หน้า 1 จากทั้งหมด 1
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 09, 2007 9:32 am
โดย jaychou
อ่านพบสมการข้างต้นจากหนังสือเศรษฐศาสตร์ชาวบ้านเล่มหนึ่ง บอกไว้ว่าถ้าประเทศไทยมีเงินออมเพียงพออย่างญี่ปุ่นหรือจีน ก็มีเงินลงทุนได้อย่างเพียงพอในการสร้าง GDP ประเทศไทยเงินออมไม่พอจึงต้องพึ่งพาเงินทุนต่างชาติจำนวนหนึ่งในการลงทุนไม่อย่างนั้นก็เติบโตไม่ได้ จนกลายเป็นสิ่งเสพติดอย่างหนึ่ง
สรุปว่าถ้าเพิ่มกำลังการออม ก็สามารถทดแทนเงินทุนต่างชาติได้ในระดับหนึ่ง
ไม่ทราบท่านอื่นคิดเห็นเป็นประการณ์ใดครับ ผมยังไม่กระจ่างเรื่องนี้
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 09, 2007 10:58 am
โดย lekmak333
GDP = C + I + G + IM
ก็เห็นด้วยเรื่องการออม แต่เป็นการออมระยะยาว เหมือนในแถบยุโรป เขาสามารถวางแผน ทางการเงินระยะยาวได้ และไม่ได้ออมเก็บแต่ออมเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์
ประเทศกำลังพัฒนา ถ้าสู้เรื่องทุนแพ้ต่างชาติแน่ๆ
กลายเป็นต้องพึ่งพาเงินทุนต่างชาติหมด
แต่ถ้า....คนในชาติ มีความรู้ ความสามารถ output ออกมามากกว่าชาติอื่นๆ จะเกิดอะไรขึ้น??
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 09, 2007 12:37 pm
โดย matrix
ตอบคุณ Jay ครับ...
อัตราการเติบโตของ GDP เช่นของจีน เฉลี่ย 10 % มาเกือบทุกปี
แรกๆมาจากเงินลงทุนจากต่างชาติที่เห็นโอกาสของแรงงานราคาถูก
จึงขนเงินมาตั้งฐานการผลิตที่จีน เช่น Nokia IBM Intel etc.
ประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีค่าแรงสูงทั้งอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นก็ขนเงินแห่มากันใหญ่
เงินลงทุนพวกนี้ไม่ใช่มาแค่ปีเดียว 2 ปี แต่มีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปีแล้วครับ
เพราะเหตุนี้จีนจึงมีเงินคงคลังที่มากที่สุดในโลกแล้วตอนนี้
ถามว่าในอดีตถ้าจีนไม่เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติเมื่อ 10 กว่าปีก่อน
จีนก็คงไม่มีสระอีเหมือนในอดีต
เงินออมของชาติที่มีอยู่เดิมเพียงไม่กี่อีแปะ
คงไม่สามารถยิ่งใหญ่เหมือนเช่นทุกวันนี้
เงินออมที่สามารถผลักดันการเจริญเติบโตที่พูดถึงนั้น
น่าจะมาจากภาคการผลิตที่ลงทุนโดยตรงของภาคเอกชน ซึ่งหมายถึงเงินลงทุนระยะยาว
แต่ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วยครับ
เพราะเหตุนี้ ภาคการผลิตจึงต้องอาศัย Know How และเทคโนโลยี่จากต่างชาติ
เพื่อให้ได้มีโอกาสในการแข่งขันในเวทีโลก
เว้นเสียแต่ว่าเรามี know How & Technology ของเราเอง
ส่วนเงินออมเช่น เงินกองทุนเพื่อการลงทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯ
ซึ่งไม่ใช่การลงทุนโดยตรง แต่เป็นการลงทุนโดยอ้อม
ในตลาดหลักทรัพย์ การเงิน และตราสารหนี้
เปรียบไปก็เหมือนกับเงินหมุนเวียนระยะสั้น ไม่ใช่เงินลงทุนระยะยาว
ซึ่งไม่สามารถขยับ GDP ได้มากเท่ากับการลงทุนโดยตรงของผู้ประกอบการเอง
เพราะผู้ประกอบการลงทุนยาวนาน ไม่สามารถเปลี่ยนธุรกิจที่ลงทุนภายในไม่กี่นาที
เหมือนที่ทำได้ในตลาดหลักทรัพย์และ ตราสารหนี้ครับ
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 09, 2007 7:08 pm
โดย freemindd
GDP = c +i +g + (x - m) ครับ
x ส่งออก
m นำเข้า
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 09, 2007 8:11 pm
โดย lekmak333
GDP = c +i +g + (x - m) ครับ
ใช่ครับ :D
มีเรื่องแบบจำลอง wealth and consumption fuction ว่าไว้ว่า
การที่ครัวเรื่อนมีความต้องการ การออมมากขึ้น ผลคือทำให้เส้นการบริโภคเลื่อนลง เส้นการออมเลื่อนขึ้น
เมื่อเส้นการบริโภคเลื่อนลงจะทำให้ จุดตัดรายได้ประชาชาติ ถอยลงมาด้วยเช่นกัน
ฉะนั้น แบบจำลองนี้ จึงอธิบายว่า หากครัวเรือนเพิ่มการออม จะทำให้รายได้ประชาชาติลดลง
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 09, 2007 9:45 pm
โดย สุมาอี้
เรามักรู้สึกโกรธแค้นที่ชาวต่างชาติถือหุ้นมากกว่าคนไทย
เราคิดเอาง่ายๆ ว่า ถ้าห้ามคนต่างชาติถือหุ้น คนไทยก็จะถือหุ้นส่วนใหญ่ได้เองโดยปริยาย
ที่จริงแล้วที่ทุกวันนี้คนต่างชาติถือหุ้นมากเป็นเพราะ เราต้องการพัฒนาประเทศให้เร็วกว่าที่ความสามารถในการสะสมทุนของเราจะทำได้
ถ้าเราลงทุนด้วยกำลังการออมของเราเองเราอาจสร้างถนนเพิ่มขึ้นได้ปีละ 200 กม. (ตัวเลขสมมติ) แต่เราอาศัยทุนของต่างชาติเราอาจสร้างถนนได้ปีละ 2000 กม. อย่างนี้เป็นต้น ในเมื่อทุนเป็นของเขา เขาย่อมต้องได้รับผลตอบแทน เขาจึงเป็นเจ้าของส่วนใหญ่
ถ้าไล่คนต่างชาติออกไปให้หมด เราก็จะถือหุ้นส่วนใหญ่จริง แต่การพัฒนาประเทศของเราจะช้าลงเหลือเพียงเท่ากับระดับการออมของเราเอง เราตระหนักกันหรือเปล่าว่าปัญหานี้จะเกิดขึ้น
สาเหตุที่ต่างชาติถือหุ้นใหญ่ไม่ใช่ความชั่วหรือความโลภของต่างชาติ แต่เป็นเพราะคนไทยมีความสนใจที่จะสะสมทุนกันน้อยมากต่างหาก
เบื่อ :x
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 09, 2007 11:57 pm
โดย Tongue
มาดูอัตราการสะสมของคนไทยกัน
ปัญหาการถดถอยของการออมภาคครัวเรือน
คอลัมน์ ระดมสมอง โดย รศ.ดร.วิมุต วานิชเจริญธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3759 (2959)
"เงินน่ะ...ออมหนึ่งส่วน ใช้สามส่วน เก็บเงินไว้ให้ลูกเถอะ...เฮีย"
โฆษณาปลุกจิตสำนึกการออมชิ้นนี้ ชี้แนะให้ประชาชนจัดสรรเงินหรือรายได้ในแต่ละเดือน ให้กับการใช้จ่าย และการออมเป็นสัดส่วนตายตัว โดยมีหลักง่ายๆ ว่า การใช้จ่ายของบุคคลนั้นควรมีสัดส่วนเท่ากับ 3 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมด ส่วนที่เหลือซึ่งเท่ากับ 1 ใน 4 ของรายได้ ควรจัดสรรไว้เป็นเงินเก็บออม
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือให้ออมเงินเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของรายได้เสมอ
หากทุกคนในประเทศปฏิบัติตามกฎนี้ เราจะพบว่าอัตราการออมต่อรายได้ประชาชาติ (saving to GDP ratio หรือ saving rate) ของประเทศไทยควรจะเท่ากับ .25
จากงานวิจัยเรื่อง long-term saving in Thailand โดยคณะเศรษฐกรประจำธนาคารแห่งประเทศไทย อันประกอบด้วย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา และนายธรรมนูญ สดศรีชัย ที่ได้นำเสนอในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2548 ที่ผ่านมานั้น ชี้ให้เห็นว่า อัตราการออมของประเทศไทยในขณะนี้สูงเกินกว่าอัตราร้อยละ 25 ตามเกณฑ์ของงานโฆษณาส่งเสริมการออมชิ้นนั้นไปแล้ว โดยอัตราการออมในปี 2546 นี้อยู่ที่ร้อยละ 30.5 ของรายได้ประชาชาติ
แม้ว่าอัตราการออมในระดับร้อยละ 30 นี้จะถูกจัดว่าเป็นอัตราการออมในระดับสูง เมื่อเทียบกับอัตราการออมในประเทศอื่นๆ แล้ว แต่คณะเศรษฐกรของธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ว่า อัตราการออมของประเทศอยู่ในช่วง "ขาลง" เพราะประเทศไทย เคยมีอัตราการออมสูงสุดอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.2 ของรายได้ประชาชาติ ในปี 2534 และนับจากปีนั้นเรื่อยมา อัตราการออมก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงโดยตลอด
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบอันเป็นที่มา ของการออมมวลรวมของประเทศนี้ จะให้ภาพที่แตกต่างไป และช่วยให้เราเข้าใจถึงสาเหตุของการรณรงค์สนับสนุนการออมได้มากขึ้น
เราสามารถจำแนกองค์ประกอบของการออมมวลรวมนี้อย่างง่ายๆ ออกเป็น หนึ่ง การออมของภาคครัวเรือน สอง การออมสุทธิของรัฐบาล และสุดท้าย การออมของภาคธุรกิจและรัฐวิสาหกิจ
การออมของภาคครัวเรือนเคยมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในการออมมวลรวม เพราะเคยมีสัดส่วนมากที่สุดถึงครึ่งหนึ่งของการออมมวลรวม
ในช่วงทศวรรษที่ 90 การออมภาคครัวเรือนมีสัดส่วนในรายได้ประชาชาติสูงถึงร้อยละ 14.4 ในปี 2532 แต่ทว่าอัตราการออมภาคครัวเรือนถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง นับแต่ปีนั้นเป็นต้นมา จนในปี 2546 นี้ อัตราการออมภาคครัวเรือนต่อรายได้ประชาชาติลดลงเหลือเพียงร้อยละ 3.8 เท่านั้นเอง
ภาครัฐบาลก็ประสบกับความถดถอยในอัตราการออมเช่นเดียวกันกับภาคเอกชน หลังจากที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 80 จนรัฐบาลในยุคสมัยนั้นต้องมีมาตรการรัดเข็มขัด ลดการใช้จ่ายและสร้างวินัยทางการคลัง อันมีผลให้รัฐบาลยุคสมัยต่อมา คือในช่วงทศวรรษที่ 90 มีการเกินดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง และทำให้อัตราการออมของภาครัฐต่อรายได้ประชาชาติมีสัดส่วนในการออมมวลรวมไม่น้อยไปกว่าการออมภาคครัวเรือน
อย่างไรก็ดี นับแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา ภาครัฐมีการใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้อัตราการออมในปีงบประมาณ 2545-2546 มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 18 ของรายได้ประชาชาติเท่านั้น
ภาคเศรษฐกิจที่มีอัตราการออมสูงที่สุด และเป็นตัวผลักดัน ให้อัตราการออมของประเทศสูงถึงร้อยละ 30 ได้คือ ภาคธุรกิจและรัฐวิสาหกิจ โดยในปี 2546 นั้น วิสาหกิจโดยรวมมีการออมคิดเป็นสัดส่วนของรายได้ประชาชาติถึงเกือบร้อยละ 80 โดยส่วนหนึ่งของการออมในภาคธุรกิจนี้เป็นการออมในรูปการสำรองค่าเสื่อมของทุนกายภาพที่ถูกสั่งสมมาในยุคเศรษฐกิจบูม ช่วงก่อนวิกฤตปี 2540
ข้อเท็จจริงนี้ชวนให้เกิดความกังวลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคตยิ่งนัก เพราะภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจหลักของประเทศ กลายมาเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีอัตราการออมต่ำที่สุดในระบบไปเสียแล้ว
ในแวดวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ การออมของภาคเอกชนมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เพราะเป็นที่ยอมรับกันในทางทฤษฎีว่า การออมของภาคเอกชนคือตัวจักรสำคัญ ที่จะช่วยให้ยกระดับรายได้ต่อหัว ของประชากรในระยะยาว และมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจมีอัตราการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนอีกด้วย
