หน้า 1 จากทั้งหมด 2

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 12:53 am
โดย naris
พวกเราคงเคยได้ยินว่า วอร์เรนจะเลือกจังหวะการลงทุนเมื่อมี "ปรากฎการณ์ข่าวร้าย"
และเลือกใช้กลยุทธ์ "การลงทุนสวนกระแสแบบคัดสรร "
โดยเขาจะเลือกลงทุนเฉพาะ"บริษัทที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเท่านั้น"

และนั่นแหละคือประเด็นที่ทำให้ผมขบคิด เพื่อที่จะอธิบายให้กับตัวเองฟังให้ได้ว่า "บริษัทที่ว่า กรอบมันอยู่ตรงไหน และอะไร" (เพราะในปัจจุบัน บริษัทที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีและมีแบรนด์เนมที่แข็งแกร่งที่เข้าข่าย "ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน" เช่น BH,MINT,HMPRO,BIGC,IT  ได้มี PEที่สูงขึ้นจนไม่มีส่วนเผื่อแห่งความปลอดภัยที่เพียงพอในการซื้อ)
ผมเลยลองสรุปองค์ประกอบของคำจำกัดความ"ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน"ด้วยสติปัญญาอันน้อยนิด :oops: ออกมาดูได้ดังนี้

1.ต้องเป็น บ.ที่เป็นผู้นำด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน  มีคู่ค้าที่มีความสัมพันธ์ที่ดี(win-win) ,มีลูกค้ากระจายหลายราย และ สามารถขึ้นราคาสินค้าได้เมื่อต้นทุนวัตถุดิบขึ้น

2.ต้องมีผลิตภัณฑ์ที่อายุยืนยาวในตลาด ไม่ตกรุ่น ตกสมัย และไม่ต้องเสียเงินพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ตลอดเวลา


3.ต้องใช้เงินลงทุนต่อยอดขายหรือกำไรที่ต่ำ  โดยสามารถดูระยะยาวได้จากบริษัทต้องมีกำไรสะสมที่เพิ่มขึ้น และไม่มีการเพิ่มทุน ถ้ายอดขายไม่ได้เพิ่มแบบก้าวกระโดด

4.จำนวนคนที่จะต้องใช้สินค้าหรือบริการนี้ในอนาคตต้องมากขึ้น หรือเม็ดเงินที่ใช้ต่อคนจะสูงขึ้น

5.บ.ต้องมีประสิทธิภาพในการทำกำไรสูงกว่าคู่แข่ง โดย2วิธี
  5.1มีกำไรขั้นต้นที่สูงกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจนและยั่งยืน จาก
    -ต้นทุนที่ถูกกว่าเช่น economy of scale, logisticที่ดีเป็นต้น  หรือ
    -สามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่า โดยมีจุดเด่นที่คู่ค้ายอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นแลกกับสิ่งที่คู่ค้าต้องการ
      เช่น MK ยอมซื้อไข่ใบละ5บาทจากซีพี ทั้งที่ในตลาดราคาฟองละ 2บาท เป็นต้น
   5.2การหมุนรอบของการขาย ต่อ เงินลงทุน สูงกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจน

ปล.แต่ต้องเป็น บ.ที่ผ่านการคัดเลือกเรื่องธรรมาภิบาลแล้วเท่านั้น

   เมื่อสรุปได้เช่นนี้แล้ว ผมเลยลองใส่ข้อมูลของบริษัทหนึ่งที่ผมสงสัยว่าจะเข้าข่าย บ.ที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน หรือเปล่า สาเหตุที่ผมสนใจ บ.นี้ก็เพราะว่า ราคาหุ้น ณ.วันนี้ยังเท่ากับวันนี้ เมื่อปีที่แล้ว แต่รายได้โตขึ้นกว่า 40%  แต่สาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้นไม่ไปไหนเพราะ ความคาดหวังของนายตลาดที่เห็นกำไรสุทธิที่เพิ่มเพียง10%    
   
   แต่พอลองเจาะลึกลงไปในสาเหตุที่ทำให้กำไรสุทธิ โตช้ากว่ายอดขาย ก็มาจาก 2ข้อคือ-ต้นทุนวัตถุดิบขึ้นเร็วเกินไป และ ค่าเสื่อมจากโรงงานใหม่นั่นเอง

   และเรามาลองดูถึงเกณฑ์ทั้ง5ข้อกันนะครับว่า บ.นี้จะผ่านการคัดเลือกหรือเปล่า

1. บ.นี้เป็นผู้รับจ้างผลิต โดยปัจจุบันเป็นผู้นำการผลิต(โดยสามารถผลิตสินค้าได้ดีและถูกกว่าผู้จ้างผลิต)

2. สายการผลิต และประเภทสินค้าไม่เคยเปลี่ยนมานานกว่า 10ปี และคาดว่าอนาคตก็ยังไม่เปลี่ยน

3. ดูจากงบการเงินและโทรไปสอบถามถึงผู้บริหาร เครื่องจักรไม่ซับซ้อน ไม่มีตกรุ่น และอายุการใช้งานนานกว่าค่าเสื่อม

4. พฤติกรรมของโรงงานในอนาคตจะ จ้างผลิตและประกอบมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประหยัด และคล่องตัวมากขึ้น ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคปลายทาง นับวันปริมาณการใช้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ

5.ประสิทธิภาพการทำกำไรสูงกว่าคู่แข่งมาจากการ economy of scale และ การบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม

 สรุปว่า บ.นี้ผมว่ามีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน และ จุดที่ผมสนใจ คือ ไตรมาท3นี้ผู้บริหารให้ข่าวว่าจะเริ่มมีกำไรจากโรงงานใหม่ และเช็คข้อมูลวัตถุดิบปีนี้ถึงปีหน้า(จากพี่หมอดูให้)ค่อนข้างมั่นใจว่าราคาวัตถุดิบได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ทำให้กำไรขั้นต้นปีหน้าจะดีขึ้นมากกว่าปีนี้ และกำลังการผลิตปี2550น่าจะมากกว่าปีนี้ถึง30% แถมยังได้ boi มาประหยัดภาษีจากโรงงานใหม่ ผมเลยคาดว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ก้าวกระโดดของกำไรที่อาจมากกว่าที่ฝันไว้อีก

## ผมถึงค่อนข้างมั่นใจว่าไตรมาท3เป็นต้นไปจะเป็นไตรมาทที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆสำหรับ SNC ครับ##

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 1:03 am
โดย สุมาอี้
เป็นกระทู้ที่ดีมากครับ  :cool:

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 1:38 am
โดย วัวแดง
เยี่ยมครับ :D

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 4:31 am
โดย ฐิติ
เมื่อคืนเผลอหลับไปพร้อมกับลูกตอนหัวค่ำ เลยมาตาสว่างตอนตี4

ไม่รู้จะทำอะไร เลยเข้าบอร์ดมาหาความรู้ใส่สมอง
มาเจอกระทู้พี่นริสอันนี้ นั่งอ่านสองรอบแล้ว คุ้มค่าการตื่นนอน

ดีจริงๆครับ เขียนบ่อยๆนะครับพี่นริส

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 8:21 am
โดย miracle
ขอบคุณมากครับ
ตื่นนอนเลยเจอกระทู้นี้เข้าไป

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 8:50 am
โดย สามัญชน
เนื่องจากทองแดงเป็นวัตถุดิบที่สำคัญและเป็นสัดส่วนของต้นทุนการผลิตที่สูงมาก  ถ้าต้นทุนตัวนี้ถูกลงย่อมจะทำให้กำไรของ SNC ดีขึ้นมากตามไปด้วย

ราคาทองแดงได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้น(เริ่มเข้าสู่วัฏจักร)เมื่อกลางปี 2003 นับถึงตอนนี้ก็ผ่านไปสามปีแล้ว ปัจจุบันพบว่ามีเหมืองทองแดงเปิดใหม่เพิ่มขึ้นมากบวกกับเหมืองเดิมก็เพิ่มกำลังการผลิตพอสมควรซึ่งได้ส่งผลให้ supply ขยายขนาดไปด้วย

และเมื่อเทียบสัดส่วนระหว่าง supply/demand พบว่า supply เริ่มนำหน้าไปแล้ว และจะนำมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต ดังนั้นโอกาสที่ราคาทองแดงจะเริ่มปรับตัวลดลงจะมีมากกว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นถ้าไม่มีปัจจัยอื่นๆมาแทรกแซง เช่น แรงเก็งกำไรของกองทุน hedgefund ต่างๆทั่วโลก หรือปัจจัยอื่นๆ

และดังนั้น SNC ย่อมมีโอกาสได้กำไรเพิ่มมากขึ้นถ้าราคาทองแดงลดลง โดยที่ปัจจัยตัวใหม่นี้เป็นแรงเสริมที่นอกเหนือจากปัจจัยที่แข็งแกร่งของบริษัทเอง

แต่บังเอิญได้คุยกับน้องลูกอิสานเรื่องนี้พอดี  ลูกอิสานบอกว่า SNC ผลักภาระเรื่องราคาทองแดงให้ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบอยู่แล้วซึ่งหมายความว่า ถ้าราคาทองแดงถูกลง ลูกค้าจะเป็นผู้ได้ประโยชน์แทนเป็นส่วนใหญ่

บังเอิญว่าผมไม่ได้ตาม SNC จึงไม่ค่อยรู้รายละเอียด  ก็เลยไปอ่าน 56-1 ดู ก็พบว่า
2. ปัจจัยความเสี่ยง
2.2  วัตถุดิบ
2.2.2  ราคา
    1.
    2.
    3. การบริหารต้นทุนร่วมกับลูกค้า โดยบริษัทจะชี้แจงให้ลูกค้าทราบและเข้าใจถึงสถานการณ์ของวัตถุดิบรวมถึงความจำเป็นในการปรับราคาโดยจะเป็นการร่วมกันรับภาระที่เพิ่มขึ้น
    4. บริษัททำการเสนอราคาให้กับลูกค้ารายใหญ่บางราย ด้วยราคาที่ไม่รวมวัตถุดิบ เพื่อลดภาระความเสี่ยงจากต้นทุนราคาทองแดงที่สูงขึ้น
ก็สรุปว่า เป็นอย่างที่น้องลูกอิสานบอกไว้  แต่ snc ก็ยังได้ประโยชน์มากอยู่ถ้าราคาทองแดงลดลงจริง เพราะที่ผ่านมาไม่ได้ผลักภาระให้ลูกค้าทั้งหมด

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 8:55 am
โดย คัดท้าย
คุณ Naris และ แฟนคลับ SNC ท่านอื่นๆ พอทราบหรือเปล่าครับว่า SNC ไปไปทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองแดงไว้(ในราคาที่สูง)มั่งหรือเปล่าครับ ??

พอมีใครทราบมั้ย ไม่ทราบว่าเราจะเช็คได้หรือเปล่าครับ ถ้าไม่มีข้อนี้ผมว่า SNC น่าจะฉลุยครับ

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 8:57 am
โดย สามัญชน
แม้ผมจะเชื่อว่า  เมื่อราคาทองแดงลดลง SNC ก็คงจะลดราคาสินค้าลงตามไปด้วย  แต่ก็น่าจะได้ประโยชน์ทางอ้อมบ้าง  ต่อให้ทางตรงไม่ได้เลยก็ตาม

และถ้า SNC ไม่ลดราคาสินค้าลง หรือลดลงไม่มาก SNC ก็ย่อมจะได้ประโยขน์ไม่น้อยเลย

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 9:14 am
โดย คัดท้าย
[quote="สามัญชน"]แม้ผมจะเชื่อว่า

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 9:31 am
โดย big15096
ตื่นขึ้นมาอ่านด้วยคนครับ

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 9:41 am
โดย nanakorn
ขออนุญาตเข้ามาหาความรู้ครับ  ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทนี้เลยครับ

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 11:00 am
โดย tatandchin
เห็นข่าวว่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ค่อยดีนักเพราะกำลังซื้อหด และประเทศคู่ค้าสำคัญของเรา (สหรัฐ) ก็เข้าสุ๋ช่วงชะลอตัว (ไม่รู้ว่าสินค้า บ. ที่จ้าง snc ผลิต ส่งออกไปที่ไหนบ้าง) และถ้าจำไม่ผิด ทาง บ. เคยลดเป้ายอดขายีนี้ลงด้วยครับ แค่ความเห็นเล็กๆ ครับ

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 11:15 am
โดย naris
[quote="คัดท้าย"][quote="สามัญชน"]แม้ผมจะเชื่อว่า

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 11:23 am
โดย naris
tatandchin เขียน:เห็นข่าวว่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ค่อยดีนักเพราะกำลังซื้อหด และประเทศคู่ค้าสำคัญของเรา (สหรัฐ) ก็เข้าสุ๋ช่วงชะลอตัว (ไม่รู้ว่าสินค้า บ. ที่จ้าง snc ผลิต ส่งออกไปที่ไหนบ้าง) และถ้าจำไม่ผิด ทาง บ. เคยลดเป้ายอดขายีนี้ลงด้วยครับ แค่ความเห็นเล็กๆ ครับ
คงจำผิดครับ เพราะผู้บริหารตั้งเป้ายอดขายไว้40-45% ตั้งแต่ต้นปีและเท่าที่ผมคำนวนดู ครึ่งปีแรกได้ 46%ครับ ส่วนครึ่งปีหลังนี้ผมคำนวนจากข้อมูลที่มีน่าจะโตมากกว่าปีที่แล้ว มากกว่า50%ครับ

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 11:34 am
โดย วัวแดง
รคาทองแดงเริ่มลงครับ และมีเด้งขึ้น

ผมว่ายังลงไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่นะครับ

แต่มีผู้บริหารซื้อคืนอยู่เรื่อยๆ ราคาหุ้นเลยลงไม่ลึก

เห็นตัวนี้ทำให้นึกถึงตอนที่ผู้บริหารซื้อ mint,minor คืน ทำให้สภาพคล่องหายไป พอมีกำไรเติบโตราคาหุ้นจึงขึ้นแรง ม้ากมาก :D

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 11:36 am
โดย BHT
:bow:  :bow:  :bow:

เยี่ยมจริงๆเลย

ผมเห็นหนังสือเล่มหนึ่ง เป็นเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจให้มีความสามารถเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน ผมเห็นแล้วน่าสนทีเดียว เลยว่าจะซื้อมาอ่านแระ

พอดีผมจะเริ่มทำธุรกิจเองแล้วด้วยน่ะครับ เลยต้องศึกษาไว้

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ต้นกำเนิดของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าด้วย น่าสนใจมากเลย

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 11:43 am
โดย yoyo
หลังจากที่ผมไปร่วมแจม ilink ของพี่ Naris อยู่นาน
ในที่สุดพี่ naris ก็มาร่วมแจม snc กะผมซะที  :lol:
2 บริษัทนี้ผมมองว่าทั้งตัวผู้บริหารและตัวธุรกิจค่อนข้างแข็งแกร่งและราคายังไม่แพงเหมือนหุ้นที่แข็งแกร่งมากๆ เช่นหุ้นโรงพยาบาลกับหุ้นค้าปลีกครับ

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 12:15 pm
โดย ลุงทีม
ถ้ามองในด้านธุรกิจที่จะเติบโตแบบยั่งยืน...ผมชอบ MINT กับ BIG-C มากกว่า

อีกตัวคงจะเป็น HMPRO แต่ถ้า เมื่อไหร่ "บุญถาวร" เข้าตลาด...ก้อขอเลือกบุญถาวรแทน... :shock: :shock:  :shock:

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 12:16 pm
โดย iceberg
สำหรับผม มีความเห็นกับธุรกิจของ SNC ดังนี้ครับ

มองว่ากิจการของ SNC ขึ้นกับประสิทธิภาพในการผลิต หากสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าคู่แข่ง ซึ่งก็คือ ลูกค้าของบริษัทเอง กิจการก็ดำเนินต่อไปได้ แต่เมื่อไรประสิทธิภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญแบบต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อันนี้อาจเกิดปัญหาในอนาคตได้

สำหรับตัวสินค้าของธุรกิจเอง เป็นชิ้นส่วนประกอบของพวกคอมเพรสเซอร์แอร์ รวมถึงตู้เย็น ผมมองว่า เวลาลูกค้าไปซื้อแอร์ คงไม่มีใครบอกว่าอยากซื้อแอร์หรือตู้เย็นยี่ห้อที่ใช้ชิ้นส่วนประกอบของ SNC เค้าซื้อแอร์ที่ยี่ห้ออย่างเดียว ไม่ได้สนใจว่าชิ้นส่วนจะผลิตที่ไหน โดยใคร หากชื่อเสียงของยี่ห้อกับราคาเหมาะสม เค้าก็สนใจที่จะซื้อ

ทำให้ผมมองว่า ต่อไปหากมีบริษัทไหนมีความสามารถในการผลิตต้นทุนต่ำและคุณภาพพอๆหรือดีกว่า SNC คิดว่าลูกค้าของ SNC ก็พร้อมที่จะย้าย order ไป เนื่องสินค้าเค้าขายยี่ห้อ ไม่ได้ขายว่าใครจะผลิต แต่เหตุการณ์แบบนี้คงไม่ใช่ในเวลาอันสั้น แต่ที่ผมมองเห็น คือ เวียดนาม ตอนนี้มาแรงมาก คงต้องมองดูต่อไป

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 12:31 pm
โดย vikid
ผมขออนุญาตพี่ๆนะครับ เนื่องจากความรู้อันน้อยนิดจีงอยากขอให้พี่ๆที่แก่วิชาแล้วช่วยแสดง STEP การวิเคราะห์ราคาที่เหมาะสมให้เห็นเป็นบุญตาสักหน่อยได้ไหมครับ พอดีอยากรู้ว่าที่อ่านๆหนังสือท่านพี่สุมาอี้มามัน Apply กันยังไงน่ะครับ

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 2:39 pm
โดย โอ@
ถือหุ้นร่วมกันอีกตัวแน่ๆเลยพี่  :D

เรื่องทองแดงลดราคาบริษัทไม่น่าจะได้ประโยชน์มากนักนะครับ
เพราะว่ายังไงก็ทำสัญญาเป็น Variable cost อยู่แล้ว
อีกอย่างไตรมาสสามคงได้แค่ดีกว่าปีที่แล้ว แต่จะให้โดดเด่นคงยากเหมือนกัน
ตอนนี้ต้องมองไปที่ Metal sheet ที่ใช้เครื่องปั้มขนาด 200-500 ตันครับ
ว่าจะทำได้ดีแค่ไหน

เริ่มแตกไลน์ออกจากทองแดงแล้วตอนนี้

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 5:21 pm
โดย สามัญชน
น้องคัดท้าย ถามว่า
ที่ผมกังวลคือ ต้องลดราคา แต่ดันไปซื้อทองแดงล่วงหน้าแพงๆไว้หนะซิครับ

พี่สามัญชนได้เช็คเรื่องนี้หรือยังครับ?
ยังไม่ได้เช็คครับ

แต่พี่เดาว่าคงจะซื้อล่วงหน้าไว้แล้วครับ  นโยบายล่าสุดเห็นว่าจะซื้อสำรองไว้ 4-6 เดือน

ดังนั้นในวัฏจักรขาลง(สมมติว่าจะเริ่มลงจริงนะครับ)บริษัทอาจจะเสียเปรียบในแง่ที่ราคาทองแดงที่ซื้อไว้ในสต็อคจะมีราคาสูงกว่าราคาทองแดง ณ.เวลาที่ผลิตเป็นสินค้าแล้วเสมอ  

วิธีแก้ของบริษัทมีหลายวิธี  วิธีที่ดีๆและได้ประโยชน์ต่อบริษัทก็มีเช่นกันแต่ก็ขึ้นกับสถานะและตำแหน่งของบริษัท

1. ถ้าบริษัทมีความเข้มแข็งและสินค้าเป็นที่ต้องการมาก  (หมายถึงพลังที่ 4 ซึ่งว่าด้วยอำนาจต่อรองต่อลูกค้ามีสูง ) บริษัทก็สามารถจะยืนราคาให้เดิมได้สักสี่ถึงหกเดือน ก็จะไม่เสียหายอะไร หรืออาจจะยืดไปเป็นปีๆถ้าแข็งจริงๆก็ได้

และเมื่อรอจนราคาทองแดงลงไปถึงจุดปกติจริงๆ และอยู่ตัวที่จุดนั้นๆอย่างยาวนานเหมือนในอดีตที่ผ่านๆมาบริษัทก็จะได้ประโยชน์เต็มที่

2. ถ้าพลังที่ 4 มีน้อย  บริษัทก็จะเสียเปรียบเพราะซื้อมาแพงแต่ต้องขายถูก  กำไรในเรื่องนี้ก็จะถูกกระทบค่อนข้างมาก

3. ถ้าบริษัทอยู่ในตำแหน่งเบอร์ 1 ของวงการ  การที่ราคาทองแดงอยู่ในช่วงขาขึ้นบริษัทจะได้ประโยชน์  แม้จะต้องขายของแพงขึ้น  แต่คู่แข่งก็จะลำบากเช่นกัน  และลำบากมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะไม่มี economy of scale

แต่ในภาวะขาลงของทองแดง  คู่แข่งที่เคยเกือบจะล้มตายก็อาจจะเริ่มฟื้นตัว  เหมือนหญ้าเจอน้ำฝน  และสักพักก็จะงอกขึ้นใหม่รกรุงรังไปหมด

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 7:52 pm
โดย thawattt
ขอบคุณสำหรับกระทู้ที่คุณนริศตั้งประเด็นไว้อย่างดีเลยครับ

ผมยังไม่ได้ศึกษาลงลึกในรายละเอียดนะครับ แต่ผมมองปัจจัยเสี่ยงในเรื่องนี้ 3 ประเด็นครับ

1.  การที่บริษัทรับจ้างผลิต นั่นหมายถึง ความเสี่ยงของบริษัทจะไปอยู่ที่โรงงานผู้ว่าจ้างผลิต หรือ Down Stream ดังนั้น ยอด Order การสั่งซื้อจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ ต้องอยู่ที่โรงงานผู้ผลิตต้องแข็งแกร่ง ผลิตภัณฑ์ที่ขายต้องโดดเด่น และสามารถขยายอัตราการเติบโตได้สูงอย่างต่อเนื่อง Demand การจ้างการผลิตจึงจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาว และอย่างยั่งยืนครับ คำถามก็คือ ในเมื่อ ถ้าตลาดขยายไปถึงจุดหนึ่งแล้ว และถ้าตลาด Downstream แข่งขันกันมาก ทำให้ต้องแข่งขันด้าน Pricing ราคากันมาก มีโอกาสที่โรงงานผู้ผลิตจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์มาทำ Upstream หรือไม่

2.  ผลิตภัณฑ์ของบริษัท มีโอกาสในการขยายธุรกิจไปรับจ้างผลิตให้กับโรงงานผลิตประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เพราะถ้าหากความเสี่ยงที่ 1 มีโอกาสเกิดขึ้น บริษัทมีทางออกในการผลิตเรื่องนี้อย่างไร ยกตัวอย่างนะครับ บริษัทแห่งหนึ่งรับจ้างผลิตอาวุธสงครามเช่นรถถัง Demand ก็จะอยู่ที่ความต้องการซื้อรถถัง ถ้ามีมากก็โต ถ้าน้อยก็ไม่โต ถ้าหากไม่โต บริษัทสามารถดัดแปลงการผลิตไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ผลิตรถยนต์พาณิชย์แทนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ อันนี้ก็อาจเป็นความเสี่ยงในการที่จะหนีออกจากธุรกิจเดิมที่อาจจะแย่ลงในอนาคต

3.  ประสิทธิภาพการผลิตและการผลักภาระให้กับลูกค้า การที่บริษัทเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การผลักภาระให้กับลูกค้าในอนาคต หากผลิตภัณฑ์ของลูกค้ามีความยืดหยุ่นต่อราคาต่ำและต่อเนื่อง ก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้า Demand มัน Shift ออกไปเป็นความยืดยืดหยุ่นสูง ตรงนี้เป็นไปได้ในอนาคตหรือไม่ที่โรงงานจะต่อรองราคากับผู้ผลิตมากขึ้น นอกจากนี้การผลิตแบบเดิม ๆ โดยไม่มีการเพิ่มมูลค่าเพิ่มแล้วผลักภาระให้กับลูกค้า ตรงนี้จะเกิดยั่งยืนได้ ก็ต้องขึ้นกับลักษณะของ Demand ของ Downstream ประกอบครับ นอกจากนี้หลาย ๆ ท่านได้ลงลึกไปถึงวัตถุดิบคือทองแดงแล้ว คำถามคือ ถ้าระดับราคาทองแดงสูงขึ้นมาก มีโอกาสที่จะใช้วัสดุอื่น ๆ ทดแทนได้หรือไม่ อันนี้ก็เป็นความเสี่ยง เหมือนกับน้ำมัน ถ้าหากราคาสูงขึ้นมาก ก็จะมีการผลิตพลังงานทดแทนมาใช้มากขึ้นครับ

ขอบคุณสำหรับกระทู้ดี ๆ นะครับ เดี๋ยวจะลองไปศึกษาข้อมูลครับ

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 9:01 pm
โดย por_jai
[quote="สามัญชน"]
บังเอิญว่าผมไม่ได้ตาม SNC จึงไม่ค่อยรู้รายละเอียด

Re: ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 9:06 pm
โดย por_jai
[quote="naris"]

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 9:31 pm
โดย สุมาอี้
ผมไม่มีความเห็นเกี่ยวกับ SNC เพราะยังไม่เคยศึกษา แต่ชอบวิธีคิดในการเลือกหุ้นครับ

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 9:36 pm
โดย por_jai
[quote="คัดท้าย"][quote="สามัญชน"]แม้ผมจะเชื่อว่า

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 9:40 pm
โดย por_jai
8) แฮะ..แปะรูปไม่ขึ้นครับ แปะใหม่ครับ

รูปภาพ

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 10:24 pm
โดย big15096
ขึ้นครับ คุณพอใจ เเต่ขึ้นช้า

ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 24, 2006 10:26 pm
โดย por_jai
iceberg เขียน:สำหรับผม มีความเห็นกับธุรกิจของ SNC ดังนี้ครับ

มองว่ากิจการของ SNC ขึ้นกับประสิทธิภาพในการผลิต หากสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าคู่แข่ง ซึ่งก็คือ ลูกค้าของบริษัทเอง กิจการก็ดำเนินต่อไปได้ แต่เมื่อไรประสิทธิภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญแบบต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อันนี้อาจเกิดปัญหาในอนาคตได้

8) ผมได้ไปดูโรงงานของ SNCที่ระยอง
    ถ้านับเฉพาะงานชิ้นส่วนที่เป็นท่อทองแดง ท่อมิเนียม
    ในฐานะที่ผมเคยอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม มาเป็นสิบๆปี
    ผมว่าไร้เทียมทานครับ
    ทั้งฮาร์ดแวร์คือเครื่องจักร ที่มีจำนวนเยอะ ใช้ได้นานเกินค่าเสื่อมและทำได้เองด้วยต่างหาก
    และซอฟแวร์คือพนักงาน ที่มีระบบมินิเอ็มดี มาควบคุมและคิดผลงานตามเนื้องานที่ผลิตออกมาได้
    ที่สำคัญดูปริมาณงานที่ทำกันอยู่วันนั้นเห็นแล้วชื่นใจครับ
    ชื่นใจจริงๆนะครับที่ได้ถือหุ้นของเขา
    เพราะดูแล้วเรายังไงก็ ไม่มีความสามารถ set up business อย่างนี้ได้
    ผมว่าเรื่องที่คุณiceberg เป็นห่วงนี่เกิดขึ้นได้ยากครับ



สำหรับตัวสินค้าของธุรกิจเอง เป็นชิ้นส่วนประกอบของพวกคอมเพรสเซอร์แอร์ รวมถึงตู้เย็น ผมมองว่า เวลาลูกค้าไปซื้อแอร์ คงไม่มีใครบอกว่าอยากซื้อแอร์หรือตู้เย็นยี่ห้อที่ใช้ชิ้นส่วนประกอบของ SNC เค้าซื้อแอร์ที่ยี่ห้ออย่างเดียว ไม่ได้สนใจว่าชิ้นส่วนจะผลิตที่ไหน โดยใคร หากชื่อเสียงของยี่ห้อกับราคาเหมาะสม เค้าก็สนใจที่จะซื้อ

8) ข้อนี้ไม่ใช่แต่คุณiceberg ว่านะครับ
    ท่านดร.ก็พูดไว้ตอนงานที่วิศวกรรมสถาน
    ท่านว่า SNC เป็นหุ้นที่ใครๆก็สงสัยว่าทำไมท่านไม่ซื้อไว้
    ทั้งๆที่เข้าข่ายหุ้นที่ท่านเคยให้ criteria ไว้หลายข้อมาก
    ผมว่า ถ้า SNC มีแบรนดิ้งเป็น ตัวที่ทำให้มี dca แล้วไซร้
    คุณก็จะไม่ได้เห็นหุ้นราคาเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้หรอกครับ


ทำให้ผมมองว่า ต่อไปหากมีบริษัทไหนมีความสามารถในการผลิตต้นทุนต่ำและคุณภาพพอๆหรือดีกว่า SNC คิดว่าลูกค้าของ SNC ก็พร้อมที่จะย้าย order ไป เนื่องสินค้าเค้าขายยี่ห้อ ไม่ได้ขายว่าใครจะผลิต แต่เหตุการณ์แบบนี้คงไม่ใช่ในเวลาอันสั้น แต่ที่ผมมองเห็น คือ เวียดนาม ตอนนี้มาแรงมาก คงต้องมองดูต่อไป

8) ผมชักสงสัยแล้วว่าคุณiceberg นี่เป็นคนเวียตนามหรือเปล่า
    ล้อเล่นนะครับ

    เวียตนามสิครับต้องกลัวไทย
    ไทยทำไมต้องไปกลัวเวียตนาม
    ผมเคยไปมาหลายครั้งแล้วครับเวียตนาม
    ที่โรงแรมที่แพงที่สุดก็ไปพักมาแล้ว
    เป็นเรืออยู่ริมน้ำที่โฮจิมินท์ซิตี้
    ตื่นมาตอนเช้าเปิดม่านในห้องดูบรรยากาศรอบๆแม่น้ำ
    โทษทีนะครับ ยังนั่งอึกันอยู่ริมแม่น้ำอยู่เลยครับ
    ผมว่ายังอีกหลายปีอยู่ครับ

    ผมว่าคู่แข่งของSNC ในเมืองไทย ที่ว่าเขี้ยวๆทั้งหลาย ยังไม่มีเลย
    อย่าไปห่วงถึงเมืองนอกเลยครับ
    ที่คุณสมชัยห่วงคือห่วงว่าลูกค้าทำเองครับ
    ไม่ยอมมาจ้างแกทำ
    สินค้าที่SNC ทำส่งพวกญี่ป่นเกาหลี ส่วนใหญ่
    ต้องรับประกันหลายๆปีที่เดียวนะครับ
    ไลน์การผลิตก็ต้องอยู่คนละที่กัน ถ้าเป็นคนละยี่ห้อ
    เพราะแต่ละยี่ห้อ ไม่ต้องการให้คู่แข่งเห็นเทคนิคเฉพาะตัว
    เอาใจทุกอย่างละครับ
    ไม่เก่งจริง อยู่ในธุรกิจนี้ไม่ได้หรอกครับ
    คุณสมชัยนี่ไม่ธรรมดาจริงๆ อายุก็ยังน้อย
    ถามเรื่องคู่แข่งทีไร นี่แกตอบแบบแทบไม่ต้องคิดทุกทีเลย..