หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ผมลองทำกราฟวิเคราะห์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของเมืองไทย

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 27, 2005 4:03 pm
โดย shanghai
http://www.ratch.co.th/th/main_pwindstry.htm
 X           Y
2538 12267.9
2539 13310.9
2540 14506.3
2541 14179.9
2542 13712.4
2543 14918.3
2544 16126.4
2545 16681.1

เอาไปพล็อตกราฟได้สมการออกมาโดยประมาณ
Y=544.50 X - 1369395.95
อัตราการขยายตัวในอัตราเฉลี่ย 3.22 ต่อปี :lol:
2546 16901.1
2547 17445.6
2548 17990.1
2549 18534.6
2550 19079.1
2551 19623.6
2552 20168.1
2553 20712.6
2554 21257.1
2555 21801.6
2556 22346.1
2557 22890.6
2558 23435.1
2559 23979.6

เปรียบเทียบกับ การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าโดยคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ฯ จัดทำเมื่อเดือนสิงหาคม 2545 ใช้ข้อสมมุติฐานทางเศรษฐกิจสอดคล้องกับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยของสำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ซึ่งกำหนดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี ในช่วงแผนฯ 9 ได้คำนึงถึงเศรษฐกิจในปี 2545 ที่ขยายตัวในอัตราที่ต่ำ และจะขยายตัวสูงขึ้นในปีถัดๆ ไป

โดยในปีที่ 2559 ค่าพยากรณ์ปี 2545 บอกว่าจะมีค่า 38851 ซึ่งมากกว่าตัวเลขจากกราฟ อยู่ (38851-23979.60)/23979.6 = 62 %

OVERSUPPLY ไปป่าวครับ ????
[/img]

ผมลองทำกราฟวิเคราะห์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของเมืองไทย

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 28, 2005 12:35 am
โดย ShexShy
คิดเผื่อเรื่องของการสำรองความสามารถในการผลิตไว้หรือเปล่า
ผมจำไม่ได้ว่า กำลังการผลิตที่ควรจะมีเกินความต้องการ ประมาณกี่เปอร์
ถ้าจะให้ดีสุด ก็ราว ๆ 40% (มั้งนะครับ ยังไงถ้ามีข้อมูลยืนยันกลับมาด้วยก็ดีครับ)  หมายความว่า ใช้จริง 60  แต่กำลังผลิตจริง 100 ครับ

:D

ผมลองทำกราฟวิเคราะห์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของเมืองไทย

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 28, 2005 7:58 am
โดย shanghai
ทำไมต้อง 60-40

ทำไมไม่เผื่อไว้เพียง 80-20  หรือ 70-30 เพราะมันมีผลในเรื่องงบประมาณครับ :roll:

ผมลองทำกราฟวิเคราะห์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของเมืองไทย

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 28, 2005 10:37 am
โดย ShexShy
เป็นเรื่องของการทำสำรองเพื่อครับ
ยิ่งมีสำรองน้อย โอกาสที่ไฟจะตกก็จะสูงครับ และ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการกระจายโหลดของแต่ละประเทศครับ
เรื่อง 60-40 ผมจำได้ลาง ๆ ตอนสมัยเรียนครับ
ตอนนี้ที่ประเทศไทย ไม่รู้เป็นเท่าไรครับ รู้แต่ว่า ตอนที่เรียนอยู่ ประมาณ 70-30