rrc
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 10, 2006 8:37 am
คำอธิบายและวิเคราะห์งบการเงินสำหรับไตรมาส 3 และงวด 9 เดือน10/11/2549 08:29
RRC : คำอธิบายและวิเคราะห์งบก2000ารเงินสำหรับไตรมาส 3 และงวด 9 เดือน
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงินของบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) และกิจการร่วมค้า
สำหรับไตรมาส 3 และงวด 9 เดือนแรก ปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปี 2548
1. ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
ข้อมูลทางการเงินที่บ่งชี้ถึงผลการดำเนินงาน และสถานะทางการเงินของบริษัทที่สำคัญประจำไตรมาส 3 และงวด 9
เดือนแรก ปี 2549 สามารถสรุปได้ดังนี้
(ล้านบาท) ไตรมาสที่ 3 ม ค. ? ก.ย.
2549 2548 % 2549 2548 %
รายได้จากการขายและ
การให้บริการ 45,957 42,153 9% 137,102 108,914 26%
กำไรสุทธิจากกิจกรรมปกติ 1,181 3,092 (62%) 6,941 6,896 1%
กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ - - - - 5,417 (100%)
กำไรต่อหุ้น (บาท) 1/ 0.41 1.36 (70%) 2.74 5.41 (49%)
Total Intake (KBD) 157.5 156.4 1% 156.3 151.3 3%
GRM (US$/BBL) 0.62 9.81 (94%) 6.10 8.34 (27%)
หมายเหตุ 1/ คำนวณจากจำนวนหุ้นถัวเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา ไตรมาส 3/2549 มีจำนวน 2,861.73 ล้านหุ้น งวด 9
เดือน มีจำนวน 2,529.86 ล้านหุ้น สำหรับไตรมาส 3 และ9 เดือน/2548 มีจำนวน 2,274.98 จำนวนหุ้น
โดยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว ได้เพิ่มจาก 2,274.98 เป็น 2,866.38 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2549
1.1 ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2549
ในไตรมาส 3/2549 บริษัทยังคงสามารถเดินเครื่องผลิตได้สูงถึง 157,500 บาร์เรลต่อวัน หรือเท่ากับ 105%
ของกำลังการกลั่นจัดตั้งเทียบกับไตรมาส 3/2548 ซึ่งโรงกลั่นเดินเครื่องผลิตที่ 156,400 บาร์เรลต่อวัน หรือเท่ากับ 104%
ของกำลังการผลิตจัดตั้ง เนื่องจากความต้องการภายในประเทศยังสูง และบริษัทสามารถขายน้ำมันสำเร็จรูปให้ปตท.
ตามสัญญา Off-take ระยะยาว ณ ราคาตลาดในประเทศได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 1,181 ล้านบาท ลดลง
1,911 ล้านบาท หรือร้อยละ 62 จากไตรมาส 3/2548 คิดเป็นกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.41 บาท ลดลง 0.95 บาท
โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่ค่าการกลั่นเบื้องต้น (Gross Refinery Margin ?GRM) ที่ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 3/2548 ที่
9.81 US$/BBL เหลือเพียง 0.62 US$/BBL ซึ่งประกอบด้วย Market GRM 5.14 US$/BBL และ Stock Loss 4.51
US$/BBL ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ GRM ในไตรมาส 3/2549 ปรับลดลงอย่างมาก
เนื่องมาจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องและปรับลดมากกว่าร
าคาน้ำมันดิบ อันเป็นผลมาจาก
1) ราคาน้ำมันดิบจากแหล่งสำคัญๆ ในตลาดโลกปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงกลางไตรมาส 3/49
หลังจากที่เหตุการณ์สงครามระหว่างอิสราเอลและเลบานอน
และการก่อการร้ายของกลุ่มกบฏในประเทศไนจีเรียคลี่คลายลง
2) การที่อิหร่านมีท่าทีอ่อนลงในเรื่องการทดลองยูเรเนียม
3) BP สามารถกลับมาผลิตน้ำมันดิบ Alaskan North Slope
หลังจากที่ลดกำลังการผลิตไปในช่วงต้นไตรมาสเนื่องจากมีปัญหาเรื่องท่อขนส่งผุกร่อน
ทำให้ตลาดน้ำมันเชื่อมั่นว่าปริมาณการผลิตน้ำมันจะไม่ถูกกระทบกระเทือน
4) ราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลดลง มากกว่าน้ำมันดิบ
เนื่องจากความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงมากในช่วงที่ผ่านม
า และการสิ้นสุดฤดูท่องเที่ยวในประเทศสหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกัน
5) ปริมาณน้ำมันสำรองในหลายประเทศอยู่ในระดับสูง จากการที่โรงกลั่นในภูมิภาคที่ปิดซ่อมบำรุงในช่วงไตรมาสที่ 2
หลายแห่งได้กลับมาดำเนินการผลิตตามปกติ
6) พายุที่เกิดขึ้นในอ่าวเม็กซิโกไม่รุนแรง
และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับอุตสาหกรรมน้ำมันตามที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ นอกจากนั้นกองทุน Hedge Fund
ที่ซื้อน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูปล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ต่างต้องปรับเปลี่ยน Position เพื่อลดผลขาดทุน
ทำให้ราคาน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูปลดต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานค่อนข้างมาก
2549 เปลี่ยนแปลง
(US$/BBL) เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. Q3/49 Q3/48 จำนวน %
ราคาน้ำมันดิบ 1/
Dubai 64.14 65 65.22 69.17 68.77 60 65.98 55.32 10.66 19.27%
WTI 69.46 70.92 70.88 74.38 73.01 63.88 70.42 63.05 7.37 11.69%
Dated Brent 70.35 69.83 68.69 73.66 73.11 61.84 69.54 61.53 8.01 13.02%
ราคาน้ำมันสำเร็จรูป 1/
น้ำมันเบนซิน (95Ron) 81.13 86.8 82.76 85.5 81.22 65.86 77.53 72.43 5.10 7.04%
น้ามันอากาศยาน/น้ำมันก๊าด84.77 85.55 86.18 87.57 89.47 80.55 85.86 75.02 10.84 14.45%
น้ำมันดีเซล (0.5%s) 82.99 84.18 85.88 86.27 86.29 75.85 82.80 71.82 10.98 15.29%
GRM 11.94 10.31 9.59 10.08 4.71 (13.56) 0.62 9.81 (9.19) (93.68%)
หมายเหตุ : 1/ Source: Mean of Platts Singapore
การที่ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปลดลงอย่างรุนแรงในช่วงปลายเดือนกันยายน 2549
ทำให้บริษัทต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการตีมูลค่าน้ำมันคงคลังจำนวนประมาณ 6.52 ล้านบาร์เรล ตามหลัก Lower of cost or
market ซึ่งเท่ากับ 2,065 ล้านบาท และจากผลกระทบดังกล่าวทำให้บริษัทมีผลขาดทุนก่อนภาษีเป็นจำนวน 574 ล้านบาท
แต่เนื่องจากบริษัทสามารถบันทึกรายการเครดิตภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีซึ่งเกิดจากขาดทุนจากการดำเนินงานสำหรับไ
ตรมาส 3/2549 และขาดทุนจากการเปลี่ยนระบบแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตั้งแต่ปี 2540 รวมเป็นจำนวน 1,755
ล้านบาท บริษัทจึงยังคงมีผลประกอบการเป็นกำไรสุทธิจำนวน 1,181 ล้านบาทในไตรมาส 3/2549
1.2 ผลการดำเนินงานในรอบ 9 เดือนแรก ปี 2549
สำหรับงวด 9 เดือนแรกปี 2549 แม้ว่าค่าการกลั่นเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 จะลดลงจาก 9 เดือนแรกของปี
2548 ประมาณร้อยละ 27 ก็ตาม บริษัทยังคงมีกำไรจากกิจกรรมปกติเพิ่มขึ้น 45 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.6
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2548
โดยสาเหตุที่ทำให้บริษัทยังคงมีกำไรจากกิจกรรมปกติเพิ่มขึ้นนั้นมาจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 1,601 ล้านบาท
(รวมส่วนเงินกู้ และเจ้าหนี้การค้าสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ) ที่เกิดจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทจาก 40.11
บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2548 เป็น 37.64 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ 30 ก.ย. 2549
ผนวกกับภาระดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2548 เป็นจำนวน 794 ล้านบาท
ซึ่งเป็นผลจากการที่อัตราดอกเบี้ยลดลง การนำเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานและการทำ IPO
ไปชำระคืนหนี้เงินกู้อย่างต่อเนื่อง
และการที่บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากการเครดิตภาษีดังกล่าวข้างต้นจากการดำเนินงานและผลขาดทุนจากการเปลี่ยน
ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นจำนวน 2,101 ล้านบาท อย่างไรก็ตามในช่วง 9 เดือนแรก
2000
ปี 2548
บริษัทมีกำไรที่ได้รับจากการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 7,738 ล้านบาท
และเมื่อหักภาษีเงินได้ 30% แล้วจึงมีกำไรจากรายการพิเศษจำนวน 5,417 ล้านบาท
ตารางแสดงค่า GRM
(US$/BBL) Q1/49 Q2/49 Q3/49 9M/49 9M/48 เปลี่ยนแปลง
Total Intake (M.BBL) 13.88 14.31 14.49 42.68 41.31 1.37
Market GRM 3.62 8.44 5.14 5.78 5.79 (0.01)
Stock Gain/(Loss) 3.46 2.17 (4.51) 0.32 2.55 (2.23)
Accounting GRM 7.08 10.61 0.62 6.10 8.34 (2.24)
2. โครงสร้างการประกอบธุรกิจของบริษัทและกิจการร่วมค้า
ในไตรมาส 3/2549 บริษัทยังคงดำเนินการกลั่นน้ำมันร่วมกับบริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด (SPRC)
ภายใต้ข้อตกลงที่จะร่วมดำเนินการกลั่นในรูปแบบพันธมิตร
เพื่อประสานประโยชน์จากศักยภาพของโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท และ SPRC เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วม (Synergy)
แก่ทั้งสองบริษัท มากที่สุด (Operating Alliance) โดยให้บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด (ARC) ซึ่งบริษัทและ SPRC
ถือหุ้นฝ่ายละ 50% เป็นผู้บริหารจัดการ และดำเนินการโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทและ SPRC โดยบริษัทและ SPRC
จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ ARC ฝ่ายละ 50%
และเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการกลั่นร่วมฝ่ายละ 50% เช่นเดียวกัน
ดังนั้น ผลการดำเนินงานของบริษัทจึงประกอบด้วยกึ่งหนึ่งของการผลิตรวมของโรงกลั่นของบริษัท และของ SPRC
และกึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ ARC และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการด้านอื่นๆ ที่บริษัท
เป็นผู้ดำเนินการเอง การจัดทำงบการเงินรวมระหว่างงบการเงินของบริษัท และของ ARC จึงใช้วิธีการรวมตามสัดส่วน
(Proportionate Consolidation)
3. งบกำไรขาดทุนไตรมาส 3 และงวด 9 เดือน ปี 2549
3.1 งบกำไร/(ขาดทุน) สำหรับไตรมาส 3 (3 เดือน)
(ล้านบาท)
ไตรมาส 3 ปี 2549 ไตรมาส 3 ปี 2548
รายการ บริษัท ARC(50%) งบรวม บริษัท ARC(50%) งบรวม
1. รายได้จากการขายและ 45,907 100 45,957 42,106 94 42,153
การให้บริการ
2. ต้นทุนขาย (46,140) (71) (46,174) (36,829) (65) (36,859)
3. กำไรขั้นต้น (233) 29 (217) 5,277 29 5,294
4. ค่าใช้จ่ายในการขายและ (92) (24) (103) (142) (25) (154)
บริหาร
5. รายได้อื่น 73 0 69 13 0 10
6. EBITDA (252) 5 (251) 5,149 4 5,151
7. ค่าเสื่อมราคาและ (455) (0) (455) (455) (0) (455)
ค่าตัดจำหน่าย
8. ดอกเบี้ยจ่ายสุทธิ (214) 0 (214) (418) 0 (418)
9. กำไร/(ขาดทุน) 346 0 346 140 (0) 140
จากอัตราแลกเปลี่ยน
10. EBT (576) 5 (574) 4,417 4 4,418
11. ภาษีเงินได้ 1,757 (2) 1,755 (1,325) (1) (1,326)
12. กำไรสุทธิ 1,181 3 1,181 3,092 3 3,092
3.2 งบกำไร/(ขาดทุน) สำหรับงวด 9 เดือนแรก
(ล้านบาท)
9 เดือนแรก ปี 2549 9 เดือนแรก ปี 2548
รายการ บริษัท ARC(50%) งบรวม บริษัท ARC(50%) งบรวม
1. รายได้จากการขายและ 136,938 327 137,102 108,761 305 108,914
การให้บริการ
2. ต้นทุนขาย (128,833) (240) (128,946) (95,510) (222) (95,614)
3. กำไรขั้นต้น 8,105 87 8,156 13,251 83 13,299
4. ค่าใช้จ่ายในการขายและ
บริหาร (448) (72) (484) (445) (67) (479)
5. รายได้อื่น 120 0 111 44 0 34
6. EBITDA 7,778 15 7,783 12,850 16 12,855
7. ค่าเสื่อมราคาและ (1,365) (1) (1,365) (1,371) (1) (1,371)
ค่าตัดจำหน่าย
8. ดอกเบี้ยจ่ายสุทธิ (938) 0 (938) (1,732) 0 (1,732)
9. กำไร/(ขาดทุน) 1,601 0 1,601 104 0 104
จากอัตราแลกเปลี่ยน
10. EBT 7,076 14 7,081 9,852 15 9,856
11. ภาษีเงินได้ (135) (5) (140) (2,955) (5) (2,960)
12. กำไรจากกิจกรรมตามปกติ6,941 9 6,941 6,896 10 6,896
13. รายการพิเศษ 0 0 0 5,417 0 5,417
14.กำไรสุทธิ 6,941 9 6,941 12,313 10 12,313
3.3 รายละเอียดผลการดำเนินงาน
- การผลิต
ปริมาณน้ำมันดิบนำเข้ากลั่นในบริษัท คำนวณด้วยวิธีการแบ่งปริมาณระหว่างโรงกลั่นของบริษัท และโรงกลั่นของ
SPRC ในสัดส่วน 50 ต่อ 50 ตามข้อตกลง Operating Alliance ซึ่งจะมีปริมาณน้ำมันดิบ และวัตถุดิบนำเข้ากลั่น
สำหรับไตรมาส 3 ปี 2549 จำนวน 157,500 บาร์เรลต่อวัน โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลาง
สรุปการผลิต ไตรมาส 3/49 เทียบกับไตรมาส 3/48
Q3/49 Q3/48
Light Distillate 30% 32%
Middle Distillate 52% 49%
Heavy Distillate 17% 18%
อื่น ๆ 1/ 1% 1%
Total 100% 100%
หมายเหตุ 1/ รวม Asphalt และ Sulfur
- การจำหน่าย
บริษัท จำหน่ายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในไตรมาส 3/2549 ได้ทั้งสิ้น 14.3 ล้านบาร์เรล
ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่แตกต่างจากไตรมาส 3/2548 มากนัก โดยมีมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในไตรมาส 3/2549 ทั้งสิ้น
45,957 ล้านบาท สูงกว่าไตรมาส 3/2548 เท่ากับ 3,804 ล้านบาท หรือร้อยละ 9
ทั้งนี้เนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยแบ่งเป็นปริมาณการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 81
ของปริมาณจำหน่ายรวม และที่เหลืออีกร้อยละ 19 เป็นการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน สิงค์โปร์
และเวียดนาม เป็นต้น
สรุปการจำหน่าย ไตรมาส 3/49 เทียบกับไตรมาส 3/48
Q3/49 Q3/48
ปตท. 67% 68%
อื่นๆ 14% 15%
จำหน่ายในประเทศ 81% 83%
ส่งออก 19% 17%
รวมทั้งหมด 100% 100%
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารและดอกเบี้ยจ่าย
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในไตรมาส 3/2549 ปรับลดลงจากไตรมาส 3/2548 จำนวน 51 ล้านบาท หรือร้อยละ 33
เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในไตรมาส 3/2548 ได้รวมผลขาดทุนจาก margin hedge จำนวน 61 ล้านบาท แต่ในไตรมาส
3/2549 บริษัทมีกำไร margin hedge จำนวน 16.3 ล้านบาท ซึ่งถูกบันทึกบัญชีในรายการรายได้อื่น
นอกจากนี้รายได้อื่นในไตรมาส 3/2549 ยังประกอบด้วย ดอกเบี้ยรับจำนวนประมาณ 39 ล้านบาท
และรายได้จากการดำเนินงานอื่น ๆอีกประมาณ 18 ล้านบาท
บริษัทได้นำเงินที่ได้จากการดำเนินงาน และจากการทำ IPO ไปชำระคืนหนี้เงินกู้ Revolving บางส่
1f3f
วน
ซึ่งบริษัทสามารถเบิกถอนใช้ได้ใหม่เมื่อมีความจำเป็น ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายลดจากไตรมาส 3/2548 ถึง 204 ล้านบาท
หรือร้อยละ 49 ประกอบกับผลการแข็งค่าของเงินบาทจากประมาณ 38.45 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549
เป็น 37.64 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นไตรมาส 3/2549 ทำให้บริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 346 ล้านบาท
(คำนวณจากยอดหนี้เงินกู้และเจ้าหนี้การค้าที่เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ) เปรียบเทียบกับ 140 ล้านบาทในไตรมาส 3/2548
ซึ่งเป็นผลจากการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นจาก 41.41 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นไตรมาส 2/2548 เป็น 41.11
บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นไตรมาส 3/2548
-ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
สืบเนื่องจากผลขาดทุนก่อนภาษีเงินได้สำหรับไตรมาส 3/2549 จำนวน 574 ล้านบาท
ที่บริษัทสามารถปรับลดรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% เป็นจำนวน 178 ล้านบาท
นอกจากนี้บริษัทสามารถบันทึกรายการภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจำนวน 1,577 ล้านบาท
ซึ่งมาจากยอดขาดทุนจากการเปลี่ยนระบบแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศส่วนที่เหลือมาตั้งแต่ปี 2540
ดังนั้นบริษัทจึงสามารถบันทึกบัญชีเครดิตภาษีเงินได้ในไตรมาส 3/2549 ทั้งสิ้น 1,755 ล้านบาท
และทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,181 ล้านบาทสำหรับไตรมาส 3/2549 และ 6,941 ล้านบาท สำหรับ 9
เดือนสิ้นสุดเดือนกันยายน 2549 หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้นจำนวน 0.41 บาท และ 2.74 บาท ตามลำดับ
4. งบดุลของบริษัทและกิจการร่วมค้า ณ วันที่ 30 ก.ย. 2549 และ 31ธ.ค. 2548
รายการ งบการเงินรวม ณ วันที่ งบการเงินเฉพาะบริษัท
(ล้านบาท) 30 ก.ย. 2549 31 ธ.ค. 2548 ป.ป. 30 ก.ย. 2549 31 ธ.ค. 2548 ป.ป.
1. สินทรัพย์
2. สินทรัพย์หมุนเวียน 27,111 26,775 336 27,088 26,731 357
3. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 41,307 37,208 4,099 41,321 37,227 4,094
4. รวมสินทรัพย์ 68,418 63,983 4,435 68,409 63,959 4,450
5. หนี้สิน
6. หนี้สินหมุนเวียน 14,164 26,716 (12,552) 14,159 26,695 (12,536)
7. หนี้สินระยะยาว 10,631 11,014 (383) 10,628 11,011 (383)
8. รวมหนี้สิน 24,796 37,730 (12,934) 24,787 37,706 (12,919)
9. ส่วนของผู้ถือหุ้น
10. ทุนและ 33,179 22,750 10,429 33,179 22,750 10,429
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น
11. กำไรสะสม 10,443 3,503 6,941 10,443 3,503 6,941
12. รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 43,622 26,253 17,369 43,622 26,253 17,369
13. รวมหนี้สินและ 68,418 63,983 4,435 68,409 63,959 4,450
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ วันที่ 30 ก.ย. 2549 บริษัทและกิจการร่วมค้า มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 68,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธ.ค. 2548
จำนวน 4,435 ล้านบาท หรือร้อยละ 7 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการลงทุนใน Expansion project
ซึ่งประกอบด้วยโครงการ Reformer Complex ประมาณ 4,000 ล้านบาท Condensate Tank จำนวน 3 ล้านบาท
และโครงการ Upgrading Project จำนวน 31 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือเป็นลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายน้ำมันสำเร็จรูปในราคาที่สูงตามราคาตลาด
และสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
หนี้สินรวม ณ วันที่ 30 ก.ย. 2549 มีจำนวนทั้งสิ้น 24,796 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2548จำนวน 12,934
ล้านบาท หรือร้อยละ 34 โดยมีสาเหตุหลักจากการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นทั้งจำนวนให้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (ผู้ถือหุ้น-
ปตท) จำนวน 12,000 ล้านบาท ด้วยเงินกู้ยืมใหม่ที่ได้รับจากกลุ่มเจ้าหนี้สถาบันการเงิน (Refinance) เมื่อต้นปี 2549
ผนวกกับการนำเงินได้จากการดำเนินงาน และจากการทำ IPO ไปชำระคืนหนี้เงินกู้ที่มีกับเจ้าหนี้กลุ่มสถาบันการเงิน
ณ วันที่ 30 ก.ย. 2549 บริษัทมีส่วนผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 43,622 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2548 จำนวน 17,369
ล้านบาท หรือร้อยละ 66 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
และส่วนเกินมูลค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทต่อประชาชน (IPO)
เป็นจำนวนสุทธิจากค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายหุ้นเท่ากับ 10,429 ล้านบาท
และกำไรสะสมจากผลการดำเนินงานที่มีกำไรในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2549 จำนวน 6,941 ล้านบาท
5. งบกระแสเงินสดสำหรับงวด 9 เดือนแรก ปี 2549
สภาพคล่องของบริษัทมีกระแสเงินสดลดลงสุทธิจากสิ้นปี 2548 จำนวน 2,057 ล้านบาท
โดยเป็นเงินสดต้นงวดที่ยกมาจากสิ้นปี 2548 จำนวน 2,598 ล้านบาท ทำให้มีเงินสดสุทธิปลายงวดเท่ากับ 541 ล้านบาท
รายละเอียดกระแสเงินสดแต่ละกิจกรรมมีดังนี้
(ล้านบาท) ณ 30 ก.ย 2549
เงินสดต้นงวด 2,598
บวก เงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน 4,993
รวมเงินสดรับ 7,591
หัก เงินสดจ่ายเพื่อกิจกรรมลงทุน (4,097)
เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
- เงินรับสุทธิจากการทำ IPO
- เงินรับ/(ชำระคืน)เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยที่มีกับเจ้าหนี้ 10,429
สถาบันการเงินและเจ้าหนี้จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (13,382)
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน (2,953)
เงินสดสุทธิปลายงวด 541
กระแสเงินสดรับจากกิจกรรมการดำเนินงานสุทธิ 4,993 ล้านบาท เป็นเงินสดที่ได้จากกำไรสุทธิ 6,941 ล้านบาท
ปรับปรุงด้วยรายการเกี่ยวกับการดำเนินงานอื่นๆ 1,948 ล้านบาท และมีเงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมการลงทุน
ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นส่วนของค่าใช้จ่ายลงทุนในโครงการ Reformer
เมื่อหักกับเงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 2,953 ล้านบาท เป็นผลให้บริษัทมีเงินสดลดลงสุทธิ 2,057
ล้านบาท รวมกับเงินสดคงเหลือต้นงวด 2,598 ล้านบาท ทำให้มีเงินสดสุทธิปลายงวดเท่ากับ 541 ล้านบาท
6. อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราส่วนทางการเงินและกำไรต่อหุ้นของบริษัทสำหรับไตรมาส 3/2549 เปรียบเทียบกับไตรมาส 3/2548 เป็นดังนี้
ไตรมาส 3/2549 ไตรมาส 3/2548
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) (0.47) 12.56
อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) 2.55 7.31
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (เท่า) n/a 12.32
ณ 30 ก.ย. 2549 ณ 31 ธ.ค. 2548
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 1.88 1.00
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.73 0.39
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.57 1.44
อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.25 0.42
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.56 1.34
ที่มาในการคำนวณ :
อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียนอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว =
(เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น + ลูกหนี้การค้า) /
หนี้สินหมุนเวียนอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร = EBITDA / รายได้จากการขายอัตราส่วนกำไรขั้นต้น =
กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขายอัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้รวมอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น =
หนี้สินรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้นอัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว/
ส่วนของผู้ถือหุ้นอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA /
ดอกเบี้ยจ่ายอัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อเงินทุนระยะยาว = หนี้เงินกู้ระยะยาว /
เงินทุนระยะยาวอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น
RRC : คำอธิบายและวิเคราะห์งบก2000ารเงินสำหรับไตรมาส 3 และงวด 9 เดือน
คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงินของบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) และกิจการร่วมค้า
สำหรับไตรมาส 3 และงวด 9 เดือนแรก ปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปี 2548
1. ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
ข้อมูลทางการเงินที่บ่งชี้ถึงผลการดำเนินงาน และสถานะทางการเงินของบริษัทที่สำคัญประจำไตรมาส 3 และงวด 9
เดือนแรก ปี 2549 สามารถสรุปได้ดังนี้
(ล้านบาท) ไตรมาสที่ 3 ม ค. ? ก.ย.
