คุยกันขำๆ ค่าเงินบาท
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 28, 2006 9:02 pm
ลองมาคิดดูกันอีกทีครับ ว่าถ้า bot ไม่แทรกแซงจะเป็นเช่นไร โดยเจตนาความจริง ก็ไม่อยากให้เกิดการแทรกแซงอะไรมากมายนัก เพราะปัญหาครั้งนี้ เกิดจาก the falling of US dollar
ซึ่งถ้าหาก bot มิได้เข้าแทรกแซงค่าเงินอย่างไร ก็คงได้เห็นผลที่เห็นได้ชัดแน่นอน คือ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วมาก และก็จะกระทบต่อผู้ส่งออก* เป็นสำคัญ
และจากเหตุผลข้างต้น ก็ส่งผลให้ bot ต้องทำการเข้าแทรกแซง ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ ก็เข้าข่าย ประชานิยม ที่เอาหน้ารอด แต่ต่อไปเป็นเช่นไรมิทราบ เพื่อให้ผู้ส่งออก*ยินดี
แล้วผลของการแทรกแซงค่าเงินจะเป็นเช่นไร โดยปกติแล้ว การเข้าแทรกแซงค่าเงิน ก็กระทำเพื่อให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ และไม่วูบวาบจนเกินไป ซึ่งจะใช้ได้ผลในบางช่วงเวลา
แต่ในเหตุการณ์นี้ เกิดจาก the falling of US dollar ซึ่งบ่งบอกเห็นชัดตั่งแต่ช่วง FED ได้มีมติ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ รวมไปถึง การชลอตัวลง ของภาคอสังหาของสหรัฐ ซึ่งก็ถือว่ายังโชคดี ที่ตัวเลข spending ของ สหรัฐยังคงโอเคอยู่ มิเช่นนั้น ค่าเงิน us dollar คงจะอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง
และก็จากข้อความข้างต้น เหตุเกิดจาก the falling of US dollar ไม่ว่า bot จะแทรกแซงเช่นไร มันก็มิอาจจะป้องกันค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นได้ เพราะว่า ค่าเงินสหรัฐ มันจะอ่อนตัวลงมาตลอดช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นี้
และผลจากการแทรกแซงจะเป็นเช่นไร คำตอบง่ายๆ ก็ขาดทุนสิครับ
และก็อยากจะถามว่า bot ก็แทรกแซงไม่ได้สิ จริงๆแล้วมันก็แทรกแซงได้เป็นช่วงจังหวะ และควรมีแผนการรับมือ เพราะ เหตุการณ์ the falling of US dollar และการเก็งค่าเงินบาท รวมไปถึงการเข้าแทรกแซงของค่าเงินบาท เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคมปีที่แล้วนั้นเอง
ถ้าใครได้เห็นตัวเลขทุนสำรองของ bot จะเห็นได้ชัดว่า ทุนสำรองในรูปแบบ US dollar สูงขึ้นเรื่อยมาตั่งแต่ เดือนตุลาคม ซึ่งเป็นจุดแรกที่ bot ได้ทำการ แทรกแซงค่าเงิน เหตุผลสำคัญ ก็คงเป็น speculation ของการ deal หุ้น shin จำนวนแสนล้านบาท (ราวๆ 3100ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดจากมูลค่าmkt cap ของหุ้น shin ในช่วงนั้น
ทำไมผมถึงได้บอกว่า การเข้าแทรกแซงของbot เกิดขึ้นในช่วง เดือน ตุลาคมปีก่อน ก็ต้องย้อนกลับไปดูทุนสำรองที่ได้เริ่มต้นสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยๆเรื่อยๆมา โดย ก่อนเดือนตุลาคมปีก่อน เรื่อยๆมา**
และจากจำนวนเงินกว่า 3100 ล้านเหรียญสหรัฐนี้ ก็ดึงดูด การเก็งกำไรค่าเงินได้มากแล้ว ยิ่งประจวบเหมาะ กับ the falling of us dollar อีก ก็ส่งผลให้ค่าเงินบาทเราแข็งค่าอย่างเห็นได้ชัดในช่วงต้นปีนี้ และเป็นสาเหตุของการเข้ามาสร้างกำไร ในตลาดทุน ช่วงต้นปี หรือที่เราเรียกกันว่า jan effect ซึ่งตลาดทุนบ้านเราดีดตัวขึ้นอย่างรุนแรง ทั้งที่การคาดการณ์ กำไรของบ้านเรามิได้สูงกว่า ตลาดบ้านอื่นเลย (ไว้จะมาพูดในต่อๆไป) แต่ก็ได้รับปัจจัยมาจากการเติบโต ของตัวเลขเศรษฐกิจของโลกในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ผ่านมา
และผลต่อจากนั้น ก็เกิด bernanke effect ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้น ของการที่ fed เริ่มคงอัตราดอกเบี้ย สหรัฐไว้ เพราะเป็นจุดที่ fed น่าจะมีการวางแผนรับมือมาเป็นอย่างดี แต่การที่ fed เริ่มคงอัตราดอกเบี้ยนี่สิ เป็นจุดเริ่มต้นของการจุดระเบิดที่ ระบบเศรษฐกิจสหรัฐได้วางไว้
เมื่อfed เริ่มคงดอกเบี้ยไว้ ก็ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดพันธบัตร ซึ่งคาดหวังไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะปรับตัวลดลง และเงินก็ได้เริ่มไหลเข้าตลาดพันธบัตร อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ เหตุการณ์ the falling of us dollar ก็ยิ่งกระตุ้นให้ เกิดความต้องการซื้อเงินสกุลอื่นไว้ นั้นก็ยิ่งเป็นเหตุผลให้ค่าเงินบาทบ้านเราแข็งค่าขึ้นมาเรื่อยๆ ประกอบกับ ตัวเลขส่งออกบ้านเราอยู่ในอัตราที่สูง ก็ยิ่งกระตุ้นเข้าไปใหญ่
แล้วถามว่าทำไม ค่าเงินบาทแข็ง ตัวเลขส่งออกบ้านเรายังคงสูง คำตอบง่ายๆครับ ตัวเลขส่งออกสำคัญ ของบ้านเรา มาจาก machinery part, automobile, electric part และ machinery ซึ่ง อุตสาหกรรมพวกนี้ยิ่งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น จะเป็นประโยชน์สำคัญกับธุรกิจอย่างยิ่ง เพราะวัตถุดิบนำเงินมาจากเมืองนอก โดยที่บ้านเราเป็นแค่แหล่งผลิตเท่านั้น นี่ยังไม่นับ ตัวเลขยอดดุลอันดับ 2 บ้านเรา ก็คือ tourism (อันดับ1 คือ machinery part) ก็กระตุ้นการแข็งค่าของค่าเงินบาทได้เช่นกัน^^
และก็อย่างที่ได้เอ่ยมา ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ ค่าเงินบาทแข็งค่ายิ่งขึ้น โดยที่มิได้พูดถึงการเก็งกำไรอย่างไรเหตุผลมากนัก
และก็อยากจะถามว่า เหตุการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ควรจะทำเช่นไร ถ้าจากเหตุผลที่ได้เอ่ยไปข้างต้น จะบ่งบอกได้ว่า bot แทรกแซงไปเท่าไร ก็ไม่ได้ผลหรอกครับ เพราะค่าเงินบาทมีแต่แข็งค่าขึ้น แล้ว ควรจะทำเช่นไรดี
การลดดอกเบี้ย ยอมรับ การเก็งกำไร ค่าเงินอาจจะเกิดขึ้นจาก การที่กู้เงินจากแหล่งทุนต่ำ มาลงทุนในแหล่งที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่นกู้เงินจาก ญี่ปุ่น มาฝากเงินใน ประเทศไทย สำหรับการลดดอกเบี้ย ถ้าอยากให้เก็งกำไรค่าเงินแบบนี้ หายไปก็จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยของบ้านเราลงไปในระดับต่ำใกล้เคียงกับ ญี่ปุ่น ซึ่งก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะจะเกิดภาวะ shock ทางเศรษฐกิจ แล้วถ้าหาก ค่อยๆลดดอกเบี้ยลงจะเกิดผลเช่นไร สำหรับ เหตุผลที่ bot ยกขึ้นมาว่า ถ้ายิ่งลดดอกเบี้ยจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด เท่ากับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้อีก สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลายคนก็บอกว่ามันต้องใช้เวลาถึงจะเกิดอันนี้ถือว่าถูกต้องยิ่ง แต่ตลาดพันธบัตร ตลาดทุน และตลาดอสังหา ไม่ต้องใช้เวลาเลย เพราะมันจะeffect ทันที ตลาดพันธบัตรจะยิ่งให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ราคาหุ้นจะถูกกระตุ้นจากการลดดอกเบี้ยลงส่งผลให้ราคาหุ้นสูงขึ้น รวมไปถึงราคาของอสังหาที่จะยิ่งปรับตัวขึ้น และก็มิอาจจะพูดได้ว่า ค่าเงินบาทจะเป็นเช่นไร เพราะนักลงทุนที่โอนค่าเงิน US dollar ออกมาจะแสวงหา แหล่งเงินที่ได้ผลตอบแทนสูง ซึ่งนโยบายดอกเบี้ยเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคมได้เลยทีเดียว เพราะถ้าตัดสินผิดพลาดไป จะกระทบหนักเข้าไปอีก และอย่างที่บอกว่าไม่ทราบจะเกิดเหตุการณ์ใด เพราะเรายังไม่ได้ลดดอกเบี้ย ถ้าลดแล้วค่าเงินบาทยังแข็ง เหมือนค่าเงิน อินโดนีเซีย ที่เพิ่งลดดอกเบี้ยไปเอง ยิ่งไม่จำเป็นต้องรีบเร่งลดใหญ่เลยทีเดียวหรือครับ
แล้ว bot ควรจะทำเช่นไร จริงๆแล้ว bot มิควรทำอย่างไรเลยด้วยซ้ำ เพราะยิ่งแทรกแซง พวกนักลงทุนก็ยิ่งชอบครับ ในภาวะ เหตุการณ์ the falling of US dollar หน้าที่สำคัญน่าจะเป็นทีมเศรษฐกิจประเทศมากกว่า ที่ควรจะรีบวางระบบแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน (ผมไม่อยากโทษรัฐบาลชุดนี้มากนัก แม้นว่าไม่พอใจผลงานเช่นกัน เพราะว่า ปัญหานี้มันลามมาตั่งแต่ปีก่อนแล้วด้วยซ้ำมิใช่ 3เดือนที่ผ่านมา) ถ้าหาก ค่าเงินเราแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าแปรงกับมาเป็นเงินบาทลดลง ก็จำเป็นยิ่งที่จะต้องลดต้นทุนสินค้าเดิมลงให้ได้ โดยจะเห็นได้ชัดว่า cost of capital ของประเทศไทยเราสูงมากกว่าประเทศอื่นมาก การพัฒนาระบบ logistic ก็ ควรจะเร่งรีบโดยเร็ว ผมว่า การปรับตัวให้อยู่รอดได้ทางเศรษฐกิจ ควรจะเป็นแนวทางที่ดีกว่า โดยที่รัฐไม่ต้องทำอะไรมากเลย โดยรัฐควรจะรีบเร่งนโยบายทำความเข้าใจกับ เอกชนให้มากกว่านี้ (ประเทศมาเลเซีย ถึงขนาดประกาศเตือนเอกชนเลยว่า ค่าเงินริงกิต จะแข็งค่าขึ้น ให้เอกชนพร้อมรับมือ มาเป็นช่วงๆตลอดเวลา นี่ก็เป็นวิธีที่อาจจะช่วยได้ โดยส่งสัญญาณให้เอกชนพร้อมรับมือ) การพัฒนา สร้างvalue ให้กับสินค้าของประเทศไทยก็สำคัญเช่นกัน และอยากขอร้องให้คนไทยด้วยกัน อย่าทำลายประเทศกันเองเลย
ผมหวังว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในวันข้างหน้า เพราะผมชอบมองโลกในแง่ดี ยามเกิดวิกฤติเสมอ ว่า คนไทยอาจจะโตขึ้น จากเหตุการณ์ร้ายๆที่ได้พบเจอ
และอยากจะวิงวอนว่า อย่าให้มี default เลยครับ
*ผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบ ก็เป็นเพราะมิอาจจะปรับตัวได้ การทำธุรกิจ หากไม่สามารถรับความเสี่ยงอะไรได้ ก็อย่าทำเลยดีกว่า พี่maffin ได้เอ่ยไว้
