5 ปีจากนี้ "ปตท." ไม่มี BIG JUMP!! "2 บิ๊ก&am
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 14, 2006 8:15 am
http://www.bangkokbizweek.com/20060502/ ... 77081.html
5 ปีจากนี้ "ปตท." ไม่มี BIG JUMP!! "2 บิ๊ก" ฟันธง..โตเต็มที่ ไม่เกิน 10%
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ค้นอนาคต ปตท. หลังองค์กรแห่งนี้ผ่านการเติบโตแบบ "ก้าวกระโดด" มาหลายปี จนเริ่มมีสัญญาณว่าหุ้น PTT กำลังหมดแรง (ส่ง) ขณะที่ "ประเสริฐ-พิชัย" ยอมรับว่า การเติบโตนับจากนี้ "ยาก" ที่จะเห็น "BIG JUMP"
"ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อธิบายแผนการลงทุนในอีก 5 ปีข้างหน้า (2549 -2553) ว่า กลุ่มปตท.จะมีการลงทุนรวมทั้งกลุ่มประมาณ 5.95 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติประมาณ 2.25 แสนล้านบาท ด้านงานสำรวจและขุดเจาะ (ปตท.สผ.) อีกประมาณ 1.53 แสนล้านบาท และในธุรกิจปิโตรเคมีอีก 1.50 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นแผนลงทุนด้านโรงกลั่นน้ำมันอีกราวๆ 3.88 หมื่นล้านบาท
และจากโมเดลที่กำหนดไว้ คาดว่าจะทำให้ "กลุ่มปตท." สามารถส่งผลตอบแทนกลับคืนสู่กระเป๋ารัฐบาลในช่วงระหว่างปี 2550-2554 ทั้งในรูปของ "เงินภาษี" "เงินนำส่งรัฐ" และ "เงินปันผล" (รวมหุ้นในส่วนของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง) คิดรวมเบ็ดเสร็จประมาณ 3.24 แสนล้านบาท
แบ่งเป็นผลตอบแทนจาก ปตท. "1.45 แสนล้านบาท" ปตท.สผ. "1.11 แสนล้านบาท" จากธุรกิจโรงกลั่นอีก "5.46 หมื่นล้านบาท" และจากธุรกิจปิโตรเคมี "1.28 หมื่นล้านบาท"
"ก็ย่อมเป็นธรรมดาของธุรกิจ เพราะมันต้องเติบโต เมื่อยอดขายปี 2548 อยู่ที่ 9.6 แสนล้าน มันก็ต้องไปต่อถึงระดับ 1 ล้านล้านบาท
...แต่การเติบโตของกำไร ปตท. ในระยะ 5 ปี (2549-2553) จากนี้ คงจะไม่เยอะเท่ากับ 5 ปีที่ผ่านมา เพราะหลายปีก่อนมันโตจากความผิดปกติ ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติ ฉะนั้นเวลาที่เราขึ้น...มันเป็นการขึ้นมาจากการที่ตกอยู่ในหล่ม แล้วเราก็ขึ้นมาอยู่บนที่สูง แต่วันนี้อยู่สูงแล้วจะไปสูงต่อ...ไม่ใช่เรื่องง่าย
เอาอย่างนี้ละกัน นับจากวันนี้ไป การที่ปตท.จะโตได้อีกถึงปีละ 10% ยากครับ" ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ และพิชัย ชุณหวชิร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและบัญชีองค์กร เห็นพ้องกัน
ประเสริฐย้ำว่า ถึงวันนี้ ธุรกิจของ ปตท.จะเป็น "Organic Growth" คือจะเติบโตไปตามดีมานด์หรือตามภาวะปกติที่สอดคล้องกับภาพเศรษฐกิจทั่วไป..เท่ากับว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปตท.คงจะไม่มี BIG JUMP เหมือนที่ผ่านๆ มา
"แต่ที่กำไรของเรา BIG JUMP ก่อนหน้านั้น เพราะเราไปเอาของที่เคยตกอยู่ใต้น้ำหรืออยู่ก้นบ่อ เอาโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ซึ่งนั่นก็คือพวกบรรดา Bad Asset ทั้งหลาย...แล้วก็ยิ่งทำให้กลุ่มของเรามีกำไรเพิ่มขึ้นจาก 2.9 พันล้านบาท มาเป็น 8.5 หมื่นล้านบาท เพียงช่วงระยะเวลาเพียง 4-5 ปี แต่ต่อไปข้างหน้ามันจะไม่มี "บิ๊กจั๊ม" อีกแล้ว"
"ยกเว้นว่า" หากบริษัทในกลุ่ม ปตท. มีการได้มาซึ่งสินทรัพย์อื่นๆ หรือมีการซื้อและควบรวมบริษัทแห่งอื่นเข้ามาในกลุ่ม เพราะถ้าเราจะโตได้...ก็ต้องไปควบรวมกิจการ ที่สำคัญก็คือ "ต้องซื้อและควบรวมในช่วงเวลาที่ดี และซื้อได้ถูก ต้องไม่ซื้อแพง"
"อย่าลืมว่าที่ผ่านมา ปตท.สผ.เข้าไปซื้อหุ้นของ ปตท.สผ.สยาม ในส่วนของไทยเชลล์มาอีก 75% เพื่อถือเองทั้ง 100% และยังเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของกลุ่มบริษัท โปโก ในประเทศไทย ซึ่งทำโครงการในแหล่งทานตะวัน แหล่งเบญจมาศ แหล่งมะลิวัลย์ แหล่งจามจุรี และแหล่งชบา โดยทุกแหล่งนี้ มีการผลิตปิโตรเลียมประมาณวันละ 98,800 บาร์เรล"
เพราะฉะนั้น เมื่อ ปตท.สผ.เข้าไปซื้อสินทรัพย์เหล่านั้นมา จึงไม่ได้หมายความว่าการเติบโตของ ปตท.สผ.จะเป็น "Organic Growth" ทั้งหมด
ขณะเดียวกันมีผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ทุกครั้งที่ "ปตท.สผ." ไปขุดเจาะสำรวจและพบแหล่งน้ำมัน...สักครั้ง ความสำเร็จตรงนั้นจะสามารถ "เพิ่มมูลค่า" ให้กับหุ้น PTT ได้ประมาณครั้งละ 20 บาท
"พิชัย ชุณหวชิร" อธิบายเกี่ยวกับข้อสังเกตนี้ว่า คือหุ้น PTTEP มักจะมีเสน่ห์ตรงที่...มันเป็นธุรกิจที่ไม่ใช่ใครๆ คิดจะทำก็ทำได้ ประการแรก 'ต้องมีเงิน' และต้องทั้ง 'เก่งและเฮง' ด้วย อย่างโรงกลั่นไทยออยล์ เมื่อเขามีโรงกลั่นสักแห่ง แล้วราคาหุ้นอยู่ที่ประมาณ 60-70 บาท แล้วในช่วงระยะเวลา 1 เดือน ถ้าคิดอยากจะมีโรงกลั่นเพิ่มอีก 1 แห่ง...มันสร้างไม่ได้ เพราะโรงกลั่นน้ำมันสักแห่งต้องใช้ระยะเวลาคืนทุนถึง 20 ปี หมายความว่าธุรกิจของไทยออยล์ก็จะโตไปอีกเท่าตัวไม่ได้
"แต่สำหรับงานของ ปตท.สผ. เมื่อเขาทำอยู่ที่แหล่งบงกชแหล่งหนึ่ง ยังสามารถไปเจออีกแหล่งหนึ่งได้ ก็กลายเป็น 2 แหล่ง สำรวจพบอีกแหล่งก็กลายเป็น 3 แหล่ง ...คือมันเหมือนว่าเขาสามารถสร้างโรงกลั่นแห่งใหม่ได้ตลอดเวลา
ดังนั้น ลักษณะของธุรกิจด้านสำรวจและขุดเจาะในอนาคตก็จะสามารถเพิ่ม "กำลัง
การผลิต" ได้ตลอดเวลา ...นี่คือเสน่ห์ของหุ้น PTTEP
"เพียงแต่เราต้องระวัง เพราะนี่คือธุรกิจที่ High Risk High Return มันต้องทั้งเก่งทั้งเฮง...เผอิญ PTTEP ช่วงนี้มันเฮง ไปเจาะที่ไหนก็เจอ ต้องยอมรับ...แต่ถ้าเจาะสำรวจแล้วไม่เจอ ผลจะตรงกันข้ามทีเดียว"
ประเสริฐบอกว่า ที่มีการมองกันว่าระดับราคาหุ้นที่เหมาะสมของ ปตท. ซึ่งถือเป็น "Fair Price" สำหรับปี 2549 ว่าควรอยู่สูงกว่าระดับราคา 300 บาท นั่นเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้...แต่ 300 บาท ก็คงเป็นไปได้ยากถ้าเรายังคงโดนโจมตีอยู่เหมือนทุกวันนี้
ส่วนการตั้งเป้าหมายมาร์เก็ตแคปของหุ้น PTT ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ขณะนี้มาร์เก็ตแคปของหุ้น PTT ก็อยู่ที่ประมาณ 7.3-7.4 แสนล้านบาท ถ้าหากเราคำนวณอย่าง "ยากๆ" ด้วยการโตเฉลี่ยประมาณปีละ 10% ก็คงพอประเมินตามนั้นได้ เพียงแต่ว่าเหตุการณ์ทุกอย่างยังคงต้องสามารถดำเนินไปตามนี้
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตกันว่า หุ้น PTT อาจจะมี "ฟรีโฟลต" สูงเกินไป เพราะรัฐบาลถืออยู่แค่ประมาณ 68% (รวมวายุภักษ์) "พิชัย" ชี้แจงเหตุผลว่า เวลาคนซื้อหุ้นก็เหมือนคนซื้อสมบัติ เขาก็ย่อมอยากเห็นราคาหุ้นขึ้น เท่ากับว่าหุ้นตัวนั้นต้องเป็นบริษัทที่มีฐานะดี หุ้นเป็นที่นิยม และมีสภาพคล่องสูง
ถ้าหากฟรีโฟลตมัน "ต่ำ" และมีผู้ถือหุ้น PTT อยู่จำนวนน้อย หุ้นก็จะไม่ค่อยซื้อๆ ขายๆ กัน สมบัติชิ้นนี้เมื่อถึงเวลาที่รายย่อยจะขาย...มันจะไม่ค่อยมีคนมารับซื้อ เพราะสมบัติ(หุ้น)มันจะมีค่าก็ต่อเมื่อ ถ้าอยากจะได้เงินก็ต้องขายได้ทันที ถ้าขายแล้วหาคนซื้อไม่ได้ หากใครมีหุ้นอยู่สัก 1 ล้านหุ้น ก็ต้องเลือกที่จะทยอยขายทีละน้อย...หุ้นแบบนี้ "ไม่ดี"
"เราก็ดูแล้วว่ายิ่ง PTT เป็นหุ้นที่มาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องมีสภาพคล่องที่เหมาะสม ต้องให้มันมีความคล่องตัวในการเทรด"
พิชัย ยกตัวอย่างกรณีหุ้น "การบินไทย" (THAI) ว่า ช่วงที่ขายหุ้นออกมาใหม่ๆ เขากระจายออกมาเพียง 10% เป็นการกระจายให้รายย่อยทั้งหมด แต่ละคนถือคนละ 200 หุ้น แล้วเอาหุ้นนั้นเก็บไว้ในครัว แทบไม่มีใครเอาหุ้นออกมาขาย คนที่อยากจะซื้อก็ซื้อไม่ได้...ราคาหุ้นก็ไม่ขึ้น ก็เลิกซื้อกันไป
ตรงนี้สำคัญ เมื่อราคาหุ้นมันไม่ขึ้นนานๆ เราจะไปสั่งให้ราคามันขึ้น...มันก็ไม่ขึ้น แม้กำไรของกิจการจะออกมาดี มันก็ไม่ขึ้น
"หุ้นนี่มันแปลกนะ ลองให้มันตกไปแล้ว มันจะไม่ขึ้นเลย" พิชัยกล่าวถึงปรัชญาในการปั้นหุ้นกลุ่ม
5 ปีจากนี้ "ปตท." ไม่มี BIG JUMP!! "2 บิ๊ก" ฟันธง..โตเต็มที่ ไม่เกิน 10%
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ค้นอนาคต ปตท. หลังองค์กรแห่งนี้ผ่านการเติบโตแบบ "ก้าวกระโดด" มาหลายปี จนเริ่มมีสัญญาณว่าหุ้น PTT กำลังหมดแรง (ส่ง) ขณะที่ "ประเสริฐ-พิชัย" ยอมรับว่า การเติบโตนับจากนี้ "ยาก" ที่จะเห็น "BIG JUMP"
"ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อธิบายแผนการลงทุนในอีก 5 ปีข้างหน้า (2549 -2553) ว่า กลุ่มปตท.จะมีการลงทุนรวมทั้งกลุ่มประมาณ 5.95 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติประมาณ 2.25 แสนล้านบาท ด้านงานสำรวจและขุดเจาะ (ปตท.สผ.) อีกประมาณ 1.53 แสนล้านบาท และในธุรกิจปิโตรเคมีอีก 1.50 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นแผนลงทุนด้านโรงกลั่นน้ำมันอีกราวๆ 3.88 หมื่นล้านบาท
และจากโมเดลที่กำหนดไว้ คาดว่าจะทำให้ "กลุ่มปตท." สามารถส่งผลตอบแทนกลับคืนสู่กระเป๋ารัฐบาลในช่วงระหว่างปี 2550-2554 ทั้งในรูปของ "เงินภาษี" "เงินนำส่งรัฐ" และ "เงินปันผล" (รวมหุ้นในส่วนของกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง) คิดรวมเบ็ดเสร็จประมาณ 3.24 แสนล้านบาท
แบ่งเป็นผลตอบแทนจาก ปตท. "1.45 แสนล้านบาท" ปตท.สผ. "1.11 แสนล้านบาท" จากธุรกิจโรงกลั่นอีก "5.46 หมื่นล้านบาท" และจากธุรกิจปิโตรเคมี "1.28 หมื่นล้านบาท"
"ก็ย่อมเป็นธรรมดาของธุรกิจ เพราะมันต้องเติบโต เมื่อยอดขายปี 2548 อยู่ที่ 9.6 แสนล้าน มันก็ต้องไปต่อถึงระดับ 1 ล้านล้านบาท
...แต่การเติบโตของกำไร ปตท. ในระยะ 5 ปี (2549-2553) จากนี้ คงจะไม่เยอะเท่ากับ 5 ปีที่ผ่านมา เพราะหลายปีก่อนมันโตจากความผิดปกติ ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติ ฉะนั้นเวลาที่เราขึ้น...มันเป็นการขึ้นมาจากการที่ตกอยู่ในหล่ม แล้วเราก็ขึ้นมาอยู่บนที่สูง แต่วันนี้อยู่สูงแล้วจะไปสูงต่อ...ไม่ใช่เรื่องง่าย
เอาอย่างนี้ละกัน นับจากวันนี้ไป การที่ปตท.จะโตได้อีกถึงปีละ 10% ยากครับ" ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ และพิชัย ชุณหวชิร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและบัญชีองค์กร เห็นพ้องกัน
ประเสริฐย้ำว่า ถึงวันนี้ ธุรกิจของ ปตท.จะเป็น "Organic Growth" คือจะเติบโตไปตามดีมานด์หรือตามภาวะปกติที่สอดคล้องกับภาพเศรษฐกิจทั่วไป..เท่ากับว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปตท.คงจะไม่มี BIG JUMP เหมือนที่ผ่านๆ มา
"แต่ที่กำไรของเรา BIG JUMP ก่อนหน้านั้น เพราะเราไปเอาของที่เคยตกอยู่ใต้น้ำหรืออยู่ก้นบ่อ เอาโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ซึ่งนั่นก็คือพวกบรรดา Bad Asset ทั้งหลาย...แล้วก็ยิ่งทำให้กลุ่มของเรามีกำไรเพิ่มขึ้นจาก 2.9 พันล้านบาท มาเป็น 8.5 หมื่นล้านบาท เพียงช่วงระยะเวลาเพียง 4-5 ปี แต่ต่อไปข้างหน้ามันจะไม่มี "บิ๊กจั๊ม" อีกแล้ว"
"ยกเว้นว่า" หากบริษัทในกลุ่ม ปตท. มีการได้มาซึ่งสินทรัพย์อื่นๆ หรือมีการซื้อและควบรวมบริษัทแห่งอื่นเข้ามาในกลุ่ม เพราะถ้าเราจะโตได้...ก็ต้องไปควบรวมกิจการ ที่สำคัญก็คือ "ต้องซื้อและควบรวมในช่วงเวลาที่ดี และซื้อได้ถูก ต้องไม่ซื้อแพง"
"อย่าลืมว่าที่ผ่านมา ปตท.สผ.เข้าไปซื้อหุ้นของ ปตท.สผ.สยาม ในส่วนของไทยเชลล์มาอีก 75% เพื่อถือเองทั้ง 100% และยังเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของกลุ่มบริษัท โปโก ในประเทศไทย ซึ่งทำโครงการในแหล่งทานตะวัน แหล่งเบญจมาศ แหล่งมะลิวัลย์ แหล่งจามจุรี และแหล่งชบา โดยทุกแหล่งนี้ มีการผลิตปิโตรเลียมประมาณวันละ 98,800 บาร์เรล"
เพราะฉะนั้น เมื่อ ปตท.สผ.เข้าไปซื้อสินทรัพย์เหล่านั้นมา จึงไม่ได้หมายความว่าการเติบโตของ ปตท.สผ.จะเป็น "Organic Growth" ทั้งหมด
ขณะเดียวกันมีผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ทุกครั้งที่ "ปตท.สผ." ไปขุดเจาะสำรวจและพบแหล่งน้ำมัน...สักครั้ง ความสำเร็จตรงนั้นจะสามารถ "เพิ่มมูลค่า" ให้กับหุ้น PTT ได้ประมาณครั้งละ 20 บาท
"พิชัย ชุณหวชิร" อธิบายเกี่ยวกับข้อสังเกตนี้ว่า คือหุ้น PTTEP มักจะมีเสน่ห์ตรงที่...มันเป็นธุรกิจที่ไม่ใช่ใครๆ คิดจะทำก็ทำได้ ประการแรก 'ต้องมีเงิน' และต้องทั้ง 'เก่งและเฮง' ด้วย อย่างโรงกลั่นไทยออยล์ เมื่อเขามีโรงกลั่นสักแห่ง แล้วราคาหุ้นอยู่ที่ประมาณ 60-70 บาท แล้วในช่วงระยะเวลา 1 เดือน ถ้าคิดอยากจะมีโรงกลั่นเพิ่มอีก 1 แห่ง...มันสร้างไม่ได้ เพราะโรงกลั่นน้ำมันสักแห่งต้องใช้ระยะเวลาคืนทุนถึง 20 ปี หมายความว่าธุรกิจของไทยออยล์ก็จะโตไปอีกเท่าตัวไม่ได้
"แต่สำหรับงานของ ปตท.สผ. เมื่อเขาทำอยู่ที่แหล่งบงกชแหล่งหนึ่ง ยังสามารถไปเจออีกแหล่งหนึ่งได้ ก็กลายเป็น 2 แหล่ง สำรวจพบอีกแหล่งก็กลายเป็น 3 แหล่ง ...คือมันเหมือนว่าเขาสามารถสร้างโรงกลั่นแห่งใหม่ได้ตลอดเวลา
ดังนั้น ลักษณะของธุรกิจด้านสำรวจและขุดเจาะในอนาคตก็จะสามารถเพิ่ม "กำลัง
การผลิต" ได้ตลอดเวลา ...นี่คือเสน่ห์ของหุ้น PTTEP
"เพียงแต่เราต้องระวัง เพราะนี่คือธุรกิจที่ High Risk High Return มันต้องทั้งเก่งทั้งเฮง...เผอิญ PTTEP ช่วงนี้มันเฮง ไปเจาะที่ไหนก็เจอ ต้องยอมรับ...แต่ถ้าเจาะสำรวจแล้วไม่เจอ ผลจะตรงกันข้ามทีเดียว"
ประเสริฐบอกว่า ที่มีการมองกันว่าระดับราคาหุ้นที่เหมาะสมของ ปตท. ซึ่งถือเป็น "Fair Price" สำหรับปี 2549 ว่าควรอยู่สูงกว่าระดับราคา 300 บาท นั่นเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้...แต่ 300 บาท ก็คงเป็นไปได้ยากถ้าเรายังคงโดนโจมตีอยู่เหมือนทุกวันนี้
ส่วนการตั้งเป้าหมายมาร์เก็ตแคปของหุ้น PTT ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ขณะนี้มาร์เก็ตแคปของหุ้น PTT ก็อยู่ที่ประมาณ 7.3-7.4 แสนล้านบาท ถ้าหากเราคำนวณอย่าง "ยากๆ" ด้วยการโตเฉลี่ยประมาณปีละ 10% ก็คงพอประเมินตามนั้นได้ เพียงแต่ว่าเหตุการณ์ทุกอย่างยังคงต้องสามารถดำเนินไปตามนี้
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตกันว่า หุ้น PTT อาจจะมี "ฟรีโฟลต" สูงเกินไป เพราะรัฐบาลถืออยู่แค่ประมาณ 68% (รวมวายุภักษ์) "พิชัย" ชี้แจงเหตุผลว่า เวลาคนซื้อหุ้นก็เหมือนคนซื้อสมบัติ เขาก็ย่อมอยากเห็นราคาหุ้นขึ้น เท่ากับว่าหุ้นตัวนั้นต้องเป็นบริษัทที่มีฐานะดี หุ้นเป็นที่นิยม และมีสภาพคล่องสูง
ถ้าหากฟรีโฟลตมัน "ต่ำ" และมีผู้ถือหุ้น PTT อยู่จำนวนน้อย หุ้นก็จะไม่ค่อยซื้อๆ ขายๆ กัน สมบัติชิ้นนี้เมื่อถึงเวลาที่รายย่อยจะขาย...มันจะไม่ค่อยมีคนมารับซื้อ เพราะสมบัติ(หุ้น)มันจะมีค่าก็ต่อเมื่อ ถ้าอยากจะได้เงินก็ต้องขายได้ทันที ถ้าขายแล้วหาคนซื้อไม่ได้ หากใครมีหุ้นอยู่สัก 1 ล้านหุ้น ก็ต้องเลือกที่จะทยอยขายทีละน้อย...หุ้นแบบนี้ "ไม่ดี"
"เราก็ดูแล้วว่ายิ่ง PTT เป็นหุ้นที่มาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องมีสภาพคล่องที่เหมาะสม ต้องให้มันมีความคล่องตัวในการเทรด"
พิชัย ยกตัวอย่างกรณีหุ้น "การบินไทย" (THAI) ว่า ช่วงที่ขายหุ้นออกมาใหม่ๆ เขากระจายออกมาเพียง 10% เป็นการกระจายให้รายย่อยทั้งหมด แต่ละคนถือคนละ 200 หุ้น แล้วเอาหุ้นนั้นเก็บไว้ในครัว แทบไม่มีใครเอาหุ้นออกมาขาย คนที่อยากจะซื้อก็ซื้อไม่ได้...ราคาหุ้นก็ไม่ขึ้น ก็เลิกซื้อกันไป
ตรงนี้สำคัญ เมื่อราคาหุ้นมันไม่ขึ้นนานๆ เราจะไปสั่งให้ราคามันขึ้น...มันก็ไม่ขึ้น แม้กำไรของกิจการจะออกมาดี มันก็ไม่ขึ้น
"หุ้นนี่มันแปลกนะ ลองให้มันตกไปแล้ว มันจะไม่ขึ้นเลย" พิชัยกล่าวถึงปรัชญาในการปั้นหุ้นกลุ่ม