2549 2548 % 2549 2548 %
รายได้จากการขายและ
การให้บริการ 45,957 42,153 9% 137,102 108,914 26%
กำไรสุทธิจากกิจกรรมปกติ 1,181 3,092 (62%) 6,941 6,896 1%
กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ - - - - 5,417 (100%)
กำไรต่อหุ้น (บาท) 1/ 0.41 1.36 (70%) 2.74 5.41 (49%)
Total Intake (KBD) 157.5 156.4 1% 156.3 151.3 3%
GRM (US$/BBL) 0.62 9.81 (94%) 6.10 8.34 (27%)
หมายเหตุ 1/ คำนวณจากจำนวนหุ้นถัวเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา ไตรมาส 3/2549 มีจำนวน 2,861.73 ล้านหุ้น งวด 9
เดือน มีจำนวน 2,529.86 ล้านหุ้น สำหรับไตรมาส 3 และ9 เดือน/2548 มีจำนวน 2,274.98 จำนวนหุ้น
โดยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว ได้เพิ่มจาก 2,274.98 เป็น 2,866.38 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2549
1.1 ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2549
ในไตรมาส 3/2549 บริษัทยังคงสามารถเดินเครื่องผลิตได้สูงถึง 157,500 บาร์เรลต่อวัน หรือเท่ากับ 105%
ของกำลังการกลั่นจัดตั้งเทียบกับไตรมาส 3/2548 ซึ่งโรงกลั่นเดินเครื่องผลิตที่ 156,400 บาร์เรลต่อวัน หรือเท่ากับ 104%
ของกำลังการผลิตจัดตั้ง เนื่องจากความต้องการภายในประเทศยังสูง และบริษัทสามารถขายน้ำมันสำเร็จรูปให้ปตท.
ตามสัญญา Off-take ระยะยาว ณ ราคาตลาดในประเทศได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 1,181 ล้านบาท ลดลง
1,911 ล้านบาท หรือร้อยละ 62 จากไตรมาส 3/2548 คิดเป็นกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.41 บาท ลดลง 0.95 บาท
โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่ค่าการกลั่นเบื้องต้น (Gross Refinery Margin ?GRM) ที่ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 3/2548 ที่
9.81 US$/BBL เหลือเพียง 0.62 US$/BBL ซึ่งประกอบด้วย Market GRM 5.14 US$/BBL และ Stock Loss 4.51
US$/BBL ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ GRM ในไตรมาส 3/2549 ปรับลดลงอย่างมาก
เนื่องมาจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องและปรับลดมากกว่าร
าคาน้ำมันดิบ อันเป็นผลมาจาก
1) ราคาน้ำมันดิบจากแหล่งสำคัญๆ ในตลาดโลกปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงกลางไตรมาส 3/49
หลังจากที่เหตุการณ์สงครามระหว่างอิสราเอลและเลบานอน
และการก่อการร้ายของกลุ่มกบฏในประเทศไนจีเรียคลี่คลายลง
2) การที่อิหร่านมีท่าทีอ่อนลงในเรื่องการทดลองยูเรเนียม
3) BP สามารถกลับมาผลิตน้ำมันดิบ Alaskan North Slope
หลังจากที่ลดกำลังการผลิตไปในช่วงต้นไตรมาสเนื่องจากมีปัญหาเรื่องท่อขนส่งผุกร่อน
ทำให้ตลาดน้ำมันเชื่อมั่นว่าปริมาณการผลิตน้ำมันจะไม่ถูกกระทบกระเทือน
4) ราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลดลง มากกว่าน้ำมันดิบ
เนื่องจากความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงมากในช่วงที่ผ่านม
า และการสิ้นสุดฤดูท่องเที่ยวในประเทศสหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกัน
5) ปริมาณน้ำมันสำรองในหลายประเทศอยู่ในระดับสูง จากการที่โรงกลั่นในภูมิภาคที่ปิดซ่อมบำรุงในช่วงไตรมาสที่ 2
หลายแห่งได้กลับมาดำเนินการผลิตตามปกติ
6) พายุที่เกิดขึ้นในอ่าวเม็กซิโกไม่รุนแรง
และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับอุตสาหกรรมน้ำมันตามที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ นอกจากนั้นกองทุน Hedge Fund
ที่ซื้อน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูปล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ต่างต้องปรับเปลี่ยน Position เพื่อลดผลขาดทุน
ทำให้ราคาน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูปลดต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานค่อนข้างมาก
2549 เปลี่ยนแปลง
(US$/BBL) เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. Q3/49 Q3/48 จำนวน %
ราคาน้ำมันดิบ 1/
Dubai 64.14 65 65.22 69.17 68.77 60 65.98 55.32 10.66 19.27%
WTI 69.46 70.92 70.88 74.38 73.01 63.88 70.42 63.05 7.37 11.69%
Dated Brent 70.35 69.83 68.69 73.66 73.11 61.84 69.54 61.53 8.01 13.02%
ราคาน้ำมันสำเร็จรูป 1/
น้ำมันเบนซิน (95Ron) 81.13 86.8 82.76 85.5 81.22 65.86 77.53 72.43 5.10 7.04%
น้ามันอากาศยาน/น้ำมันก๊าด84.77 85.55 86.18 87.57 89.47 80.55 85.86 75.02 10.84 14.45%
น้ำมันดีเซล (0.5%s) 82.99 84.18 85.88 86.27 86.29 75.85 82.80 71.82 10.98 15.29%
GRM 11.94 10.31 9.59 10.08 4.71 (13.56) 0.62 9.81 (9.19) (93.68%)
หมายเหตุ : 1/ Source: Mean of Platts Singapore
การที่ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปลดลงอย่างรุนแรงในช่วงปลายเดือนกันยายน 2549
ทำให้บริษัทต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการตีมูลค่าน้ำมันคงคลังจำนวนประมาณ 6.52 ล้านบาร์เรล ตามหลัก Lower of cost or
market ซึ่งเท่ากับ 2,065 ล้านบาท และจากผลกระทบดังกล่าวทำให้บริษัทมีผลขาดทุนก่อนภาษีเป็นจำนวน 574 ล้านบาท
แต่เนื่องจากบริษัทสามารถบันทึกรายการเครดิตภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีซึ่งเกิดจากขาดทุนจากการดำเนินงานสำหรับไ
ตรมาส 3/2549 และขาดทุนจากการเปลี่ยนระบบแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตั้งแต่ปี 2540 รวมเป็นจำนวน 1,755
ล้านบาท บริษัทจึงยังคงมีผลประกอบการเป็นกำไรสุทธิจำนวน 1,181 ล้านบาทในไตรมาส 3/2549
1.2 ผลการดำเนินงานในรอบ 9 เดือนแรก ปี 2549
สำหรับงวด 9 เดือนแรกปี 2549 แม้ว่าค่าการกลั่นเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 จะลดลงจาก 9 เดือนแรกของปี
2548 ประมาณร้อยละ 27 ก็ตาม บริษัทยังคงมีกำไรจากกิจกรรมปกติเพิ่มขึ้น 45 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.6
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2548
โดยสาเหตุที่ทำให้บริษัทยังคงมีกำไรจากกิจกรรมปกติเพิ่มขึ้นนั้นมาจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 1,601 ล้านบาท
(รวมส่วนเงินกู้ และเจ้าหนี้การค้าสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ) ที่เกิดจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทจาก 40.11
บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2548 เป็น 37.64 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ 30 ก.ย. 2549
ผนวกกับภาระดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2548 เป็นจำนวน 794 ล้านบาท
ซึ่งเป็นผลจากการที่อัตราดอกเบี้ยลดลง การนำเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานและการทำ IPO
ไปชำระคืนหนี้เงินกู้อย่างต่อเนื่อง
และการที่บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากการเครดิตภาษีดังกล่าวข้างต้นจากการดำเนินงานและผลขาดทุนจากการเปลี่ยน
ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นจำนวน 2,101 ล้านบาท อย่างไรก็ตามในช่วง 9 เดือนแรก
2000
ปี 2548
บริษัทมีกำไรที่ได้รับจากการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 7,738 ล้านบาท
และเมื่อหักภาษีเงินได้ 30% แล้วจึงมีกำไรจากรายการพิเศษจำนวน 5,417 ล้านบาท
ตารางแสดงค่า GRM
(US$/BBL) Q1/49 Q2/49 Q3/49 9M/49 9M/48 เปลี่ยนแปลง
Total Intake (M.BBL) 13.88 14.31 14.49 42.68 41.31 1.37
Market GRM 3.62 8.44 5.14 5.78 5.79 (0.01)
Stock Gain/(Loss) 3.46 2.17 (4.51) 0.32 2.55 (2.23)
Accounting GRM 7.08 10.61 0.62 6.10 8.34 (2.24)
2. โครงสร้างการประกอบธุรกิจของบริษัทและกิจการร่วมค้า
ในไตรมาส 3/2549 บริษัทยังคงดำเนินการกลั่นน้ำมันร่วมกับบริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด (SPRC)
ภายใต้ข้อตกลงที่จะร่วมดำเนินการกลั่นในรูปแบบพันธมิตร
เพื่อประสานประโยชน์จากศักยภาพของโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท และ SPRC เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วม (Synergy)
แก่ทั้งสองบริษัท มากที่สุด (Operating Alliance) โดยให้บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด (ARC) ซึ่งบริษัทและ SPRC
ถือหุ้นฝ่ายละ 50% เป็นผู้บริหารจัดการ และดำเนินการโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทและ SPRC โดยบริษัทและ SPRC
จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ ARC ฝ่ายละ 50%
และเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการกลั่นร่วมฝ่ายละ 50% เช่นเดียวกัน
ดังนั้น ผลการดำเนินงานของบริษัทจึงประกอบด้วยกึ่งหนึ่งของการผลิตรวมของโรงกลั่นของบริษัท และของ SPRC
และกึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ ARC และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการด้านอื่นๆ ที่บริษัท
เป็นผู้ดำเนินการเอง การจัดทำงบการเงินรวมระหว่างงบการเงินของบริษัท และของ ARC จึงใช้วิธีการรวมตามสัดส่วน
(Proportionate Consolidation)
3. งบกำไรขาดทุนไตรมาส 3 และงวด 9 เดือน ปี 2549
3.1 งบกำไร/(ขาดทุน) สำหรับไตรมาส 3 (3 เดือน)
(ล้านบาท)
ไตรมาส 3 ปี 2549 ไตรมาส 3 ปี 2548
รายการ บริษัท ARC(50%) งบรวม บริษัท ARC(50%) งบรวม
1. รายได้จากการขายและ 45,907 100 45,957 42,106 94 42,153
การให้บริการ
2. ต้นทุนขาย (46,140) (71) (46,174) (36,829) (65) (36,859)
3. กำไรขั้นต้น (233) 29 (217) 5,277 29 5,294
4. ค่าใช้จ่ายในการขายและ (92) (24) (103) (142) (25) (154)
บริหาร
5. รายได้อื่น 73 0 69 13 0 10
6. EBITDA (252) 5 (251) 5,149 4 5,151
7. ค่าเสื่อมราคาและ (455) (0) (455) (455) (0) (455)
ค่าตัดจำหน่าย
8. ดอกเบี้ยจ่ายสุทธิ (214) 0 (214) (418) 0 (418)
9. กำไร/(ขาดทุน) 346 0 346 140 (0) 140
จากอัตราแลกเปลี่ยน
10. EBT (576) 5 (574) 4,417 4 4,418
11. ภาษีเงินได้ 1,757 (2) 1,755 (1,325) (1) (1,326)
12. กำไรสุทธิ 1,181 3 1,181 3,092 3 3,092
3.2 งบกำไร/(ขาดทุน) สำหรับงวด 9 เดือนแรก
(ล้านบาท)
9 เดือนแรก ปี 2549 9 เดือนแรก ปี 2548
รายการ บริษัท ARC(50%) งบรวม บริษัท ARC(50%) งบรวม
1. รายได้จากการขายและ 136,938 327 137,102 108,761 305 108,914
การให้บริการ
2. ต้นทุนขาย (128,833) (240) (128,946) (95,510) (222) (95,614)
3. กำไรขั้นต้น 8,105 87 8,156 13,251 83 13,299
4. ค่าใช้จ่ายในการขายและ
บริหาร (448) (72) (484) (445) (67) (479)
5. รายได้อื่น 120 0 111 44 0 34
6. EBITDA 7,778 15 7,783 12,850 16 12,855
7. ค่าเสื่อมราคาและ (1,365) (1) (1,365) (1,371) (1) (1,371)
ค่าตัดจำหน่าย
8. ดอกเบี้ยจ่ายสุทธิ (938) 0 (938) (1,732) 0 (1,732)
9. กำไร/(ขาดทุน) 1,601 0 1,601 104 0 104
จากอัตราแลกเปลี่ยน
10. EBT 7,076 14 7,081 9,852 15 9,856
11. ภาษีเงินได้ (135) (5) (140) (2,955) (5) (2,960)
12. กำไรจากกิจกรรมตามปกติ6,941 9 6,941 6,896 10 6,896
13. รายการพิเศษ 0 0 0 5,417 0 5,417
14.กำไรสุทธิ 6,941 9 6,941 12,313 10 12,313
3.3 รายละเอียดผลการดำเนินงาน
- การผลิต
ปริมาณน้ำมันดิบนำเข้ากลั่นในบริษัท คำนวณด้วยวิธีการแบ่งปริมาณระหว่างโรงกลั่นของบริษัท และโรงกลั่นของ
SPRC ในสัดส่วน 50 ต่อ 50 ตามข้อตกลง Operating Alliance ซึ่งจะมีปริมาณน้ำมันดิบ และวัตถุดิบนำเข้ากลั่น
สำหรับไตรมาส 3 ปี 2549 จำนวน 157,500 บาร์เรลต่อวัน โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลาง
สรุปการผลิต ไตรมาส 3/49 เทียบกับไตรมาส 3/48
Q3/49 Q3/48
Light Distillate 30% 32%
Middle Distillate 52% 49%
Heavy Distillate 17% 18%
อื่น ๆ 1/ 1% 1%
Total 100% 100%
หมายเหตุ 1/ รวม Asphalt และ Sulfur
- การจำหน่าย
บริษัท จำหน่ายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในไตรมาส 3/2549 ได้ทั้งสิ้น 14.3 ล้านบาร์เรล
ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่แตกต่างจากไตรมาส 3/2548 มากนัก โดยมีมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในไตรมาส 3/2549 ทั้งสิ้น
45,957 ล้านบาท สูงกว่าไตรมาส 3/2548 เท่ากับ 3,804 ล้านบาท หรือร้อยละ 9
ทั้งนี้เนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยแบ่งเป็นปริมาณการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 81
ของปริมาณจำหน่ายรวม และที่เหลืออีกร้อยละ 19 เป็นการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน สิงค์โปร์
และเวียดนาม เป็นต้น
สรุปการจำหน่าย ไตรมาส 3/49 เทียบกับไตรมาส 3/48
Q3/49 Q3/48
ปตท. 67% 68%
อื่นๆ 14% 15%
จำหน่ายในประเทศ 81% 83%
ส่งออก 19% 17%
รวมทั้งหมด 100% 100%
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารและดอกเบี้ยจ่าย
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในไตรมาส 3/2549 ปรับลดลงจากไตรมาส 3/2548 จำนวน 51 ล้านบาท หรือร้อยละ 33
เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในไตรมาส 3/2548 ได้รวมผลขาดทุนจาก margin hedge จำนวน 61 ล้านบาท แต่ในไตรมาส
3/2549 บริษัทมีกำไร margin hedge จำนวน 16.3 ล้านบาท ซึ่งถูกบันทึกบัญชีในรายการรายได้อื่น
นอกจากนี้รายได้อื่นในไตรมาส 3/2549 ยังประกอบด้วย ดอกเบี้ยรับจำนวนประมาณ 39 ล้านบาท
และรายได้จากการดำเนินงานอื่น ๆอีกประมาณ 18 ล้านบาท
บริษัทได้นำเงินที่ได้จากการดำเนินงาน และจากการทำ IPO ไปชำระคืนหนี้เงินกู้ Revolving บางส่
1f3f
วน
ซึ่งบริษัทสามารถเบิกถอนใช้ได้ใหม่เมื่อมีความจำเป็น ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายลดจากไตรมาส 3/2548 ถึง 204 ล้านบาท
หรือร้อยละ 49 ประกอบกับผลการแข็งค่าของเงินบาทจากประมาณ 38.45 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549
เป็น 37.64 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นไตรมาส 3/2549 ทำให้บริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 346 ล้านบาท
(คำนวณจากยอดหนี้เงินกู้และเจ้าหนี้การค้าที่เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ) เปรียบเทียบกับ 140 ล้านบาทในไตรมาส 3/2548
ซึ่งเป็นผลจากการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นจาก 41.41 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นไตรมาส 2/2548 เป็น 41.11
บาท/เหรียญสหรัฐฯ ณ สิ้นไตรมาส 3/2548
-ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
สืบเนื่องจากผลขาดทุนก่อนภาษีเงินได้สำหรับไตรมาส 3/2549 จำนวน 574 ล้านบาท
ที่บริษัทสามารถปรับลดรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% เป็นจำนวน 178 ล้านบาท
นอกจากนี้บริษัทสามารถบันทึกรายการภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจำนวน 1,577 ล้านบาท
ซึ่งมาจากยอดขาดทุนจากการเปลี่ยนระบบแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศส่วนที่เหลือมาตั้งแต่ปี 2540
ดังนั้นบริษัทจึงสามารถบันทึกบัญชีเครดิตภาษีเงินได้ในไตรมาส 3/2549 ทั้งสิ้น 1,755 ล้านบาท
และทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,181 ล้านบาทสำหรับไตรมาส 3/2549 และ 6,941 ล้านบาท สำหรับ 9
เดือนสิ้นสุดเดือนกันยายน 2549 หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้นจำนวน 0.41 บาท และ 2.74 บาท ตามลำดับ
4. งบดุลของบริษัทและกิจการร่วมค้า ณ วันที่ 30 ก.ย. 2549 และ 31ธ.ค. 2548
รายการ งบการเงินรวม ณ วันที่ งบการเงินเฉพาะบริษัท
(ล้านบาท) 30 ก.ย. 2549 31 ธ.ค. 2548 ป.ป. 30 ก.ย. 2549 31 ธ.ค. 2548 ป.ป.
