ข่าวเรื่อง หุ้น 2 ข่าวนี้คนละขั้วแต่มีเหตุผลวิเคราะห์กันหน่อ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 14, 2007 11:48 am
ข่าวเรื่อง หุ้น 2 ข่าวนี้ ขัดกันเอง แต่ดูแล้วน่าเชื่อถือทั้งคู่.....วิเคราะห์แล้วตีไม่แตกอ่ะ
ก่อนอื่นขออนุญาต ผู้ที่โพสกระทู้นะครับ เอามาลงเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกๆท่าน
ข่าวแรก.......
ข่าวน่าจะดีของรายย่อย......ทุนนอกทิ้งตราสารลุยซื้อหุ้น!!!!
ทุนนอกทิ้งตราสารลุยซื้อหุ้น
แบงก์ชี้แห่ปรับพอร์ตลงทุนอุตลุด-อาศัยช่องโหว่ให้เวลาวันที่12มกราคม
โพสต์ทูเดย์ นักลงทุนต่างชาติขนเงินออกจิ๊บจ๊อยแค่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เหลือโยกเงินจากตลาดตราสารหนี้ไปตลาดหุ้นกันสนั่นเมือง หลังมาตรการสำรอง 30% มีผลเต็มที่ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม ที่ผ่านมา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ รายงานตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทยในวันที่ 5 มกราคม 2550 อยู่ที่ 6.60 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากวันที่ 29 ธันวาคม 2549 ที่มีอยู่ 6.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ภาระจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทของแบงก์ชาติ หรือฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิอยู่ที่ 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 700 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับวันที่ 29 ธันวาคม 2549
ด้านแหล่งข่าวจากสมาคมธนาคารไทยกล่าวว่า ถึงตอนนี้ทุนนอกยังไม่หนีไปมากนัก แต่มีการปรับพอร์ตการลงทุนกันหนัก เพราะผลจากมาตรการผ่อนผันการหักกันสำรอง 30% สำหรับการลงทุนในหุ้นนั้น ทำให้เกิดช่องว่างในการจัดระบบอยู่ 5 วัน ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าปรับตัวและโยกเงินจากเงินฝาก และเงินลงทุนในตลาด ตราสารหนี้ พันธบัตรทะลักเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นแทน
แหล่งข่าวกล่าวว่า สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ 2 วันสุดท้ายของสัปดาห์นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นถึง 5.86 พันล้านบาท โดยในวันที่ 11 มกราคม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2.06 พันล้านบาท ขณะที่ในวันที่ 12 มกราคม ซื้อสุทธิถึง 3.8 พันล้านบาท
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ปั่นป่วน พอสมควรอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี (TH5YY) ปิดที่ระดับ 4.86% ในวันที่ 12 มกราคม ร่วงลงจาก 5.04% เมื่อวันที่ 5 มกราคม ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรไทยปรับลงอย่างมาก โดยเฉพาะประเภทอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เพราะมีการเทขายทิ้งออกไปเพื่อขนเงินออกและขยับไปลงทุนในตลาดหุ้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่มีการปรับตัวกันอย่างหนัก เพราะมาตรการหักกันสำรอง 30% สำหรับเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นและไม่มีธุรกรรมการค้าการลงทุนรองรับต้องถูกหักไว้ 30% ที่เว้นให้กับนักลงทุนต่างประเทศที่นำเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นสามารถนำเงินมาพักไว้ที่บัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (NRBA) ได้ ไม่เกิน 300 ล้านบาทนั้นมีช่องว่างอยู่
ช่องว่างที่ว่าเกิดจากประกาศเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่ประกาศให้โบรกเกอร์และ นักลงทุนต้องแยกบัญชีลงทุนในหุ้นเฉพาะออกบัญชี NRBA ที่เอาไว้ใช้เพื่อการค้า ตราสารหนี้ หรือการณ์อื่น โดยกำหนดให้ ผู้มีบัญชี NRBA อยู่แล้วและก่อนหน้านี้ไม่ได้จำกัดว่าจะมีวงเงินเพียงแค่ 300 ล้านบาท เลือกว่าจะใช้บัญชี NRBA เพื่อลงทุนในตลาดหุ้น หรือจะเปิดบัญชีใหม่ เป็นบัญชีเงินบาทที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Special Non-resident Baht Account for Equity Securities: SNS) เพื่อลงทุนในหุ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ นักลงทุนต่างชาติที่เปิดบัญชี NRBA ไว้เดิมและมีเงินสูงกว่า 300 ล้านบาท ต้องปรับให้มียอดคงค้างในบัญชีไม่เกิน 300 ล้านบาท หลังวันที่ 8 มกราคม ด้วยการโยกเงินทุนส่วนที่เหลือไปเปิดบัญชี SNS ที่เปิดใหม่เพื่อเข้าลงทุนในตลาดหุ้น เพราะจะเริ่มรายงานในวันที่ 12 มกราคม เป็นต้นไป
ระยะเวลา 5 วัน จึงเป็นช่วงทำเงิน และย้ายการลงทุนของต่างชาติ อีกส่วนหนึ่งก็ขายบาทออกไปทำให้ค่าเงินบาทจึงยืนที่ระดับ 36.06 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และมีนักลงทุนบางกลุ่มต้องรับภาระในเรื่องดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินในตลาดเงินทั้งข้ามคืนและตลาดส่งมอบทันทีในอัตราที่สูงอยู่ เพราะธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างชาติกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้สูงมาก เพราะอิงกับอินเตอร์แบงก์ที่สูงถึง 4.95-4.97% เพราะรู้ว่ามีความต้องการใช้เงินบาทสูง แหล่งข่าวกล่าว
เครดิต......คุณปีเตอร์ ชาง แห่ง GREENBULL
*** ต้องขอบคุณหม่อมด้วยมั้ยเนี่ย ***
จากคุณ : แสบสนิทศิษย์พี่จืด - [ 13 ม.ค. 50 14:09:22 ]
ข่าวที่ 2
........กองทุนยักษ์ทิ้งไทย....ต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหนักก็อย่าดีใจเพราะแค่ชอร์ตเซล ทำให้ต้องซื้อหุ้นคืนเท่านั้น....
โพสต์ทูเดย์ — "โกลบอลฟันด์" กองทุนยักษ์เมินหุ้นไทยแล้ว เหตุเล็กเกินจนไม่น่าสนใจ ส่วนที่อยู่ก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุนสั้นๆ เพียง 3 เดือนเท่านั้น จากเดิม 1-1.5 ปี ย้ำต่างชาติซื้อหนัก 3.8 พันล้านอย่าดีใจเพราะแค่เก็บหุ้นคืนเท่านั้น
ตลาดหุ้นท้ายสัปดาห์ดัชนีพุ่งขึ้นต่อและปิดตลาดที่ 645.71 จุด เพิ่มขึ้น 8.08 จุด หรือ 1.27% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย ทั้งสิ้น 18,911.69 ล้านบาท ต่างชาติซื้อหนัก 3,814 ล้านบาท สถาบันขาย 1,478 ล้านบาท และรายย่อยขาย 2,336 ล้านบาท
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ กล่าวในงานสัมมนา "มุมมองนักลงทุนสถาบันและต่างชาติต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย" ว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติระดับโลก (โกลบอลฟันด์) เช่นในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่มีสำนักงานในภูมิภาคเอเชีย ได้ตัดสินใจทิ้งการลงทุนหุ้นไทยแล้ว เนื่องจากอยู่ห่างไกลและไม่มี ผู้คอยติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเห็นว่าตลาดหุ้นไทยมีขนาดเล็กมากและมี น้ำหนักต่อการลงทุนน้อยมากเมื่อเทียบกับพอร์ตลงทุนรวม จึงหันไปลงทุนในตลาดหุ้นจีน ฮ่องกง อินเดียแทนเพราะมีผลตอบแทนที่ดี
"การที่ต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหนักก็อย่าดีใจ เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการขายหุ้นล่วงหน้า (ชอร์ตเซล) ทำให้ต้องซื้อหุ้นคืนเท่านั้น"
นอกจากนี้ กลุ่มนักลงทุนต่างชาติที่ยังเหลืออยู่จะเป็นกลุ่มที่รู้จักประเทศไทยเป็นอย่างดี และมีความจำเป็นต้องลงทุนจากนโยบายการลงทุน แต่รูปแบบการลงทุน จะเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุนจากเดิมที่ลงทุน 1-1.5 ปี เป็นเพียง 3 เดือนเท่านั้น
"ครึ่งแรกของปีนี้ต่างชาติจะเล่นแบบเทรดดิง เพราะยังมีความเสี่ยง โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม–เมษายนนี้จะมี เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น เช่น การตัดสินกรณีขายหุ้นของปตท.(PTT) โดยนักลงทุนจะรอจนสถานการณ์นิ่งหรือคาดหวังว่าจะเป็นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้"
นายไพบูลย์ กล่าวว่า
ในสายตานักลงทุนต่างชาติ เห็นว่าความเสี่ยงในประเทศไทยขณะนี้สูงมาก เพราะในเหตุการณ์ปกติจะต้องสามารถประเมินสถานการณ์ในอนาคตได้ แต่ปัจจุบันแม้แต่นักลงทุนในประเทศเอง ก็ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ใดๆ ได้ และมีโอกาสที่ดัชนีหุ้นไทยในปีนี้จะหลุด ต่ำกว่า 600 จุด
ทั้งนี้ ทิสโก้ได้ปรับลดดัชนีปีนี้เหลือแค่730 จุด จากเดิม 780 จุด และลดกำไรของบริษัทจดทะเบียนเหลือเพียง 1-2% เท่านั้นจากเดิม 8% นอกจากนี้ได้เลื่อนแผนการออกไปโรดโชว์ต่างประเทศจน กว่าสถานการณ์จะนิ่ง โดยมีแผนจะไป โรดโชว์ในปลายเดือนมกราคมนี้
นายสมชัย ก่อสวัสดิกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด สถาบันต่างประเทศ บล.เอเซีย พลัส (ASP) กล่าวว่า สภาพตลาดหุ้นไทยช่วงนี้เป็นการลงทุนระยะสั้นสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากขาดความมั่นใจต่อสถานการณ์บ้านเมืองของประเทศ อีกทั้งนโยบายของภาครัฐปัจจุบันไม่เอื้อต่อการลงทุนระยะยาวได้เลย
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกพอจะมีบ้างสำหรับหุ้นไทยคือ การประชุมของ คณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ในวันที่ 17 มกราคมนี้ หากมีการ ลดอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้หุ้นขึ้นได้ และเมื่อลดแล้วทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจก็น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้นักลงทุนสนใจได้
จากคุณ : พิษประจิม - [ 13 ม.ค. 50 17:07:44
แต่ที่แน่ๆ......
ล่าสุด หอการค้าญี่ปุ่นประกาศงดการลงทุนทุกรูปแบบในไทย เพราะมีความเสี่ยงสูงทางการเมือง เศรษฐกิจ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ยํh No new fund flow from Japan to Thai
(ผลประชุมที่สรุปออกมาแล้ว)
ก่อนอื่นขออนุญาต ผู้ที่โพสกระทู้นะครับ เอามาลงเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกๆท่าน
ข่าวแรก.......
ข่าวน่าจะดีของรายย่อย......ทุนนอกทิ้งตราสารลุยซื้อหุ้น!!!!
ทุนนอกทิ้งตราสารลุยซื้อหุ้น
แบงก์ชี้แห่ปรับพอร์ตลงทุนอุตลุด-อาศัยช่องโหว่ให้เวลาวันที่12มกราคม
โพสต์ทูเดย์ นักลงทุนต่างชาติขนเงินออกจิ๊บจ๊อยแค่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เหลือโยกเงินจากตลาดตราสารหนี้ไปตลาดหุ้นกันสนั่นเมือง หลังมาตรการสำรอง 30% มีผลเต็มที่ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม ที่ผ่านมา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ รายงานตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทยในวันที่ 5 มกราคม 2550 อยู่ที่ 6.60 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากวันที่ 29 ธันวาคม 2549 ที่มีอยู่ 6.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ภาระจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทของแบงก์ชาติ หรือฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิอยู่ที่ 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 700 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับวันที่ 29 ธันวาคม 2549
ด้านแหล่งข่าวจากสมาคมธนาคารไทยกล่าวว่า ถึงตอนนี้ทุนนอกยังไม่หนีไปมากนัก แต่มีการปรับพอร์ตการลงทุนกันหนัก เพราะผลจากมาตรการผ่อนผันการหักกันสำรอง 30% สำหรับการลงทุนในหุ้นนั้น ทำให้เกิดช่องว่างในการจัดระบบอยู่ 5 วัน ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าปรับตัวและโยกเงินจากเงินฝาก และเงินลงทุนในตลาด ตราสารหนี้ พันธบัตรทะลักเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นแทน
แหล่งข่าวกล่าวว่า สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ 2 วันสุดท้ายของสัปดาห์นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นถึง 5.86 พันล้านบาท โดยในวันที่ 11 มกราคม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2.06 พันล้านบาท ขณะที่ในวันที่ 12 มกราคม ซื้อสุทธิถึง 3.8 พันล้านบาท
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ปั่นป่วน พอสมควรอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี (TH5YY) ปิดที่ระดับ 4.86% ในวันที่ 12 มกราคม ร่วงลงจาก 5.04% เมื่อวันที่ 5 มกราคม ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรไทยปรับลงอย่างมาก โดยเฉพาะประเภทอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เพราะมีการเทขายทิ้งออกไปเพื่อขนเงินออกและขยับไปลงทุนในตลาดหุ้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่มีการปรับตัวกันอย่างหนัก เพราะมาตรการหักกันสำรอง 30% สำหรับเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นและไม่มีธุรกรรมการค้าการลงทุนรองรับต้องถูกหักไว้ 30% ที่เว้นให้กับนักลงทุนต่างประเทศที่นำเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นสามารถนำเงินมาพักไว้ที่บัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (NRBA) ได้ ไม่เกิน 300 ล้านบาทนั้นมีช่องว่างอยู่
ช่องว่างที่ว่าเกิดจากประกาศเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่ประกาศให้โบรกเกอร์และ นักลงทุนต้องแยกบัญชีลงทุนในหุ้นเฉพาะออกบัญชี NRBA ที่เอาไว้ใช้เพื่อการค้า ตราสารหนี้ หรือการณ์อื่น โดยกำหนดให้ ผู้มีบัญชี NRBA อยู่แล้วและก่อนหน้านี้ไม่ได้จำกัดว่าจะมีวงเงินเพียงแค่ 300 ล้านบาท เลือกว่าจะใช้บัญชี NRBA เพื่อลงทุนในตลาดหุ้น หรือจะเปิดบัญชีใหม่ เป็นบัญชีเงินบาทที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Special Non-resident Baht Account for Equity Securities: SNS) เพื่อลงทุนในหุ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ นักลงทุนต่างชาติที่เปิดบัญชี NRBA ไว้เดิมและมีเงินสูงกว่า 300 ล้านบาท ต้องปรับให้มียอดคงค้างในบัญชีไม่เกิน 300 ล้านบาท หลังวันที่ 8 มกราคม ด้วยการโยกเงินทุนส่วนที่เหลือไปเปิดบัญชี SNS ที่เปิดใหม่เพื่อเข้าลงทุนในตลาดหุ้น เพราะจะเริ่มรายงานในวันที่ 12 มกราคม เป็นต้นไป
ระยะเวลา 5 วัน จึงเป็นช่วงทำเงิน และย้ายการลงทุนของต่างชาติ อีกส่วนหนึ่งก็ขายบาทออกไปทำให้ค่าเงินบาทจึงยืนที่ระดับ 36.06 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และมีนักลงทุนบางกลุ่มต้องรับภาระในเรื่องดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินในตลาดเงินทั้งข้ามคืนและตลาดส่งมอบทันทีในอัตราที่สูงอยู่ เพราะธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างชาติกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้สูงมาก เพราะอิงกับอินเตอร์แบงก์ที่สูงถึง 4.95-4.97% เพราะรู้ว่ามีความต้องการใช้เงินบาทสูง แหล่งข่าวกล่าว
เครดิต......คุณปีเตอร์ ชาง แห่ง GREENBULL
*** ต้องขอบคุณหม่อมด้วยมั้ยเนี่ย ***
จากคุณ : แสบสนิทศิษย์พี่จืด - [ 13 ม.ค. 50 14:09:22 ]
ข่าวที่ 2
........กองทุนยักษ์ทิ้งไทย....ต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหนักก็อย่าดีใจเพราะแค่ชอร์ตเซล ทำให้ต้องซื้อหุ้นคืนเท่านั้น....
โพสต์ทูเดย์ — "โกลบอลฟันด์" กองทุนยักษ์เมินหุ้นไทยแล้ว เหตุเล็กเกินจนไม่น่าสนใจ ส่วนที่อยู่ก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุนสั้นๆ เพียง 3 เดือนเท่านั้น จากเดิม 1-1.5 ปี ย้ำต่างชาติซื้อหนัก 3.8 พันล้านอย่าดีใจเพราะแค่เก็บหุ้นคืนเท่านั้น
ตลาดหุ้นท้ายสัปดาห์ดัชนีพุ่งขึ้นต่อและปิดตลาดที่ 645.71 จุด เพิ่มขึ้น 8.08 จุด หรือ 1.27% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย ทั้งสิ้น 18,911.69 ล้านบาท ต่างชาติซื้อหนัก 3,814 ล้านบาท สถาบันขาย 1,478 ล้านบาท และรายย่อยขาย 2,336 ล้านบาท
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ กล่าวในงานสัมมนา "มุมมองนักลงทุนสถาบันและต่างชาติต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย" ว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติระดับโลก (โกลบอลฟันด์) เช่นในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่มีสำนักงานในภูมิภาคเอเชีย ได้ตัดสินใจทิ้งการลงทุนหุ้นไทยแล้ว เนื่องจากอยู่ห่างไกลและไม่มี ผู้คอยติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเห็นว่าตลาดหุ้นไทยมีขนาดเล็กมากและมี น้ำหนักต่อการลงทุนน้อยมากเมื่อเทียบกับพอร์ตลงทุนรวม จึงหันไปลงทุนในตลาดหุ้นจีน ฮ่องกง อินเดียแทนเพราะมีผลตอบแทนที่ดี
"การที่ต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหนักก็อย่าดีใจ เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการขายหุ้นล่วงหน้า (ชอร์ตเซล) ทำให้ต้องซื้อหุ้นคืนเท่านั้น"
นอกจากนี้ กลุ่มนักลงทุนต่างชาติที่ยังเหลืออยู่จะเป็นกลุ่มที่รู้จักประเทศไทยเป็นอย่างดี และมีความจำเป็นต้องลงทุนจากนโยบายการลงทุน แต่รูปแบบการลงทุน จะเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุนจากเดิมที่ลงทุน 1-1.5 ปี เป็นเพียง 3 เดือนเท่านั้น
"ครึ่งแรกของปีนี้ต่างชาติจะเล่นแบบเทรดดิง เพราะยังมีความเสี่ยง โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม–เมษายนนี้จะมี เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น เช่น การตัดสินกรณีขายหุ้นของปตท.(PTT) โดยนักลงทุนจะรอจนสถานการณ์นิ่งหรือคาดหวังว่าจะเป็นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้"
นายไพบูลย์ กล่าวว่า
ในสายตานักลงทุนต่างชาติ เห็นว่าความเสี่ยงในประเทศไทยขณะนี้สูงมาก เพราะในเหตุการณ์ปกติจะต้องสามารถประเมินสถานการณ์ในอนาคตได้ แต่ปัจจุบันแม้แต่นักลงทุนในประเทศเอง ก็ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ใดๆ ได้ และมีโอกาสที่ดัชนีหุ้นไทยในปีนี้จะหลุด ต่ำกว่า 600 จุด
ทั้งนี้ ทิสโก้ได้ปรับลดดัชนีปีนี้เหลือแค่730 จุด จากเดิม 780 จุด และลดกำไรของบริษัทจดทะเบียนเหลือเพียง 1-2% เท่านั้นจากเดิม 8% นอกจากนี้ได้เลื่อนแผนการออกไปโรดโชว์ต่างประเทศจน กว่าสถานการณ์จะนิ่ง โดยมีแผนจะไป โรดโชว์ในปลายเดือนมกราคมนี้
นายสมชัย ก่อสวัสดิกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด สถาบันต่างประเทศ บล.เอเซีย พลัส (ASP) กล่าวว่า สภาพตลาดหุ้นไทยช่วงนี้เป็นการลงทุนระยะสั้นสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากขาดความมั่นใจต่อสถานการณ์บ้านเมืองของประเทศ อีกทั้งนโยบายของภาครัฐปัจจุบันไม่เอื้อต่อการลงทุนระยะยาวได้เลย
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกพอจะมีบ้างสำหรับหุ้นไทยคือ การประชุมของ คณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ในวันที่ 17 มกราคมนี้ หากมีการ ลดอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้หุ้นขึ้นได้ และเมื่อลดแล้วทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจก็น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้นักลงทุนสนใจได้
จากคุณ : พิษประจิม - [ 13 ม.ค. 50 17:07:44
แต่ที่แน่ๆ......
ล่าสุด หอการค้าญี่ปุ่นประกาศงดการลงทุนทุกรูปแบบในไทย เพราะมีความเสี่ยงสูงทางการเมือง เศรษฐกิจ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ยํh No new fund flow from Japan to Thai
(ผลประชุมที่สรุปออกมาแล้ว)