เล่นหุ้นตาม "วงจรเศรษฐกิจ"
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 12, 2005 11:40 pm
เล่นหุ้นตาม "วงจรเศรษฐกิจ"
เศรษฐกิจมักเคลื่อนไหวในลักษณะของ"วงจร" คือขึ้น ทรงตัว และปรับลง ซึ่งตามหลักพุทธศาสนาบอกว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป จากนั้นจะเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยปกติหนึ่งรอบของวงจร หรือวัฏจักร (Cycle) จะอยู่ที่ 10-15 ปี ดังนั้นการเลือกสินทรัพย์ (Asset Class) เพื่อการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาของเศรษฐกิจจึงต้องแตกต่างกันไปเพื่อให้ผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนสูงสุด
โดยทั่วไปวงจรเศรษฐกิจมักแบ่งออกเป็น 4 ช่วง
1.ช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นไข้จากการตกต่ำ (Recovery) หรือเริ่มผงกหัวขึ้น
สำหรับในเมืองไทยช่วง Recovery คือเมื่อปี 2542 ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจขณะนั้นคือ ดอกเบี้ยต่ำ เงินเฟ้อต่ำ รัฐบาลใช้มาตรการทั้งการเงินและการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การลดภาษีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ในช่วง Recovery สินทรัพย์ที่ควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนอย่างมาก คือ "หุ้น" เพราะราคาหุ้นจะสะท้อนอนาคต และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้อย่างรวดเร็ว (Stock market always reflects future) และจะสะท้อนถึงกำไรในปีถัดมาเข้ามาในราคาหุ้น
การลงทุนในหุ้นในช่วงเศรษฐกิจ Recovery จะให้ผลตอบแทนสูงต่อเนื่อง ตราบเท่าที่เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราสูงกว่าปีก่อนหน้า และสินทรัพย์ประเภทหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงสุดในช่วงสุดท้ายของดอกเบี้ยขาลง เช่นที่เราได้เห็นในปี 2546 ซึ่ง SET ได้ปรับตัวขึ้นมาจาก 400 จุดเศษ มาที่ 700 จุดเศษ ซึ่งก็เป็นช่วงที่ดอกเบี้ยเงินฝากปรับตัวลงมาเหลือแค่ 1%
หรือในปี พ.ศ. 2536 หุ้นได้ปรับตัวขึ้นจากแถว 800 จุดเศษ มาถึง 1600 จุดเศษ ปรากฏการณ์นี้สืบเนื่องจากเม็ดเงินที่สะสมมานาน (accumulation) และไม่สามารถหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงลงทุนได้ เม็ดเงินจึงเคลื่อนย้ายเงินลงทุนมาที่ตลาดหุ้น
จะเห็นว่าในทุกๆ 10 ปี จะมีวัฏจักรแบบที่หุ้นขึ้นกระฉูด 1 รอบ เช่น ในปี พ.ศ.2536 หรือ พ.ศ.2546 และในช่วงนี้เองราคาที่ดินจะต่ำสุด
ถ้าทฤษฎีนี้เป็นจริง เรามีโอกาสเห็นหุ้นขึ้นแบบกระทิงเดือดอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2556!
2.ช่วงฟื้นตัวถึงฟื้นตัวสูงสุด (Early to late upswing)
ช่วงนี้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนสูงสด เงินเฟ้อปรับตัวขึ้น ดอกเบี้ยระยะสั้นเริ่มปรับตัวขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) เช่น น้ำมัน ปิโตรเคมี เหล็ก ราคาที่ดินจะปรับตัวขึ้นสูงสุด ซึ่งส่งผลต่อหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี และหุ้นในกลุ่มที่ดินด้วย
เช่น ราคาหุ้นของบริษัท Aromatic หรือ ATC ได้ปรับตัวขึ้นจาก 4 บาท มาที่แถว 70 บาท ในระยะเวลา 3 ปีเท่านั้น หรือให้ผลตอบแทนเกือบ 18 เท่า
หรือหุ้นที่ดินอย่างบริษัท Land and House ได้ปรับตัวขึ้นมาจาก 11 บาท (Par 10 บาท) มาที่ 14 บาท (Par 1 บาท) หรือให้ผลตอบแทนมากกว่า 15 เท่า รวม warrants ด้วย
เหตุที่วงจรของกลุ่มปิโตรเคมีรุ่งเรืองในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเป็นเพราะโรงงานได้หยุดการสร้างมาเป็นเวลานานตั้งแต่เกิด Asian Crisis ในปี พ.ศ.2540 เช่นโรงกลั่นโรงสุดท้ายในประเทศไทยถูกก่อสร้างในช่วง พ.ศ.2535 เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ทำให้ความต้องการสูง และกำลังผลิตไม่มีการขยาย ราคาของผลิตภัณฑ์ก็สูงขึ้นเป็นก้าวกระโดด
นอกจากนี้ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น การลงทุนในพันธบัตรจะทำให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าการลงทุนในกลุ่มที่ดิน สินค้าโภคภัณฑ์ และหุ้น และการที่ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบเป็นเวลานาน ทำให้เงินไหลออกจากระบบมาซื้อที่ดินเพิ่มขึ้น
3.ช่วงเศรษฐกิจเริ่มถดถอย
ความเชื่อมั่นจะลดลงอย่างรวดเร็ว เงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้น การเก็บวัตถุดิบ (inventory) เพื่อผลิตสินค้าจะลดลง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ดิน และหุ้นตกลง และในระยะนี้เองที่ว่า การลงทุนในพันธบัตรให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในหุ้น (Bond to beat equity market)
4.ช่วงถดถอยอย่างรุนแรง
ช่วงนี้การผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว เงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นสูงสุด จะเป็นอีกช่วงที่การลงทุนในพันธบัตรให้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนประเภทอื่น แต่ในกรณีที่เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงนี้ ถ้าเกิดจากการลดค่าเงิน (devaluation) เช่นในปี พ.ศ. 2540 จะทำให้ "หุ้นขึ้น" เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศสามารถซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นในราคาถูกลง และจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาซื้อที่ดินด้วย
เมื่อวงจรเศรษฐกิจแบ่งเป็น 4 ระยะ การลงทุนเพื่อผลตอบแทนสูงสุดควรอาศัยกลยุทธ์ Buy and Hold (ซื้อและถือ) ในระยะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวถึงฟื้นตัวสูงสุด
ในขณะที่กลยุทธ์ Buy on Weakness (ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว) ควรใช้สำหรับการลงทุนในระยะเศรษฐกิจถดถอย
--- จากบทความ money game ; Bizweek 10-16 june วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
เศรษฐกิจมักเคลื่อนไหวในลักษณะของ"วงจร" คือขึ้น ทรงตัว และปรับลง ซึ่งตามหลักพุทธศาสนาบอกว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป จากนั้นจะเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยปกติหนึ่งรอบของวงจร หรือวัฏจักร (Cycle) จะอยู่ที่ 10-15 ปี ดังนั้นการเลือกสินทรัพย์ (Asset Class) เพื่อการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาของเศรษฐกิจจึงต้องแตกต่างกันไปเพื่อให้ผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนสูงสุด
โดยทั่วไปวงจรเศรษฐกิจมักแบ่งออกเป็น 4 ช่วง
1.ช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นไข้จากการตกต่ำ (Recovery) หรือเริ่มผงกหัวขึ้น
สำหรับในเมืองไทยช่วง Recovery คือเมื่อปี 2542 ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจขณะนั้นคือ ดอกเบี้ยต่ำ เงินเฟ้อต่ำ รัฐบาลใช้มาตรการทั้งการเงินและการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การลดภาษีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ในช่วง Recovery สินทรัพย์ที่ควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนอย่างมาก คือ "หุ้น" เพราะราคาหุ้นจะสะท้อนอนาคต และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้อย่างรวดเร็ว (Stock market always reflects future) และจะสะท้อนถึงกำไรในปีถัดมาเข้ามาในราคาหุ้น
การลงทุนในหุ้นในช่วงเศรษฐกิจ Recovery จะให้ผลตอบแทนสูงต่อเนื่อง ตราบเท่าที่เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราสูงกว่าปีก่อนหน้า และสินทรัพย์ประเภทหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงสุดในช่วงสุดท้ายของดอกเบี้ยขาลง เช่นที่เราได้เห็นในปี 2546 ซึ่ง SET ได้ปรับตัวขึ้นมาจาก 400 จุดเศษ มาที่ 700 จุดเศษ ซึ่งก็เป็นช่วงที่ดอกเบี้ยเงินฝากปรับตัวลงมาเหลือแค่ 1%
หรือในปี พ.ศ. 2536 หุ้นได้ปรับตัวขึ้นจากแถว 800 จุดเศษ มาถึง 1600 จุดเศษ ปรากฏการณ์นี้สืบเนื่องจากเม็ดเงินที่สะสมมานาน (accumulation) และไม่สามารถหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงลงทุนได้ เม็ดเงินจึงเคลื่อนย้ายเงินลงทุนมาที่ตลาดหุ้น
จะเห็นว่าในทุกๆ 10 ปี จะมีวัฏจักรแบบที่หุ้นขึ้นกระฉูด 1 รอบ เช่น ในปี พ.ศ.2536 หรือ พ.ศ.2546 และในช่วงนี้เองราคาที่ดินจะต่ำสุด
ถ้าทฤษฎีนี้เป็นจริง เรามีโอกาสเห็นหุ้นขึ้นแบบกระทิงเดือดอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2556!
2.ช่วงฟื้นตัวถึงฟื้นตัวสูงสุด (Early to late upswing)
ช่วงนี้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนสูงสด เงินเฟ้อปรับตัวขึ้น ดอกเบี้ยระยะสั้นเริ่มปรับตัวขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) เช่น น้ำมัน ปิโตรเคมี เหล็ก ราคาที่ดินจะปรับตัวขึ้นสูงสุด ซึ่งส่งผลต่อหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี และหุ้นในกลุ่มที่ดินด้วย
เช่น ราคาหุ้นของบริษัท Aromatic หรือ ATC ได้ปรับตัวขึ้นจาก 4 บาท มาที่แถว 70 บาท ในระยะเวลา 3 ปีเท่านั้น หรือให้ผลตอบแทนเกือบ 18 เท่า
หรือหุ้นที่ดินอย่างบริษัท Land and House ได้ปรับตัวขึ้นมาจาก 11 บาท (Par 10 บาท) มาที่ 14 บาท (Par 1 บาท) หรือให้ผลตอบแทนมากกว่า 15 เท่า รวม warrants ด้วย
เหตุที่วงจรของกลุ่มปิโตรเคมีรุ่งเรืองในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเป็นเพราะโรงงานได้หยุดการสร้างมาเป็นเวลานานตั้งแต่เกิด Asian Crisis ในปี พ.ศ.2540 เช่นโรงกลั่นโรงสุดท้ายในประเทศไทยถูกก่อสร้างในช่วง พ.ศ.2535 เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ทำให้ความต้องการสูง และกำลังผลิตไม่มีการขยาย ราคาของผลิตภัณฑ์ก็สูงขึ้นเป็นก้าวกระโดด
นอกจากนี้ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น การลงทุนในพันธบัตรจะทำให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าการลงทุนในกลุ่มที่ดิน สินค้าโภคภัณฑ์ และหุ้น และการที่ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบเป็นเวลานาน ทำให้เงินไหลออกจากระบบมาซื้อที่ดินเพิ่มขึ้น
3.ช่วงเศรษฐกิจเริ่มถดถอย
ความเชื่อมั่นจะลดลงอย่างรวดเร็ว เงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้น การเก็บวัตถุดิบ (inventory) เพื่อผลิตสินค้าจะลดลง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ดิน และหุ้นตกลง และในระยะนี้เองที่ว่า การลงทุนในพันธบัตรให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในหุ้น (Bond to beat equity market)
4.ช่วงถดถอยอย่างรุนแรง
ช่วงนี้การผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว เงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นสูงสุด จะเป็นอีกช่วงที่การลงทุนในพันธบัตรให้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนประเภทอื่น แต่ในกรณีที่เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงนี้ ถ้าเกิดจากการลดค่าเงิน (devaluation) เช่นในปี พ.ศ. 2540 จะทำให้ "หุ้นขึ้น" เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศสามารถซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นในราคาถูกลง และจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาซื้อที่ดินด้วย
เมื่อวงจรเศรษฐกิจแบ่งเป็น 4 ระยะ การลงทุนเพื่อผลตอบแทนสูงสุดควรอาศัยกลยุทธ์ Buy and Hold (ซื้อและถือ) ในระยะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวถึงฟื้นตัวสูงสุด
ในขณะที่กลยุทธ์ Buy on Weakness (ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว) ควรใช้สำหรับการลงทุนในระยะเศรษฐกิจถดถอย
--- จากบทความ money game ; Bizweek 10-16 june วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล