กฎใหม่ก.ล.ต.ทุบพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ รายได้วูบ30 % !!!!
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 05, 2006 12:47 am
"พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์" ป่วน หวั่นสิทธิประโยชน์ภาษี-ค่าธรรมเนียม 30% ของรายได้หายวับ หลัง ก.ล.ต.ปรับเงื่อนไขการจัดตั้งใหม่ กำหนดให้อายุโครงการไม่เกิน 10 ปี อ้างเหตุสถาบันการเงิน ธุรกิจอสังหาฯ ฟื้นชัดเจน จำต้องปรับกฎเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อไม่ให้ได้เปรียบเอกชนที่ลงทุนอสังหาฯ โดยตรง บลจ.เตรียมยื่นหนังสือขอผ่อนปรนยืดอายุเพิ่มเป็น 30 ปี
แหล่งข่าวจากวงการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ซึ่งเป็นผู้บริหารหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (property fund) กำลังประสบปัญหาจากการที่นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกประกาศ ก.ล.ต.เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ฉบับใหม่แทนประกาศฉบับเดิม เมื่อปี 2541 โดยให้มีการจำกัดอายุโครงการของกองทุนรวมอสังหาฯ แต่ละกองทุน มีอายุไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็น กองทุนรวม เนื่องจากกรณีดังกล่าวส่งผลกระทบถึงสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีของกองทุนรวมอสังหาฯโดยตรง และทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาฯ ได้รับความเสียหาย
ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาจากเดิม ก.ล.ต.ไม่ได้กำหนดอายุโครงการของกองทุนรวมอสังหาฯ ทำให้กองทุนรวมอสังหาฯได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีและค่าธรรมเนียมตลอดไป จนกว่าจะมีการยุบเลิกกองทุน เช่น อาจจะได้สิทธิดังกล่าว 10 ปี 20 ปี 30 ปี ก็ได้ เมื่อ ก.ล.ต.กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขใหม่ โดยจำกัดอายุโครงการของกองทุนรวมอสังหาฯ เหลือเพียงไม่เกิน 10 ปี สิทธิที่กองทุนรวมอสังหาฯ มีอยู่เดิมจึงหมดไปเหลือเพียงแค่ 10 ปีด้วย ผลคือนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ลงทุนผ่านกองทุนสูญเสียประโยชน์ที่ควรจะได้ เพราะหากไม่มีการยุบเลิกกองทุนภายใน 10 ปี กองทุนก็จะมีภาระค่าใช้จ่ายที่เป็นภาษีและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับลดน้อยลง
แหล่งข่าวกล่าวว่าการจำกัดอายุโครงการของ กองทุนรวมอสังหาฯ เหลือเพียงไม่เกิน 10 ปี จากเดิมไม่กำหนดอายุ ทำให้กองทุนเสียผลประโยชน์ทางด้านภาษีและค่าธรรมเนียมสูงถึง 30% ของรายได้ เนื่องจากปัจจุบันกองทุนรวมอสังหาฯได้รับสิทธิประโยชน์หลายอย่าง เช่น กองทุนรวมอสังหาฯ กอง 1 ได้รับสิทธิประโยชน์ อาทิ ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการโอนอสังหาฯ เหลือเพียง 0.01% จากอัตราปกติ 2% ได้รับยกเว้นค่าอากรแสตมป์ จากอัตราจัดเก็บปกติ 0.5% ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ จากอัตราจัดเก็บปกติ 3.3% ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากอัตราปกติ 7% ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จากอัตราปกติ 30% ของรายได้ เป็นต้น
"ก.ล.ต.ให้เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ว่า เป็นเพราะเห็นว่าปัจจุบันปัญหาในระบบสถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาฯ ได้คลี่คลายลงไปมาก และเศรษฐกิจโดยรวมและธุรกิจฟื้นตัวชัดเจนแล้ว จึงอยากปรับปรุงเงื่อนไขหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเราเห็นด้วยแต่ที่เป็นปัญหาก็คือจริงๆ แล้วน่าจะมีการกำหนดอายุโครงการในการจัดตั้งและลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาฯ ตั้งแต่แรก ไม่ใช่ไม่มีการจำกัดอายุ แล้วจู่ๆ มาบอกว่าต้องไม่เกิน 10 ปี เพราะทำให้การลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาฯ ได้รับผลกระทบทั้งหมด"
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้ บลจ.ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนรวมอสังหาฯ หลายๆ บริษัทกำลังหารือกันเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นจะทำหนังสือขอชี้แจงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพราะทราบดีว่า ก.ล.ต.มีเจตนาดี และไม่ต้องการให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันมากเกินไป ระหว่างการลงทุนซื้อโครงการอสังหาฯ ผ่านกองทุนรวมอสังหาฯ กับการลงทุนของเอกชนทั่วไป แต่ถ้านโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ชัดเจนตั้งแต่แรกก็จะไม่เกิดปัญหา กรณีนี้อาจจะขอผ่อนปรนจาก ก.ล.ต. โดยให้กำหนดอายุโครงการจากไม่เกิน 10 ปี เป็นไม่เกิน 30 ปี ทั้งนี้ สาเหตุที่ บลจ.ส่วนใหญ่เห็นว่าควรกำหนดอายุโครงการของกองทุนรวมอสังหาฯ 30 ปี เนื่องจากเห็นว่าสิทธิเช่าที่ดินหรืออาคารส่วนใหญ่จะกำหนดอายุเวลาเช่าเอาไว้นาน 30 ปี
แหล่งข่าวจากวงการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ซึ่งเป็นผู้บริหารหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (property fund) กำลังประสบปัญหาจากการที่นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกประกาศ ก.ล.ต.เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ฉบับใหม่แทนประกาศฉบับเดิม เมื่อปี 2541 โดยให้มีการจำกัดอายุโครงการของกองทุนรวมอสังหาฯ แต่ละกองทุน มีอายุไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็น กองทุนรวม เนื่องจากกรณีดังกล่าวส่งผลกระทบถึงสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีของกองทุนรวมอสังหาฯโดยตรง และทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาฯ ได้รับความเสียหาย
ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาจากเดิม ก.ล.ต.ไม่ได้กำหนดอายุโครงการของกองทุนรวมอสังหาฯ ทำให้กองทุนรวมอสังหาฯได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีและค่าธรรมเนียมตลอดไป จนกว่าจะมีการยุบเลิกกองทุน เช่น อาจจะได้สิทธิดังกล่าว 10 ปี 20 ปี 30 ปี ก็ได้ เมื่อ ก.ล.ต.กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขใหม่ โดยจำกัดอายุโครงการของกองทุนรวมอสังหาฯ เหลือเพียงไม่เกิน 10 ปี สิทธิที่กองทุนรวมอสังหาฯ มีอยู่เดิมจึงหมดไปเหลือเพียงแค่ 10 ปีด้วย ผลคือนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ลงทุนผ่านกองทุนสูญเสียประโยชน์ที่ควรจะได้ เพราะหากไม่มีการยุบเลิกกองทุนภายใน 10 ปี กองทุนก็จะมีภาระค่าใช้จ่ายที่เป็นภาษีและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับลดน้อยลง
แหล่งข่าวกล่าวว่าการจำกัดอายุโครงการของ กองทุนรวมอสังหาฯ เหลือเพียงไม่เกิน 10 ปี จากเดิมไม่กำหนดอายุ ทำให้กองทุนเสียผลประโยชน์ทางด้านภาษีและค่าธรรมเนียมสูงถึง 30% ของรายได้ เนื่องจากปัจจุบันกองทุนรวมอสังหาฯได้รับสิทธิประโยชน์หลายอย่าง เช่น กองทุนรวมอสังหาฯ กอง 1 ได้รับสิทธิประโยชน์ อาทิ ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการโอนอสังหาฯ เหลือเพียง 0.01% จากอัตราปกติ 2% ได้รับยกเว้นค่าอากรแสตมป์ จากอัตราจัดเก็บปกติ 0.5% ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ จากอัตราจัดเก็บปกติ 3.3% ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากอัตราปกติ 7% ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จากอัตราปกติ 30% ของรายได้ เป็นต้น
"ก.ล.ต.ให้เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ว่า เป็นเพราะเห็นว่าปัจจุบันปัญหาในระบบสถาบันการเงินและธุรกิจอสังหาฯ ได้คลี่คลายลงไปมาก และเศรษฐกิจโดยรวมและธุรกิจฟื้นตัวชัดเจนแล้ว จึงอยากปรับปรุงเงื่อนไขหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเราเห็นด้วยแต่ที่เป็นปัญหาก็คือจริงๆ แล้วน่าจะมีการกำหนดอายุโครงการในการจัดตั้งและลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาฯ ตั้งแต่แรก ไม่ใช่ไม่มีการจำกัดอายุ แล้วจู่ๆ มาบอกว่าต้องไม่เกิน 10 ปี เพราะทำให้การลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาฯ ได้รับผลกระทบทั้งหมด"
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้ บลจ.ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนรวมอสังหาฯ หลายๆ บริษัทกำลังหารือกันเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นจะทำหนังสือขอชี้แจงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพราะทราบดีว่า ก.ล.ต.มีเจตนาดี และไม่ต้องการให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันมากเกินไป ระหว่างการลงทุนซื้อโครงการอสังหาฯ ผ่านกองทุนรวมอสังหาฯ กับการลงทุนของเอกชนทั่วไป แต่ถ้านโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ชัดเจนตั้งแต่แรกก็จะไม่เกิดปัญหา กรณีนี้อาจจะขอผ่อนปรนจาก ก.ล.ต. โดยให้กำหนดอายุโครงการจากไม่เกิน 10 ปี เป็นไม่เกิน 30 ปี ทั้งนี้ สาเหตุที่ บลจ.ส่วนใหญ่เห็นว่าควรกำหนดอายุโครงการของกองทุนรวมอสังหาฯ 30 ปี เนื่องจากเห็นว่าสิทธิเช่าที่ดินหรืออาคารส่วนใหญ่จะกำหนดอายุเวลาเช่าเอาไว้นาน 30 ปี