ผมยึดสโลแกนที่ว่า ถ้าคุณเห็นแมลงสาบ1ตัวอยู่บนพนังห้องครัว ค่อนข้างชัวร์ว่า มีอีกเป็น10อยู่หลังตู้ครับ ระวังให้ดีๆแล้วกัน เดี๋ยว ผีแมลงสาบ มันจะมาหลอกหลอนเป็นระยะๆ
คุณนริศให้ภาพที่เห็นอย่างชัดเจนทีเดียว
ต้องขอโทษสำหรับบางท่านก่อนล่วงหน้า แต่นี่คือข้อเท็จจริง ผมจะไม่ Comment เพิ่มเติมแต่อย่างไรครับ
แต่ให้ดู Story ต่าง ๆ ที่มีการเปิดในตลาดหลักทรัพย์ แล้วจะเข้าใจที่คุณนริศพูดถึงครับ
ฉากที่ 1
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่1(F45-3)
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
ไตรมาสที่ 1
ปี 2549 2548
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (162,310) 41,910
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.60) 0.16
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
ที่ ห.ท. 040/2549
วันที่ 15 พฤษภาคม 2549
รื่อง ขอชี้แจงสาเหตุที่ผลการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 20 สำหรับงบไตรมาสแรก
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทฯ ได้กำหนดภาระกิจหลักโดยมุ่งเน้นที่โครงการปรับปรุงคุณภาพลุกหนี้ผ่อนชำระซึ่งได้
เริ่มมาตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้:
- การปรับขึ้นเงินดาวน์ขั้นต่ำ
- จัดให้มีประกัน ซึ่งรวมถึงการประกันหนี้เสีย สำหรับบัญชีเช่าซื้อรถจักรยานยนต์
ทั้งหมด
- จัดตั้งระบบการตรวจเช็คบัญชีดำภายใน ให้เป็นแบบอัตโนมัติ
- กำหนดระเบียบเฉพาะกาลในการตามเก็บบัญชีที่เข้าข่ายจะต้องติดตามเก็บเป็นอัน
ดับ
แรก โดยให้ทำการยึดสินค้าคืนทันทีกรณีลูกค้าเหล่านี้ไม่ชำระ
- จัดให้มีการอนุมัติการให้เครดิตสำหรับบัญชีเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ให้ผ่านการอนุมัติ
จาก
ส่วนกลางโดยเริ่มบางสาขาในเดือน กุมภาพันธ์ 2549 และทยอยให้ครอบคลุมใช้กับทุก
สาขาในเดือน เมษายน 2549 พร้อมกับให้มีการตรวจสอบข้อมูลเครดิตกับบริษัทข้อมูล
เครดิตแห่งชาติสำหรับบัญชีรถจักรยานยนต์ทุกบัญชี
- ใช้ระบบ ฮัลโหลซิงเกอร์ หรือ Call Center ซึ่งจัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์
เป็น
ส่วนหนึ่งในการช่วยตรวจสอบเครดิต และ ช่วยการตามเก็บเงิน
- เพิ่มประสิทธิภาพในการปรับสภาพรถจักรยานยนต์ที่ คลังสินค้าที่เสนา เพื่อร่นระยะ
เวลาในระหว่างรถจักรยานยนต์ที่ยึดมาได้จนถึงอยู่ในสภาพพร้อมขาย
บริษัทคาดการณ์แล้วว่ามาตรการดังกล่าวข้างต้นย่อมจะทำให้ยอดขายลดลง จำนวนสินค้ายึด
คืนจะเพิ่มสุงขึ้น และส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรลดลงระหว่างการดำเนินงานตาม
มาตรการดังกล่าว อย่างไรก็ดี บริษัทจะได้รับประโยชน์ในอนาคตอันใกล้ เมื่อสาขาทั้งหมดสามารถ
ทำการขายได้อย่างปกติพร้อมการสนับสนุนในการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้โครงการปรับปรุงคุณภาพลูกหนี้ดังกล่าว ได้ส่งผลให้บริษัทฯ มีกระแสเงินสดจากการ
ดำเนินงานเป็นบวกถึง 254 ล้านบาทในไตรมาสแรกของปี 2549 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกับปี
ก่อนมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นลบอยู่ 491 ล้านบาท ซึ่งหมายความว่ากระแสเงินสดจาก
การดำเนินงานไตรมาสแรกของปีนี้ดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 745 ล้านบาท
เป็นที่ทราบกันดีว่าบริษัทฯเริ่มขายรถจักรยานยนต์เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยมีสัดส่วนของราย
ได้อยู่ที่ 6% และสัดส่วนดังกล่าวได้สูงขึ้นตลอดตามภาวะตลาดรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีการเจริญเติบโต
อย่างต่อเนื่อง และบริษัทฯได้ขยายพื้นที่การขายรถจักรยานยนต์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จนถึงปี
2548 บริษัทฯมีสัดส่วนรายได้ที่มาจากรถจักรยานยนต์อยู่ที่ 58%
ภาวะตลาดรถจักรยานยนต์ในปีที่ 2548 ที่ผ่านมามีการแข่งขันกันลักษณะ เงินดาวน์ต่ำ
ตลอดจนการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายและรวดเร็วหลายช่องทาง ทำให้ยอดสินเชื่อบุคคลสูงขึ้นอย่างมาก
เมื่อมีสัญญาณเบ่งบอกถึงเศรษฐกิจลักษณะชะลอตัวในครึ่งปีหลังของปี 2548 ทำให้มีข่าวคราวใน
หนังสืบพิมพ์เกี่ยวกับหนี้สินส่วนบุคคลที่มีการฟ้องร้อง และร้องเรียนกันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯจึง
ได้มีโครงการปรับปรุงคุณภาพลูกหนี้ขึ้น โดยการออกมาตรการเข้มงวดกับลูกหนี้ผ่อนชำระ เพื่อ
ป้องกันไม่ให้ลูกหนี้เหล่านั้นเกิดความเสียหายมากในอนาคต
เนื่องจากความสามารถในการยึดสินค้าคืนเพื่อบรรเทาความเสียหายของหนี้เสียของบริษัทฯ
มีศักยภาพค่อนข้างสูง เนื่องจากพนักงานขายของบริษัทฯ อยู่ในพื้นที่เดียวกับลูกหนี้ทั่วประเทศ จาก
มาตรการดังกล่าวทำให้บริษัทฯมีการยึดสินค้าคืนจำนวนมากในไตรมาสนี้ และส่งผลให้สินค้ายึดคืน
โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนยอดขายรถจักรยานยนต์ใหม่ที่ลดลงอันเนื่องมาจาก
การเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว
ในขณะเดียวกันมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวส่งผลให้ยอดขายใหม่ของบริษัทฯ ลดลงเมื่อเทียบ
กับงวดเดียวกันของปีก่อน แต่บริษัทฯ มองเห็นว่าคุณภาพของบัญชีขายใหม่จะมีคุณภาพดีขึ้นอันจะส่ง
ผลดีต่อผลประกอบการของบริษัทฯ ในระยะยาว
ยอดขายสินค้าในไตรมาสแรกเปรียบเทียบกันไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สามารถยแก
ประเภทได้ดังนี้
ยอดขายไตรมาสแรก ปี 2549 ปี 2548
รถจักรยานยนต์ใหม่ 235,321 914,828
รถจักรยานยนต์มีอสอง 164,849 70,426
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ 447,410 499,552
รวมยอดขาย (พันบาท) 847,580 1,484,806
ยอดการยึดคืนสินค้า ปี 2549 ปี 2548
รถจักรยานยนต์ -614,475 -192,044
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ -157,003 -110,067
รวมยอดยึดคืน (พันบาท) -771,478 -302,111
ยอดขายสุทธิ 76,102 1,182,695
จากตารางดังกล่าวยอดขายสินค้าไตรมาสแรกของบริษัทฯ อยู่ที่ 57.1% เมื่อเทียบกับระยะ
เวลาเดียวกับปีก่อน โดยสินค้าที่ลดลงมาคือ รถจักรยานยนต์ใหม่ ซึ่งลดลง ถึง 679.5 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 45.7%ของยอดขายไตรมาสของปีที่แล้ว สาเหตุที่ลดลงมากเนื่องจากมาตรการต่าง ๆ
ที่ได้กล่าวมาในตอนต้น ตลอดจนการจำกัดการซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ เพื่อที่จะระบายรถจักรยานยนต์
มือสองที่ยึดมาให้เร็วที่สุด ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯมีศักยภาพในการระบายรถจักรยานยนต์มือสอง เพราะ
ตลาดรถจักรยานยนต์มือสองใหญ่กว่าตลาดรถจักรยานยนต์ใหม่มาก จะสังเกตได้ว่าบริษัทฯ สามารถ
จำหน่ายรถจักรยานยนต์มือสองในไตรมาสนี้สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ถึง 94.4 ล้านบาท
ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้ามียอดจำหน่ายที่ลดลง เนื่องมาจากการใช้เวลาในการติดตาม
บัญชีที่มีปัญหามาก ทำให้เวลาในการเดินตลาดสำหรับการขายใหม่ลดลง ทำให้ยอดขายต่ำกว่าช่วง
เดียวกันของปีก่อนอยู่ 52.1 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว ยอดขายจะใกล้เคียง
กัน (ไตรมาสสี่ ปี 2548 อยู่ที่ 454.5 ล้านบาท)
ด้านการยึดสินค้าคืนในไตรมาสแรกของปี อยู่ที่ 771.5 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนอยู่ที่
302.1 ล้านบาท สาเหตุที่สูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีก่อนมากเนื่องจากมาตรการต่าง ๆในการปรับ
คุณภาพของลูกหนี้ตามที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น
ในส่วนของดอกเบี้ยรับจากการขายผ่อนชำระลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ 22.6 ล้าน
บาทหรือลดลงเพียง 6.5% ผลจากการยึดคืนสินค้าที่เพิ่มขึ้นมาก ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดดอกเบี้ยรับ
มากนัก เนื่องจาก บริษัทฯหยุดรับรู้รายได้ดอกเบี้ยรับสำหรับบัญชีที่ค้าง 4 งวดเเป็นต้นไป สาเหตุ
หลักที่ทำให้ดอกเบี้ยรับลดลงมากจากการขายใหม่ที่ลดลง และสัดส่วนการขายรถจักรยานยนต์ลดลง
มากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
รายได้อื่น ที่เพิ่มสูงขึ้น 14.0 ล้านบาทเนื่องมากจากการขายประกันหนี้เสียสำหรับบัญชี
รถจักรยานยนต์ ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ไตรมาสที่สี่ของปี 2548
กำไรเบื้องต้น ลดลง 154.5 ล้านบาท
กำไรเบื้องต้นอยู่ที่ 548.6 ล้านบาท (1,188.2-639.6) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อยู่ที่ 703.1ล้านบาท (1,834.3-1131.2) ลดลง 154.5 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบเป็นอัตรากำไร
เบื้องต้นปี 2549 อยู่ที่ 46.2% เทียบกับปี 2548 อยู่ที่ 38.3% สาเหตุหลักที่ปี 2549 มีอัตรากำไร
เบื้องต้นที่ดีกว่าเนื่องจากสัดส่วนการขายของรถจักรยานยนต์น้อยกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า กล่าวคืออยู่ที่
47% ในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 66% ซึ่งอัตรากำไรเบื้องต้นของรถจักรยานยนต์จะต่ำกว่า
เครื่องใช้ไฟฟ้ามาก
ขาดทุนจากการยึดสินค้าคืน เพิ่มขึ้น 86.0 ล้านบาท
ในปีนี้บริษัทฯมีขาดทุนจากการยึดสินค้าคืนอยู่ที่ 254.1 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปี
ก่อน 86 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการยึดสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นมาก อันเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการการ
ปรับปรุงคุณภาพลูกหนี้
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ลดลง 40.1 ล้านบาท
ปีนี้มีค่าใช้จ่ายลดลง 40.1 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากยอดขายที่ลดลง ส่งผลให้การจ่ายค่า
นายหน้าในการขาย ลดลง 51.3 ล้าน ในขณะเดียวกัน ผลของการยึดสินค้าคืนที่สูงขึ้น ทำให้
จำนวนบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระและการเก็บเงินลดลง ส่งผลให้ค่านายหน้าในการเก็บเงินลดลง 24.0
ล้าน และการตั้งสำรองหนี้สูญสูงขึ้น 34.1 ล้านบาท
ดอกเบี้ยจ่าย เพิ่มขึ้น 20.2 ล้านบาท
สูงขึ้น 20.2 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่
4.9% ในขณะที่ปีที่แล้วในไตรมาสเดียวกันอยู่ที่ 3.0% ส่งผลให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น 14.6 ล้านบาท ส่วน
ที่เหลือ 5.4 ล้านบาทเกิดจากการกู้ยืมที่สูงขึ้น อยู่ที่ 294 ล้านบาท อย่างไรก็ดีการกู้ยืมเงิน ณ
สิ้นเดือน มีนาคม 2549 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว ลดลง 324 ล้านบาท
ขาดทุนสุทธิ 162.3 ล้านบาท
จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้น ในไตรมาสแรกของปี 2549 นี้บริษัทฯ มีขาดทุนสุทธิอยู่ที่
162.3 ล้านในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรอยู่ที่ 41.9 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจาก
มาตรการต่าง ๆ ที่บริษัทฯได้ใช้เพื่อปรับคุณภาพของลูกหนี้ ตลอดจนมาตรการในการอนุมัติสินเชื่อที่
เข้มงวดสำหรับบัญชีรถจักรยานยนต์ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ทำไปในไตรมาสแรกนี้ จะส่งผลดีต่อ
ผลประกอบการของบริษัทฯ ในระยะยาว
ลูกหนี้ผ่อนชำระและลูกหนี้อื่น สุทธิ
ลดลง จาก 4,706 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2548 มาอยู่ที่ 4,194 ล้านบาทเมื่อสิ้นเดือน มีนาคม
2549 สาเหตุหลักที่ลดลงมาจากบัญชีเช่าซื้อผ่อนชำระ ซึ่งลดลงจาก สิ้นปี 2548 มี 417,024 บัญชี
มาอยู่ที่ 363.642 บัญชีเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2549 อันเป็นผลมาจากมาตรการในการปรับปรุง
คุณภาพบัญชีลูกหนี้ โดยมีการยึดสินค้าคืนจากลูกค้าทั้งสิ้น 35,735 บัญชี คิดเป็นมูลค่า 771.5 ล้าน
บาท ในส่วนของบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระอยู่ที่ 7.7% สูงขึ้นจากสิ้นปี
2548 ซึ่งอยู่ที่ 6.4% อย่างไรก็ดีจากสถิติการตัดจำหน่ายหนี้สูญที่เกิดขึ้นจริงของลูกหนี้ผ่อนชำระ
ย้อนหลัง 3 ปี และ 5 ปีจะอยู่ที่ 2.2% และ 2.1% ตามลำดับ นอกจากนี้บัญชีรถจักรยานยนต์ที่เปิด
ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 เป็นต้นไปจะมีการทำประกันหนี้เสีย อันเป็นการแบ่งเบาภาระความ
เสี่ยงของหนี้เสียของบริษัทฯ อนึ่งบริษัทฯไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับนโยบายการตั้ง
สำรองหนี้สูญ เนื่องจากเห็นว่านโยบายดังกล่าวยังเหมาะสมอยู่
สินค้าคงเหลือสุทธิ
ยอดที่เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว จำนวนเงิน 152.3 ล้านบาท มาจากการยึดสินค้าคืนโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งรถจักรยานยนต์ ส่งผลให้รถจักรยานยนต์ มือสอง เพิ่มขึ้น 11,718 คัน ณ สิ้นเดือน
มีนาคม 2549 บริษัทฯมีรถจักรยานยนต์มือสองอยู่ประมาณสามหมื่นคัน ซึ่งบริษัทฯได้วางแผนการขาย
มุ่งเน้นที่รถจักรยานยนต์มือสอง ที่มีขนาดตลาดใหญ่กว่ารถจักรยานยนต์ใหม่ และบริษัทมีศักยภาพใน
การจำหน่ายสูงโดยผ่านช่องทางการจำหน่ายปกติของบริษัทฯ
หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
บริษัทฯสามารถรักษาสัดส่วนดังกล่าวไว้ได้ที่ 1.72 เช่นเดียวกับสิ้นปีที่แล้ว อันสืบเนื่องจาก
การจำกัดการซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ และผลักดันการขายรถจักรยานยนต์มือสองอย่างต่อเนื่อง
การเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการ
คุณขวัญชัย โหมดประดิษฐ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้จัดการ คนใหม่ เริ่มมีผลตั้งแต่
วันที่ 1 มิถุนายน 2549 แทน Mr. Jim Kelly ซึ่งได้ ขอลาออกโดยมีผลวันเดียวกัน
คุณขวัญชัย มีประสบการณ์กว่า 20 ปี ในตลาดสินเชื่อผู้บริโภค ในประเทศไทย กับผู้นำใน
ธุรกิจดังกล่าว เช่น บริษัท อิออนธนสินทรัพย์ และ บริษัท จีอีแคปปิตัล เป็นต้น
จึงเรียนมาเพื่อชี้แจงข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อผลประกอบการและฐานะการเงินของบริษัทฯ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป แสงหิรัญวัฒนา)
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน