คนไทยเกือบ 70% มีพฤติกรรมอ่านหนังสือ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2005 9:30 am
ไชโย! คนไทยเกือบ 70% มีพฤติกรรมอ่านหนังสือ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2548 18:39 น.
ไชโย! คนไทยเกือบ 70% มีพฤติกรรมอ่านหนังสือ โดยสนใจอ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุด และสนใจเนื้อหาสาระข่าวเป็นอันดับแรก แต่ยังพบคนไม่อ่านหนังสืออีก 18.3 ล้านคน โดย 3.3 ล้านคนอ่านหนังสือไม่ออก ส่วนคนอ่านหนังสือออกแล้วไม่อ่าน ให้เหตุผลชอบดูทีวีมากกว่า
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชาชน ครั้งที่2 หลังจากที่ในปี 2546 ได้ทำการสำรวจเป็นครั้งแรก ตามนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนรักการอ่าน สำหรับการสำรวจได้สัมภาษณ์ประชาการอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกในครัวเรือนตัวอย่าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้อ่านหนังสือ พฤติกรรมการอ่านหนังสือ และเหตุผลที่ไม่อ่านหนังสือ ตลอดจนความคิดเห็นในเรื่อววิธีการส่งเสริมจูงใจให้ประชาชนรักการอ่าน ทั้งนี้ การอ่าน หมายถึง การอ่านหนังสือทุกประเภท รวมถึงตำราเรียน ตลอดจนอ่านจากอินเตอร์เน็ต
ผลการสำรวจพบว่า จำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ประมาณ 59.2 ล้านคน มีผู้อ่านหนังสือประมาณ 40.9 ล้านคนหรือ 69.1% โดยสัดส่วนการอ่านของชาย 51.5% และเพศหญิง 48.5% เมื่อพิจารณาการอ่านหนังสือตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเด็ก อายุ 10-14 ปี อ่านหนังสือสูงสุด 95.2% เนื่องจากอยู่ในวัยกำลังเรียน ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ รองลงมาคือกลุ่มเยาวชน อายุ 15-24 ปี 83.1% สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราการอ่านต่ำสุดคือ 37.4% ซึ่งผู้ที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้ที่จบการศึกษาในระดับอื่นๆ คือ 96.3% ผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่ามีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด คือ 61.8%
สำหรับประเภทหนังสือที่ประชาชนสนใจอ่านมากที่สุด ได้แก่ หนังสือพิมพ์ 72.9% นวนิยาย การ์ตูน หนังสืออ่านเล่น 45.4% นิตยสาร 36.9% ตำราเรียนตามหลักสูตร 34.4% การอ่านจากอินเทอร์เน็ต 10.2% และอ่านหนังสือ/ซีดีธรรมะ 5.7% โดยเนื้อหาสาระที่ผู้อ่านส่วนใหญ่ชอบอ่าน คือ ข่าว 45.6% และสาระบันเทิง 25.6% ทั้งนี้ เวลาที่ใช้อ่านหนังสือโดยเฉลี่ยแต่ละวันประมาณ 1 ชั่วโมง 59 นาที
จากการสำรวจพบว่า มีประชากรที่ไม่อ่านหนังสือประมาณ 18.3 ล้านคน คิดเป็น 30.9% ในจำนวนผู้ไม่อ่านหนังสือ เป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก 3.3 ล้านคน สำหรับผู้ที่อ่านหนังสือออกแต่ไม่อ่านส่วนใหญ่ 48.4% ให้เหตุผลว่า ชอบดูทีวีมากกว่า ไม่มีเวลาอ่าน และมีปัญหาสุขภาพ
ทั้งนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน หนังสือควรมีราคาถูกลง เนื้อหาสาระน่าสนใจ สามารถซื้อได้ง่าย ควรส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านและควรมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อชักจูงให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2548 18:39 น.
ไชโย! คนไทยเกือบ 70% มีพฤติกรรมอ่านหนังสือ โดยสนใจอ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุด และสนใจเนื้อหาสาระข่าวเป็นอันดับแรก แต่ยังพบคนไม่อ่านหนังสืออีก 18.3 ล้านคน โดย 3.3 ล้านคนอ่านหนังสือไม่ออก ส่วนคนอ่านหนังสือออกแล้วไม่อ่าน ให้เหตุผลชอบดูทีวีมากกว่า
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชาชน ครั้งที่2 หลังจากที่ในปี 2546 ได้ทำการสำรวจเป็นครั้งแรก ตามนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนรักการอ่าน สำหรับการสำรวจได้สัมภาษณ์ประชาการอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกในครัวเรือนตัวอย่าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้อ่านหนังสือ พฤติกรรมการอ่านหนังสือ และเหตุผลที่ไม่อ่านหนังสือ ตลอดจนความคิดเห็นในเรื่อววิธีการส่งเสริมจูงใจให้ประชาชนรักการอ่าน ทั้งนี้ การอ่าน หมายถึง การอ่านหนังสือทุกประเภท รวมถึงตำราเรียน ตลอดจนอ่านจากอินเตอร์เน็ต
ผลการสำรวจพบว่า จำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ประมาณ 59.2 ล้านคน มีผู้อ่านหนังสือประมาณ 40.9 ล้านคนหรือ 69.1% โดยสัดส่วนการอ่านของชาย 51.5% และเพศหญิง 48.5% เมื่อพิจารณาการอ่านหนังสือตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเด็ก อายุ 10-14 ปี อ่านหนังสือสูงสุด 95.2% เนื่องจากอยู่ในวัยกำลังเรียน ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ รองลงมาคือกลุ่มเยาวชน อายุ 15-24 ปี 83.1% สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราการอ่านต่ำสุดคือ 37.4% ซึ่งผู้ที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้ที่จบการศึกษาในระดับอื่นๆ คือ 96.3% ผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่ามีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด คือ 61.8%
สำหรับประเภทหนังสือที่ประชาชนสนใจอ่านมากที่สุด ได้แก่ หนังสือพิมพ์ 72.9% นวนิยาย การ์ตูน หนังสืออ่านเล่น 45.4% นิตยสาร 36.9% ตำราเรียนตามหลักสูตร 34.4% การอ่านจากอินเทอร์เน็ต 10.2% และอ่านหนังสือ/ซีดีธรรมะ 5.7% โดยเนื้อหาสาระที่ผู้อ่านส่วนใหญ่ชอบอ่าน คือ ข่าว 45.6% และสาระบันเทิง 25.6% ทั้งนี้ เวลาที่ใช้อ่านหนังสือโดยเฉลี่ยแต่ละวันประมาณ 1 ชั่วโมง 59 นาที
จากการสำรวจพบว่า มีประชากรที่ไม่อ่านหนังสือประมาณ 18.3 ล้านคน คิดเป็น 30.9% ในจำนวนผู้ไม่อ่านหนังสือ เป็นผู้อ่านหนังสือไม่ออก 3.3 ล้านคน สำหรับผู้ที่อ่านหนังสือออกแต่ไม่อ่านส่วนใหญ่ 48.4% ให้เหตุผลว่า ชอบดูทีวีมากกว่า ไม่มีเวลาอ่าน และมีปัญหาสุขภาพ
ทั้งนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน หนังสือควรมีราคาถูกลง เนื้อหาสาระน่าสนใจ สามารถซื้อได้ง่าย ควรส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านและควรมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อชักจูงให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น