หน้า 1 จากทั้งหมด 1

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 12:23 pm
โดย Mon money
ความหมายของคำว่า Operating Leverage บ้างครับ มันจะส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทอย่างไร ในสถานการใดบ้าง

ผมอยากจะชวนคุยเรื่องนี้ครับ เพราะผมคิดเองว่าประเทศของเรากำลังที่จะประสบปัญหาบางประการที่จะทำให้บริษัทที่มี Operating Leverage สูงๆกำลังจะแย่

มาเรียนรู้เรื่องนี้ไปพร้อมๆกันครับ

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 1:32 pm
โดย woody
Fixed Costs VS Variable Costs หรือเปล่าครับพี่มน

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 2:56 pm
โดย Boring Stock Lover
กังวลเรื่องเงินเฟ้อกำลังซี้อหดหรือครับ

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 3:28 pm
โดย ForrestGump
Leverage คือ อัตราร้อยละการเปลี่ยนแปลงของกำไรสุทธิต่ออัตราร้อยละการเปลี่ยนของยอดขาย ยกตัวอย่าง Leverage ที่มีค่าเท่ากับ 1 หมายถึง เมื่อยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้น 1% จะทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 1% เท่าๆกัน ดังนั้น หาก Leverage มีค่ามากกว่า 1 ก็หมายความว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของกำไรสูงกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของยอดขาย ในทางตรงกันข้าม หาก Leverage มีค่าน้อยกว่า 1 หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของกำไรน้อยกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของยอดขาย


Leverage = %Δ Net incomes / %Δ Revenues



ส่วนสาเหตุที่ทำให้ Leverage ของแต่ละบริษัทแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ สัดส่วนระหว่างต้นทุนผันแปรกับต้นทุนคงที่ และดอกเบี้ยจ่าย โดยสามารถแบ่ง Leverage ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
Operating Leverage สามารถวัดได้จาก อัตราการเปลี่ยนแปลงของรายได้ก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี ต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของยอดขาย ซึ่งบริษัทที่มี Operating Leverage สูงนั้น จะเป็นบริษัทที่มีต้นทุนในส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ค่อนข้างมาก ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมสถานีโทรทัศน์ ซึ่งโดยมากต้นทุนจะเป็นต้นทุนค่าสัมปทาน และต้นทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นต้นทุนคงที่


Operating Leverage = %Δ Earning before interest expenses and taxes / %Δ Revenues



Financial Leverage เป็นการวัดความผันแปรของกำไรสุทธิ จากการใช้เงินกู้มาเป็นตัวเร่งทางการเงิน โดย Financial Leverage วัดได้จากอัตราร้อยละการเปลี่ยนแปลงของกำไรสุทธิต่ออัตราร้อยละการเปลี่ยนแปลงของรายได้ก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี โดยบริษัทที่มีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ซึ่งก็คือบริษัทที่มีหนี้สินมาก จะมี Financial Leverage ที่สูง


Financial Leverage = %Δ Net incomes / %Δ Earning before interest expenses and taxes
และเมื่อนำ Operating Leverage มาคูณกับ Financial Leverage ก็จะสามารถคำนวณหา Total Leverage ของบริษัทนั้นได้


เหมือนกับเหรียญที่มีสองด้าน บริษัทที่มี Leverage สูง หมายความว่า เมื่อยามที่ยอดขายตกลง จะส่งผลให้กำไรของบริษัทมีการปรับตัวลดลงอย่างมาก กล่าวคือ บริษัทที่มี Leverage สูงจะมีความเสี่ยงทางด้านการดำเนินธุรกิจ หรือ Business risk ที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นบริษัททีมี Leverage ที่สูงที่สุด อาจไม่ได้เป็นบริษัทที่ดีที่สุดเสมอไป


เหมือนกับเลือกรถ ขับรถแรงก็มีความเสี่ยงในการประสบอุบัติเหตุที่สูง อย่างไรก็ดี หากคุณเป็นนักขับมือดีและมีสติ ก็สามารถสนุกกับการขับรถได้ ดังนั้น จึงควรเลือกรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง จึงจะเป็นการลงทุนดีที่สุด
จากเวปกองทุนรวม วรรณ

แต่แปลว่าอะไรผมไม่เข้าใจครับ ทุกท่านช่วยอธิบายด้วย
ถ้าเราดูบริษัทที่หนี้น้อย และ ลักษณะ กิจการไม่ต้องการ ลงทุนเพิ่มมาก เพื่อรักษาการโตของยอดขาย และ Net Profit Margin เพิ่มในอัตราใกล้เคียงกับ ยอดขายและรายได้ก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษี  ก็เป็นบริษัทที่น่าสนใจใช่มั้ยครับ

เอแบบนี้แล้ว MCS ,WG เข้าข่าย Operating Leverage ที่มีค่าเหมาะสมหรือเปล่าครับ?  :D

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 6:23 pm
โดย สุมาอี้
ตัวอย่างที่ดีสุดของธุรกิจ high OL ก็คือ Fitness Centres

ค่าใช้จ่ายเท่าเดิมทุกเดือน ค่าแอร์ ค่าเช่าที่ ค่าเสื่อมอุปกรณ์ เงินเดือน ยิ่งหาลูกค้ามาได้มากเท่าไรก็ยิ่งดี รายได้ส่วนที่เกิน breakeven point ขึ้นไปจะเป็นกำไรล้วนๆ เพราะไม่มี variable cost

ถ้าเศรษฐกิจดี คนมีเงินเหลือกินเหลือใช้เยอะ ลูกค้าเยอะ ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ก็ตรงกันข้าม แต่ทั้งสองกรณี cost เหมือนเดิม

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 7:09 pm
โดย redvdox
ท่านสุมาอี้มักจะอธิบายอะไรที่ยากๆให้กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายๆเสมอ

ผมติดตามอ่านตลอดคับ ^ ^

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 9:05 pm
โดย Raphin Phraiwal
:man:  เข้ามาอ่านครับ

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 9:07 pm
โดย โอ@
พวก Broker ก็ใช่ซิครับอย่างนี้

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 9:22 pm
โดย สุมาอี้
โอ@ เขียน:พวก Broker ก็ใช่ซิครับอย่างนี้
ครับ หุ้นโบรกถึงได้ขึ้นแรงลงแรง เพราะกำไรเปลี่ยนอย่างรุนแรงเมื่อรายได้เปลี่ยนไปเพียงนิดเดียว

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 9:47 pm
โดย NinjaTurtle
ถ้าอย่างนั้นเกิดมีสถาณการณ์ เช่น การรัดเข็มขัดของผู้บริโภคเกิดขึ้น บริษัทที่มี OL สูง และไม่สามารถลด Operating cost ได้ แถมขึ้นราคาก็ไม่ได้ก็จะคงลำบาก :?

บริษัทที่ผมทำงานอยู่ก็น่าจะเข้าข่ายนี้เหมือนกันนะ ปีที่แล้วบริษัทลด Admin cost และค่าใช้จ่ายลงทุกแผนก รวมถึง
ทางออกที่โหดร้าย และทำไปแล้วก็คือ ลดคนครับ



บริษัทที่เราเป็นเจ้าของกันอยู่เข้าค่ายนี้ไหมครับ

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 10:16 pm
โดย สุมาอี้
ผมว่าพวกที่ค้าขายกับรัฐบาลตอนนี้น่ากลัวสุดครับ เบิกจ่ายงบประมาณไม่ได้ตามเป้า อย่างอื่นคงไม่ถึงกับวิกฤต

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 25, 2006 10:24 pm
โดย Boring Stock Lover
สุมาอี้ เขียน:ผมว่าพวกที่ค้าขายกับรัฐบาลตอนนี้น่ากลัวสุดครับ เบิกจ่ายงบประมาณไม่ได้ตามเป้า อย่างอื่นคงไม่ถึงกับวิกฤต

ทำให้ไม่กล้าเล่นกลุ่มก่อสร้างเลย คิดถึงเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน

ไม่รู้บริษัทอื่นๆเป็นไง MFEC Solar AI มีใครอีก Ilink มีผลหรือเปล่า

นี่เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเข้าใจกิจการ เพราะอาจเป็นโอกาสซื้อที่ดีก็ได้ หรืออาจจะต้องรีบทิ้งออกไป

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 26, 2006 12:03 am
โดย ForrestGump
ขอเพิ่มอีกสองความกังวล ให้กับคนที่ถือ

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 26, 2006 11:10 am
โดย Mon money
การมี OLที่สูงๆนั้น คือการที่บริษัทมีดครงสร้างต้นทุนที่เป็นต้นทุนคงที่สูง ต้นทุนคงที่นี้จะเกิดขึ้นทุกวันแมไม่มีการผลิต บริษัทไหนมีfixed assets/Revenueมากๆนั่นแหละใช่เลย

ผลกระทบของมันในช่วงที่ยอดขายสูง หมายถึงปริมาณขาย และราคาขายสูง ต้นทุนคงที่ต่อปริมาณผลิตจะต่ำลง ยิ่งขายมากยิ่งได้กำไรมาก อย่างเช่น ATC

ในทางกลับกันยอดผลิตลดลงตามdemand ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ราคาขายถึงจะคงที่ อย่างไรเสียกำไรต้องลดลง

ตัวแปรสองประการที่น่าจับตามองคือ

1 ปริมาณผลิต(ขาย)ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด

2 ราคาขาย ถ้าสถานะการในข้อหนึ่งเกิดขึ้นแต่ปรับราคาขายสู้ได้โดยที่ลูกค้ายังซื้ออยู่ บริษัทนั้นอาจจะรอดตัวไปได้

สิ่งที่ต้องมองต่อคือความยืดหยุ่นของราคาสินค้าที่บริษัทขาย

สินค้าบางชนิดปรับราคาขึ้นนิดหน่อย ยอดขายหายไปมาก ---ราคายืดหยุ่นสูง

สินค้าบางชนิดปรับราคาขึ้น ยอดขายหายไม่ลด ---ราคายืดหยุ่นต่ำ

ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องพิจารณาองค์ประกอบทางการตลาดอื่นๆอีกมากเช่นคู่แข่ง ผู้ขายสินค้า สินค้าทดแทน ลูกค้า ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัจจัยต่างๆดังที่กล่าว เวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการศึกษาและค้นหาบริษัทที่แข็งแกร่งครับ อย่าเอาเวลาไปนั่งเฝ้ารอให้หุ้นขึ้นกันอยู่เลยครับ มาค้นหาสิ่งที่เราต้องการกันดีกว่า

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 27, 2006 1:36 am
โดย nano
ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องพิจารณาองค์ประกอบทางการตลาดอื่นๆอีกมากเช่นคู่แข่ง ผู้ขายสินค้า สินค้าทดแทน ลูกค้า ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัจจัยต่างๆดังที่กล่าว เวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการศึกษาและค้นหาบริษัทที่แข็งแกร่งครับ อย่าเอาเวลาไปนั่งเฝ้ารอให้หุ้นขึ้นกันอยู่เลยครับ มาค้นหาสิ่งที่เราต้องการกันดีกว่า
ผมพูดกับเพื่อนถึงแนวทางการหาวิธีซื้อหุ้นของชาว VI      เพื่อนพูดว่าจะซื้อหุ้นแค่นี้     ทำไมถึงต้องลำบากอย่างนี้ด้วย :lovl:

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 27, 2006 10:10 am
โดย Thaworn
ขอแย้งที่คุณสุมาอี้บอกว่า ฟิตเนสยิ่งหาลูกค้าได้มากยิ่งดี คุณลืมคิดเรื่องจำนวนอุปกรณ์ฟิตเนสต่อจำนวนลูกค้าสูงสุดที่รับได้หรือเปล่าครับ มันมีข้อจำกัดตรงนี้ด้วย ถ้าอยากได้ลูกค้าเพิ่มเกินกว่านั้นคุณต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่ม ต่อให้คำนวณว่าคนใช้อุปกรณ์ทุกอย่างไม่พร้อมกันก็ตาม สมมุติอุปกรณ์มี 100 ชิ้น ลูกค้าเฉลี่ยวันละ 50 คนก็สมดุลดี แต่ถ้าลูกค้าเริ่มเพิ่มมาเป็นเฉลี่ย 100 จนเป็น 150 คนต่อวัน ยังไงซะฟิตเนสแห่งนั้นก็ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่ม และยังต้องเพิ่มคนดูแลและผู้ฝึกสอนให้คำแนะนำเป็นเงาตามตัวอยู่ดี

