หน้า 1 จากทั้งหมด 2
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 10:14 am
โดย Golden Stock
ผู้ว่าฯ ธนาคารแห่งประเทศไทยยุคหม่อนอุ๋ย และปัจจุบัน ทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องมือที่หลายๆ ประเทศนิยมใช้กัน
อย่างตอนดร.สมคิด และดร.ทนงยังเป็นรัฐมนตรีอยู่ ก็เห็นแย้งกับธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องอัตราดอกเบี้ย โดยเห็นแตกต่างกัน 0.50 - 0.75 %
มันมีเรื่องอะไรที่คนทั่วไปมองไม่เห็นหรือเปล่า
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 10:54 am
โดย สามัญชน
เขาพูดกันว่า
1.กลุ่มทุนเก่ามีนายแบงค์พวกหนึ่งเป็นแบคให้
2.ลดดอกเบี้ยกลุ่มนี้จะเสียประโยชน์ ถ้าเสียประโยชน์แล้วใครจะออกเงินให้ตั้งพรรคการเมือง แล้วใครจะดันให้เป็นนายกสมัยหน้าล่ะ
3.นอกจากไม่ลด ยังเพิ่มดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้อีกเป็น 20%
ฟังขำๆนะครับ ไม่จริงจัง เพราะผมฟังเขามาอีกที แบบข่าวโคมลอยอ่ะครับ ไม่มีที่มา ไม่มีที่ไป ไม่มีการยืนยัน.........และไม่มีพยานหลักฐาน อิอิ
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 11:01 am
โดย lekmak333
เขาพูดกันว่า
1.กลุ่มทุนเก่ามีนายแบงค์พวกหนึ่งเป็นแบคให้
2.ลดดอกเบี้ยกลุ่มนี้จะเสียประโยชน์ ถ้าเสียประโยชน์แล้วใครจะออกเงินให้ตั้งพรรคการเมือง แล้วใครจะดันให้เป็นนายกสมัยหน้าล่ะ
3.นอกจากไม่ลด ยังเพิ่มดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้อีกเป็น 20%
ฟังขำๆนะครับ ไม่จริงจัง เพราะผมฟังเขามาอีกที แบบข่าวโคมลอยอ่ะครับ ไม่มีที่มา ไม่มีที่ไป ไม่มีการยืนยัน.........และไม่มีพยานหลักฐาน อิอิ
ตอนเรียน รู้มาว่า นโยบายการเงิน เล่นผ่านอัตราดอกเบี้ย ให้ไปกระทบ sector ต่างๆ
ตอนนี้รู้เพิ่มอีก นโยบายการเงิน เล่นผ่าน flip-flop policy :lol: :lol:
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 11:43 am
โดย prin
ต้องดูปัจจัยอื่นประกอบ เพื่อรองรับครับ
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 12:16 pm
โดย Golden Stock
วันนี้ได้ฟังท่านผู้ว่าฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย พูดท่างช่อง 9 ว่า การลดดอกเบี้ยจะยิ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะเป็นการไปบูมเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะยิ่งทำให้เงินไหลเข้าเพิ่มขึ้นอีก ก็จะยิ่งทำให้เงินแข็งค่าขึ้นอีก ทำอย่างกับว่าพอลดดอกเบี้ยปุ๊บเกิดการลงทุนทางตรง และการบริโภคทันทีทันใดเลยมั่งครับ
ผมว่าเปลี่ยนตัวผู้ว่าฯ ธนาคารแห่งประเทศไทยเลยดีกว่ามั่งครับอย่างนี้
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 12:30 pm
โดย Golden Stock
เผย ธปท.เจ๊งซื้อขายเงิน 75,000 ล้าน
http://www.thairath.co.th/offline.php?s ... tent=30933
ตัดมาเฉพาะเรื่องนี้
เผย ธปท.เจ๊งซื้อขายเงิน 75,000 ล้าน
วันเดียวกัน นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธปท. สายเสถียรภาพการเงิน ได้ชี้แจงต่อกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคาร สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า ธปท.มีผลขาดทุนจากซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันที 75,000 ล้านบาท เพื่อเข้าแทรกแซงลดความผันผวนของค่าเงินบาทในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา โดย ธปท.ยังมีผลขาดทุนที่จะเกิดขึ้นได้ จากการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าด้วยการซื้อดอลลาร์และมีสัญญาที่จะขายคืนกับนักลงทุนต่างประเทศ
11 เดือนบักโกรก 138,500 ล้านบาท
โดยมียอดคงค้างล่าสุด ณ วันที่ 15 ธ.ค. จำนวน 8,700 ล้านเหรียญฯ หากคิดยอดขาดทุนเท่ากับการซื้อ ขายทันที คือประมาณ 5 บาทต่อเหรียญฯ ธปท.จะมีผลขาดทุนจากส่วนนี้เพิ่มเติมอีก 43,500 ล้านเหรียญฯ รวมทั้งในช่วงเดือน พ.ย. และ ธ.ค. ธปท.ได้มีการแทรกแซงค่าเงินบาทด้วยการซื้อดอลลาร์ทันที เพิ่มเข้ามาในทุน สำรองอีกจำนวนมาก คาดว่าประมาณ 1 เดือนครึ่ง ธปท.มีผลขาดทุนเพิ่มอีกประมาณ 20,000 ล้านบาท ทำให้ ธปท. มีผลขาดทุนทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 138,500 ล้านบาท
จากคุณ : อืมม - [ 22 ธ.ค. 49 08:33:35 A:58.64.107.73 X: TicketID:000386 ]
นำมาจากพันทิพครับhttp://
www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I498 ... 84881.html
ว่าแต่คนอื่นชอบปกปิดข้อมูล...
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 12:33 pm
โดย คัดท้าย
[quote="Golden Stock"]เผย ธปท.เจ๊งซื้อขายเงิน 75,000 ล้าน
http://www.thairath.co.th/offline.php?s ... tent=30933
ตัดมาเฉพาะเรื่องนี้
เผย ธปท.เจ๊งซื้อขายเงิน 75,000 ล้าน
วันเดียวกัน นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธปท. สายเสถียรภาพการเงิน ได้ชี้แจงต่อกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคาร สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า ธปท.มีผลขาดทุนจากซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันที 75,000 ล้านบาท
เพื่อเข้าแทรกแซงลดความผันผวนของค่าเงินบาทในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา โดย ธปท.ยังมีผลขาดทุนที่จะเกิดขึ้นได้ จากการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าด้วยการซื้อดอลลาร์และมีสัญญาที่จะขายคืนกับนักลงทุนต่างประเทศ
11 เดือนบักโกรก 138,500 ล้านบาท
โดยมียอดคงค้างล่าสุด ณ วันที่ 15 ธ.ค. จำนวน 8,700 ล้านเหรียญฯ หากคิดยอดขาดทุนเท่ากับการซื้อ ขายทันที คือประมาณ 5 บาทต่อเหรียญฯ ธปท.จะมีผลขาดทุนจากส่วนนี้เพิ่มเติมอีก 43,500 ล้านเหรียญฯ รวมทั้งในช่วงเดือน พ.ย. และ ธ.ค. ธปท.ได้มีการแทรกแซงค่าเงินบาทด้วยการซื้อดอลลาร์ทันที เพิ่มเข้ามาในทุน สำรองอีกจำนวนมาก คาดว่าประมาณ 1 เดือนครึ่ง ธปท.มีผลขาดทุนเพิ่มอีกประมาณ 20,000 ล้านบาท ทำให้ ธปท. มีผลขาดทุนทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 138,500 ล้านบาท
จากคุณ : อืมม - [ 22 ธ.ค. 49 08:33:35 A:58.64.107.73 X: TicketID:000386 ]
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 1:04 pm
โดย Jeng
โค้ด: เลือกทั้งหมด
วันนี้ได้ฟังท่านผู้ว่าฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย พูดท่างช่อง 9 ว่า การลดดอกเบี้ยจะยิ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะเป็นการไปบูมเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะยิ่งทำให้เงินไหลเข้าเพิ่มขึ้นอีก ก็จะยิ่งทำให้เงินแข็งค่าขึ้นอีก ทำอย่างกับว่าพอลดดอกเบี้ยปุ๊บเกิดการลงทุนทางตรง และการบริโภคทันทีทันใดเลยมั่งครับ
ผมว่าเปลี่ยนตัวผู้ว่าฯ ธนาคารแห่งประเทศไทยเลยดีกว่ามั่งครับอย่างนี้
เห็นด้วยกับท่าน golden stock
ลดดอกเบี้ย เงินไหลเข้า
เพิ่มดอกเบี้ย เงินไหลเข้า
อยู่เฉยๆ เงินไหลเข้า
อืม
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 1:05 pm
โดย Jeng
ถ้าให้สัมภาษณ์ แบบนี้ คนสับสนหมดนะครับ ผมว่า
ผมเห็นด้วย กับ คุณ golden stock ว่า เปลี่ยนผู้ว่าเถิด
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 1:36 pm
โดย akekarat
[quote="Jeng"]
โค้ด: เลือกทั้งหมด
วันนี้ได้ฟังท่านผู้ว่าฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 2:52 pm
โดย tachikoma
akekarat เขียน:
บางทีมันก็ผิดที่คนในประเทศเราด้วยนี่แหละ พึ่งพาต่างชาติมากเกินไป จนขาดไม่ได้ เอาเข้าจริงผมว่า ถ้า PTT อยากขายหุ้นกู้ ถ้าคนของเรามีความรู้ความเข้าใจพอ หุ้นกู้แค่นั้น ไม่พอสำหรับเงินคนไทยหรอกครับ
สรุป ปฏิรูปการศึกษาไทยใหม่ดีกว่า โดยการเผาโรงเรียน :drink:
เพื่อนผมซื้อหุ้นกู้ ptt ทั้งครอบครัวไป 13 ล้าน
มันบอกครับ ไม่ใช่ไม่มีคนมาซื้อ แต่เป็นเพราะธนาคารเขาขี้เกียจขายให้รายย่อยครับ ไปซื้อ แสนสองแสนเขาไม่สนหรอก
แล้วเขาจะให้เป็นโควต้าของแต่ละสาขา แล้วขอโทษนะครับ ผมว่าเขาไม่ค่อยฉลาดที่ใช้ระบบโควต้า ในเขตเมืองคนรวยๆ เยอะก็แย่งซื้อกันจะไม่พอขาย ส่วนชานเมืองก็ไม่มีคนมาซื้อ เพื่อนผมบ้านอยู่ แถวสีลมไปธนาคารแถวบ้านซื้อไม่ทัน แต่โรงงานอยู่ลำลูกกา พอไปถามเห็นว่าเพิ่งมีคนไปซื้อแค่คนเดียว ตอนแรกซื้อ 10 ล้าน ธนาคารขอให้ซื้อเพิ่มอีก 3 ล้าน ให้หมดโควต้าไปเลยเพราะเขาไม่รู้จะเอาไปขายใคร
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 3:05 pm
โดย หุ้นทำเงิน
ไม่มีใครมองเรื่องของเงินเฟ้อที่จ่อคอหอยอยู่เลยหรือครับ
ผมว่าลดดอกเบี้ยก็มีปัญหาเงินเฟ้อตามมาอีก
กระทบคนไปทุกหย่อมหญ้าแน่นอนครับทีนี้
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 3:11 pm
โดย Jeng
ไม่มีหรอกเงินเฟ้อ ตอนนี้ มีแต่ เงินฝืด การค้าหดหาย รายได้ลด
คนไม่กล้าใช้เงิน เงินเฟ้อ ไม่ใช่ปัญหาใหญ่หรอก
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 22, 2006 3:16 pm
โดย prin
หุ้นทำเงิน เขียน:ไม่มีใครมองเรื่องของเงินเฟ้อที่จ่อคอหอยอยู่เลยหรือครับ
ผมว่าลดดอกเบี้ยก็มีปัญหาเงินเฟ้อตามมาอีก
กระทบคนไปทุกหย่อมหญ้าแน่นอนครับทีนี้
มองครับ
เค้ามองว่า ตอนนี้อัตราเงินเฟ้อลดลงบ้างแล้ว แต่กำลังมองว่า ผลของการลดอัตราดอกเบี้ย ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และอะไรเร็วกว่ากัน
อัตราเงินเฟ้อเป็นหนึ่งในหลายปัจจัย ที่ต้องคำนึงถึงในการลดอัตราดอกเบี้ยด้วยครับ ตามหลัก The Fisher Effect แต่มันต้องใช้เวลาครับ
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 7:31 pm
โดย Wvix
เวลาต่างชาติเค้าขนเงินมาลงทุนในตปท. นี่เค้าดูแต่ดอกเบี้ยอย่างเดียวหรือ ?
แล้วตอนนี้ตัวเลขเงินเฟ้อของไทยอยู่ในอัตราที่น่าห่วงเหรอ ?
แต่ที่แน่ๆ ผมถามร้านค้าหลายๆ ร้าน (ในกทม.) เห็นมีแต่คนบ่นว่าเงียบจริงๆ ของขายไม่ค่อยได้กันทั้งนั้นครับ
ยิ่งเป็นพวกสินค้าฟุ่มเฟือยแล้วไม่ต้องพูดเลย ขนาดช่วงเทศกาลยังเป็นขนาดนี้ ปีหน้า ณ ช่วงเวลาปกติจะขนาดไหนกันเนี่ย
แทนที่จะมาห่วงตัวเลขเงินเฟ้อ ผมว่าน่าจะไปห่วงตัวเลขการเจริญเติบโตทางของ ศก. ปีหน้าจะดีกว่ามั้ง
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 26, 2006 10:04 pm
โดย yield
เห็นด้วยครับ แต่ก็ใช่ว่าจะหายห่วงเรื่องเงินเฟ้อทีเดียว เงินเฟ้อจากการบริโภคที่เติบโตอาจจะยากอย่างที่พี่ๆ ว่า แต่เงินเฟ้อจากต้นทุนน่าจะตามมาแน่นอนน่ะครับ ปีหน้า หลังเลิกมาตรการห้ามขั้นราคาสินค้าของคมช.แล้ว ปีหน้าของน่าจะขึ้นหลายอย่างน่ะครับ
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 27, 2006 12:56 pm
โดย Mon money
พวก ดร.ที่แบ๊งค์ชาติคงไม่ทราบสถานการณ์เศรษฐกิจข้างถนนหรอกครับ จึงได้แต่กลัวว่าเงินจะเฟ้อ
ที่ออกมาตราการมานี่ก็เพราะไม่รู้โน้น ไม่รู้นี่ จึงเป็นอย่างนี้
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 27, 2006 2:04 pm
โดย Muffin
กระทบเยอะครับ กระทบผมด้วย
จะได้โบนัสมั้ยหว่า....
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 27, 2006 6:37 pm
โดย คนเรือ VI
โบนัสหรอครับ
ปีนี้ผมพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนเฉพาะบุคคลนะครับ .....
outlook น่ากลัวจริงๆ อย่างงี้การลงทุนภาคเอกชนจะลดลงอีก
ที่ผมสังเกตุดู การเมืองกระทบเยอะที่สุดครับ
น้ำมัน เงินเฟ้อไม่กระทบเท่าไหร่เลย ผมวิเคราะห์แบบ บ้านๆนี่แหละครับ
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 9:54 am
โดย sunrise
ผมพูดในมุมมองผมนะ
คนกรุงเทพคงไม่เท่าไหร่
คนต่างจังหวัดนี่แย่ครับ
พ่อผมคุยว่า ปี 49 นี่แค่สวดศพ
ปี 50 นี่วันเผาจริงครับ
เงินฝืดมากสำหรับคนรากแก้ว ส่วนคนกรุงเทพผมไม่ค่อยเห็น effect นะ
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 10:01 am
โดย Mon money
กรุงเทพก็มีครับ ตามตลาดทั้งหลายต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ขายไม่ค่อยได้ ขนาดเทศกาลแล้วยังไม่กระเตี้ยง คงแย่ไปอีกนาน สงสัยเป็นนโยบายเพิ่มเงินออมเอามาลงทุนMega project เพราะเอาเงินกู้ต่างชาติไม่ได้แล้ว ที่กล่าวเช่นนี้เพราะเห็นตั้งงบประมาณขาดดุลน่ะ(อันนี้แซวเล่นๆนะ อย่าเอาจริงล่ะ)
ยิ่งตอนนี้รัฐบาลวางลำดับความสำคัญของการแก้ปัญหาไม่ค่อยถูก ยิ่งหนักใหญ่ เวลาก็น้อย ไปทำอะไรก็ไม่รู้ เรื่องเหล้า เรื่องหวย เรื่องโบกี้รถไฟ เรื่องบ้านนายกฯ ฯลฯ
ปากท้องตอนนี้แย่ หาทางแก้หน่อยเด้อ
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 5:12 pm
โดย Muffin
ด้วยความรู้เศรษฐศาสตร์เท่าหางอึ่งของผม...
นโยบายลดอัตราดอกเบี้ย ถ้าเป็นก่อนหน้าเรื่องวุ่นวาย ผมคงไม่เห็นด้วย เพราะน่าจะยิ่งเก็งกำไร ง่ายขึ้นในตัวพันธบัตร
แต่ตอนนี้เราขายพันธบัตรไม่ออกแล้ว เราพึ่งอะไรไม่ได้เลย ต้องพึ่ง Private Consumption เท่านั้นหล่ะมั้ง
การลดดอกเบี้ยตอนนี้ ทำเพื่ออะไร เพื่อให้เงินบาทอ่อน? เพื่อกระตุ้น private consumption? หรือมันจะยิ่งทำให้คนถือ bond เก่ากำไรมากกว่าเดิมกันแน่? ผมมองยังไงการลดดอกเบี้ยตอนนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไรแล้ว มันสายไปแล้ว
คำถามคือ เรามีโอกาสมากน้อยแค่ไหน ที่จะ default ตั๋วเงินต่างๆ
ทีนี้เงินบาทได้อ่อนสมใจแน่....
ขอใคร่พี่น้องช่วยชี้แจงด้วยครับ
อยากมีส่วนรวม
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 6:18 pm
โดย fanclubth
แต่ IMF เตือนว่าการลดดอกเบี้ยไม่ช่วยอ่ะครับ
แต่ผมยังไม่เข้าใจ
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 10:51 pm
โดย Muffin
เห็นด้วยกับท่าน Eto
มุมมองของอีค่อมโนมิสต์อย่างผม
หากจะแก้ปัญหาด้วยดอกเบี้ย ผมมองว่าเป็นการผิดจุดตั้งแต่แรก
การรักษาสมดุลทางด้าน Currency มีตั้งหลายวิธีนอกจากดอกเบี้ยและ swap
การแก้ปัญหาด้วยการแทรกแซงด้วยการตั้งโต๊ะซื้อดอล ก็ผิดเหมือนกัน เพราะว่า เท่ากับว่า ร้านนี้ยอมซื้อของที่กำลังจะลดราคาทั้งๆที่ดอลมันอ่อนค่าเพราะตัวมันเอง... เท่ากับว่า เจ้าของร้านอยากเจ๊ง...
ไม่ต่างจากการสู้ค่าเงินบาทเมือปี 40 สักเท่าไหร่หรอก...
แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไรดีหว่า...
ก่อนอื่น ยอมลดอีโก้แล้วหัดแก้ปัญหาดีกว่าแก้ตัวดีมั้ยครับ...
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 29, 2006 9:25 am
โดย Golden Stock
ค่าเงินญี่ปุ่นเทียบกับดอลล่าร์ มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก อยู่ระหว่าง 105 - 120 เยน/ 1 ดอลล่าร์ มาตลอด ตรงนี้มิใช่เพราะดอกเบี้ยเหรอครับ
ถ้าย้อนกลับไปก่อนหน้าสมัยดร.สมคิดยังเป็น รมต. เคยแย้งเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย และระยะต่อมาเรื่องการลดดอกเบี้ย
ผมว่า ดร.สมคิด อ่านขาดกว่าหม่อนอุ๋ย ที่ดำเนินโยบายการเงินตามก้นอเมริกามาโดยตลอด จากเหตุผลเงินเฟ้อ ต้องการให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก และเงินทุนไหลออก
อเมริกาส่งสัญญาณดอลล่าร์อ่อนมาพักใหญ่ๆ แล้ว ซี่งคนแบงค์ชาติให้น้ำหนักกลับเรื่องนี้น้อยมาก
เอาเป็นว่า ผมมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินนโยบายการเงินผิดพลาดตั้งแต่ต้น จับสัญญาณ และประเมินสถานการณ์ผิด เลยทำให้กำหนดนโยบายไม่ถูกต้อง ซึ่งนำมาซึ่งมาตรการที่ออกมาใช้ไม่ถูกต้องตามไปด้วย (เป็นปกติที่มาตรการต้องสอดคล้องกับนโยบาย)
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 29, 2006 9:54 am
โดย อองตวน
ทุกอย่างมีวัฏจักรของมัน
ถ้าดอลล่าร์ถึงเวลาต้องอ่อนค่าลง
ประเทศเล็กๆอย่างเราจะไปฝืนมันได้นานแค่ไหน
private consumption ถูกละเลยมาหลายปี
ในภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยต่อ export growth
ก็น่าจะหันมากระตุ้นดีมานด์ในประเทศบ้างนะครับ
export คงไม่ถึงกับขายไม่ได้ แต่มันถึงวงจรที่โตช้าลง
มองโลกแง่ดีเงินเราที่แข็งขึ้น เอื้อกับเฟสการลงทุน
ขนาดใหญ่ที่แปลนไว้ในอนาคต
ลดดอกเบี้ย บางคนอาจว่าไม่ช่วยค่าเงินเท่าไหร่
แต่ผมว่าอ้อมๆต้องมีผลบ้างล่ะ ในระยะสั้นๆ
ที่บอกว่าลดดอกเบี้ยจะไปกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เงินเฟ้อ
ตามมา ถามว่าตอนนี้เศรษฐกิจมันดีเหรอครับถึงกังวลประเด็นนี้
เงินเฟ้อบ้านเรา ปัจจัยหลักที่ขับดันมาจากราคาน้ำมันมากที่สุด
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 31, 2006 5:01 pm
โดย MarginofSafety
ตัดบทความของ ดร.ศุภวุฒิ ที่เขียนไว้ใน กรุงเทพธุรกิจมาให้อ่านกันครับ
คำเตือน:จากศุภวุฒิปี 40 สอนเราว่า หากฝืนตลาด...จะเจ๊ง
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.ภัทร สรุปไว้ชัดเจนว่า ความเสียหายจากมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท ที่ออกไปเมื่อ 19 ธันวาคม 2549 หรือจะเรียกสั้นๆ ว่า"มาตรการ 30%" และนำมาซึ่งมูลค่าตลาดหลักทรัพย์สูญหาย 8.2 แสนล้านบาท ดัชนีร่วง 108 จุด ภายในวันเดียว ถือเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศ และความเสียหายดังกล่าว เนื่องจาก "เราไม่เรียนรู้จากบทเรียนที่ผ่านมา" โดยเฉพาะบทเรียนที่สำคัญในปี 2540 ที่สอนให้เรารู้ว่าเราฝืนตลาดไม่ได้ และทุกครั้งที่ฝืนตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คุณจะเจ๊ง
ดร.ศุภวุฒิ เล่าให้ฟังอย่างน่าสนใจว่าหลังจาก ธปท.แถลงมาตรการ 16.30 น.ของวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ในฐานะที่ บล.ภัทร มีลูกค้าเป็นกองทุนและชาวต่างชาติจำนวนมาก เย็นถึงค่ำวันนั้นตนเองต้องคุยโทรศัพท์กับลูกค้า กว่า 200 สาย เพื่อชี้แจงมาตรการที่ ธปท.พึ่งจะออก และสร้างความตื่นตระหนกนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก
คำถามส่วนใหญ่ที่นักลงทุนต่างชาติถามพอสรุปได้ 4 ประเด็น 1.มาตรการดังกล่าว ธปท.ออกมาจริงหรือ 2.ใครเป็นคนคิด ทหารคิดหรือเปล่า 3.นายกฯรู้เรื่องนี้หรือเปล่า 4.ธปท.อิสระหรือไม่ และ 5.เมื่อรู้ว่ามาตรการออกมาแน่นอนไม่ได้เป็นข่าวลือ จึงมีคำถามตามมาว่า จะขายหุ้นอะไรได้บ้าง
"สิ่งที่ผมบอกไปวันนั้น และผิด คือ บอกว่ามาตรการดังกล่าวทางการคงใช้ไปอีกประมาณอย่างน้อย 2 เดือน แล้วคาดว่าจะมีการทบทวน ทั้งนี้ประเมินจากระบบราชการไทย แต่ผลที่ออกมา รมว.คลัง บอกยกเลิกเพียงชั่วข้ามคืน ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่หากให้ดีกว่านี้ คือ ไม่ควรออกมาเลย ดังนั้น ต้องยอมรับว่าความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากนักลงทุนจะมองว่าเมื่อมีครั้งแรกแล้วย่อมมีครั้งที่สองแน่นอน เปรียบเช่น คุณเดินอยู่กลางทะเลทราย มั่นใจว่าฝนไม่ตกแน่นอน แต่สุดท้ายเกิดฝนตกขึ้นมาเปียกกันถ้วนหน้า เพราะไม่ได้เตรียมพร้อม ดังนั้นหากจะเดินทะเลทรายครั้งต่อไปก็จำเป็นต้องเตรียมร่มไปด้วย เนื่องจากความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้ว"
ดร. ศุภวุฒิ ระบุว่า มาตรการที่ออกมานั้น ได้ลอกแบบประเทศชิลี เมื่อปี 1991 และใช้ชื่อลักษณะเดียวกันคือ unremunerated reserve requirement ส่วนของไทยเรียกว่า the reserve requirement แต่มีนัย สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันมาก เนื่องจากก่อนหน้านั้นชิลี และประเทศในละตินอเมริกา มีปัญหาเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับสูง อย่างไรก็ตาม ชิลีได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจกันขนาดใหญ่ ใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงในการกำจัดเงินเฟ้อ เมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ส่งผลให้เงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาอย่างมาก แต่ชิลี ต้องการที่จะแก้ปัญหาเงินเฟ้อให้เด็ดขาด จึงยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ยิ่งกระตุ้นให้เงินไหลเข้าตลาดเงิน ตลาดทุน ซึ่งหากยังให้ดำเนินการต่อไป อาจจะทำให้สภาพคล่องในระบบมากขึ้น และนโยบายดอกเบี้ยสูงอาจจะไม่สำเร็จ
ทางการชิลี จึงออกมาตรการ unremunerated reserve requirement เริ่มจากสำรองเงินทุนระยะสั้นในตลาดบอนด์ และการปล่อยกู้ของต่างประเทศให้กับบริษัทในประเทศ แต่นักลงทุนต่างชาติ ยังหลบช่องดังกล่าว หันเข้ามาในตลาดหุ้น ทางการชิลีจึงหันมาปิดตลาดหุ้นต่อ นักลงทุนหันมาใช้ช่องทางลงทุนโดยตรง และสินเชื่อการค้า ชิลีก็ตามมาปิดสั่งสำรอง 30%ในช่องทางการลงทุนโดยตรง และสินเชื่อการค้า ซึ่งกว่าที่ทางการชิลี จะป้องกันการเก็งกำไร ปิดเส้นทางเงินได้ทุกช่องก็ใช้เวลา 3-4 ปี
"แบงก์ชาติ คงเห็นว่าการตามปิดแบบชิลี ต้องใช้เวลา 3-4 ปี ดังนั้นการออกมาตรการเพื่อให้เด็ดขาด รวดเร็วก็ปิดที่เดียวพร้อมกันทุกช่องทางเลย ทั้งตลาดบอนด์ ตลาดหุ้นและการลงทุนโดยตรง "
ทั้งนี้ประเด็นที่ การดำเนินการของชิลีไม่กระทบตลาดหุ้นนั้น นัยแตกต่างกัน เนื่องจากในปี 1993 เศรษฐกิจสหรัฐแย่ มีการลดดอกเบี้ย ทำให้เงินทุนไหลออกมาสู่ตลาดเกิดใหม่จำนวนมาก ดังนั้นแม้ชิลีจะมีมาตรการเงินก็ยังไหลเข้ามาในตลาดหุ้น ขณะที่ตลาดหุ้นไทยในช่วงนั้น ดัชนีขึ้นไปอยู่ระดับ 1,700 จุด จากแรงทะลักของเงินต่างชาติ
ดังนั้นถึงวันนี้ มีคำถามตามมาว่า ตลาดหุ้นไทยมีอะไรดีถึง ทำให้ต่างชาติกล้าที่จะยอมให้กันเงิน 30%ไว้ ในภาวะที่จีดีพีโลก อยู่ระดับเพียง 4.9%
นอกจากนั้น สหรัฐเองมีกฎหมายเฉพาะของเขา ที่ระบุว่าเงินสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินประกันสังคม ที่มาลงทุนในตลาดหุ้น เป็นเงินของประชาชน นำมาให้คนอื่นไม่ได้ เพราะการถูกหัก 30% เท่ากับยอมรับให้คนอื่นนำเงินไปใช้ รวมไปถึงกองทุนการเงินสำคัญของโลก พร้อมจะออกจากตลาดที่มีต้นทุน และควบคุมเงินทุนเพราะถือเป็นความเสี่ยงพื้นฐานของการบริหารกองทุน
ดร.ศุภวุฒิ กล่าวอีกว่า ทางออกของการแก้ปัญหาเงินทุนระยะสั้นเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาที่ถูกต้องนั้น น่าจะดำเนินการได้ 3 วิธี
วิธีแรก ลดการส่งออก ซึ่ง ดร.ศุภวุฒิ เห็นว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะสวนทางกับภาพรวมเศรษฐกิจของไทย เพราะถ้าการส่งออกลดลง จะทำให้เราขาดดุลการค้า และอาจขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทก็จะอ่อนค่าลง แต่ในเมื่อรัฐบาลสนับสนุนการส่งออก ต้องการให้การส่งออกเพิ่มมากขึ้น ก็ต้องยอมรับให้เงินบาทแข็งค่า แต่ต้องหันไปทำวิธีที่สอง
วีธีที่สอง คือ เพิ่มการนำเข้า โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุน เนื่องจากขณะนี้เป็นจังหวะของการขยายการลงทุน หากภาครัฐ และเอกชนมีโครงการลงทุน ก็เป็นโอกาสดีที่จะนำเข้าสินค้าทุน เพราะราคาสินค้าทุนจะถูกลง เมื่อนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นจะกระทบทำให้ดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล เป็นแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง
วิธีที่สามคือ "ลดดอกเบี้ย" ซึ่ง ดร.ศุภวุฒิ เห็นว่ากระทำได้ และผลกระทบข้างเคียงน้อยที่สุด เนื่องจากการลดดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลให้เม็ดเงินที่เข้ามาในตลาดเงินที่ต้องการหาผลประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่สูง ลดลง แต่อาจต้องกระชากดอกเบี้ยลดลงไม่ต่ำกว่า 0.5% ในการปรับลดครั้งแรก และต้องกล้าส่งสัญญาณออกต่อไปว่า ถ้าไม่ได้ผลก็จะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5%
"การลดดอกเบี้ยลง 0.5-1% เชื่อว่าจะสกัดเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเก็งกำไรได้ และไม่เห็นว่าถ้าดอกเบี้ยลงแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายอะไร ถ้าแบงก์ชาติบอกว่ากลัวเงินเฟ้อ แล้วทำไมต้องดึงเงินบาทให้อ่อน ซึ่งสุดท้ายเงินก็เฟ้อจากค่าเงินอ่อนอีกนั้นแหละ ดังนั้นเป็นการอธิบายขัดกันเอง" ดร.ศุภวุฒิ กล่าว
การไหลเข้าของเงินทุนช่วงที่ผ่านมา ดร.ศุภวุฒิ ยอมรับว่า ส่วนใหญ่ไหลเข้าไปยังตลาดตราสารหนี้ เพราะนักลงทุนคาดว่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง และเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เพราะไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและอัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับสูง แต่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทยจะปรับลดลง จึงนำเงินเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ทุกประเภท ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพราะหวังว่าจะได้ผลตอบแทนมากขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
"นักลงทุนเขาเห็นโอกาสจากส่วนต่างดอกเบี้ย ก็เข้ามาหาผลตอบแทน ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงถ้าเงินบาทอ่อนเขาก็ขาดทุนเหมือนกัน แต่มาตรการที่แบงก์ชาติกำหนดให้ดำรงเงินสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% จะทำให้ตลาดตราสารหนี้โตยาก ทั้งที่เราควรพัฒนาตลาดตราสารหนี้ หากตลาดตราสารหนี้ใหญ่ขึ้น จะทำให้สถาบันการเงินสามารถกระจายความเสี่ยงได้ และเป็นฐานในการทำธุรกรรมอนุพันธ์ ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง"
ขณะเดียวกัน มาตรการของแบงก์ชาติซึ่งทำให้อัตราผลตอบแทน ของตลาดพันธบัตรสูงขึ้น ขณะที่รัฐบาลกำลังทำงบประมาณขาดดุลตั้ง 1.5 แสนล้านบาท ถ้าออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จะส่งผลให้มีภาระดอกเบี้ยจ่ายแพงขึ้น
ดร.ศุภวุฒิ ทิ้งท้าย ไว้น่าสนใจว่า ความเสียหายในครั้งนี้เป็นบทเรียนที่สำคัญ ที่วิกฤตการณ์ปี 2540 ได้สอนไว้นั้นคือ เราฝืนตลาดไม่ได้ และทุกครั้งที่ฝืนตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คุณจะเจ๊ง เพราะหากเป็นนักเศรษฐศาสตร์แล้ว จะรับรู้ได้ว่าตลาดนั้นมีพลัง หากบิดเบือนตลาดคุณจะแพ้
"ปี 2540 เราพยายามฝืนตลาดโดยการพยายามให้บาทแข็ง มาปีนี้เราพยายาม ฝืนตลาดพยายามทำให้ค่าเงินบาทอ่อน และเราก็เจ๊ง เหมือนกัน เพราะเราไม่ได้เรียนรู้วิกฤติ ปี 2540 และธนาคารกลางที่ดีนั้นต้องนำตลาดไม่ใช่ให้ตลาดนำ เพราะหากตามตลาดเมื่อไหร่คุณจะเหนื่อย เพราะตอนนี้ดอกเบี้ยในตลาดได้ลงต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติแล้ว"
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 02, 2007 7:10 pm
โดย freemindd
เมื่อดอกเบี้ยลด ราคาพันธบัตร
จะ marked to market (สูงขึ้น) ทำให้เป็นแรงจูงใจ
ให้ต่างชาติเอาเงินเข้ามาพักในประเทศไทยมากขึ้น
คุณ Eto ครับ การโยกเงินที่คุณบอก มันก็โยกแค่ในไทยเองสิครับ เพราะต่างชาติไม่ได้มาลดดอกด้วยนี่ครับ ถึงจะมีเงินเข้าบอนด์ไทยเพิ่ม
ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่กล้าแตะเรื่องดอกเบี้ย
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 03, 2007 10:43 am
โดย tachikoma
ผมว่ายากที่แบงค์ชาติจะลดดอกเบี้ยครับ
เพราะเขาขาดทุนสัญญา Forward อยู่
ผมเดาว่าตอนที่ฝรั่งเอาเงินเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้เมืองไทย (หรือกองทุนประเภท Fix Income หรือ กองทุนอสังหา) เขาทำสัญญา Forward ไว้เพื่อป้องการความเสี่ยงจากเงินบาทแข็งค่า ส่วนแบงค์ชาิตกรับสัญญา Forward ขึ้นมาหมด เพราะถือว่าตัวเองเป็นเจ้ามือใหญ่ จะเปลี่ยน Regulation เพื่อให้เงินบาทอ่อนลงได้ แต่ตอนนี้เกมไม่เป็นไปอย่างที่คิด ทำให้เิงินบาทอ่อนลงไม่ได้ ก็ต้องไม่ลดดอกเบี้ย ไม่งั้นไม่มีเงินไปโป๊สัญญา Forward ที่ขาดทุนอยู่
ผมว่า...
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 12, 2007 4:03 pm
โดย path2544
freemindd เขียน:
คุณ Eto ครับ การโยกเงินที่คุณบอก มันก็โยกแค่ในไทยเองสิครับ เพราะต่างชาติไม่ได้มาลดดอกด้วยนี่ครับ ถึงจะมีเงินเข้าบอนด์ไทยเพิ่ม
คุณ Eto หมายถึงแนวโน้มครับ หากนักลงทุนต่างชาติ มองเห็นแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะลดลงอีก ทำให้ หากซื้อพันธบัตรในวันนี้ ดอกเบี้ยที่ 5% ในอนาคตหากดอกเบี้ยลดลง พันธบัตรจะมีกำไรไงครับ
แต่ เมื่อใดก็ตามที่ดอกเบี้ลดลงจะสุดแล้ว ก็ถึงการเอาเงินออก แล้วหากไม่มีตลาดใดในประเทศให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่อื่น