หน้า 1 จากทั้งหมด 1
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 8:00 pm
โดย pawiga
ตลาด offshore นี่ มันมีมูลค่าการซื้อขาย กัน เยอะไหมครับเทียบกับ ในประเทศ
แล้ว ทำไมมัน สวิงต่างกับ ภายใน ประเทศ จัง ปกติมันไม่ควรต่างกันมากใช่ไหม แล้ว จะมีผลกระทบอย่างไร
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 8:14 pm
โดย hot
35.20 บาทแล้วคับพรุ่งนี้จะเป็นไงคับ
ทำไมต้องมามาก ก่อนสิ้นปีด้วยนะแปลก
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 9:07 pm
โดย key
แล้วจะมีมาตรการอะไรออกมาอีกไหมครับเนี่ย เฮ้อ? :?:
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 9:28 pm
โดย phobenius
เกิดโอกาสในการทำกำไรไร้ความเสี่ยง ด้วยนโยบายนี้ระหว่าง offshore และonshore หรือปล่าวเนี่ย สงสัย
ขอตอบประเด็นที่ว่าทำไมมันสวิงนะครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 9:57 pm
โดย picatos
ผมขอตอบประเด็นที่ว่าทำไมมันสวิงนะครับ...
เหตุผลที่มันสวิงเป็นเพราะว่าตอนนี้ สภาพคล่องเงินบาท ใน offshore มันไม่มีเลย
แล้วทำไมมันถึงไม่มี Liquidity ใน Offshore เลยล่ะ อันนี้ต้องท้าวความยาวเลย
จริง ๆ แล้วมันเริ่มมาตั้งแต่มาตรการก่อน ๆ หน้านี้ที่ว่า Offshore ไม่สามารถกู้เงินบาทจาก Onshore ได้ ซึ่งก่อนหน้าที่หาก Offshore ต้องการบาทจริง ๆ ก็ยังสามารถขาย USD แล้วซื้อ THB ผ่านตลาด Spot เพื่อเอามาใช้เป็น Liquidity ได้
แต่พอแบงค์ชาติออกมาตรการของวันที่ 18 ออกมา ทีนี้ Offshore ก็กลัวว่าจะโดนหัก 30% ก็เลยไม่อยากขาย USD แล้วซื้อ THB กับ Onshore
ส่วนแบงค์ Onshore ก็ไม่อยากทำขาย THB ซื้อ USD กับ Offshore เพราะไม่รู้ว่าเอกสารจะถูกต้องใช้ได้จริงรึเปล่า
แบงค์ Onshore ก็เลยทำได้แต่ซื้อบาทจาก Offshore
ผลที่ตามมาก็เลยยิ่งทำให้ Offshore ที่ไม่ค่อยมีบาทอยู่แล้ว จากกฎธปท. ที่ว่า Non-Residence ถือเงินบาทใน Account ได้ไม่เกิน 300 ล้านบาท ยิ่งขาดบาทหนักเข้าไปอีก
สังเกตดูจาก Swap Offshore ราคา Premium ก็เลยขึ้นไปแบบมหาศาล จาก 1 month discount -2 ขึ้นไปเป็น Premium +70 เพราะเวลา Offshore เกิด Short บาทขึ้นมา ก็ต้องไปซื้อ Swap (Buy and Sell THB - กู้บาท) ราคามันก็เลยไล่ขึ้นไปจนล่าสุด Implied THB Interest Rate 1 เดือน ขึ้นไปสูงถึง 20-30%
มาดูฝั่ง USD/THB Offshore บ้าง...
พอแบงค์ Offshore แห่งที่ 1 ถูกคนเรียกมาซื้อบาทขายเหรียญไป (ขาย USD/THB)
หากแบงค์แห่งที่ 1 มีบาท เค้าก็รอดไป
แต่ถ้าเกิดไม่มีบาทขึ้นมา สิ่งที่เค้าทำก็ต้องไปขาย USD/THB ใส่คนอื่นต่อ
แล้วมันก็ติด Loop เป็นทอด ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอคนที่มีเงิน (ซึ่งคนที่มีเงินบาทอาจจะแทงกั๊กก็ได้) หรือว่าไปถึงจุดที่คุ้มค่ากับภาระในการหาช่องทางในการขาย USD/THB ให้กับ Onshore
ล่าสุดที่ได้ยินคือ USD/THB Offshore อยู่ที่ 35.30 Onshore อยู่ที่ 36.16
มาถึงทาง Onshore บ้าง... พอ Onshore เห็นราคา Offshore มันลง...
Exporter มองว่าจอ Reuters เห็นว่า USD/THB ในจอมันลง
ก็เลยยิ่งขาย USD/THB บนตลาด Onshore ผลที่ตามมาก็เลยทำให้ USD/THB onshore ลงมาจาก 36.50 มาที่แถว ๆ 36.00 บ้าง
ทีนี้ได้เวลาคอบคำถามว่าทำไมมัน Swing จังแล้ว...
1. ตอนออกมาตรการ ฝรั่งมองว่า USD/THB ขึ้นแน่ ๆ ก็เลยไล่ซื้อ USD/THB (ซื้อ USD ขาย THB) ขึ้นไป ซื้อมันหมดเลยทั้งซื้อกับ Offshore ด้วยกันเอง หรือซื้อกับ Onshore
2. พอซื้อ ๆ ไปซักพัก พึ่งรู้ว่าขาด THB Liquidity ทั้ง ๆ ที่อยากซื้อ USD ขาย THB ต่อ แต่เงินบาทหมดแล้ว แถมบาทที่กลับเข้าไป Onshore แล้วก็ออกไม่ได้ ผลที่ตามมาก็เลย Spot USD/THB ก็เลย Move ส่วนทาง หลังจากวิ่งขึ้นแล้วก็เลยลงท่าเดียว
ฟังดูปวดหัวไหมครับ...
ทีนี้มาดูทางแก้ แบบไม่ต้องยกเลิกมาตรการบ้าง
ผมว่าธปท. ควรที่จะเข้าไป Intervene ตลาด Provide Baht Liquidity ให้กับ Offshore บ้าง ไม่ว่าจะ Take USD/THB หรือว่าขาย Swap อะไรก็แล้วแต่ให้กับตลาด Offshore ในขณะเดียวกันก็ Take USD/THB Onshore ด้วย
ก็ไม่รู้จะเข้าใจถูกรึเปล่านะครับ... คืออธิบายเท่าที่เข้าใจ
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 10:01 pm
โดย hot
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 10:02 pm
โดย phobenius
ถ้าอย่างนี้เป็นไปได้ไหมครับที่จะเกิดอาชีพใหม่
ลักลอบเงินไทยออกนอกประเทศไปขาย offshore เพื่อเอาดอร์ลาร์ แล้ว ค่อยกลับมาขายใหม่ ในชื่อคนไทย ที่เป็นresident โดยไม่ต้องโดนนโยบายนี้ด้วย
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 10:05 pm
โดย hot
แต่ค่าเงินที่ผันผวนแบบนี้จะเป็นไงต่อละคับ
สมมุติ
คนที่ต้องซื้อ เงินus เพื่อชำระสินค้า
ต้องซื้อช่วงตั้งราคาที่สูงถึงซื้อได้
แต่เวลาเอาเงินรายได้ที่เป็นus
เข้ามาในไทย
ต้องขายในราคาต่ำ
เอผมเข้าใจถูกเปล่า
หรือไม่เกี่ยวกัน
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 29, 2006 9:15 am
โดย lekmak333
เช้านี้ก็ 36.2 ลงมา 35.6 ยังสวิงไม่เลิก
มาตราการที่ ธปท. ออกมาไม่เพียงแต่ทำลายตลาดทุนไปแล้ว
แต่ที่จะไปช่วยการส่งออกเอง ส่งออกก็จะไปไม่รอด จากการขึ้นลงค่าเงิน
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 29, 2006 10:31 am
โดย hardchi
FOREX ที่โชว์ใน biznews นี่เป็น offshore เหรอครับเนี่ย
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 30, 2006 2:56 am
โดย ek_tt
เห็นที่สนามบินเขาเขียนไว้ว่าห้ามนำเงินบาทออกนอกเกินคนละห้าหมื่นบาท เปิดเป็นบริษัททัวร์ได้ไหมครับ..หรือว่ามีวิธีการอื่น? ช่วยชี้โพรงให้กระรอกหน่อยสิครับ
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 30, 2006 4:55 pm
โดย bajjo
ทีนีต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลักแล้ว
เข้า concept เศรษฐกิจพอเพียง (หรือเปล่า)
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 30, 2006 7:00 pm
โดย สุมาอี้
ฟังจากที่คุณ picatos เล่านี่ชี้ให้เห็นว่าธปท.ขาดการเตรียมความพร้อมก่อนออกมาตรการจริงๆ เฮ้อ
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 27, 2007 7:48 am
โดย Muffin
phobenius เขียน:ถ้าอย่างนี้เป็นไปได้ไหมครับที่จะเกิดอาชีพใหม่
ลักลอบเงินไทยออกนอกประเทศไปขาย offshore เพื่อเอาดอร์ลาร์ แล้ว ค่อยกลับมาขายใหม่ ในชื่อคนไทย ที่เป็นresident โดยไม่ต้องโดนนโยบายนี้ด้วย
นั่นสิ น่าคิด
ค่าเงินสวิงจัง
โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 27, 2007 3:39 pm
โดย โอ@
Muffin เขียน:
นั่นสิ น่าคิด
บินไปเที่ยวฮ่องกง สิงค์โปร์ฟรี :lol:
....
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 29, 2007 12:03 pm
โดย ลงทุนได้ผล คนเป็นสุข
อืม พอเข้าใจเล็กๆ ขอบคุณสำหรับ Khun Picatos ครับ
เรื่อง ให้ BOT เข้า ไปแทรกแทรง ผมเข้าใจว่า เค้าแทรกแทรงจนน่าจะหมดน่าตักแล้ว เห็นจากที่เงินทุนสำรองพุ่งขึ้นมาตั้ง 60000 กว่าล้าน $ แล้ว
ได้บทความมาอันหนึ่ง เผื่อใครๆสนใจ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 29, 2007 3:44 pm
โดย ลงทุนได้ผล คนเป็นสุข
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน นี่เผลอแป๊บเดียวก็ขึ้นปีใหม่อีกแล้ว (นี่เป็นคอลัมน์แรกที่ผมเขียนในปี 2550) นับไปนับมา ปีนี้ก็เป็นปีที่ 3 แล้วของคอลัมน์นอกรอบ ผมย้อนนึกไปสมัยที่เริ่มเขียนคอลัมน์นี้ใหม่ๆ จำได้ว่าตอนนั้นพยายามที่จะให้คอลัมน์นี้เป็นคอลัมน์คุยเศรษฐกิจและสังคมในประเด็นที่น่าสนใจกันแบบสบายๆ ไม่เป็นทางการมากนัก แต่ดูเหมือนว่าผมกลับไปอ่านสิ่งที่ตัวเองเขียนแล้วรู้สึกว่าไปเขียนมากลับกลายเป็นเขียนแต่เรื่องเครียดๆ หรือมีแต่ตัวเลขเยอะแยะเต็มไปหมดเป็นส่วนใหญ่ (ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบางท่านที่ได้นำตัวเลขนั้นไปใช้ แต่ในทางกลับกันอาจทำให้ผู้อ่านบางท่านรู้สึกยากต่อการเข้าใจ)
หยุดช่วงปีใหม่ไปหลายวันผมเลยมีเวลาได้คิดว่าจะทำยังงัยให้ท่านผู้อ่านได้อ่านและทำความเข้าใจกับเศรษฐกิจและสังคมไทยได้ง่ายๆ เพลินๆ สมชื่อคอลัมน์นอกรอบ คิดไปคิดมาก็มาปิ๊งไอเดียที่ว่าปีนี้ น่าจะเขียนเป็นแนวละครถาม-ตอบ โดยมีเด็กขี้สงสัยชื่อ หนูฉงน และ อจ. ที่ต้องคอยตอบคำถามชื่อ อจ. เฉลย เป็นตัวเอก วันนี้หนูฉงน กำลังฉงนอย่างหนักว่าเกิดอะไรขึ้นกับค่าเงินบาท ทำไมค่าเงินบาทถึงแข็งขนาดนี้ โดยเฉพาะค่าเงินบาทในตลาด Offshore (เงินบาทที่ซื้อขายกันในต่างประเทศ) ถึงแข็งเอาๆ โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดตลาดที่ระดับ 33.5 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในตลาด Offshore ในขณะที่ตลาด Onshore (เงินบาทที่ซื้อขายกันในประเทศ) ซื้อขายกันที่ระดับประมาณ 36.0 บาท/ดอลลาร์ สรอ. และความสงสัยของหนูฉงน ก็เป็นที่มาให้หนูฉงนต้องเดินเข้าไปถาม อจ. ในเรื่องนี้....
หนูฉงน : เงินที่ไหลเข้ามาในประเทศไทยมันเข้ามาทำอะไรค่ะ อจ.?
อจ. เฉลย : จริงๆ แล้วเงินที่ไหลเข้าประเทศเข้ามาได้เพื่อ 2 อย่างคือเข้ามาเพราะเราค้าขายกับต่างชาติแล้วกำไร หรือที่เราอ่านๆ ตามหน้า นสพ. กันแล้วเค้าใช้คำว่า เกินดุลบัญชีเดินสะพัด กับเข้ามาเพราะจะมาหาผลประโยชน์ตอบแทน หรือที่เค้าใช้คำว่า บัญชีทุนเคลื่อนย้าย หล่ะครับ หลังแบงค์ชาติประกาศมาตรการกันสำรอง 30% มาใช้บวกกับ กฏหมายนอมินี ก็ทำเอาเงินไหลเข้าฝั่งบัญชีทุนเคลื่อนย้ายชะงักไป ตอนนี้ผมเลยว่ามีแต่ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล ที่ผลักดันให้เงินบาทแข็งค่าอยู่ในปัจจุบัน
หนูฉงน : อ้าว แต่หนูได้ยินท่าน รมว. คลังฯ ออกมาบอกว่าการลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ (FDI) เดือนนี้เพิ่มขึ้นมากไม่ใช่หรอค่ะ?
อจ. เฉลย : ปกติตัวเลข FDI แบงค์ชาติเค้ารายงานช้า 2 เดือนนะ ผมเห็นล่าสุดเดือน ต.ค. 2549 ในเวปแบงค์ชาติ ก็ตกลงเยอะนะ จากระดับเฉลี่ยประมาณ 400-600 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเดือน ลงมาอยู่ที่ 100 กว่าๆ ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ต.ค. 2549 แต่ตรงนี้คงยังมองไม่เห็นผลของมาตรการแบงค์ชาติหรอครับ เพราะเป็นข้อมูลเดือน ต.ค. ซึ่งก่อนเดือน ธ.ค. ที่แบงค์ชาติจะออกมาตรการ แต่ถ้าให้ผมเดานะ ตัวเลข FDI ที่ว่า น่าจะสูงขึ้นจากการเข้ามาซื้อหุ้นธนาคารกรุงศรีฯ ของบริษัท GE Capital เป็นหลัก เพราะการซื้อหุ้นเกิน 10% ไทยเรานับว่าเป็นการลงทุนทางตรงอ่ะครับ
หนูฉงน : อ๋อ อย่างนี้ก็เข้ามาครั้งเดียวแล้วจบกันสิค่ะ.. เอ แต่หนูเห็นหุ้นขึ้นเอาๆ หลังจากกฏหมายนอมินีได้รับการเห็นชอบจาก ครม. นะ อจ. เค้าว่ากันว่าต่างชาติซื้อสุทธิกันได้ทุกวี่ทุกวัน อย่างนี้จะบอกว่าเงินไม่ไหลเข้าได้ยังงัยค่ะ?
อจ. เฉลย : จิงๆ เงินต่างชาติที่เข้ามาในไทย อยู่ได้ 3 ที่คือ 1. ตลาดหุ้น 2. ตลาดตราสารหนี้ และ 3. บัญชีเงินฝากในรูปเงินบาทของผู้ที่ไม่ได้มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศไทย หรือที่เค้าเรียกกันว่า Non-Residential Baht Account (NRBA) ถ้าไม่อยู่ 3 ที่นี้ ก็ต้องเอาออกนอกประเทศ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อน ข้อมูลตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ หนูสามารถดูได้เป็นรายวัน แต่ NRBA เราไม่รู้รายวัน แต่เราสามารถดูได้อ้อมๆ จากอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าตลาดหุ้นตก + ดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ขึ้น (ตลาดตราสารหนี้ขาดสภาพคล่อง) + เงินบาทไม่อ่อน ก็ พอเดาๆ ได้ว่าเงินที่ขายหุ้น + ขายพันธบัตร มันน่าจะไปอยู่ที่ NRBA เพราะเงินบาทไม่อ่อน แสดงว่าเงินไม่ได้ไหลออกนอกประเทศ
ซึ่งถ้าหนูจำได้ ตอนแบงค์ชาติประกาศมาตรการกันสำรอง 30% แล้ววันรุ่งขึ้น (19 ธ.ค. 2549) มูลค่าตลาดหุ้นถล่มทะลายไป 8 แสนกว่าล้านบาท แม้จะมีการออกมาแก้มาตรการกันในวันถัดมาให้มาตรการมีผลบังคับใช้เฉพาะตลาดตราสารหนี้ แล้วทำให้หุ้นกระเตื้องขึ้นมาพอสมควรก็เถอะ แต่มูลค่าตลาดฯ ก็ยังไม่กลับมาเท่าเดิม ส่วนตลาดตราสารหนี้ ไม่ต้องพูดถึงเพราะมาตรการยังมีผลบังคับใช้กับตลาดตราสารหนี้อยู่ เงินที่ไหลออกจากตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ ไปไหนไม่ได้ ก็ต้องมาอยู่ที่ NRBA ซึ่งเป็นเงินเยอะโขอยู่ ช่วงแรกได้ยินว่าแบงค์ชาติผ่อนคลายให้จากเดิมแต่ละคนมีเงินอยู่ใน NRBA ได้ไม่เกินคนละ 300 ล้านบาทเป็นให้มีได้ไม่จำกัด ถ้าจำไม่ผิดจนถึงวันที่ 8 ม.ค. 2550 นะ ตรงนี้หมายความว่า หลังวันที่หมดระยะเวลาผ่อนคลาย นักลงทุนต่างประเทศก็มีทางเลือกแค่ 3 ทางคือ 1. ต้องกลับเข้าไปตลาดตราสารหนี้ ซึ่งผมไม่คิดว่าจะกลับเพราะมาตรการยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ หรือไม่ก็ 2. กลับเข้าไปตลาดหุ้นฯ ซึ่งตอนแรกผมก็ไม่คิดว่าจะกลับเพราะตอนนั้นได้ยินว่ากฎหมายนอมินีทำให้ต่างชาติไม่พอใจถึงขึ้น Zero Weight (ถอนการลงทุน) จากประเทศไทย หรือไม่ก็ 3. ขนเงินออกนอกประเทศไปเลย ซึ่งจะทำให้เงินบาทอ่อนค่า ซึ่งตอนนั้นน่าจะเป็นกรณีที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่สุดท้ายแล้ว 2 วันหลังจาก ครม. เห็นชอบในหลักการเรื่องกฏหมายนอมินี ตลาดหุ้นไทยกลับบวกขึ้นจากแรงซื้อต่างชาติอย่างต่อเนื่องจนมาแผ่วลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากแบงค์ชาติเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก R/P 14 วันเป็น R/P 1 วัน และปรับลดดอกเบี้ยลงเหลือ 4.75%
หนูฉงน : โอโห อย่างนี้หนูยิ่งงงไปใหญ่เลย เพราะนอกจาก อจ. จะไม่ตอบหนูว่าต่างชาติซื้อหุ้นสุทธิติดต่อกันแล้ว ยังจะทำให้หนูสงสัยว่าการที่แบงค์ชาติลดดอกเบี้ย เท่าที่หนูเรียนมาเนี่ย จะทำให้เงินทุนไหลออก เพราะผลตอบแทนทางการเงินในประเทศไทยน้อยลง และจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงไม่ใช่หรือค่ะ แต่นี่ทำไมค่าเงินบาทในตลาด Offshore (เงินบาทที่ซื้อขายกันในตลาดต่างประเทศ) ถึงแข็งเอาๆ จนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (26 ม.ค. 2550) มาปิดตลาดที่ระดับประมาณ 33.5 บาท/ดอลลาร์ สรอ.
อจ. เฉลย : ตรงนี้แยกได้เป็น 2 ประเด็นนะครับ ประเด็นแรกคือ ทำไมต่างชาติถึงกลับเข้าซื้อหุ้น และประเด็นที่สองคือทำไมเงินบาท Offshore ถึงแข็งค่า เอาเรื่องแรกก่อนนะครับ ผมว่ามาตรการกันสำรอง 30% นี่ได้ผลเกินคาด หลังจากมาตรการนี้ออกมา ใครจะเอาเงินเข้ามาเมืองไทยก็ยังมีความกล้าๆ กลัวๆ อยู่ กลัวว่าเข้ามาแล้วจะเอาออกไม่ได้ หรือกลัวว่าถ้าเอาเงินออกไปแล้วจะเอากลับเข้ามาไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราเลยเห็นว่าเงินทุนไหลเข้าจากฝั่งบัญชีทุนเคลื่อนย้ายหยุดชะงักลง ยังจะมีก็แต่เงินทุนไหลเข้าจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับสูง ในขณะเดียวกัน ต่างชาติคนไหนที่มีเงินอยู่ในประเทศไทยแล้วก็ต้องสงวนท่าทีระมัดระวังในการเอาเงินออกนอกประเทศเพราะถ้าออกแล้วก็กลัวว่าเดี๋ยวจะกลับเข้ามาไม่ได้อีก ก็เข้าใจครับว่าดังนั้นกรณีที่ 3 ข้างต้น (ขนเงินออกนอกประเทศไปเลย) อาจเป็นกรณีที่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง และเป็นที่ปรากฏว่า ต่างชาติเลือกกรณีที่ 2 คือกลับเข้าไปในตลาดหุ้นอีกครั้ง แล้วอย่างนี้ที่บอกว่าจะ Zero Weight ประเทศไทยหน่ะ เป็นการขู่อย่างเดียวหรือ จริงๆ แล้วยังอยากลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่เป็นตลาดที่มีผลตอบแทนสูงอยู่หล่ะสิ
จะฟันธงซะอย่างนั้นเลย ก็ไม่ถูกนะครับ ถ้าไปเช็คดูดีๆ การกลับเข้าซื้อหุ้นของฝรั่งรอบนี้ทำผ่านโบรกเกอร์เพียงไม่กี่รายที่โดยปกติมีส่วนแบ่งตลาดอยู่อันดับท้ายๆ ของ Top 10 แต่อยู่ๆ ก็กลับมาซื้ออย่างหนักจนขึ้นเป็นอันดับ 1-2 ในช่วงหลังจาก พรบ. นอมินี ผ่านความเห็นชอบ ครม. โดยก่อนหน้านี้ได้มีธุรกรรมในตลาดซื้อขายล่วงหน้าอยู่จำนวนมาก มันหมายความว่าอะไรหรือครับ? ตรงนี้ถึงแม้จะฟันธงได้ไม่ชัดเจน แต่ก็พอจับเค้าได้ว่า การซื้อขายในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการซื้อหุ้นคืนเพื่อชดใช้หุ้นที่ตนได้ทำสัญญาขายล่วงหน้าไว้ หรือที่ภาษาเทคนิคเค้าเรียกกันว่า Cover Short นั่นแหล่ะครับ ก็แหม เงินบาทของตนมีล้นอยู่เต็มมือในประเทศ จะเอาออกก็กลัวเข้ามาอีกไม่ได้ ไหนๆ ก็ไหนๆ ก็ Cover Short ไปก่อนไม่ดีกว่าหรือครับ ตอนจะขนเงินออกจริงๆ จะได้ไม่ต้องมีเยื่อใยกลับมาซื้อคืนอีกในอนาคต จะได้ออกไปเลยให้มันรู้แล้วรู้รอดเสียทีเดียว อีกอย่างช่วงนั้นก็พอเก็งๆ กันได้ว่าวันที่ 17 ม.ค. 2550 แบงค์ชาติคงต้องลดดอกเบี้ยแน่ๆ พอดอกเบี้ยลดปุ๊บ ราคาพันธบัตรก็สูงขึ้น ต่างชาติลงทุนในพันธบัตรอยู่ราว 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งดูเหมือนเป็นน้องชายเมื่อเทียบกับพี่ใหญ่อย่างตลาดหลักทรัพย์ที่ลงทุนอยู่ราว 3.3 แสนล้านบาท ดังนั้นถ้าเป็นผม ก็คงต้องรีบทำ Cover Short ในตลาดพี่ไว้ก่อนพอราคาพันธบัตรสูงและตลาดน้องกำไร ก็จะได้ขายในตลาดพี่และตลาดน้อง (ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้) และนำเงินออกไปทีเดียวไม่ดีกว่าหรือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ใกล้เคียงการเดาครับ หลังแบงค์ชาติประกาศลดดอกเบี้ย โบรกเกอร์ที่ว่านั้นก็แทบจะกลับมาซื้อขายตามปกติ แต่ยังครับ การเอาเงินออกมันยังเร็วเกินไป ต้องทำเงินบาทให้มันแข็งๆ ก่อน ตอนเอาเงินออกมันจะได้เอาออกแล้วได้กำไรอีกเด้งนึงด้วย หนูฉงนก็เลยงงใช่ไหมครับว่าทำไมที่เรียนมาเค้าบอกว่าลดดอกเบี้ยแล้วเงินจะไหลออก เงินบาทจะอ่อน แต่นี้ลดดอกเบี้ยแล้วเงินบาทใน Offshore กับแข็งขึ้นสวนกระแสอย่างนี้
ถึงตรงนี้คงต่อข้อถามในประเด็นที่ 2 ไปได้ระดับนึงแล้วนะครับว่าทำไมเงินบาท Offshore ถึงแข็งขนาดนี้ คำตอบคร่าวๆ ก็คือมันเป็นกระบวนการเก็งกำไรขั้นปลายแล้วครับ ไม่มีใครกล้ามาเก็ง Onshore (การซื้อขายเงินในประเทศ) หรอกครับ เค้ากลัวแบงค์ชาติกัน ไปเก็งกันต่างประเทศดีกว่า แล้วเดี๋ยวผลมันก็ส่งถึงในประเทศเองแหล่ะครับ
จริงๆ อยากคุยต่อนะครับ ว่าวิธีการทำให้ Offshore มันแข็งหน่ะ ทำได้อย่างไร? ผ่านกระบวนการไหน แต่วันนี้เนื้อที่หมดแล้ว คงต้องขอยกยอดไปฉบับหน้าแล้วกันนะครับ ปกติผมจะส่งต้นฉบับจันทร์สุดท้ายของทุกเดือน กว่าจะตีพิมพ์ก็วันพุธ ใครสนใจติดตาม อจ. กับลูกศิษย์คู่นี้ต่อก็ติดตามได้ตามเวลาดังกล่าวนะครับ วันนี้ก่อนไปอยากให้จับตาดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด Onshore ปรับตัวแข็งค่าตาม Offshore กันดีกว่าครับ สวัสดีครับ