่ไม่น้อยหน้ากันก็คือ ฟิลิป ฟิสเชอร์ ผู้เขียนหนังสือ Common Stock and Uncommon Profit ที่บางคนก็ถือว่าเป็น บิดาแห่งหุ้นโตเร็วเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม Growth Investment นั้น ไม่สามารถเปรียบเทียบกับ Value Investment ได้ในแง่ของการวิเคราะห์หุ้น ถ้าจะเปรียบเทียบก็อาจจะคล้ายกับศาสนา Growth อาจจะเป็นแค่นิกาย แต่ Value นั้นเปรียบเสมือนศาสนา เนื้อหานั้นต่างกัน บางที คุณอาจจะต้องเป็น Value ก่อนที่จะเป็น Growth Investor เพราะการเป็น Value นั้นเป็นเสมือนเบสิคหรือพื้นฐานในการเรียนรู้แนวทางอื่นต่อไป
Re: วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งย
โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 22, 2012 9:56 pm
โดย praram2
วัฏจักร ที่วนเวียน ไปเรื่อยๆ
มีขึ้น ก็ย่อมมีลง
ขอบคุณ บทความดีๆ ครับ
Re: วัฏฏะสงสารกับหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 11, 2014 10:11 pm
โดย Internship
เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและนำไปขบคิด ขอบคุณครับ