หน้า 1 จากทั้งหมด 1
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 18, 2006 11:40 am
โดย setmaker
rpc ได้รับประโยชน์จากค่าการกลั่น
ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นบ้างไหมครับ?
โรงกลั่นอื่นๆ ราคาหุ้นขึ้นได้ แต่ไหง rpc ราคาหุ้นเป็นขาลง
อย่างเดียวครับ นอกจาก mr.market แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกไหมครับ??
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 18, 2006 12:37 pm
โดย ลูกอิสาน
rpc เป็นโรงกลั่นเฉพาะที่ตั้งขึ้นมาเพราะเห็นช่องทางเพิ่มมูลค่า condensate residuce ซึ่งเป็น by product ของ ATC
กระบวนการกลั่นเป็นแบบง่าย ออกแบบเอง ต้นทุนการก่อสร้างต่ำมาก
ปัญหาคือ suply ของวัตถุดิบหลัก CR เพราะเร็วๆนี้ ATC RRC จะรวมกัน และจะก่อสร้างหน่วยกลั่น CR ขึ้นมาใหม่ อะไรจะเกิดขึ้นกับ rpc ครับ
ธุรกิจนี้จะใหญ่ก็ต้องใหญ่ให้มากที่สุด หรือจะ nich ก็ต้อง nich สุดๆไปเลยเช่นกัน
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 18, 2006 4:51 pm
โดย setmaker
ขอบคุณครับพี่
ผมเคยถาม ATC ที่งาน SET in .. ในประเด็นนี้เขาตอบแค่ว่ายังไม่มีนโยบายในการ
เลิกส่ง CR ให้กับ RPC (แต่ก็แอบไม่เชื่อ แหะๆ)
ล่าสุด เห็นข่าวว่า RPC ยังไปทำสัญญาซื้อ CR เพิ่มจาก ATC อีก
แต่วันข้างหน้า ก็ยากจะเดาจริงๆ
พยายามหัดวิเคราะห์หุ้นหน่ะครับ
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 18, 2006 8:06 pm
โดย ลูกอิสาน
setmaker เขียน:ขอบคุณครับพี่
ผมเคยถาม ATC ที่งาน SET in .. ในประเด็นนี้เขาตอบแค่ว่ายังไม่มีนโยบายในการ
เลิกส่ง CR ให้กับ RPC (แต่ก็แอบไม่เชื่อ แหะๆ)
ล่าสุด เห็นข่าวว่า RPC ยังไปทำสัญญาซื้อ CR เพิ่มจาก ATC อีก
แต่วันข้างหน้า ก็ยากจะเดาจริงๆ
พยายามหัดวิเคราะห์หุ้นหน่ะครับ
จากหนังสือชี้ชวนของ rrc ครับ
ATC ได้เริ่มโครงการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ใหม่ ซึ่งประกอบด้วย Reforming Complex และ Aromatics Complex
บริษัทฯ และ ATC ได้ร่วมตกลงในหลักการว่า บริษัทฯ จะเป็นผู้ก่อสร้าง และมีกรรมสิทธิ์ใน Reforming Complex ที่ ATC วางแบบ
ไว้เดิม ซึ่งจะประกอบด้วย Condensate Splitter หน่วยกำจัดกำมะถันในนํ้ามันเบนซิน หน่วยเพิ่มออกเทนในแนฟทาชนิดหนัก
หน่วยกำจัดสารปรอท และหน่วยแยกเกลือแร่จากน้ำมันดิบ ทั้งนี้ ATC จะยังคงเป็นเจ้าของและดำเนินการ Aromatics Complex ซึ่ง
ประกอบด้วย Benzene-Toluene Fractionation Unit (BTX) บริษัทฯ ตั้งใจที่จะใช้ประโยชน์จาก Condensate Residue ที่ได้จาก
Condensate Splitter และใช้ไฮโดรเจนที่ได้จากหน่วยเพิ่มออกเทนในแนฟทาชนิดหนัก ของโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ซึ่งทำให้
บริษัทฯ ต้องก่อสร้าง Upgrading Complex ใหม่ในโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ซึ่งประกอบด้วย Condensate Residue Splitter หน่วย
กำจัดกำมะถันในน้ำมันดีเซลและหน่วยเพิ่มออกเทนในแนฟทาชนิดเบาเพื่อใช้ในการกลั่น Condensate Residue ซึ่งผลิตได้จาก
Reforming Complex หากบริษัทฯ ดำเนินงานโครงการขยายการลงทุนดังกล่าว บริษัทฯ คาดว่ากำลังการผลิตติดตั้งโดยรวมของ
บริษัทฯ จะเพิ่มขึ้นจาก 145,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 210,000 บาร์เรลต่อวัน
RRC (กำลังจะรวมกับ ATC ผู้ขายวัตถุดิบหลักให้ RPC) กำลังก่อสร้าง Upgrading complex ซึ่งใช้วัถตุดิบ CR เป็นวัตถุดิบเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆ
โดยที่ upgrading complex จะมีหน่วยย่อย condensate residue splitter ซึ่งหน่วยย่อยนี้เปรียบเสมือนโรงกลั่นของ RPC นั่นเอง (ข้อมูลจากหนังสือชี้ชวน rpc เป็นโรงกลั่นแบบ condensate residue splitter)
นั่นคือผู้ป้อนวัตถุดิบหลักกำลังจะทำธุรกิจแข่งกับ RPC ซะเอง
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 18, 2006 8:11 pm
โดย ลูกอิสาน
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
เรื่อง ระยองเพียว ลงนามในข้อตกลงซื้อ และขายคอนเดนเสทเรสซิดิว ส่วนเพิ่มกับ ATC
เรียน กรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) (RPC) และ บริษัท อะโรเมติกส์
(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) ได้จัดทำข้อตกลงซื้อ ขายคอนเดนเสทเรสซิดิว หรือ
CR เพิ่มเติม เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ ตกลงซื้อ CR เพิ่มขึ้นอีก 4,000-
7,500 ตันต่อเดือน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสัญญาเดิมที่มีอยู่แล้วจำนวน 48,750 ตันต่อเดือน (หรือ
12.3 KBD) ข้อตกลงฉบับใหม่ล่าสุดนี้นี้มีผลบังคับใช้จนถึงสิ้นปี 2549 นับเป็นความร่วมมือ
ในการนำทรัพยากรจากแหล่งในประเทศมาใช้ประโยชน์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุดระหว่าง
บริษัททั้งสอง
นอกจากนั้น บริษัทฯ และ ATC ยังได้จัดทำข้อตกลงซื้อ ขาย CR แบบครั้งคราว(Spot
Contract) อีกหนึ่งฉบับเพื่อรองรับปริมาณของ CR ที่อาจจะมีเพิ่มมากขึ้นเกินกว่าที่คาดไว้
โดยกำหนดปริมาณซื้อขายไว้ได้ไม่เกิน 8,700 ตันต่อเดือนโดยตั้งแต่เดือนเมษายน 2549
เป็นต้นมา บริษัทฯ ได้มีการซื้อขายแบบ Spot ถึง 3 ครั้งส่งผลให้บริษัทฯ สามารถเพิ่มกำลัง
การผลิตจากเดิมเฉลี่ย 11 KBD ในปี 2548 จนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 มาเป็น 15 KBD
ตั้งแต่เดือนเมษายน 2549 ที่ผ่านมา หรือมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 36%
และจะเห็นได้ว่าวัถตุดิบที่ ATC ขายให้ RPC เป็นสัญญาระยะสั้นเท่านั้น(อีกแค่ 6 เดือน) ทั้งที่ควรจะเป็นการทำสัญญาระยะยาว อาจเป็นได้ว่าเพื่อรอให้หน่วย condensate residue splitter แล้วเสร็จเสียก่อน
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 18, 2006 8:20 pm
โดย ลูกอิสาน
ความเสี่ยงเรื่องวัตถุดิบหลักนี้ มีการพูดถึงน้อยมาก ทั้งที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัท ในข่าวหรืองานวิจัยแทบไม่มีการพูดถึง แต่มีงานวิจัยของ ssec ฉบับเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้พูดถึงประเด็นนี้ในส่วนล่างสุดครับ
ประเด็นความเสี่ยง
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญอันอาจจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทได้แก่ ความเสี่ยงจากการทำ
สัญญาซื้อขาย CR ทั้งหมดกับทาง ATC ในระยะยาวแต่เพียงผู้เดียว ทำให้บริษัทมีภาระผูกพันที่จะต้องรับซื้อ
CR ทั้งหมดไม่เกิน 585,000 บาร์เรล/วัน (ประมาณ 12,600 บาร์เรล/วัน) ขณะที่การจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ไม่ได้มีการทำสัญญาระยะยาวกับลูกค้าแต่อย่างใด อันจะก่อให้เกิดความเสี่ยงในกรณีที่ลูกค้าของบริษัทมีความ
ต้องการในผลิตภัณฑ์น้อยกว่าปริมาณ CR สูงสุดที่กำหนดไว้ในสัญญา นอกจากนี้ภายหลังจากสัญญารับ CR
จากทาง ATC ที่จะหมดลงในปี 2555 นั้น ก็มีแนวโน้มว่าทาง ATC อาจจะไม่พิจารณาต่อสัญญากับทาง RPC
เนื่องจากตามแผนการร่วมดำเนินงานและควบรวมกิจการกับทางพันธมิตรอย่างโรงกลั่นระยอง (RRC) นั้น
ผลิตภัณฑ์ที่ได้ในกระบวนการผลิตของ ATC จะถูกส่งต่อไปยังโรงกลั่นเพื่อเพิ่มมูลค่าในขั้นต่อไป
นี่อาจจะเป็นสาเหตุให้ผู้บริหารพยายามลดความเสี่ยงโดย..
1.ใช้น้ำมันดิบจากแหล่งภายในประเทศ คือแหล่งนางนวลของ pttep ซึ่งผลการกลั่นได้ผลค่อนข้างดี แม้ให้น้ำมันเตามาก แต่สุดท้ายแหล่งนางนวลประสบปัญหาการผลิต
2.มีสัญญาซื้อวัตถุดิบจาก สยาม กัลฟ์ (อดีตบริษัทย่อย ที่มีกำลังการกลั่น 30,000 บาร์เรล) ประมาณ 5,000-7,000 บาร์เรลต่อวัน ขึ้นอยู่กับชนิดวัถตุดิบของสยามกัลฟ์
3.ธุรกิจเทรดดิ้ง โดยเป็นการเทรดดิ้งน้ำมัน
4.สร้างโรงกลั่นในต่างประเทศ เช่นที่เวียดนาม หรือแถวมาบตาพุด
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 18, 2006 8:32 pm
โดย ลูกอิสาน
ที่พูดมาข้างต้นออกจะเป็นการมองในแง่ร้ายสักหน่อยนะครับ ประสาคนที่ไม่มีหุ้นแล้ว :lol: :lol:
แต่ผมคิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นของชีวิตนักลงทุน ที่ไม่ควรประมาท ควรมองแง่ร้ายเอาไว้ก่อน
ประเด็นนี้ผมคิดว่าผู้บริหารของ RPC ย่อมต้องรู้ และคงหาทางแก้ใขไว้แล้ว แต่จะได้ผลหรือเปล่า ไม่แน่ใจ เพราะโครงการเหล่านั้นดูจะเป็นไปอย่างล่าช้า
1.โครงการโรงกลั่น pilot plant ในเวียดนาม ล่าช้ามากว่า 1 ปีแล้ว เพราะมีปัญหาเรื่องอุปกรณ์ หากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี คงจะมีการขยายกำลังการผลิตต่อไปครับ
2.RPC มีสัญญาที่จะซื้อหุ้น สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีคอลคืน 50% เข้าใจว่ากำลังทำ due dilegence นอกจากนั้นตอนที่ขายหุ้นไปในอดีต มีสัญญาที่ RPC จะซื้อวัตถุดิบจาก SGPG ด้วยประมาณ 5,000 บาร์เรลต่อวัน โครงการนี้ก็ดูเงียบๆไป
ข้างต้นพอที่จะทำให้ RPC ลดความเสี่ยงลงได้บ้าง แต่โครงการใหม่ๆต่างต้องการเงินทุนจำนวนมาก ทั้งโรงกลั่นใหม่ สถานีน้ำมัน comunity mall ที่ร่วมกับสัมมากร และหนักที่สุดคือธุรกิจเทรดดิ้ง นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ปีที่แล้ว RPC จ่ายปันผลส่วนใหญ่เป็นหุ้น เพื่อสงวนเงินสดไว้ในโครงการเหล่านี้
อย่างไรในระยะสั้นไตรมาส 3-4 ปีนี้ rpc น่าจะมีผลประกอบการที่ดีเพราะกำไรจากการเพิ่มกำลังการผลิตครับ
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 19, 2006 12:02 pm
โดย setmaker
ขอบคุณมากครับพี่ลูกอิสาน
ข้อมูลยังแน่นเหมือนเดิม
:idea:
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 10, 2006 10:19 pm
โดย iambuffet
ถ้าปลายปีจ่ายอีก 0.25
ทั้งปีจ่าย 0.5 บาท
ผลตอบแทนเกือบ 10 เปอร์เซ็น
ให้ผลตอบแทนสูงกว่าโรงกลั่นทุกตัว
แบบชนะขาดเลยนะเนี่ย
หลักทรัพย์ RPC
หัวข้อข่าว จ่ายปันผลระหว่างกาล
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2549 08:51:37
ที่ RPC/HO-SET/ELCID-0019/06
วันที่ 10 สิงหาคม 2549
เรื่อง จ่ายปันผลระหว่างกาล
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3/2549 ของบริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด
(มหาชน) ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2549 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมบริษัทฯ เลขที่
19 อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า อีทส์ (อาคาร 3) ชั้น 14 ถนนรัชดาภิเษก จตุจักร
กรุงเทพมหานคร ได้มีมติให้จัดสรรกำไรโดยจ่ายปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนิน
งานงวด 6 เดือนของปี 2549 จากกำไรสุทธิในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท โดยกำหนดวันปิดสมุด
ทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อจ่ายปันผลในวันที่ 24 สิงหาคม 2549 เวลา 12.00 น. และกำหนด
จ่ายเงินปันผลในวันที่ 1 กันยายน 2549
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
นายสุวินัย สุวรรณหิรัญกุล
กรรมการผู้จัดการ
นักลงทุนสัมพันธ์ / สำนักกรรมการผู้จัดการ
โทร.0-2515-8671
e-mail
[email protected]
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 10, 2006 10:47 pm
โดย BHT
ถ้าเกิดไม่สามารถทำสัญญาซื้อ cr ได้จริง พื้นฐานเปลี่ยนแบบของแท้แน่นอน
ยกเว้นหาจากที่อื่นได้ทันการณ์ และเพียงพอ
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 11, 2006 11:15 am
โดย iambuffet
ผู้จัดการรายวัน16 มิถุนายน 2549
RPCดึงสัมมากรตั้งบริษัทใหม่ร่วมพัฒนาศูนย์การค้าประชาคมครบวงจร
www resources
โฮมเพจ บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ระยองเพียวริฟายเออร์
search resources
ระยองเพียวริฟายเออร์, บมจ.
สัมมากร, บมจ.
Real Estate
ระยองเพียวริฟายเออร์ จับมือสัมมากร ร่วมทุนตั้งบริษัทใหม่ "เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์" ประเมิน ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท พัฒนาที่ดินในกรุงเทพฯและปริมณฑลเพื่อยกระดับเป็นศูนย์การค้าประชาคมแบบครบวงจร รวมสินค้าและบริการหลากหลายในสถานีบริการน้ำมัน "เพียว" เริ่มแห่งแรก หมู่บ้านสัมมากร รังสินคลอง 2 และเปิดให้บริการต้นปี 50
นายศุภพงศ์ กฤษณกาญจน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) ( Rpc) แจ้งว่า บริษัทได้ร่วมทุนกับ บริษัท สัมมากร จำกัด(มหาชน) ( SAMCO) จัดตั้ง บริษัท เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ PSDC เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2549 ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท โดย ระยองเพียวฯ เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 51 และสัมมากร ถือ หุ้นร้อยละ 49 โดย PSDC จะทำการพัฒนาศูนย์การค้าประชาคมแห่งแรก ภายใต้ชื่อ " Pure Place " บริเวณหน้าหมู่บ้านสัมมากร รังสิตคลอง 2 ติดถนนรังสิต-องครักษ์ กม.4 และมีกำหนดเปิดให้บริการประมาณต้นปี 2550
" เพื่อพัฒนาที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้กลายเป็นศูนย์การค้าประชาคม (Community Mall) แบบครบวงจร ที่รวบรวมสินค้า และบริการที่หลากหลาย พร้อมสถานีบริการน้ำมัน "เพียว" รูปลักษณ์ทันสมัย เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เป็นศูนย์การค้าที่ครบวงจรที่สุด โดยมีจุดเด่นที่สำคัญคือ นำศูนย์สรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหาร สาขาธนาคาร ร้านบริการสะดวกใช้ที่มีชื่อเสียงไปรวมถึงสถานีบริการน้ำมันที่ทันสมัย สะอาด ปลอดภัย มาเปิดให้บริการแก่ลูกค้า ผู้บริโภคทั่วไปอย่างพร้อมเพรียง โดยโครงการแรกของ PSDC มีชื่อว่า Pure Place ด้วยทุนการก่อสร้างกว่า 100 ล้านบาท
การร่วมทุนระหว่าง ระยองเพียวฯ และ สัมมากร ในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการ ผนึกกำลังระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้เกิดการเกื้อหนุนระหว่างกัน และเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างแท้จริง โดย ระยองเพียวฯ ดำเนินธุรกิจด้าน พลังงาน มีโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพสูง มีทรัพยากร และความเชี่ยวชาญรอบด้านเกี่ยวกับงานบริหารสถานีบริการน้ำมัน และเป็นผู้ดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน "เพียว" ซึ่งถือเป็นทางเลือก ใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูงในราคาที่เป็นธรรม
ขณะที่ สัมมากร มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และมีความมั่นคงเป็นที่ยอมรับของลูกค้ามานานกว่า 30 ปี มีที่ดินว่างเปล่าในโซนที่เป็นชุมชนอยู่อาศัยที่สามารถนำมาพัฒนาต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ดังนั้น การร่วมทุนในครั้งนี้ นอกเหนือจากการสร้างชุมชนที่มีความสวยงาม น่าอยู่อาศัย ในราคาที่ เหมาะสมแล้ว ยังได้นำที่ดินที่มีอยู่แล้วไปพัฒนาให้เกิดธุรกิจ การค้า การบริการ ในรูปแบบ Community Mall ที่มีความสะดวกสบายสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในแต่ละพื้นที่มากที่สุดด้วย อันมี บริษัท เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เป็นผู้ลงทุนในการพัฒนา
" การจับมือกันครั้งนี้นอกจากการสร้างชุมชนที่มีความสวยงาม น่าอยู่อาศัย ราคาเหมาะสมแล้ว ยังได้นำพื้นที่ซึ่งบริษัทมีอยู่แล้ว ไปพัฒนาให้เกิดธุรกิจการค้า การบริการ ในรูปแบบ Community Mall ให้ความสะดวกสะบายสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าของบริษัทในแต่ละพื้นที่มากที่สุดด้วย อันมีบริษัท เพียวสัมมากร ดิเวลอปเมนท์ จำกัดเป็นผู้ลงทุนในการพัฒนา ยิ่งทุกวันนี้ น้ำมันแพง ค่าครองชีพสูงมาก ไม่มีใครอยากขับรถออกไปไกล ๆ แล้ว นายศุภพงศ์ กล่าว
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 11, 2006 11:16 am
โดย iambuffet
ผู้จัดการรายวัน29 ธันวาคม 2548
RPC ทุ่ม 75 ล.เปิดปั๊มเพิ่ม 30 แห่ง คาดเข้าเป้า 100 สาขาในปี 50
www resources
โฮมเพจ ระยองเพียวริฟายเออร์
search resources
ระยองเพียวริฟายเออร์, บมจ.
Oil and gas
ระยองเพียวริฟายเออร์ เผยปีนี้เปิดปั๊มน้ำมันใหม่ 14 สาขา รวมที่เปิดบริการทั้งหมด 32 สาขา คาดเปิดครบ 100 สาขาในปี 50 พร้อมเตรียม งบทำธุรกิจค้าปลีกในปี 49 ไว้ที่ 75 ล้านบาท เพื่อขยายปั๊ม 30 แห่ง โดยยึดนโยบายร่วมธุรกิจกับเจ้าของเดิมเพื่อลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ
นางศิรพร กฤษณกาญจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) (RPC) รายงานความคืบหน้าโครงการขยายตลาดค้าปลีก โดยการเพิ่มสถานีบริการน้ำมันเพียวให้ครบ 100 สาขา ในปี 2550 ตามแผนงานที่ได้เคยแจ้งแก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไว้ เน้นกลยุทธ์ และนโยบายร่วมธุรกิจกับผู้ประกอบการเดิม
โดยมีการจัดสรรผลรายได้ที่เป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย ทำให้การขยายตลาดค้าปลีกในปีนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ร่วมธุรกิจมองเห็นถึงผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับอย่างชัดเจนว่า นอกจากจะหมดภาระการหาเงินทุนหมุนเวียนในภาวะราคาน้ำมันแพง และสถานีบริการฯ ที่ตนลงทุนไปแล้วจำนวนมาก จะสามารถกลับมาสร้างรายได้ใหม่แล้ว ยังไม่ต้องเสียเวลาและเสี่ยงในการบริหารสถานีบริการน้ำมันเอง
ส่งผลให้ในปีนี้บริษัทฯ สามารถเปิดให้บริการสถานีบริการน้ำมันเพียวเพิ่มขึ้นได้จำนวน 14 สาขา มีผู้ประกอบการที่ผ่านการอนุมัติเป็นผู้ร่วมธุรกิจ และอยู่ระหว่างปรับปรุงสถานีบริการฯ ที่จะพร้อมเปิดให้บริการได้ภายใน 60 วันอีก 23 สาขา โดยบริษัทฯ จะใช้เงินลงทุนในการปรับปรุงสถานีบริการฯ ใหม่ทั้ง 37 สาขา เป็นเงินทั้งสิ้น 75 ล้านบาท
สำหรับการเปิดสาขาของ RPC ณ สิ้นปี 48 มี 32 สาขา เป็นสาขาที่บริษัทฯ บริหารเอง 26 สาขา เป็นแฟรนไชส์ 3 สาขา และเป็นปั๊มเพียวชุมชน 3 สาขา รวมกับสถานีบริการที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงอีก 23 สาขา จะเป็นสถานีบริการน้ำมันเพียวทั้งสิ้น 49 สาขา ขณะที่ RPC ตั้งเป้าที่จะเพิ่มสถานีบริการน้ำมันให้ครบ 100 แห่งภายในปี 50
โดยตั้งงบประมาณในการทำธุรกิจค้าปลีกในปี 49 ไว้ 75 ล้านบาท เพื่อขยายปั๊มเพิ่มอีก 30 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเข้าไปปรับปรุงปั๊มน้ำมันที่มีอยู่เดิม โดยเน้นร่วมธุรกิจกับเจ้าของปั๊มเดิม ทำให้ใช้เงินลงทุนต่อปั๊มเพียง 2-2.5 ล้านบาท และในปีถัดไปจะใช้ทุนอีก 100 ล้านบาทเพื่อขยายสาขาเพิ่มเป็น 100 แห่ง ตามเป้าหมายด้วย
ล่าสุดบริษัทอยู่ในระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการที่สนใจจะร่วมกันทำโรงกลั่นขนาดกลาง คาดว่าจะได้ข้อสรุปปีหน้า และยังมีแผนที่จะเข้าไปถือหุ้นในบริษัท สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีคัล จำกัด (SGPC) จำนวน 50% ของหุ้นทั้งหมด หลังจากที่สยามกัลฟ์ฯสามารถเดินเครื่องจักรได้ดี ทำให้ RPC มีวัตถุดิบเพียงพอที่จะป้อนโรงกลั่น ทำให้ความเสี่ยงด้านวัตถุดิบที่รับจาก บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) หมดไป โดย SGPC จะเริ่มเปิดดำเนินการผลิตในวันที่ 10 ธันวาคมศกนี้ และจะเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตได้กลางปี 2549
ส่วนเงินลงทุนที่ใช้ในการเข้าไปถือหุ้นใน SGPC นั้น อยู่ในระหว่างการพิจารณา เพราะต้องชำระค่าหุ้นตามสัดส่วน 50% และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในโครงการที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ ซึ่งตัวเลขที่ชัดเจนยังสรุปไม่ได้ในขณะนี้ ขณะที่โรงกลั่นที่เวียดนามนั้น มีกำลังการกลั่น 2,000 บาร์เรล/วัน จะเริ่มดำเนินการได้ต้นปี 2549
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 11, 2006 11:20 am
โดย iambuffet
ผู้จัดการรายวัน21 พฤศจิกายน 2548
RPCรุกธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเตรียมกู้เงินเพิ่มรองรับการขยายงาน
www resources
โฮมเพจ ระยองเพียวริฟายเออร์
search resources
ระยองเพียวริฟายเออร์, บมจ.
Oil and gas
RPC ประกาศรุกธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเตรียมศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงกลั่นขนาด 1.5-2 หมื่นบาร์เรลที่ไทยและเวียดนาม ซึ่งใช้น้ำมันดิบและคอนเดนเสท เรสสิดิวเป็นวัตถุดิบ ลั่นจะเข้าไปใช้สิทธิซื้อหุ้น 50% ในสยามกัลฟ์ปิโตรเคมีคัลภายใน 1 ปีหลังโรงงานเดิน เครื่องฉลุยลดความเสี่ยงด้านวัตถุดิบหมด มั่นใจปีนี้รายได้ทะลุเป้า 1,300 ล้านบาท และเตรียมกู้เงินเพิ่มรองรับการขยายงาน
นายศุภพงศ์ กฤษณกาญจน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) (RPC) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้และวัตถุดิบในการตั้งโรงกลั่นในไทยอีก 2 แห่งที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ขนาด กำลังการผลิต 1.5-2 หมื่นบาร์เรล/วัน โดยจะใช้เงินลงทุนแห่งละ 1 พันล้านบาท คาดว่าจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นในปี 2549
"โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจากับบริษัทปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน) และผู้ประกอบการรายหนึ่งที่สนใจจะร่วมกันทำโรงกลั่นขนาดกลาง ซึ่ง NFC มีที่ดินยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็อยากใช้ที่ดินนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปปีหน้า"นายศุภพงศ์กล่าว
นอกจากนี้ RPC ยังมีแผนจะเข้าไปถือหุ้นในบริษัท สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีคัล จำกัด (SGPC) จำนวน 50%ของหุ้นทั้งหมด หลังจากที่สยามกัลฟ์ฯสามารถเดินเครื่องจักรได้ดี ทำให้ RPC มีวัตถุดิบเพียงพอที่จะป้อนโรงกลั่น ทำให้ความเสี่ยงด้านวัตถุดิบที่รับจาก บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC)หมดไป โดย SGPC จะเริ่มเปิดดำเนินการผลิตในวันที่ 10 ธันวาคมศกนี้ และจะเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตได้กลางปี 2549
ส่วนเงินลงทุนที่ใช้ในการเข้าไปถือหุ้นใน SGPC นั้น กำลังพิจารณา วงเงินอยู่ เนื่องจากจะต้องชำระค่าหุ้นตามสัดส่วน 50% และค่าใช้จ่ายอื่นๆในโครงการที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ ซึ่งตัวเลขที่ชัดเจนยังไม่สรุป
"SGPC สามารถป้อนวัถตุดิบใน RPC ได้ 5,000-17,000 บาร์เรล/วัน ขึ้นอยู่กับใช้น้ำมันดิบหรือคอนเดนเสท เป็นวัตถุดิบ ซึ่งเดิมเราออกแบบโรงกลั่น SGPC เพื่อป้อนวัตถุดิบให้เรา ทำให้ไม่มีความเสี่ยงจากการซื้อคอนเดนเสท เรสสิดิว จากATC ที่จะหมด อายุสัญญาซื้อขายในอีก 7 ปีข้างหน้า"
ก่อนหน้านี้ RPC ได้เข้าไปถือหุ้นใน SGPC 50% แต่เนื่องจาก SGPC ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้าง ได้ซึ่งจะมีแผนผลกระทบต่อการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯของ RPC ดังนั้น จึงได้ตัดสินใจขายหุ้นดังกล่าวทั้งหมด โดยมีเงื่อนไขว่า RPC มีสิทธิที่จะซื้อหุ้น SGPC สัดส่วน 50% ภายใน 1 ปีนับจากโรงงาน SGPC เริ่มเปิดดำเนินการ และรับซื้อคอนเดนเสท เรสสิดิวจาก SGPC จำนวน 5,000 บาร์เรล/วัน ซึ่งจะทำให้ RPC สามารถเดินเครื่องโรงกลั่นได้เต็มกำลังการผลิตที่ 1.7 หมื่นบาร์เรล/วันได้ จากปัจจุบันที่เดินเครื่องโรงกลั่นเพียง 1.1-1.2 หมื่นบาร์เรล/ วัน
หากบริษัทตัดสินใจเข้าไปลงทุน สร้างโรงกลั่นเพิ่มเติมและถือหุ้นใน SGPC จะทำให้ RPC เป็นผู้ผลิตปิโตรเลียมและปิโตรเคมีขนาดกำลังการผลิต 1 แสนบาร์เรล/วัน จากปัจจุบันที่มีกำลังกลั่นน้ำมัน 1.7 หมื่น บาร์เรล/วัน สำหรับแหล่งเงินทุนนั้นไม่มีปัญหา เนื่องจากบริษัทฯมีภาระหนี้ อยู่ประมาณ 125 ล้านบาท และคาดว่าปีหน้าจะชำระคืนหนี้ทั้งหมด จึงมีความสามารถในการกู้เงินกว่า 3 พันล้านบาท ปัจจุบัน RPC มีทรัพย์สิน 3,500 ล้านบาทและมีทุน 1,300 ล้านบาท โรงกลั่นในเวียดนามเดินเริ่มผลิตปี 49
สำหรับความคืบหน้าโครงการโรงกลั่นขนาดเล็กในเวียดนามนั้น (VTN-P) ขนาดกำลังการกลั่น 2,000 บาร์เรล/วัน จะเริ่มดำเนินการได้ต้นปี 2549 หลังจากต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ บางตัวที่มีปัญหา คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 30-40 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อ โครงการก่อสร้างโรงกลั่นนำร่องประสบความสำเร็จด้วยดี บริษัทก็มีแผนจะสร้างโรงกลั่นขนาดใหญ่ 2 หมื่น บาร์เรลในเวียดนามเพิ่มเติมอีก โดยน้ำมันที่ผลิตได้จะเน้นจำหน่ายในเวียดนาม และส่งออกไปยังกัมพูชา
นายศุภพงศ์ กล่าวต่อไปว่า ในปีหน้า บริษัทฯมีนโยบายที่จะเน้นธุรกิจ เทรดดิ้งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีรายได้จากเทรดดิ้งประมาณ 800-1,000 ล้านบาท โดยจะขยายเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าจากปัจจุบัน รวมทั้งยังให้ความสำคัญในการบุกตลาดค้าปลีกน้ำมันภายใต้แบรนด์ "PURE" ซึ่งปีนี้จะมีปั๊มน้ำมันเพิ่มเป็น 30 แห่ง โดยจะเปิด ปั๊มน้ำมันเพียวแห่งแรกในกรุงเทพฯที่ หน้าหมู่บ้านสัมมากร สุขาภิบาล 3 ใน วันที่ 26 พฤศจิกายนนี้
นายสุมิตร ชาญเมธี กรรมการบริหาร RPC กล่าวว่าการรุกตลาดค้าปลีกครั้งนี้ถือว่าเป็นการทำที่สวนกระแส เพราะมีแต่ผู้ประกอบการจะถอนตัวออกไป เนื่องจากที่ผ่านมา การ ลงทุนค้าปลีกน้ำมันของไทยเป็นการลงทุนที่เกินตัว และราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ค่าการตลาดค่อนข้างต่ำ
อย่างไรก็ตาม RPC ตั้งเป้าที่จะเพิ่มสถานีบริการน้ำมันให้ครบ 100แห่ง ภายในปี 2550 โดยตั้งงบประมาณในการทำธุรกิจค้าปลีกในปีหน้า 75 ล้านบาท เพื่อขยายปั๊มเพิ่มอีก 30 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเข้าไปปรับปรุงปั๊มน้ำมันที่มีอยู่เดิม โดยเน้น ร่วมธุรกิจกับเจ้าของปั๊มเดิม ทำให้ใช้เงินลงทุนต่อปั๊มเพียง 2-2.5 ล้านบาท และในปีถัดไปจะใช้ทุนอีก 100 ล้านบาท เพื่อขายสาขาเพิ่มเป็น 100 แห่งตามเป้าหมายด้วย
สำหรับผลการดำเนินงานกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปีนี้มี 125.95 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มี 169.61 ล้านบาท ขณะที่งวด 9 เดือนบริษัทมีกำไรสุทธิ 398.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มี 367.50 ล้านบาท อันเป็นผลจากบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นจากงวดเดียว กันของปี 47 ถึง 44% กล่าวคือมีรายได้ 10,276 ล้านบาท หรือกำไรเพิ่ม 2,949 ล้านบาท จากยอดขายทั้งในประเทศและที่ส่งออกจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
โดยเป็นผลดีจากราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้น และการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ต้นทุนต่ำลง อีกทั้งเพิ่ม ช่องทางการจำหน่ายสินค้า จากการเพิ่ม สถานีบริการน้ำมันเพียวในครึ่งปีหลัง 6 แห่ง และมั่นใจว่าปีนี้จะโกยรายได้ทะลุ 1,300 ล้านบาท จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ยังไม่ปรับลด
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 11, 2006 11:22 am
โดย iambuffet
บทสัมภาษณ์คุณสุวินัย สุวรรณหิรัญกุล
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน)
จากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่ในวงการน้ำมันและมองดูเศษน้ำมันที่ต้องกำจัดทิ้งด้วยความเสียดาย จึงตั้งเจตนารมย์แน่วแน่ที่จะปรุงแต่งเศษน้ำมันเหล่านี้ ให้เป็นน้ำมันที่ทรงคุณค่า นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และแล้ววันหนึ่งโอกาสก็มาถึงจึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันร่วมก่อตั้ง บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด ขึ้น เพื่อแปรสภาพคอนเดนเสทก้นหอกลั่น (Condensate Residue) เป็นน้ำมันดีเซลที่ประเทศมีความต้องการใช้สูงสุด
ก้าวเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ กับความภูมิใจที่ไม่มีวันสิ้นสุด
คุณสุวินัยเล่าถึงเหตุการณ์ครั้งเก่าก่อนขณะรับผิดชอบการรับซื้อก๊าซธรรมชาติ ณ แหล่งผลิตกลางอ่าวไทย แล้วเห็นคอนเดนเสทซึ่งเป็นผลผลิตพลอยได้จำนวนน้อยๆต้องถูกเผาทิ้งไป นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง หรือแม้ต่อมาก็มีการรวบรวมได้จำนวนมากพอแต่ต้องส่งออกไปขายต่างประเทศ ซึ่งในความรู้สึกของคุณสุวินัยแล้วเห็นว่าประเทศเรายังไม่ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติของเราเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดเลย ชีวิตการทำงานของคุณสุวินัยเองในโอกาสต่อมาก็ยังวนเวียนตามติดคอนเดนเสทไปเข้ากระบวนการกลั่นและใช้งานในโรงงานปิโตรเคมี ทำให้คุ้นเคย และเข้าใจถึงประโยชน์และคุณค่าของคอนเดนเสทอย่างยิ่ง รวมไปถึงการได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เมื่อมีโอกาสจึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกที่มีปณิธานเดียวกัน ได้แก่ คุณศุภพงศ์ กฤษณกาญจน์ คุณสัจจา เจนธรรมนุกูล และคุณสุมิตร ชาญเมธี ร่วมจัดตั้งบริษัทขึ้นในปี 2538 โดยได้ทำสัญญารับซื้อคอนเดนเสทก้นหอกลั่น (Condensate Residue) จากบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นเวลา 15 ปี
หลังจากทำสัญญาซื้อขายได้ไม่นาน ประเทศไทยก็ประสบวิกฤติเศรษฐกิจครั้งสำคัญ บริษัท ระยองเพียวฯ ก็เช่นเดียวกับอีกหลายบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจด้วย แม้จะสามารถหาแหล่งเงินทุนได้ก่อนเกิดเหตุถึง 1 เดือน แต่ก็ต้องใช้เงินก่อสร้างอย่างระมัดระวัง คุณสุวินัยและทีมงาน จึงได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ทั้งหมด ดำเนินการในรายละเอียดทุกขั้นตอนด้วยตัวเอง ตั้งแต่การออกแบบ ติดต่อว่าจ้าง ไปจนถึงดูแลการก่อสร้าง ในที่สุด โรงกลั่นของบริษัท ระยองเพียวฯ ก็เสร็จสมบูรณ์ภายในเวลาเพียง 1 ปี พร้อมรองรับคอนเดนเสทก้นหอกลั่นจากบริษัท อะโรเมติกส์ฯ ได้อย่างเหมาะเจาะ เป็นที่ภาคภูมิใจและชื่นใจของผู้ก่อตั้งอย่างไม่รู้ลืม
เข้าใจตัวตน .. พื้นฐานสำคัญในเวทีธุรกิจ
บริษัท ระยองเพียวฯ ถือการรู้จักและเข้าใจตัวตนขององค์กร เป็นพื้นฐานสำคัญในการวางกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทซึ่งคุณสุวินัยได้ยกตัวอย่างดังนี้
การสร้างแบรนด์ของตนเอง: เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าตลอดสายธุรกิจน้ำมัน สถานีบริการน้ำมันซึ่งเป็นธุรกิจปลายสายให้ผลตอบที่สูงกว่าธุรกิจต้นสาย บริษัท ระยองเพียวฯ ก็ได้เสริมความแข็งแกร่ง ด้วยการสร้างสถานีบริการน้ำมัน เพียว (PURE) ขึ้นเป็นแบรนด์ของตนเอง แต่รู้ดีว่ายังเป็นน้องใหม่ในวงการ ที่ไม่อาจแข่งขันกับแบรนด์ดังทั้งหลายได้ จึงได้ใช้นโยบายขาย ราคาถูกเพื่อจูงใจลูกค้า
นโยบายการลงทุน: ด้วยเงินทุนที่มีจำกัดการเลือกสร้างสถานีบริการน้ำมันและคลังน้ำมันจึงต้องมองหาสถานที่ที่ผู้อื่นไม่สนใจ แม้จะไม่สมบูรณ์แบบเมื่อแรกเห็น แต่แท้จริงแล้วยังมีศักยภาพและเหมาะกับบริษัทใหม่อย่าง ระยองเพียวฯ เช่น สถานีน้ำมันเก่าๆ หรือสถานีน้ำมันคลุมป้าย รวมถึงคลังน้ำมันจุกเสม็ด ซึ่งเมื่อปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ก็สร้างความรุ่งเรืองให้กับบริษัท ได้เช่นกัน
ก้าวต่อไปของ บริษัท ระยองเพียวฯ
ปัจจุบันประเทศเวียดนามยังไม่มีโรงกลั่น ในขณะที่มีความต้องการใช้น้ำมันสูงขึ้นมาก คุณสุวินัยกล่าวว่า บริษัท ระยองเพียวฯ ก็สนใจการร่วมทุนสร้างโรงกลั่นเล็กๆ ที่มีกำลังการผลิตเพียง 2500 บาร์เรลต่อวัน เพื่อทดสอบการประกอบธุรกิจในประเทศเวียตนาม หากประสบความสำเร็จ ก็จะขยายโครงการทันที
สุดท้ายคุณสุวินัยได้ย้ำถึงสิ่งที่เป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจ นั่นคือ บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรของบริษัทนั้น จะดำเนินการให้สอดคล้องกับทิศทางของบริษัท เช่น เมื่อมีโครงการขยายตลาดในต่างประเทศ ก็จะอบรมด้านการทำธุรกรรมต่างประเทศ เป็นต้น การอบรมส่วนใหญ่จะมีมืออาชีพมาช่วยจัดการ สำหรับ on the job training ก็จะดำเนินการเอง นอกจากนี้คุณสุวินัยยังเห็นว่าการประชุมต่างๆ ก็เป็นเวทีลับสมองที่ไม่อาจมองข้ามไปได้
ก่อนจากกันคุณสุวินัยได้ฝากแนวคิดในการทำงานไว้ว่า ขอให้ทำงานเสมือนเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นๆ ไม่สำคัญว่างานที่ทำจะเป็นอย่างไร แต่หากทุ่มเทเกินร้อย ค้นให้พบว่าหัวใจของงานอยู่ที่ไหน แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุแท้จริง รับรองได้ว่าจะต้องประสบความสำเร็จในการทำงานอย่างแน่นอน
http://www.ptit.org/sharing/vol2_page2.php
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 11, 2006 11:30 am
โดย iambuffet
โรงกลั่นเวียตนาม ได้อ่านข่าวถ้าจำไม่ผิด
เสร็จแล้วแล้ว กำลังจะเริ่มรับรู้รายได้เพิ่ม
น่าสนใจมากนะครับโรงกลั่นแล็ก แบบกำลังจะโตแบบนี้
การลงทุนมีความเสี่ยงนะครับ
แค่เอาข้อมูลหุ้นที่ผมสนใจมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเท่านั้น
นะครับ
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 11, 2006 12:12 pm
โดย ลูกอิสาน
*(เพิ่มเติม) RPC คาดมีข้อสรุปลงทุนโรงกลั่นใหม่พ.ย./หวังปีนี้รายได้ตามเป้า 3หมื่นลบ.
Source - IQ Biz
Friday, 11 August 2006 09:38
นายศุภพงศ์ กฤษณกาญจน์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) คาดว่าจะได้ข้อสรุปการศึกษาการลงทุนโรงกลั่นใหม่ภายในเดือน พ.ย.49 โดยโรงกลั่นดังกล่าวจะมีหน่วยกลั่นน้ำมันและส่วนผลิตปิโตรเคมี กำลังผลิต 7 หมื่น-1 แสนบาร์เรลต่อวัน
โดยการลงทุนจะอยู่ภายใต้นโยบายที่บริษัทจะต้องมีหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 2.5 เท่า แต่หากต้องใช้เงินทุนมากกว่าจำนวนที่กำหนดได้ บริษัทก็จะหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาร่วมทุน
ส่วนแผนซื้อหุ้นคืนจาก บริษัท สยามกัลฟ์ ปิโตรเคมีกัล จำกัด ซึ่งทำธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันที่จังหวัดเพชรบุรียังอยู่ระหว่างการศึกษา ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนครบกำหนดที่บริษัทจะสามารถซื้อหุ้นคืนประมาณ 50% ในเดือนก.พ.50
สำหรับการลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจเทรดดิ้ง บริษัทคาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งน่าจะมีส่วนช่วยให้รายได้ของบริษัทในช่วงครึ่งหลังของปี 49 ปรับตัวดีขึ้น และทำรายได้ทั้งปีได้ตามเป้าหมาย 3 หมื่นล้านบาท หลังจากที่ครึ่งปีแรกมีรายได้ไม่ถึงหมื่นล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้ในปีนี้จะมาจากธุรกิจโรงกลั่น 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท และธุรกิจเทรดดิ้ง 5 หมื่นล้านบาท
นายศุภพงศ์ กล่าวว่า บริษัทยังเดินหน้าที่จะขยายการลงทุนในต่างประเทศ โดยขณะนี้มีแผนไปศึกษาพื้นที่ในประเทศลาวที่จะทำโรงกลั่นน้ำมัน และในกัมพูชาเขมร บริษัทมีแผนจะเข้าไปลงทุนสร้างคลังน้ำมันบริเวณชายแดน เพื่อเตรียมความพร้อมในธุรกิจเทรดดิ้ง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการร่วมทุนโรงกลั่นในเวียดนามซึ่งขณะนี้ก่อสร้างเสร็จแล้วนั้น ยังไม่สามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากติดปัญหารัฐบาลกลาง แต่บริษัทก็หวังว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้
โรงกลั่นขนาด 70,000 ถึง 100,000 บาร์เรลน่าจะใช้เงินหลายหมื่นล้านนะครับ เป็นเรื่องใหญ่ คงต้องลุ้นกันพอสมควร
ส่วนโรงกลั่นในเวียดนามเป็นโครงการต้นแบบ(ใช้อุปกรณ์แบบ used) มีกำลังการผลิตนิดเดียว เพื่อทดสอบการตลาด โครงการนี้ล่าช้ากว่ากำหนดการมากครับ แล้วยังมีปัญหาอีก ลงทุนในต่างประเทศไม่ง่ายเลยครับ
ผมรู้สึกว่าบริษัทกำลังจะกระจายความเสียหายหรือเปล่า โดยการทำกิจการที่ตัวเองไม่ถนัดเช่น การเทรดดิ้งน้ำมัน หรือการทำ comunity store กับสัมมากร
rpc ก็เป็นโรงกลั่น แต่ทำไม ราคาหุ้นไม่ตามหุ้นพลังงานตัวอื่น?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 11, 2006 1:02 pm
โดย BHT
ในข่าวพูดชัดเจนเรื่อง cr แล้ว แบบนี้ก็คงมีวัตถุดิบให้ผลิตต่อไปได้ ทีนี้ก็มาดูว่าจะขายดี มีกำไรมากแค่ไหน
ว่าแต่เอา cr มากลั่นเป็นดีเซลช่ายมั้ยครับ เค้าไม่สนทำไบโอดีเซลเหรอ