อิฐมวลเบา Q-CON-SUPER เปิดศึกราคา ร่อแร่ ทั้งคู่
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 15, 2005 11:17 pm
แกะรอย "หนังชีวิต" ธุรกิจ.."อิฐมวลเบา" "Q-CON-SUPER" เปิดศึกราคา "ร่อแร่" ทั้งคู่
ธุรกิจอิฐมวลเบาเดือด "Q-CON" เปิดเกมหั่นราคา 10% ขณะที่ "SUPER" ปรับราคาสู้ 15% ต้อนรับน้องใหม่ "DCON" ร่วมวงไพบูลย์ปลายปีนี้
ท่ามกลางธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่ช่วงชะลอตัว การฟาดฟันในธุรกิจ "ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา" นับวันยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จาก 2 คู่ชกสำคัญระหว่าง บริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดักส์ (Q-CON) กับ บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก (SUPER)
แม้ธุรกิจนี้จะมีคู่แข่งขันโดยตรงเพียงแค่ 2 รายในตลาด แต่กลุ่มผู้ใช้ก็ยังอยู่ในวงจำกัด และแนวโน้มการเติบโตเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ทั้ง 2 ฝ่ายจึงต้องใช้ "กลยุทธ์ลดราคา" เพื่อขยายตลาดอิฐมวลเบา เพราะก่อนหน้านี้ต่างฝ่ายต่างก็เร่งขยายกำลังการผลิตของตัวเอง
เพียงแค่ยกแรกทั้ง "Q-CON" และ "SUPER" ต่างก็บาดเจ็บไปทั้งคู่
ผลประกอบการ "ไตรมาส 2" ของ "Q-CON" ลดลงอย่างมาก "กำไรสุทธิ" งวดครึ่งปี 2548 ดิ่งลงจาก 152.83 ล้านบาท เหลือเพียง 29.49 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ทำได้ต่ำมากเพียงแค่ 1.38 ล้านบาท เพราะฉะนั้นในไตรมาส 3 และ 4 โอกาสที่สถานการณ์ของบริษัทจะดีขึ้นจึงเป็นไปได้ยาก
เช่นเดียวกับ "SUPER" ตัวเลขกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ลดเหลือ 29.75 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรปกติ 37.83 ล้านบาท (หากรวมกำไรพิเศษจากการยกเลิกสัญญาต่างตอบแทน ปี 2547 จะมีกำไรสุทธิ 352.83 ล้านบาท) ลดลง 21%
ทั้งหมดนี้เป็นการเปิดเกมของผู้นำตลาด "คิว-คอน" ที่ครองมาร์เก็ตแชร์กว่า 70% เพื่อหวังปิดอนาคต "คู่แข่ง" ทางธุรกิจ
"คิว-คอน" ได้เริ่มลดราคาอิฐมวลเบาลง 10% มาตั้งแต่ต้นไตรมาส 2 ที่ผ่านมา หลังจาก "มาร์จิน" ของอิฐมวลเบา ที่ "หอมหวาน" ได้ เริ่มดึงดูดให้คู่แข่งสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้เพิ่ม
"ซุปเปอร์บล๊อก" หลังเข้าตลาดก็เร่งขยายกำลังการผลิตโรงงานแห่งที่ 3 ที่จังหวัดพังงา ซึ่งหากแล้วเสร็จบริษัทจะมีกำลังการผลิตรวมที่ 5.7 ล้านตร.ม./ปี ยังมีคู่แข่งอย่าง บริษัท ดีคอน โปรดักส์ (DCON) ที่กำลังเข้ามาในธุรกิจนี้ด้วยการตั้งโรงงานผลิต 4 ล้านตร.ม./ปี ซึ่งกำหนดเปิดปลายปี
การลดราคาของ "คิว-คอน" ได้ทำควบคู่ไปกับการเร่งขยายไลน์การผลิต เพื่อให้ไปตามหลัก Economy of scale ยิ่งผลิตมาก "ต้นทุนยิ่งต่ำ"
จากไตรมาส 2 ปี 2547 มีโรงงานผลิตโรงเดียวมีกำลังการผลิต 3 ล้านตร.ม./ปี แต่ปัจจุบันคิว-คอนมี 3 โรงงานกำลังการผลิตรวม 9 ล้านตร.ม./ปี และปลายปีนี้จะเปิดอีกแห่งจะทำให้มีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 12 ตร.ม./ปี
