ROE และ ROA
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 1
ผมเห็นมีคนสนใจเรื่อง ROE และ ROA กันมาก ผมเลยมีโจทย์หนึ่งข้อมาให้เพื่อนๆวิเคราะห์กันดูครับ อาจจะยาวซักหน่อย
บริษัท C ประกอบธุรกิจสร้างศูนย์การค้าให้เช่าทั้งระยะยาว (เซ้ง) และเช่าระยะสั้น
บริษัทเริ่มด้วยทุนจดทะเบียน 500 ลบ ทำการกู้ยืมเงินมา 500 ลบ ดอกเบี้ย 5% ต่อปี ผ่อนชำระปีแรก 300 ลบ ปีต่อไปปีละ 50 ลบ เพื่อสร้างศูนย์การค้ามูลค่าโครงการ 1,000 ลบ
อาคารมีมูลค่าซาก 50 ลบ ดังนั้นค่าเสื่อมราคา 20 ปี คิดปีละ 45 ลบ
ปีแรกบริษัทสามารถเซ้งพื้นที่ได้เงินมา 400 ลบ ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ตลอดระยะเวลา 20 ปีๆละ 20 ลบ
และบริษัทยังมีรายได้ค่าเช่าระยะสั้นอีกปีละ 130 ลบ ในขณะที่บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปีละ 5 ลบ
บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผล 100% ของกำไรสุทธิ
ประมาณการงบกำไรขาดทุน
-------------------------------------- 1 ------- 2 ------- 3 ------- 4 ------- 5 --------6-------
รายได้รวม-------------------------------150-------150--------150--------150------------150--------150--------
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย---------------------50--------50---------50----------50-------------50--------50--------
ดอกเบี้ยจ่าย------------------------------20--------8.75------6.25-------3.75-----------1.25-------0--------
ภาษีเงินได้------------------------------- 20--------22.81-----23.44-----24.06---------24.69------25.00------
กำไรสุทธิ----------------------------------60--------68.44-----70.31-----72.19--------74.06------75.00-------
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
ประมาณการงบกระแสเงินสด
------------------------------------------- 1 -------- 2 ------- 3 -------- 4 -------- 5 ---------- 6--------
เงินสดรับ----------------------------------------530--------130--------130-----130-----------130------------130--------
ค่าใช้จ่าย------------------------------------------5------------5-----------5--------5--------------5------------5--------
ดอกเบี้ยจ่าย-------------------------------------20------------8.75-----6.25----3.75----------1.25-----------0-------
ภาษีเงินได้---------------------------------------20------------22.81----23.44------24.06------24.69------25.00----
ชำระเงินกู้----------------------------------------300-----------50---------50-------50------------50-------------0-------
จ่ายเงินปันผล------------------------------------60----------68.44-----70.31----72.19------74.06---------75.00------
เงินสดสุทธิ--------------------------------------125----------(25)--------(25)------(25)-------(25)-----------25-------
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประมาณการงบดุล
-----------------------------------------------1-----------2-----------3--------4-------5---------6---------
เงินสด-------------------------------------------125--------100--------75-------50----25--------50-------
สินทรัพย์ถาวร-----------------------------------955--------910-------865-----820----775-------730------
รวมสินทรัพย์-----------------------------------1080-------1010-------940-----870-----800-------780-----
หนี้เงินกู้---------------------------------------------200-------150-----100-----50-------0--------0-----
ค่าเซ้งรับล่วงหน้า----------------------------------380--------360-----340-----320----300-----280-------
รวมหนี้สิน-------------------------------------------580--------510-----440-----370---300------280------
ส่วนผู้ถือหุ้น---------------------------------------------500--------500-----500-----500----500------500------
รวมหนี้สินและทุน--------------------------------------1080-------1010-----940------870-----800-----780------
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากการประมาณการเราจะได้ ROA ดังนี้
----------------------------------------------1-----------2---------3--------4------------5--------6----------
ROA-------------------------------------------9.26%-------9.57%------10.26%---------11.05%----------11.98%------12.66%-----
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ถ้าเราใช้หลักเกณฑ์ Buffett พิจารณาที่ ROA เกิน 12%
ถ้าเราพิจารณาบริษัท C ที่ช่วง 5 ปีแรกของการดำเนินงาน เราจะถือว่าบริษัทนี้ไม่มี durable competitive advantage
แต่ถ้าเรากลับมาพิจารณาในปีที่ 6 บริษัท C จะเข้าเกณฑ์ ทั้งที่บริษัทเดียวกัน ทำธุรกิจเดิมๆ บริหารงานแบบเดิมๆ รายได้เท่าเดิม ทำไมถึงเป็นแบบนี้
เราควรจะเริ่มลงทุนบริษัท C ตั้งแต่ปีแรกเลยหรือต้องรอถึงปีที่ 6 ROA ของบริษัทจึงจะเกณฑ์
หลักเกณฑ์ ROA ใช้ได้ดีหรือไม่ วานพี่เจ๋งและน้องวิบูลย์ช่วยเฉลยหน่อยครับ ไม่รู้จะอ่านรู้เรื่องไหม
