งานนี้ คุณเริงชัย รับเละคนเดียว 180,000,000,000 บาท เลยเหรอ?
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 31, 2005 5:45 pm
แปลกจริงหนอ ............. ไม่มีใครช่วยหาร เลย
.......... .... ตอนกิน กินด้วยกัน ... ตอนจ่ายย .... โทรศัพท์พี่ไม่มีสัญญาณ ..... ขอเข้าห้องน้ำก่อนนะ ฯลฯ
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews ... 0000072268
เริงชัย แพ้คดีปกป้องค่าเงินบาท ชดใช้แบงก์ชาติกว่า 1.8 แสนล้าน
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์ 31 พฤษภาคม 2548 17:16 น.
อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เริงชัย มะระกานนท์ แพ้คดีปกป้องค่าเงินบาท โดยศาลแพ่งพิพากษาให้ชดใช้เงินคืนแบงก์ชาติ โจทก์ที่ 1 รวมเป็นเงิน 185,953,740,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ
วันนี้ (31พ.ค.) ที่ศาลแพ่ง รัชดา ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และกองทุนรักษาระดับเงินตรา ร่วมกันเป็นโจทก์ที่ 1-2 ฟ้อง นายเริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นจำเลย ฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย186,000ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย ปรากฏว่าศาลสืบพยานโจทก์12ปาก ส่งเอกสาร166ฉบับ ฝ่ายจำเลยนำสืบ10ปากส่งเอกสาร112ฉบับ จึงมีคำพิพากษา ทั้งนี้ฝ่ายนายเริงชัยไม่มาศาลแต่ส่งนายนพดล หลาวทอง ทนายความมาแทน ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงมีพนักงานอัยการสำนักงานคดีแพ่งเป็นทนายความให้
ศาลพิพากษาใจความว่า โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างปลายปีพ.ศ.2539ถึง2540 เริ่มเกิดวิกฤตค่าเงินบาท จำเลยเป็นผู้ว่าธปท. ได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีจัดคณะกรรมการกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และธานาคารแห่งประเทศไทย กองทุนรักษาระดับเงินตราต่างประเทศ ให้มีมีหน้าที่วิเคราะห์สั่งการใช้อำนาจในการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้ตกต่ำเพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ แต่จำเลยได้ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวัง โดยกลับสั่งการให้มีการแทรกแซงค่าเงินบาท ผิดพลาดจนรัฐบาลต้องสูญเสียเงินเงินดอลล่าร์สหรัฐที่ใช้เป็นกองทุนสำรอง ทำให้รัฐบาลเสียหายเป็นเงิน186,000ล้านบาท
ศาลรับฟ้องพยานหลักฐานโจทก์จำเลยหักล้างกันแล้วพิเคราะห์ว่า ประเด็นที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ทั้งสองเป็นรัฐวิสาหกิจ มีอำนาจในการฟ้องคดีจำเลยเมื่อเห็นว่าทำไม่ถูกต้อง เมื่อเกิดความเสียหายโจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงคดีนี้ ก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมต้องยกฟ้อง ศาลเห็นว่า โจทก์มีการบรรยายฟ้องชัดแจ้งว่าจำเลยทำให้รัฐบาลสูญเสียเงินทุนสำรอง เป็นเหตุให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในฐานะการเงินของประเทศ และโจทก์เสียหายเป็นเงิน185,900ล้านบาทเศษ
คดีจำต้องพิจารณาว่า จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ เห็นว่า ช่วงเวลาเกิดเหตุ จำเลยเห็นว่าระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบตระกร้าเงิน ไม่เหมาะสมกับระะบเศรษฐกิจ ต่อมาค่าเงินบาทแข็งตัวไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง โจทก์ในคดีนี้จึงเริ่มมีนโยบายแทรกแซงค่าเงินบาท ด้วยวิธีใช้เงินดอลล่าร์ที่เป็นทุนสำรอง เพื่อปกป้องค่าเงินบาทจากนักเก็งกำไรที่ทุ่มขายเงินบาท
โจทก์ทั้งสองจึงมีนโยบายทำธุรกรรมเพื่อปรับสภาพคล่องค่าเงินบาท ด้วยวิธีการแทรกแซงค่าเงินบาท หรือเรียกกันว่า สว๊อปค่าเงินบาท โดยช่วงนั้นรมว.คลังโดยคำแนะนำของธปท. ได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ปรากฏว่าค่าเงินบาทได้ตกต่ำลง เรื่อย
ทั้งนี้โจทก์นำนายอำนวย วีรวรรณ อดีตรมว.คลัง และ มรว.จตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลังเบิกความว่า ควรเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และหากจำเลยเสนอแนะตามขั้นตอน แนะนำรมว.คลังเพื่อประกาศใช้ระบบอัตราแลกเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งรมว.คลังก็จะได้ทำตามที่จำเลยแนะนำ แต่จำเลยกลับไม่ตอบสนอง อ้างว่าธปท.ไม่พร้อม จึงไม่มีการเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน จำเลยอ้างว่ามีความกังวลเรื่องภาระหนี้สินต่างประเทศ จนไม่ได้ข้อยุติว่าจะจะใช้นโยบายอย่างไร จนต่อมา รองผู้ว่าการฯธปท. ได้เรียกประชุมผู้บริหารธปท. เมีความเห็นกันว่า ถึงเวลาต้องเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแล้ว และควรใช้ระบบลอยตัวเงินบาท จากนั้นได้รายงานผลให้จำเลยทราบมติที่ประชุม
จำเลยเป็นผู้มีความรู้ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจทางการเงินของประเทศ ทั้งที่เป็นความลับและไม่ลับ มากกว่าผู้ใด จำเลยจึงต้องเป็นหลักในการกำกับนโยบายการเงินการคลัง ให้นโยบายในฐานะเป็นผู้ว่าการธปท. และจำเลยต้องรู้ดีว่า ทุนสำรองของประเทศมีความสำคัญกับเสถียรภาพเงินบาทอย่างไร ต้องใช้เงินทุนสำรองอย่างไร เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยตัวเลข และสถานะการณ์ต่างๆให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยกลับไปใช้วิธรแทรกแซงค่าเงินบาทเฉพาะหน้าแทน จนทุนสำรองมีค่าติดลบ ทำให้รัฐมีหน้าที่ต้องคืนเงินดอลล่าร์จากตลาดเงินไปให้คู่สัญญา จนส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียเงินที่ใใช้คืนและต้องขาดทุนเป็นเงินถึง185,900บาทเศษ จึงถือได้ว่าจำเลยได้ประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ที่2ไม่มีหน้าที่ทำธุรกรรมค่าเงินบาทเช่นโจทก์ที่1 โจทก์ที่2จึงไม่เป็นผู้เสียหายคดีนี้ จึงพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน185,953,740,000บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5 นับตั้งแต่วันที่ 24มิย41 แต่ดอกเบี้ยไม่ให้เรียกเงิน62ล้านบาท ให้ใช้ค่าทนายความแก่โจทก์5แสนบาท
หลังฟังคำพิพากษา นายนพดล หลาวทอง ทนายจำเลยเผยว่า ต้องยื่นอุทธรณ์ในประเด็นว่าจำเลยไม่ได้ประมาท โดยใช้ความระมัดระวังตลอดจนใช้ความรู้ความสามารถปกป้องเงินบาทตามหลักการ อีกทั้งใช้ดุลยพินิจร่วมกันระหว่างผู้บริหารใน ธปท. โดยจะปรึกษากับนายเริงชัยก่อน อย่างไรก็ตาม คดีนี้เป็นการละเมิด จำเลยมีสิทธ์ยื่นร้องต่อศาลขอไม่ให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ และขอผ่อนชำระค่าชดใช้
ด้านนายสงวน ตียะไพบูลย์สิน อธิบดีอัยการสำนักงานคดีแพ่ง หัวหน้าทนายความโจทก์ เผยว่า ถือว่าธปท.ตัวความเป็นเจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา จึงต้องขอบังคับคดีได้ทันที โดยจะขอศาลออกคำบังคับคดี หากจำเลยยังไม่วางเงินที่ต้องชำระแก่โจทก์ครบถ้วนตามคำพิพากษา ก็จะออกหมายบังคับคดีต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากจำเลยจะอุทธรณ์ก็ต้องวางเงินชำระหนี้แก่โจทก์ และค่าธรรมเนียมโดยนำมาวางต่อศาล จึงจะยื่นอุทธรณ์ได้ แต่จำเลยก็ยังมีทางแก้โดยขอทุเลาคำบังคับ และของดการบังคับคดีได้ในระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไปก็ได้
สำหรับประวัติโดยสังเขปของนายเริงชัย มะระกานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485
การศึกษา
พ.ศ. 2510 B.A. (Money and Banking) Keio University, ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2513M.Sc. in Economics (Monetary Economics) London School of Economics and Political Science, ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2532ปริญญาบัตรหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 (ปรอ. 1) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ประวัติการทำงาน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2514 เศรษฐกร ฝ่ายวิชาการ
พ.ศ. 2516 หัวหน้าหน่วยภาวะธุรกิจ ฝ่ายวิชาการ
พ.ศ. 2518 หัวหน้าหน่วยการเงินและการธนาคาร ฝ่ายวิชาการ
พ.ศ. 2519 หัวหน้าส่วนกำกับและวิเคราะห์ธนาคารพาณิชย์
พ.ศ. 2523 รองผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์
พ.ศ. 2525 ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
พ.ศ. 2527 ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร
พ.ศ. 2530 ผู้ช่วยผู้ว่าการ
พ.ศ. 2533 รองผู้ว่าการ
ผู้ว่าการ 13 ก.ค. 2539 - 28 ก.ค. 2540
ตำแหน่งอื่นๆ
- รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย
- ประธานคณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
- กรรมการทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
- กรรมการบริหารคระกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- กรรมการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
.......... .... ตอนกิน กินด้วยกัน ... ตอนจ่ายย .... โทรศัพท์พี่ไม่มีสัญญาณ ..... ขอเข้าห้องน้ำก่อนนะ ฯลฯ
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews ... 0000072268
เริงชัย แพ้คดีปกป้องค่าเงินบาท ชดใช้แบงก์ชาติกว่า 1.8 แสนล้าน
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์ 31 พฤษภาคม 2548 17:16 น.
อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เริงชัย มะระกานนท์ แพ้คดีปกป้องค่าเงินบาท โดยศาลแพ่งพิพากษาให้ชดใช้เงินคืนแบงก์ชาติ โจทก์ที่ 1 รวมเป็นเงิน 185,953,740,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ
วันนี้ (31พ.ค.) ที่ศาลแพ่ง รัชดา ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และกองทุนรักษาระดับเงินตรา ร่วมกันเป็นโจทก์ที่ 1-2 ฟ้อง นายเริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นจำเลย ฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย186,000ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย ปรากฏว่าศาลสืบพยานโจทก์12ปาก ส่งเอกสาร166ฉบับ ฝ่ายจำเลยนำสืบ10ปากส่งเอกสาร112ฉบับ จึงมีคำพิพากษา ทั้งนี้ฝ่ายนายเริงชัยไม่มาศาลแต่ส่งนายนพดล หลาวทอง ทนายความมาแทน ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงมีพนักงานอัยการสำนักงานคดีแพ่งเป็นทนายความให้
ศาลพิพากษาใจความว่า โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างปลายปีพ.ศ.2539ถึง2540 เริ่มเกิดวิกฤตค่าเงินบาท จำเลยเป็นผู้ว่าธปท. ได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีจัดคณะกรรมการกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และธานาคารแห่งประเทศไทย กองทุนรักษาระดับเงินตราต่างประเทศ ให้มีมีหน้าที่วิเคราะห์สั่งการใช้อำนาจในการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้ตกต่ำเพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ แต่จำเลยได้ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวัง โดยกลับสั่งการให้มีการแทรกแซงค่าเงินบาท ผิดพลาดจนรัฐบาลต้องสูญเสียเงินเงินดอลล่าร์สหรัฐที่ใช้เป็นกองทุนสำรอง ทำให้รัฐบาลเสียหายเป็นเงิน186,000ล้านบาท
ศาลรับฟ้องพยานหลักฐานโจทก์จำเลยหักล้างกันแล้วพิเคราะห์ว่า ประเด็นที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ทั้งสองเป็นรัฐวิสาหกิจ มีอำนาจในการฟ้องคดีจำเลยเมื่อเห็นว่าทำไม่ถูกต้อง เมื่อเกิดความเสียหายโจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงคดีนี้ ก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมต้องยกฟ้อง ศาลเห็นว่า โจทก์มีการบรรยายฟ้องชัดแจ้งว่าจำเลยทำให้รัฐบาลสูญเสียเงินทุนสำรอง เป็นเหตุให้นักลงทุนขาดความมั่นใจในฐานะการเงินของประเทศ และโจทก์เสียหายเป็นเงิน185,900ล้านบาทเศษ
คดีจำต้องพิจารณาว่า จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ เห็นว่า ช่วงเวลาเกิดเหตุ จำเลยเห็นว่าระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบตระกร้าเงิน ไม่เหมาะสมกับระะบเศรษฐกิจ ต่อมาค่าเงินบาทแข็งตัวไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง โจทก์ในคดีนี้จึงเริ่มมีนโยบายแทรกแซงค่าเงินบาท ด้วยวิธีใช้เงินดอลล่าร์ที่เป็นทุนสำรอง เพื่อปกป้องค่าเงินบาทจากนักเก็งกำไรที่ทุ่มขายเงินบาท
โจทก์ทั้งสองจึงมีนโยบายทำธุรกรรมเพื่อปรับสภาพคล่องค่าเงินบาท ด้วยวิธีการแทรกแซงค่าเงินบาท หรือเรียกกันว่า สว๊อปค่าเงินบาท โดยช่วงนั้นรมว.คลังโดยคำแนะนำของธปท. ได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ปรากฏว่าค่าเงินบาทได้ตกต่ำลง เรื่อย
ทั้งนี้โจทก์นำนายอำนวย วีรวรรณ อดีตรมว.คลัง และ มรว.จตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลังเบิกความว่า ควรเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และหากจำเลยเสนอแนะตามขั้นตอน แนะนำรมว.คลังเพื่อประกาศใช้ระบบอัตราแลกเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งรมว.คลังก็จะได้ทำตามที่จำเลยแนะนำ แต่จำเลยกลับไม่ตอบสนอง อ้างว่าธปท.ไม่พร้อม จึงไม่มีการเปลี่ยนนโยบายทางการเงิน จำเลยอ้างว่ามีความกังวลเรื่องภาระหนี้สินต่างประเทศ จนไม่ได้ข้อยุติว่าจะจะใช้นโยบายอย่างไร จนต่อมา รองผู้ว่าการฯธปท. ได้เรียกประชุมผู้บริหารธปท. เมีความเห็นกันว่า ถึงเวลาต้องเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแล้ว และควรใช้ระบบลอยตัวเงินบาท จากนั้นได้รายงานผลให้จำเลยทราบมติที่ประชุม
จำเลยเป็นผู้มีความรู้ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจทางการเงินของประเทศ ทั้งที่เป็นความลับและไม่ลับ มากกว่าผู้ใด จำเลยจึงต้องเป็นหลักในการกำกับนโยบายการเงินการคลัง ให้นโยบายในฐานะเป็นผู้ว่าการธปท. และจำเลยต้องรู้ดีว่า ทุนสำรองของประเทศมีความสำคัญกับเสถียรภาพเงินบาทอย่างไร ต้องใช้เงินทุนสำรองอย่างไร เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยตัวเลข และสถานะการณ์ต่างๆให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยกลับไปใช้วิธรแทรกแซงค่าเงินบาทเฉพาะหน้าแทน จนทุนสำรองมีค่าติดลบ ทำให้รัฐมีหน้าที่ต้องคืนเงินดอลล่าร์จากตลาดเงินไปให้คู่สัญญา จนส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียเงินที่ใใช้คืนและต้องขาดทุนเป็นเงินถึง185,900บาทเศษ จึงถือได้ว่าจำเลยได้ประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ที่2ไม่มีหน้าที่ทำธุรกรรมค่าเงินบาทเช่นโจทก์ที่1 โจทก์ที่2จึงไม่เป็นผู้เสียหายคดีนี้ จึงพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน185,953,740,000บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5 นับตั้งแต่วันที่ 24มิย41 แต่ดอกเบี้ยไม่ให้เรียกเงิน62ล้านบาท ให้ใช้ค่าทนายความแก่โจทก์5แสนบาท
หลังฟังคำพิพากษา นายนพดล หลาวทอง ทนายจำเลยเผยว่า ต้องยื่นอุทธรณ์ในประเด็นว่าจำเลยไม่ได้ประมาท โดยใช้ความระมัดระวังตลอดจนใช้ความรู้ความสามารถปกป้องเงินบาทตามหลักการ อีกทั้งใช้ดุลยพินิจร่วมกันระหว่างผู้บริหารใน ธปท. โดยจะปรึกษากับนายเริงชัยก่อน อย่างไรก็ตาม คดีนี้เป็นการละเมิด จำเลยมีสิทธ์ยื่นร้องต่อศาลขอไม่ให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ และขอผ่อนชำระค่าชดใช้
ด้านนายสงวน ตียะไพบูลย์สิน อธิบดีอัยการสำนักงานคดีแพ่ง หัวหน้าทนายความโจทก์ เผยว่า ถือว่าธปท.ตัวความเป็นเจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษา จึงต้องขอบังคับคดีได้ทันที โดยจะขอศาลออกคำบังคับคดี หากจำเลยยังไม่วางเงินที่ต้องชำระแก่โจทก์ครบถ้วนตามคำพิพากษา ก็จะออกหมายบังคับคดีต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากจำเลยจะอุทธรณ์ก็ต้องวางเงินชำระหนี้แก่โจทก์ และค่าธรรมเนียมโดยนำมาวางต่อศาล จึงจะยื่นอุทธรณ์ได้ แต่จำเลยก็ยังมีทางแก้โดยขอทุเลาคำบังคับ และของดการบังคับคดีได้ในระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไปก็ได้
สำหรับประวัติโดยสังเขปของนายเริงชัย มะระกานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485
การศึกษา
พ.ศ. 2510 B.A. (Money and Banking) Keio University, ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2513M.Sc. in Economics (Monetary Economics) London School of Economics and Political Science, ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2532ปริญญาบัตรหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 (ปรอ. 1) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ประวัติการทำงาน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2514 เศรษฐกร ฝ่ายวิชาการ
พ.ศ. 2516 หัวหน้าหน่วยภาวะธุรกิจ ฝ่ายวิชาการ
พ.ศ. 2518 หัวหน้าหน่วยการเงินและการธนาคาร ฝ่ายวิชาการ
พ.ศ. 2519 หัวหน้าส่วนกำกับและวิเคราะห์ธนาคารพาณิชย์
พ.ศ. 2523 รองผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์
พ.ศ. 2525 ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
พ.ศ. 2527 ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร
พ.ศ. 2530 ผู้ช่วยผู้ว่าการ
พ.ศ. 2533 รองผู้ว่าการ
ผู้ว่าการ 13 ก.ค. 2539 - 28 ก.ค. 2540
ตำแหน่งอื่นๆ
- รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย
- ประธานคณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
- กรรมการทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
- กรรมการบริหารคระกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- กรรมการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย