หุ้นสินเชื่อแย่ขัดศก.พอเพียง
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 06, 2006 10:32 pm
หุ้นสินเชื่อแย่ขัดศก.พอเพียง - ติดโผ 14 ตัว KTC AEONTS หนักสุดปล่อยกู้บุคคล
Source - ข่าวหุ้น
Friday, 06 October 2006 05:13
จับตา 14 หุ้นเฉา ดำเนินธุรกิจขัดนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลใหม่มีโอกาสโตยากทางการไม่หนุน เคทีซี อิออนแย่สุด เน้นปล่อยกู้สินเชื่อบุคคล ถูกมองแหล่งเพาะคนไทยมือเติบ ขณะที่ปล่อยเช่าซื้อรถยนต์ SPL ติดโผ เล่นตลาดรถยนต์ใหม่
อนาคตหุ้นสินเชื่อเช่าซื้อ และบุคคลไม่สดใส หลังพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ประกาศนโยบายนำพาประเทศโดยยึดแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับบริษัทดำเนินธุรกิจปล่อยกู้ เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้จ่ายเกินตัว เพราะจะไม่ได้รับการส่งเสริม หรือเกื้อหนุนให้เติบโตได้ดีนักภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ ในทางกลับกันอาจมีนโยบายให้ดำเนินธุรกิจยากขึ้น
โดยบริษัทที่เป็นแหล่งพึ่งพิงสำคัญ และปล่อยเงินกู้ให้ประชาชนใช้เงินเกินตัว มีทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และอยู่นอกตลาด ซึ่งในส่วนของที่อยู่ในตลาดพบว่ามีจำนวน 14ราย แบ่งเป็นให้สินเชื่อบุคคล 2 รายได้แก่บริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AEONTS บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC
ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อมี 10 รายได้แก่ บริษัทเอเซียเสริมกิจ จำกัด (มหาชน) หรือASK บริษัทตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ ECL บริษัทกรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ GL บริษัทกรุงไทยคาร์เรนท์แอนด์ลีส จำกัด (มหาชน) หรือ KCAR บริษัทไมด้าลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ ML
บริษัทนวลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NVL บริษัทภัทรลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือPL บริษัทราชธานีลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ THANI บริษัทฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือTK บริษัทสยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPL และบริษัทสแกนดิเนเวียลีสซิ่งจำกัด (มหาชน) หรือ SCAN
ส่วนอีกรายเน้นปล่อยสินเชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่บริษัทดีอี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ DE
สำหรับบริษัทมีอยู่นอกตลาดมีอยู่ 3 แห่งที่ค่อนเป็นที่รู้จัก ได้แก่บริษัทแคปปิตอล โอเคจำกัด (มหาชน) บริษัทอีซี่บาย จำกัด (มหาชน) และบริษัทเฟิร์สช้อย จำกัด
ทั้งนี้เชื่อว่าในส่วนของบริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล น่าจะถูกจับตามองมากสุด ว่าการดำเนินธุรกิจขัดกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด เนื่องจากบริการปล่อยเงินให้กับประชาชนในรูปแบบเงินสด เพื่อนำไปใช้สอยอะไรก็ได้ ไม่ได้มีขีดจำกัด และยังถือเป็นแหล่งรีไฟแนนซ์หนี้หลักของประชาชน ดังนั้น KTC และ AEONTS ถือว่าทำธุรกิจลำบากขึ้นจากนโยบายดังกล่าว
ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อกลุ่มที่เล่นปล่อยกู้รถยนต์ใหม่น่าจะได้รับผลกระทบ อาทิ SPL MLมากกว่าพวกเน้นปล่อยกู้รถมือสอง และรถกระบะ
โดยในส่วนของสินเชื่อบุคคลม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.ถือว่าเล็งเห็นถึงปัญหาของธุรกิจเหล่านี้มานานแล้ว และค่อนข้างเข้ามาจับตาดูเป็นพิเศษ
โดยได้มอบหมายนโยบายผ่านมือขวาอย่างนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าด้านเสถียรภาพสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศ ให้ดึงธุรกิจนี้เข้ามาดูแลรับผิดชอบเอง จากเดิมอยู่ในความดูแลของกระทรวงพาณิชย์
ทั้งนี้นางธาริษา ถือว่ารับนโยบายดังกล่าวได้ดี โดยได้ออกกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้นทั้งในส่วนของการตีกรอบการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด การตั้งสำรองต่อหนี้เสีย เพื่อไม่ให้ธุรกิจสร้างความเสียหายให้กับภาพรวมของเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเพดานการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิมกำหนดไว้ 5% เป็น 10% ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณอย่างมีนัย คือออกมาตรการที่เข้มข้น เพื่อให้คนมีกำลังผ่อนชำระลดลงซึ่งช่วยจำกัดธุรกิจไม่ให้แบบก้าวกระโดดจนเกินไป หลังเห็นแนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อพุ่งแบบน่าเป็นห่วง
ขณะเดียวกันผู้ประกอบการได้ทำหนังสือ เพื่อขอให้แบงก์ชาติลดเกณฑ์ที่เข้มงวดลงโดยขอให้กำหนดวงเงินผ่อนชำระขั้นต่ำไว้ที่ 5% เหมือนเดิม อ้างเหตุผลว่า เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนการใช้จ่ายของประชาชน หลังประสบปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้มีกำลังซื้อ และผ่อนชำระได้น้อยลง
อย่างไรก็ดีแบงก์ชาติไม่ได้โอนอ่อนให้กับผู้ประกอบการ โดยยังคงเกณฑ์ชำระขั้นต่ำที่10% เหมือนเดิม ทั้งนี้เพื่อจำกัดการใช้จ่าย และเพื่อไม่ให้การก่อหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากนัก
ดังนั้นเชื่อว่าแบงก์ชาติจะรับช่วงนโยบายในส่วนนี้มาดำเนินการต่อเนื่อง ถึงแม้อนาคตม.ร.ว.ปรีดิยาธร จะต้องย้ายมานั่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง แต่ในส่วนของนางธาริษา ซึ่งติดโผขึ้นเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่ คงสานต่องานได้เป็นอย่างดี และอาจออกเกณฑ์เพิ่มเติม เพื่อจำกัดให้ธุรกิจเหล่านี้เดินลำบากขึ้นด้วย
นายอภิชาติ นันทเทิม กรรมการผู้จัดการบริษัทอิออน กล่าวาการปล่อยสินเชื่อของบริษัทเน้นเพื่อการอุปโภค-บริโภคเป็นหลัก จึงไม่ขัดกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทคำนึงถึงจุดนี้ และได้ออกสินเชื่อที่ตอบสนองความต้องการ หรือมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อประกันชีวิต และล่าสุดกำลังจะเปิดตัวสินเชื่อเพื่อประกันสุขภาพ
นายอภิชาติ กล่าวว่าการจะพิจารณาว่าสินค้าไหนเป็นของฟุ้มเฟือยคงพูดยากในยุคนี้เนื่องจากสังคมเปลี่ยนแปลงไป โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ของเหล่านี้กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต แต่คงต้องพิจารณาให้มีราคาที่เหมาะสม และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากกว่า
"โทรศัพท์เครื่องละพัน-หมื่นถือว่าโอเคเหมาะสม ไม่ใช่ปาเข้าไปเครื่องละแสนหรือล้าน โทรทัศน์แบบโฮมเธียเตอร์ตรงนี้ยอมรับว่ากลายเป็นสิ่งฟุ้มเฟือย แต่ของอิออนเรามีเกณฑ์การปล่อยที่รอบคอบ ลูกค้าส่วนใหญ่ของเราจึงกู้เงินตามความจำเป็น และมีการผ่อนชำระตรงเวลา ดูได้จากเราเปิดดำเนินการมาแล้วเกือบ 15 ปีเอ็นพีแอลไม่ได้เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.5%-3%"นายอภิชาติ กล่าว
แหล่งข่าวในวงการ กล่าวว่าการดำเนินสินเชื่อบุคคลมีการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป คือมีทั้งระดับรากหญ้าและระดับบน แต่ประเมินยากว่ากลุ่มไหนมีเอ็นพีแอลมากกว่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับวินัยของผู้กู้มากกว่า อย่างไรก็ดีในแง่ของบริษัทที่เล่นระดับบนถือว่ามีความเสี่ยงที่สูงกว่า เพราะคนกลุ่มนี้มักนิยมใช้ของแพง
ขณะที่กลุ่มเช่าซื้อก็คงได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวเช่นกัน แต่ในส่วนของการปล่อยกู้รถจักรยานยนต์ และรถกระบะถือว่ายังไปได้ เพราะมีความจำเป็นลูกค้ากู้ซื้อเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือประกอบอาชีพ ขณะที่พวกเล่นรถยนต์ใหม่จะได้รับผลกระทบมากกว่า
Source - ข่าวหุ้น
Friday, 06 October 2006 05:13
จับตา 14 หุ้นเฉา ดำเนินธุรกิจขัดนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลใหม่มีโอกาสโตยากทางการไม่หนุน เคทีซี อิออนแย่สุด เน้นปล่อยกู้สินเชื่อบุคคล ถูกมองแหล่งเพาะคนไทยมือเติบ ขณะที่ปล่อยเช่าซื้อรถยนต์ SPL ติดโผ เล่นตลาดรถยนต์ใหม่
อนาคตหุ้นสินเชื่อเช่าซื้อ และบุคคลไม่สดใส หลังพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ประกาศนโยบายนำพาประเทศโดยยึดแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับบริษัทดำเนินธุรกิจปล่อยกู้ เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้จ่ายเกินตัว เพราะจะไม่ได้รับการส่งเสริม หรือเกื้อหนุนให้เติบโตได้ดีนักภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ ในทางกลับกันอาจมีนโยบายให้ดำเนินธุรกิจยากขึ้น
โดยบริษัทที่เป็นแหล่งพึ่งพิงสำคัญ และปล่อยเงินกู้ให้ประชาชนใช้เงินเกินตัว มีทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และอยู่นอกตลาด ซึ่งในส่วนของที่อยู่ในตลาดพบว่ามีจำนวน 14ราย แบ่งเป็นให้สินเชื่อบุคคล 2 รายได้แก่บริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AEONTS บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC
ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อมี 10 รายได้แก่ บริษัทเอเซียเสริมกิจ จำกัด (มหาชน) หรือASK บริษัทตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ ECL บริษัทกรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ GL บริษัทกรุงไทยคาร์เรนท์แอนด์ลีส จำกัด (มหาชน) หรือ KCAR บริษัทไมด้าลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ ML
บริษัทนวลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NVL บริษัทภัทรลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือPL บริษัทราชธานีลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ THANI บริษัทฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือTK บริษัทสยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPL และบริษัทสแกนดิเนเวียลีสซิ่งจำกัด (มหาชน) หรือ SCAN
ส่วนอีกรายเน้นปล่อยสินเชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่บริษัทดีอี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ DE
สำหรับบริษัทมีอยู่นอกตลาดมีอยู่ 3 แห่งที่ค่อนเป็นที่รู้จัก ได้แก่บริษัทแคปปิตอล โอเคจำกัด (มหาชน) บริษัทอีซี่บาย จำกัด (มหาชน) และบริษัทเฟิร์สช้อย จำกัด
ทั้งนี้เชื่อว่าในส่วนของบริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล น่าจะถูกจับตามองมากสุด ว่าการดำเนินธุรกิจขัดกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด เนื่องจากบริการปล่อยเงินให้กับประชาชนในรูปแบบเงินสด เพื่อนำไปใช้สอยอะไรก็ได้ ไม่ได้มีขีดจำกัด และยังถือเป็นแหล่งรีไฟแนนซ์หนี้หลักของประชาชน ดังนั้น KTC และ AEONTS ถือว่าทำธุรกิจลำบากขึ้นจากนโยบายดังกล่าว
ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อกลุ่มที่เล่นปล่อยกู้รถยนต์ใหม่น่าจะได้รับผลกระทบ อาทิ SPL MLมากกว่าพวกเน้นปล่อยกู้รถมือสอง และรถกระบะ
โดยในส่วนของสินเชื่อบุคคลม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.ถือว่าเล็งเห็นถึงปัญหาของธุรกิจเหล่านี้มานานแล้ว และค่อนข้างเข้ามาจับตาดูเป็นพิเศษ
โดยได้มอบหมายนโยบายผ่านมือขวาอย่างนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าด้านเสถียรภาพสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศ ให้ดึงธุรกิจนี้เข้ามาดูแลรับผิดชอบเอง จากเดิมอยู่ในความดูแลของกระทรวงพาณิชย์
ทั้งนี้นางธาริษา ถือว่ารับนโยบายดังกล่าวได้ดี โดยได้ออกกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้นทั้งในส่วนของการตีกรอบการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด การตั้งสำรองต่อหนี้เสีย เพื่อไม่ให้ธุรกิจสร้างความเสียหายให้กับภาพรวมของเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเพดานการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิมกำหนดไว้ 5% เป็น 10% ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณอย่างมีนัย คือออกมาตรการที่เข้มข้น เพื่อให้คนมีกำลังผ่อนชำระลดลงซึ่งช่วยจำกัดธุรกิจไม่ให้แบบก้าวกระโดดจนเกินไป หลังเห็นแนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อพุ่งแบบน่าเป็นห่วง
ขณะเดียวกันผู้ประกอบการได้ทำหนังสือ เพื่อขอให้แบงก์ชาติลดเกณฑ์ที่เข้มงวดลงโดยขอให้กำหนดวงเงินผ่อนชำระขั้นต่ำไว้ที่ 5% เหมือนเดิม อ้างเหตุผลว่า เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนการใช้จ่ายของประชาชน หลังประสบปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้มีกำลังซื้อ และผ่อนชำระได้น้อยลง
อย่างไรก็ดีแบงก์ชาติไม่ได้โอนอ่อนให้กับผู้ประกอบการ โดยยังคงเกณฑ์ชำระขั้นต่ำที่10% เหมือนเดิม ทั้งนี้เพื่อจำกัดการใช้จ่าย และเพื่อไม่ให้การก่อหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากนัก
ดังนั้นเชื่อว่าแบงก์ชาติจะรับช่วงนโยบายในส่วนนี้มาดำเนินการต่อเนื่อง ถึงแม้อนาคตม.ร.ว.ปรีดิยาธร จะต้องย้ายมานั่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง แต่ในส่วนของนางธาริษา ซึ่งติดโผขึ้นเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่ คงสานต่องานได้เป็นอย่างดี และอาจออกเกณฑ์เพิ่มเติม เพื่อจำกัดให้ธุรกิจเหล่านี้เดินลำบากขึ้นด้วย
นายอภิชาติ นันทเทิม กรรมการผู้จัดการบริษัทอิออน กล่าวาการปล่อยสินเชื่อของบริษัทเน้นเพื่อการอุปโภค-บริโภคเป็นหลัก จึงไม่ขัดกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทคำนึงถึงจุดนี้ และได้ออกสินเชื่อที่ตอบสนองความต้องการ หรือมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อประกันชีวิต และล่าสุดกำลังจะเปิดตัวสินเชื่อเพื่อประกันสุขภาพ
นายอภิชาติ กล่าวว่าการจะพิจารณาว่าสินค้าไหนเป็นของฟุ้มเฟือยคงพูดยากในยุคนี้เนื่องจากสังคมเปลี่ยนแปลงไป โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ของเหล่านี้กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต แต่คงต้องพิจารณาให้มีราคาที่เหมาะสม และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากกว่า
"โทรศัพท์เครื่องละพัน-หมื่นถือว่าโอเคเหมาะสม ไม่ใช่ปาเข้าไปเครื่องละแสนหรือล้าน โทรทัศน์แบบโฮมเธียเตอร์ตรงนี้ยอมรับว่ากลายเป็นสิ่งฟุ้มเฟือย แต่ของอิออนเรามีเกณฑ์การปล่อยที่รอบคอบ ลูกค้าส่วนใหญ่ของเราจึงกู้เงินตามความจำเป็น และมีการผ่อนชำระตรงเวลา ดูได้จากเราเปิดดำเนินการมาแล้วเกือบ 15 ปีเอ็นพีแอลไม่ได้เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.5%-3%"นายอภิชาติ กล่าว
แหล่งข่าวในวงการ กล่าวว่าการดำเนินสินเชื่อบุคคลมีการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป คือมีทั้งระดับรากหญ้าและระดับบน แต่ประเมินยากว่ากลุ่มไหนมีเอ็นพีแอลมากกว่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับวินัยของผู้กู้มากกว่า อย่างไรก็ดีในแง่ของบริษัทที่เล่นระดับบนถือว่ามีความเสี่ยงที่สูงกว่า เพราะคนกลุ่มนี้มักนิยมใช้ของแพง
ขณะที่กลุ่มเช่าซื้อก็คงได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวเช่นกัน แต่ในส่วนของการปล่อยกู้รถจักรยานยนต์ และรถกระบะถือว่ายังไปได้ เพราะมีความจำเป็นลูกค้ากู้ซื้อเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือประกอบอาชีพ ขณะที่พวกเล่นรถยนต์ใหม่จะได้รับผลกระทบมากกว่า