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 27, 2006 10:10 am
โดย Thaworn
ขอแย้งที่คุณสุมาอี้บอกว่า ฟิตเนสยิ่งหาลูกค้าได้มากยิ่งดี คุณลืมคิดเรื่องจำนวนอุปกรณ์ฟิตเนสต่อจำนวนลูกค้าสูงสุดที่รับได้หรือเปล่าครับ มันมีข้อจำกัดตรงนี้ด้วย ถ้าอยากได้ลูกค้าเพิ่มเกินกว่านั้นคุณต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่ม ต่อให้คำนวณว่าคนใช้อุปกรณ์ทุกอย่างไม่พร้อมกันก็ตาม สมมุติอุปกรณ์มี 100 ชิ้น ลูกค้าเฉลี่ยวันละ 50 คนก็สมดุลดี แต่ถ้าลูกค้าเริ่มเพิ่มมาเป็นเฉลี่ย 100 จนเป็น 150 คนต่อวัน ยังไงซะฟิตเนสแห่งนั้นก็ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่ม และยังต้องเพิ่มคนดูแลและผู้ฝึกสอนให้คำแนะนำเป็นเงาตามตัวอยู่ดี

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 27, 2006 10:23 am
โดย Thaworn
ขอแก้ไขครับ ผมหมายถึงอุปกรณ์แต่ละเซทที่มีจำกัด(ไม่ใช่ทั้งฟิตเนสมี 100 ชิ้นครับ) ถ้ามีคนอยากใช้พร้อมๆกันหลายคนเป็นประจำ เช่น ลู่วิ่งมี 10 ชุด แต่มีคนอยากมาใช้ช่วงเดียวกันตอนเลิกงาน 20-30 คนเป็นประจำ ผมเคยไปลองๆเล่นเวทสมัยเรียนมหาลัยหลายปีมาแล้ว คนเยอะมากต้องรอเบื่อมากๆ มีอะไรผิดพลาดหรือจะแย้งจะเสริมก็เอาเลยครับ
   ผมพึ่งไปอบรมการเขียนแผนและวางแผนทำธุรกิจ SME เพื่อขอร่วมทุนกับ สสว. เค้ามีบรรยายเรื่องต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปรและอื่นๆ มีพูดเรื่องการเงิน การวางแผนการตลาดการลงทุนซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์บริษัทในตลาดลักทรัพย์ได้ดีทีเดียว ทำให้เข้าใจและมีมุมมองอะไรเพิ่มขึ้นเยอะ วิทยากรจะถามให้เราคิดด้วย ไม่ได้อบรมแบบพูดตามชีทจะยกเคสตัวอย่างให้ฟังตลอด ถ้าใครสนใจลองเข้าไปดูที่เว็บของ สสว. ในกทม.อบรมไปแล้วสอนยาว 6 วัน วันที่อบรมในเว็บบางอันไม่ตรงนะครับเค้าไม่ได้แก้ให้ถูกต้อง ถ้าจะให้แน่ใจควรโทรไปถามเอาดีที่สุด

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 27, 2006 11:13 am
โดย สุมาอี้
ตามหลักเศรษฐศาสตร์ In the long run, all costs are variable costs ครับ ดังนั้นต้องขึ้นอยู่กับว่าจะมองสั้นหรือมองยาว

ผมว่าถ้าพวกฟิตเนสเขาคิดถึงเรื่องจำนวนคนต่อจำนวนเครื่องด้วย สมาชิกก็คงไม่บ่นกันหนาหูขนาดนี้ แม่ผมบอกว่าช่วงเย็นๆ คนแน่นจนเหม็นกลิ่นเหงื่อไปทั่วทั้ง floor เลย

มีใครเข้าใจ...

โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 28, 2006 12:46 am
โดย Rocker
แล้วธุรกิจ สระว่ายนํามี OL สูงใหมครับ :?:
เพราะมีแต่ต้นทุนคงที่

สรุปว่าธุรกิจที่มี OLคือธุรกิจที่มี ตทคงที่สูง และ ตทคงที่ เป็น ตท หลักและมี ตท ผันแปร น้อย ใช่ใหมครับ :?: