ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 27, 2006 10:07 pm
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
คอลัมน์ ระดมสมอง
โดย เพสซิมิสท์
เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาน้ำมันราคาแพง ดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และความไม่แน่นอนทางการเมือง หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงมากน้อยเพียงใด (นักเศรษฐศาสตร์ต่างประเมินกันว่าจีดีพีจะขยายตัว 4-5% แต่อาจต้องปรับลงไปได้อีก) บางคนที่กลัวมากก็จะถามว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นได้อีกหรือไม่ ?
คำตอบคือ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อ 2540 นั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้ เพราะเศรษฐกิจไทยไม่ได้มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและภาคธุรกิจสร้างหนี้เกินขีดความสามารถเช่นในอดีต แต่เศรษฐกิจไทยก็มิใช่จะไม่มีจุดอ่อน โดยจุดอ่อนคือ การที่เศรษฐกิจไทยขณะนี้นับวันจะต้องพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ การบริโภคภายในเพิ่มขึ้นไม่ได้มากเพราะผู้บริโภคเป็นหนี้มากแล้วและดอกเบี้ยก็ปรับสูงขึ้นทำให้คนหันมาออมมากขึ้น ซึ่งย่อมจะต้องทำให้การขยายตัวของการบริโภคชะลอตัวลงไปด้วย
นอกจากนั้น ดังที่ทราบกันดีว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองก็กำลังบั่นทอนความเชื่อมั่น ทำให้การลงทุนชะงักงัน ทั้งการลงทุนโดยคนไทยและโดยชาวต่างชาติ ในส่วนของชาวต่างชาตินั้น นอกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองแล้วสิ่งที่น่ากลัวสำหรับเขามากที่สุดคือ กระแสต่อต้านต่างชาติในประเทศไทยที่กำลังก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังการยับยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการออกมาต่อต้านการขายบริษัทชินวัตรให้กับเทมาเส็ก
สำหรับประเด็นที่นักลงทุนต่างประเทศเป็นห่วงมากที่สุดนั้น น่าจะได้แก่ความพยายามที่จะทำให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติรัดกุมยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในอดีตหลายสิบปีที่ผ่านมา แม้กฎหมายไทยจะกำหนดเอาไว้ให้ต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 49% แต่ก็ไม่ได้เข้มงวดกับการที่ต่างชาติจะจัดตั้งคนไทยเป็นนอมินีถือหุ้นให้ ทั้งนี้เพื่อให้ต่างชาติมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารจัดการบริษัทที่ตนเข้ามาลงทุน คนไทยหลายคนอาจไม่พอใจที่ทราบว่าในทางปฏิบัตินั้นดูเสมือนว่ามีการเลี่ยงเจตนารมณ์ซึ่งต้องการให้ต่างชาติถือหุ้นเพียง 49% แต่ในความเป็นจริงนั้น การใช้นอมินีจัดโครงสร้างผู้ถือหุ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทำกันมานานและสาเหตุที่ปล่อยให้ทำ ก็เพราะว่ากลไกและเงื่อนไขที่เป็นอยู่ในขณะนี้ช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติอย่างแพร่หลาย ดังนั้นความเสี่ยงของกระแสที่ต้องการ "ปิด" ช่องโหว่ตรงนี้ก็คือการชะงักงันของการลงทุนจากต่างประเทศ
แนวทางที่จะปิดกั้นการเข้ามามีอำนาจบริหารอย่างเต็มที่ของชาวต่างชาตินั้นได้เริ่มขึ้นแล้วในธุรกิจโทรคมนาคม โดยร่างกฎเกณฑ์ฉบับใหม่ของคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณารับฟังความเห็นของฝ่ายต่างๆ บางคนอาจเคยเห็นข่าวเมื่อประมาณ 2 เดือนมาแล้วว่ามีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศหลายชาติ (เช่น สหรัฐ อียู สิงคโปร์ และฟินแลนด์) ได้ขอเข้าพบ กทช.เพื่อแสดงความห่วงใยของตนเกี่ยวกับร่างกฎเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากความเป็นห่วงเกี่ยวกับผลกระทบต่อนักลงทุนต่างประเทศในภาคโทรคมนาคมแล้วก็ยังเป็นห่วงว่าจะ "ลุกลาม" ไปสู่สาขาทางเศรษฐกิจสาขาอื่นๆ ด้วย
