หุ้นอสังหา ในความเห็นคุณInvisible Hand
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 18, 2006 12:20 pm
เหตุผลที่ผมคิดว่าหุ้นอสังหาฯ เริ่มน่าสนใจเนื่องจากผมมองว่าผู้ซื้อบ้านน่าจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้นทั้งจากปัจจัยด้านการเมือง ราคาน้ำมันที่ลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่มีแน้วโน้มที่จะทรงตัว
ธุรกิจอสังหาฯ ที่เป็น developer หรือสร้างบ้านขาย เป็นหุ้นที่ไม่ค่อยน่าจะถือลงทุนระยะยาวเท่าไหร่ เพราะว่าเป็นธุรกิจที่ยอดขายแต่ละปีต้องเริ่มจาก 0 เมื่อต้นปี ดังนั้นหากบริษัทอสังหาฯ ใดๆ ขายโครงการเดิมหมดและไม่เปิดโครงการใหม่ ก็จะไม่มีรายได้ในปีต่อไป ดังนั้นจึงเป็นธุรกิจที่เจ้าของกิจการค่อนข้างเหนื่อยในการที่สร้างโครงการใหม่ๆ มาทดแทนโครงการเดิมตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นอสังหาฯ ก็เป็นหุ้นที่เป็นวัฎจักรธุรกิจค่อนข้างสูง ในแง่การลงทุนหากเราซื้อถูกบริษัท ถูกเวลา ก็ให้ผลตอบแทนในการลงทุนค่อนข้างสูง แต่จะต้องเป็นการลงทุนแบบ hit and run คือ กำไรระดับหนึ่งแล้วต้องขาย ระยะเวลาการลงทุนอาจจะเป็น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี ขึ้นอยู่กับว่าเราซื้อช่วงไหนของ cycle ถ้าซื้อเร็วไปอาจจะต้องรอนานหน่อย แต่ถ้าซื้อช่วงกำลังขึ้นพอดีอาจจะไม่ต้องรอนาน
ที่ผม post ในกระทู้ก่อนว่าหุ้นอสังหาฯ น่าสนใจ ตอนแรกผมคาดว่าหุ้นอสังหาฯ หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาจจะปรับลดลงซัก 15-20% แต่ปรากฎว่าปรับลดลงเพียง 5-10% จึงผิดคาดไปหน่อยครับ ทำให้หลายตัวที่ผมมองๆ ไว้ราคาไม่ลดลงเท่าที่ควรครับ
เนื่องจากธุรกิจอสังหาฯ เป็นธุรกิจที่อิงปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้สูง เช่น การเมือง ราคาน้ำมัน ฯลฯ ดังนั้นในแง่การลงทุนจึงมีความเสี่ยงสูง ผมเองคิดว่าก็ไม่ควรให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่ขึ้นกับปัจจัยภายนอกสูงมากเกินไปในพอร์ตครับ สำหรับหุ้นที่ผมคิดว่าน่าสนใจคงจะไม่ได้เป็นตัวใดตัวหนึ่ง แต่ผมคิดว่ามีหุ้นอสังหาฯ ประเภทสร้างที่อยู่อาศัย ประมาณ 3-4 ตัว ที่มีศักยภาพสูงและน่าสนใจครับ ผมคงขออนุญาตไม่บอกเป็นรายตัวเนื่องจากหุ้นอสังหาฯ มีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้สูง ดังนั้นผู้ที่ซื้อจะต้องศึกษาค่อนข้างละเอียดและรับความเสี่ยงได้ ดังนั้นด้วยความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูงขนาดนี้จึงไม่เหมาะที่ผมจะแนะนำเป็นรายตัวครับ
ผมคงให้หลักการกรองหุ้นอสังหาฯ ไว้ดังนี้ครับ ถ้านำไปใช้ก็น่าจะได้หุ้นที่น่าสนใจเช่นเดียวกันครับ
1 หุ้นตัวนั้นๆ ผู้บริหารควรจะถือหุ้นมากพอสมควร เช่น เกิน 50%
เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการบริหาร สร้างการเติบโต ควบคุมต้นทุนต่างๆ กำกับดูแลไม่ให้เกิดการรั่วไหลในองค์กรเนื่องจากธุรกิจนี้มีการการจัดซื้อจำนวนมาก เช่น ที่ดิน วัสดุก่อสร้างและตกแต่ง การจ้างผู้รับเหมา ดังนั้นในความคิดผม ถ้าผมจะซื้อหุ้นอสังหาฯ ผมอยากให้ผู้บริหารถือหุ้นมากๆ ครับ หุ้นอสังหาฯ บางบริษัทที่เคยใช้มืออาชีพมาบริหารแล้วไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรครับ ซึ่งมีความแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ ครับ
2 หุ้นตัวนั้นๆ ควรจะมี net profit margin ( กำไรสุทธิ / รายได้ ) สูงกว่า 10%
เนื่องจากธุรกิจอสังหาฯ เป็นธุรกิจที่มีการหมุนเวียนของสินทรัพย์ค่อนข้างช้า กล่าวคือ ตั้งแต่ซื้อที่ดิน ถมที่ สร้างบ้าน จนถึงการโอนให้ลูกค้าจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือนถึง 2.5 ปี ( ในกรณีของบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ จะใช้เวลาน้อยหน่อย แต่คอนโดฯ ถ้าเป็นจำนวนชั้นน้อยๆ หรือ low rise จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี แต่ถ้าคอนโดฯ สูงๆ จะใช้เวลา 2-2.5 ปี ) ดังนั้นการขายแต่ละครั้งจะต้องมีกำไรที่มากพอที่จะคุ้มค่ากับผลตอบแทนในการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น การสร้างบ้าน 1 หลัง ใช้เวลา 1 ปี หากมี net margin 10% ก็เท่ากับว่าบริษัทนั้นๆ ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน 10% ต่อปี หรือเปรียบเทียบง่ายๆ คือเทียบเท่ากับบริษัทนั้นๆ นำเงินไปฝากธนาคารหรือเล่นหุ้นแล้วได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี นั่นเอง
อีกตัวอย่าง หาก บริษัท A ทำโครงการคอนโดฯ ใช้เวลาสร้าง 2 ปี และมี net margin 12% ก็เท่ากับว่าผลตอบแทนของโครงการนี้คือปีละ 6% ครับ
ดังนั้น เราควรพิจารณาหุ้นอสังหาฯ ที่มี net profit margin สูงกว่า 10% เพราะถ้าบริษัทไหนทำได้ต่ำกว่านั้นมากๆ ก็จะทำให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นหรือผลตอบแทนการลงทุน ที่วัดในรูปแบบ ROCE ROE ต่ำมาก และหากบริษัทไหนทำได้ต่ำมากๆ เช่น 5% ก็ไม่น่าสนใจเพราะว่าการหมุนสินค้าคงเหลือ ( ในที่นี้คืองานระหว่างการก่อสร้าง ) ต้องใช้เวลา 1 ปี ถ้าได้ margin ระดับ 5% ก็จะเท่ากับ margin ของธุรกิจค้าปลีกแต่ค้าปลีกมีการหมุนสินค้าคงคลังปีละ 4-6 รอบครับ ดังนั้นธุรกิจค้าปลีกจะมี ROA ROCE สูงกว่า
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า หาก 2 บริษัทที่มีการใช้หนี้สินต่อทุนเท่ากัน และมี net margin เท่ากัน บริษัทที่สร้างทาวเฮาส์หรือบ้านเดี่ยวซึ่งจะใช้เวลาสร้างเร็วกว่า จะน่าสนใจกว่าบริษัทที่ทำคอนโดฯ ที่ใช้เวลาสร้างนานกว่า เพราะว่าระยะเวลาการหมุนเวียนสินทรัพย์ของบริษัทสร้างบ้านจะต่ำกว่าครับ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า นอกจาก net margin แล้ว อีกตัวที่สำคัญมากสำหรับธุรกิจอสังหาฯ คือ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มซื้อที่ดินถึงการส่งมอบสินค้าและรับเงินจากลูกค้า กล่าวคือ ถ้าระยะเวลายิ่งน้อยที่สุดก็ยิ่งดีครับ จึงทำให้ต้องพิจารณาข้อ 3 ต่อไปครับ
3 ความเร็วในการหมุนของสินทรัพย์ หรือ Revenue / Total asset
ต่อเนื่องจากที่อธิบายในข้อ 2 ครับ บริษัทไหนที่มี รายได้ / สินทรัพย์รวมต่ำ แสดงว่าบริษัทนั้นมีระยะเวลาตั้งแต่ซื้อที่ดินถึงการโอนนาน มีสินทรัพย์มากแต่ยอดขายน้อย เรียกภาษาชาวบ้านว่า เงินจม ครับ ซึ่งอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ครับ
3.1 บริษัทนั้นๆ อาจจะมีอัตราการขายในบางโครงการช้ามาก เช่น โครงการพัฒนาบ้าน 200 หลัง อาจจะขายได้ปีละ 20 หลัง ซึ่งก็ทำให้มีสินค้าคงเหลือซึ่งได้แก่ค่าพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ และงานระหว่างก่อสร้างสูง ในขณะที่รายได้เข้ามาน้อยแต่สินค้าคงเหลือมีมาก บริษัทพวกนี้ต้องระวังด้วยครับเพราะดอกเบี้ยธนาคารที่กู้มาพัฒนาโครงการหากโครงการนั้นยังขายไม่ได้จะถูกบันทึกเป็นต้นทุนโครงการ ซึ่งไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในงวดนั้นๆ ดังนั้นโครงการที่ขายไม่ได้นานๆ จะมีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ จากอัตราดอกเบี้ยที่บันทึกต้นทุน เมื่อขายได้เมื่อไหร่โครงการนั้นๆ จะมี margin ที่ต่ำมากครับ
3.2 บริษัทนั้นๆ อาจจะมีปัญหาในการก่อสร้าง คือมีความล้าช้า ทำให้ระยะเวลาตั้งแต่ลูกค้าจองซื้อถึงส่งมอบงานกินเวลานาน นอกจากนี้ บริษัทอาจจะมีปัญหาในคุณภาพของงานที่ส่งมอบ เช่น คุณภาพบ้านไม่ดีทำให้ลูกค้าไม่ยอมรับโอนบ้านทำให้ต้องมีการแก้ไขจนกว่าลูกค้าจะพอใจ บริษัทที่สร้างบ้านเสร็จก่อนขายอย่าง LH QH มักจะไม่ค่อยมีปัญหาดังกล่าวเพราะลูกค้าตัดสินใจซื้อจากบ้านที่เสร็จแล้วและพอใจคุณภาพจึงซื้อจึงไม่ค่อยมีการแก้งาน แต่บริษัทที่เป็นแบบสั่งสร้างมักจะมีปัญหาดังกล่าวพอสมควร โดยเฉพาะบริษัทที่ทำบ้านระดับบนราคาแพงซึ่งนอกจากลูกค้าจะแก้เรื่องคุณภาพงานแล้วยังมักจะชอบเปลี่ยน spec วัสดุต่างๆ ทำให้งานก่อสร้างช้าลงได้
3.3 บริษัทเหล่านั้นอาจจะมีรสนิยมชอบสะสมที่ดิน บางบริษัทชอบสะสมที่ดิน หรือ landbank สำหรับการพัฒนาในอีกหลายๆ ปีข้างหน้า ก็จะทำให้มีสินทรัพย์ในบัญชีสูง การสะสมที่ดินมากเกินไปก็เป็นการเพิ่มสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้กับบริษัท บริษัทอสังหาฯ สมัยก่อนนิยมซื้อที่ดินเก็บไว้มากๆ และมักจะใช้เงินกู้มาซื้อด้วยเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจึงเข้า rehab กันเป็นแถว แต่เหตุผลที่ทำอย่างนั้นเพราะสมัยก่อนเกณฑ์การเข้าตลาดหุ้นของหุ้นอสังหาฯ คือจะต้องมี landbank รองรับการพัฒนาเป็นระยะเวลา 3 หรือ 5 ปี ( ผมจำแน่นอนไม่ได้ ) ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้ว นอกจากนี้ ราคาที่ดินสมัยก่อนเพิ่มขึ้นเร็วทำให้หลายบริษัทเห็นว่าการซื้อที่ดินช่วงขาขึ้นทำให้บริษัทได้กำไรจากราคาที่ดินที่ขึ้นและได้เปรียบบริษัทที่ซื้อที่ดินทีหลัง ดังนั้นในยุคปัจจุบัน หลายๆ บริษัทจึงไม่นิยมสะสม landbank มากเกินไป แต่จะใช้การซื้อล่วงหน้าเพียง 6 เดือน 1 ปีเท่านั้น เนื่องจากราคาที่ดินในปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นฟองสบู่เหมือนสมัยก่อนแล้ว ดังนั้น ในกรณีนี้เราอาจจะเห็นบางบริษัทที่มีสินทรัพย์เยอะๆ เนื่องจากภายใน book จะมีที่ดินประเภทสะสมไว้ตั้งแต่ก่อนวิกฤติแต่อาจจะยังไม่นำมาพัฒนาโครงการด้วยเหตุผลต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น MK PF เป็นต้น
ดังนั้นเราควรเลือกหุ้นที่มี revenue / total asset สูงครับ แต่ ratio ดังกล่าวสูงอย่างเดียวไม่พอครับต้องมี net margin สูงกว่า 10% ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นเราก็ได้หุ้นที่มีแต่ยอดขายแต่ไม่มีกำไรก็เท่ากับว่าบริษัทนั้นทำงานเหนื่อยฟรี เป็นบริษัททำงานเพื่อการกุศลไปครับ
ธุรกิจอสังหาฯ ที่เป็น developer หรือสร้างบ้านขาย เป็นหุ้นที่ไม่ค่อยน่าจะถือลงทุนระยะยาวเท่าไหร่ เพราะว่าเป็นธุรกิจที่ยอดขายแต่ละปีต้องเริ่มจาก 0 เมื่อต้นปี ดังนั้นหากบริษัทอสังหาฯ ใดๆ ขายโครงการเดิมหมดและไม่เปิดโครงการใหม่ ก็จะไม่มีรายได้ในปีต่อไป ดังนั้นจึงเป็นธุรกิจที่เจ้าของกิจการค่อนข้างเหนื่อยในการที่สร้างโครงการใหม่ๆ มาทดแทนโครงการเดิมตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นอสังหาฯ ก็เป็นหุ้นที่เป็นวัฎจักรธุรกิจค่อนข้างสูง ในแง่การลงทุนหากเราซื้อถูกบริษัท ถูกเวลา ก็ให้ผลตอบแทนในการลงทุนค่อนข้างสูง แต่จะต้องเป็นการลงทุนแบบ hit and run คือ กำไรระดับหนึ่งแล้วต้องขาย ระยะเวลาการลงทุนอาจจะเป็น 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี ขึ้นอยู่กับว่าเราซื้อช่วงไหนของ cycle ถ้าซื้อเร็วไปอาจจะต้องรอนานหน่อย แต่ถ้าซื้อช่วงกำลังขึ้นพอดีอาจจะไม่ต้องรอนาน
ที่ผม post ในกระทู้ก่อนว่าหุ้นอสังหาฯ น่าสนใจ ตอนแรกผมคาดว่าหุ้นอสังหาฯ หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาจจะปรับลดลงซัก 15-20% แต่ปรากฎว่าปรับลดลงเพียง 5-10% จึงผิดคาดไปหน่อยครับ ทำให้หลายตัวที่ผมมองๆ ไว้ราคาไม่ลดลงเท่าที่ควรครับ
เนื่องจากธุรกิจอสังหาฯ เป็นธุรกิจที่อิงปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้สูง เช่น การเมือง ราคาน้ำมัน ฯลฯ ดังนั้นในแง่การลงทุนจึงมีความเสี่ยงสูง ผมเองคิดว่าก็ไม่ควรให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่ขึ้นกับปัจจัยภายนอกสูงมากเกินไปในพอร์ตครับ สำหรับหุ้นที่ผมคิดว่าน่าสนใจคงจะไม่ได้เป็นตัวใดตัวหนึ่ง แต่ผมคิดว่ามีหุ้นอสังหาฯ ประเภทสร้างที่อยู่อาศัย ประมาณ 3-4 ตัว ที่มีศักยภาพสูงและน่าสนใจครับ ผมคงขออนุญาตไม่บอกเป็นรายตัวเนื่องจากหุ้นอสังหาฯ มีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้สูง ดังนั้นผู้ที่ซื้อจะต้องศึกษาค่อนข้างละเอียดและรับความเสี่ยงได้ ดังนั้นด้วยความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูงขนาดนี้จึงไม่เหมาะที่ผมจะแนะนำเป็นรายตัวครับ
ผมคงให้หลักการกรองหุ้นอสังหาฯ ไว้ดังนี้ครับ ถ้านำไปใช้ก็น่าจะได้หุ้นที่น่าสนใจเช่นเดียวกันครับ
1 หุ้นตัวนั้นๆ ผู้บริหารควรจะถือหุ้นมากพอสมควร เช่น เกิน 50%
เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการบริหาร สร้างการเติบโต ควบคุมต้นทุนต่างๆ กำกับดูแลไม่ให้เกิดการรั่วไหลในองค์กรเนื่องจากธุรกิจนี้มีการการจัดซื้อจำนวนมาก เช่น ที่ดิน วัสดุก่อสร้างและตกแต่ง การจ้างผู้รับเหมา ดังนั้นในความคิดผม ถ้าผมจะซื้อหุ้นอสังหาฯ ผมอยากให้ผู้บริหารถือหุ้นมากๆ ครับ หุ้นอสังหาฯ บางบริษัทที่เคยใช้มืออาชีพมาบริหารแล้วไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรครับ ซึ่งมีความแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ ครับ
2 หุ้นตัวนั้นๆ ควรจะมี net profit margin ( กำไรสุทธิ / รายได้ ) สูงกว่า 10%
เนื่องจากธุรกิจอสังหาฯ เป็นธุรกิจที่มีการหมุนเวียนของสินทรัพย์ค่อนข้างช้า กล่าวคือ ตั้งแต่ซื้อที่ดิน ถมที่ สร้างบ้าน จนถึงการโอนให้ลูกค้าจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือนถึง 2.5 ปี ( ในกรณีของบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ จะใช้เวลาน้อยหน่อย แต่คอนโดฯ ถ้าเป็นจำนวนชั้นน้อยๆ หรือ low rise จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี แต่ถ้าคอนโดฯ สูงๆ จะใช้เวลา 2-2.5 ปี ) ดังนั้นการขายแต่ละครั้งจะต้องมีกำไรที่มากพอที่จะคุ้มค่ากับผลตอบแทนในการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น การสร้างบ้าน 1 หลัง ใช้เวลา 1 ปี หากมี net margin 10% ก็เท่ากับว่าบริษัทนั้นๆ ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน 10% ต่อปี หรือเปรียบเทียบง่ายๆ คือเทียบเท่ากับบริษัทนั้นๆ นำเงินไปฝากธนาคารหรือเล่นหุ้นแล้วได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี นั่นเอง
อีกตัวอย่าง หาก บริษัท A ทำโครงการคอนโดฯ ใช้เวลาสร้าง 2 ปี และมี net margin 12% ก็เท่ากับว่าผลตอบแทนของโครงการนี้คือปีละ 6% ครับ
ดังนั้น เราควรพิจารณาหุ้นอสังหาฯ ที่มี net profit margin สูงกว่า 10% เพราะถ้าบริษัทไหนทำได้ต่ำกว่านั้นมากๆ ก็จะทำให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นหรือผลตอบแทนการลงทุน ที่วัดในรูปแบบ ROCE ROE ต่ำมาก และหากบริษัทไหนทำได้ต่ำมากๆ เช่น 5% ก็ไม่น่าสนใจเพราะว่าการหมุนสินค้าคงเหลือ ( ในที่นี้คืองานระหว่างการก่อสร้าง ) ต้องใช้เวลา 1 ปี ถ้าได้ margin ระดับ 5% ก็จะเท่ากับ margin ของธุรกิจค้าปลีกแต่ค้าปลีกมีการหมุนสินค้าคงคลังปีละ 4-6 รอบครับ ดังนั้นธุรกิจค้าปลีกจะมี ROA ROCE สูงกว่า
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า หาก 2 บริษัทที่มีการใช้หนี้สินต่อทุนเท่ากัน และมี net margin เท่ากัน บริษัทที่สร้างทาวเฮาส์หรือบ้านเดี่ยวซึ่งจะใช้เวลาสร้างเร็วกว่า จะน่าสนใจกว่าบริษัทที่ทำคอนโดฯ ที่ใช้เวลาสร้างนานกว่า เพราะว่าระยะเวลาการหมุนเวียนสินทรัพย์ของบริษัทสร้างบ้านจะต่ำกว่าครับ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า นอกจาก net margin แล้ว อีกตัวที่สำคัญมากสำหรับธุรกิจอสังหาฯ คือ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มซื้อที่ดินถึงการส่งมอบสินค้าและรับเงินจากลูกค้า กล่าวคือ ถ้าระยะเวลายิ่งน้อยที่สุดก็ยิ่งดีครับ จึงทำให้ต้องพิจารณาข้อ 3 ต่อไปครับ
3 ความเร็วในการหมุนของสินทรัพย์ หรือ Revenue / Total asset
ต่อเนื่องจากที่อธิบายในข้อ 2 ครับ บริษัทไหนที่มี รายได้ / สินทรัพย์รวมต่ำ แสดงว่าบริษัทนั้นมีระยะเวลาตั้งแต่ซื้อที่ดินถึงการโอนนาน มีสินทรัพย์มากแต่ยอดขายน้อย เรียกภาษาชาวบ้านว่า เงินจม ครับ ซึ่งอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ครับ
3.1 บริษัทนั้นๆ อาจจะมีอัตราการขายในบางโครงการช้ามาก เช่น โครงการพัฒนาบ้าน 200 หลัง อาจจะขายได้ปีละ 20 หลัง ซึ่งก็ทำให้มีสินค้าคงเหลือซึ่งได้แก่ค่าพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ และงานระหว่างก่อสร้างสูง ในขณะที่รายได้เข้ามาน้อยแต่สินค้าคงเหลือมีมาก บริษัทพวกนี้ต้องระวังด้วยครับเพราะดอกเบี้ยธนาคารที่กู้มาพัฒนาโครงการหากโครงการนั้นยังขายไม่ได้จะถูกบันทึกเป็นต้นทุนโครงการ ซึ่งไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในงวดนั้นๆ ดังนั้นโครงการที่ขายไม่ได้นานๆ จะมีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ จากอัตราดอกเบี้ยที่บันทึกต้นทุน เมื่อขายได้เมื่อไหร่โครงการนั้นๆ จะมี margin ที่ต่ำมากครับ