ดังนั้นการรณรงค์สร้างวินัยในการออมให้กับภาคครัวเรือน ด้วยเกณฑ์การออม 1 ใน 4 ของรายได้ ดูจะเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสม สำหรับการยุติภาวะถดถอยในการออมภาคครัวเรือน
หากแต่...การแก้ปัญหาใหญ่ระดับมหภาคเช่นนี้มิอาจสัมฤทธิ์ได้ด้วยกลยุทธ์การโหมแคมเปญ รณรงค์ให้คนออมเงินมากขึ้นเพียงถ่ายเดียว
หากต้องการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง สมควรที่รัฐบาลจะหยิบเอางานศึกษาชิ้นดังกล่าวของธนาคารแห่งประเทศไทย มาใช้ประกอบการวางนโยบาย
เพราะงานวิจัยของธนาคารแห่งประเทศไทยชิ้นนี้ ได้ศึกษาเจาะลึกลงไปในระดับครัวเรือน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจรายได้ และการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน (หรือ socio-economic survey) ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ และใช้ข้อมูลจากการสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทยเอง เพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการออม ของภาคครัวเรือนอย่างละเอียด
จากการจำแนกกลุ่มครัวเรือนในปี 2546 ตามระดับรายได้ ไล่จากน้อยไปมาก ดร.กอบศักดิ์และคณะ ได้พบถึงความแตกต่างในพฤติกรรมการออม ระหว่างกลุ่มรายได้ โดยครัวเรือนที่อยู่ในกลุ่มรายได้ระดับล่างนั้น มีอัตราการออมต่ำกว่าครัวเรือนที่อยู่ในกลุ่มรายได้ขั้นสูง
ไม่เพียงเท่านั้น จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมการออมของครัวเรือนในปี 2546 เทียบกับครัวเรือนในกลุ่มรายได้ระดับเดียวกัน ในปี 2539 นั้น ปรากฏว่าในปี 2546 ครัวเรือนในกลุ่มรายได้ระดับล่างนั้น มีอัตราการออมที่ลดลงกว่าในอดีตอีกด้วย
ข้อมูลที่สำรวจนั้นยังแสดงให้เห็นถึงการกระจุกตัวของการออม ที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตพื้นที่ของกรุงเทพฯและภาคกลาง ซึ่งเมื่อคิดเทียบเป็นสัดส่วนกับการออมทั้งประเทศแล้ว จะพบว่าร้อยละ 63 ของการออมทั้งประเทศ จะมาจากครัวเรือนที่มีถิ่นฐานในพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคกลาง
ข้อค้นพบนี้ชี้ช่องให้เห็นว่า การออมที่ถดถอยลงนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อย และอยู่ในพื้นที่ไกลจากความเจริญ ในขณะที่ครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้สูงนั้น ยังคงมีอัตราการออม อยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างจากในอดีตเท่าใดนัก
หากจะพิจารณาให้ลึกลงไปอีกว่า กลุ่มครัวเรือนที่มีอัตราการออมต่ำนั้น มีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้พวกเขา "เลือก" ออมหรือใช้จ่ายเช่นนี้ คณะผู้วิจัยได้พบว่ามีปัจจัยที่หลากหลาย ผสมผสานกัน
สาเหตุหนึ่งนั้นอาจมาจากการที่พวกเขามีรายได้น้อยไม่พอกิน จึงทำให้พวกเขาไม่มีเงินเหลือเก็บสำหรับการออม หรืออาจมีสาเหตุมาจากที่พวกเขาขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเงินๆ ทองๆ จึงทำให้พวกเขาไม่อาจวางแผนการเงิน สำหรับวันข้างหน้าได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ครัวเรือนในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ อาจประสบปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ เช่น สถาบันการเงินของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น เมื่อครัวเรือนมีต้นทุนในการติดต่อกับแหล่งเงินทุนในระบบ พวกเขาจึงถูกผลักเข้าสู่วงจรความยากจน ที่เริ่มต้นจากการขอกู้จากแหล่งเงินทุนนอกระบบ ที่คิดดอกเบี้ย ในอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดเงินทุนในระบบเป็นอย่างมาก
การแก้ปัญหาความถดถอยในการออมภาคครัวเรือน อาจต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กับการแก้ปัญหาความยากจน เพราะงานวิจัยของธนาคารแห่งประเทศไทยชิ้นดังกล่าวค้นพบว่า รายได้เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการออมของครัวเรือน ครัวเรือนที่มีรายได้สูงจะออมมากกว่าครัวเรือนรายได้ต่ำ
ข้อค้นพบนี้ยิ่งทำให้เรารู้สึกถึงความสำคัญอันยิ่งยวดของการยกระดับรายได้ให้กับครัวเรือนที่อยู่ในกลุ่มรายได้ระดับล่าง เพราะเพียงแก้ปัญหาความยากจนได้แล้วไซร้ ปัญหาเศรษฐกิจอื่นๆ ก็จะคลี่คลายตามไปเอง
...อนิจจา ที่การแก้ปัญหาความยากจนในวันนี้ ได้ถูกนำไปผูกโยงกับกลยุทธ์ทางการตลาด และใช้เป็นสตอรี่ สำหรับการทำเรียลิตี้โชว์การเมือง ที่ต้องการเพียงเพื่อหลบกระแสต่อต้านของคนกรุง หากยังเล่นกันแบบนี้ต่อไปอีก ต่อให้ถึงชาติหน้าตอนบ่ายๆ คนจนคงไม่หมดไปจากประเทศไทยหรอกครับ
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 10, 2007 12:01 am
โดย Tongue
http://www.bot.or.th/BOTHomepage/DataBa ... _paper.pdf
You may read appendix III, the golden rule of growth and saving.
and if any understand well, pls explain coz i dont quite :lovl: :lovl:
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 10, 2007 12:04 am
โดย woody
[quote="สุมาอี้"]เรามักรู้สึกโกรธแค้นที่ชาวต่างชาติถือหุ้นมากกว่าคนไทย
เราคิดเอาง่ายๆ ว่า ถ้าห้ามคนต่างชาติถือหุ้น คนไทยก็จะถือหุ้นส่วนใหญ่ได้เองโดยปริยาย
ที่จริงแล้วที่ทุกวันนี้คนต่างชาติถือหุ้นมากเป็นเพราะ เราต้องการพัฒนาประเทศให้เร็วกว่าที่ความสามารถในการสะสมทุนของเราจะทำได้
ถ้าเราลงทุนด้วยกำลังการออมของเราเองเราอาจสร้างถนนเพิ่มขึ้นได้ปีละ 200 กม. (ตัวเลขสมมติ) แต่เราอาศัยทุนของต่างชาติเราอาจสร้างถนนได้ปีละ 2000 กม. อย่างนี้เป็นต้น ในเมื่อทุนเป็นของเขา เขาย่อมต้องได้รับผลตอบแทน เขาจึงเป็นเจ้าของส่วนใหญ่
ถ้าไล่คนต่างชาติออกไปให้หมด เราก็จะถือหุ้นส่วนใหญ่จริง แต่การพัฒนาประเทศของเราจะช้าลงเหลือเพียงเท่ากับระดับการออมของเราเอง เราตระหนักกันหรือเปล่าว่าปัญหานี้จะเกิดขึ้น
สาเหตุที่ต่างชาติถือหุ้นใหญ่ไม่ใช่ความชั่วหรือความโลภของต่างชาติ แต่เป็นเพราะคนไทยมีความสนใจที่จะสะสมทุนกันน้อยมากต่างหาก
เบื่อ
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 10, 2007 8:54 am
โดย jaychou
ถ้าไล่คนต่างชาติออกไปให้หมด เราก็จะถือหุ้นส่วนใหญ่จริง แต่การพัฒนาประเทศของเราจะช้าลงเหลือเพียงเท่ากับระดับการออมของเราเอง เราตระหนักกันหรือเปล่าว่าปัญหานี้จะเกิดขึ้น
สาเหตุที่ต่างชาติถือหุ้นใหญ่ไม่ใช่ความชั่วหรือความโลภของต่างชาติ แต่เป็นเพราะคนไทยมีความสนใจที่จะสะสมทุนกันน้อยมากต่างหาก
คงไม่ต้องพูดอะไรมาก
เห็นด้วยกับท่านแม่ทัพอย่างรุนแรงครับ
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 10, 2007 11:04 am
โดย 007-s
[quote="สุมาอี้"]เรามักรู้สึกโกรธแค้นที่ชาวต่างชาติถือหุ้นมากกว่าคนไทย
เราคิดเอาง่ายๆ ว่า ถ้าห้ามคนต่างชาติถือหุ้น คนไทยก็จะถือหุ้นส่วนใหญ่ได้เองโดยปริยาย
ที่จริงแล้วที่ทุกวันนี้คนต่างชาติถือหุ้นมากเป็นเพราะ เราต้องการพัฒนาประเทศให้เร็วกว่าที่ความสามารถในการสะสมทุนของเราจะทำได้
ถ้าเราลงทุนด้วยกำลังการออมของเราเองเราอาจสร้างถนนเพิ่มขึ้นได้ปีละ 200 กม. (ตัวเลขสมมติ) แต่เราอาศัยทุนของต่างชาติเราอาจสร้างถนนได้ปีละ 2000 กม. อย่างนี้เป็นต้น ในเมื่อทุนเป็นของเขา เขาย่อมต้องได้รับผลตอบแทน เขาจึงเป็นเจ้าของส่วนใหญ่
ถ้าไล่คนต่างชาติออกไปให้หมด เราก็จะถือหุ้นส่วนใหญ่จริง แต่การพัฒนาประเทศของเราจะช้าลงเหลือเพียงเท่ากับระดับการออมของเราเอง เราตระหนักกันหรือเปล่าว่าปัญหานี้จะเกิดขึ้น
สาเหตุที่ต่างชาติถือหุ้นใหญ่ไม่ใช่ความชั่วหรือความโลภของต่างชาติ แต่เป็นเพราะคนไทยมีความสนใจที่จะสะสมทุนกันน้อยมากต่างหาก
เบื่อ
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 10, 2007 7:35 pm
โดย สุมาอี้
อึม แต่ผมก็ไม่ได้ตำหนิหม่อมนะครับ กฏหมายนี้มันมีมาก่อนแล้ว การเข้าไปทำให้มันมีการบังคับใช้มากขึ้นต้องถือเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
บ้านเรายังมีอีกหลายเรื่องที่การบังคับใช้กฏหมายย่อนยานมานานทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับคนที่สุจริต เด๋วนี้อาชีพที่กำไรดีๆ คืออาชีพที่ฝ่าฝืนกฏหมายทั้งน้าน
เพียงแต่ผมเห็นว่าการที่ต่างชาติเข้ามาลงทุน เขาไม่ได้มาเอาเปรียบเรา
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 11, 2007 10:09 pm
โดย nana
ขอแชร์บ้าง เรื่องการใช้บังคับกฎหมาย
ถ้าการใช้กฎหมายนั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
เราก็น่าจะยกเลิก มากกว่าที่จะใช้บังคับต่อไป
ปัญหาคือรัฐบาลบอกได้หรือไม่ว่าการไร้ซึ่งประสิทธิภาพ
ของกฎหมายฉบับปัจจุบันนั้น ก่อให้เกิดผลเสียอย่างไร
และการใช้บังคับกฎหมายใหม่นั้น จะสร้างประโยชน์ใดให้กับประเทศ
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 12, 2007 7:56 pm
โดย สุมาอี้
ถ้าจะยกเลิกกฏหมายก็คงต้องให้สภาทีมาจากการเลือกตั้งเขาเป็นคงยกเลิกนะครับ
ผมยังไงก็ได้แล้วแต่ประชาชนส่วนใหญ่ แต่ถ้าถามความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่ากฏหมายนอมินีไม่ควรมี อะไรที่ห้ามไม่ได้ไม่ต้องไปห้ามหรอกครับ สหรัฐเขาให้คนต่างด้าวซื้อที่ดินได้ เขางงว่าทำไมเขาถึงซื้อที่ดินไทยไม่ได้ เราบอกว่ากลัวเขาเอาเปรียบ แต่เรากำลังเอาเปรียบเขาอยู่
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 12, 2007 9:52 pm
โดย nana
ดิฉันเห็นต่างไปว่า
โดยปกตินั้น สิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นถูกจำกัดได้
ก็แต่โดยอาศัยกฎหมาย
กฎหมายที่จะออกมาจำกัดสิทธิของประชาชนได้ก็ต้อง
มาจากตัวแทนของประชาชน
เพราะกฎหมายถือเป็นเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชน
เลยต้องให้สภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้แสดง
เจตนารมณ์เหล่านั้น
ณ ปัจจุบันนี้รัฐบาล และองค์กรนิติบัญญัติไม่ได้
มาจากการเลือกตั้ง เหตุใดจึงออกกฎหมายมาจำกัด
สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ?
เหตุใดคุณสุมาอี้จึงบอกว่ารัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ไม่ควรยกเลิกกฎหมาย ....แต่ยกเลิกรัฐธรรมนูญได้? อยากทราบ
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 12, 2007 10:23 pm
โดย สุมาอี้
เขาไม่ได้เป็นคนออกกม.นอมินีนี่ครับ กม.นอมินีมีอยู่แล้ว เขาแค่แก้ไขนิยามของคำว่าคนต่างด้าวให้ชัดเจนขึ้นเพื่อให้กม.นี้สามารถบังคับใช้ได้มากขึ้น เพราะของเดิมไม่ชัดเจนทำให้บังคับใช้อะไรไม่ได้
เขายกเลิกรัฐธรรมนูญนั้นก็ผิด แต่เขาสัญญาว่าจะพยายามเข้ามาทำทุกอย่างเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ถ้ามาออก กม. หรือยกเลิก กม. ต่างๆ อีก ก็ถือว่าแย่กว่าแค่ปรับปรุงกม.เก่าเพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้มากกว่าเดิมเท่านั้น
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 13, 2007 6:25 am
โดย buglife
ไม่ใช้วิธีขอความร่วมมือต่างชาติอย่าถือนอมินีหรือคับ
ฮา ผมล้อเล่น อย่ามาอุ้มผมนะ :lol:
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 7:33 am
โดย lekmak333
เจ้าของประเทศเขาต้องการแบบนี้
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 17, 2007 5:58 pm
โดย คนเรือ VI
เห็นด้วยกับท่านแม่ทัพครับ
ใช้แค่เงินออมแค่ในประเทศเราจะวิ่งได้อย่างไร
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 22, 2007 11:45 pm
โดย san
มองกันแต่ GDP เท่าโน้น เท่านี้ เฮ้อ....น่าสนใจเนอะ.....
มองเรื่องการเติบโต เท่าโน้นเท่านี้ เอ ก็ยังน่าสนใจ อิอิอิ
สงสารทรัพยากรธรรมชาติ
สงสารชาวบ้านตาดำๆ
สงสารชาวบ้านแถวระยอง อิฮิฮิ
มีงานทำ แต่ว่าโดนอากาศพิษครอบ
แน่ใจเหรอครับว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกทาง
ยิ่งพัฒนา ยิ่งหาเงิน เห็นใครเข้าโรงบาลรักษามะเร็ง
คนไหน คนนั้น บอกไม่เอาตัง ขอเอาชีวิตที่เรียบง่ายดีกว่า
ช้าไปต๋อย....