บริษัท C ประกอบธุรกิจสร้างศูนย์การค้าให้เช่าทั้งระยะยาว (เซ้ง) และเช่าระยะสั้น
บริษัทเริ่มด้วยทุนจดทะเบียน 500 ลบ ทำการกู้ยืมเงินมา 500 ลบ ดอกเบี้ย 5% ต่อปี ผ่อนชำระปีแรก 300 ลบ ปีต่อไปปีละ 50 ลบ เพื่อสร้างศูนย์การค้ามูลค่าโครงการ 1,000 ลบ
อาคารมีมูลค่าซาก 50 ลบ ดังนั้นค่าเสื่อมราคา 20 ปี คิดปีละ 45 ลบ
ปีแรกบริษัทสามารถเซ้งพื้นที่ได้เงินมา 400 ลบ ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ตลอดระยะเวลา 20 ปีๆละ 20 ลบ
และบริษัทยังมีรายได้ค่าเช่าระยะสั้นอีกปีละ 130 ลบ ในขณะที่บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปีละ 5 ลบ
บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผล 100% ของกำไรสุทธิ
ประมาณการงบกำไรขาดทุน
-------------------------------------- 1 ------- 2 ------- 3 ------- 4 ------- 5 --------6-------
รายได้รวม-------------------------------150-------150--------150--------150------------150--------150--------
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย---------------------50--------50---------50----------50-------------50--------50--------
ดอกเบี้ยจ่าย------------------------------20--------8.75------6.25-------3.75-----------1.25-------0--------
ภาษีเงินได้------------------------------- 20--------22.81-----23.44-----24.06---------24.69------25.00------
กำไรสุทธิ----------------------------------60--------68.44-----70.31-----72.19--------74.06------75.00-------
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
ประมาณการงบกระแสเงินสด
------------------------------------------- 1 -------- 2 ------- 3 -------- 4 -------- 5 ---------- 6--------
เงินสดรับ----------------------------------------530--------130--------130-----130-----------130------------130--------
ค่าใช้จ่าย------------------------------------------5------------5-----------5--------5--------------5------------5--------
ดอกเบี้ยจ่าย-------------------------------------20------------8.75-----6.25----3.75----------1.25-----------0-------
ภาษีเงินได้---------------------------------------20------------22.81----23.44------24.06------24.69------25.00----
ชำระเงินกู้----------------------------------------300-----------50---------50-------50------------50-------------0-------
จ่ายเงินปันผล------------------------------------60----------68.44-----70.31----72.19------74.06---------75.00------
เงินสดสุทธิ--------------------------------------125----------(25)--------(25)------(25)-------(25)-----------25-------
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประมาณการงบดุล
-----------------------------------------------1-----------2-----------3--------4-------5---------6---------
เงินสด-------------------------------------------125--------100--------75-------50----25--------50-------
สินทรัพย์ถาวร-----------------------------------955--------910-------865-----820----775-------730------
รวมสินทรัพย์-----------------------------------1080-------1010-------940-----870-----800-------780-----
หนี้เงินกู้---------------------------------------------200-------150-----100-----50-------0--------0-----
ค่าเซ้งรับล่วงหน้า----------------------------------380--------360-----340-----320----300-----280-------
รวมหนี้สิน-------------------------------------------580--------510-----440-----370---300------280------
ส่วนผู้ถือหุ้น---------------------------------------------500--------500-----500-----500----500------500------
รวมหนี้สินและทุน--------------------------------------1080-------1010-----940------870-----800-----780------
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากการประมาณการเราจะได้ ROA ดังนี้
----------------------------------------------1-----------2---------3--------4------------5--------6----------
ROA-------------------------------------------9.26%-------9.57%------10.26%---------11.05%----------11.98%------12.66%-----
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ถ้าเราใช้หลักเกณฑ์ Buffett พิจารณาที่ ROA เกิน 12%
ถ้าเราพิจารณาบริษัท C ที่ช่วง 5 ปีแรกของการดำเนินงาน เราจะถือว่าบริษัทนี้ไม่มี durable competitive advantage
แต่ถ้าเรากลับมาพิจารณาในปีที่ 6 บริษัท C จะเข้าเกณฑ์ ทั้งที่บริษัทเดียวกัน ทำธุรกิจเดิมๆ บริหารงานแบบเดิมๆ รายได้เท่าเดิม ทำไมถึงเป็นแบบนี้
เราควรจะเริ่มลงทุนบริษัท C ตั้งแต่ปีแรกเลยหรือต้องรอถึงปีที่ 6 ROA ของบริษัทจึงจะเกณฑ์
หลักเกณฑ์ ROA ใช้ได้ดีหรือไม่ วานพี่เจ๋งและน้องวิบูลย์ช่วยเฉลยหน่อยครับ ไม่รู้จะอ่านรู้เรื่องไหม
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 2
สุดยอดเลยครับ คุณฉัตรชัย ผู้รู้จริง
เท่าที่อ่านถ้าเป็นกิจการให้เช่า เขาเน้นซื้อที่ต่ำกว่า book คือซื้อได้ราคา .5 ยิ่งดี เพราะเขาคิดว่า ตอนที่เศรฐกิจตก จะเก็บค่าเช่าได้ไม่ดี พอเศรษฐกิจกลับมาดี จะเก็บค่าเช่าได้มาก
เพราะฉะนั้นตอนที่เศรษฐกิจตก ค่าเช่าที่เก็บได้ทำให้ได้กำไรสุทธิ เมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุน เช่นซื้อหุ้นไป 100 ล้านบาท แล้วได้กำไรสุทธิซัก 10 ล้านบาท (ถ้าไม่มีตัวเลือกอื่น) แต่ซื้อในราคาต่ำกว่า book ครึ่งหนึ่ง พออสังหาริมทรัพย์กลับมาดีขึ้น กำไรสุทธิก็จะมากขึ้น เพราะเก็บค่าเช่าได้สูงขึ้น หรือไม่ก็มีพื้นที่ว่างน้อยลง
อย่างเช่น Modern ก็มีพื้นที่ว่าง ถ้าจำไม่ผิดตั้ง 90 เปอร์เซ็นต์เป็นต้น
ถ้าเป็นกิจการให้เช่า
วอเรนจะเน้น
1. ซื้อต่ำกว่า book
2. รายได้ที่ได้รับในปัจจุบันเมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุน พอรับได้เมื่อเทียบกับพันธบัตร
3. แนวโน้มอสังหาจะกลับมาดี
ส่วนเรื่องเปรียบเทียบกับ ROA ที่คุณฉัตรทำไว้ เป็นการประมาณการว่าจะเป็นแบบนั้น ผมวิเคราะห์ไม่เป็นจริงๆ เพราะในความเป็นจริง อสังหานี่ชอบมีการเปลี่ยนแปลง ราคาขึ้น ราคาลง และมีการแข่งขันด้านราคาอยู่เหมือนกัน ผมจึงเห็นด้วยกัยวอเรนที่เน้นซื้อราคาต่ำกว่า book ไว้ก่อน(แต่ต้องทำรายได้ ได้ในระดับที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่ลงทุน)
ช่วงที่ราคาต่ำกว่า book มากๆ ผมว่า ROA จะดูต่ำมากนะครับ
แต่ถ้ากู้เงินมาเยอะขนาดนั้น ตามกรณีศึกษา ผมขอซื้อปีที่ 6 เพื่อที่จะได้ดูงบย้อนหลัง ว่าเขาสามารถทำกำไรได้จริงตามประมาณการแค่ไหน
และการซื้อปีที่ 6 อย่างน้อยก็เริ่มปลอดภัย เพราะหนี้เริ่มน้อยลง พนักงานก็เริ่มเป็นมืออาชีพมากขึ้น และกำไรต่อสินทรัพย์ คือ ROA ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ
วิเคราะห์แบบนี้ สงสัยมีช่องโหว่มากเลย วิบูลย์ช่วยพี่หน่อยซิ
เท่าที่อ่านถ้าเป็นกิจการให้เช่า เขาเน้นซื้อที่ต่ำกว่า book คือซื้อได้ราคา .5 ยิ่งดี เพราะเขาคิดว่า ตอนที่เศรฐกิจตก จะเก็บค่าเช่าได้ไม่ดี พอเศรษฐกิจกลับมาดี จะเก็บค่าเช่าได้มาก
เพราะฉะนั้นตอนที่เศรษฐกิจตก ค่าเช่าที่เก็บได้ทำให้ได้กำไรสุทธิ เมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุน เช่นซื้อหุ้นไป 100 ล้านบาท แล้วได้กำไรสุทธิซัก 10 ล้านบาท (ถ้าไม่มีตัวเลือกอื่น) แต่ซื้อในราคาต่ำกว่า book ครึ่งหนึ่ง พออสังหาริมทรัพย์กลับมาดีขึ้น กำไรสุทธิก็จะมากขึ้น เพราะเก็บค่าเช่าได้สูงขึ้น หรือไม่ก็มีพื้นที่ว่างน้อยลง
อย่างเช่น Modern ก็มีพื้นที่ว่าง ถ้าจำไม่ผิดตั้ง 90 เปอร์เซ็นต์เป็นต้น
ถ้าเป็นกิจการให้เช่า
วอเรนจะเน้น
1. ซื้อต่ำกว่า book
2. รายได้ที่ได้รับในปัจจุบันเมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุน พอรับได้เมื่อเทียบกับพันธบัตร
3. แนวโน้มอสังหาจะกลับมาดี
ส่วนเรื่องเปรียบเทียบกับ ROA ที่คุณฉัตรทำไว้ เป็นการประมาณการว่าจะเป็นแบบนั้น ผมวิเคราะห์ไม่เป็นจริงๆ เพราะในความเป็นจริง อสังหานี่ชอบมีการเปลี่ยนแปลง ราคาขึ้น ราคาลง และมีการแข่งขันด้านราคาอยู่เหมือนกัน ผมจึงเห็นด้วยกัยวอเรนที่เน้นซื้อราคาต่ำกว่า book ไว้ก่อน(แต่ต้องทำรายได้ ได้ในระดับที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่ลงทุน)
ช่วงที่ราคาต่ำกว่า book มากๆ ผมว่า ROA จะดูต่ำมากนะครับ
แต่ถ้ากู้เงินมาเยอะขนาดนั้น ตามกรณีศึกษา ผมขอซื้อปีที่ 6 เพื่อที่จะได้ดูงบย้อนหลัง ว่าเขาสามารถทำกำไรได้จริงตามประมาณการแค่ไหน
และการซื้อปีที่ 6 อย่างน้อยก็เริ่มปลอดภัย เพราะหนี้เริ่มน้อยลง พนักงานก็เริ่มเป็นมืออาชีพมากขึ้น และกำไรต่อสินทรัพย์ คือ ROA ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ
วิเคราะห์แบบนี้ สงสัยมีช่องโหว่มากเลย วิบูลย์ช่วยพี่หน่อยซิ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 3
ยกตัวอย่างเช่น MBK ในปี 2000 ราคา 17.75 ทั้งบริษัทราคา 3550 ล้านบาท กำไร 320 ล้านบาท PB = .57
ถ้าซื้อตอนนั้น เท่ากับได้กำไรทันที 320/3550 = 9.01 เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญ PB = .57
เมื่อดูแนวโน้มแล้วว่าต่อไป ราคาค่าเช่าจะดีขึ้น ก็ซื้อได้ตามหลักของ The New buffetology
ครับ ROA ROE ก็ยังต่ำอยู่เลยครับ
รู้สึกว่าในหนังสือเขาก็มีข้อสังเกตุเกี่ยวกับ ROA ROE ของบางกิจการเหมือนกัน คือบางกิจการดู ROE บางกิจการดู ROA บางกิจการเน้นดู book ไปเลย แต่ที่แน่ๆเน้นดูเทียบกับเม็ดเงินของเราที่ลงทุนครับ
ถ้าซื้อตอนนั้น เท่ากับได้กำไรทันที 320/3550 = 9.01 เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญ PB = .57
เมื่อดูแนวโน้มแล้วว่าต่อไป ราคาค่าเช่าจะดีขึ้น ก็ซื้อได้ตามหลักของ The New buffetology
ครับ ROA ROE ก็ยังต่ำอยู่เลยครับ
รู้สึกว่าในหนังสือเขาก็มีข้อสังเกตุเกี่ยวกับ ROA ROE ของบางกิจการเหมือนกัน คือบางกิจการดู ROE บางกิจการดู ROA บางกิจการเน้นดู book ไปเลย แต่ที่แน่ๆเน้นดูเทียบกับเม็ดเงินของเราที่ลงทุนครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 4
พี่เจ๋งครับ ตามประมาณการของผมราคาค่าเช่าและค่าใช้จ่ายคงที่ตลอดเลยครับ ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจจะซบหรือไม่ หรือค่าเช่าเพิ่มขึ้นในอนาคต
ส่วนเรื่องที่พี่บอกว่าให้ดูที่ P/B ที่ต่ำกว่า 0.50 ผมว่าถ้าต่ำขนาดนั้นยังไงก็ซื้อครับ ( ส่วนผู้ถือหุ้น 500 ลบ. ที่ P/B = 0.50 มูลค่าบริษัทก็เหลือแค่ 250 ลบ. เทียบกับกำไรปีที่ 1 ที่ 60 ลบ P/E = 4.17 เท่า ) แต่ถ้าราคาเท่า Book ละครับ น่าซื้อไหมที่ปีที่ 1 ทั้งๆที่ ROA ไม่ถึง 12% และราคาเท่ากับ Book
ส่วนเรื่องที่พี่บอกว่าให้ดูที่ P/B ที่ต่ำกว่า 0.50 ผมว่าถ้าต่ำขนาดนั้นยังไงก็ซื้อครับ ( ส่วนผู้ถือหุ้น 500 ลบ. ที่ P/B = 0.50 มูลค่าบริษัทก็เหลือแค่ 250 ลบ. เทียบกับกำไรปีที่ 1 ที่ 60 ลบ P/E = 4.17 เท่า ) แต่ถ้าราคาเท่า Book ละครับ น่าซื้อไหมที่ปีที่ 1 ทั้งๆที่ ROA ไม่ถึง 12% และราคาเท่ากับ Book
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 6
เป็นผมผมลงหมดตัวเลยครับ เค้ามีรายได้และค่าใช้จ่ายคงที่แบบนี้ แสดงว่า cost of equity เกือบเท่า risk free rate เป็นผมผมจะให้เค้ากู้เงินมากกว่านี้ด้วยซ้ำจะได้มี tax saving มากกว่านี้
WACC บริษัทนี้ต่ำมากๆ ถ้าคิดง่ายๆ ก้อส่วนของผู้ถือหุ้น คิด NPV ของกระแสเงินสดกับเงินปันผลก้อ 453 บาทแล้ว ว้าวลงทุนแค่ 500 ได้ 453 เหรอถ้าคิด wacc แค่ 5%
มีหุ้นแบบนี้มั้ยครับอยากหาเจอจัง
WACC บริษัทนี้ต่ำมากๆ ถ้าคิดง่ายๆ ก้อส่วนของผู้ถือหุ้น คิด NPV ของกระแสเงินสดกับเงินปันผลก้อ 453 บาทแล้ว ว้าวลงทุนแค่ 500 ได้ 453 เหรอถ้าคิด wacc แค่ 5%
มีหุ้นแบบนี้มั้ยครับอยากหาเจอจัง
-
- ผู้ติดตาม: 0
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 9
โดยความคิดส่วนตัว ถ้าราคาเท่า BV ผมว่าน่าซื้อนะครับ เพราะเงินปันผลสม่ำเสมอดีเหลือเกิน แถมยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แค่ 6 ปี ได้ปันผลมากว่า 400 ล้านแล้ว น่าถือยาวครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 10
มารายงานตัวตามที่จุดธูปเรียกแล้วนะครับ
ผมขอตอบตามโจทเลยนะ ห้ามเพิ่มข้อมูลมาใหม่นะครับ
1) บริษัทนี้ROAจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะ สินทรัพย์จะถูกตัดค่าเสื่อมไปตลอด มิได้เกิดจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นครับ
2) ROEจะเพิ่มขึ้นตลอดจนถึงปีที่5 หลังจากนั้นจะคงที่เพราะกำไรไม่เพิ่ม
3) หลังปีที่5ไปแล้วกำไรจะประมาณ 75 ลบ.ไม่โตขึ้น
4)หลังจากปีที่5ไปแล้วเงินสดจะเพิ่มขึ้น25ลบ.ทุกปี เพราะจ่ายปันผลเท่ากับกำไรทั้งหมด ถ้านับไปอีก 15 ปีบริษัทไม่ทำอะไรกับเงินสดเลย บริษัทจะมีเงินสดประมาณ 375บล.(แต่เป็น 400ลบ.ในวันนี้นะครับ อีก15ปีไปแล้วจะมีมูลค่าลดลงเท่าไรไม่ขอคำนวณ)
บริษัทนี้บอกไม่ได้ว่ามีDCAหรือไม่นะครับ เพราะรายได้คงที่ตลอด ไม่มีการปรับราคาขึ้นหรือลงตลอด20ปี เงินเฟ้อเพิ่มค่าของเงินก็ลดนะครับ
ถามว่าเราควรลงทุนกับบริษัทนี้เมื่อไร ตอบแบบมีข้อแม้ครับว่าถ้าทุกอย่างเป็นตามโจทย์ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน20ปีเลย บริษัทนี้น่าลงทุนตั้งแต่แรกเริ่มเลยละครับ และควรขายออกเมื่อหลังปีที่5 เพราะบริษัทไม่โตแล้ว ไม่ลงทุนเพิ่มอาจปล่อยเงินลดค่าลง ถ้าผมดูตามนี้เมื่ออายุยิ่งใกล้ครบ20ปีเมื่อไรมูลค่าบริษัทนี้ก็ยิ่งลดลงครับ ทำไมหรือครับ ลงทุนในบริษัทนี้ก็คล้ายกับการลงทุนในพันธบัตรนั่นแหละครับ แต่ผลตอบแทนมันมากกว่า เงินปันผลถือเป็นดอกเบี้ย โดยใน5ปีแรกดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 12% จนมาอิ่มตัวที่ 15% ถ้าถือครบกำหนด20ปีแล้วบริษัทขายสินทรัพย์ออกหมด จะได้เงินก้อน 50ลบ.(ค่าซาก) บวกกับ 400ลบ.ซึ่งเท่ากับ 450ลบ. ซึ่งรวมกับปันผลในแต่ละปี แล้วคิดลดกับมาน่าจะใกล้เคียง 500ลบ.นะครับ ใครลงทุนในปีหลังๆน่ะขาดทุนเด้อ
ผมขอตอบตามโจทเลยนะ ห้ามเพิ่มข้อมูลมาใหม่นะครับ
1) บริษัทนี้ROAจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะ สินทรัพย์จะถูกตัดค่าเสื่อมไปตลอด มิได้เกิดจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นครับ
2) ROEจะเพิ่มขึ้นตลอดจนถึงปีที่5 หลังจากนั้นจะคงที่เพราะกำไรไม่เพิ่ม
3) หลังปีที่5ไปแล้วกำไรจะประมาณ 75 ลบ.ไม่โตขึ้น
4)หลังจากปีที่5ไปแล้วเงินสดจะเพิ่มขึ้น25ลบ.ทุกปี เพราะจ่ายปันผลเท่ากับกำไรทั้งหมด ถ้านับไปอีก 15 ปีบริษัทไม่ทำอะไรกับเงินสดเลย บริษัทจะมีเงินสดประมาณ 375บล.(แต่เป็น 400ลบ.ในวันนี้นะครับ อีก15ปีไปแล้วจะมีมูลค่าลดลงเท่าไรไม่ขอคำนวณ)
บริษัทนี้บอกไม่ได้ว่ามีDCAหรือไม่นะครับ เพราะรายได้คงที่ตลอด ไม่มีการปรับราคาขึ้นหรือลงตลอด20ปี เงินเฟ้อเพิ่มค่าของเงินก็ลดนะครับ
ถามว่าเราควรลงทุนกับบริษัทนี้เมื่อไร ตอบแบบมีข้อแม้ครับว่าถ้าทุกอย่างเป็นตามโจทย์ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรใน20ปีเลย บริษัทนี้น่าลงทุนตั้งแต่แรกเริ่มเลยละครับ และควรขายออกเมื่อหลังปีที่5 เพราะบริษัทไม่โตแล้ว ไม่ลงทุนเพิ่มอาจปล่อยเงินลดค่าลง ถ้าผมดูตามนี้เมื่ออายุยิ่งใกล้ครบ20ปีเมื่อไรมูลค่าบริษัทนี้ก็ยิ่งลดลงครับ ทำไมหรือครับ ลงทุนในบริษัทนี้ก็คล้ายกับการลงทุนในพันธบัตรนั่นแหละครับ แต่ผลตอบแทนมันมากกว่า เงินปันผลถือเป็นดอกเบี้ย โดยใน5ปีแรกดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 12% จนมาอิ่มตัวที่ 15% ถ้าถือครบกำหนด20ปีแล้วบริษัทขายสินทรัพย์ออกหมด จะได้เงินก้อน 50ลบ.(ค่าซาก) บวกกับ 400ลบ.ซึ่งเท่ากับ 450ลบ. ซึ่งรวมกับปันผลในแต่ละปี แล้วคิดลดกับมาน่าจะใกล้เคียง 500ลบ.นะครับ ใครลงทุนในปีหลังๆน่ะขาดทุนเด้อ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 11
ขอตอบครับ
เอาเป็นว่าเราเน้นที่ ROE กับ ROA อย่างเดียวแล้วกันนะครับ เพื่อจำกัด Scope
เท่าที่ผมดูบริษัทนี้ ROE และ ROA จะเพิ่มขึ้นจนถึงปีที่ห้าจากนั้นก็จะคงที่ โดยที่ยอดขายไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยตั้งแต่ปีแรก สัดส่วน Equity ก็เท่าเดิมตลอด
การที่ ROE และ ROA เพิ่มขึ้นโดยที่ยอดขายไม่เพิ่มและส่วนผู้ถือหุ้นเท่าเดิมนั้น ผมถือว่าไม่มีคุณภาพสักเท่าไหร่
ในฐานะนักลงทุนระยะยาว ผมขอบ๊ายบายบริษัทนี้ครับ เพราะความสามารถในการทำกำไรในอนาคตไม่ดีเลย อาศัยเล่นแร่แปรธาตุทางบัญชีเพื่อให้ ROE และ ROA เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้เพิ่มความสามารถในการทำกำไรแต่อย่างใด
ส่วนเรื่อง Competitive Advantage ของบริษัทนี้บอกได้เลยว่าไม่มี เพราะบริษัทที่มี CA ที่แข็งแรงจะสามารถขึ้นราคาได้โดยที่ลูกค้าไม่หนีไปไหน บริษัทนี้มียอดขายเท่าเดิมแสดงว่าขึ้นราคาไม่ได้
ผมอาจจะซื้อบริษัทนี้ครับที่ Book Value หรือต่ำกว่าเพราะถือว่าบริษัทไม่มีการเติบโต แล้วรับเงินปันผลไป แต่คงไม่ถือยาวเพราะความสามารถในการทำกำไรในอนาคตไม่มี
ส่วนใหญ่ผมจะทำ Qualitative Analysis ของบริษัทก่อน ก่อนที่ผมจะเสียเวลาคำนวณมูลค่ากิจการครับ ช่วยให้ผมลดเวลาการทำ Quantitative Analysis ลงไปได้เยอะ ผมไม่เริ่มต้นจากมูลค่ากิจการครับจนกว่าผมจะเห็นธุรกิจที่น่าสนใจ
ท่านอื่นๆอาจจะมีความเห็นต่างจากผมครับ
เอาเป็นว่าเราเน้นที่ ROE กับ ROA อย่างเดียวแล้วกันนะครับ เพื่อจำกัด Scope
เท่าที่ผมดูบริษัทนี้ ROE และ ROA จะเพิ่มขึ้นจนถึงปีที่ห้าจากนั้นก็จะคงที่ โดยที่ยอดขายไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยตั้งแต่ปีแรก สัดส่วน Equity ก็เท่าเดิมตลอด
การที่ ROE และ ROA เพิ่มขึ้นโดยที่ยอดขายไม่เพิ่มและส่วนผู้ถือหุ้นเท่าเดิมนั้น ผมถือว่าไม่มีคุณภาพสักเท่าไหร่
ในฐานะนักลงทุนระยะยาว ผมขอบ๊ายบายบริษัทนี้ครับ เพราะความสามารถในการทำกำไรในอนาคตไม่ดีเลย อาศัยเล่นแร่แปรธาตุทางบัญชีเพื่อให้ ROE และ ROA เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้เพิ่มความสามารถในการทำกำไรแต่อย่างใด
ส่วนเรื่อง Competitive Advantage ของบริษัทนี้บอกได้เลยว่าไม่มี เพราะบริษัทที่มี CA ที่แข็งแรงจะสามารถขึ้นราคาได้โดยที่ลูกค้าไม่หนีไปไหน บริษัทนี้มียอดขายเท่าเดิมแสดงว่าขึ้นราคาไม่ได้
ผมอาจจะซื้อบริษัทนี้ครับที่ Book Value หรือต่ำกว่าเพราะถือว่าบริษัทไม่มีการเติบโต แล้วรับเงินปันผลไป แต่คงไม่ถือยาวเพราะความสามารถในการทำกำไรในอนาคตไม่มี
ส่วนใหญ่ผมจะทำ Qualitative Analysis ของบริษัทก่อน ก่อนที่ผมจะเสียเวลาคำนวณมูลค่ากิจการครับ ช่วยให้ผมลดเวลาการทำ Quantitative Analysis ลงไปได้เยอะ ผมไม่เริ่มต้นจากมูลค่ากิจการครับจนกว่าผมจะเห็นธุรกิจที่น่าสนใจ
ท่านอื่นๆอาจจะมีความเห็นต่างจากผมครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 12
ที่คุณมนบอกว่าบริษัทนี้น่าจะลงทุนตั้งแต่ปีแรกเลย และขายออกตั้งแต่ปีที่ 5 ซึ่งตรงข้ามกับหลัก ROA ของ Buffett เลยนะครับ
เพราะปีแรก ROA ต่ำ ในขณะที่ปีที่ 5 ROA ของบริษัทสูงกว่าเกณฑ์
ที่ผมตั้งโจทย์ข้อนี้ เพื่อที่จะบอกเพื่อนนักลงทุนหน้าใหม่ให้ระวังครับ
การพิจารณาตัวเลขเพียงบางตัวเพื่อใช้ตัดสินใจในการลงทุนนั้นไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง
ผมกลัวเพื่อนนักลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่ค่อยมีความรู้ทางบัญชี แต่ชอบสูตรสำเร็จที่ง่ายๆ พออ่านกระทู้เกี่ยวกับ ROA และ ROE ที่ Buffett ใช้ แล้วนำไปปฎิบัติ
เพื่อนๆจะเห็นได้ว่า การลงทุนนั้นไม่มีสูตรสำเร็จง่ายๆหรอกครับ คุณจะประสบความสำเร็จจากการลงทุนได้นั้น คุณต้องทุ่มเท ศึกษาหาความรู้ หาข้อมูล และใช้เวลาในการวิเคราะห์อย่างละเอียดครับ
เพราะปีแรก ROA ต่ำ ในขณะที่ปีที่ 5 ROA ของบริษัทสูงกว่าเกณฑ์
ที่ผมตั้งโจทย์ข้อนี้ เพื่อที่จะบอกเพื่อนนักลงทุนหน้าใหม่ให้ระวังครับ
การพิจารณาตัวเลขเพียงบางตัวเพื่อใช้ตัดสินใจในการลงทุนนั้นไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง
ผมกลัวเพื่อนนักลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่ค่อยมีความรู้ทางบัญชี แต่ชอบสูตรสำเร็จที่ง่ายๆ พออ่านกระทู้เกี่ยวกับ ROA และ ROE ที่ Buffett ใช้ แล้วนำไปปฎิบัติ
เพื่อนๆจะเห็นได้ว่า การลงทุนนั้นไม่มีสูตรสำเร็จง่ายๆหรอกครับ คุณจะประสบความสำเร็จจากการลงทุนได้นั้น คุณต้องทุ่มเท ศึกษาหาความรู้ หาข้อมูล และใช้เวลาในการวิเคราะห์อย่างละเอียดครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 16
ผมว่าคนอ่านกระทู้นี้จบ จะไม่กล้าลงทุนแนวviไปครึ่งนึงอย่างแน่นอน
เพราะอ่านจบแล้วจะรู้สึกว่า.......ทำไมมันยากอย่างนี้วะ(เท๊าฮิ๊งอีกแล้ว)
ต้องคน จบบัญชีอย่างคุณฉัตรชัย
จบการเงินอย่างคุณmon money
ทำงานวิเคราะห์วิเคราะห์หลักทรัพย์อย่างคุณวิบูลย์007
จบmba อย่างคุณเจ๋ง
ถึงจะกล้าลงทุนแบบvi
ผมอยากให้พวกเราลองคิดกลยุทธสำหรับvi แบบชาวบ้านๆบ้าง
เพื่อให้ordinary people แบบผมและอีกหลายๆท่านที่อ่านกระทู้นี้มีความหวังบ้าง
ตอนที่ผมเรียนหนังสือ(นานมากแล้ว) อจ.จะบอกให้ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้
ผมก็"จำๆๆๆๆๆๆๆ"แล้ว"ทำๆๆๆๆๆๆๆๆ"ตามที่ท่านว่า
ก็แก้ปัญหา ทำงานผ่านลุล่วงมาได้20+ปี
พออ่านมากเข้า ทำมากเข้า ก็ถึงบางอ้อ ว่าท่านให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้เพราะอะไร
โดยช่วงแรก ทำโดยความเข้าใจส่วนน้อย จำเป็นส่วนมาก
แต่90%สามารถใช้วิธีการแบบนี้ได้ จะมีข้อแม้ในบางกรณีที่ยกเว้นนอกเหนือจากข้อแนะนำ
ซึ่งแบบนั้น........ก็ให้"เซียน" เค้าเถอะครับ
เพราะอ่านจบแล้วจะรู้สึกว่า.......ทำไมมันยากอย่างนี้วะ(เท๊าฮิ๊งอีกแล้ว)
ต้องคน จบบัญชีอย่างคุณฉัตรชัย
จบการเงินอย่างคุณmon money
ทำงานวิเคราะห์วิเคราะห์หลักทรัพย์อย่างคุณวิบูลย์007
จบmba อย่างคุณเจ๋ง
ถึงจะกล้าลงทุนแบบvi
ผมอยากให้พวกเราลองคิดกลยุทธสำหรับvi แบบชาวบ้านๆบ้าง
เพื่อให้ordinary people แบบผมและอีกหลายๆท่านที่อ่านกระทู้นี้มีความหวังบ้าง
ตอนที่ผมเรียนหนังสือ(นานมากแล้ว) อจ.จะบอกให้ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้
ผมก็"จำๆๆๆๆๆๆๆ"แล้ว"ทำๆๆๆๆๆๆๆๆ"ตามที่ท่านว่า
ก็แก้ปัญหา ทำงานผ่านลุล่วงมาได้20+ปี
พออ่านมากเข้า ทำมากเข้า ก็ถึงบางอ้อ ว่าท่านให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้เพราะอะไร
โดยช่วงแรก ทำโดยความเข้าใจส่วนน้อย จำเป็นส่วนมาก
แต่90%สามารถใช้วิธีการแบบนี้ได้ จะมีข้อแม้ในบางกรณีที่ยกเว้นนอกเหนือจากข้อแนะนำ
ซึ่งแบบนั้น........ก็ให้"เซียน" เค้าเถอะครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 18
ครั้งนี้ไม่มีใครจุกธูปเรียกแต่อยากเขียน
อย่างแรกขอบอกว่าผมจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (อย่ามาถามเรื่องช่างกับผมนะ ลงหม้อฝังดินและมีคนมาปลูกคอนโด40ชั้นทับไว้แล้ว)ไม่ได้จบการเงินนะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจกันต่อไปว่าผมได้ CFA มีความรู้จากการเรียนบัญชีมาแค่เล่มเดียวใช้เวลา 45ชม. กับเรียนการเงินมาแค่เล่มเดียวเช่นกันแค่ 45ชม.ครับ หากจะกล่าวว่าเก่งบัญชี นักบัญชีจะหัวเราะจนน้ำตาไหล และหากกล่าวว่าเก่งการเงินละก็นักการเงินทั้งหลายคงหัวเราะตกเก้าอี้แน่นอน
ผมเป็นนักเรียนอยู่ครับยังเรียนอยู่ครับ ยังซื้อหนังสืออ่านอยู่เลยครับ ยังต้องถามผู้อื่นในเรื่องที่ยังไม่รู้อยู่เลยครับ ยังโง่อีกมากครับ ถ้าผมยังศึกษาอยู่ตลอดในอัตรานี้ผมต้องรู้อีกหลายเรื่องแน่ๆ
การลงทุนแบบVIเป็นการลงทุนแบบชาวบ้านที่สุดแล้วครับ อยู่ในชีวิตประจำวันเรานั่นแหละ เราและเพื่อนๆก็ได้ใช้ เดินไปก็แทบจะชน เสียเวลาไปดูให้แน่ใจว่าดีจริงเท่านั้นก็พอ
ส่วนเรื่อง การคำนวณที่ว่านี่มันแค่ยกมายืนยันความสามารถในการบริหารของผู้บริหาร คำนวณง่ายๆและเสียเวลาเรียนรู้ความหมายนิดหน่อยเท่านั้นเอง
และเรื่องบัญชีนี่เราควรจะรู้บ้างครับ ไม่ต้องเก่งแค่ดูให้ได้ ดูให้ออก จับจุดน่าสงสัยให้ได้ ไม่แน่ใจถามกันครับ จะปลอดภัย เพราะที่ถูกต้มกันมามักจะเป็นการแต่งบัญชีง่ายๆ เช่นการรับรู้รายได้ การใช้บริษัทย่อยในการซุกขยะเป็นต้น เรื่องอย่างนี้กัดฟันอ่านหนังสือเล่มบางๆของดร.ภาภรก็ช่วยได้มากแล้วครับ
อย่างที่คุณวิบูลย์บอกและผมพูดเสมอ(แต่โดนด่า)ว่าให้เราเข้าใจธุรกิจ ถ้าเข้าใจดีแล้วละก็ ผ่านไป 70%แล้วครับ อีก30%เป็นแค่การยืนยันเท่านั้นเอง ถ้าไม่ทำยังได้เลยหากคิดจะถือยาวจริงๆ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สอนใจได้อย่างแนบเนียนของคุณฉัตรชัย ว่าเราไม่สามารถเอาindicator เพียงไม่กี่ตัวมาวัดมูลค่าของกิจการ เราต้องดูให้ละเอียดรอบคอบอย่างที่คุณวิบูลย์ว่า ผมขอย้ำว่า "เงินนะครับ ไม่ใช่ก้อนหิน" นึกอยากจะโยนก็โยนลงไป
เรียนรู้ไม่ยาก เท่าเอาชนะใจให้เรียนรู้ให้ได้ต่างหาก
อย่างแรกขอบอกว่าผมจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (อย่ามาถามเรื่องช่างกับผมนะ ลงหม้อฝังดินและมีคนมาปลูกคอนโด40ชั้นทับไว้แล้ว)ไม่ได้จบการเงินนะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจกันต่อไปว่าผมได้ CFA มีความรู้จากการเรียนบัญชีมาแค่เล่มเดียวใช้เวลา 45ชม. กับเรียนการเงินมาแค่เล่มเดียวเช่นกันแค่ 45ชม.ครับ หากจะกล่าวว่าเก่งบัญชี นักบัญชีจะหัวเราะจนน้ำตาไหล และหากกล่าวว่าเก่งการเงินละก็นักการเงินทั้งหลายคงหัวเราะตกเก้าอี้แน่นอน
ผมเป็นนักเรียนอยู่ครับยังเรียนอยู่ครับ ยังซื้อหนังสืออ่านอยู่เลยครับ ยังต้องถามผู้อื่นในเรื่องที่ยังไม่รู้อยู่เลยครับ ยังโง่อีกมากครับ ถ้าผมยังศึกษาอยู่ตลอดในอัตรานี้ผมต้องรู้อีกหลายเรื่องแน่ๆ
การลงทุนแบบVIเป็นการลงทุนแบบชาวบ้านที่สุดแล้วครับ อยู่ในชีวิตประจำวันเรานั่นแหละ เราและเพื่อนๆก็ได้ใช้ เดินไปก็แทบจะชน เสียเวลาไปดูให้แน่ใจว่าดีจริงเท่านั้นก็พอ
ส่วนเรื่อง การคำนวณที่ว่านี่มันแค่ยกมายืนยันความสามารถในการบริหารของผู้บริหาร คำนวณง่ายๆและเสียเวลาเรียนรู้ความหมายนิดหน่อยเท่านั้นเอง
และเรื่องบัญชีนี่เราควรจะรู้บ้างครับ ไม่ต้องเก่งแค่ดูให้ได้ ดูให้ออก จับจุดน่าสงสัยให้ได้ ไม่แน่ใจถามกันครับ จะปลอดภัย เพราะที่ถูกต้มกันมามักจะเป็นการแต่งบัญชีง่ายๆ เช่นการรับรู้รายได้ การใช้บริษัทย่อยในการซุกขยะเป็นต้น เรื่องอย่างนี้กัดฟันอ่านหนังสือเล่มบางๆของดร.ภาภรก็ช่วยได้มากแล้วครับ
อย่างที่คุณวิบูลย์บอกและผมพูดเสมอ(แต่โดนด่า)ว่าให้เราเข้าใจธุรกิจ ถ้าเข้าใจดีแล้วละก็ ผ่านไป 70%แล้วครับ อีก30%เป็นแค่การยืนยันเท่านั้นเอง ถ้าไม่ทำยังได้เลยหากคิดจะถือยาวจริงๆ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สอนใจได้อย่างแนบเนียนของคุณฉัตรชัย ว่าเราไม่สามารถเอาindicator เพียงไม่กี่ตัวมาวัดมูลค่าของกิจการ เราต้องดูให้ละเอียดรอบคอบอย่างที่คุณวิบูลย์ว่า ผมขอย้ำว่า "เงินนะครับ ไม่ใช่ก้อนหิน" นึกอยากจะโยนก็โยนลงไป
เรียนรู้ไม่ยาก เท่าเอาชนะใจให้เรียนรู้ให้ได้ต่างหาก
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 19
พี่ประจวบครับ ผมจบวิทยากศาสตร์การแพทย์ครับ MBA ธรรมศาสตร์เรียนไป 1 ปี ก็เลยไม่จบครับ แต่ก็ได้ความรู้ Account 1 Account 2 ไว้อ่านงบการเงินบ้างครับ
แก้ข่าวเหมือนกัน
ผมเข้า MBA ธรรมศาสตร์ปี 2531 สงสัยเข้าเรียนเป็นรหัสรุ่นพี่ คุณฉัตรชัยแน่นอนเลย
ในเว็บนี้มี MBA เยอะดีครับ แต่ผมก็มั่นใจว่า ไม่ต้องใช้ MBA เท่าไรครับ เพราะการดู DCA ต้องดูเชิงคุณภาพถึง 70 เปอร์เซ็นต์ครับ
แก้ข่าวเหมือนกัน
ผมเข้า MBA ธรรมศาสตร์ปี 2531 สงสัยเข้าเรียนเป็นรหัสรุ่นพี่ คุณฉัตรชัยแน่นอนเลย
ในเว็บนี้มี MBA เยอะดีครับ แต่ผมก็มั่นใจว่า ไม่ต้องใช้ MBA เท่าไรครับ เพราะการดู DCA ต้องดูเชิงคุณภาพถึง 70 เปอร์เซ็นต์ครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 20
อ๋อ อีกเรื่องครับ สิ่งที่คุณฉัตรชัยเตือนไว้เป็นสิ่งที่ดีครับ คือว่าอย่าไปติดกับ ROE ROA มากจนเกินไป
ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยครับ เพราะในหนังสือ ก็บอกข้อยกเว้นไว้เหมือนกัน ว่ากิจการแบบนี้ดู ROE กิจการแบบนั้นดู ROA กิจการอีกแบบให้ดู book เป็นต้น
แต่หลักกว้างๆ ดู ROE ROA ผมก็ว่าดีแล้ว เพราะเข้าใจง่ายครับ
เรื่อง Free cash flow เป็นเรื่องที่ดีจริงสำหรับคนรู้จริง ส่วนคนที่เพิ่งศึกษาใหม่ๆ ก็ไปดู ROE ROA ก่อน พอรู้ลึกขึ้นก็ไปดู Free cash flow และ DCF
ไม่แน่นะครับ พอรู้มากไปอีกชั้นหนึ่งอาจจะกลับมาดู แต่ EPS Growth 10 ปีซ้อนก็ได้
เพราะเป็นผลงานที่ทำได้จริงในอดีต ถ้าธุรกิจไม่ดีจริง ผู้บริหารไม่เก่งจริง บริหารเงินสดได้ไม่ดีจริง หนี้ไม่น้อยจริง กำไรคงจะไม่โต 10 ปีซ้อน
ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยครับ เพราะในหนังสือ ก็บอกข้อยกเว้นไว้เหมือนกัน ว่ากิจการแบบนี้ดู ROE กิจการแบบนั้นดู ROA กิจการอีกแบบให้ดู book เป็นต้น
แต่หลักกว้างๆ ดู ROE ROA ผมก็ว่าดีแล้ว เพราะเข้าใจง่ายครับ
เรื่อง Free cash flow เป็นเรื่องที่ดีจริงสำหรับคนรู้จริง ส่วนคนที่เพิ่งศึกษาใหม่ๆ ก็ไปดู ROE ROA ก่อน พอรู้ลึกขึ้นก็ไปดู Free cash flow และ DCF
ไม่แน่นะครับ พอรู้มากไปอีกชั้นหนึ่งอาจจะกลับมาดู แต่ EPS Growth 10 ปีซ้อนก็ได้
เพราะเป็นผลงานที่ทำได้จริงในอดีต ถ้าธุรกิจไม่ดีจริง ผู้บริหารไม่เก่งจริง บริหารเงินสดได้ไม่ดีจริง หนี้ไม่น้อยจริง กำไรคงจะไม่โต 10 ปีซ้อน
-
- ผู้ติดตาม: 0
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 22
ขอแก้ข่าวครับ
ผมไม่เคยทำงานวิเคราะห์หลักทรัพย์มาก่อนเลยครับ ทุกอย่างที่ผมวิเคราะห์ พูด เขียนลงในกระทู้ มาจากการศึกษาหาความรู้และทดลองทำด้วยตัวเองทั้งนั้นครับ รวมทั้งอาจจะใช้วิชาที่ยังไม่ได้ฝังตุ่มอีกนิดหน่อย เช่น พีชคณิต บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง แต่ไม่เคยใช้ Differentiationหรือ Integration เลยครับ
ผมคิดว่าคนเราไม่เคยสายที่จะเริ่มต้นเรียนรู้ครับ อย่างที่ผมเคยบอกไว้ว่าเป็น VI ไม่ต้องเรียนสูง ขอแค่ขยันศึกษาหาความรู้ ไม่รู้ก็อ่านหรือถาม สักวันก็ประสบความสำเร็จได้ครับ ต้องอดทนด้วยครับเพราะ VI รวยช้าครับ
สำหรับมือใหม่ไม่อยากวิเคราะห์มาก ผมแนะนำวิธีของพี่CK ครับ คือ Dollar Cost Average ทำอย่างไร ไปอ่านที่กระทู้ผมได้
โชคดีทุกท่านครับ
-----------------------------------------
VIB007
ผมไม่เคยทำงานวิเคราะห์หลักทรัพย์มาก่อนเลยครับ ทุกอย่างที่ผมวิเคราะห์ พูด เขียนลงในกระทู้ มาจากการศึกษาหาความรู้และทดลองทำด้วยตัวเองทั้งนั้นครับ รวมทั้งอาจจะใช้วิชาที่ยังไม่ได้ฝังตุ่มอีกนิดหน่อย เช่น พีชคณิต บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง แต่ไม่เคยใช้ Differentiationหรือ Integration เลยครับ
ผมคิดว่าคนเราไม่เคยสายที่จะเริ่มต้นเรียนรู้ครับ อย่างที่ผมเคยบอกไว้ว่าเป็น VI ไม่ต้องเรียนสูง ขอแค่ขยันศึกษาหาความรู้ ไม่รู้ก็อ่านหรือถาม สักวันก็ประสบความสำเร็จได้ครับ ต้องอดทนด้วยครับเพราะ VI รวยช้าครับ
สำหรับมือใหม่ไม่อยากวิเคราะห์มาก ผมแนะนำวิธีของพี่CK ครับ คือ Dollar Cost Average ทำอย่างไร ไปอ่านที่กระทู้ผมได้
โชคดีทุกท่านครับ
-----------------------------------------
VIB007
-
- ผู้ติดตาม: 0
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 23
ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของเพื่อนๆที่ผมทราบคงจะคลาดเคลื่อน
ขออภัยไว้ด้วยครับ
แต่ที่ผมอยากเน้นให้พวกเราหากลยุทธที่ " ง่าย " ต่อการนำไปใช้สำหรับชาวบ้านๆ
ผมยกตัวอย่าง "ตีแตก "ของอจ.นิเวศน์และseriesต่อๆมาที่อจ.ออกมา
จะเห็นว่าอ่านง่าย จับต้องได้ นำไปใช้ในการลงทุนได้โดยได้ผลพอสมควร
ไม่ได้มีการคำนวณที่ซับซ้อนแต่อย่างใด
และใช้ตัววัดง่ายๆเช่น p/e p/b dv roe d/e และเงินสด
แต่ถ้าจะเอาแค่นี้ไปวิเคราะห์การปรับโครงสร้างหนี้ บริษัทturnaround การประเมินค่าwarrant....
ก็คงไม่เพียงพอ
ซึ่งแต่ละคนต้อง "ขีดวง " การลงทุนของตัวเองตามความรู้ที่มี
ขออภัยไว้ด้วยครับ
แต่ที่ผมอยากเน้นให้พวกเราหากลยุทธที่ " ง่าย " ต่อการนำไปใช้สำหรับชาวบ้านๆ
ผมยกตัวอย่าง "ตีแตก "ของอจ.นิเวศน์และseriesต่อๆมาที่อจ.ออกมา
จะเห็นว่าอ่านง่าย จับต้องได้ นำไปใช้ในการลงทุนได้โดยได้ผลพอสมควร
ไม่ได้มีการคำนวณที่ซับซ้อนแต่อย่างใด
และใช้ตัววัดง่ายๆเช่น p/e p/b dv roe d/e และเงินสด
แต่ถ้าจะเอาแค่นี้ไปวิเคราะห์การปรับโครงสร้างหนี้ บริษัทturnaround การประเมินค่าwarrant....
ก็คงไม่เพียงพอ
ซึ่งแต่ละคนต้อง "ขีดวง " การลงทุนของตัวเองตามความรู้ที่มี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 24
โค้ด: เลือกทั้งหมด
แต่ที่ผมอยากเน้นให้พวกเราหากลยุทธที่ " ง่าย " ต่อการนำไปใช้สำหรับชาวบ้านๆ
ผมยกตัวอย่าง "ตีแตก "ของอจ.นิเวศน์และseriesต่อๆมาที่อจ.ออกมา
จะเห็นว่าอ่านง่าย จับต้องได้ นำไปใช้ในการลงทุนได้โดยได้ผลพอสมควร
ไม่ได้มีการคำนวณที่ซับซ้อนแต่อย่างใด
และใช้ตัววัดง่ายๆเช่น p/e p/b dv roe d/e และเงินสด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 25
ถ้าเราจะลงทุนในบริษัทใดก็ตาม สิ่งที่ผมว่าสำคัญที่สุดคือผู้บริหารครับ ควรมีจริยธรรม และเห็นความสำคัญของผู้ถือหุ้นรายย่อย ผู้บริหารเก่งบางครั้งก็อันตรายครับ นำความเก่งมาใช้ผิดวิธีจนจับลำบากครับ บางครั้งบริษัทดีทุกอย่าง ผู้บริหารไม่ดี ผลประโยชน์ก็ไม่ถึงรายย่อยครับ
การวิเคราะห์อย่างง่ายหรือยาก ผมว่าไม่สำคัญเท่าผู้บริหารครับ ถ้าเค้าจะโกงก็จับลำบากครับ
การวิเคราะห์อย่างง่ายหรือยาก ผมว่าไม่สำคัญเท่าผู้บริหารครับ ถ้าเค้าจะโกงก็จับลำบากครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 26
เห็นด้วยครับ มงคลชีวิต ของพระพุทธเจ้า ก็บอกไว้ว่า
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ให้คบคนดีครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 28
ว๊า! วงผมก็เล็กนิดเดียวสิครับ อิ อิประจวบ เขียน:แต่ละคนต้อง "ขีดวง " การลงทุนของตัวเองตามความรู้ที่มี
แต่เห็นด้วยครับ ... รู้น้อยคงต้องลงทุนน้อย ค่อยๆสะสมประสพการณ์
อย่างพี่ประจวบว่า ทำๆตามเขาไปก่อนอีกยี่สิบปี
เมื่อเข้าใจเหตุผลค่อยทำการใหญ่
แต่เอ๋... ผมจะหมดไฟก่อนหรือเปล่าน่ะเนี่ย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ROE และ ROA
โพสต์ที่ 30
พี่ประจวบครับ
ผมมีความเห็นไม่ตรงกับพี่นะครับ ผมมีความเห็นว่าการลงทุนนั้นไม่มีกลยุทธที่ง่ายหรอกครับ อย่างเช่น แค่ดูที่ P/E P/B ROE ROA Yield หรืออะไรก็ตาม
ผมไม่อยากเห็นนักลงทุนหน้าใหม่ต้องการลงทุน เพราะมันเป็นแค่วิธีที่หาเงินได้อย่างง่ายๆ เร็วๆ ครับ
การลงทุนแบบ VI ต้องอดทน ศึกษาหาความรู้ครับ
การลงทุนแบบผิวเผินนั้น ถ้าเศรษฐกิจดี หุ้นขึ้น ทุกคนย่อมมีกำไร
แต่ถ้าเศรษฐกิจแย่ หุ้นตก คงจะมีแต่ผู้รู้จริงเท่านั้นที่รอดครับ
การลงทุนคงไม่ง่าย ไม่งั้น คงจะไม่มีคำกล่าวที่ว่า นักลงทุน 10 คน มีกำไรแค่คนเดียว เท่าทุนอีกหนึ่งคน ที่เหลือ 8 คนขาดทุนหมด
คงไม่มีใครบอกว่า ดร.นิเวศ Warren Buffett มีความรู้อย่างผิวเผินนะครับ
ผมมีความเห็นไม่ตรงกับพี่นะครับ ผมมีความเห็นว่าการลงทุนนั้นไม่มีกลยุทธที่ง่ายหรอกครับ อย่างเช่น แค่ดูที่ P/E P/B ROE ROA Yield หรืออะไรก็ตาม
ผมไม่อยากเห็นนักลงทุนหน้าใหม่ต้องการลงทุน เพราะมันเป็นแค่วิธีที่หาเงินได้อย่างง่ายๆ เร็วๆ ครับ
การลงทุนแบบ VI ต้องอดทน ศึกษาหาความรู้ครับ
การลงทุนแบบผิวเผินนั้น ถ้าเศรษฐกิจดี หุ้นขึ้น ทุกคนย่อมมีกำไร
แต่ถ้าเศรษฐกิจแย่ หุ้นตก คงจะมีแต่ผู้รู้จริงเท่านั้นที่รอดครับ
การลงทุนคงไม่ง่าย ไม่งั้น คงจะไม่มีคำกล่าวที่ว่า นักลงทุน 10 คน มีกำไรแค่คนเดียว เท่าทุนอีกหนึ่งคน ที่เหลือ 8 คนขาดทุนหมด
คงไม่มีใครบอกว่า ดร.นิเวศ Warren Buffett มีความรู้อย่างผิวเผินนะครับ