3.2 บริษัทนั้นๆ อาจจะมีปัญหาในการก่อสร้าง คือมีความล้าช้า ทำให้ระยะเวลาตั้งแต่ลูกค้าจองซื้อถึงส่งมอบงานกินเวลานาน นอกจากนี้ บริษัทอาจจะมีปัญหาในคุณภาพของงานที่ส่งมอบ เช่น คุณภาพบ้านไม่ดีทำให้ลูกค้าไม่ยอมรับโอนบ้านทำให้ต้องมีการแก้ไขจนกว่าลูกค้าจะพอใจ บริษัทที่สร้างบ้านเสร็จก่อนขายอย่าง LH QH มักจะไม่ค่อยมีปัญหาดังกล่าวเพราะลูกค้าตัดสินใจซื้อจากบ้านที่เสร็จแล้วและพอใจคุณภาพจึงซื้อจึงไม่ค่อยมีการแก้งาน แต่บริษัทที่เป็นแบบสั่งสร้างมักจะมีปัญหาดังกล่าวพอสมควร โดยเฉพาะบริษัทที่ทำบ้านระดับบนราคาแพงซึ่งนอกจากลูกค้าจะแก้เรื่องคุณภาพงานแล้วยังมักจะชอบเปลี่ยน spec วัสดุต่างๆ ทำให้งานก่อสร้างช้าลงได้
3.3 บริษัทเหล่านั้นอาจจะมีรสนิยมชอบสะสมที่ดิน บางบริษัทชอบสะสมที่ดิน หรือ landbank สำหรับการพัฒนาในอีกหลายๆ ปีข้างหน้า ก็จะทำให้มีสินทรัพย์ในบัญชีสูง การสะสมที่ดินมากเกินไปก็เป็นการเพิ่มสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้กับบริษัท บริษัทอสังหาฯ สมัยก่อนนิยมซื้อที่ดินเก็บไว้มากๆ และมักจะใช้เงินกู้มาซื้อด้วยเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจึงเข้า rehab กันเป็นแถว แต่เหตุผลที่ทำอย่างนั้นเพราะสมัยก่อนเกณฑ์การเข้าตลาดหุ้นของหุ้นอสังหาฯ คือจะต้องมี landbank รองรับการพัฒนาเป็นระยะเวลา 3 หรือ 5 ปี ( ผมจำแน่นอนไม่ได้ ) ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้ว นอกจากนี้ ราคาที่ดินสมัยก่อนเพิ่มขึ้นเร็วทำให้หลายบริษัทเห็นว่าการซื้อที่ดินช่วงขาขึ้นทำให้บริษัทได้กำไรจากราคาที่ดินที่ขึ้นและได้เปรียบบริษัทที่ซื้อที่ดินทีหลัง ดังนั้นในยุคปัจจุบัน หลายๆ บริษัทจึงไม่นิยมสะสม landbank มากเกินไป แต่จะใช้การซื้อล่วงหน้าเพียง 6 เดือน 1 ปีเท่านั้น เนื่องจากราคาที่ดินในปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นฟองสบู่เหมือนสมัยก่อนแล้ว ดังนั้น ในกรณีนี้เราอาจจะเห็นบางบริษัทที่มีสินทรัพย์เยอะๆ เนื่องจากภายใน book จะมีที่ดินประเภทสะสมไว้ตั้งแต่ก่อนวิกฤติแต่อาจจะยังไม่นำมาพัฒนาโครงการด้วยเหตุผลต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น MK PF เป็นต้น
ดังนั้นเราควรเลือกหุ้นที่มี revenue / total asset สูงครับ แต่ ratio ดังกล่าวสูงอย่างเดียวไม่พอครับต้องมี net margin สูงกว่า 10% ด้วย เพราะไม่เช่นนั้นเราก็ได้หุ้นที่มีแต่ยอดขายแต่ไม่มีกำไรก็เท่ากับว่าบริษัทนั้นทำงานเหนื่อยฟรี เป็นบริษัททำงานเพื่อการกุศลไปครับ