หน้า 1 จากทั้งหมด 1
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2005 12:25 pm
โดย ปรัชญา
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2005 12:40 pm
โดย ต.หยวนเปียว
ต้องไม่ยึดติด ไม่คิดว่าตัวเองเป็นวีไอ
เป็นคนรู้คุณค่าโดยธรรมชาติ
ไม่ต้องคิดมาก ซับซ้อนมาก
ยินดีรับฟังแม้ความคิดที่คิดว่าเชยที่สุด
จากมือใหม่ หรือแม้แต่เสียงจากคนไม่ได้เล่นหุ้น
ผมจำและชอบ สิ่งที่พี่ปรัชญาเคยสอนไว้
"ผมไม่ใช่วีไอ แต่ผมถือหุ้นได้นานกว่าวีไอ"
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2005 12:42 pm
โดย ปรัชญา
สับสน บ่อยๆครับ
คนหนึ่ง วีไอ แบบไม่ขาย
คนหนึ่ง วีไอ ทางบัญชี
คนหนึ่ง วีไอ เงินปันผล
คุณเต่า วีไอ แบบไหนที่คิดว่าดีที่สุด
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2005 12:51 pm
โดย ต.หยวนเปียว
หากจะตอบคงจะบอกว่า เป็นวีไอที่ไม่มีอัตตา
ผมเคยบอกคุณหมูว่า
ไม่ใช่หุ้นวีไอ ไม่ใช่อะไรๆวีไอ เก่งบัญชี เก่งการเทรด ฯลฯ
แต่ใจต้องเป็นวีไอ ยกตัวอย่างเช่นพี่ปรัชญาไงครับ
เป็นแบบอย่างให้น้องๆ
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2005 2:47 pm
โดย สามัญชน
ผมก็สับสนเหมือนพี่ปรัชญาครับ แต่คงจะมากกว่า
ไม่รู้ว่าเป็นVI วันนี้ แล้วสภาพวันหน้าจะเป็นยังไง
ก็เลยย้อนดูอดีตและดูปัจจุบัน
ดูปัจจุบันก็เห็น ดร.นิเวศน์ประสบผลสำเร็จดีจริงๆ
เห็นบัฟเฟตต์รวยจริงๆ
เห็นคุณฉัตรชัยมีอิสรภาพทางการเงิน
เขาได้พิสูจน์มาแล้วยาวนานพอสมควรว่าเป็นวิธีที่ดี
คุณฉัตรชัยเด่นด้านบัญชี
บัฟเฟตต์และ ดร.เด่นด้านวิสัยทัศน์
ผมก็เลยว่า วิธีของเขา มันน่าจะถูกต้องนะ น่าศึกษานะ แม้ผมจะทำตามได้ไม่ทั้งหมด ด้วยข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2005 2:53 pm
โดย nanchan
นั่นซิครับ ต้องทำไงบ้าง
อยากให้บางท่านช่วยไล่เรียงที ผมก็งงจริงๆ
ส่วนมากคนที่รวย ก็รู้ แต่ไม่รู้ ก็คือไม่รวย
แล้วคนเล่นหุ้นเยอะแยะ เราไม่รู้เยอะนะ
ตอนนี้ผมก็มีอิสระภาพทางการเงินได้นะ
1.ไม่ต้องกู้
2.ไม่ทำงานก็อยู่ได้
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2005 3:43 pm
โดย naris
เป็น VI เนี่ย
ต้องติดตามข่าวสารของ บริษัทที่ถือหุ้นตลอดหรือเปล่า
ต้องแกะงบบัญชี เป็นหรือเปล่า
ต้องเรียนรู้อุตสาหกรรม หรือเปล่า
ต้องรู้จัก ชื่อ นามสกุล เจ้าของ-ผู้บริหารจัดการหรือเปล่า
ต้องมีเงินแข็ง (เพราะแช่เย็นหรือเปล่า)
ต้องทำอย่างไร ให้ดูดีที่สุด
ต้องทำอย่างไรเมื่ออยากหาเหตผลในการขาย
ต้องทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าหุ้นหันหัวลง โดยไม่รู้ว่าจะฟื้นเมื่อไหร่
รวยหุ้นแล้วจะจัดการกับหุ้นอย่างไร
เปลี่ยนหุ้นเป็นเงินสด
เปลี่ยนหุ้นเป็นรถยนต์
เปลี่ยนหุ้นเป็นที่ดิน
เปลี่ยนหุ้นเป็นเงินฝากกินดอกเบี้ย
ไม่เปลี่ยนหุ้นเป็นอะไรเลย ก็คิดว่าเป็นเจ้าของนี่นา
คำถามคือคำตอบ
คุณปรัชญามีจิตวิทยาสอนน้องดีจริงๆ ขอบคุณครับ
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2005 3:49 pm
โดย harry
ผมมองว่า VI จะลงทุน หรือทำอะไรก็ตาม จะต้องใช้เหตุผลที่ดีในการตัดสินใจทำครับ
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 12:08 am
โดย moo
หากจะตอบคงจะบอกว่า เป็นวีไอที่ไม่มีอัตตา
ผมเคยบอกคุณหมูว่า
ไม่ใช่หุ้นวีไอ ไม่ใช่อะไรๆวีไอ เก่งบัญชี เก่งการเทรด ฯลฯ
แต่ใจต้องเป็นวีไอ ยกตัวอย่างเช่นพี่ปรัชญาไงครับ
เป็นแบบอย่างให้น้องๆ
ลึกซึ้งอย่างยิ่งครับ
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 12:41 am
โดย เพื่อนพูห์
หมดขวดเลยเหรอครับ
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 9:44 am
โดย Jeng
ข้อแรกต้องตั้งนิยามสำหรับคำว่า VI สำหรับตัวเอง
ข้อที่สองต้องรักในการเป็น VI
ยกตัวอย่าง มังสวิรัต ยังมี 7 แบบ บางคนกินไข่ บางคนไม่กิน บางคนกินนม บางคนไม่กิน
ก็เป็นมังทั้งนั้นแหละ
Re: เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 10:35 am
โดย PP
ปรัชญา เขียน:8)
เป็น VI เนี่ย
...........................................................................................
เอ...เอาอย่างไงดีครับ ท่านผู้ชม
ผมว่าจะให้มีคนแนะนำผู้มากด้วยประสบการณ์และประสบความความสำเร็จในตลาดหุ้นไทยมาแล้วอย่างคุณปรัชญา คงไม่มีใครกล้าแน่นอน ผมว่าเปรียบเหมือนไปสอนสังฆราชในเรื่องคำสอนศาสนา หรือ ไม่ก็เปรียบเหมือนสอนจระเข้ว่ายน้ำ หุหุหุ
อย่างไรก็ตาม ผมได้บทความที่เขียนโดย Warren Buffett ลงในนิตยสาร Forbes เมื่อ 18 ปีที่แล้ว( 19 ตุลาคม 1987) พร้อมคำให้สัมภาษณ์ของ Philip Fisher ในช่วงเดียวกัน น่าที่จะพอให้คำตอบต่อคำถามที่คุณปรัชญาตั้งไวที่ห้วกระทู้ไม่มากก้อน้อยนะครับ โดยเฉพาะ VI นั้นไม่จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่แบ่งได้เป็น 2 จำพวกใหญ่ตามที่ผมจะสรุปต่อไปนี้นะครับ
ปล. หากใครช่วยถอดความเป็นภาษาไทยด้วยจะเป็นปiะโยชน์ต่อสมาชิก TVI ทุกท่านเลยครับ
เท่าที่ผมอ่านดู พอจะสรุปบทความได้อย่างนี้ครับ Buffett บอกว่านักลงทุนมี 2 ประเภท เหมือนกับคนแทงม้าก็มี 2 ประเภท ประเภทแรก คำนึงถึง ฝีเท้าความเร็วของม้า(Speed) ประเภทที่สอง คำนึงถึง ชั้นของม้า(Class) คนแทงม้าที่มุ่งเน้นตรวจเช็คข้อมูลม้าว่าตัวไหนวิ่งเร็วที่สุดในการแข่งครั้งล่าสุด แล้วเอาข้อมูลมาปรับเข้ากับสภาพลู่แข่งขณะนั้น และน้ำหนักถ่วงตัวม้า ฯลฯ เหล่านี้จัดเป็นประเภทแรก ส่วนประเภทหลังจะไม่ใส่ใจกับข้อมูลตัวเลขอย่างที่บอกข้างต้น แต่เขาจะถามถึงสายเลือดของม้าตัวนั้นๆ และคุณภาพของม้าคู่แข่งในอดีต
นักลงทุนพวกที่ประเมินมูลค่าด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ(quantitative factors)เพื่อใช้หาซื้อราคาถูกเทียบกับองค์ประกอบต่างๆ P/E, Book Value, Yield ฯลฯ เปรียบเหมือนคนแทงม้าประเภทแรก ส่วนนักลงทุนพวกประเมินมูลค่าด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ(qualitaitve factors) จะเลือกซื้อหุ้นบริษัทที่ดีที่สุด มีทีมบริหารที่เยี่ยมที่สุด โดยไม่ใคร่กังวลต่อเรื่องตัวเลขมากนัก จัดเป็นกลุ่มเดียวกับคนแทงม้าประเภทหลัง เขาบอกทั้งสองแบบให้ผลตอบแทนดีทั้งคู่ถ้าหากศึกษาและปฎิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริง
สำหรับ Buffett บอกว่าขาโชคดีที่มีโอกาสได้เรียนรู้แนวคิดทั้ง 2 อย่างทั้งจาก Ben Graham (นักลงทุนผู้ประเมินมูลค่าเชิงปริมาณ) และ Philip Fisher(นักลงทุนผู้ประเมินมูลค่าเชิงคุณภาพ)ตั้งแต่อายุยังน้อย และเขาก็สังเคราะห์แนวคิดทั้งสองเขาด้วยกันจึงทำให้เขาได้รับรางวัลอย่างมากมายมหาศาล
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 10:38 am
โดย PP
อันนี้เป็นบทความที่เขียนโดย Warren Buffett:
Warren Buffett เขียน:
Forbes October 19th 1987
By Warren Buffett
HORSE HANDICAPPERS fall into two major categories: speed and class. The speed dopester wants lots of figures: He pores over the form sheet to determine which horse posted the fastest time in recent races, adjusted for track conditions, weight carried, etc. The class handicapper scorns number. "Tell me about bloodlines and the quality of past opposition," he says.
These differing doctrines have their parallel in the investment world -- between analysts emphasizing quantitative factors and those who favor a qualitative approach.
The quantitative analyst says, "Let's buy the cheapest stock as measured by some combination of price/earnings ratio, book value, yield, etc."
The qualitative analyst says, "Buy the best company, the best management and don't worry too much about the numbers."
Happily, there's more than one way to get to financial heaven. Skilled and insightful practitioners of either persuasion will be rewarded. I was lucky to find good men of both persuasions early in my life, and the resulting synthesis of their ideas has been of enormous benefit to me.
I sought out Phil Fisher after reading his Common Stocks and Uncommon Profits and Paths to Wealth Through Common Stocks in the early 1960s.
When I met him, I was as impressed by the man as by his ideas. Much like Ben Graham, Fisher was unassuming, generous in spirit and an extraordinary teacher. From him I learned the value of the "scuttlebutt" approach: Go out and talk to competitors, suppliers, customers to find out how an industry or a company really operates.
A thorough understanding of the business, obtained by using Phil;s techniques, combined with the quantitative discipline taught by Ben, will enable one to make intelligent investment commitments. I am an eager reader of whatever Phil has to say, and I recommend him to you.
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 10:48 am
โดย SmileGraycop
คงต้องมองที่จุดหมายกระมังครับ ในแง่ว่าให้ได้ประโยชน์จากเงินที่ลงไปโดยมีสมดุลระหว่างความมั่นคงกับผลตอบแทนที่เหมาะสม
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 10:52 am
โดย ปรัชญา
คุณPP กล่าวถึงบัฟเฟ่ตต์
โดยนำข้อเขียน เรื่องม้า มาเปรียบเทียบนี้ดีมากครับ
มองเห็นหุ้นโตไว
และหุ้นปันผลมั่นคง
ขอบคุณครับ
จะให้ผมเป็นสังฆาสไม่ไหวครับ
ผมชอบกินไก่วัด
คุณหมอสามัญชน ก็พูดได้น่าคิดครับ
เล่นหุ้นแบบVI วันข้างหน้าไม่รู้จะเป็นอย่างไร
คนไหนรวยแล้วอย่าลืมพวกเราก็แล้วกัน
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 10:52 am
โดย PP
ส่วนบทสัมภาษณ์ Philip Fisher ในช่วงเวลาเดียวกัน พบมีการกล่าวพาดพิงถึง KKR (Klai Kred Ratio) เหมือนกันในหน้าท้ายๆ นั่นคือ ลูกค้าของเขาเคยยุให้เขาขายหุ้นเพื่อเอาทุนคืนบางส่วนเมื่อได้กำไรเช่นกำไร 100%(เขาบอกว่าเป็นการดึงเอาเหยื่อล่อออกมาเก็บไว้ก่อน) ซึ่งคำให้สัมภาษณ์ของปู่ Philip Fisher ท่านบอกว่าไม่เห็นด้วยเพราะประสบการณ์มันสอนแกว่าเจอดีมาแล้วครับ
แต่ว่าบทสัมภาษณ์นี้ยาวถึง 7 หน้ากระดาษ ไม่ทราบว่าเอามาลงไว้ในนี้จะเลอะเทอะกระทู้นี้หรือเปล่าไม่ทราบ อีกอย่างไม่ทราบเป็นการละเมิดลิขสิทธิของ Forbes หรือเปล่าก็ไม่รู้ ท่านผู้บริหารเว็บ ออกความเห็นด้วยครับ
ถ้าไม่ว่าไรผมก็จะโพสต์ทั้ง 7 หน้าลงในกระทู้นี้เลย
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 10:55 am
โดย ปรัชญา
คุณPP เขียนคัดลอกไว้ในห้องบทความก็ได้ครับ
เป็นวิธีการอย่างหนึ่งให้นักลงทุนรุ่นใหม่ได้ศึกษาหาความรู้กันครับ
เพราะไว้ห้องนี้ เดี๋ยวก็เลือนกระทู้หายไป
ไว้ห้องบทความจะค้นคว้าหาความรู้ง่ายกว่าครับ
รบกวนด้วยครับ เพื่อส่วนรวม
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 4:08 pm
โดย ลูกอิสาน
PP เขียน:
แต่ว่าบทสัมภาษณ์นี้ยาวถึง 7 หน้ากระดาษ ไม่ทราบว่าเอามาลงไว้ในนี้จะเลอะเทอะกระทู้นี้หรือเปล่าไม่ทราบ อีกอย่างไม่ทราบเป็นการละเมิดลิขสิทธิของ Forbes หรือเปล่าก็ไม่รู้ ท่านผู้บริหารเว็บ ออกความเห็นด้วยครับ
ถ้าไม่ว่าไรผมก็จะโพสต์ทั้ง 7 หน้าลงในกระทู้นี้เลย
รบกวนคุณ PP โพสต์ได้ไหมครับ
ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์มากทีเดียว
(
:lol: ไหนๆ ก็แหย่ขามาข้างนึงแล้ว และเค้าคงไม่ฟ้องร้องเราหรอกครับ เพราะเราเป็นแค่ตัวเล็กๆ และเป็นบทความผ่านมาตั้ง 18 ปีแล้ว :lol: :lol: )
เป็น VI ต้องทำไงบ้างครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 10, 2005 6:19 pm
โดย PP
ลูกอิสาน เขียน:
รบกวนคุณ PP โพสต์ได้ไหมครับ
ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์มากทีเดียว
...................................................................
ผมโพสต์ไปไว้ที่ห้องบทความนักลงทุน ตามคำเรียกร้องของคุณปรัชญาแล้วตั้งแต่ตอนเช้า และตอนนี้ผมก็ประกาศหาอาสาสมัครถอดความให้เป็นภาษาไทยเพื่อให้ทุกคนไว้อ่านศึกษาแนวคิดของผู้เป็นต้นคิดการลงทุนแบบประเมินเชิงคุณภาพ (เห็นปู่ Fisher ว่าไว้อย่างนั้น)
คุณลูกอีกสานช่วยหน่อยได้ไหมครับ แปลเป็นตอนๆต่อไว้ในบทภาษาอังกฤษจะเยี่ยมมาก
A talk with Philip Fisher
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=11434