** อ้างอิง ทุนสำรองประเทศไทยครับ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 972-70.gif
bot อาจจะไม่ใช่ Bank of Thailand ก็ได้ แต่เป็น บอท ที่โดนเขียนโปรแกรมเสร็จสรรพให้ทำอะไร
ซึ่งถ้าหาก bot มิได้เข้าแทรกแซงค่าเงินอย่างไร ก็คงได้เห็นผลที่เห็นได้ชัดแน่นอน คือ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วมาก และก็จะกระทบต่อผู้ส่งออก* เป็นสำคัญ
และจากเหตุผลข้างต้น ก็ส่งผลให้ bot ต้องทำการเข้าแทรกแซง ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ ก็เข้าข่าย ประชานิยม ที่เอาหน้ารอด แต่ต่อไปเป็นเช่นไรมิทราบ เพื่อให้ผู้ส่งออก*ยินดี
แล้วผลของการแทรกแซงค่าเงินจะเป็นเช่นไร โดยปกติแล้ว การเข้าแทรกแซงค่าเงิน ก็กระทำเพื่อให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ และไม่วูบวาบจนเกินไป ซึ่งจะใช้ได้ผลในบางช่วงเวลา
แต่ในเหตุการณ์นี้ เกิดจาก the falling of US dollar ซึ่งบ่งบอกเห็นชัดตั่งแต่ช่วง FED ได้มีมติ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ รวมไปถึง การชลอตัวลง ของภาคอสังหาของสหรัฐ ซึ่งก็ถือว่ายังโชคดี ที่ตัวเลข spending ของ สหรัฐยังคงโอเคอยู่ มิเช่นนั้น ค่าเงิน us dollar คงจะอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง
และก็จากข้อความข้างต้น เหตุเกิดจาก the falling of US dollar ไม่ว่า bot จะแทรกแซงเช่นไร มันก็มิอาจจะป้องกันค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นได้ เพราะว่า ค่าเงินสหรัฐ มันจะอ่อนตัวลงมาตลอดช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นี้
และผลจากการแทรกแซงจะเป็นเช่นไร คำตอบง่ายๆ ก็ขาดทุนสิครับ
และก็อยากจะถามว่า bot ก็แทรกแซงไม่ได้สิ จริงๆแล้วมันก็แทรกแซงได้เป็นช่วงจังหวะ และควรมีแผนการรับมือ เพราะ เหตุการณ์ the falling of US dollar และการเก็งค่าเงินบาท รวมไปถึงการเข้าแทรกแซงของค่าเงินบาท เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคมปีที่แล้วนั้นเอง
ถ้าใครได้เห็นตัวเลขทุนสำรองของ bot จะเห็นได้ชัดว่า ทุนสำรองในรูปแบบ US dollar สูงขึ้นเรื่อยมาตั่งแต่ เดือนตุลาคม ซึ่งเป็นจุดแรกที่ bot ได้ทำการ แทรกแซงค่าเงิน เหตุผลสำคัญ ก็คงเป็น speculation ของการ deal หุ้น shin จำนวนแสนล้านบาท (ราวๆ 3100ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดจากมูลค่าmkt cap ของหุ้น shin ในช่วงนั้น
ทำไมผมถึงได้บอกว่า การเข้าแทรกแซงของbot เกิดขึ้นในช่วง เดือน ตุลาคมปีก่อน ก็ต้องย้อนกลับไปดูทุนสำรองที่ได้เริ่มต้นสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยๆเรื่อยๆมา โดย ก่อนเดือนตุลาคมปีก่อน เรื่อยๆมา**
และจากจำนวนเงินกว่า 3100 ล้านเหรียญสหรัฐนี้ ก็ดึงดูด การเก็งกำไรค่าเงินได้มากแล้ว ยิ่งประจวบเหมาะ กับ the falling of us dollar อีก ก็ส่งผลให้ค่าเงินบาทเราแข็งค่าอย่างเห็นได้ชัดในช่วงต้นปีนี้ และเป็นสาเหตุของการเข้ามาสร้างกำไร ในตลาดทุน ช่วงต้นปี หรือที่เราเรียกกันว่า jan effect ซึ่งตลาดทุนบ้านเราดีดตัวขึ้นอย่างรุนแรง ทั้งที่การคาดการณ์ กำไรของบ้านเรามิได้สูงกว่า ตลาดบ้านอื่นเลย (ไว้จะมาพูดในต่อๆไป) แต่ก็ได้รับปัจจัยมาจากการเติบโต ของตัวเลขเศรษฐกิจของโลกในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ผ่านมา
และผลต่อจากนั้น ก็เกิด bernanke effect ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้น ของการที่ fed เริ่มคงอัตราดอกเบี้ย สหรัฐไว้ เพราะเป็นจุดที่ fed น่าจะมีการวางแผนรับมือมาเป็นอย่างดี แต่การที่ fed เริ่มคงอัตราดอกเบี้ยนี่สิ เป็นจุดเริ่มต้นของการจุดระเบิดที่ ระบบเศรษฐกิจสหรัฐได้วางไว้
เมื่อfed เริ่มคงดอกเบี้ยไว้ ก็ส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดพันธบัตร ซึ่งคาดหวังไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะปรับตัวลดลง และเงินก็ได้เริ่มไหลเข้าตลาดพันธบัตร อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ เหตุการณ์ the falling of us dollar ก็ยิ่งกระตุ้นให้ เกิดความต้องการซื้อเงินสกุลอื่นไว้ นั้นก็ยิ่งเป็นเหตุผลให้ค่าเงินบาทบ้านเราแข็งค่าขึ้นมาเรื่อยๆ ประกอบกับ ตัวเลขส่งออกบ้านเราอยู่ในอัตราที่สูง ก็ยิ่งกระตุ้นเข้าไปใหญ่
แล้วถามว่าทำไม ค่าเงินบาทแข็ง ตัวเลขส่งออกบ้านเรายังคงสูง คำตอบง่ายๆครับ ตัวเลขส่งออกสำคัญ ของบ้านเรา มาจาก machinery part, automobile, electric part และ machinery ซึ่ง อุตสาหกรรมพวกนี้ยิ่งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น จะเป็นประโยชน์สำคัญกับธุรกิจอย่างยิ่ง เพราะวัตถุดิบนำเงินมาจากเมืองนอก โดยที่บ้านเราเป็นแค่แหล่งผลิตเท่านั้น นี่ยังไม่นับ ตัวเลขยอดดุลอันดับ 2 บ้านเรา ก็คือ tourism (อันดับ1 คือ machinery part) ก็กระตุ้นการแข็งค่าของค่าเงินบาทได้เช่นกัน^^
และก็อย่างที่ได้เอ่ยมา ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ ค่าเงินบาทแข็งค่ายิ่งขึ้น โดยที่มิได้พูดถึงการเก็งกำไรอย่างไรเหตุผลมากนัก
และก็อยากจะถามว่า เหตุการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ควรจะทำเช่นไร ถ้าจากเหตุผลที่ได้เอ่ยไปข้างต้น จะบ่งบอกได้ว่า bot แทรกแซงไปเท่าไร ก็ไม่ได้ผลหรอกครับ เพราะค่าเงินบาทมีแต่แข็งค่าขึ้น แล้ว ควรจะทำเช่นไรดี
การลดดอกเบี้ย ยอมรับ การเก็งกำไร ค่าเงินอาจจะเกิดขึ้นจาก การที่กู้เงินจากแหล่งทุนต่ำ มาลงทุนในแหล่งที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่นกู้เงินจาก ญี่ปุ่น มาฝากเงินใน ประเทศไทย สำหรับการลดดอกเบี้ย ถ้าอยากให้เก็งกำไรค่าเงินแบบนี้ หายไปก็จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยของบ้านเราลงไปในระดับต่ำใกล้เคียงกับ ญี่ปุ่น ซึ่งก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะจะเกิดภาวะ shock ทางเศรษฐกิจ แล้วถ้าหาก ค่อยๆลดดอกเบี้ยลงจะเกิดผลเช่นไร สำหรับ เหตุผลที่ bot ยกขึ้นมาว่า ถ้ายิ่งลดดอกเบี้ยจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด เท่ากับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้อีก สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลายคนก็บอกว่ามันต้องใช้เวลาถึงจะเกิดอันนี้ถือว่าถูกต้องยิ่ง แต่ตลาดพันธบัตร ตลาดทุน และตลาดอสังหา ไม่ต้องใช้เวลาเลย เพราะมันจะeffect ทันที ตลาดพันธบัตรจะยิ่งให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ราคาหุ้นจะถูกกระตุ้นจากการลดดอกเบี้ยลงส่งผลให้ราคาหุ้นสูงขึ้น รวมไปถึงราคาของอสังหาที่จะยิ่งปรับตัวขึ้น และก็มิอาจจะพูดได้ว่า ค่าเงินบาทจะเป็นเช่นไร เพราะนักลงทุนที่โอนค่าเงิน US dollar ออกมาจะแสวงหา แหล่งเงินที่ได้ผลตอบแทนสูง ซึ่งนโยบายดอกเบี้ยเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคมได้เลยทีเดียว เพราะถ้าตัดสินผิดพลาดไป จะกระทบหนักเข้าไปอีก และอย่างที่บอกว่าไม่ทราบจะเกิดเหตุการณ์ใด เพราะเรายังไม่ได้ลดดอกเบี้ย ถ้าลดแล้วค่าเงินบาทยังแข็ง เหมือนค่าเงิน อินโดนีเซีย ที่เพิ่งลดดอกเบี้ยไปเอง ยิ่งไม่จำเป็นต้องรีบเร่งลดใหญ่เลยทีเดียวหรือครับ
แล้ว bot ควรจะทำเช่นไร จริงๆแล้ว bot มิควรทำอย่างไรเลยด้วยซ้ำ เพราะยิ่งแทรกแซง พวกนักลงทุนก็ยิ่งชอบครับ ในภาวะ เหตุการณ์ the falling of US dollar หน้าที่สำคัญน่าจะเป็นทีมเศรษฐกิจประเทศมากกว่า ที่ควรจะรีบวางระบบแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน (ผมไม่อยากโทษรัฐบาลชุดนี้มากนัก แม้นว่าไม่พอใจผลงานเช่นกัน เพราะว่า ปัญหานี้มันลามมาตั่งแต่ปีก่อนแล้วด้วยซ้ำมิใช่ 3เดือนที่ผ่านมา) ถ้าหาก ค่าเงินเราแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าแปรงกับมาเป็นเงินบาทลดลง ก็จำเป็นยิ่งที่จะต้องลดต้นทุนสินค้าเดิมลงให้ได้ โดยจะเห็นได้ชัดว่า cost of capital ของประเทศไทยเราสูงมากกว่าประเทศอื่นมาก การพัฒนาระบบ logistic ก็ ควรจะเร่งรีบโดยเร็ว ผมว่า การปรับตัวให้อยู่รอดได้ทางเศรษฐกิจ ควรจะเป็นแนวทางที่ดีกว่า โดยที่รัฐไม่ต้องทำอะไรมากเลย โดยรัฐควรจะรีบเร่งนโยบายทำความเข้าใจกับ เอกชนให้มากกว่านี้ (ประเทศมาเลเซีย ถึงขนาดประกาศเตือนเอกชนเลยว่า ค่าเงินริงกิต จะแข็งค่าขึ้น ให้เอกชนพร้อมรับมือ มาเป็นช่วงๆตลอดเวลา นี่ก็เป็นวิธีที่อาจจะช่วยได้ โดยส่งสัญญาณให้เอกชนพร้อมรับมือ) การพัฒนา สร้างvalue ให้กับสินค้าของประเทศไทยก็สำคัญเช่นกัน และอยากขอร้องให้คนไทยด้วยกัน อย่าทำลายประเทศกันเองเลย
ผมหวังว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในวันข้างหน้า เพราะผมชอบมองโลกในแง่ดี ยามเกิดวิกฤติเสมอ ว่า คนไทยอาจจะโตขึ้น จากเหตุการณ์ร้ายๆที่ได้พบเจอ
และอยากจะวิงวอนว่า อย่าให้มี default เลยครับ
*ผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบ ก็เป็นเพราะมิอาจจะปรับตัวได้ การทำธุรกิจ หากไม่สามารถรับความเสี่ยงอะไรได้ ก็อย่าทำเลยดีกว่า พี่maffin ได้เอ่ยไว้
** อ้างอิง ทุนสำรองประเทศไทยครับ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 972-70.gif
bot อาจจะไม่ใช่ Bank of Thailand ก็ได้ แต่เป็น บอท ที่โดนเขียนโปรแกรมเสร็จสรรพให้ทำอะไร