หน้า 1 จากทั้งหมด 1
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2003 1:13 pm
โดย veerawat
ผมอ่านเจอในบทความของ ดร.ปัญญา เปรมปรีดิ์ ไม่ทราบว่าความเห็นของ value investor เป็นยังไงกันบ้างครับ
ดร.นิเวศน์ พูดไว้ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเมื่อวันที่ 29 กค.46 ว่า "ความสุขแบบเพ้อฝัน และความโศกเศร้าเสียใจ ดูเหมือนว่าจะเป็นวัฎจักรที่ไม่จบสิ้นในตลาดหลักทรัพย์ ชีวิตของคนเล่นหุ้นจำนวนมากผูกพันอยู่กับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ นั่นก็คือ เมื่อดัชนีปรับตัวขึ้น ชีวิตเขา(นักเก็งกำไรระยะสั้น)ก็มีความสุข เมื่อดัชนีปรับตัวลง ชีวิตเขา(นักเก็งกำไรคนเดียวกัน)ก็เป็นทุกข์" แล้วท่านก็แนะนำว่าให้เปลี่ยนมาเล่นหุ้นแบบแวลิวอินเวสเตอร์เสีย แล้วชีวิตจะมีความสุข
ตรงนี้ผมไม่ค่อยจะแน่ใจนัก สมมุติว่าผมเชื่อท่าน แล้วไปเริ่มลงทุนเมื่อปี 2540 มาถึงตอนนี้ผมยังจะยิ้มออกหรือเปล่าไม่รู้ ทั้งนี้เพราะหุ้นตัวดีๆในปี 2540 นั้น ราคาในตอนนี้มันยังต่ำกว่าเดิมเกือบทุกตัว หรือจะเริ่มต้นลงทุนกันในวันนี้ ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะมีความสุขได้ตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะในอนาคตนั้นหุ้นมันต้องมีทั้งขึ้นและลง เมื่อใหร่ที่หุ้นในมือมันมีค่าต่ำกว่าทุน ถ้าไม่ใช่พระอิฐพระปูน มันก็เป็นสุขอยู่ไม่ได้
ครับ, การลงทุนในหุ้น ไม่ว่าจะเล่นแบบเก็งกำไรระยะสั้น หรือแบบแวลิวอินเวสเตอร์ มันจะต้องผ่านช่วงของการใหลลงใหญ่กันทั้งนั้น วิธีแก้ปัญหานี้มีอยู่ทางเดียว คือ ต้องเริ่มเล่นเมื่อหุ้นมันอยู่ที่จุดต่ำสุดของไซเกิลทางเศรษฐกิจ และเล่นในรอบแรกจะต้องมีกำไร แล้วเล่นในรอบต่อๆไปต้องไม่เสี่ยงเกินกำไรสะสมที่ทำไว้ และต้องไม่เล่นในช่วงขาลงของคลื่นเศรษฐกิจ
เงื่อนใขแบบนี้มีใครทำได้บ้าง?
ผมคิดว่าทุกคนคงส่ายหน้า มันเป็นเงื่อนใขที่ยากจริงๆ แต่ผมสามารถบอกได้ว่า มันเป็นไปได้ ผมได้ทำไปแล้ว แต่ก็ไม่ถึงขั้นสมบูรณ์แบบนัก
ครับ, ผมเริ่มจากการศึกษาเรื่องการขึ้นลงของหุ้น ผมรู้ว่าหุ้นนั้นขึ้นลงเป็นลูกคลื่นสามขนาด คือ คลื่นที่มีความยาวประมาณ 13ปี คลื่นที่มีความยาวประมาณ 12เดือน และคลื่นที่มีความยาวประมาณ 33วัน ถ้าเราจับลูกคลื่นทั้งสามชนิดนี้ได้ และเริ่มลงทุนในจังหวะที่มันเป็นจุดต่ำสุดของคลื่นสามชนิดนี้ได้ เราจะมีกำไรในรอบแรก เรื่องนี้ผมพบว่ามันน่าจะเกิดขึ้นในปี 2544 ผมจึงลงทุนไปประมาณ 300,000 บาท ผมซื้อหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ไป 6-7 ตัว แต่โชคไม่ดี ซื้อแล้วหุ้นกลับใหลลงต่อ แต่ผมรู้ว่ายังไงๆมันจะต้องกลับมาสูงกว่าจุดที่ผมซื้อไว้(เพราะคลื่นชนิดรอบละ 12เดือนนั้นมันเชื่อได้ว่ามีจริง) ผมจึงถือไว้ ผมใช้เวลารอคอยอยู่ 5 เดือน แล้วมันก็กลับขึ้นมาจริงๆ และผมต้องรอคอยอีกเกือบ 4 เดือนมันจึงใกล้ถึงจุดสูงสุดของคลื่นราย 12เดือน แล้วผมก็ขายออกไป ปีนั้นผมกำไรประมาณ 18 เปอร์เซนต์
หลังจากที่หุ้นผ่านจุดสูงสุดของปี 2544 ไปแล้วผมก็รอคอยจุดต่ำสุดของปี 2545 ซึ่งมันควรจะมาในเวลาประมาณ 5 เดือนจากจุดสูงสุดของปี 2544 ในปี 2545 นั้นผมก็ลงทุนประมาณ 300,000 บาทเช่นกัน ผลก็คล้ายๆปี 2544 คือมีกำไรประมาณ 20 เปอร์เซนต์
ครับ, สำหรับปี 2546 ผมลงทุนซื้อเมื่อประมาณปลายปี 2545 ผมลงไป 700,000 บาท แต่มาโดนเอาพิษของสงครามและโรคซาร์ส มันทำให้ได้กำไรแค่ประมาณ 13 เปอร์เซนต์(กำไรจากผลต่างราคาประมาณ 12.3 เปอร์เซนต์ แต่ปีนี้ได้เงินปันผลมาด้วย)
ครับ, การนับลูกคลื่นและวัดระยะเวลาต่างๆนั้นผมยังทำได้ไม่สมบูรณ์นัก มันมีผลทำให้เมื่อเริ่มซื้อหุ้นมันมีการ"ขาดทุนทางตัวเลข"ขึ้นมาได้ แต่เนื่องจากผมมีกำไรในปีแรกเอาไว้พอสมควร ผมจึงไม่รู้สึกเดือดร้อนใดๆในปีถัดมา และนับจากปีนี้เป็นต้นไป มันคงจะไม่มีคำว่า"ขาดทุนทางตัวเลข"อีกต่อไปแล้ว เพราะผมมีกำไรสะสมอยู่ประมาณ 60 เปอร์เซนต์เข้าไปแล้ว(ถ้าเล่นแค่ 300,000 บาท)
ครับ, เทคนิคของผมนั้นพอจะพูดย่อๆได้ดังนี้
1. ให้เริ่มเล่นหุ้นเมื่อมันอยู่ใกล้ๆจุดต่ำสุดของคลื่นประเภทความยาว 13ปี
2. ให้เล่นรอบตามคลื่นราย 12เดือน คือซื้อเมื่อมันถึงจุดต่ำสุดของคลื่นชนิดนี้ และขายเมื่อถึงจุดสูงสุดของคลื่นชนิดนี้
3. อย่าเล่นหุ้นในช่วงที่เป็นขาลงของคลื่นประเภทความยาว 13ปี
4. เริ่มจากทุนไม่มากนัก แล้วเพิ่มขึ้นเมื่อมีกำไรสะสมไว้เพียงพอ(แต่ละปีเราอาจซื้อผิดจังหวะ หรือมีเหตุการณ์ผิดปรกติ ซึ่งจะทำให้เกิดตัวเลขขาดทุนได้ถึง 30 เปอร์เซนต์ของเงินลงทุนในปีนั้น ดังนั้น กำไรสะสมต้องมากกว่า 30 เปอร์เซนต์ของเงินลงทุนในปีนั้น)
5. อย่าคัดลอส เพราะคลื่นราย 12 เดือนนั้นมีแน่ แต่อาจยืดเวลาออกไป
6. การนับลูกคลื่นเพื่อประมาณว่าเมื่อใหร่จะถึงจุดต่ำสุดและสูงสุดของคลื่นขนาดต่างๆนั้นให้ดูจากเว็บไซท์นี้(หรือจะให้ผมไปบรรยายให้ก็ได้โดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย, ประมาณ 5,000 บาทต่อ 1 ชั่วโมง)
ครับ, การเล่นหุ้นแบบของผมนี้ เป็นการเล่นแบบเก็งกำไรชนิดหนึ่ง มันเล่นรอบละประมาณ 1ปี การขึ้นลงของดัชนีไม่ค่อยมีความหมายมากนัก การคำนวณหาราคาที่แท้จริงของหุ้นที่จะลงทุนก็ไม่สำคัญนัก ขออย่างเดียว คืออย่าไปซื้อหุ้นที่จะเจ้งในปีสองปีข้างหน้า เล่นแล้วไม่มีความเครียด เล่นแล้วมีความสุข ผ่านสองสามปีแรกไปได้แล้วมีความสุขตลอดไป
(หมายเหตุ คำว่า"ขาดทุนทางตัวเลข"หมายถึงว่า เมื่อซื้อหุ้นเข้ามาแล้ว เราจะยังไม่สามารถ บอกได้ว่าเรากำไรหรือขาดทุนไปจริงๆเท่าใด เราจะขาดทุนหรือกำไรจริงๆก็เมื่อเราขายออกไปแล้ว แต่เพื่อให้เรารู้สถานะของการลงทุน ในขณะที่ถือหุ้นอยู่ เราก็ลองเอาราคาในปัจจุบันมาคูณจำนวนหุ้นที่มีอยู่ นี่คือค่าของหุ้นตามราคาในตลาด ถ้าค่านี้ต่ำกว่าทุน เราก็บอกว่า ขาดทุนไปเท่านั้น แต่นี่เป็นแค่ตัวเลข ผมจึงเรียกผลต่างอันนี้ว่า "ขาดทุนทางตัวเลข")
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2003 2:15 pm
โดย moo
ขอเข้ามาต้อนรับสมาชิกใหม่ครับ
ยินดีด้วยนะครับที่มีกำไร
เกี่ยวกับบทความของ ดร.ปัญญา ผมก็เคยศึกษาในตอนแรกๆที่เิริ่มคิด ลงทุน คำถามถาม VI ส่วนตัวแล้วยังไม่ใช่ VI เต็มตัว(ยังอยู่ระดับอนุบาล)
ไว้รอให้พี่ๆที่นี่ตอบก็แล้วกันนะครับ
ขอออกความเห็นว่า เกี่ยวกับกร๊าฟตามการวิเคราะห์ของ ดร.ปัญญา ดูเหมือนจะเป็นการ ดู หุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปใหญ่ๆเท่านั้น ตามตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้จะเป็นกลุ่มแบงค์ กลุ่มสื่อสาร กลุ่มไฟแนนซ์ เท่านั้น จึงไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้กับทุกๆกลุ่มหรือไม่
ส่วนตัวแล้วดูกร๊าฟไม่เป็นครับ จึงต้องใช้แนวทางวิเคราะห์บริษัท วิเคราะห์เศรษฐกิจ วิเคราะห์งบการเงินแทน ซึ่งกำลังทำความเข้าใจอยู่ครับ เรียนรู้ตรงนี้ยากมากเพราะไม่มีพื้นฐานเลย ก็เก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ หวังว่าสักวันคงเข้าใจเพิ่มขึ้น
พี่ๆที่นี่เก่งมากๆครับ ทั้งพี่ปรัชญา พี่มนตรี พี่จีนี่ พี่เจ๋ง พี่ฉัตรชัย พี่ธันวา พี่ประจวบ พี่CK พี่ YOYO พี่อนุสรณ์ พี่ PP และอีกหลายๆท่านที่ไม่ได้เอ่ยชื่อ โดยเฉพาะ พี่วิบูลย์ 007 ครับ ทุกท่านล้วนเป็นสุดยอดแนวทาง VI ทั้งสิ้น แต่ไม่ค่อยเห็นท่านพูดถึงกร๊าฟ์เลยครับ ไม่แน่ใจว่าจะตรงกับแนวทาง VI ของที่นี่หรือไม่ (น่าจะขัดกันนะครับ) เพราะเท่าที่อ่านเป็นการ เล่นเก็งกำไร เท่านั้น
อยากให้อ่านกระทู้รายชื่อตะแกรงร่อนหุ้นของพี่ธันวา ถึง พี่วิบูลย์ครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2003 2:17 pm
โดย Jeng
โดยส่วนตัวของผมแล้ว ไม่เคยมีความเชื่อ หรือมีหลักฐานที่ชัดเจน ว่าหลักการแบบที่กล่าวอ้างไว้จะใช้ได้จริง
แต่ก็ยินดีรับฟัง และพร้อมที่จะอ่านไปเรื่อยๆ
ตัวอย่างความสำเร็จที่บอกมานั้น น้อยมาก และกว้างมาก ไม่รู้ว่าซื้อหุ้นตัวไหน ในกลุ่มอุตสาหกรรมไหน หรือใช้หลักการแบบนั้นได้กับทุกกลุ่มหรือไม่
แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังไม่เห็นว่าใครใช้หลักการแบบดูกราฟ แล้วจะร่ำรวยถาวร
ที่ผมพอมองเห็นก็เป็นแบบ
1. นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า
2. นักเก็งกำไรจากข่าว หรือข้อมูลวงใน ( รู้จักเจ้าของบริษัท รู้ข้อมูลในอุตสาหกรรมนั้นๆเป็นอย่างดี )
ส่วนที่ร่ำรวย แต่ไม่ถาวรก็น่าจะเป็น เหล่าบรรดาขาใหญ่ทั้งหลาย ที่ปั่นหุ้น
สำหรับผมแล้วคนที่ดูกราฟ แล้วสร้างรูปแบบสารพัด เพื่อมาอธิบาย เหตุการณ์ต่างๆนั้น เป็นลักษณะของความไม่มั่นใจ จึงต้องสร้างหลักการบางอย่างขึ้นมา ถ้าผิดก็หลักการอาจจะมีอะไรผิด แต่ตัวเองยังเก่งอยู่ แต่หลักการผิด ก็ไปสร้างหลักการใหม่
และแล้วก็จะมีหลักการใหม่ๆเรื่อยๆ
ซึ่งเป็นหลักการที่ไม่ผ่านกาลเวลา เปลี่ยนไปเรื่อยๆ มีวิธีใหม่เรื่อยๆ มีชื่อแปลกๆใหม่ๆให้เรียนรู้อยู่เรื่อยๆ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมคิดแบบนั้นจริงๆ
มีอาจารย์คนไหนบ้าง ที่สอนเกี่ยวกับหลักการเหล่านี้แล้ว ร่ำรวย ถาวร อย่างยาวนาน
ช่วยยกตัวอย่างให้ผมฟังหน่อย หูตาผมจะได้สว่างขึ้น
ขอบคุณมากครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2003 5:36 pm
โดย thanwa
ตรงนี้ผมไม่ค่อยจะแน่ใจนัก สมมุติว่าผมเชื่อท่าน แล้วไปเริ่มลงทุนเมื่อปี 2540 มาถึงตอนนี้ผมยังจะยิ้มออกหรือเปล่าไม่รู้ ทั้งนี้เพราะหุ้นตัวดีๆในปี 2540 นั้น ราคาในตอนนี้มันยังต่ำกว่าเดิมเกือบทุกตัว หรือจะเริ่มต้นลงทุนกันในวันนี้ ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะมีความสุขได้ตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะในอนาคตนั้นหุ้นมันต้องมีทั้งขึ้นและลง เมื่อใหร่ที่หุ้นในมือมันมีค่าต่ำกว่าทุน ถ้าไม่ใช่พระอิฐพระปูน มันก็เป็นสุขอยู่ไม่ได้
ผมจำได้ว่าเคยมีกระทู้หนึ่งที่ (เข้าใจว่า เป็นพี่ครรชิต) พูดถึง แกะรอยการลงทุนของ ดร.นิเวศน์ ถ้าผมจำได้พอร์ตการลงทุนของท่านไม่ได้ ไม่ได้เป็นในทิศทางที่คุณ veerawat กล่าวอ้าง ในทางตรงข้ามผมเข้าใจว่า ท่านเริ่มกลุ้มใจว่า ท่านจะไม่สามารถรักษาระดับผมตอบแทนที่เคยทำได้มาในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ท่านว่าไว้ในหนังสือเล่มล่าสุดนะครับ
การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้น ทุกคนมีสิทธิ์ในลักษณะที่แตกต่างกัน ลักษณะที่คุณ veerawat แนะนำมานั้นอาจจะเหมาะสมกับหลายๆ คน แต่ขอยืนยันว่า ไม่เหมาะกับผมแน่ๆ เคยพยายามคิดจะเรียนรู้มาหลายครั้ง แต่ก็ไม่ค่อยเข้าใจ ทั้งในศัพท์ที่ใช้ และก็เส้นต่างๆ ที่ลากไปลากมา
ขอตามอ่าน เรียนรู้ จากประการณ์จากเพื่อนๆ พี่ๆ ในห้องนี้ แล้วเก็บเงินไว้ลงทุนต่อดีกว่า
พูดถึงค่าตัว นี่ถ้าคุณมน คุณ VIBOON คุณเจ๋ง คิดค่าตัวในงาน TVI Meeting #2 ผมว่าคุณยีนคงติดหนี้หัวโตแน่ ต้องขอขอบคุณวิทยากรทั้งสามที่มาด้วยตัวกะหัวใจ ไว้นะที่นี้อีกครั้งด้วยครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2003 6:29 pm
โดย นักดูดาว
ดร.ปัญญา อยู่กับตลาดหุ้นมานาน ถึงไม่เชื่อ ก็มิอาจลบหลู่ครับ
ผมเสียดายที่ท่านไม่ได้จัดพอร์ตและทำดัชนีในหุ้น value ดูบ้าง มิฉนั้นผลการศึกษาด้วยวิธีกราฟอาจจะแตกต่างไปจากที่ท่านสรุปก็ได้ แล้วอีก 13 ปีลองกลับมาดูบทความนี้ใหม่ คงได้ข้อสรุปครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2003 8:35 pm
โดย chatchai
ผมอยากจะบอกถึงแนวการลงทุนแนว VI ก่อนนะครับ
การลงทุนแนว VI นั้นส่วนใหญ่จะมีการศึกษาและคำนวณราคาหุ้นตามพื้นฐาน ถ้าราคาสูงเกินกว่าราคาตามพื้นฐานก็จะขาย และถ้าราคาต่ำกว่าราคาพื้นฐานมากๆก็จะซื้อ ไม่ใช่ว่าซื้อทุกราคาและถือไว้ตลอดไปนะครับ
ดังนั้นในกรณีที่ปี 2540 ผมก็คงบอกไม่ได้ว่าจะขาดทุนหรือไม่เพราะไม่ทราบว่าลงทุนในบริษัทไหน แต่ภาพรวมผมว่านักลงทุนแนว VI ก็คงจะขายหุ้นมากกว่าที่จะซื้อหรือถือไว้ครับ ดังนั้นถ้าคุณเป็น VI ก็น่าจะยิ้มออกนะครับ
ส่วนการลงทุนโดยอาศัยกราฟนั้น ที่บอกว่าลงทุนตั้งแต่ปี 2544 แล้วได้กำไรปีละประมาณ 20% นั้น เป็นการลงทุนในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นครับ และเป็นช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว คงบอกอะไรยังไม่ได้ แต่ถ้าในช่วงระยะเวลา 3 ปีนี้ ถ้าคุณลงทุนแนว VI ผมว่าคุณจะได้รับผลตอบแทนมากกว่า 100% แน่นอนครับ ดูจากอัตราผลตอบแทนของเพื่อนๆในเวบนี้ก็ได้ครับ
ผมลงทุนใน WG ตั้งแต่ประมาณ ก.พ. ปีที่แล้วโดยไม่มีการขายออกเลย ไม่ว่าจะช่วงสงครามหรือโรคซาร์ส ถึงตอนนี้ผมก็ได้กำไรกว่า 100% แล้วครับ
การลงทุนโดยอาศัยกราฟราคานั้น ผมเคยใช้ในอดีตซึ่งผมก็ได้กำไรมากเหมือนกัน แต่ผมรู้สึกว่าชีวิตอยู่บนความเสี่ยงครับ เพราะเรารู้ว่าเราลงทุนในกระดาษไม่ใช่พื้นฐานของบริษัท ดังนั้นถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมา (ที่กราฟไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น สงคราม ปฏิวัติ โรคระบาด) ราคาหุ้นที่เราซื้อก็จะร่วงเป็นกระดาษ โดยที่เราไม่ได้รับผลตอบแทนอะไรเลย
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2003 10:12 pm
โดย veerawat
ขอบคุณสำหรับข้อคิดนะครับ ผมกำลังอ่านหนังสือของ ดร. นิเวศน์อยู่ ยังไม่ได้ลองลงทุนด้วยตัวเอง แต่ชอบแนวทางของ VI เพราะน่าจะเหมาะกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงนะครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2003 10:36 pm
โดย Jeng
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ดร.ปัญญา อยู่กับตลาดหุ้นมานาน ถึงไม่เชื่อ ก็มิอาจลบหลู่ครับ
ผมเสียดายที่ท่านไม่ได้จัดพอร์ตและทำดัชนีในหุ้น value ดูบ้าง มิฉนั้นผลการศึกษาด้วยวิธีกราฟอาจจะแตกต่างไปจากที่ท่านสรุปก็ได้ แล้วอีก 13 ปีลองกลับมาดูบทความนี้ใหม่ คงได้ข้อสรุปครับ
คุณนักดูดาว ผมไม่ได้ลบหลู่ ดร.ปัญญา นะครับ ผมไม่รู้จักท่านมาก่อน
แต่ผมไม่เชื่อ วิธีการดูด้วยกราฟครับ
ถ้าแน่จริง ใครก็ได้
ขอให้มาโพสเรื่องการวิเคราะห์เรื่องกราฟในโครงการร้อยคนร้อยหุ้นกันไปเลย เมื่อเวลาผ่านไป จะได้รู้กันซักที ว่าการดูจากกราฟนี่ ถูกผิดแค่ไหน
เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ไม่ได้ ครับ เพราะใครพูดอะไรไว้จำไม่ได้เลย แต่โครงการร้อยคนร้อยหุ้น พิสูจน์ได้ครับ
เปรียบเสมือนเครื่องบันทึกเวลา และเหตุการณ์ในยุคนั้นๆ ทีเดียว
ใครว่ากราฟใครเจ๋ง หรือวิธีของใครแจ๋ว ก็ลองโพสบอกไว้ซิครับ เราจะได้รู้กันไปเลยว่า เจ๋งจริงๆ แค่ไหน เมื่อเวลาผ่านไป
ผมเองก็อยากจะอ่านทุกเรื่องที่ผมโพสไว้ เมื่อเวลาผ่านไปอีกซัก 10 ปี
กลับมาอ่านคงขำกลิ้งไปเลย ว่าสมัยนั้นคิดอย่างนั้น เขียนอย่างนั้นเข้าไปได้อย่างไร
อิอิ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2003 11:22 pm
โดย นักดูดาว
ผมหมายถึงผมเองมิกล้าลบหลู่นะครับ เพราะนับถือ ดร.ปัญญามาในด้านคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์อยู่มาก ตั้งแต่สมัยท่านยังทำงานแบงค์ชาติ ผมอ่านบทความของท่านเรื่อง IT เป็นประจำครับ
เรื่องกราฟ ผมคิดว่าดร.ปัญญามอง SET และหุ้นบางจำพวกที่พอจะนับเป็น commodity ได้เท่านั้น ก็เลยได้ข้อสรุปมาแบบนี้ครับ หากเอามาประยุกต์ใช้กับหุ้นในโครงการร้อยคนร้อยหุ้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นหุ้น value และซื้อขายกันน้อย ก็คงจะไม่ตรงนักครับ
ผมเชื่อราคาหุ้นในระยะสั้นนั้นกระเพื่อมขึ้นลงตามอุปสงค์-อุปทานจริง แต่ในระยะยาวราคาหุ้นจะปรับไปตามมูลค่าของบริษัท ..ไม่แปลกใจเลยนะครับที่ดร.ปัญญาจะหาสูตรมาเล่นหุ้นสั้นๆ (ไม่เกินปี) ตามอุปสงค์ อุปทาน แต่ที่ผมแปลกใจก็คือการทำนายคาบเวลาที่หุ้นจะขึ้นหรือลงล่วงหน้าในระยะยาวนับสิบปี ต้องลองดูครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 28, 2003 11:37 pm
โดย Mon money
อาจจะเป็นตัวแบบทางคณิตศาสตร์มังครับ มีหลายตัวแบบที่ใช้พยากรณ์หาค่าต่างๆ เช่นพยากรณ์ค่าdemand - Supply ค่ารายได้ในอนาคต แต่ส่วนมากใช้พยากรณ์ไม่เกินสองปีครับ มากกว่านั้น จะมีความเบี่ยงเบนมากทีเดียว(ผมเคยบรรยายเรื่องนี้ให้นศ.ป.โทฟังครับเลยรู้บ้าง)
ผมเองจะคล้ายกับVIทั่วไปครับ คือยึดมั่นในการวิเคราะห์พื้นฐานกิจการ ไม่ค่อยใส่ใจในรอบการขึ้นลง นอกจากรู้จริงกับธุรกิจนั้นๆ อย่างปิโตรเคมีผมเคยคลุกคลีอยู่ก็พอมองออก
อย่างที่คุณวีรวัฒน์กล่าวไว้นะครับ ถ้าคุณเข้าผิดรอบคุณอาจเจ็งได้ แต่ถ้าคุณเข้าถูกบริษัท(วิเคราะห์มาอย่างดีแล้ว)คุณรวยนะครับ หุ้นบางบริษัทคุณจะซื้อได้ถูกในช่วงเวลานั้น มันอาจจะลงไปแต่ถ้าคุณถือจนทุกวันนี้คุณรวยแน่ครับ นี่คือเหตุผลว่าทำไมผมไม่สนใจเรื่องรอบการขึ้นลงที่ผูกด้วยสูตรคณิตศาสตร์ยากๆ ยากกว่าที่ผมกับคุณวิบูลย์คุยกันราวฟ้ากับดินเลยละครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 29, 2003 8:00 am
โดย บุคคลทั่วไป
Veerawat เขียน: >>> 6. การนับลูกคลื่นเพื่อประมาณว่าเมื่อใหร่จะถึงจุดต่ำสุดและสูงสุดของคลื่นขนาดต่างๆนั้นให้ดูจากเว็บไซท์นี้(หรือจะให้ผมไปบรรยายให้ก็ได้โดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย, ประมาณ 5,000 บาทต่อ 1 ชั่วโมง) <<<
หากคุณ veerawat มั่นใจวิธีนี้ดีจริง เดี๋ยวผมจะแนะนำเพื่อนผม เห็นเขาบอกว่าหากมีใครที่สามารถบอกวิธีเล่นแล้วทำกำไรได้จริง เขายินดีจะให้เงินลงทุนแล้วแบ่งกำไรกันครึ่งต่อครึ่ง แต่หากขาดทุนคุณ veerawat ต้องใช้คืนเงินทุนให้เขา อย่างนี้จะเอาไหมครับ ถ้าดีจริงผมว่าชั่วโมงละ 5000 บาทนั้นน่าจะน้อยไปนะครับเมื่อเทียบกับรายได้ที่จะได้จากำไรซื้อขาบหุ้นแบบดูลูกคลื่นที่ว่านั่นนะครับ
PP
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 29, 2003 9:26 am
โดย VIB007
ขอใช้สิทธิพาดพิงครับ
ผมขอยกตัวอย่างจริงแล้วกัน ผมซื้อหุ้นตัวหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว P/E สูงจนน่าตกใจรับประกันว่า VI แท้ๆดูแค่ตัวเลข P/E, P/B, D/Y ไม่กี่ตัวไม่กล้าซื้อแน่ มันทะลุเกินตำราว่าด้วยความถูกแพงของหุ้น
พอซื้อปั๊บ ราคาตกทุกวัน ทุกวันจริงๆ ลดลงไปเกือบ 50 % จนผมแทบถอดใจ แต่ด้วยใจตั้งมั่น ท่องคาถาว่า "ในระยะยาว ราคาหุ้นจะสะท้อนผลประกอบการของบริษัท" วันละสามจบ เช้า กลางวัน เย็น
ผมต้องอดทนมากครับ ขอบอก มันทรมาณอย่าบอกใคร
จนวันนี้ ผมได้กำไรแล้วเกือบ 100% ยังไม่ได้ขายออก
แต่ทุกวันนี้ ผมต้องท่องคาถาครับว่า "อย่าโลภ อย่าทำตัวเป็นหนูเล็มมิ่ง" เพราะหุ้นมันขึ้นเอาๆจนคนแห่กันเข้ามาเหมือนงานเทกระจาด ผมเป็นโรคกลัวของฟรีครับ กลัวมีของแถมเป็นตั๋วเครืองบินวันเวย์ไปดอยสุเทพ
ขอให้ศึกษาอย่างจริงจังครับ เลือกแนวทางที่เหมาะกับท่านแล้วตั้งมั่นทำให้ได้ก็พอแล้วครับ ไม่จำเป็นต้องป็น VI ก็ได้
ขอให้โชคดีครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 29, 2003 9:52 am
โดย veerawat
บทความนี้ผมเอามาจากเวปของ ดร.ปัญญา ครับ ผมไม่ได้เขียนเองครับ ผมยังไม่เคยลงทุนด้วยตัวเอง ผมคงไม่สามารถมั่นใจในวิธีนี้ได้ ผมแค่อยากจะศึกษาแนวคิดในการลงทุนเอาไว้ครับ ขอบคุณที่ให้ความเห็นครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 29, 2003 11:58 am
โดย WEB
Value investors do not buy an index or a particular sector. They buy a company. I have heard some people talk about Dr. Niwes this way. They miss the point. Dr. Punya only looks at big-cap stocks and 3 to 5 sectors. VI especially who does not have a lot of money to invest can look at every company.
Why should we only invest in banking, finance, communication, and property sector. Let's look at this example. If in 2540 you buy TUF, TC, DELTA, CHOTI, METCO
in 2541 you buy CPN, CNS, SE-ED,
in 2542 you buy TVO, CMBT, SPSU, SPL, TR, TIP
in 2543 you buy FMT, TPCORP, EGCOMP
in 2544 you buy SSC, APRINT,SINGER,METCO, MODERN, CENTEL, LRH, S&P
in 2545 you buy VNG, DCC, LH, STANLY,IRC,BAT-3K
in 2546 you buy PL, PSL, STANLY, IRC, KTC. You will make a lot of money.
These stock are just examples. There are many other stocks that can give you a very high return. More importantly, these stocks can be analyzed from a business perspective. SET is not a stock market. It is a market of stocks which provides you with many candidates to choose from.
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 29, 2003 12:27 pm
โดย Mon money
คุณวีรวัฒน์มาถูกทางแล้วครับ การศึกษาเรื่องที่ยังไม่แน่ใจให้ชัดเจนก่อนการลงมือปฎิบัติเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่สุด ข้อคิดในเรื่องนี้ผมมีตัวอย่างครับ
ผมเคยเป็นวิศวกรออกแบบเครื่องทำความเย็น การออกแบบใหม่นี้ค่อนข้างซับซ้อนและมีโอกาสผิดพลาดสูงมาก เจ้านายของผมจึงมักจะเสนอให้ทดลองทำลงในแบบกระดาษ คำนวณย้อนไปย้อนมาให้แน่ใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างผิดพลาดน้อยที่สุด เมื่อทำต้นแบบมาแล้วทดลองผิดพลาดก็จะหาจุดผิดเจอครับ แน่นอนมันใช้เวลามากพอสมควร แต่ความผิดพลาดที่เกิดสามารถบรรเทาได้ และจากต้นแบบมีการปรับปรุงแล้วสามารถใช้ได้จริงและยังผลิตออกมาขายพร้อมทั้งพัฒนามาดีขึ้นจนทุกวันนี้
การลงทุนก็เช่นกันครับ มันไม่มีสูตรสำเร็จครับ มีหลายต่อหลายคนที่พยายามหาสูตรสำเร็จมาใช้สำหรับการลงทุน แต่ก็ยังไม่มีใครทำได้สมบูณแบบสักคน ยิ่งทำก็ยิ่งยากซับซ้อนต้องตีลังกาเรียนกัน ผมเองสมัยเรียนก็เอาเท้าก่ายหน้าผากตอนเรียนครับมันยากเหลือเกินนี่เป็นเหตุว่าทำไมเวลาบริหารกองทุนจึงต้องใช้ผู้จัดการกองทุนที่ผ่านการรับรองได้ CFA กัน แต่พวกเราชาวVI กลับใช้อะไรที่ง่ายๆ อยู่ในชีวิตประจำวันมาพิจารณาการลงทุน ศึกษาบัญชีเบื้องต้น แนวคิดการบริหาร ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งการลงทุนและการทำงานไปพร้อมๆกัน หลายเรื่องที่เราเอามาคุยกันอาจมองว่าอยากแต่มันเป็นสิ่งที่เราได้เรียนรู้วิธีคิดของผู้อื่นที่เขาใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แล้วมองหาข้อบกพล่องพร้อมกับปรับมาใช้ให้เหมาะกับเราและสถานการณ์ เรียนรู้ต่อไปเถิดครับแล้วเราจะเก่งขึ้นเองตามปริมาณที่เราได้เรียนรู้
Re: ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 29, 2003 7:41 pm
โดย ปรัชญา1
1. ให้เริ่มเล่นหุ้นเมื่อมันอยู่ใกล้ๆจุดต่ำสุดของคลื่นประเภทความยาว 13ปี
2. ให้เล่นรอบตามคลื่นราย 12เดือน คือซื้อเมื่อมันถึงจุดต่ำสุดของคลื่นชนิดนี้ และขายเมื่อถึงจุดสูงสุดของคลื่นชนิดนี้
3. อย่าเล่นหุ้นในช่วงที่เป็นขาลงของคลื่นประเภทความยาว 13ปี
4. เริ่มจากทุนไม่มากนัก แล้วเพิ่มขึ้นเมื่อมีกำไรสะสมไว้เพียงพอ(แต่ละปีเราอาจซื้อผิดจังหวะ หรือมีเหตุการณ์ผิดปรกติ ซึ่งจะทำให้เกิดตัวเลขขาดทุนได้ถึง 30 เปอร์เซนต์ของเงินลงทุนในปีนั้น ดังนั้น กำไรสะสมต้องมากกว่า 30 เปอร์เซนต์ของเงินลงทุนในปีนั้น)
5. อย่าคัดลอส เพราะคลื่นราย 12 เดือนนั้นมีแน่ แต่อาจยืดเวลาออกไป
6. การนับลูกคลื่นเพื่อประมาณว่าเมื่อใหร่จะถึงจุดต่ำสุดและสูงสุดของคลื่นขนาดต่างๆนั้นให้ดูจากเว็บไซท์นี้(หรือจะให้ผมไปบรรยายให้ก็ได้โดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย, ประมาณ 5,000 บาทต่อ 1 ชั่วโมง)
ครับ, การเล่นหุ้นแบบของผมนี้ เป็นการเล่นแบบเก็งกำไรชนิดหนึ่ง มันเล่นรอบละประมาณ 1ปี การขึ้นลงของดัชนีไม่ค่อยมีความหมายมากนัก การคำนวณหาราคาที่แท้จริงของหุ้นที่จะลงทุนก็ไม่สำคัญนัก ขออย่างเดียว คืออย่าไปซื้อหุ้นที่จะเจ้งในปีสองปีข้างหน้า เล่นแล้วไม่มีความเครียด เล่นแล้วมีความสุข ผ่านสองสามปีแรกไปได้แล้วมีความสุขตลอดไป
(หมายเหตุ คำว่า"ขาดทุนทางตัวเลข"หมายถึงว่า เมื่อซื้อหุ้นเข้ามาแล้ว เราจะยังไม่สามารถ บอกได้ว่าเรากำไรหรือขาดทุนไปจริงๆเท่าใด เราจะขาดทุนหรือกำไรจริงๆก็เมื่อเราขายออกไปแล้ว แต่เพื่อให้เรารู้สถานะของการลงทุน ในขณะที่ถือหุ้นอยู่ เราก็ลองเอาราคาในปัจจุบันมาคูณจำนวนหุ้นที่มีอยู่ นี่คือค่าของหุ้นตามราคาในตลาด ถ้าค่านี้ต่ำกว่าทุน เราก็บอกว่า ขาดทุนไปเท่านั้น แต่นี่เป็นแค่ตัวเลข ผมจึงเรียกผลต่างอันนี้ว่า "ขาดทุนทางตัวเลข")[/quote]
---------------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
[b]เข้ามาวันแรกก็วางแผน หาเงิน5000บาทเลยหรือครับ[/b]
ที่นี่ คุณอาจอง ก็ไม่ได้คิดค่าบริการเข้าเวปเลย
คุณมนตรี
ไปบรรยายถึงตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่เคยเรียกร้องเงินจากใครแม้แต่บาทเดียว
คุณวิบูลย์
ระดับความรู้ดีกว่าเจ้าของกระทู้เยอะแยะ ก็ไม่เคยคิดล้วงกระเป๋าเอาเงินใคร
คุณเจ๋ง ผู้คุมกฏ
เสียสละเวลาเฝ้าเวป ก็ไม่เคยขอเงินเดือน
ทุกคนที่เข้ามาในนี้ มาเพื่อส่วนรวมเพื่อสังคม มาเป็นผู้ให้ครับ
ไม่ใช่จะคิดเข้ามากอบโกย
กรุณาเปลี่ยนความคิดเถอะครับ
ผมอยากมีเพื่อนไม่หวังกินเพื่อน
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 29, 2003 8:01 pm
โดย ปรัชญา1
พี่ๆที่นี่เก่งมากๆครับ ทั้งพี่ปรัชญา พี่มนตรี พี่จีนี่ พี่เจ๋ง พี่ฉัตรชัย พี่ธันวา พี่ประจวบ พี่CK พี่ YOYO พี่อนุสรณ์ พี่ PP และอีกหลายๆท่านที่ไม่ได้เอ่ยชื่อ โดยเฉพาะ พี่วิบูลย์ 007 ครับ ทุกท่านล้วนเป็นสุดยอดแนวทาง VI ทั้งสิ้น แต่ไม่ค่อยเห็นท่านพูดถึงกร๊าฟ์เลยครับ ไม่แน่ใจว่าจะตรงกับแนวทาง VI ของที่นี่หรือไม่ (น่าจะขัดกันนะครับ) เพราะเท่าที่อ่านเป็นการ เล่นเก็งกำไร เท่านั้น
อยากให้อ่านกระทู้รายชื่อตะแกรงร่อนหุ้นของพี่ธันวา ถึง พี่วิบูลย์ครับ[/quote]
เรื่องกราฟ ผมเคยเสียเงินเรียนมาครับ แต่ผมใช้ไม่ได้ผลครับ
แต่มีเรื่องเล่า ที่ห้องค้าหุ้นแห่งหนึ่งในเมืองขอนแก่น เขาเรียกท่านผู้นี้ว่าหมอวัน....(ขอสงวนนามสกุล)เป็นเรื่องจริง
วันๆท่านก็จะตระเวนไปตามห้องค้า ที่มีอยู่เพียง4-5แห่ง
เทคนิคของท่าน ก็จะมองหาคนหน้าตาเด๋อๆด๋า กดคอมดูไม่ค่อยเป้น
ท่านก็จะมาตีสนิทแจกนามบัตร และสอนเทคนิค คิดค่าวิชา5000บาท
ก็มีคนหลงไปเรียนกันทุกเดือน ด้วยลีลาและท่าทางที่น่านับถือ
ตั้งแต่ตลาดหุ้น700จุดขึ้นไป1,700จุด จนลงมา245จุด และขึ้นมาจนถึงวันนี้ ตัวคนสอนน่ะหมดครับ ไม่ได้ดูถูก...ลับหลัง รู้กันอยู่แก่ใจ
พวกที่ไปเรียนมา ตอนหุ้นไหลลงจาก1,700จุด คนดูกราฟถึงแนวรับ
ก็จะเข้าไปรับหุ้นกับเขา พอหลุดแนวรับ ขาดทุน5-10%ขาย หุ้นขาลง
แนวรับรับไม่อยุ่ คัตล๊อตจนเลิกเล่นหุ้นไปเลย
พวกที่ไปเรียน มา ตอนหุ้นขึ้นจาก245จุด ซื้อหุ้นแล้วก็ไปตั้งขายตรงแนวต้าน แนวต้านก็หมด หุ้นก็วิ่งเลยขึ้นไป และก็ได้ตามไปซื้อหุ้นตัวเดิมและเติมเงินเข้าไปอีก
นี่เป้นการเล่าแบบคร่าวๆ ไม่ใช่ว่ากราฟไม่ดี แต่ผมใช้ไม่ได้ผลครับ
แต่ทุกวันนี้ก็ ว่างๆก็กดกราฟดู เอากระดาษมาทาบหน้าจอคอมฯวัด
จะถึงแนวรับที่เท่าไหร่ จะถึงแนวต้านตรงไหน ดูเส้นMACD
แต่ผมก็สรุปให้ตัวเองว่า จะพยายามไม่อ้างกราฟมาเป้นเครื่องตัดสินใจในการซื้อขายหุ้น
เพราะเวลานั่งดูนักวิเคราะห์ ชอบเอากราฟดาวโจนมาเปรียบกับกราฟดัชนีของไทย
ใจผม..
มันรับไม่ได้มันคนละเรื่องกัน
หาเรื่องมาอ้าง แบบมีหลักการ
บริษัทจดทะเบียนถ้ามีกำไรกันเยอะๆ
หุ้นมันก็ต้องขึ้นกันไปตามพื้นฐานและผลประกอบการ
แต่ถ้าเอากราฟดาวโจนมาคุยแล้วว่าดัชนีของไทยจะขึ้น
เหมือนตาบอดคลำช้าง
ดัชนีหุ้น บริษัทของเราจะขึ้นหรือครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2003 7:38 pm
โดย moo
สุดยอดเลยครับพี่ปรัชญา มองเห็นภาพเลยครับ
ขอความเห็นของ Value Investor จากบทความนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 30, 2003 7:40 pm
โดย moo
สุดยอดเลยครับพี่ปรัชญา มองเห็นภาพเลยครับ