******ขอถามเรื่องเครดิตภาษีหน่อยครับ
คือผมไม่ได้ทำงานไม่มีรายได้ครับ ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ผมเล่นหุ้นได้เงินปันผล ผมสามารถเลือกขอเครดิตภาษีได้รึเปล่าครับ
ได้ครับแต่คุณต้องไปขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี แล้วยื่นแบบภงด 90 เพื่อเสียภาษี ไม่ยุ่งยากครับ แต่ข้อสำคัญ คุณต้องประเมินว่าคุ้มค่าหรือไม่ เพราะจากนี้ไปคุณต้องยื่นภาษีทุกปี ไม่ว่าคุณมีรายได้หรือไม่ หมายเหตุ คุณจะขอคืนได้ประมาณ 3/7 ของเงินปันผลจากบริษัทที่ เสียภาษีตามปกติ พวกที่ได้รับการยกเว้นภาษี จากกรณีต่างๆจะเคลมไม่ได้ดูได้จากใบรับรองภาษี หักณ.ที่จ่ายที่ส่งมาพร้อมเช็คครับ
*******เอาที่พี่หมอ JFK เคยโพสต์ไว้มาให้อ่านครับ
พูดถึงเรื่องเล่นหุ้นเอาเงินปันผล เซียนหุ้นทั้งหลาย อาจจะร้องยี้ ไม่มัน เสียเวลา และ ไม่คุ้มกับการลงทุนที่ต้องถือนานๆๆ แถมยังต้องถูกหักภาษี ณ.ที่จ่ายอีก 10 % ได้รับจริง แค่ 90% ไม่คุ้ม แถมหุ้นที่ปันผลมากๆ ก้อมักจะมีสภาพคล่องน้อยซื้อมาแล้ว มักจะแถมกาวตราช้างมาให้ ซื้อแล้วติดมือ แกะไม่ออก แต่ ที่จะมาชวน นี่ไม่ได้ให้เก็บหุ้น เพื่อ หวังผลตอบแทนจากเงินปันผล อย่างเดียว แต่เพื่อรับ เงิน เครดิตภาษี จาก เงินปันผล นั้น ด้วยครับ เม็ดเงินตรงนี้ไม่น้อย นะครับ ขนาดผม ลงทุนธรรมดา ไม่ได้เน้นกลยุทธนี้ โดยเฉพาะ เงินภาษี แทนที่จะต้องจ่ายเพิ่มปีละ ห้าหกหมื่น กลับกลายเป็นว่า ได้รับคืน ปีละ สองสามแสนบาท ไม่น้อยเหมือนกันนะครับ
กลยุทธการล่าเงินปันผลนี่ ไม่ยากครับ ดูเลือกหุ้น ที่จ่ายปันผล ในอัตรา ที่สูงพอสมควรและมีสภาพคล่องพอสมควร และซื้อตัวละไม่มาก(เพื่อจะได้ซื้อและขายได้ง่าย) โดยซื้อก่อนวันขึ้น XD ประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ได้รับสิทธิ รับเงินปันผล แล้วขายออกในวันที่ขึ้น XD แล้ว ซึ่งหุ้นนั้นจะมีราคาลดลง มาพอๆ กับเงินปันผล หรือ อาจจะมา ลดลงมาน้อยกว่าเงินปันผลประมาณ 10 % เนื่องจากบางคนคิด หักภาษีณ.ที่จ่ายด้วย) แต่ถ้าช่วงไหน ตลาดวูบวาบมากก้อควรงดสะสมเงินปันผล เพราะว่าราคาอาจจะแกว่งมาก เกินไป ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของเรา เรามีเวลาในการล่าปันผลทั้งปี และ ไม่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่มาก เพราะว่าซื้อแล้วก้อขาย ในอีก ไม่กี่วันถัดมา เงินไม่จม หมุนไปได้เรื่อยๆ (ยกเว้นส่วนที่หายไป จากราคาที่ลดไปกับปันผล แต่เราจะได้รับเป็นเงินปันผล คืนมาภายในประมาณ เดือนกว่าถัดมา) ตามระเบียบของกรมสรรพกร เงินปันผล ที่ได้มาจากการ ลงทุนในหุ้นของบริษัทจำกัด ที่จดทะเบียนในประเทศไทย (ไม่นับพวกกองทุน และบริษัท ที่ได้รับการยกเว้นภาษี เช่นได้รับ BOI ) สามารถเครดิตภาษี(ขอคืนภาษีได้ 3/7(42.8%) ของยอดเงินปันผลทั้งหมด) เข้าใจว่า เนื่องจาก เจตนารมย์ของกฎหมายไม่อยากให้มีการเก็บภาษีซ้ำซ้อน เนื่องจาก บริษัทนั้นได้ ชำระภาษีเงืนได้ นิติบุคคล จากเงินได้สุทธิมาก่อนแล้ว ก่อนจะเอามาแบ่งให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นเจ้าของในรูปเงินปันผล
จะเห็นว่าตัวเลข ตรงนั้นไม่น้อยเลย นะครับ ทีนี้มาดูวิธีการคำนวนภาษี ใครรู้แล้วก้ออ่านข้ามไป นะครับ จะไม่พูดถึงค่าลดหย่อนอะไร นะครับ จะเอาแต่เงินได้สุทธิ ก่อนที่จะคิดภาษีแล้ว มาคิดกับ เงินปันผล ของเรา น่ะ
อัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคล เป็นอัตราก้าวหน้า ครับ คิดจาก เงินได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อน ทุกอย่างแล้ว นะครับ เสียในอัตราดังต่อไปนี้
1-100,000 เสีย 5 % สูงสุดในขั้น = 5,000 (ปัจจุบัน รู้สึกว่า ห้าหมื่นแรก นี่ไม่ต้องเสียภาษี ครับ ได้รับยกเว้นจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ เอง)
100,001-500,000 ส่วนนี้เสีย 10% สูงสุดในขั้น = 40,000
500,001-1,000,000 ส่วนนี้เสีย 20% สูงสุดในขั้น = 100,000
1,000,001-4,000,000 ส่วนนี้เสีย 30% สูงสุดในขั้น = 900,000
มากกว่า สี่ล้าน เสีย 37%
สมมุติว่าคุณมีรายได้ หลังหักค่าลดหย่อน ต่างๆ ทุกอย่างแล้วเหลือรายได้ ที่ต้องใข้คิดคำนวนภาษี 200,000 บาท ซึ่งจะต้องชำระภาษี ในอัตรา 5000+10,000 = เสียภาษีเงินได้ 15,000 บาท
ถ้าเราไป ล่าเงินปันผล ของบริษัทต่างๆ มาได้ ซัก 1,400,000 บาท เราจะถูกหัก ภาษีณ.ที่จ่ายไป 10% หรือ 140,000 บาท ทำให้ได้รับจริง มาแค่ 1,260,000 บาท (ดูเหมือนขาดทุนตรงนี้ ไป 140,000บาท)
เงินปันผลนี้เราสามารถนำมาเป็นเครดิตภาษีคืนได้ 3/7 หรือ กรณีนี้ คือ 600,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ จะถือเป็น รายได้ด้วย ต้องนำไปรวมกับเงินปันผล แล้วนำไปคิดรวมกับ เงินได้สุทธิเก่า ของเรา นำมาเป็นเงินได้ คำนวนเป็นภาษีที่ต้องเสีย
เพราะฉะนั้น เงินได้สุทธิ ใหม่ของเรา จะเป็น 200,000 + 1,400,000(ปันผล) +600,000(เครดิตภาษี) รวมเป็นเงินได้สุทธิ 2,200,000 บาท ซึ่งคำนวนภาษีที่ต้องชำระตามตารางได้ 5,000+40,000+100,000+(1,200,000X30%) = 505,000 บาท ครับ
แต่ภาษีที่หักณ ที่จ่าย (140,000) + กับเครดิตภาษี (600,000 ) = เราจ่ายภาษีไว้แล้ว 740,000 บาท
เพราะฉะนั้น ภาษี ที่ชำระเกินและขอคืนภาษี ได้ = 740,000-505,000 บาท = 235,000 บาท
แทนที่จะต้อง จ่ายภาษี 15,000 แต่กลับกลายเป็นรับเงินภาษีคืนมา 235,000 รวมเป็นเงินที่ได้มา = 250,000 บาท
จะเห็นว่าถ้ามีรายได้คำนวนภาษีเกินล้านมาแล้ว นี่จะได้ ประโยชน์น้อยลง ครับ เพราะว่า อัตราภาษีส่วนนี้สูงถึง สามสิบเปอร์เซนต์ ยิ่งถ้า เกินสี่ล้านแล้ว นี่ยิ่งแทบไม่ได้ประโยชน์เลย เพราะว่า อัตราภาษีที่เสีย 37 % เกือบเท่า กับ เครดิตภาษีที่ได้แล้วครับ
กลยุทธอีกอย่างในการลด ฐานภาษี ก้อคือ แบ่งซื้อหุ้นในชื่อ น้อง หรือ พี่ หรือ แม่ หรือ พ่อ ที่ไม่มีคู่สมรส ที่คิดรวมภาษี จะทำให้ฐานภาษีต่ำ ลง เช่น สี่ล้านแบ่งออกไป สี่คน คนละล้าน แทนทีจะเสียภาษี 30% ก้อมาเสียแค่ ไม่เกิน 20 % ครับ ทำให้เหลือเม็ดเงินได้มากขึ้น แต่ภรรยานี่ไม่ได้ครับ เพราะว่าเงินได้ส่วนนี้(นอกจากเงินเดือนประจำ) ต้องเอามารวมคำนวนภาษีด้วยกันอยู่ดี ครับ
จากตัวอย่างข้างบน ถ้าเอา ไปแบ่งให้ อีกสี่คนเพื่อให้เหลือภาษีสุทธิในการคำนวน ภาษีคนละประมาณ ไม่เกิน ห้าแสนบาท จะเสียภาษีที่ฐาน ไม่เกิน 10% ทำ ให้เสียภาษีไม่เกิน 220,000 หรือ รับภาษีคืน ถึง ประมาณ ห้าแสนกว่าบาท ครับ
สรุปอีกครั้ง นะครับ คนที่เหมาะกับการสะสม เงินปันผลเพื่อรับ เครดิตภาษี นี่ควรจะมีคุณสมบัติดังนี้
1 มีความรู้ เรื่องหุ้น พอสมควร(ให้รู้จังหวะซ้อ ขาย บ้างพอควร)
2. ไม่ควรมีรายได้ประจำ ที่ มีเงินได้ที่จะต้องคำนวนภาษีเกิน สี่ ล้านบาท(จะเสียภาษีในอัตราที่สูง จนเกือบเท่า เงินเครดิตภาษี)
3 ยอดเงินเครดีต ภาษี ถ้ามาก แบ่งซื้อในชื่อ พี่ น้อง และญาติ ที่ไว้ใจได้เพื่อลด ฐานภาษี ลง จะช่วยให้ได้รับผลประโยชน์ตรงนี้มากขึ้น
4 ประเด็นสำคัญ ที่สุด คือ คนที่จะ ขอเครดิตภาษี ห้าม หนีภาษี จากทางอื่นนะครับ จะเจ็บตัวถ้าเค้าตรวจพบ อันนี้สำหรับคน บริสุทธิ์ ทางด้านภาษีเท่านั้น ที่จะทำได้
น่าสนใจมั้ยครับ สำหรับคนอยู่ ว่าง กับ เงินก้อนนี้ ปีละ หลายแสนบาท(ยิ่งถ้ามีญาติที่ว่างๆเยอะ ยิ่งดี ครับ) และขอยืนยันว่านี่คือวิธีที่ถูกกฎหมาย และ ทำตามกฎหมายทุกประการ ครับ
จากคุณ : -=Jfk=- - [29 เม.ย. 45 12:28:47]
พี่เห็นคำถาม ของ น้อง สุรชาติ ตั้งแต่เช้าแล้วครับ แต่เนื่องจาก พี่ต้องไป หาดใหญ่ ไปทำเรื่องให้ KK แจ้งให้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นำเช็คเงินปันผลเข้าบัญชีธนาคารให้ ประกอบกับต้อง อธิบายกันยาวหน่อย เลยต้องมาตอบให้ตอนค่ำ ครับ หวังว่าคงไม่นานเกินรอ นะครับ
ตัวอย่าง ภ.ง.ด. 90 สมมุติ ผัวกินเงินเดือน เมียเป็น นายหน้าประกันชีวิต
ข้อ 1 มาตรา 40 (1) (2)
1. มาตรา 40 (1) เงินเดือน 300,000 (มีหัก ณ ที่ จ่าย 3%= 6,000 ยังไม่ต้องกรอก)
2.มาตรา 40 (2) สมมุติว่าเมียมีรายได้จากค่านายหน้าประกันชีวิต 100,000 (มีหัก ณ ที่ จ่าย 6%= 6,000 ยังไม่ต้องกรอก)
3. ถ้ามีเงิน สะสมก็นำมาหัก ในที่นี้สมมุติว่าไม่มี
4. คงเหลือ (1+2-3) 400,000
5. หักค่าใช้จ่าย 60,000
6. คงเหลือ (4.-5.) ยกไปรวมใน ข้อ 10 1. 340,000
ข้อ 2 มาตรา 40 (3) ไม่มีเงินได้
ข้อ 3 มาตรา 40 (4)
1. ดอกเบี้ย
2. เงินปันผลกองทุน
3. เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ
4. เงินปันผลจาก บริษัท สมมุติ 100,000 (มีหัก ณ ที่ จ่าย 10%= 10,000 ยังไม่ต้องกรอก)
5. เครดิติภาษี 100,000x 3/7 = 42,857.142
6. อื่นๆ
รวม (1. ถึง 6.) ยกไปรวมใน ข้อ 10 1. 142,857.142
สมมุติ รายได้ตามมาตราอื่นไม่มีแล้ว ก็ไป ข้อ 9 เลย
ข้อ 9 รายการลดหย่อนและยกเว้นหลังหักค่าใช้จ่าย
1. ผู้มีเงินได้ 30,000
2. คู่สมรสคำนวณรวม 30,000
3. บุตร 17,000
4. เบี้ยประกันชีวิตสมมุติ 100,000
ใช้ให้เต็มสิทธิเลยครับ ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้สามารถหักเบี้ยประกันชีวิตได้ถึง 50,000 ต่อ คน ถ้า เพื่อนๆ คนใด อยากให้ เมียของผม ซึ่งเป็นหัวหน้าภาคเพชรไพศาล ตัวแทนประกันชีวิต บมจ. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต
ดูแล จดหมายรักฉบับสุดท้ายที่จะมอบให้แด่คนที่ท่านรัก เพื่อบอก เธอหรือเขา ว่า คุณรัก เธอหรือเขา ตราบวันสุดท้ายที่คุณไม่อาจเอ่ยคำว่ารักได้ด้วยตัวคุณเอง เมียของผมเขา ยินดีเป็นผู้รับใช้ ส่ง จดหมายรักฉบับสุดท้ายให้แด่คนที่คุณรัก ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง มา ณ ที่นี้ ครับ
5. เงินสะสมสำรองเลี้ยงชีพ
6. ค่าซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ
7. ค่าซื้ออาคารอยู่อาศัย
8. เงินสมทบ
9. รวม (1. ถึง 8.) ยกไปรวมใน ข้อ 10 2. 177,000
ข้อ 10 การคำนวณภาษี
1. เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (รวมยอดข้อ 1 ถึง ข้อ 7) = 340,000+142,857.142 = 482,857.142
2. หักค่าลดหย่อน (ยกมาจาก ข้อ 9 9.) 177,000
3. คงเหลือ (1. 2.) = 482,857.142-177,000 = 305,857.142
4. หักบริจาค (เฉพาะที่นำมาหักได้ถ้ามี) สมมุติ 10,000
5. เงินได้สุทธิ 305,857.142-10,000 = 295,857.142
6. คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ ตาม 5. = 2,500 + 195,857.142 x 0.1 = 22,085.714
7. ภาษีคำนวณจากเงินได้พึ่งประเมิน ตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป คือร้อยละ 0.5 ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายตาม ข้อ 1 ถึง ข้อ 7 (ไม่รวมเงินได้ตามมาตรา 40 (1) จากเงินเดือน) = (100,000 + 142,857.142) x0.005 = 242,857.142 x 0.005 = 1,214.2857
8. ภาษีที่ต้องชำระ (จำนวนที่มากกว่าระหว่าง 6. กับ 7.) 22,085.714
9. หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเครดิตภาษี 6,000(จากเงินเดือน)+6,000(จากค่านายหน้า)+10,000(หัก ณ ที่จ่ายเงินปันผล)+ 42,857.142(เครดิตภาษีนิติบุคคลเงินปันผล) = 64,857.142
ภาษีเงินได้ที่ชำระไว้ตามแบบ ภ.ง.ด. 93 และ ภ.ง.ด. 94 (ภาษีเงินได้ แจ้งกลางปีเฉพาะอาชีพอิสระ อย่าง แพทย์ หรือ วิศวกร ทนายความ ต้องแจ้งเสียภาษีกลางปี ผู้กินเงินเดือนไม่ต้อง)
10. ภาษี ที่ชำระเกิน = 64,857.142 22,085.714 = 42,771.428
11. ภาษี ที่ชำระเกินหรือขาด (ยกมาจาก ข้อ 8 (ถ้ามี))
12. รวมภาษีที่ ผู้มีเงินได้ ชำระเกิน = 42,771.428
13. นำภาษีส่วนเกินที่อีกฝ่ายชำระขาดเกิน มาลบกัน (เฉพาะแยกยื่น) ตอนนี้เรายื่นรวม (ผ่าน)
14. คงเหลือภาษีที่ชำระเกิน 42,771.428
(ต้องรวบรวมหลักฐาน การหักภาษี ณ ที่ จ่าย ,ใบเสร็จเบี้ยประกันชีวิต , บัตรประชาชน ,สำเนาทะเบียนบ้าน ,ใบสมรส,สุติบัตรลูก ไปให้ครบ )
15. ถึง 22. ก็ไม่มีอะไรแล้ว คงเข้าใจแล้ว นะ ครับ
อธิบายตามที่ผมเข้าใจได้แบบนี้ครับ
บริษัททำกำไรหลังหักภาษีได้ 1,000,000 บาท (สมมติเสียภาษี 30%) แล้วนำเอากำไรมาจ่ายเงินปันผล
สมมติเราได้ปันผล 100 บาท บริษัทต้องเสียภาษีณ.ที่จ่ายอีก 10% เราก็จะได้เงินสุทธิ 90 บาท (เงินนี้เสียภาษีไปแล้ว 30%)
เงินปันผล 100 ถูกจ่ายภาษี ซ้ำซ้อน รัฐเลยจะคืนภาษีให้ในส่วน 30%
ดังนั้นเวลาเราคิดภาษี คือ ...
(1) เงินปันผล 100 บาท
(2) ภาษีหักไว้แล้วคือ
(2.1) ภาษีหักณ.ที่จ่าย 10% = 10 บาท
(2.2) ภาษีการค้า 30% = 100 x ((100-30)/30) = 100 x (3/7)
(3) เงินได้ที่ต้องนำมาคิดภาษีคือ (1) + (2.2) + เงินได้อื่นๆ [(2.2) นำกลับมารวมอีกเพราะยอดนี้เราจะขอเอามาเสียภาษีในอัตราของเราเอง ]
(4) คำนวนภาษีที่ต้องเสีย จาก (3) ตามอัตราที่เราต้องเสีย
(5) ถ้า (3) มากกว่า (2) เราก็ได้คืน
หมายเหตุ ...
A. เห็นว่า 3/7 ไม่ใช่อัตราที่ใช้ได้กับทุกบริษัท ให้ใช้สูตร (100-n)/n เมื่อ n=ภาษีการค้าของบริษัท
B. เงินทุนการศึกษาไม่น่าถือเป็นรายได้
ขอถามอีกหน่อยครับ
บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI ไม่สามารถขอเครดิตภาษีได้ใช่ไหมครับ ?
ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทจ่ายเงินปันผลจากส่วนใดครับ...หากเป็นเงินจาก
ิboi ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล > เครดิตไม่ได้
boi ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 50 % (่จ่าย 15%) > เครดิตได้ 15/85
ไม่ได้ิ boi > เครดิตได้ปกติ
เนื่องแต่ละบริษัทอาจจะมีหลายโรงงาน แผนก ซึ่งสามารถแยกขอ boi ได้ ดังนั้นการจ่ายปันผล ขึ้นอยู่กับว่าจะนำเงินมาจากแผนก โรงงานใด..
ข้อ 2 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยนำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อย ลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์ เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
หวังว่าคงได้ประโยชน์นะครับ
:D