นักสิ่งแวดล้อมชี้ "แคทรินา" เกิดจากปัญหาโลกร้อน
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 03, 2005 8:49 am
2 กันยายน 2548 16:54 น.
เตือนโลกต้องเผชิญเฮอร์ริเคนระดับรุนแรงไปอีกอย่างน้อย 20 ปี
เวียนนา - นักสิ่งแวดล้อมเตือนปัญหาโลกร้อนทำให้เกิดเฮอร์ริเคนที่มีกำลังรุนแรงเช่นพายุแคทรินา ทั้งจะทำให้เกิดภัยธรรมชาติอื่นๆ อาทิ น้ำท่วม หิมะถล่ม ภัยแล้ง ชี้หากไม่เร่งแก้ไขโลกจะร้อนขึ้นไปอีก 6 องศาเซลเซียส ภายในปี 2643
นายคาร์ล เชลล์มานน์ โฆษกกลุ่มสิ่งแวดล้อม "โกลบอล 2000" เปิดเผยว่า ภัยธรรมชาติทั่วโลกจะทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในอนาคต ผลจากปัญหาโลกร้อน โดยปัจจุบัน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอยู่ที่ 380 ส่วนต่อล้านส่วน สูงกว่าเมื่อครึ่งล้านปีก่อนราว 30%
นายเชลล์มานน์ เผยว่า ผลกระทบจากภาวะก๊าซเรือนกระจกทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มราว 0.6 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ปี 2543 นำไปสู่การก่อตัวของพายุเฮอร์ริเคนที่มีอำนาจทำลายล้างรุนแรงอย่างเฮอร์ริเคน "แคทรินา" ที่เพิ่งสร้างความเสียหายครั้งใหญ่กับสหรัฐเมื่อต้นสัปดาห์
ปัญหาดังกล่าวยังทำให้เกิดน้ำท่วมบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้นในออสเตรียและพื้นที่อื่นๆ และอีกทางหนึ่ง ภาวะโลกร้อนอาจทำให้เกิดหิมะตกหนักเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้คน ส่วนฤดูหนาวจะสั้นลง หิมะตกหนักและมีลมแรง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดหิมะถล่ม
โกลบอล 2000 ระบุว่า หากไม่มีมาตรการแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิโลกอาจเพิ่มอีกราว 6 องศาเซลเซียสภายในปี 2643 และว่า คนรุ่นต่อไปต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่แย่กว่าปัจจุบัน
"เราจะต้องเจอกับน้ำท่วมทุกปี ปีละอย่างน้อย 3 ครั้ง ระหว่างนั้นอาจเกิดภัยแล้งและสภาพอากาศร้อนจัด" เชลล์มานน์ ระบุ
ภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงอีกครั้ง เมื่อสหรัฐ ซึ่งไม่ร่วมลงนามสนธิสัญญาโลกร้อนเกียวโต ถูกเฮอร์ริเคนแคทรินา ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 5 หรือระดับสูงสุด ถล่มเข้าใส่ 4 รัฐทางใต้ริมอ่าวเม็กซิโก
ผลวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ว่า เฮอร์ริเคนได้กลายเป็นพายุที่มีความรุนแรงขึ้นกว่าช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกก็เพิ่มขึ้นด้วย
นักวิทยาศาสตร์อื่นๆ เห็นว่า พื้นที่ริมอ่าวเม็กซิโกและพื้นที่แอ่งริมมหาสมุทรแอตแลนติกกำลังเผชิญกับพายุเฮอร์ริเคนระดับรุนแรงต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 20 ปี
อย่างไรก็ตาม โรเจอร์ พีลเก จูเนียร์ ซึ่งศึกษาด้านผลกระทบทางสังคมจากหายนภัยทางธรรมชาติและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความรุนแรงของเฮอร์ริเคนแคทรินา เฮอร์ริเคนอื่นๆ และภาวะโลกร้อน ขณะที่นักพยากรณ์อากาศส่วนใหญ่ระบุว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะมีผลเพิ่มกำลังลมของเฮอร์ริเคนไม่เกิน 5% ในช่วงศตวรรษนี้
ขณะนายเทอร์รี ริชาร์ดสัน นักฟิสิกส์แห่งวิทยาลัยชาร์สตันติงว่า แม้ยังไม่อาจระบุความเชื่อมโยงชัดเจน แต่ก็ยังไม่อาจปัดประเด็นดังกล่าวออกไป
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดเฮอร์ริเคนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์หลายครั้ง นักวิจัยบางส่วนมองว่า เป็นผลจากระดับความเค็มและการเปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิของกระแสน้ำลึกใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีวัฏจักรที่ต้องเปลี่ยนแปลงทุก 40-60 ปี