1. สินทรัพย์
2. สินทรัพย์หมุนเวียน 27,111 26,775 336 27,088 26,731 357
3. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 41,307 37,208 4,099 41,321 37,227 4,094
4. รวมสินทรัพย์ 68,418 63,983 4,435 68,409 63,959 4,450
5. หนี้สิน
6. หนี้สินหมุนเวียน 14,164 26,716 (12,552) 14,159 26,695 (12,536)
7. หนี้สินระยะยาว 10,631 11,014 (383) 10,628 11,011 (383)
8. รวมหนี้สิน 24,796 37,730 (12,934) 24,787 37,706 (12,919)
9. ส่วนของผู้ถือหุ้น
10. ทุนและ 33,179 22,750 10,429 33,179 22,750 10,429
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น
11. กำไรสะสม 10,443 3,503 6,941 10,443 3,503 6,941
12. รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 43,622 26,253 17,369 43,622 26,253 17,369
13. รวมหนี้สินและ 68,418 63,983 4,435 68,409 63,959 4,450
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ วันที่ 30 ก.ย. 2549 บริษัทและกิจการร่วมค้า มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 68,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธ.ค. 2548
จำนวน 4,435 ล้านบาท หรือร้อยละ 7 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการลงทุนใน Expansion project
ซึ่งประกอบด้วยโครงการ Reformer Complex ประมาณ 4,000 ล้านบาท Condensate Tank จำนวน 3 ล้านบาท
และโครงการ Upgrading Project จำนวน 31 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือเป็นลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายน้ำมันสำเร็จรูปในราคาที่สูงตามราคาตลาด
และสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
หนี้สินรวม ณ วันที่ 30 ก.ย. 2549 มีจำนวนทั้งสิ้น 24,796 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2548จำนวน 12,934
ล้านบาท หรือร้อยละ 34 โดยมีสาเหตุหลักจากการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นทั้งจำนวนให้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (ผู้ถือหุ้น-
ปตท) จำนวน 12,000 ล้านบาท ด้วยเงินกู้ยืมใหม่ที่ได้รับจากกลุ่มเจ้าหนี้สถาบันการเงิน (Refinance) เมื่อต้นปี 2549
ผนวกกับการนำเงินได้จากการดำเนินงาน และจากการทำ IPO ไปชำระคืนหนี้เงินกู้ที่มีกับเจ้าหนี้กลุ่มสถาบันการเงิน
ณ วันที่ 30 ก.ย. 2549 บริษัทมีส่วนผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 43,622 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2548 จำนวน 17,369
ล้านบาท หรือร้อยละ 66 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
และส่วนเกินมูลค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทต่อประชาชน (IPO)
เป็นจำนวนสุทธิจากค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายหุ้นเท่ากับ 10,429 ล้านบาท
และกำไรสะสมจากผลการดำเนินงานที่มีกำไรในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2549 จำนวน 6,941 ล้านบาท
5. งบกระแสเงินสดสำหรับงวด 9 เดือนแรก ปี 2549
สภาพคล่องของบริษัทมีกระแสเงินสดลดลงสุทธิจากสิ้นปี 2548 จำนวน 2,057 ล้านบาท
โดยเป็นเงินสดต้นงวดที่ยกมาจากสิ้นปี 2548 จำนวน 2,598 ล้านบาท ทำให้มีเงินสดสุทธิปลายงวดเท่ากับ 541 ล้านบาท
รายละเอียดกระแสเงินสดแต่ละกิจกรรมมีดังนี้
(ล้านบาท) ณ 30 ก.ย 2549
เงินสดต้นงวด 2,598
บวก เงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน 4,993
รวมเงินสดรับ 7,591
หัก เงินสดจ่ายเพื่อกิจกรรมลงทุน (4,097)
เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
- เงินรับสุทธิจากการทำ IPO
- เงินรับ/(ชำระคืน)เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยที่มีกับเจ้าหนี้ 10,429
สถาบันการเงินและเจ้าหนี้จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (13,382)
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน (2,953)
เงินสดสุทธิปลายงวด 541
กระแสเงินสดรับจากกิจกรรมการดำเนินงานสุทธิ 4,993 ล้านบาท เป็นเงินสดที่ได้จากกำไรสุทธิ 6,941 ล้านบาท
ปรับปรุงด้วยรายการเกี่ยวกับการดำเนินงานอื่นๆ 1,948 ล้านบาท และมีเงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมการลงทุน
ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นส่วนของค่าใช้จ่ายลงทุนในโครงการ Reformer
เมื่อหักกับเงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 2,953 ล้านบาท เป็นผลให้บริษัทมีเงินสดลดลงสุทธิ 2,057
ล้านบาท รวมกับเงินสดคงเหลือต้นงวด 2,598 ล้านบาท ทำให้มีเงินสดสุทธิปลายงวดเท่ากับ 541 ล้านบาท
6. อัตราส่วนทางการเงิน
อัตราส่วนทางการเงินและกำไรต่อหุ้นของบริษัทสำหรับไตรมาส 3/2549 เปรียบเทียบกับไตรมาส 3/2548 เป็นดังนี้
ไตรมาส 3/2549 ไตรมาส 3/2548
อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (%) (0.47) 12.56
อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) 2.55 7.31
อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (เท่า) n/a 12.32
ณ 30 ก.ย. 2549 ณ 31 ธ.ค. 2548
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 1.88 1.00
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.73 0.39
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.57 1.44
อัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.25 0.42
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.56 1.34
ที่มาในการคำนวณ :
อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียนอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว =
(เงินสดและรายการเทียบเท่า + เงินลงทุนระยะสั้น + ลูกหนี้การค้า) /
หนี้สินหมุนเวียนอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร = EBITDA / รายได้จากการขายอัตราส่วนกำไรขั้นต้น =
กำไรขั้นต้น / รายได้จากการขายอัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ / รายได้รวมอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น =
หนี้สินรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้นอัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้เงินกู้ระยะยาว/
ส่วนของผู้ถือหุ้นอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = EBITDA /
ดอกเบี้ยจ่ายอัตราส่วนหนี้เงินกู้ระยะยาวต่อเงินทุนระยะยาว = หนี้เงินกู้ระยะยาว /
เงินทุนระยะยาวอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น