บางคนอาจเห็นว่าการควบคุมไม่ให้ต่างชาติเข้ามาครอบงำธุรกิจในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องไม่ดี แต่ก็ต้องเข้าใจว่าหากเงื่อนไขการลงทุนไม่เป็นที่พอใจของต่างชาติ ไทยก็จะไม่ได้รับทั้งเงินทุน เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญของต่างชาติ และเงินทุนก็จะไหลไปสู่ประเทศคู่แข่งของไทย
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือการคัดค้านการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหรัฐ ขณะนี้น่าเชื่อได้ว่าการคัดค้านประสบความสำเร็จแล้วเพราะสหรัฐและไทยคงจะไม่สามารถบรรลุถึงข้อตกลงได้ภายในต้นปีหน้า ซึ่งเป็น "เส้นตาย" ของสหรัฐที่จะสามารถนำข้อตกลงออกมาเป็นร่างกฎหมายผ่านสภาเป็นกรณีพิเศษ (หรือ fast track) ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเมื่อเขาทำข้อตกลงกับไทยไม่ได้ เขาก็กำลังเจรจาอยู่กับมาเลเซียและเกาหลีใต้ หากประสบความสำเร็จก็จะทำให้เราเสียเปรียบอย่างมากในการขายสินค้าในตลาดสหรัฐ นอกจากนั้นเวียดนามก็กำลังจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกอย่างเต็มภาคภูมิ ทำให้รัฐบาลสหรัฐสามารถผลักดันออกกฎหมายให้เวียดนามได้รับสิทธิทางการค้าเท่าเทียมกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐ กล่าวคือ เวียดนามซึ่งเคยเสียเปรียบไทยในการแข่งขันในตลาดสหรัฐ กำลังจะได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกัน ทำให้ไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวอีกประเทศหนึ่ง ทั้งในฐานะของคู่แข่งทางการส่งออกและคู่แข่งในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
ดังนั้นความตกต่ำของเศรษฐกิจไทยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะปานกลาง (3-5 ปี) คือการลงทุนที่ปลุกไม่ขึ้นทำให้ประเทศไทยล้าหลังในการแข่งขันกับต่างประเทศและทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถขยายตัวได้ถึง 5% ในระยะยาว
ขณะนี้เราไม่มีกลยุทธ์หรือแนวนโยบายที่ชัดเจนในด้านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเผชิญกับการแข่งขันเพื่อดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ สิ่งที่มองเห็นได้ชัดที่สุด คือ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้าไปซื้อเงินดอลลาร์มูลค่าเป็นแสนล้านบาทเพื่อช่วยกดมิให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปกว่าประมาณ 38 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แต่ ธปท.เองก็คงทราบดีว่าการแทรกแซงเช่นนี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้นที่มีต้นทุนสูงสำหรับ ธปท.(เพราะต้องเก็บเงินดอลลาร์ที่มีโอกาสเสื่อมค่ามากขึ้น และต้องออกพันธบัตรเพื่อควบคุมสภาพคล่องภายในประเทศทำให้มีภาระดอกเบี้ยต้องจ่ายมากขึ้น) และมีความเสี่ยงว่าในอนาคตอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกขาดความสามารถในการแข่งขันไปในที่สุด และ ธปท.อาจต้องปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคตเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นดังกล่าว
ในส่วนของภาพเศรษฐกิจโลกโดยรวมก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน จริงอยู่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์มาก่อนหน้านี้ 2 ปีแล้วว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะต้องหดตัว และค่าเงินดอลลาร์จะต้องอ่อนค่าลง 20-30% เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐ แต่การคาดการณ์ดังกล่าวก็ผิดพลาดมาโดยตลอด ทำให้หลายคนเลิกเชื่อข้อกังวลดังกล่าวแล้ว แต่สิ่งที่นักเศรษฐกิจวิเคราะห์นั้น ตั้งอยู่บนทฤษฎีและเหตุผลที่ถูกต้อง แต่การคาดการณ์ช่วงเวลาที่การปรับตัวทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นนั้น เป็นการทำนายที่ผิดพลาดได้ง่าย ตัวอย่างเช่น นักเศรษฐศาสตร์บางคนเคยเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่สภาวะถดถอยตั้งแต่ปี 2538 แต่เศรษฐกิจก็เฟื่องฟูมาได้อีก 2 ปี จึงจะเข้าสู่สภาวะวิกฤต
