MAKRO
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 02, 2005 1:23 am
อ่านเกม "แม็คโคร" จ่ายปันผลระหว่างกาล 1,200 ล้านบาท สูงถึงหุ้นละ 5 บาท จากกำไรสุทธิที่ทำได้แค่ 475 ล้านบาท.. พบเงินปันผล ถูกถ่ายไปเข้ากระเป๋ากลุ่มทุน จากประเทศเนเธอร์แลนด์ กว่า 734 ล้านบาท ในขณะที่แผนขยายสาขาต้องหยุดชะงัก เพราะไม่เหลือใบอนุญาตแล้ว
ภายหลัง บริษัท สยามแม็คโคร (MAKRO) มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล จากกำไรสุทธิงวดครึ่งปี 2548 ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทในอัตราหุ้นละ 5 บาท รวมเป็นเงินปันผลทั้งสิ้น 1,200 ล้านบาท
จากกำไรสุทธิครึ่งปีที่ "แม็คโคร" ทำได้เพียง 475.26 ล้านบาท หรือ หุ้นละ 1.98 บาท โดยนำกระแสเงินสดของบริษัทจำนวน 3,778 ล้านบาท (ณ 31 สิงหาคม 2548) มาจ่ายนั้น..ทำให้เกิดคำถามตามมาทันทีว่า กลุ่มเอสเอชวี จาก ประเทศเนเธอร์แลนด์ อาจกำลังเดินแผน "ถอนทุนคืน" จาก "แม็คโคร" ภายหลัง "รวบอำนาจการบริหาร" แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
เพราะก่อนหน้านี้เพิ่งซื้อหุ้น "ล็อตใหญ่" คืนจากเครือซีพีเอฟ จำนวน 17.5 ล้านหุ้น หรือ 7.29% ในราคาหุ้นละ 60 บาท เป็นเงิน 1,050 ล้านบาท จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 61.21% โดยไม่มี "กลุ่มซีพี" มา "คานอำนาจ" เหมือนดังที่ผ่านมา
"เสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์" ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการเงิน กล่าวว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 บริษัทมีกำไรสะสม จำนวน 3,447.8 ล้านบาท เทียบเท่ากับ 14.37 บาทต่อหุ้น และ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2548 บริษัท มีเงินสดคงเหลืออยู่เป็นจำนวน 3,778 ล้านบาท จึงเห็นควรจะนำกำไรสะสมบางส่วนมาจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น โดยไม่ต้องจัดสรรเงินสำรองตามกฎหมายเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ให้กำหนดจ่าย เงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548
ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ ผลการดำเนินงานของ "แม็คโคร" เริ่มอ่อนตัวลง โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 ที่มีกำไรสุทธิ 219.45 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 9.9%
"ที่จริงยอดขายของบริษัทสูงกว่าปีที่แล้ว 13.8% เป็นผลมาจากมียอดขายสินค้าอาหารสด และอาหารแห้ง เพิ่มขึ้น แต่สินค้าดังกล่าวมีกำไรน้อย ขณะที่บริษัทมีค่าใช้จ่ายการจัดรายการส่งเสริมการขายเพิ่มขึ้น จึงทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเหลือ 5.7% จากไตรมาสก่อนที่มีกำไรขั้นต้น 6.3%" เสาวลักษณ์ กล่าว
นักวิเคราะห์รายหนึ่ง ให้เหตุผลอย่างน่าสนใจถึงการประกาศจ่ายปันผลของ แม็คโคร ว่า นี่อาจจะเป็นการถอนทุนคืนของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ "กลุ่มเอสเอชวี" จากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือหุ้นผ่าน ออร์คัม โฮลดิ้ง เอเชีย และ บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง (ประเทศไทย)
ปัจจุบันกลุ่มนี้เข้ามาถือครองหุ้น MAKRO สูงสุดนับจากบริษัทกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งสิ้น 146.91 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 61.21% โดยก่อนหน้านี้ "สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง" และ "ออร์คัม โฮลดิ้ง เอเชีย" ถือหุ้น MAKRO รวมกัน 53.92% หรือจำนวน 129.46 ล้านหุ้นเท่านั้น
ถ้าหากคำนวณจากเงินปันผลที่บริษัทจ่ายออกมาหุ้นละ 5 บาท จำนวนทั้งสิ้น 1,200 ล้านบาท กลุ่มเอสเอชวี จากเนเธอร์แลนด์ จะได้รับเงินปันผลครั้งนี้จำนวนมากถึง 734.56 ล้านบาทเลยทีเดียว
บล.กิมเอ็ง ประเมินว่า ในครึ่งปีหลังแม็คโครยังมีความสามารถจะจ่ายเงินปันผลออกมาอีกหุ้นละ 2 บาท รวมเป็น 7 บาทต่อหุ้น
หากเป็นไปตามนั้นจริง ออร์คัม โฮลดิ้ง เอเชีย และ บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จะได้รับปันผลอีก 293.82 ล้านบาท รวมทั้งปีจะได้รับเงินออกไปทั้งสิ้น 1,028.39 ล้านบาท
ตัวเลขนี้จะใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่ บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จ่ายค่าหุ้นให้กับซีพีเอฟ ไปจำนวน 1,050 ล้านบาท
นั่นหมายความว่าหุ้นที่บริษัทได้มาจำนวน 17.5 ล้านหุ้น จะกลายเป็น กำไรของกลุ่มเอสเอชวี ทั้งหมด
นับเป็นการเดินเกมอย่างเหนือชั้นของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ !!!
นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าหลังจากคุมอำนาจการบริหารแบบเบ็ดเสร็จ ก็มีการเพิ่ม "รายการระหว่างกัน" เพื่อถ่ายเงินไปให้กับ บริษัทในเครือ ได้แก่ บริษัท แม็คโคร เอเชีย แมเนจเม้นท์ และ บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี เพิ่มขึ้นอีกด้วย
เช่น สัญญาอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์, ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบ, สัญญาการให้คำปรึกษาในการจัดการในธุรกิจจัดส่งสินค้า และ สัญญาการให้คำปรึกษาในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น
"เสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์" อธิบายในเรื่องนี้ว่า การดำเนินงานที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นเรามีการแบ่งงานกันชัดเจน ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกัน
ส่วนทิศทางการเติบโตของแม็คโคร "เสาวลักษณ์" ยอมรับว่า ยังคงต้องเหนื่อยกับการแข่งขัน โดยเฉพาะในครึ่งปีหลัง จะเป็นช่วงที่ผลกระทบจากราคาน้ำมันจะบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ลดลง
ขณะเดียวกัน รายได้จากการเปิดสาขาใหม่ ก็จะไม่มีในปีนี้ เนื่องจาก บริษัทได้ใช้ใบอนุญาตขยายสาขาครบ 29 สาขาแล้ว จะต้องขอใหม่ก็ติดกฎหมายผังเมืองที่กำหนดให้ห้างค้าปลีกตั้งห่างจากชุมชน 15 กม.
"ปกติการเปิดสาขาใหม่ เราก็จะได้กำไรมากกว่า เพราะจะมีการสนับสนุนจากซัพพลายเออร์ ในต้นทุนที่ถูก เพื่อดึงดูดลูกค้าในช่วงแรก ซึ่งปีนี้จะไม่มี เพราะเราใช้ใบอนุญาตหมดไปแล้ว
ดังนั้นการขออนุญาตจะต้องเป็นไปตามกฎหมายใหม่ ซึ่งเรามองว่าการตั้งห่างจากชุมชน 15 กม. ในต่างจังหวัดเรามองว่าไม่คุ้ม อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าเราจะหยุดที่ 29 สาขา แต่ต้องรอดูความชัดเจนก่อน"
สิ่งที่บริษัทจะเน้นในวันนี้ คือการปรับปรุงสาขาเดิมทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าในระหว่างที่บริษัทไม่สามารถขอใบอนุญาตได้ โดยเน้นขยายพื้นที่ให้บริการส่วนอาหารสด อาหารแช่แข็งและอาหารแห้ง เปลี่ยนการจัดวางสินค้าในแผนกต่าง ๆ ให้ทันสมัยและมีสินค้าครบวงจรมากขึ้น
ซึ่งขณะนี้ปรับปรุงแล้ว 16 สาขา เตรียมปรับปรุงอีก 3 สาขาในปีนี้ และอีก 2 สาขาในปีหน้าเพื่อให้ครบเป้าหมายปรับปรุง 21 สาขาทั่วประเทศ
แม้มาร์จินของอาหารจะต่ำกว่าสินค้าอื่นๆ แต่บริษัทก็จะเน้นสินค้าจำพวก "อาหาร" ต่อไป "เสาวลักษณ์" บอกว่า ขณะนี้บริษัทมีสัดส่วนยอดขายอาหารสูงถึง 80% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยกว่าสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป
"บริษัทจะรักษาการเติบโตในส่วนของรายได้ไม่ให้ต่ำกว่า จีดีพี ของประเทศ ขณะที่ กำไรของบริษัทถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ก็อาจจะต่ำลงกว่าปี 2547 ได้"
ด้าน บล.กิมเอ็ง ประเมินว่า ราคาเหมาะสมของ MAKRO น่าจะอยู่ที่ 55 บาทเท่านั้น โดยคาดว่ากำไรจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทได้รับผลกระทบจาก ภาวะการแข่งขันสูง และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ
และแม็คโครก็ไม่มีใบอนุญาตเปิดสาขาใหม่เหลืออยู่ ขณะที่คู่แข่ง เช่น บิ๊กซี และ เทสโก้โลตัส จะเปิดสาขาใหม่ 5 แห่ง และ 3 แห่งในปีนี้ตามลำดับ ดังนั้นจึงมองว่าราคาหุ้น MAKRO สูงเกินมูลค่าที่เหมาะสมแล้ว
ขณะที่ บล.ภัทร ให้มูลค่าที่เหมาะสมของหุ้น MAKRO ที่ราคา 59 บาท บล.ฟิลลิป ให้ราคาเหมาะสมที่ 60.43 บาท ส่วนทางด้าน บล.ไทยพาณิชย์ ให้ราคาเหมาะสมไว้ค่อนข้างต่ำที่หุ้นละ 48.10 บาทเท่านั้น
ภายหลัง บริษัท สยามแม็คโคร (MAKRO) มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล จากกำไรสุทธิงวดครึ่งปี 2548 ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทในอัตราหุ้นละ 5 บาท รวมเป็นเงินปันผลทั้งสิ้น 1,200 ล้านบาท
จากกำไรสุทธิครึ่งปีที่ "แม็คโคร" ทำได้เพียง 475.26 ล้านบาท หรือ หุ้นละ 1.98 บาท โดยนำกระแสเงินสดของบริษัทจำนวน 3,778 ล้านบาท (ณ 31 สิงหาคม 2548) มาจ่ายนั้น..ทำให้เกิดคำถามตามมาทันทีว่า กลุ่มเอสเอชวี จาก ประเทศเนเธอร์แลนด์ อาจกำลังเดินแผน "ถอนทุนคืน" จาก "แม็คโคร" ภายหลัง "รวบอำนาจการบริหาร" แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
เพราะก่อนหน้านี้เพิ่งซื้อหุ้น "ล็อตใหญ่" คืนจากเครือซีพีเอฟ จำนวน 17.5 ล้านหุ้น หรือ 7.29% ในราคาหุ้นละ 60 บาท เป็นเงิน 1,050 ล้านบาท จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 61.21% โดยไม่มี "กลุ่มซีพี" มา "คานอำนาจ" เหมือนดังที่ผ่านมา
"เสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์" ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการเงิน กล่าวว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 บริษัทมีกำไรสะสม จำนวน 3,447.8 ล้านบาท เทียบเท่ากับ 14.37 บาทต่อหุ้น และ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2548 บริษัท มีเงินสดคงเหลืออยู่เป็นจำนวน 3,778 ล้านบาท จึงเห็นควรจะนำกำไรสะสมบางส่วนมาจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น โดยไม่ต้องจัดสรรเงินสำรองตามกฎหมายเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ให้กำหนดจ่าย เงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548
ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ ผลการดำเนินงานของ "แม็คโคร" เริ่มอ่อนตัวลง โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 ที่มีกำไรสุทธิ 219.45 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 9.9%
"ที่จริงยอดขายของบริษัทสูงกว่าปีที่แล้ว 13.8% เป็นผลมาจากมียอดขายสินค้าอาหารสด และอาหารแห้ง เพิ่มขึ้น แต่สินค้าดังกล่าวมีกำไรน้อย ขณะที่บริษัทมีค่าใช้จ่ายการจัดรายการส่งเสริมการขายเพิ่มขึ้น จึงทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเหลือ 5.7% จากไตรมาสก่อนที่มีกำไรขั้นต้น 6.3%" เสาวลักษณ์ กล่าว
นักวิเคราะห์รายหนึ่ง ให้เหตุผลอย่างน่าสนใจถึงการประกาศจ่ายปันผลของ แม็คโคร ว่า นี่อาจจะเป็นการถอนทุนคืนของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ "กลุ่มเอสเอชวี" จากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือหุ้นผ่าน ออร์คัม โฮลดิ้ง เอเชีย และ บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง (ประเทศไทย)
ปัจจุบันกลุ่มนี้เข้ามาถือครองหุ้น MAKRO สูงสุดนับจากบริษัทกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งสิ้น 146.91 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 61.21% โดยก่อนหน้านี้ "สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง" และ "ออร์คัม โฮลดิ้ง เอเชีย" ถือหุ้น MAKRO รวมกัน 53.92% หรือจำนวน 129.46 ล้านหุ้นเท่านั้น
ถ้าหากคำนวณจากเงินปันผลที่บริษัทจ่ายออกมาหุ้นละ 5 บาท จำนวนทั้งสิ้น 1,200 ล้านบาท กลุ่มเอสเอชวี จากเนเธอร์แลนด์ จะได้รับเงินปันผลครั้งนี้จำนวนมากถึง 734.56 ล้านบาทเลยทีเดียว
บล.กิมเอ็ง ประเมินว่า ในครึ่งปีหลังแม็คโครยังมีความสามารถจะจ่ายเงินปันผลออกมาอีกหุ้นละ 2 บาท รวมเป็น 7 บาทต่อหุ้น
หากเป็นไปตามนั้นจริง ออร์คัม โฮลดิ้ง เอเชีย และ บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จะได้รับปันผลอีก 293.82 ล้านบาท รวมทั้งปีจะได้รับเงินออกไปทั้งสิ้น 1,028.39 ล้านบาท
ตัวเลขนี้จะใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่ บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จ่ายค่าหุ้นให้กับซีพีเอฟ ไปจำนวน 1,050 ล้านบาท
นั่นหมายความว่าหุ้นที่บริษัทได้มาจำนวน 17.5 ล้านหุ้น จะกลายเป็น กำไรของกลุ่มเอสเอชวี ทั้งหมด
นับเป็นการเดินเกมอย่างเหนือชั้นของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ !!!
นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าหลังจากคุมอำนาจการบริหารแบบเบ็ดเสร็จ ก็มีการเพิ่ม "รายการระหว่างกัน" เพื่อถ่ายเงินไปให้กับ บริษัทในเครือ ได้แก่ บริษัท แม็คโคร เอเชีย แมเนจเม้นท์ และ บริษัท ออร์คัม เอเชีย แมเนจเม้นท์ เอจี เพิ่มขึ้นอีกด้วย
เช่น สัญญาอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์, ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบ, สัญญาการให้คำปรึกษาในการจัดการในธุรกิจจัดส่งสินค้า และ สัญญาการให้คำปรึกษาในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น
"เสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์" อธิบายในเรื่องนี้ว่า การดำเนินงานที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นเรามีการแบ่งงานกันชัดเจน ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกัน
ส่วนทิศทางการเติบโตของแม็คโคร "เสาวลักษณ์" ยอมรับว่า ยังคงต้องเหนื่อยกับการแข่งขัน โดยเฉพาะในครึ่งปีหลัง จะเป็นช่วงที่ผลกระทบจากราคาน้ำมันจะบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ลดลง
ขณะเดียวกัน รายได้จากการเปิดสาขาใหม่ ก็จะไม่มีในปีนี้ เนื่องจาก บริษัทได้ใช้ใบอนุญาตขยายสาขาครบ 29 สาขาแล้ว จะต้องขอใหม่ก็ติดกฎหมายผังเมืองที่กำหนดให้ห้างค้าปลีกตั้งห่างจากชุมชน 15 กม.
"ปกติการเปิดสาขาใหม่ เราก็จะได้กำไรมากกว่า เพราะจะมีการสนับสนุนจากซัพพลายเออร์ ในต้นทุนที่ถูก เพื่อดึงดูดลูกค้าในช่วงแรก ซึ่งปีนี้จะไม่มี เพราะเราใช้ใบอนุญาตหมดไปแล้ว
ดังนั้นการขออนุญาตจะต้องเป็นไปตามกฎหมายใหม่ ซึ่งเรามองว่าการตั้งห่างจากชุมชน 15 กม. ในต่างจังหวัดเรามองว่าไม่คุ้ม อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าเราจะหยุดที่ 29 สาขา แต่ต้องรอดูความชัดเจนก่อน"
สิ่งที่บริษัทจะเน้นในวันนี้ คือการปรับปรุงสาขาเดิมทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าในระหว่างที่บริษัทไม่สามารถขอใบอนุญาตได้ โดยเน้นขยายพื้นที่ให้บริการส่วนอาหารสด อาหารแช่แข็งและอาหารแห้ง เปลี่ยนการจัดวางสินค้าในแผนกต่าง ๆ ให้ทันสมัยและมีสินค้าครบวงจรมากขึ้น
ซึ่งขณะนี้ปรับปรุงแล้ว 16 สาขา เตรียมปรับปรุงอีก 3 สาขาในปีนี้ และอีก 2 สาขาในปีหน้าเพื่อให้ครบเป้าหมายปรับปรุง 21 สาขาทั่วประเทศ
แม้มาร์จินของอาหารจะต่ำกว่าสินค้าอื่นๆ แต่บริษัทก็จะเน้นสินค้าจำพวก "อาหาร" ต่อไป "เสาวลักษณ์" บอกว่า ขณะนี้บริษัทมีสัดส่วนยอดขายอาหารสูงถึง 80% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยกว่าสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป
"บริษัทจะรักษาการเติบโตในส่วนของรายได้ไม่ให้ต่ำกว่า จีดีพี ของประเทศ ขณะที่ กำไรของบริษัทถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ก็อาจจะต่ำลงกว่าปี 2547 ได้"
ด้าน บล.กิมเอ็ง ประเมินว่า ราคาเหมาะสมของ MAKRO น่าจะอยู่ที่ 55 บาทเท่านั้น โดยคาดว่ากำไรจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทได้รับผลกระทบจาก ภาวะการแข่งขันสูง และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ
และแม็คโครก็ไม่มีใบอนุญาตเปิดสาขาใหม่เหลืออยู่ ขณะที่คู่แข่ง เช่น บิ๊กซี และ เทสโก้โลตัส จะเปิดสาขาใหม่ 5 แห่ง และ 3 แห่งในปีนี้ตามลำดับ ดังนั้นจึงมองว่าราคาหุ้น MAKRO สูงเกินมูลค่าที่เหมาะสมแล้ว
ขณะที่ บล.ภัทร ให้มูลค่าที่เหมาะสมของหุ้น MAKRO ที่ราคา 59 บาท บล.ฟิลลิป ให้ราคาเหมาะสมที่ 60.43 บาท ส่วนทางด้าน บล.ไทยพาณิชย์ ให้ราคาเหมาะสมไว้ค่อนข้างต่ำที่หุ้นละ 48.10 บาทเท่านั้น