เตือนโลกต้องเผชิญเฮอร์ริเคนระดับรุนแรงไปอีกอย่างน้อย 20 ปี
เวียนนา - นักสิ่งแวดล้อมเตือนปัญหาโลกร้อนทำให้เกิดเฮอร์ริเคนที่มีกำลังรุนแรงเช่นพายุแคทรินา ทั้งจะทำให้เกิดภัยธรรมชาติอื่นๆ อาทิ น้ำท่วม หิมะถล่ม ภัยแล้ง ชี้หากไม่เร่งแก้ไขโลกจะร้อนขึ้นไปอีก 6 องศาเซลเซียส ภายในปี 2643
นายคาร์ล เชลล์มานน์ โฆษกกลุ่มสิ่งแวดล้อม "โกลบอล 2000" เปิดเผยว่า ภัยธรรมชาติทั่วโลกจะทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในอนาคต ผลจากปัญหาโลกร้อน โดยปัจจุบัน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอยู่ที่ 380 ส่วนต่อล้านส่วน สูงกว่าเมื่อครึ่งล้านปีก่อนราว 30%
นายเชลล์มานน์ เผยว่า ผลกระทบจากภาวะก๊าซเรือนกระจกทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มราว 0.6 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ปี 2543 นำไปสู่การก่อตัวของพายุเฮอร์ริเคนที่มีอำนาจทำลายล้างรุนแรงอย่างเฮอร์ริเคน "แคทรินา" ที่เพิ่งสร้างความเสียหายครั้งใหญ่กับสหรัฐเมื่อต้นสัปดาห์
ปัญหาดังกล่าวยังทำให้เกิดน้ำท่วมบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้นในออสเตรียและพื้นที่อื่นๆ และอีกทางหนึ่ง ภาวะโลกร้อนอาจทำให้เกิดหิมะตกหนักเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้คน ส่วนฤดูหนาวจะสั้นลง หิมะตกหนักและมีลมแรง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดหิมะถล่ม
โกลบอล 2000 ระบุว่า หากไม่มีมาตรการแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิโลกอาจเพิ่มอีกราว 6 องศาเซลเซียสภายในปี 2643 และว่า คนรุ่นต่อไปต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่แย่กว่าปัจจุบัน
"เราจะต้องเจอกับน้ำท่วมทุกปี ปีละอย่างน้อย 3 ครั้ง ระหว่างนั้นอาจเกิดภัยแล้งและสภาพอากาศร้อนจัด" เชลล์มานน์ ระบุ
ภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงอีกครั้ง เมื่อสหรัฐ ซึ่งไม่ร่วมลงนามสนธิสัญญาโลกร้อนเกียวโต ถูกเฮอร์ริเคนแคทรินา ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 5 หรือระดับสูงสุด ถล่มเข้าใส่ 4 รัฐทางใต้ริมอ่าวเม็กซิโก
ผลวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ว่า เฮอร์ริเคนได้กลายเป็นพายุที่มีความรุนแรงขึ้นกว่าช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกก็เพิ่มขึ้นด้วย
นักวิทยาศาสตร์อื่นๆ เห็นว่า พื้นที่ริมอ่าวเม็กซิโกและพื้นที่แอ่งริมมหาสมุทรแอตแลนติกกำลังเผชิญกับพายุเฮอร์ริเคนระดับรุนแรงต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 20 ปี
อย่างไรก็ตาม โรเจอร์ พีลเก จูเนียร์ ซึ่งศึกษาด้านผลกระทบทางสังคมจากหายนภัยทางธรรมชาติและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความรุนแรงของเฮอร์ริเคนแคทรินา เฮอร์ริเคนอื่นๆ และภาวะโลกร้อน ขณะที่นักพยากรณ์อากาศส่วนใหญ่ระบุว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะมีผลเพิ่มกำลังลมของเฮอร์ริเคนไม่เกิน 5% ในช่วงศตวรรษนี้
ขณะนายเทอร์รี ริชาร์ดสัน นักฟิสิกส์แห่งวิทยาลัยชาร์สตันติงว่า แม้ยังไม่อาจระบุความเชื่อมโยงชัดเจน แต่ก็ยังไม่อาจปัดประเด็นดังกล่าวออกไป
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดเฮอร์ริเคนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์หลายครั้ง นักวิจัยบางส่วนมองว่า เป็นผลจากระดับความเค็มและการเปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิของกระแสน้ำลึกใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีวัฏจักรที่ต้องเปลี่ยนแปลงทุก 40-60 ปี