"การที่บริษัทปรับลดราคานั้น เนื่องจากเห็นว่า เรามีกำลังการผลิตมาก คุ้มค่าเพียงพอที่จะลดราคาได้ อีกทั้งการขยายตัวของคู่แข่งก็มีมากขึ้นเพราะเห็นมาร์จินสูง จึงมีการเข้ามาเรื่อยๆ" กิตติ สุนทรมโนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดและการขาย เปิดเผยกับ "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek"
กิตติ อธิบายวิธีคิดของคิว-คอนให้ฟังว่า การรักษาแชมป์จะต้องทำไปพร้อมกับการขยายตลาด นั่นคือ ต้องเร่งขยายกำลังการผลิตให้เร็ว เพื่อยึดครอง "มาร์เก็ตแชร์" ให้มากที่สุด รวมถึงการนำ "อิฐมวลเบา" เร่งเข้าไปเจาะ "ตลาดอิฐมอญ" ให้ได้มากที่สุด
ในที่สุดแล้วต้องลดราคาเพื่อให้ลูกค้าไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง อิฐมวลเบา และ อิฐมอญ นอกจากนี้ คิว-คอน ยังต้องเร่งสร้างแบรนด์ ให้ลูกค้าเกิดการจดจำให้เร็วที่สุด
นับเป็นการเดินเกมตามแผนกลยุทธ์ Economy of speed "เร็วกว่า..ยิ่งได้เปรียบ" ตามรูปแบบการเดินเกมของกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่มี "อนันต์ อัศวโภคิน" เป็นหัวเรือใหญ่
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า "คิว-คอน" เดินเกมขยายธุรกิจ "ผิดจังหวะ" ถ้าตลาดบ้านระดับบน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักชะลอตัว ขณะที่ตลาดระดับกลาง และล่างยังนิยม "อิฐมอญ" ในภาวะอสังหาริมทรัพย์ "ขาลง" กำลังการผลิตของ "คิว-คอน" จะเหลือมหาศาล
เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นกำลังการผลิต "เหลือเฟือ" แต่ยอดขาย "ลดลง" ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ตัวเลขกำไรสุทธิของบริษัทออกมาไม่ดีนับต่อจากนี้
กิตติ บอกว่า การปรับราคาลงเมื่อเทียบกับยอดขายแล้ว ถือว่าเราพอใจ แม้ว่าตัวเลขจะไม่ได้ตามที่ต้องการ แต่ถ้าไม่ลดราคาตัวเลขยอดขายอาจจะติดลบลงไปอีก
เมื่อมองในมุมของ "คู่แข่ง" ทั้ง "ซุปเปอร์บล๊อก" และ "ดีคอน" ก็อยู่ในภาวะกดดันอย่างหนักถ้าจะลงมาเล่นสงครามราคานานๆ กับ "เจ้าตลาด" อย่าง "คิว-คอน"
อย่างไรก็ตาม กิตติ ยังหวังว่าในอนาคตโอกาสของอิฐมวลเบายังมีอีกมาก เพราะรัฐบาลมีนโยบายประหยัดพลังงาน อิฐมวลเบาซึ่งมีคุณสมบัติประหยัดพลังงานไฟฟ้าก็ยังคงมีแนวโน้มที่ดี
ฝั่ง "ซุปเปอร์บล๊อก" หลังจากที่ "คิว-คอน" ลดราคา "อิฐมวลเบา" ก็ถูกผลกระทบทันที
"จอมทรัพย์ โลจายะ" กรรมการผู้จัดการ ซุปเปอร์บล๊อก เปิดเผยว่า ภายหลังจากทาง คิว-คอน ลดราคาลงมาทางบริษัทก็ได้มีการลดราคาลงมาตามประมาณ 15% เพื่อแข่งขัน ซึ่งการลดราคาดังกล่าวไม่ได้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพราะสินค้าของบริษัทเกรดค่อนข้างดี
เขายอมรับว่า มาร์จินของธุรกิจอิฐมวลเบาคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันจะสูงขึ้น แต่ทั้งนี้บริษัทตั้งใจที่จะเลี่ยงการแข่งขันเรื่องราคา เนื่องจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายอาจจะสู้ไม่ได้
ดังนั้นซุปเปอร์บล๊อกจะปรับตัวโดยเน้นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อรักษามาร์จินโดยภาพรวมของบริษัทอาจจะมาเน้น "ผนังมวลเบา" หรือ การสร้างบ้านประเภทกึ่งสำเร็จรูป (พรีแฟบ) ที่ใช้อิฐมวลเบาสร้าง
"ไตรมาส 3 และ 4 นี้ ต้องเปลี่ยนสินค้าใหม่ออกมา เนื่องจากการแข่งขันของอิฐมวลเบาคงจะแข่งขันกันที่ราคา ในแง่การบริหารจึงควรที่จะปรับไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่น เพื่อให้ได้มาร์จินเข้ามาทดแทน"
ขณะที่กลยุทธ์การแข่งขันเพื่อแย่งชิงมาร์เก็ตแชร์ในตลาดอิฐมวลเบานั้น บริษัทก็จะยังคงมีการแข่งขันทางด้านการประมูลเพื่อรับงานด้วย โดยขณะนี้มีช่องทางขายผ่านทั้งตัวแทนจำหน่าย และนายหน้า ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพที่ดี
จอมทรัพย์ บอกว่า การแข่งขันทางด้านราคานั้นจะเกิดผลดีในระยะยาว ที่ผู้บริโภคจะหันมาใช้สินค้าอิฐมวลเบา แทนอิฐมอญมากขึ้น แต่ในระยะสั้นบริษัทจะต้องมีฝีมือในการบริหาร และควบคุมต้นทุน
จอมทรัพย์ ยังกล่าวถึงการเข้ามีเล่นตลาดอิฐมวลเบาของ ดีคอน ในปลายปีนี้ว่าคงจะไม่ทำให้ตลาดมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นเพราะเชื่อว่าจะเป็นตลาดคนละเซ็กเมนท์กัน
ด้านแหล่งข่าวจาก บริษัท ดีคอน โปรดักส์ (DCON) เปิดเผยว่า ถึงแม้สถานการณ์ของอิฐมวลเบาจะแข่งขันด้านราคากันรุนแรง แต่บริษัทก็จะเปิดตามกำหนดปลายปี โดยมีกลยุทธ์การแข่งขันอยู่แล้ว.."ถ้าเราไม่แน่ใจเราก็คงไม่เปิด"
http://www.bangkokbizweek.com/20050803/ ... 58619.html
ธุรกิจอิฐมวลเบาเดือด "Q-CON" เปิดเกมหั่นราคา 10% ขณะที่ "SUPER" ปรับราคาสู้ 15% ต้อนรับน้องใหม่ "DCON" ร่วมวงไพบูลย์ปลายปีนี้
ท่ามกลางธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่ช่วงชะลอตัว การฟาดฟันในธุรกิจ "ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา" นับวันยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จาก 2 คู่ชกสำคัญระหว่าง บริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดักส์ (Q-CON) กับ บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก (SUPER)
แม้ธุรกิจนี้จะมีคู่แข่งขันโดยตรงเพียงแค่ 2 รายในตลาด แต่กลุ่มผู้ใช้ก็ยังอยู่ในวงจำกัด และแนวโน้มการเติบโตเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ทั้ง 2 ฝ่ายจึงต้องใช้ "กลยุทธ์ลดราคา" เพื่อขยายตลาดอิฐมวลเบา เพราะก่อนหน้านี้ต่างฝ่ายต่างก็เร่งขยายกำลังการผลิตของตัวเอง
เพียงแค่ยกแรกทั้ง "Q-CON" และ "SUPER" ต่างก็บาดเจ็บไปทั้งคู่
ผลประกอบการ "ไตรมาส 2" ของ "Q-CON" ลดลงอย่างมาก "กำไรสุทธิ" งวดครึ่งปี 2548 ดิ่งลงจาก 152.83 ล้านบาท เหลือเพียง 29.49 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ทำได้ต่ำมากเพียงแค่ 1.38 ล้านบาท เพราะฉะนั้นในไตรมาส 3 และ 4 โอกาสที่สถานการณ์ของบริษัทจะดีขึ้นจึงเป็นไปได้ยาก