เคยอ่านเจอกรรมการแบงกรุงเทพคนนึง ต้องลาออกตอนอายุยังไม่ 60 เป็นโรคหัวใจขนาดหนัก บอกว่าไม่คุ้มเลยที่ทำงานหนักมาตลอดชีวิต แล้วสิ่งที่เป็นนั้นมาจากการทำงาน แต่รักษาไม่ได้เลย มีชีวิตที่ไม่ปกติ
เรื่องการปรับปรุงการกระจายรายหล่ะ
คอรับชั่น.....เอย
GDP โตเอาๆ ช่วยแต่คนรวย ไม่ได้ช่วยคนจนเท่าไรเลย
อย่างการผันน้ำที่จะท่วม กทม ดันเอาเงินภาษีกลางทั่วประเทศไปชดเชยให้ชาวบ้าน น่าจะเก็บภาษีน้ำท่วมจากคน กทม พื้นทีไหนได้ประโยชน์ พื้นที่นั้นจ่าย พื้นทีไหนได้รับผลกระทบก็ไปเอาจากพื้นที่ที่ได้ประโยชน์ เพราะว่ากรณีนี้เป็นการผันน้ำ ไม่ใช่ธรรมชาติไหลมาเอง
กทม เอาเปรียบคนบ้านนอกครับ
ผมไม่สงสัยแหล่ะครับ ว่าทำไมชาวบ้านนอกถึงชอบรัฐบาลก่อน
เพราะว่าชาวบ้านนอก ตาดำๆ เป็นประชากรที่ถูกลืมมานานแล้ว
จริงๆแล้วผมอยากเห็นปฎิวัติในแนวชาวบ้านมากกว่าครับ
แบบชาวบ้านส่วนใหญ่ ปฎิวัติ เรียกร้องสิทธิของตัวเองที่ถูกทอดทิ้งแล้วก็เอาเปรียบมานานแล้ว แล้วมาเจียดส่วนนิดๆให้ทาน
จะเน้น GDP ไปถึงไหนกัน......ไม่รอพวกเดียวกันให้เดินมาพร้อมกันบ้างเลยเหรอครับ อิอิอิ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ใช้แค่เงินออมแค่ในประเทศเราจะวิ่งได้อย่างไร
จะรีบวิ่งไปไหน ......
สร้างฐานให้ดีก่อน.....ไม่ดีกว่าเหรอ
พร้อมๆ แล้วค่อยวิ่งก็ได้......
ก็ไม่ใช่เรื่องเปิดเสรีการเงินตอนที่ยังไม่พร้อมเหรอ ที่ทำให้เกิดต้มยำกุ้ง คนฆ่าตัวตายไปตั้งเท่าไร
ไม่ต้องไปห่วงหรอกครับว่า อาเจนติน่า จะไม่มีเพื่อนวิ่ง
วิ่งแบบอาเจนติน่าล้มมาหลายรอบแล้วววววว
จริงๆแล้ว
ชอบมากนะครับ บทความนี้ ที่พูดถึงเรื่องเงินออม กับ GDP ชอบ บทความ คุณสุมาอี้นะครับ อิอิอิ
อย่างที่เคยสนใจ ถามในกระทู้ไหน จำไม่ได้แล้วครับ ว่าเงินคงคลัง เงินสำรองที่มีอยู่ของเรานั้น ตอนนี้ จริงๆของเราเท่าไรเอง นอกนั้นกู้หนี้เขามาทั้งนั้น ไม่ใช่ของเรา
ตกลงคลังประเทศเรา มีเงินเราแท้ๆเท่าไรกันแน่ ในหน้าตัก แบบ Net Asset Value นะครับ
อย่างนี้พอเราทำมาหากินได้หน่อย ต่างชาติมันก็แกล้งเราแล้ว แกล้งโดยอาศัยเรื่องการเคลื่อนเงินทั้งน้านนนนน เก็บเงินได้หน่อยโดนจี้ทุกที แล้วจะได้เก็บให้ลูกหลานเหรอครับ อิอิอิ
รู่ว่า บ้านไหนกู้มากๆ มากเกินตัว ผมไม่เดินเข้าใกล้เลย อิอิอิ
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 23, 2007 9:11 am
โดย สุมาอี้
เหมอเจ๋อตุง มีความคิดว่า จีนต้องลดการพึ่งพาต่างประเทศ
ให้ทุกคนเริ่มต้นด้วยการพึ่งพาครัวเรือนของตนเองก่อน
ให้ทุกบ้านเอาเศษโลหะในบ้านมาทำเตาหลอมโลหะ ต่อไปนี้ทุกบ้านจะหลอมโลหะเองเป็น ไม่ต้องมีโรงงานเหล็กก็ได้
เตาหลอมโลหะถูกสร้างขึ้นทุกบ้าน แต่เตาหลอมโลหะเหล่านั้นใช้งานไม่ได้
ในขณะที่ประเทศอื่นเขาสร้างจรวดได้แล้ว จีนต้องการพึ่งตนเองด้วยการเริ่มหัดสร้างถังขยะ ไม่ยอมรับ technology transfer
โครงการนี้ทำให้เกิดภาวะอดอยากเพราะส่งผลให้ผลผลิตของประเทศถึงขั้นติดลบ (GDP ติดลบ) มีคนอดตายมากถึง 20 ล้านคน มันเป็นยิ่งกว่าการสังหารหมู่
เหมาคิดนโยบายด้วยใจ ด้วยอุดมการณ์ แต่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง
ใครอยากทำด้วยใจก็เชิง แต่สำหรับผม ผมไม่ขอเป็นคนที่ต้องไปตายฟรีๆ แบบนั้น
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 23, 2007 1:21 pm
โดย san
ต่อเนื่องจากคุณสุมาอี้เรื่องของ.เหมา
ใน 1 ชั่วชีวิตคน มีทั้งทำความผิดแล้วก็ทำสิ่งที่ถูก
ถ้าไม่มีเหมา....สร้างฐานให้ ....ก็ไม่มีเติ้ง