ในส่วนของเศรษฐกิจโลกนั้น น่าจะเชื่อได้ว่าสิ่งที่นักเศรษฐกิจได้ทำนายเอาไว้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกจะต้องปรับตัว หรือปรับดุลยภาพ (global rebalancing) นั้น อาจจะต้องเริ่มขึ้นแล้วในปีนี้ เช่นเมื่อ 20 เมษายนในการประชุมของกลุ่ม G-7 ได้ออกแถลงการณ์ ซึ่งแตกต่างจากในอดีต คือได้เขียนภาคผนวกพิเศษเกี่ยวกับการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจโลก โดยกล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม (เหมือนแต่ก่อน) ว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียโดยเฉพาะจีน จะต้องปล่อยให้ค่าเงินของตนแข็งขึ้น เพื่อช่วยให้สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง แต่ในกรณีของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อียู และญี่ปุ่น นั้น มิได้กล่าวว่าจะต้องทำให้ค่าเงินของตนแข็งและไม่ได้มี "หน้าที่" ในการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจโลก เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากการประชุมกลุ่ม G-7 ดังกล่าวเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเงินหลายๆ สกุล รวมทั้งเงินบาท
แต่การจะปรับให้เศรษฐกิจสหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง อย่างมีนัยสำคัญนั้น ไม่น่าจะทำได้โดยการปรับค่าเงินดอลลาร์ให้อ่อนตัวลง หรือหากจะให้ค่าเงินดอลลาร์เป็นตัวปรับก็คงจะต้องให้อ่อนตัวลงไป 20-30% เป็นอย่างต่ำ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ประเทศคู่ค้าจะยอมรับได้ ดังนั้น ปัญหาคือ หากใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นกลไกในการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ แล้วจะต้องใช้ปัจจัยอะไร คำตอบ คือ อาจต้องอาศัยสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างรุนแรงในสหรัฐจึงจะแก้ปัญหาได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ
1.การแตกสลายของฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์ ขณะนี้ราคาบ้านในสหรัฐเริ่มนิ่งแล้ว (และในบางกรณีเริ่มลดลง) ดังนั้น คนที่ "เก็งกำไร" บ้านโดยมีบ้าน 5-6 หลัง กำลังจะหมดเนื้อหมดตัว แม้แต่บางคนที่กำลังจะขายบ้านเก่า เพราะได้ซื้อบ้านใหม่ (ที่แพงกว่า) เอาไว้แล้ว ก็กำลังมีปัญหาในการขายบ้านเก่า และเมื่อมีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ การบริโภคก็จะสามารถถูกกระทบได้อย่างรุนแรง ซึ่งจะช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐได้อย่างมาก แต่ก็จะกระทบกับรายได้จากการส่งออกของประเทศคู่ค้าของสหรัฐบางคน อาจกล่าวว่าขณะนี้เอเชียค้าขายกันเองมากกว่าสหรัฐ จึงไม่น่าจะถูกกระทบมากนัก ข้อเท็จจริงคือเอเชียซื้อขายกันเองมากขึ้นจริง แต่ส่วนสำคัญคือการขายชิ้นส่วนไปให้จีนประกอบเป็นสินค้าส่งออกไปสหรัฐ กล่าวคือ การที่จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐถึง 2 แสนล้านเหรียญต่อปีนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ "ความร่วมมือ" จากประเทศอื่นๆ ในเอเชีย
2.การปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช่น ทองคำ ทองแดง น้ำมัน ฯลฯ) นั้น ส่วนสำคัญมาจากการเก็งกำไรของกองทุน hedge fund และในระยะหลังนี้ก็มีการเก็งกำไรโดยธนาคารพาณิชย์และกองทุนบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ของสหรัฐอีกด้วย ปัญหาคือ ขณะนี้ฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในสินค้าโภคภัณฑ์หลายๆ ประเภทอาจจะใกล้แตกสลาย ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าราคาสินค้าประเภทนี้เริ่มปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ความเสี่ยง คือ หากราคาปรับตัวลงอย่างมากโดยเร็ว ก็มีความเป็นไปได้สูง ที่กองทุน hedge fund หลายๆ กองที่มีหนี้สินมากและลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง จะประสบภาวะขาดทุนถึงขั้นล้มละลายได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดอกเบี้ยถูกปรับเพิ่มขึ้นจาก 1% มาเป็น 5% ภายในเวลา 2 ปี ซึ่งกองทุน hedge fund ขยายตัวจากไม่กี่แสนล้านเหรียญมาเป็น 1.0-1.5 ล้านล้านเหรียญในขณะนี้ หาก hedge fund ขนาดใหญ่สัก 2-3 กองทุนมีปัญหาการเงินไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็จะเสี่ยงต่อการที่เจ้าหนี้จะเริ่มมีปัญหาตามไปด้วย และ/หรือพยายามยกเลิก หรือลดวงเงินกู้ให้กับกองทุน hedge fund อย่างฉับพลัน เป็นผลให้ไม่สามารถชำระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก
หลายคนที่ผ่านสภาวะขาดสภาพคล่องเมื่อครั้งประเทศไทยต้องปิดบริษัทเงินทุน 56 แห่ง และธนาคารอีก 4-5 แห่งจะคงจำได้ดีว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในระบบการเงิน ปัญหาอาจแพร่ขยายได้อย่างรวดเร็วเป็นลูกโซ่ซึ่งจะทำให้ภาคเศรษฐกิจจริงต้องชะงักงันลงอย่างฉับพลัน ทั้งนี้หากเกิดขึ้นกับสหรัฐปัญหาก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วแบบ "ตัดไฟแต่ต้นลม" เช่น ในปี 2541 เมื่อกองทุน LTCM ล้มละลาย ทั้งนี้ เพราะขณะนี้สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมากเป็นประวัติการณ์ และกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น จะลดดอกเบี้ยหรืออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็วก็อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะยิ่งทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น และแน่นอนว่ากองทุนต่างๆ ของประเทศหลัก (เช่น สหรัฐ และยุโรป) ก็จะต้องเพิ่มสภาพคล่องของตน และลดความเสี่ยง โดยการเทขายหุ้นในตลาดเกิดใหม่ตามไปด้วย
กล่าวโดยสรุปคือ หากความไม่แน่นอนทางการเมืองยืดเยื้อต่อไปพร้อมกับกระแสการต่อต้านต่างชาติทวีความรุนแรงขึ้น การลงทุนของไทยก็อาจจะเข้าสู่สภาวะตกต่ำอย่างยืดเยื้อ ในขณะเดียวกันการจะพึ่งพาการส่งออกเพื่อพยุงเศรษฐกิจก็เสี่ยงต่อการที่เศรษฐกิจสหรัฐจะต้องปรับตัวผ่านการอ่อนตัวลงของค่าเงินดอลลาร์ หรือหากโชคร้ายฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ และฟองสบู่สินค้าโภคภัณฑ์แตกสลาย ทำให้ภาคการเงินสหรัฐระส่ำระสายก็จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่สภาวะตกต่ำซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของเอเชียและของไทยได้อย่างมาก ทั้งนี้ การล้มละลายของ hedge fund ขนาดใหญ่ (ซึ่งหากเกิดขึ้น) จะเป็นเครื่องเตือนภัยว่าเศรษฐกิจโลกกำลังจะมีปัญหาอย่างมากครับ
คอลัมน์ ระดมสมอง
โดย เพสซิมิสท์
เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาน้ำมันราคาแพง ดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และความไม่แน่นอนทางการเมือง หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงมากน้อยเพียงใด (นักเศรษฐศาสตร์ต่างประเมินกันว่าจีดีพีจะขยายตัว 4-5% แต่อาจต้องปรับลงไปได้อีก) บางคนที่กลัวมากก็จะถามว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นได้อีกหรือไม่ ?
คำตอบคือ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อ 2540 นั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้ เพราะเศรษฐกิจไทยไม่ได้มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและภาคธุรกิจสร้างหนี้เกินขีดความสามารถเช่นในอดีต แต่เศรษฐกิจไทยก็มิใช่จะไม่มีจุดอ่อน โดยจุดอ่อนคือ การที่เศรษฐกิจไทยขณะนี้นับวันจะต้องพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ การบริโภคภายในเพิ่มขึ้นไม่ได้มากเพราะผู้บริโภคเป็นหนี้มากแล้วและดอกเบี้ยก็ปรับสูงขึ้นทำให้คนหันมาออมมากขึ้น ซึ่งย่อมจะต้องทำให้การขยายตัวของการบริโภคชะลอตัวลงไปด้วย
นอกจากนั้น ดังที่ทราบกันดีว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองก็กำลังบั่นทอนความเชื่อมั่น ทำให้การลงทุนชะงักงัน ทั้งการลงทุนโดยคนไทยและโดยชาวต่างชาติ ในส่วนของชาวต่างชาตินั้น นอกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองแล้วสิ่งที่น่ากลัวสำหรับเขามากที่สุดคือ กระแสต่อต้านต่างชาติในประเทศไทยที่กำลังก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังการยับยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการออกมาต่อต้านการขายบริษัทชินวัตรให้กับเทมาเส็ก
สำหรับประเด็นที่นักลงทุนต่างประเทศเป็นห่วงมากที่สุดนั้น น่าจะได้แก่ความพยายามที่จะทำให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติรัดกุมยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในอดีตหลายสิบปีที่ผ่านมา แม้กฎหมายไทยจะกำหนดเอาไว้ให้ต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 49% แต่ก็ไม่ได้เข้มงวดกับการที่ต่างชาติจะจัดตั้งคนไทยเป็นนอมินีถือหุ้นให้ ทั้งนี้เพื่อให้ต่างชาติมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารจัดการบริษัทที่ตนเข้ามาลงทุน คนไทยหลายคนอาจไม่พอใจที่ทราบว่าในทางปฏิบัตินั้นดูเสมือนว่ามีการเลี่ยงเจตนารมณ์ซึ่งต้องการให้ต่างชาติถือหุ้นเพียง 49% แต่ในความเป็นจริงนั้น การใช้นอมินีจัดโครงสร้างผู้ถือหุ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทำกันมานานและสาเหตุที่ปล่อยให้ทำ ก็เพราะว่ากลไกและเงื่อนไขที่เป็นอยู่ในขณะนี้ช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติอย่างแพร่หลาย ดังนั้นความเสี่ยงของกระแสที่ต้องการ "ปิด" ช่องโหว่ตรงนี้ก็คือการชะงักงันของการลงทุนจากต่างประเทศ
แนวทางที่จะปิดกั้นการเข้ามามีอำนาจบริหารอย่างเต็มที่ของชาวต่างชาตินั้นได้เริ่มขึ้นแล้วในธุรกิจโทรคมนาคม โดยร่างกฎเกณฑ์ฉบับใหม่ของคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณารับฟังความเห็นของฝ่ายต่างๆ บางคนอาจเคยเห็นข่าวเมื่อประมาณ 2 เดือนมาแล้วว่ามีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศหลายชาติ (เช่น สหรัฐ อียู สิงคโปร์ และฟินแลนด์) ได้ขอเข้าพบ กทช.เพื่อแสดงความห่วงใยของตนเกี่ยวกับร่างกฎเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากความเป็นห่วงเกี่ยวกับผลกระทบต่อนักลงทุนต่างประเทศในภาคโทรคมนาคมแล้วก็ยังเป็นห่วงว่าจะ "ลุกลาม" ไปสู่สาขาทางเศรษฐกิจสาขาอื่นๆ ด้วย
บางคนอาจเห็นว่าการควบคุมไม่ให้ต่างชาติเข้ามาครอบงำธุรกิจในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องไม่ดี แต่ก็ต้องเข้าใจว่าหากเงื่อนไขการลงทุนไม่เป็นที่พอใจของต่างชาติ ไทยก็จะไม่ได้รับทั้งเงินทุน เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญของต่างชาติ และเงินทุนก็จะไหลไปสู่ประเทศคู่แข่งของไทย
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือการคัดค้านการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหรัฐ ขณะนี้น่าเชื่อได้ว่าการคัดค้านประสบความสำเร็จแล้วเพราะสหรัฐและไทยคงจะไม่สามารถบรรลุถึงข้อตกลงได้ภายในต้นปีหน้า ซึ่งเป็น "เส้นตาย" ของสหรัฐที่จะสามารถนำข้อตกลงออกมาเป็นร่างกฎหมายผ่านสภาเป็นกรณีพิเศษ (หรือ fast track) ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเมื่อเขาทำข้อตกลงกับไทยไม่ได้ เขาก็กำลังเจรจาอยู่กับมาเลเซียและเกาหลีใต้ หากประสบความสำเร็จก็จะทำให้เราเสียเปรียบอย่างมากในการขายสินค้าในตลาดสหรัฐ นอกจากนั้นเวียดนามก็กำลังจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกอย่างเต็มภาคภูมิ ทำให้รัฐบาลสหรัฐสามารถผลักดันออกกฎหมายให้เวียดนามได้รับสิทธิทางการค้าเท่าเทียมกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐ กล่าวคือ เวียดนามซึ่งเคยเสียเปรียบไทยในการแข่งขันในตลาดสหรัฐ กำลังจะได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกัน ทำให้ไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวอีกประเทศหนึ่ง ทั้งในฐานะของคู่แข่งทางการส่งออกและคู่แข่งในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
ดังนั้นความตกต่ำของเศรษฐกิจไทยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะปานกลาง (3-5 ปี) คือการลงทุนที่ปลุกไม่ขึ้นทำให้ประเทศไทยล้าหลังในการแข่งขันกับต่างประเทศและทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถขยายตัวได้ถึง 5% ในระยะยาว
ขณะนี้เราไม่มีกลยุทธ์หรือแนวนโยบายที่ชัดเจนในด้านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเผชิญกับการแข่งขันเพื่อดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ สิ่งที่มองเห็นได้ชัดที่สุด คือ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้าไปซื้อเงินดอลลาร์มูลค่าเป็นแสนล้านบาทเพื่อช่วยกดมิให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปกว่าประมาณ 38 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แต่ ธปท.เองก็คงทราบดีว่าการแทรกแซงเช่นนี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้นที่มีต้นทุนสูงสำหรับ ธปท.(เพราะต้องเก็บเงินดอลลาร์ที่มีโอกาสเสื่อมค่ามากขึ้น และต้องออกพันธบัตรเพื่อควบคุมสภาพคล่องภายในประเทศทำให้มีภาระดอกเบี้ยต้องจ่ายมากขึ้น) และมีความเสี่ยงว่าในอนาคตอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกขาดความสามารถในการแข่งขันไปในที่สุด และ ธปท.อาจต้องปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคตเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นดังกล่าว
ในส่วนของภาพเศรษฐกิจโลกโดยรวมก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน จริงอยู่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์มาก่อนหน้านี้ 2 ปีแล้วว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะต้องหดตัว และค่าเงินดอลลาร์จะต้องอ่อนค่าลง 20-30% เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐ แต่การคาดการณ์ดังกล่าวก็ผิดพลาดมาโดยตลอด ทำให้หลายคนเลิกเชื่อข้อกังวลดังกล่าวแล้ว แต่สิ่งที่นักเศรษฐกิจวิเคราะห์นั้น ตั้งอยู่บนทฤษฎีและเหตุผลที่ถูกต้อง แต่การคาดการณ์ช่วงเวลาที่การปรับตัวทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นนั้น เป็นการทำนายที่ผิดพลาดได้ง่าย ตัวอย่างเช่น นักเศรษฐศาสตร์บางคนเคยเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่สภาวะถดถอยตั้งแต่ปี 2538 แต่เศรษฐกิจก็เฟื่องฟูมาได้อีก 2 ปี จึงจะเข้าสู่สภาวะวิกฤต
ในส่วนของเศรษฐกิจโลกนั้น น่าจะเชื่อได้ว่าสิ่งที่นักเศรษฐกิจได้ทำนายเอาไว้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกจะต้องปรับตัว หรือปรับดุลยภาพ (global rebalancing) นั้น อาจจะต้องเริ่มขึ้นแล้วในปีนี้ เช่นเมื่อ 20 เมษายนในการประชุมของกลุ่ม G-7 ได้ออกแถลงการณ์ ซึ่งแตกต่างจากในอดีต คือได้เขียนภาคผนวกพิเศษเกี่ยวกับการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจโลก โดยกล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม (เหมือนแต่ก่อน) ว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียโดยเฉพาะจีน จะต้องปล่อยให้ค่าเงินของตนแข็งขึ้น เพื่อช่วยให้สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง แต่ในกรณีของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อียู และญี่ปุ่น นั้น มิได้กล่าวว่าจะต้องทำให้ค่าเงินของตนแข็งและไม่ได้มี "หน้าที่" ในการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจโลก เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากการประชุมกลุ่ม G-7 ดังกล่าวเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเงินหลายๆ สกุล รวมทั้งเงินบาท
แต่การจะปรับให้เศรษฐกิจสหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง อย่างมีนัยสำคัญนั้น ไม่น่าจะทำได้โดยการปรับค่าเงินดอลลาร์ให้อ่อนตัวลง หรือหากจะให้ค่าเงินดอลลาร์เป็นตัวปรับก็คงจะต้องให้อ่อนตัวลงไป 20-30% เป็นอย่างต่ำ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ประเทศคู่ค้าจะยอมรับได้ ดังนั้น ปัญหาคือ หากใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นกลไกในการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ แล้วจะต้องใช้ปัจจัยอะไร คำตอบ คือ อาจต้องอาศัยสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างรุนแรงในสหรัฐจึงจะแก้ปัญหาได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ
1.การแตกสลายของฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์ ขณะนี้ราคาบ้านในสหรัฐเริ่มนิ่งแล้ว (และในบางกรณีเริ่มลดลง) ดังนั้น คนที่ "เก็งกำไร" บ้านโดยมีบ้าน 5-6 หลัง กำลังจะหมดเนื้อหมดตัว แม้แต่บางคนที่กำลังจะขายบ้านเก่า เพราะได้ซื้อบ้านใหม่ (ที่แพงกว่า) เอาไว้แล้ว ก็กำลังมีปัญหาในการขายบ้านเก่า และเมื่อมีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ การบริโภคก็จะสามารถถูกกระทบได้อย่างรุนแรง ซึ่งจะช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐได้อย่างมาก แต่ก็จะกระทบกับรายได้จากการส่งออกของประเทศคู่ค้าของสหรัฐบางคน อาจกล่าวว่าขณะนี้เอเชียค้าขายกันเองมากกว่าสหรัฐ จึงไม่น่าจะถูกกระทบมากนัก ข้อเท็จจริงคือเอเชียซื้อขายกันเองมากขึ้นจริง แต่ส่วนสำคัญคือการขายชิ้นส่วนไปให้จีนประกอบเป็นสินค้าส่งออกไปสหรัฐ กล่าวคือ การที่จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐถึง 2 แสนล้านเหรียญต่อปีนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ "ความร่วมมือ" จากประเทศอื่นๆ ในเอเชีย
2.การปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช่น ทองคำ ทองแดง น้ำมัน ฯลฯ) นั้น ส่วนสำคัญมาจากการเก็งกำไรของกองทุน hedge fund และในระยะหลังนี้ก็มีการเก็งกำไรโดยธนาคารพาณิชย์และกองทุนบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ของสหรัฐอีกด้วย ปัญหาคือ ขณะนี้ฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในสินค้าโภคภัณฑ์หลายๆ ประเภทอาจจะใกล้แตกสลาย ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าราคาสินค้าประเภทนี้เริ่มปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ความเสี่ยง คือ หากราคาปรับตัวลงอย่างมากโดยเร็ว ก็มีความเป็นไปได้สูง ที่กองทุน hedge fund หลายๆ กองที่มีหนี้สินมากและลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง จะประสบภาวะขาดทุนถึงขั้นล้มละลายได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดอกเบี้ยถูกปรับเพิ่มขึ้นจาก 1% มาเป็น 5% ภายในเวลา 2 ปี ซึ่งกองทุน hedge fund ขยายตัวจากไม่กี่แสนล้านเหรียญมาเป็น 1.0-1.5 ล้านล้านเหรียญในขณะนี้ หาก hedge fund ขนาดใหญ่สัก 2-3 กองทุนมีปัญหาการเงินไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็จะเสี่ยงต่อการที่เจ้าหนี้จะเริ่มมีปัญหาตามไปด้วย และ/หรือพยายามยกเลิก หรือลดวงเงินกู้ให้กับกองทุน hedge fund อย่างฉับพลัน เป็นผลให้ไม่สามารถชำระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก
หลายคนที่ผ่านสภาวะขาดสภาพคล่องเมื่อครั้งประเทศไทยต้องปิดบริษัทเงินทุน 56 แห่ง และธนาคารอีก 4-5 แห่งจะคงจำได้ดีว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในระบบการเงิน ปัญหาอาจแพร่ขยายได้อย่างรวดเร็วเป็นลูกโซ่ซึ่งจะทำให้ภาคเศรษฐกิจจริงต้องชะงักงันลงอย่างฉับพลัน ทั้งนี้หากเกิดขึ้นกับสหรัฐปัญหาก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วแบบ "ตัดไฟแต่ต้นลม" เช่น ในปี 2541 เมื่อกองทุน LTCM ล้มละลาย ทั้งนี้ เพราะขณะนี้สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมากเป็นประวัติการณ์ และกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น จะลดดอกเบี้ยหรืออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็วก็อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะยิ่งทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น และแน่นอนว่ากองทุนต่างๆ ของประเทศหลัก (เช่น สหรัฐ และยุโรป) ก็จะต้องเพิ่มสภาพคล่องของตน และลดความเสี่ยง โดยการเทขายหุ้นในตลาดเกิดใหม่ตามไปด้วย
กล่าวโดยสรุปคือ หากความไม่แน่นอนทางการเมืองยืดเยื้อต่อไปพร้อมกับกระแสการต่อต้านต่างชาติทวีความรุนแรงขึ้น การลงทุนของไทยก็อาจจะเข้าสู่สภาวะตกต่ำอย่างยืดเยื้อ ในขณะเดียวกันการจะพึ่งพาการส่งออกเพื่อพยุงเศรษฐกิจก็เสี่ยงต่อการที่เศรษฐกิจสหรัฐจะต้องปรับตัวผ่านการอ่อนตัวลงของค่าเงินดอลลาร์ หรือหากโชคร้ายฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ และฟองสบู่สินค้าโภคภัณฑ์แตกสลาย ทำให้ภาคการเงินสหรัฐระส่ำระสายก็จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่สภาวะตกต่ำซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของเอเชียและของไทยได้อย่างมาก ทั้งนี้ การล้มละลายของ hedge fund ขนาดใหญ่ (ซึ่งหากเกิดขึ้น) จะเป็นเครื่องเตือนภัยว่าเศรษฐกิจโลกกำลังจะมีปัญหาอย่างมากครับ