เช่นเดียวกับ "SUPER" ตัวเลขกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ลดเหลือ 29.75 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรปกติ 37.83 ล้านบาท (หากรวมกำไรพิเศษจากการยกเลิกสัญญาต่างตอบแทน ปี 2547 จะมีกำไรสุทธิ 352.83 ล้านบาท) ลดลง 21%
ทั้งหมดนี้เป็นการเปิดเกมของผู้นำตลาด "คิว-คอน" ที่ครองมาร์เก็ตแชร์กว่า 70% เพื่อหวังปิดอนาคต "คู่แข่ง" ทางธุรกิจ
"คิว-คอน" ได้เริ่มลดราคาอิฐมวลเบาลง 10% มาตั้งแต่ต้นไตรมาส 2 ที่ผ่านมา หลังจาก "มาร์จิน" ของอิฐมวลเบา ที่ "หอมหวาน" ได้ เริ่มดึงดูดให้คู่แข่งสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้เพิ่ม
"ซุปเปอร์บล๊อก" หลังเข้าตลาดก็เร่งขยายกำลังการผลิตโรงงานแห่งที่ 3 ที่จังหวัดพังงา ซึ่งหากแล้วเสร็จบริษัทจะมีกำลังการผลิตรวมที่ 5.7 ล้านตร.ม./ปี ยังมีคู่แข่งอย่าง บริษัท ดีคอน โปรดักส์ (DCON) ที่กำลังเข้ามาในธุรกิจนี้ด้วยการตั้งโรงงานผลิต 4 ล้านตร.ม./ปี ซึ่งกำหนดเปิดปลายปี
การลดราคาของ "คิว-คอน" ได้ทำควบคู่ไปกับการเร่งขยายไลน์การผลิต เพื่อให้ไปตามหลัก Economy of scale ยิ่งผลิตมาก "ต้นทุนยิ่งต่ำ"
จากไตรมาส 2 ปี 2547 มีโรงงานผลิตโรงเดียวมีกำลังการผลิต 3 ล้านตร.ม./ปี แต่ปัจจุบันคิว-คอนมี 3 โรงงานกำลังการผลิตรวม 9 ล้านตร.ม./ปี และปลายปีนี้จะเปิดอีกแห่งจะทำให้มีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 12 ตร.ม./ปี
"การที่บริษัทปรับลดราคานั้น เนื่องจากเห็นว่า เรามีกำลังการผลิตมาก คุ้มค่าเพียงพอที่จะลดราคาได้ อีกทั้งการขยายตัวของคู่แข่งก็มีมากขึ้นเพราะเห็นมาร์จินสูง จึงมีการเข้ามาเรื่อยๆ" กิตติ สุนทรมโนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาดและการขาย เปิดเผยกับ "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek"
กิตติ อธิบายวิธีคิดของคิว-คอนให้ฟังว่า การรักษาแชมป์จะต้องทำไปพร้อมกับการขยายตลาด นั่นคือ ต้องเร่งขยายกำลังการผลิตให้เร็ว เพื่อยึดครอง "มาร์เก็ตแชร์" ให้มากที่สุด รวมถึงการนำ "อิฐมวลเบา" เร่งเข้าไปเจาะ "ตลาดอิฐมอญ" ให้ได้มากที่สุด
ในที่สุดแล้วต้องลดราคาเพื่อให้ลูกค้าไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง อิฐมวลเบา และ อิฐมอญ นอกจากนี้ คิว-คอน ยังต้องเร่งสร้างแบรนด์ ให้ลูกค้าเกิดการจดจำให้เร็วที่สุด
นับเป็นการเดินเกมตามแผนกลยุทธ์ Economy of speed "เร็วกว่า..ยิ่งได้เปรียบ" ตามรูปแบบการเดินเกมของกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่มี "อนันต์ อัศวโภคิน" เป็นหัวเรือใหญ่
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า "คิว-คอน" เดินเกมขยายธุรกิจ "ผิดจังหวะ" ถ้าตลาดบ้านระดับบน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักชะลอตัว ขณะที่ตลาดระดับกลาง และล่างยังนิยม "อิฐมอญ" ในภาวะอสังหาริมทรัพย์ "ขาลง" กำลังการผลิตของ "คิว-คอน" จะเหลือมหาศาล
เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นกำลังการผลิต "เหลือเฟือ" แต่ยอดขาย "ลดลง" ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ตัวเลขกำไรสุทธิของบริษัทออกมาไม่ดีนับต่อจากนี้
กิตติ บอกว่า การปรับราคาลงเมื่อเทียบกับยอดขายแล้ว ถือว่าเราพอใจ แม้ว่าตัวเลขจะไม่ได้ตามที่ต้องการ แต่ถ้าไม่ลดราคาตัวเลขยอดขายอาจจะติดลบลงไปอีก
เมื่อมองในมุมของ "คู่แข่ง" ทั้ง "ซุปเปอร์บล๊อก" และ "ดีคอน" ก็อยู่ในภาวะกดดันอย่างหนักถ้าจะลงมาเล่นสงครามราคานานๆ กับ "เจ้าตลาด" อย่าง "คิว-คอน"
อย่างไรก็ตาม กิตติ ยังหวังว่าในอนาคตโอกาสของอิฐมวลเบายังมีอีกมาก เพราะรัฐบาลมีนโยบายประหยัดพลังงาน อิฐมวลเบาซึ่งมีคุณสมบัติประหยัดพลังงานไฟฟ้าก็ยังคงมีแนวโน้มที่ดี
ฝั่ง "ซุปเปอร์บล๊อก" หลังจากที่ "คิว-คอน" ลดราคา "อิฐมวลเบา" ก็ถูกผลกระทบทันที
"จอมทรัพย์ โลจายะ" กรรมการผู้จัดการ ซุปเปอร์บล๊อก เปิดเผยว่า ภายหลังจากทาง คิว-คอน ลดราคาลงมาทางบริษัทก็ได้มีการลดราคาลงมาตามประมาณ 15% เพื่อแข่งขัน ซึ่งการลดราคาดังกล่าวไม่ได้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพราะสินค้าของบริษัทเกรดค่อนข้างดี
เขายอมรับว่า มาร์จินของธุรกิจอิฐมวลเบาคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันจะสูงขึ้น แต่ทั้งนี้บริษัทตั้งใจที่จะเลี่ยงการแข่งขันเรื่องราคา เนื่องจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายอาจจะสู้ไม่ได้
ดังนั้นซุปเปอร์บล๊อกจะปรับตัวโดยเน้นการออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อรักษามาร์จินโดยภาพรวมของบริษัทอาจจะมาเน้น "ผนังมวลเบา" หรือ การสร้างบ้านประเภทกึ่งสำเร็จรูป (พรีแฟบ) ที่ใช้อิฐมวลเบาสร้าง
"ไตรมาส 3 และ 4 นี้ ต้องเปลี่ยนสินค้าใหม่ออกมา เนื่องจากการแข่งขันของอิฐมวลเบาคงจะแข่งขันกันที่ราคา ในแง่การบริหารจึงควรที่จะปรับไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่น เพื่อให้ได้มาร์จินเข้ามาทดแทน"
ขณะที่กลยุทธ์การแข่งขันเพื่อแย่งชิงมาร์เก็ตแชร์ในตลาดอิฐมวลเบานั้น บริษัทก็จะยังคงมีการแข่งขันทางด้านการประมูลเพื่อรับงานด้วย โดยขณะนี้มีช่องทางขายผ่านทั้งตัวแทนจำหน่าย และนายหน้า ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพที่ดี
จอมทรัพย์ บอกว่า การแข่งขันทางด้านราคานั้นจะเกิดผลดีในระยะยาว ที่ผู้บริโภคจะหันมาใช้สินค้าอิฐมวลเบา แทนอิฐมอญมากขึ้น แต่ในระยะสั้นบริษัทจะต้องมีฝีมือในการบริหาร และควบคุมต้นทุน
จอมทรัพย์ ยังกล่าวถึงการเข้ามีเล่นตลาดอิฐมวลเบาของ ดีคอน ในปลายปีนี้ว่าคงจะไม่ทำให้ตลาดมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นเพราะเชื่อว่าจะเป็นตลาดคนละเซ็กเมนท์กัน
ด้านแหล่งข่าวจาก บริษัท ดีคอน โปรดักส์ (DCON) เปิดเผยว่า ถึงแม้สถานการณ์ของอิฐมวลเบาจะแข่งขันด้านราคากันรุนแรง แต่บริษัทก็จะเปิดตามกำหนดปลายปี โดยมีกลยุทธ์การแข่งขันอยู่แล้ว.."ถ้าเราไม่แน่ใจเราก็คงไม่เปิด"
http://www.bangkokbizweek.com/20050803/ ... 58619.html