ถ้าไม่มีเติ้ง....ก็ไม่มีจีนวันนี้
ถ้าไม่มีเติ้งในวันเลือดเดือดที่จตุรัสเทียนอันเหมิน ก็ไม่มีจีนในวันนี้
เติ้งเป็นคนต่อยอดบนฐานของเหมา
เติ้งต่อยอดบนความเป็นชนชาติจีน ผลประโยชน์จีนล้วนๆ เติ้งระวังเสมอเมื่อเจอสุนัขจิ้งจอกในร่างอินทรี
ในเทียนอันเหมินวันนั้น นักศึกษาคนนั้นที่ขวางรถถังนั้น มีจิตใจ + เลือด ยอดนักสู้จริงๆ แต่ยังอ่อนประสพการณ์ในโลกกว้าง เมื่อเทียบกับเล่ห์ของสุนัขจิ้งจอกในร่างอินทรี เข้าใจถึงสุนัขที่รอแยกแผ่นดินจีนเป็นชิ้นๆ ในขณะที่เด็กน้อย ยังไร้เดียงสา. เหมือนกอร์บาชอพที่ไร้เดียงสาเปลี่ยนแปลงเร็วไปจนรัสเซียแยกเป็นเสี่ยงๆ
วันนั้นใครเป็นคนสั่งให้ขยี้นักศึกษาคนนั้น ที่ยืนอยู่หน้ารถถัง ที่จตุรัส เทียนอันเหมิน เติ้งมีส่วนแน่นอนครับ
เติ้งน่าจะมองออกว่า จีนยังไม่พร้อมที่จะวิ่ง ต้องรออีกหน่อย เด็กน้อยวัย 20 กว่า ถึงได้ต้องสังเวยอยู่กลางจตุรัส งานนั้น เติ้งไม่มีทางจะบอกว่า.ไม่เกี่ยวข้องเลย ถ้าดูเฉพาะเหตุการณ์บอกได้ว่า เติ้งโหดร้ายมากครับ ที่ให้มีการขยี้ เด็กวัยรุ่นคนนั้น โดยให้รถถังทับไปทั้งเป็น
ถึงวันนี้ สุนัข จิ้งจอกก็ยังล่อเรา ทั้งหลาย ด้วยวิธีคิดแบบตะวันตก โดยแอบแฝงยาพิษเคลือบมาในลูกกวาด ถ้าเราไม่ทันระวัง เราจะไม่รอด ถ้าเราระวัง เราจะรอด เหมือนจีนที่รอดปากสุนัขจิ้งจอกมาได้หวุดหวิดในวันนั้น ไม่มีใครรักเราจริงหรอกครับ
เติ้งก็มีเลือดจีนเต็มตัว ที่ให้จัดการ ดีกว่าให้สุนัขจิ้งจอกในร่างอินทรี มาแยกแผ่นดิน ให้เป็นเสี่ยง
เติ้งดูออก
เมื่อเติ้งตาย มีตั้งแต่คนแก่.ลงมา ถึง เยาวชนจีนที่ร้องให้ เสี่ยวผิง..เสี่ยวผิง..เสี่ยวผิง ทั้งๆที่เติ้งมีส่วนอยู่มากในเรื่องของจตุรัส เทียนอันเหมิน การทับร่างนักศึกษาคนนั้น ตราตรึงอยู่ในใจคนมากมาย
แต่ยามเติ้งจากไป ชาวจีนมากมาย ก็หลั่งน้ำตาเท่าไรให้เติ้ง พร้อมกับเรียก เสี่ยวผิง เสี่ยวผิง เสี่ยวผิง ก้องไปทั่วเมือง
เติ้งดูออกด้วยว่า ถ้าไม่ก้าวไปตามตะวันตก ไม่ไปเอาความรู้จากตะวันตกมา จะลำบาก เหมา+เติ้งเลยส่งคนไปเรียนตะวันตกมากมายหลายหมื่น หลายแสนคน เติ้งไม่ยึดพาสปอร์ตคนเหล่านั้นด้วยว่าถ้าเรียนจบแล้วต้องกลับประเทศ เติ้งให้เลือกเอาเอง คนบางคนเลือดรักชาติหายไปเติ้งไม่ว่า..ก็อยู่กับตะวันตก คนหลายๆคนที่ยังรักแผ่นดินแม่ ก็กลับเข้าประเทศไป
เติ้งน่าจะคล้ายๆรัชกาลที่ 5 ของเรา ที่พยายามก้าวทันตะวันตก แต่ว่าทั้ง ร5. ทั้ง เติ้ง ได้สอนคนเหล่านั้นอยู่อย่างก็คือว่า ให้ไปเอาแค่ความรู้และเทคโนโลยี่มาก็พอ ไรวมทั้งไปเพื่อเรียนรู้ว่าคนเหล่านั้นคิดอย่างไร แต่ว่าอย่าไปเป็นทาสทางความคิด ขอให้คิดเพื่อประโยชน์ของเรา
โดยพื้นของระบอบทุนนิยมนั้นกระตุ้นให้เกิดกิเลสมากมาย พอกิเลสเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เราลืมตัวได้ง่าย ลืมแม้กระทั่งวิธีถอยว่าทำอย่างไรลืมแม้กระทั่งว่าทางถอยนั้นอยู่ไหน
ต้องระวังเรื่องการคิดเพื่อผลประโยชน์ที่ไม่ยั่งยืน ถ้าไม่ระวังอาจจะทำเกิดความเสียหายได้ อย่างเช่นถ้าจะวิ่ง ฐานต้องแน่น ต้องพร้อมก่อน ไม่งั้นก็ล้มเรื่อยๆ
ตอนที่ธารินทร์เปิดเสรีการเงิน ก็ไม่ได้คิดถึงทางถอย ไม่ใช่เหรอครับ แค่จะโชว์ว่าตัวเองทันเทียบเท่าตะวันตก เสือตัวที่ 5 ของเอเชีย
ตอนปี 2537-8 มั๊ง ถ้าจำไม่ผิดนะ ตอนนั้น คุณสุมาอี้ เรียนอยู่ทีไหนเหรอครับ ตอนนั้น ที่ว่า ???ลียองเน??? ออกบทวิเคราะห์ที่ฮ่องกงว่า แบงค์ไทยจะล้มในไม่เกิน 2 ปี เป็นข่าวใหญ่โตมากมาย คนไทยกำลังเหลิง มีการห้ามนักวิเคราะห์คนนั้นเข้าประเทศ ขอให้นักวิเคราะห์คนนั้นมาขอโทษเรา.ทายที่สุด เขาถูก เพียงเพราะว่าเราลืมตัว ลืมว่าตัวเองยังไร้เดียงสาทางเศรษฐกิจโลก คนเราเหลิงความรู้ การป้อยอได้เหมือนกันนะครับ ปี 40 ถึงได้เจ็บกันถ้วนหน้า
ก็ไม่ได้บอกว่าแนวความคิดของคุณสุมาอี้ หรือว่าหลายๆคนไม่เก่ง แต่ที่อยากบอกคือว่า ระวังทางถอยด้วยนะครับ คนเราพอโลภจะไม่เห็นทางถอย
ถ้าเล่นหมากฮอสหรือหมากรุก กับคนที่ฝีมือสูสีกัน คนโลภมักจะแพ้เสมอ ครับ
ตะวันตกเขาเข้าใจเรา เขาถึงใช้ความโลภล่อเราเสมอ ต้องระวังครับ
ปี 2540 ได้ก่อให้เกิดเรื่องที่น่าศึกษามากมาย
ไปถามนักธุรกิจที่.ผ่าน.เมื่อปี 40 มาได้สิครับ ว่า คนส่วนใหญ่ที่ผ่านได้ ไม่ล้ม ใช้วิธี .ไม่โลภนะครับ
ไปถามนักธุรกิจที่.ล้ม.เมื่อปี 40 สิครับ ว่า คนส่วนใหญ่ที่ล้ม เพราะว่าโลภ ใช่ป่าวครับ
ส่วนคนที่ยังไม่ได้ล้มเมื่อปี 40 แล้วสามารถฉกฉวยโอกาสได้ ก็มีมากมาย เช่น ดร.นิเวศน์
มีตัวอย่างมากมาย เด็กรุ่นใหม่ ไฟแรง ล้มเพราะว่าโลภมากมาย ล้มเพราะว่าคิดว่าเรารู้ทันหมดแล้ว เลยตาบอดมองไม่เห็นทางถอย
จริงๆที่เขียนมามากมาย เพียงแค่อยากบอกว่า
การเอาวิธีการของตะวันตกมาใช้นั้น แน่นอนครับ ดีครับ ถูกต้องครับ ชัดเจน ไม่มีข้อโต้แย้งครับ ขอให้ระวังให้ดีๆอย่าโลภจนลืมตัวลืมตนครับ
อย่างนี้เรียกว่าชาตินิยมรึป่าวครับ อิอิอิ
ผมแน่ใจว่าคุณสุมาอี้ และหลายคนในนี้ เป็นคนเก่งครับ จากใจจริงครับ ไม่ได้ประชด
ก็อยากบอกผ่านทุกๆคนที่เป็นคนเก่งว่า ขอให้หมั่นตรวจสอบทางถอย ความโลภ กิเลสในตัวด้วยครับ ไม่งั้นปลายประบอกปืนก้จ่ออยู่ที่หัวโดยที่เราไม่รู้ตัวอ่ะครับ
เด็กหนุ่มไฟมักแรง เลือดมักร้อน ระวังน้ำร้อนหน่อยก็ดีครับ
555555555555555555555555555
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 23, 2007 1:31 pm
โดย woody
สุมาอี้ เขียน:เหมอเจ๋อตุง มีความคิดว่า จีนต้องลดการพึ่งพาต่างประเทศ
ให้ทุกคนเริ่มต้นด้วยการพึ่งพาครัวเรือนของตนเองก่อน
ให้ทุกบ้านเอาเศษโลหะในบ้านมาทำเตาหลอมโลหะ ต่อไปนี้ทุกบ้านจะหลอมโลหะเองเป็น ไม่ต้องมีโรงงานเหล็กก็ได้
เตาหลอมโลหะถูกสร้างขึ้นทุกบ้าน แต่เตาหลอมโลหะเหล่านั้นใช้งานไม่ได้
ในขณะที่ประเทศอื่นเขาสร้างจรวดได้แล้ว จีนต้องการพึ่งตนเองด้วยการเริ่มหัดสร้างถังขยะ ไม่ยอมรับ technology transfer
โครงการนี้ทำให้เกิดภาวะอดอยากเพราะส่งผลให้ผลผลิตของประเทศถึงขั้นติดลบ (GDP ติดลบ) มีคนอดตายมากถึง 20 ล้านคน มันเป็นยิ่งกว่าการสังหารหมู่
เหมาคิดนโยบายด้วยใจ ด้วยอุดมการณ์ แต่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง
ใครอยากทำด้วยใจก็เชิง แต่สำหรับผม ผมไม่ขอเป็นคนที่ต้องไปตายฟรีๆ แบบนั้น
เหมือนเคยได้อ่านจากหนังสืออยู่เล่มนึง น่าจะเป็น The Undercover Economist หรือเปล่าครับ
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 23, 2007 1:47 pm
โดย สุมาอี้
ดูสารคดีบันทึกโลกมานะครับ :)
เงินลงทุนในประเทศ = เงินออม + เงินทุนต่างชาติ ??
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 23, 2007 5:12 pm
โดย Mon money
ความโลภ...
ความกลัว...
ทางถอย...
น่าสนใจครับ
แต่ใครฝืนตลาด...มีหวังแย่แน่...ถ้าจีนยังมัวสร้างถังขยะอยู่ก็ยังแย่ ไม่พื้นครับ
แต่ถ้าใครตามตลาดแบบไม่มีทางถอย...จบไม่สวยแน่...ถ้าจีนไม่สกัดอะไรบางอย่างจากตะวันตกไว้ จีนคงเละไปนานแล้ว
รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดคน