หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 31, 2006 10:37 am
โดย ครรชิต ไพศาล
ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV เท่าไร ?

ถ้าคิดเฉพาะทรัพย์สินบนดิน PTTEP มีค่า P/BV

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 01, 2006 11:45 am
โดย adi
ค่าแก๊สถูกประเมินรวมใน bv แล้วครับ
ส่วนจะขุดออกมาเยอะกว่าหรือน้อยกว่าใน bv ก็แล้วแต่ดวง

ค่าแก๊ส

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 01, 2006 12:15 pm
โดย worapong
บุคแวลยูนี่ ไม่ได้รวมแก๊สครับ จะเป็นพวก แท่นขุดเจาะ เครื่องมือต่างๆครับ
ปกติแล้วในรายงานประจำปีของ pttep จะมีข้อมูลปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว และประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับตลอดอายุสัมปทาน และหักลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่พอสมควรมาเป็นมูลค่าปัจจุบันครับ ผมจำตัวเลขไม่ได้แล้วครับ ลองหาดูนะครับ แต่ว่ารายงานประจำปี47 เค้าลืมทำข้อมูลนี้ครับ ผมขอเค้าไปเค้าก็ส่งมาให้ที่บ้าน  รู้สึกว่าจะชื่อ fas-39 หรืออะไรคล้ายๆนี้แหละครับ แต่ของปี46 มีรายงานนี้ครับ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 01, 2006 12:56 pm
โดย ครรชิต ไพศาล
บริษัท น่าจะ คิดออกมาให้ดูนะ

เช่นสมมุติว่า ในแหล่งที่ได้สัปทาน ทั้งหมด มีแก็สสะสมอยู่ เท่าไร
เป็นส่วนของรัฐ ที่จ่ายเป็นค่าภาคหลวง เท่าไร
เหลือเป็นของส่วนผู้ถือหุ้น คิดเป็นต้นทุนสินค้าคงคลัง ซึ่งเก็บอยู่ใต้ดิน หักค่าใช้จ่ายในการนำขึ้นมาปากหลุม เท่าไร

Re: ค่าแก๊ส

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 01, 2006 1:48 pm
โดย adi
worapong เขียน:และประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับตลอดอายุสัมปทาน และหักลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่พอสมควรมาเป็นมูลค่าปัจจุบันครับ

อย่างนี้ไม่ได้เรียกว่ารวมค่าแก๊สเหรอครับ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 01, 2006 2:11 pm
โดย สุมาอี้
ครรชิต ไพศาล เขียน:บริษัท น่าจะ คิดออกมาให้ดูนะ

เช่นสมมุติว่า ในแหล่งที่ได้สัปทาน ทั้งหมด มีแก็สสะสมอยู่ เท่าไร
เป็นส่วนของรัฐ ที่จ่ายเป็นค่าภาคหลวง เท่าไร
เหลือเป็นของส่วนผู้ถือหุ้น คิดเป็นต้นทุนสินค้าคงคลัง ซึ่งเก็บอยู่ใต้ดิน หักค่าใช้จ่ายในการนำขึ้นมาปากหลุม เท่าไร
มีครับ NPV ของปริมาณปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วของบริษัท ณ สิ้นปี 47 เท่ากับ 136,570 ล้านบาท (คิดที่ราคาตลาดสิ้นปี 47 เฉพาะส่วนที่จะกระทบต่อสัญญาซื้อขาย)

ของปี 2548 คงใกล้คลอดแล้ว

Re: ค่าแก๊ส

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 01, 2006 2:47 pm
โดย worapong
adi เขียน:
อย่างนี้ไม่ได้เรียกว่ารวมค่าแก๊สเหรอครับ
เค้าคิดให้ดูเฉยๆ แต่ไม่ได้รวมลงไปในงบครับ มันเป็นมาตรฐานของธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม น่าจะชื่อ fas-39 ลองโทรไปถาม ir ของเค้าดูนะครับ หรือถามจากท่านสุมาอี้ดูก็ได้ครับ ผมไม่ค่อยแม่นเรื่องตัวเลข แต่จำได้คร่าวๆ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 01, 2006 3:07 pm
โดย สุมาอี้
เห็น inventory มีแค่ 600 ล้าน คงไม่ใช่แน่นอน

P/BV ของธุรกิจนี้คงวัดอะไรมิได้

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 01, 2006 3:24 pm
โดย adi
ขอบคุณครับ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 01, 2006 10:33 pm
โดย offshore-engineer
ดูได้จากแบบ FAS-69 ครับ สำหรับปี 47 บริษัทไม่ได้รวมไว้ในรายงานประจำปี แต่ได้ส่งแยกมาทางไปรษณีย์อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดี รายงานนี้จะรวมอยู่ในรายงาน 56-1 ด้วยครับ

จากข่าวใน Bangkok Post วันนี้ Proved Reserve ของบริษัทอยู่ที่ 950 ล้านเทียบเท่าบาร์เรลน้ำมันดิบ (BOE) แบ่งเป็นน้ำมัน 151 ล้านบาร์เรล และ ก๊าซ 5.158 ล้านลบ.ฟุต

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 01, 2006 11:10 pm
โดย สุมาอี้
ปีก่อนมี 899 ล้าน BOE แสดงว่าปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5

เคยได้ยินว่า supply น้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นได้เพียงปีละ 2% เท่านั้น

proved reserved

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 02, 2006 10:08 am
โดย worapong
เค้าเก่งมากๆเลยนะครับ ปริมาณการขายก็เพิ่มทุกปี ในขณะที่ปริมาณสำรองก็เพิ่มขึ้นด้วย มันไม่ง่ายเลยนะครับ เพราะว่าในทุกปีปริมาณสำรองจะลดลงตามปริมาณการผลิต เค้าต้องสำรวจให้ได้อย่างน้อยเท่ากับปริมาณผลิตเพื่อให้ปริมาณสำรองไม่ลดลง ในเกมส์ที่แหล่งสำรวจในประเทศหมดไปเรื่อยๆ เค้าเริ่มไปสำรวจในต่างประเทศซึ่งก็ประสบความสำเร็จพอสมควร อย่างไรก็ตามผมเคยได้ยินมาว่าเมืองไทยมีน้ำมันเยอะฝั่งอันดามัน ไม่ใช่แก๊สนะครับ แต่เป็นน้ำมันเลยละ แต่ว่ามันอยู่ลึก ผมจำตัวเลขไม่ได้แล้ว น่าจะราวๆ200เมตรละมั๊ง เลยเจาะยากเพราะหัวเจาะมันจะส่าย ถ้าวันนึงน้ำมันแพงมากๆ อาจมีวิธีที่คุ้มค่าที่จะขุดก็ได้ครับ ถ้าใครไปงาน opp day ช่วยถามทางผู้บริหารหน่อยนะครับ ว่าเรื่องน้ำมันในอันดามันเป็นเรื่องจริงหรือไม่ครับ เพราะผมฟังมาจากฝรั่งที่มาขุดเจาะที่สงขลาครับ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 02, 2006 12:02 pm
โดย fantasia
ล่าสุด p/bv ของ scc ก็ขึ้นไปถึง 4 เท่าแล้วครับ
เพราะว่าเปลี่ยนวิธีทางบัญชี โดยบันทึก fixed asset ที่ราคาทุนแทน
สงสัยอยากจะแข่งกับ PTT, PTTEP ว่าทำ ROE ได้สูงไม่แพ้กัน

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 03, 2006 8:57 pm
โดย offshore-engineer
ผมคิดว่ายอดขายและปริมาณสำรองเพิ่มขึ้นมาจาก Acquisition มากกว่าการสำรวจเจอแหล่งน้ำมันเพิ่ม การซื้อไทยเชลล์และB8/32 ทำให้ได้ทั้งยอดขายและปริมาณสำรองน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในทันที

F & D Cost (3ปีเฉลี่ย) (คือ ค่าใช้จ่ายในการซื้อกิจการบวกด้วยค่าใช้ในการสำรวจและพัฒนา หารด้วย ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น เฉลี่ย 3ปี) อยู่ที่ 2.97 USD/BOE ในปี 2004 เพิ่มขึ้นจาก 2.03 ในปี 2003

ส่วนแหล่งปิโตรเลียมในฝั่งอันดามัน ผมเคยอ่านเจอว่า มีการทำสำรวจแต่ผลที่ออกมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เดี๋ยวจะลองไปหาข้อมูลมาเพิ่ม ส่วนเรื่องระดับน้ำนั้นผมไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่ แต่ที่ 200 เมตรนั้นยังไม่ค่อยใช่ปัญหาสักเท่าไหร่ แต่อาจต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเท่านั้นเอง แหล่ง Deepwater ที่ Gulf of Mexico นี่ลึกเป็น 1000 เมตร ส่วนที่อ่าวไทยระดับน้ำอยู่ที่ประมาณ 60-80 เมตรครับ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 03, 2006 9:00 pm
โดย offshore-engineer
ถ้าหากท่านผู้ใดสนใจอยากได้ข้อมูลการผลิตและการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ฯลฯ ย้อนหลังถึงปี 1960s สามารถ download ได้จากเว๊ปไซต์ของ BP ครับ โดยปกติแล้วจะออกประมาณกลางปีครับ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 03, 2006 9:51 pm
โดย offshore-engineer
offshore-engineer เขียน: ล่าสุดในปี 2005 ค่า F&D ขยับขึ้นมาเป็น 4.76 USD/BOE

ส่วน Lifting Cost ของปี 2005 อยู่เพิ่มขึ้นเป็น 1.82 USD/BOE จาก 1.25 ในปีที่แล้ว

Reserve Life อยู่ที่ประมาณ 14ปี Reserve Replacement Ratio = 1.75เท่า

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 04, 2006 3:28 pm
โดย ครรชิต ไพศาล
[quote]ปตท.สผ. กำไรพุ่งร้อยละ 50

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 06, 2006 7:39 pm
โดย offshore-engineer
บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบเป็นหน่วยปริมาตรที่เทียบเท่าน้ำมันดิบสำหรับปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ให้พลังงานค่าหนึ่งๆ ครับ ก๊าซ 1ล้าน ลบ.ฟุต = 174.4 บาร์เรลครับ

น้ำมันดิบ 1 บาร์เรล ที่ขายได้ในแหล่งในอ่าวไทยประมาณ 2200 บาทต่อบาร์เรล (แหล่งเบญจมาสและทานตะวัน) (เฉลี่ยเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2548) หรือเกือบ 60USD/Barrel เท่านั้น

ส่วนก๊าซ 1ล้านลบ.ฟุตจากแหล่งบงกชขายได้ประมาณ 170,000 บาทครับ

ดังนั้นการคิดมูลค่าของปริมาณน้ำมันดิบสำรองต้องแยกแยะครับว่าเป็นน้ำมันดิบหรือว่าเป็นก๊าซธรรมชาติครับ

นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันดิบสำรองทั้งหมดไม่สามารถที่จะนำมาขายในวันนี้ได้ครับ เพราะฉะนั้นการประเมินมูลค่าจึงมีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นคือต้อง discount รายได้ในอนาคตมาที่ปัจจุบันครับ

ในแบบ FAS-69 จะมีข้อมูลส่วนนี้อยู่ครับ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะรวมอยู่ในแบบ 56-1 และ Annual Report ด้วยครับ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 06, 2006 8:01 pm
โดย offshore-engineer
ถ้าถือเป็นสินค้าคงคลัง คิดเป็นเงิน
950 ล้านบาร์เรล * 65 เหรียญต่อบาร์เรล  
คิดว่าเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น 50%  ส่วนแบ่งของรัฐ 50 % ได้ไหม?
ผมเข้าใจว่าเป็นของ pttep 100% ครับ ไม่ต้องแบ่งให้ภาครัฐอีกแล้ว (หากผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยด้วยครับ)

ส่วนที่แบ่งให้รัฐคือค่าภาคหลวงซึ่งแต่ก่อนกำหนดไว้ที่ 12.5% ของมูลค่าขาย (มาตรา 84 พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514) (ในปี 2516 ได้มีการเพิ่มเติมว่า สำหรับแหล่งปิโตรเลียมนอกชายฝั่งที่ระดับน้ำลึกกว่า 200 เมตร ค่าภาคหลวงเท่ากับ 8.75% เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสำรวจและลงทุน)

แต่ในภายหลัง (พ.ร.บ. ปี 2532) อัตราค่าภาคหลวงเปลี่ยนแปลงตามปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขายได้ในรอบเดือนของผู้รับสัมปทานเป็นดังนี้ครับ (เป็นแบบ Progressive Rate)

ขั้นที่ 1 ตั้งแต่ 0-60,000 บาร์เรล เสียค่าภาคหลวงในอัตรา 5%
ขั้นที่ 2 ตั้งแต่ 60,001-150,000 บาร์เรล เสียค่าภาคหลวงในอัตรา 6.25%
ขั้นที่ 3 ตั้งแต่ 150,001-300,000 บาร์เรล เสียค่าภาคหลวงในอัตรา 10%
ขั้นที่ 4 ตั้งแต่ 300,001-600,000 บาร์เรล เสียค่าภาคหลวงในอัตรา 12.5%
ขั้นที่ 5 มากกว่า 600,000 บาร์เรล เสียค่าภาคหลวงในอัตรา 15%

อัตราค่าภาคหลวงข้างต้นคัดจากเว๊ปไซต์ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติครับ (Department of Mineral Fuel)

รายได้อีกส่วนที่แบ่งเข้ารัฐคือภาษีครับที่จ่ายในอัตรา 50% ทำให้เงินปันผลจาก PTTEP สามารถเครดิตภาษีได้เท่ากับเงินปันผลเลยทีเดียวครับ Real Dividend Yield ของ PTTEP จึงสูงกว่า Actual Dividend Yield ค่อนข้างเยอะในกรณีที่ผู้ถือหุ้นขอคืนภาษีครับ ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของผู้ถือหุ้นครับ (What you see is not what you actually get)

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 06, 2006 8:04 pm
โดย offshore-engineer
เพิ่มเติมเรื่องค่าภาคหลวงครับ

กฎหมายกำหนดให้ "ปริมาณความร้อนของก๊าซธรรมชาติจำนวนสิบล้าน บี ที ยู มีค่าเทียบเท่าปริมาณปิโตรเลียมหนึ่งบาเรล

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 06, 2006 9:02 pm
โดย สุมาอี้
รูปภาพ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 06, 2006 10:53 pm
โดย ครรชิต ไพศาล
ขอบคุณครับ คุณ offshore-engineer ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 08, 2006 8:34 am
โดย สุมาอี้
offshore-engineer เขียน:
รายได้อีกส่วนที่แบ่งเข้ารัฐคือภาษีครับที่จ่ายในอัตรา 50% ทำให้เงินปันผลจาก PTTEP สามารถเครดิตภาษีได้เท่ากับเงินปันผลเลยทีเดียวครับ Real Dividend Yield ของ PTTEP จึงสูงกว่า Actual Dividend Yield ค่อนข้างเยอะในกรณีที่ผู้ถือหุ้นขอคืนภาษีครับ ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของผู้ถือหุ้นครับ (What you see is not what you actually get)
ราคาหุ้น 540 บาท ได้ปันผลปีละ 13.5 บาท ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้น้อยกว่า 100000 บาทต่อปี จะได้รับคืนภาษีอีก 13.5 บาท รวมเป็น 27 บาท เท่ากับ real dividend yield 5%

dividend yield 5% แถม revenue growth 65% ภายใน 3 ปีข้างหน้า ...

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 08, 2006 9:54 am
โดย สามัญชน
ถ้ารวมแก๊สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?
ผมว่าเราคิดอย่างนี้ให้ครึ้มอกครึ้มใจเล่นๆได้ครับว่า bv มีค่ามหาศาล  แต่คิดจริงๆจังๆไม่ได้มั้งครับ ผมว่าอย่างนั้นนะ

ผมก็เคยคิดเล่นๆว่าสังกะสีในเหมืองผาแดงที่ยังไม่ได้ขุดออกมา จะมีค่าเท่าไหร่ แล้วถ้าเอามารวมใน bv จะเป็นเท่าไหร่และกลายเป็นว่า ค่า p/b ที่ซื้อขายในปัจจุบันจะเล็กน้อยมาก

ถ้าหยุดคิดแค่นี้ ผมก็จะมีความสุขมากๆเลย  แต่ก็จำเป็นต้องคิดต่อ

พอคิดต่อก็จะพบว่า  bv ที่คิดได้ ถ้าจะเปลี่ยนมาเป็นกำไร ก็จะต้องตัดค่าต้นทุนทุกอย่างออกก่อน เช่นค่าใช้จ่ายในการบริการ ในการบริหาร ค่าเสื่อม ฯลฯ ซึ่งต้องคิดให้นานเพียงพอกับอายุที่สังกะสีหรือแก๊สจะถูกขุดออกมาหมด

สุดท้ายไม่ว่าส่วนที่ยังไม่ขุดจะเหลือเท่าไหร่ เราก็ต้องเล็งที่มาร์จิ้นอยู่ดี

อย่างหุ้นไอที  ถ้าจะคิดกรณีเดียวกันกับ pttep หรือ pdi ก็จะพบว่าสต็อคสินค้าคอมของทุกยี่ห้อไม่ว่าจะเป็น acer ริท compaq svoa  ทุกอย่างทั่วโลก จะกลายมาเป็น bv(ล่วงหน้า)ของไอทีได้หมดเลย  ลองคิดดูว่า bv ของไอทีจะมหาศาลขนาดไหน

อาจจะต่างกันที่วัตถุดิบของไอทีราคาขึ้นๆลงๆ แต่ค่าวัตถุดิบของ pttep กับ pdi ค่อนข้างfixed ไปแล้ว แต่ค่าอื่นๆก็เปลี่ยนแปลงพอๆกัน

ก็ขอแจมความคิดครับ ผิดถูกอย่าว่ากันนะครับ

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 10, 2006 10:30 pm
โดย offshore-engineer
ค่า Net Present Value ที่ปรากฏใน รายงาน FAS-69 ได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่าง ซึ่งรวมถึง Production Cost, Development Cost และ ภาษี เรียบร้อยแล้วครับ

ปี 2002 NPV = 100,970 ล้านบาท
ปี 2003 NPV = 120,364 ล้านบาท
ปี 2004 NPV = 136,570 ล้านบาท

M.CAP = 348,407 ล้านบาท (คิดที่ราคา 532 บาท)

อย่างไรก็ดี การจะนำค่า NPV ไปใช้ต้องระมัดระวังให้ดี เนื่องจากสมมติฐานเกี่ยวกับราคาขายที่ใช้ การประเมินรายจ่ายในอนาคต จะทำให้ค่าที่ได้รับแตกต่างกันค่อนข้างมาก นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับ discount rate ที่จะเลือกใช้ด้วย โดยในปี 2003 discount rate = 10%

FAS-69 Year 2004

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 12, 2006 7:08 pm
โดย offshore-engineer
หลังจากกลับไปอ่านรายงาน FAS-69 ปี 2004 อีกครั้งพบว่า

Proved Reserve หากรวมส่วนที่ลงทุนใน MEDCO (ซึ่ง PTTEP ขายไปเมื่อต้นปี 2005) = 963 Million BOE ดังนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว Proved Reserve ณ ปี 2005 ลดลงประมาณ 13 ล้าน BOE ซึ่งเป็นการลดลงของ Proved Oil Reserve ประมาณ 24 ล้าน Barrel และ Proved Gas Reserve ประมาณ 0.018 ล้าน ลบ.ฟุต

Net Present Value หากรวมสัดส่วนการลงทุนใน MEDCO = 142,157 ล้านบาท โดยมีสมมติฐานดังนี้ (คัดจาก FAS-69)
ตามมาตรฐานการวัดมูลค่าปัจจุบัน ของกระแสเงินสดสุทธิที่เกี่ยวข้องกับปริมาณสำรองปิโตรเลียม    ที่พิสูจน์แล้ว คำนวณโดยใช้สมมติฐาน ดังนี้

ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ใช้ราคา ณ สิ้นปี โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาเฉพาะที่มีกำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น

ประมาณการผลิต  คิดจากปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วที่เหลืออยู่ ณ สิ้นปี

ประมาณการค่าใช้จ่ายในอนาคตที่จะเกิดขึ้นในการพัฒนาและผลิตปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว คิดจากต้นทุนค่าใช้จ่ายตามข้อมูล ณ สิ้นปี โดยไม่คำนึงถึงสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ที่อาจจะเปลี่ยนไปในอนาคต

ภาษีเงินได้ในอนาคตคำนวณโดยใช้อัตราภาษีตามกฎหมายที่มีอยู่ ณ สิ้นปี และหักหรือปรับส่วนลดต่างๆ ตามที่เป็นจริง

ปรับลดมูลค่าของกระแสเงินสดในแต่ละปีเป็นมูลค่าปัจจุบันด้วยอัตรา 10% ต่อปีเพื่อสะท้อนถึงมูลค่า ตามเวลาของกระแสเงินสดนั้น
อย่างไรก็ดี ในรายงาน FAS-69 ยังกล่าวถึงค่า NPV ที่คำนวณได้ดังนี้
มูลค่าปัจจุบันของประมาณการกระแสเงินสดตามที่แสดงไว้ข้างล่างนี้ มิได้มุ่งหมายให้เป็นการแสดงประมาณการมูลค่าตามราคาตลาดยุติธรรมของสินทรัพย์ปิโตรเลียม

ประมาณการมูลค่าตามราคาตลาดยุติธรรม ควรต้องคำนึงถึงปริมาณสำรองที่ยังไม่ได้พิสูจน์ ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วได้ในอนาคต  ประมาณการราคาของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในอนาคต อัตรดอกเบี้ย การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและผลิต และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในอนาคต ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวแล้ว และยังมีข้อควรคำนึงอื่น ๆ อีกมาก  มูลค่าที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับการพิจารณา และ/หรือ การตัดสินใจของผู้วิเคราะห์เป็นหลัก

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 12, 2006 7:36 pm
โดย สุมาอี้
แล้วราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2548 นี่อยู่ที่เท่าไรครับ เวลาราคาน้ำมันผันผวนจะได้พอมีไอเดีย

ถ้ารวมเก็สน้ำมันในแหล่งสัมปทานด้วยแล้ว PTTEP มีค่า P/BV ?

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 13, 2006 12:28 pm
โดย offshore-engineer
สุมาอี้ เขียน:แล้วราคาน้ำมันเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2548 นี่อยู่ที่เท่าไรครับ เวลาราคาน้ำมันผันผวนจะได้พอมีไอเดีย
ราคาขายน้ำมันดิบในเดือนธันวาคม 2548 จำแนกตาม  Field ได้ดังนี้

แหล่งสิริกิติ์ = 2024 บาทต่อบาร์เรล
แหล่งเบญจมาส = 2207 บาทต่อบาร์เรล
แหล่งทานตะวัน = 2335 บาทต่อบาร์เรล
แหล่ง PTTEP1 (อู่ทอง กำแพงเพชร และ สังคจาย) = 1962 บาทต่อบาร์เรล
แหล่งนางนวล = 2221 บาทต่อบาร์เรล (พฤศจิกายน 2548)

ส่วนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ในระดับประมาณ 60 USD/barrel