ข่าวดี ... จากญี่ปุ่น ....
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 15, 2006 4:23 pm
หุ้นตัวไหนจะรับอานิสงมั่งครับ
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000050025
คาดอานิสงค์เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นหนุนการค้าไทยขยายตัว
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 เมษายน 2549 15:30 น.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2549 จะพ้นภาวะเงินฝืดและเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ทำให้แนวโน้มการบริโภคและการลงทุนเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นแรงหนุนการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่าในปี 2549 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะก้าวข้ามภาวะเงินฝืดและเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ทำให้แนวโน้มการบริโภคและการลงทุนเติบโตอย่างต่อเนื่อง และภาคการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นแรงหนุนการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย หลังจากเมื่อปี 2548 ญี่ปุ่นประสบปัญหาท้าทายจากวิกฤติน้ำมัน ภัยธรรมชาติ การยุบสภาและปัญหาเงินฝืดที่กินเวลานานหลายปี แต่เศรษฐกิจก็สามารถเติบโตร้อยละ 2.7 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนถึงร้อยละ 7.8 ทำให้ภาคธุรกิจญี่ปุ่นมีกำไรอย่างต่อเนื่องหลังการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันสถาบันการเงินของญี่ปุ่นได้ผ่านการปรับตัวขนานใหญ่จนสามารถปล่อยสินเชื่อจำนวนมากได้
ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นอันส่งผลทางจิตวิทยาให้ชาวญี่ปุ่นหันมาบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จนทำให้การบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 นอกจากนี้ การส่งออกยังขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.9 จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูงของสหรัฐ และจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 และ 2 ของญี่ปุ่น ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ทำให้ญี่ปุ่นอยู่ในฐานะเจ้าหนี้สหรัฐ โดยเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น ตราสารหนี้และตลาดพันธบัตรสหรัฐ เป็นจำนวนถึง 62.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในปี 2549 ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในอัตราร้อยละ 2.3 ใกล้เคียงกับการเติบโตในช่วงปี 2547-48 เนื่องจากการขยายตัวของการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องจากภาวะการจ้างงานและอัตราค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น โดยการว่างงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ลดลงเหลือร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี และคาดว่าอุปสงค์ที่อยู่อาศัยจะขยายตัวต่อเนื่องอีกหลายปี เนื่องจากชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นรุ่นลูกกำลังอยู่ในวัยเริ่มซื้อบ้านหลังแรก ทำให้ราคาที่ดินในญี่ปุ่นเริ่มขยับตัวสูงขึ้น นอกจากเศรษฐกิจในประเทศแล้ว การส่งออกสินค้าและบริการยังมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูงเนื่องจากคาดว่าการเติบโตของจีน สหรัฐ และประเทศ Emerging Economies ในปี 2549 จะมีอัตราใกล้เคียงกับปี 2548 จึงเป็นปัจจัยบวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะมีแนวโน้มสดใส แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ หนี้สาธารณะ การลงทุนภาครัฐ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในของญี่ปุ่น ปัญหาราคาน้ำมัน และความไม่สมดุลของเศรษฐกิจสหรัฐ สำหรับปัญหาหนี้สาธารณะซึ่งคิดเป็นร้อยละ 160 ของ GDP เป็นอัตราที่สูงมากสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัญหาดังกล่าวเกิดจากรายได้จากภาษีที่ลดลงหลังภาวะฟองสบู่แตก ทำให้ทางการญี่ปุ่นต้องออกพันธบัตรจำนวนมากเพื่อชดเชยรายได้ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีจุนอิชิโร โคอิซุมิ ได้ปฏิรูปนโยบายการคลังโดยลดรายจ่ายภาครัฐและการลงทุนสาธารณะทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นลดลง นอกจากนี้ ยังปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมเพื่อมิให้เป็นภาระอันหนักหน่วงในระยะยาว
ทั้งนี้ การค้าไทย-ญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าและนักลงทุนอันดับ 1 ของไทย ดังนั้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จะส่งผลดีต่อการค้ากับไทยในด้านการส่งออก สินค้าส่งออกของไทยไปญี่ปุ่น 20 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 55.65 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2548 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่ขยายตัวได้ดีในญี่ปุ่นในปี 2548-49 ประกอบด้วยแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ยางพารา รถยนต์และส่วนประกอบ เลนซ์กล้องถ่ายรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม เครื่องปรับอากาศ และเครื่องโทรศัพท์/โทรสาร ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่ขยายตัวสูงเกินกว่าร้อยละ 30 ในปี 2548 ได้แก่เครื่องปรับอากาศ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องโทรศัพท์/โทรสารและไก่แปรรูป ส่วนในช่วงต้นปี 2549 สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 30 ประกอบด้วย ยางพารา และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ สำหรับยางพารา ไทยครองส่วนแบ่งอันดับตลาดอันดับ 1 ในญี่ปุ่นตามด้วยคู่แข่งจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย
อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภทอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง (advanced technologies) ที่มักเป็นการลงทุนข้ามชาติและสินค้าที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ (resource-based industries) นั้น ไทยยังสามารถขยายการส่งออกไปยังญี่ปุ่นได้อย่างต่อเนื่อง หากการส่งออกในปี 2549 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 12 เช่นเดียวกับในปี 2548 มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นน่าจะเพิ่มเป็นประมาณ 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการค้าไทย-ญี่ปุ่นคือข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEP) ที่ครอบคลุมการจัดตั้งเขตการค้าเสรีทวิภาคีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งสองประเทศได้เจรจาจนบรรลุข้อตกลงระหว่างกัน
ทั้งนี้ แนวโน้มการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่นแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงของไทย เช่น กลุ่มชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ รถยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนข้ามชาติ และอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบสามารถขยายการส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง แต่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น เฟอร์นิเจอร์กำลังประสบปัญหาในตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากการแข่งขันจากประเทศอื่น ๆ ขณะที่การนำเข้าสินค้าของไทยจากญี่ปุ่นมีการกระจุกตัวที่สินค้าทุนและปัจจัยการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้านำเข้า 10 รายการแรก ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 80 ของการนำเข้าทั้งหมด การขยายตัวของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในไทยจะทำให้การนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ในอนาคตหากมีการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น คาดว่ามูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศจะเพิ่มขึ้นอีกมาก
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000050025
คาดอานิสงค์เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นหนุนการค้าไทยขยายตัว
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 เมษายน 2549 15:30 น.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2549 จะพ้นภาวะเงินฝืดและเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ทำให้แนวโน้มการบริโภคและการลงทุนเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นแรงหนุนการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่าในปี 2549 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะก้าวข้ามภาวะเงินฝืดและเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ทำให้แนวโน้มการบริโภคและการลงทุนเติบโตอย่างต่อเนื่อง และภาคการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นแรงหนุนการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย หลังจากเมื่อปี 2548 ญี่ปุ่นประสบปัญหาท้าทายจากวิกฤติน้ำมัน ภัยธรรมชาติ การยุบสภาและปัญหาเงินฝืดที่กินเวลานานหลายปี แต่เศรษฐกิจก็สามารถเติบโตร้อยละ 2.7 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนถึงร้อยละ 7.8 ทำให้ภาคธุรกิจญี่ปุ่นมีกำไรอย่างต่อเนื่องหลังการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันสถาบันการเงินของญี่ปุ่นได้ผ่านการปรับตัวขนานใหญ่จนสามารถปล่อยสินเชื่อจำนวนมากได้
ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นอันส่งผลทางจิตวิทยาให้ชาวญี่ปุ่นหันมาบริโภคสินค้าและบริการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จนทำให้การบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 นอกจากนี้ การส่งออกยังขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.9 จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูงของสหรัฐ และจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 และ 2 ของญี่ปุ่น ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ทำให้ญี่ปุ่นอยู่ในฐานะเจ้าหนี้สหรัฐ โดยเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น ตราสารหนี้และตลาดพันธบัตรสหรัฐ เป็นจำนวนถึง 62.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในปี 2549 ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในอัตราร้อยละ 2.3 ใกล้เคียงกับการเติบโตในช่วงปี 2547-48 เนื่องจากการขยายตัวของการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องจากภาวะการจ้างงานและอัตราค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น โดยการว่างงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ลดลงเหลือร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี และคาดว่าอุปสงค์ที่อยู่อาศัยจะขยายตัวต่อเนื่องอีกหลายปี เนื่องจากชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นรุ่นลูกกำลังอยู่ในวัยเริ่มซื้อบ้านหลังแรก ทำให้ราคาที่ดินในญี่ปุ่นเริ่มขยับตัวสูงขึ้น นอกจากเศรษฐกิจในประเทศแล้ว การส่งออกสินค้าและบริการยังมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูงเนื่องจากคาดว่าการเติบโตของจีน สหรัฐ และประเทศ Emerging Economies ในปี 2549 จะมีอัตราใกล้เคียงกับปี 2548 จึงเป็นปัจจัยบวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะมีแนวโน้มสดใส แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ หนี้สาธารณะ การลงทุนภาครัฐ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในของญี่ปุ่น ปัญหาราคาน้ำมัน และความไม่สมดุลของเศรษฐกิจสหรัฐ สำหรับปัญหาหนี้สาธารณะซึ่งคิดเป็นร้อยละ 160 ของ GDP เป็นอัตราที่สูงมากสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัญหาดังกล่าวเกิดจากรายได้จากภาษีที่ลดลงหลังภาวะฟองสบู่แตก ทำให้ทางการญี่ปุ่นต้องออกพันธบัตรจำนวนมากเพื่อชดเชยรายได้ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีจุนอิชิโร โคอิซุมิ ได้ปฏิรูปนโยบายการคลังโดยลดรายจ่ายภาครัฐและการลงทุนสาธารณะทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นลดลง นอกจากนี้ ยังปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมเพื่อมิให้เป็นภาระอันหนักหน่วงในระยะยาว
ทั้งนี้ การค้าไทย-ญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าและนักลงทุนอันดับ 1 ของไทย ดังนั้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จะส่งผลดีต่อการค้ากับไทยในด้านการส่งออก สินค้าส่งออกของไทยไปญี่ปุ่น 20 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 55.65 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2548 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่ขยายตัวได้ดีในญี่ปุ่นในปี 2548-49 ประกอบด้วยแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ยางพารา รถยนต์และส่วนประกอบ เลนซ์กล้องถ่ายรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม เครื่องปรับอากาศ และเครื่องโทรศัพท์/โทรสาร ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่ขยายตัวสูงเกินกว่าร้อยละ 30 ในปี 2548 ได้แก่เครื่องปรับอากาศ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องโทรศัพท์/โทรสารและไก่แปรรูป ส่วนในช่วงต้นปี 2549 สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 30 ประกอบด้วย ยางพารา และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ สำหรับยางพารา ไทยครองส่วนแบ่งอันดับตลาดอันดับ 1 ในญี่ปุ่นตามด้วยคู่แข่งจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย
อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภทอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง (advanced technologies) ที่มักเป็นการลงทุนข้ามชาติและสินค้าที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ (resource-based industries) นั้น ไทยยังสามารถขยายการส่งออกไปยังญี่ปุ่นได้อย่างต่อเนื่อง หากการส่งออกในปี 2549 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 12 เช่นเดียวกับในปี 2548 มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นน่าจะเพิ่มเป็นประมาณ 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการค้าไทย-ญี่ปุ่นคือข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEP) ที่ครอบคลุมการจัดตั้งเขตการค้าเสรีทวิภาคีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งสองประเทศได้เจรจาจนบรรลุข้อตกลงระหว่างกัน
ทั้งนี้ แนวโน้มการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่นแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงของไทย เช่น กลุ่มชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ รถยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนข้ามชาติ และอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบสามารถขยายการส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง แต่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น เฟอร์นิเจอร์กำลังประสบปัญหาในตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากการแข่งขันจากประเทศอื่น ๆ ขณะที่การนำเข้าสินค้าของไทยจากญี่ปุ่นมีการกระจุกตัวที่สินค้าทุนและปัจจัยการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้านำเข้า 10 รายการแรก ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 80 ของการนำเข้าทั้งหมด การขยายตัวของการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในไทยจะทำให้การนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ในอนาคตหากมีการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น คาดว่ามูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศจะเพิ่มขึ้นอีกมาก