มวลน้อยนิด พลังงานมหาศาล ; E=mc2
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 03, 2005 1:26 pm
โีีรงงานนิวเคลียร์ฟิวชัน ของชาวโลกใกล้ได้ทำเลตอกเสาเข็ม
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 พฤษภาคม 2548 18:47 น.
แบบจำลองของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชัน ซึ่งก่อพลังงานได้มหาศาล
เอเอฟพี สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเดินหน้าเจรจาหาข้อตกลงสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันเครื่องใหม่ที่สามารถผลิตพลังงานมหาศาล หลังจากตกลงเรื่องพื้นที่ตั้งโรงงานไม่ได้อยู่นาน โดยคาดว่าอาจจะได้ข้อสรุปภายในเดือนกรกฏาฯ นี้
โครงการโรงงานนิวเคลียร์ ไอเทอร์ (ITER : International Thermonuclear Experimental Reactor) หรือโครงการทดลองเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยเทอร์โมนิวเคลียร์นานาชาติ โดยใช้ปฏิกิริยาฟิวชัน ซึ่งเป็นความร่วมมือในระดับสากล ที่มีทีท่ายืดเยื้ออยู่นานเนื่องจากยังตกลงกันไม่ได้เรื่องที่ตั้งของโรงงานนิวเคลียร์ที่สามารถผลิตพลังงานได้มหาศาลว่าจะเป็นญี่ปุ่นหรือฝรั่งเศส แต่การประชุมครั้งล่าสุดระหว่างคณะกรรมการธิการยุโรปและญี่ปุ่นเป็นไปได้ด้วยดี
จาเนซ โพทอคนิก (Janez Potocnik) กรรมาธิการยุโรปด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึงการประชุมครั้งล่าสุดว่า มีการพูดถึงบทบาทของประเทศที่เป็นเจ้าบ้านสำหรับตั้งโรงงาน และสมาชิกที่ไม่ได้เป็นเจ้าของพื้นที่แต่มีส่วนในการก่อตั้งไอเทอร์ โดยได้เคลียร์บทบาทและข้อตกลงทางการเมืองในทุกๆ ส่วนที่สำคัญ รวมถึงประเทศที่ใช้ในการตั้งโรงงาน โดยเชื่อว่าจะมีข้อสรุปเสร็จสิ้นทั้งหมดในช่วงเดือนกรกฎาฯ ที่จะถึงนี้
เขาเชื่อว่าการประชุมและข้อตกลงต่างๆ จะเป็นไปได้ด้วยดี และนำไปสู่การลงมือดำเนินการสร้างโรงงาน แต่จะต้องผ่านจุดสุดท้ายไปให้ได้ก่อน (นั่นคือตกลงว่าประเทศใดจะเป็นสถานที่ตั้ง) โดยโพทอคนิกเชื่อว่าสมาชิกทั้งหมดจะสา่มารถทำงานร่วมกันได้
ถัดจากสถานีอวกาศนานาชาติ (the International Space Station) แล้ว เครื่องปฏิกรณ์ที่กำลังจะสร้างขึ้นก็จะเป็นความร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนาในระดับสากลที่ใหญ่ที่สุด ในนิยามของฟิสิกส์และพลังงานขนาดใหญ่ โครงการนี้ใหญ่พอๆ กับการสร้างดาวสักดวงบนโลก ไอเทอร์ได้ออกแบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ให้เป็นแบบที่สามารถใช้พลังงานที่ไม่รู้จักหมด เพื่อนำไปผันเป็นกระแสไฟฟ้า
การควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียฟิวชันบนโลกนั้น จำเป็นต้องทำให้แก๊สมีความร้อนมากกว่า 100 ล้านองศาเซลเซียส (ร้อนกว่าใจกลางดวงอาทิตย์หลายเท่านัก) เพียงแค่ 1 กิโลกรัมของเชื้อเพลิงที่นำมาทำปฏิกิริยาฟิวชัน ก็สามารถปลดปล่อยพลังงานออกมาได้เท่ากับ 10,000,000 (10 ล้าน) กิโลกรัมของเชื้อเพลิงธรรมชาติ และที่สำคัญฟิวชันไม่ก่อให้เกิดกากนิวเคลียร์ เหมือนกับปฏิกิริยาฟิสชันที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ด้วยผลประโยชน์อันมหาศาลที่จะตามมา ข้อสรุปเรื่องที่ตั้งของไอเทอร์ก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยตลอดระยะเวลาที่หารือกันนั้นสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ต่างสนับสนุนให้สร้างโรงงานนิวเคลียร์ฟิวชันในเมือง รกกาโช-มูระ (Rokkasho-mura) ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ขณะที่สหภาพยุโรป จีนและรัสเซียต่างสนับสนุนให้โครงการนี้ตั้งที่เมืองกาดาราช (Cadarache) ทางตะวะนออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส
ทว่าโครงการกว่า 1 หมื่นล้านยูโร (ประมาณ 5.1 แสนล้านบาท) ยังไม่สามารถเดินเครื่องได้ภายใน 50 ปีนี้แน่นอน แต่ภายใน 30 ปีที่จะถึงนี้อียูได้กันงบส่วนหนึ่งจากโครงการ (4.7 พันล้านยูโร) ออกมาสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ภายในภูมิภาคก่อน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 พฤษภาคม 2548 18:47 น.
แบบจำลองของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชัน ซึ่งก่อพลังงานได้มหาศาล
เอเอฟพี สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเดินหน้าเจรจาหาข้อตกลงสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันเครื่องใหม่ที่สามารถผลิตพลังงานมหาศาล หลังจากตกลงเรื่องพื้นที่ตั้งโรงงานไม่ได้อยู่นาน โดยคาดว่าอาจจะได้ข้อสรุปภายในเดือนกรกฏาฯ นี้
โครงการโรงงานนิวเคลียร์ ไอเทอร์ (ITER : International Thermonuclear Experimental Reactor) หรือโครงการทดลองเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยเทอร์โมนิวเคลียร์นานาชาติ โดยใช้ปฏิกิริยาฟิวชัน ซึ่งเป็นความร่วมมือในระดับสากล ที่มีทีท่ายืดเยื้ออยู่นานเนื่องจากยังตกลงกันไม่ได้เรื่องที่ตั้งของโรงงานนิวเคลียร์ที่สามารถผลิตพลังงานได้มหาศาลว่าจะเป็นญี่ปุ่นหรือฝรั่งเศส แต่การประชุมครั้งล่าสุดระหว่างคณะกรรมการธิการยุโรปและญี่ปุ่นเป็นไปได้ด้วยดี
จาเนซ โพทอคนิก (Janez Potocnik) กรรมาธิการยุโรปด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึงการประชุมครั้งล่าสุดว่า มีการพูดถึงบทบาทของประเทศที่เป็นเจ้าบ้านสำหรับตั้งโรงงาน และสมาชิกที่ไม่ได้เป็นเจ้าของพื้นที่แต่มีส่วนในการก่อตั้งไอเทอร์ โดยได้เคลียร์บทบาทและข้อตกลงทางการเมืองในทุกๆ ส่วนที่สำคัญ รวมถึงประเทศที่ใช้ในการตั้งโรงงาน โดยเชื่อว่าจะมีข้อสรุปเสร็จสิ้นทั้งหมดในช่วงเดือนกรกฎาฯ ที่จะถึงนี้
เขาเชื่อว่าการประชุมและข้อตกลงต่างๆ จะเป็นไปได้ด้วยดี และนำไปสู่การลงมือดำเนินการสร้างโรงงาน แต่จะต้องผ่านจุดสุดท้ายไปให้ได้ก่อน (นั่นคือตกลงว่าประเทศใดจะเป็นสถานที่ตั้ง) โดยโพทอคนิกเชื่อว่าสมาชิกทั้งหมดจะสา่มารถทำงานร่วมกันได้
ถัดจากสถานีอวกาศนานาชาติ (the International Space Station) แล้ว เครื่องปฏิกรณ์ที่กำลังจะสร้างขึ้นก็จะเป็นความร่วมมือทางด้านการวิจัยและพัฒนาในระดับสากลที่ใหญ่ที่สุด ในนิยามของฟิสิกส์และพลังงานขนาดใหญ่ โครงการนี้ใหญ่พอๆ กับการสร้างดาวสักดวงบนโลก ไอเทอร์ได้ออกแบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ให้เป็นแบบที่สามารถใช้พลังงานที่ไม่รู้จักหมด เพื่อนำไปผันเป็นกระแสไฟฟ้า
การควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียฟิวชันบนโลกนั้น จำเป็นต้องทำให้แก๊สมีความร้อนมากกว่า 100 ล้านองศาเซลเซียส (ร้อนกว่าใจกลางดวงอาทิตย์หลายเท่านัก) เพียงแค่ 1 กิโลกรัมของเชื้อเพลิงที่นำมาทำปฏิกิริยาฟิวชัน ก็สามารถปลดปล่อยพลังงานออกมาได้เท่ากับ 10,000,000 (10 ล้าน) กิโลกรัมของเชื้อเพลิงธรรมชาติ และที่สำคัญฟิวชันไม่ก่อให้เกิดกากนิวเคลียร์ เหมือนกับปฏิกิริยาฟิสชันที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ด้วยผลประโยชน์อันมหาศาลที่จะตามมา ข้อสรุปเรื่องที่ตั้งของไอเทอร์ก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยตลอดระยะเวลาที่หารือกันนั้นสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ต่างสนับสนุนให้สร้างโรงงานนิวเคลียร์ฟิวชันในเมือง รกกาโช-มูระ (Rokkasho-mura) ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ขณะที่สหภาพยุโรป จีนและรัสเซียต่างสนับสนุนให้โครงการนี้ตั้งที่เมืองกาดาราช (Cadarache) ทางตะวะนออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส
ทว่าโครงการกว่า 1 หมื่นล้านยูโร (ประมาณ 5.1 แสนล้านบาท) ยังไม่สามารถเดินเครื่องได้ภายใน 50 ปีนี้แน่นอน แต่ภายใน 30 ปีที่จะถึงนี้อียูได้กันงบส่วนหนึ่งจากโครงการ (4.7 พันล้านยูโร) ออกมาสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ภายในภูมิภาคก่อน