หน้า 1 จากทั้งหมด 2
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 7:56 am
โดย ปรัชญา
ปลายอาทิตย์ที่แล้ว รถสิบล้อจำนวนร้อยกว่าคัน
ปิดทางเข้าโรงงานน้ำตาล บริษัทหนึ่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
มีอักษรตัวหน้า Kxx
จากผู้นำขวบนเป็นเจ้าของไร่อ้อยรายใหญ่จากจังหวัดชัยภูมิ
แล้วยังทำข่าวเต็มหน้าหนังสือพิมพ์อีก
ที่รู้กันเป็นเพียงคนขอนแก่นกับชัยภูมิ
คนท้องถิ่นที่เห็นเหตุการณ์
แล้วในเมื่อหนังสือพิมพ์ไม่ลง
การนำมาเล่าบอกต่อ เท่ากับการปล่อยข่าวลือ ใช่เปล่า
ถ้าใช่ก็รบกวนลบกระทู้นี้ด้วยครับ
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 9:22 am
โดย คัดท้าย
ขอบคุณครับ กระทู้ดีๆอย่างนี้ลบไปเสียดายตายเลยครับ อิอิ
ปล. ดีใจด้วยกับ ".... ไปไหน ไปไหน .... ไป .........." นะครับ :D
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 9:25 am
โดย naris
[quote="คัดท้าย"]ขอบคุณครับ กระทู้ดีๆอย่างนี้ลบไปเสียดายตายเลยครับ อิอิ
ปล. ดีใจด้วยกับ ".... ไปไหน ไปไหน .... ไป .........." นะครับ
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 9:27 am
โดย คัดท้าย
[quote="naris"][quote="คัดท้าย"]ขอบคุณครับ กระทู้ดีๆอย่างนี้ลบไปเสียดายตายเลยครับ อิอิ
ปล. ดีใจด้วยกับ ".... ไปไหน ไปไหน .... ไป .........." นะครับ
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 9:43 am
โดย buglife
[quote="คัดท้าย"][quote="naris"][quote="คัดท้าย"]ขอบคุณครับ กระทู้ดีๆอย่างนี้ลบไปเสียดายตายเลยครับ อิอิ
ปล. ดีใจด้วยกับ ".... ไปไหน ไปไหน .... ไป .........." นะครับ
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 9:52 am
โดย 121
อะไร ...ยังไงงง...งงง กับรายละเอียด
แต่เข้าใจกระทู้นะครับ
เพิ่มเติมละเอียดกว่านี้ได้ปะ...
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 9:56 am
โดย ปรัชญา
ม็อบชาวไร่อ้อย เอารถมาปิดโรงงานตกลงราคาไม่ได้
แต่ไม่มีข่าว
มีแต่นักวิเคราะห์ไปพูดเรื่องพลังงานทดแทน เอทานอน
แถมทำข่าวพาดปกหนัีงสือพิมพ์ใหญ่โต
มันขัดกับความเป็นจริง
ใครถือหุ้นโทรไปถามทีว่าตกลงกันได้หรือยัง น้ำตาลขมหรือเปล่า
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 10:23 am
โดย MisterK
ช่วงนี้ข่าวต้องเป็นไปในทางเดียวกันครับ อย่าหวังอะไรมากจากสื่อเมืองไทย
โบ๊เบ๊ไหม้ไปหลายสิบหลัง นสพ. แทบไม่มีข่าว ประกันต้องจ่ายน่าจะหลายร้อยล้านอยู่ ไม่เห็นมีใครวิเคราะห์บ้างเลย
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 10:48 am
โดย สามัญชน
บ้านเมืองก็ปกติดีนิครับ ไม่มีไฟไหม้โรงเรียน ไม่มีประท้วง ไม่มีม็อบ ครูใต้ก็อยู่ดีมีสุข ไม่มีใครตาย รัฐบานตะหานทำให้บ้านเมืองสงบสุขที่สุดเลยครับ.....
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 10:49 am
โดย สามัญชน
แซวเล่นครับ
พี่ปรัชครับ ผมไม่รู้รายละเอียดข่าวว่าเป็นอะไรอย่างไร สาเหตุคงมาจากที่โพสท์ข้างบนอ่ะครับ
เลยเดาว่าน่าจะเป็นแบบนี้
1. โรงงานน้ำตาลอาจจะทำสัญญา(หรือไม่ได้ทำสะญญาแต่ให้คำมั่นสัญญาว่าจะซื้ออ้อยที่ราคาสูงๆ)กับชาวไร่อ้อย
2.พอรัฐบาลประกาศยกเลิกมาตรการที่จะยกเลิกเบนซิล 95 เรื่องเลยยุ่งครับ แทนที่จะเลื่อนไปก่อน กลับไปยกเลิแทน ไม่รู้อะไรกันนักกันหนารัฐบาลนี้
3.โรงงานย่อมไมสามารถรับซื้อที่ราคาสูงๆได้อีกแล้ว เพราะอุปสงค์หายไปหมด เหลือแต่อุปทาน
4.โรงงานย่อมมีอำนาจเหนือเกษตรกรอยู่แล้ว เรื่องอะไรเขาจะยอมขาดทุนยับเยินรับซื้อในราคาสูงๆล่ะครับ
5.ขนาดซื้อราคาต่ำๆก็ยังยับเยินเลยครับเพราะโรงงานก็สร้างไปแล้ว ค่าใช้จ่ายก็เสียไปแล้ว ทุนก็ลงไปแล้ว
6.ดังนั้นคนที่มีอำนาจน้อยๆอย่างเกษตรกรก็ต้องรับกรรมครับ
7.เอารถไปปิดโรงงานน้ำตาลก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เพราะตายทั้งคู่เจ็บทั้งคู่ ปิดทำเนียบอาจจะได้อะไรบ้างนะ ผมว่า.......
ไม่รู้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร พี่ปรัชช่วยแถลงไขทีครับ อยู่แถวนี้มีแต่ข่าวรัฐบาลมีแต่ข่าวดีๆ แปลกจริงๆ......
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 10:56 am
โดย shinnozuke
เกรงว่าเค้าจะยกเลิกการสร้างโรงงานผลิตเอทานอลเพิ่มด้วยสิครับ ทำพลังงานทดแทนแต่ภาครัฐไม่ส่งเสริมคงรุ่งยาก
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 11:05 am
โดย คลายเครียด
ผมเคยอ่านบทความเรื่องราคาน้ำมัน
คนเขียนระบุว่า
ต้นทุนที่แท้จริงของแกสโซฮอล ๙๕
แพงกว่าเบนซิน ๙๕
แต่เนื่องจาก เบนซินต้องจ่ายให้กองทุนน้ำมัน
มากกว่าแกสโซฮอล
คนทั่วไป
เลยคิดว่าต้นทุนของแกสโซฮอลถูกกว่าเบนซิน
ข้อมูลดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ครับ
:oops: :oops: :oops: :oops: :oops: :oops:
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 11:08 am
โดย ด๊กดิงด่าง
ที่บ้านผม เมื่อสามปีก่อนตรงสี่แยกใหญ่ๆมีคัทเอาท์ "ปลูกอ้อยวันนี้เป็นเศรษฐีในวันหน้า" รู้สึกจะหายไปแล้ว
ข้อ 7 ของคุณหมอเข้าข่ายกู้ชาตินะครับ
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 11:35 am
โดย worapong
ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกันมั๊ยนะครับ แต่ราคาน้ำตาลตลาดโลกร่วง โรงงานต้องส่งออกน้ำตาลถูกๆ จะไปรับซื้ออ้อยแพงๆก็คงทำไม่ได้นะครับ แถมน้ำตาลบ้านเรามีปัญหาเรื่องคุณภาพ เรื่องสีและความหวาน สู้คู่แข่งไม่ได้ ยอดขายก็ลดอีก อันนี้มันเหมือนเจอสองเด้ง แต่แน่นอนว่าผู้ที่เดือดร้อนก็ต้องเป็นเกษตรกรอีกแล้วครับ ถ้ารัฐเข้าไปอุ้มอีก ก็ต้องเอาเงินภาษีไปอุดหนุน มันช่วยได้ในระยะสั้น แต่จะทำให้เกษตรกรที่ปลูกอ้อยอ่อนแอ มันดีในระยะสั้น แต่ส่งผลร้ายในระยะยาว ถ้าเราคิดว่าน้ำตาลเป็นโภคภัณฑ์ ผู้ที่อยู่รอดได้คือผู้ที่มีต้นทุนต่ำสุด ถ้าเราไม่สามารถไปยืนที่จุดนั้นได้ สักวันเราก็จะไม่มีที่ยืนครับ การแข่งขันมันโหดร้ายอย่างนี้นี่เอง อันที่จริงถ้าเกษตรกรจะอยู่รอดได้ ผมคิดว่าเราต้องทำแบบอิสราเอล อาจจะเริ่มจากมาวิเคราะห์ว่าพืชชนิดใดที่จะมีราคาดีในระยะเวลาถัดไป แล้วเราก็ไปทำสัญญาขายล่วงหน้า แล้วก็มาจัดสรรให้เกษตรกรปลูก แล้วเกษตรกรก็ควรปลูกแบบผสมผสาน ห้าหรือสิบชนิดเหมือนพอร์ตหุ้น นี่น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นบ้าง มันยากมากนะครับ แต่คิดว่าถ้าทำได้แล้ว ปัญหาความยากจนจะลดลง เมื่อปัญหาเรื่องความยากจนลดน้อยลง ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การแบ่งแยกดินแดนต่างๆจะลดน้อยลงมาก ผมเคยอ่านเจอมาว่าปัญหาเรื่องเชื้อชาติ ศาสนานี่มันมักจะมีตอนที่เรามีปัญหาเรื่องปากท้อง เพราะเราชอบโทษคนอื่น เลยโบ้ยว่าปัญหามันมาจากคนเชื้อชาติอื่น
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 11:37 am
โดย fantasia
[quote="คลายเครียด"]ผมเคยอ่านบทความเรื่องราคาน้ำมัน
คนเขียนระบุว่า
ต้นทุนที่แท้จริงของแกสโซฮอล ๙๕
แพงกว่าเบนซิน ๙๕
แต่เนื่องจาก เบนซินต้องจ่ายให้กองทุนน้ำมัน
มากกว่าแกสโซฮอล
คนทั่วไป
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 11:48 am
โดย สามัญชน
ต้นทุนเอทานอลน่าจะอยู่แถวๆ 18 บาท/ลิตรครับ อาจจะแกว่งขึ้นลงตามdemand/supply ของวัตถุดิบ(อ้อย/โมลาส/มันสำปะหลัง)ได้
ตอนเบนซิน95 อยู่แถวๆ 12-13 บาท ตอนนั้นก็เริ่มมีแนวคิดทำแก๊สโซฮอล์แล้วครับ แต่ไม่มีใครกล้าเสี่ยง เพราะทำแล้วขาดทุนแน่ๆแม้จะมีประโยชน์ตรงที่เงินไม่รั่วไหลออกต่างประเทศ และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นก็ตามก็ไม่มีใครกล้าเสี่ยง โครงการนี้เลยยังเป็นโครงการในพระราชดำริเฉยๆ ไม่สามารถผลักดันให้เกิดผลในทางธุรกิจจริงๆจังๆได้
ต่อมาเบนซินปรับตัวสูงขึ้นตามลำดับ โครงการพลังงานทดแทนจึงเริ่มตั้งไข่ได้ เพราะคุ้มค่าเชิงพานิชย์ และแม้ต้นทุนเอทานอลจะปรับตัวตามจนไปเท่ากับเบนซิน95 ผมก็ว่ายังคุ้มเพราะเงินทองยังอยู่ในบ้านเรา ส่วนอนาคตราคาน้ำมันจะปรับตัวลงหรือไม่ก็ยากที่จะคาดเดา หรือจะขึ้นไปอีกมากแค่ไหนก็เดาไม่ถูกเหมือนกันครับ
แต่ปัจจุบันผลของโครงการพลังงานทดแทนก็เป็นอย่างที่ทราบๆกัน
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 11:55 am
โดย สามัญชน
ต้นทุนเอทานอลน่าจะอยู่แถวๆ 18 บาท/ลิตรครับ อาจจะแกว่งขึ้นลงตามdemand/supply ของวัตถุดิบ(อ้อย/โมลาส/มันสำปะหลัง)ได้
จำได้ว่าอ่านเจอเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่ยืนยันนะครับ และก็คาดว่าไม่มีใครมีตัวเลขที่แน่นอน เพราะเป็นตัวเลขที่ปรับขึ้นปรับลงตามราคาวัตถุดิบ
ในแง่การสร้างพลังงานขึ้นมา แน่นอนว่า เอทานอลใช้ต้นทุนสูง ในขณะที่น้ำมันดิบนั้น ธรรมชาติเป็นผู้ลงทุนให้เรา เรามีหน้าที่แค่ดูดขึ้นมาใช้เท่านั้นเอง
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 11:57 am
โดย buglife
fantasia เขียน:
ถ้านับเฉพาะเรื่องแกสโซฮอล 95 ผมเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ครับ
แต่ต้องยอมรับว่า การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลนี้ด้อยกว่ารัฐบาลก่อนจริงๆ
ราคาอ้อยและพืชผลเกษตรอื่นๆ ที่ตกต่ำจะสูงขึ้น
โดยรัฐไม่ต้องไปพยุง ไม่คิด?
ลดการนำเข้าน้ำมัน ไม่คิด?
การผลิตปริมาณมากขึ้น (แทน95)
ไม่ทำให้ต้นทุนต่ำลงจนใกล้เคียงกับ 95 ไม่คิด?
โดยรวมแล้ว แกสโซฮอล รัฐและเกษตรกร รวมถึงประเทศชาติได้ประโยชน์
ผมว่ายกเลิกแกสโซฮอลไปเลยก็ได้ครับ
ในเมื่อ 95 ดีกว่า ถูกกว่า ใช้ของไม่ดีทำไม
ยังไงราคาน้ำมันไม่กลับไป 80 เหรียญอีกแล้ว ฮา
ล้อเล่น :roll: 8)
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 12:01 pm
โดย สามัญชน
ม็อบชาวไร่อ้อย เอารถมาปิดโรงงานตกลงราคาไม่ได้
แต่ไม่มีข่าว
มีแต่นักวิเคราะห์ไปพูดเรื่องพลังงานทดแทน เอทานอน
แถมทำข่าวพาดปกหนัีงสือพิมพ์ใหญ่โต
มันขัดกับความเป็นจริง
อืม......ตอนนี้ในทู้นี้ก็ยังคุยแต่เรื่องเอทานอลอีก...........อิอิอิ.......555
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 12:06 pm
โดย น้ำครึ่งแก้ว
เห็นพวก บิ๊กๆ พลังงาน ออกมาเปรยๆว่า
ราคาเอทานอลที่ซื้ออยู่แพงไปหน่อย ( 25 บาทกว่าๆ )
จะขอต่อรองลดลงหน่อย ( 20 บาทกว่าๆ ) เพราะราคาน้ำมัน
มีการปรับตัวลดลง อีกทั้งราคาน้ำตาลโลกก็ลงมาเยอะด้วย
ส่วนเรื่องประท้วง เดี๋ยวจะลองโทรไปถามที่บริษัทดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น
ปล. ถ้าเราถามแล้วเค้ามีสิทธิ์ จะไม่ตอบหรือเปล่าครับ
เคยโทรไปถามที่ โกดังน้ำตาล กับ โกดังเอกสาร เพราะเห็นว่าอยู่ใกล้แม่น้ำ
เจ้าพระยา ตอนน้ำท่วมปีที่แล้ว อยากรู้ว่ามีผลกระทบอะไรกับบริษัทรึเปล่า
พนักงานก็ให้ความชัดเจนดีครับ
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 12:29 pm
โดย lekmak333
7.เอารถไปปิดโรงงานน้ำตาลก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เพราะตายทั้งคู่เจ็บทั้งคู่ ปิดทำเนียบอาจจะได้อะไรบ้างนะ ผมว่า.......
:cheers: :cheers: :cheers: :cheers: :cheers: :cheers:
จะสนับสนุน หรือ ไม่สนับสนุน หรือ จะกำหนดทิศทางยังไง รัฐควรจะประกาศออกมาให้ชัดเจน
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 12:45 pm
โดย ply33
[quote="สามัญชน"]
ตอนเบนซิน95 อยู่แถวๆ 12-13 บาท ตอนนั้นก็เริ่มมีแนวคิดทำแก๊สโซฮอล์แล้วครับ
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 1:16 pm
โดย keng56
อย่าว่าแต่เรื่องนี้เลย...ยังมีอีกหลายๆเรื่องที่ถูกปิดข่าว...ก็รัตตะบานชุดนี้เค้าเน้นความโป่งไสยอะครับ..ทำงัยได้.. :lol: หวัดนกหลายที่ยังไม่เห็นมีข่าวเลย
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 1:22 pm
โดย Jeng
ครับ รัตตะบาน เหอๆ ใครตั้งนี่ หมอสามัญชนเหรอ
แต่ก็ดีกว่ารัตตะแบง นะ
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 1:59 pm
โดย 2 dogs
จุ๊ๆ คุณ keng56 อย่าเอ็ดไปเด๋วไก่ตื่น :P
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 2:05 pm
โดย jaychou
เค้าฉีดยากันให้เอิกเกริก ไม่ได้ปิดข่าวนี่ครับ
ช่วงนี้ผมเองก็เริ่มกลับกินวิตามินซีตามที่พี่เจ๋งเคยแนะนำด้วย
ให้ความรู้สึกแตกต่างครับ ช่วงที่ขาดไปรู้สึกว่าเป็นหวัดง่ายจัง
ไม่รู้เป็นอะไรนกแถวบ้านชอบเข้าบ้านบ่อยๆ เสียวๆมันจะฮัดเช่ยใส่จริงๆ
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 4:14 pm
โดย stp
เมืองไทย(นโยบาย)รายวัน
.........
ไม่แปลกครับไม่แปลกอะไรก็เป็นไปได้ครับ
.........
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 5:17 pm
โดย toon
ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกันมั๊ยนะครับ แต่ราคาน้ำตาลตลาดโลกร่วง โรงงานต้องส่งออกน้ำตาลถูกๆ จะไปรับซื้ออ้อยแพงๆก็คงทำไม่ได้นะครับ แถมน้ำตาลบ้านเรามีปัญหาเรื่องคุณภาพ เรื่องสีและความหวาน สู้คู่แข่งไม่ได้ ยอดขายก็ลดอีก อันนี้มันเหมือนเจอสองเด้ง แต่แน่นอนว่าผู้ที่เดือดร้อนก็ต้องเป็นเกษตรกรอีกแล้วครับ ถ้ารัฐเข้าไปอุ้มอีก ก็ต้องเอาเงินภาษีไปอุดหนุน มันช่วยได้ในระยะสั้น แต่จะทำให้เกษตรกรที่ปลูกอ้อยอ่อนแอ มันดีในระยะสั้น แต่ส่งผลร้ายในระยะยาว ถ้าเราคิดว่าน้ำตาลเป็นโภคภัณฑ์ ผู้ที่อยู่รอดได้คือผู้ที่มีต้นทุนต่ำสุด ถ้าเราไม่สามารถไปยืนที่จุดนั้นได้ สักวันเราก็จะไม่มีที่ยืนครับ การแข่งขันมันโหดร้ายอย่างนี้นี่เอง อันที่จริงถ้าเกษตรกรจะอยู่รอดได้ ผมคิดว่าเราต้องทำแบบอิสราเอล อาจจะเริ่มจากมาวิเคราะห์ว่าพืชชนิดใดที่จะมีราคาดีในระยะเวลาถัดไป แล้วเราก็ไปทำสัญญาขายล่วงหน้า แล้วก็มาจัดสรรให้เกษตรกรปลูก แล้วเกษตรกรก็ควรปลูกแบบผสมผสาน ห้าหรือสิบชนิดเหมือนพอร์ตหุ้น นี่น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นบ้าง มันยากมากนะครับ แต่คิดว่าถ้าทำได้แล้ว ปัญหาความยากจนจะลดลง เมื่อปัญหาเรื่องความยากจนลดน้อยลง ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การแบ่งแยกดินแดนต่างๆจะลดน้อยลงมาก ผมเคยอ่านเจอมาว่าปัญหาเรื่องเชื้อชาติ ศาสนานี่มันมักจะมีตอนที่เรามีปัญหาเรื่องปากท้อง เพราะเราชอบโทษคนอื่น เลยโบ้ยว่าปัญหามันมาจากคนเชื้อชาติอื่น
พี่ครับ จริงๆ แล้วโรงงานน้ำตาลมีการขายล่วงหน้าไปแล้วนะครับ แต่จะมีการส่งมอบน้ำตาลในภายหลัง แต่พอราคาน้ำตาล ณ spotปรับลงโรงงานก็มักจะมากดราคากับเกษตรกรอีกที โดยให้เหตผลว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดลง
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 5:22 pm
โดย toon
ประชาชาติ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3856 (3056)
กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นตั้งเป้าเปิดหีบอ้อยรง.น้ำตาลในลาว/เขมรปี"51-52
กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น เร่งส่งเสริมการปลูกอ้อยทั้งใน สปป.ลาว ที่แขวงสะหวันนะเขต กับเกาะกง ในกัมพูชา หลังตั้งเป้าเปิดหีบอ้อยให้ได้ในปี 2551 กับ 2552 ตามลำดับ หวังส่งน้ำตาลดิบเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป อาศัย ลาว/เขมร ได้รับสิทธิพิเศษ ประเทศที่พัฒนาน้อย
นายชลัช ชินธรรมมิตร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่-สายงานพัฒนาธุรกิจ กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการลงทุนตั้งโรงงานน้ำตาล ในประเทศเพื่อนบ้านว่า ปัจจุบัน กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น มีการลงทุนตั้งโรงงานน้ำตาลและส่งเสริมการปลูกอ้อยใน 2 ประเทศ คือ สปป.ลาว กับกัมพูชา ใช้เงินลงทุนรวมกันประมาณ 3,200 ล้านบาท
ใน สปป.ลาว บริษัทน้ำตาลขอนแก่น (KSL) ร่วมกับบริษัทบ้านโป่ง อินเตอร์เทรด (น้ำตาลบ้านโป่ง) ได้ลงนามในสัญญาการร่วมลงทุนเพื่อเช่าที่ดินระยะเวลา 30 ปีกับรัฐบาล สปป.ลาว เพื่อพัฒนาโครงการปลูกอ้อยและก่อสร้างโรงงานน้ำตาล มูลค่า 700 ล้านบาท บนพื้นที่ 62,500 ไร่ที่แขวงสะหวันนะเขต โดยทั้ง 2 กลุ่มได้ตั้งบริษัทน้ำตาลสะหวันนะเขต (Savannakhet Sugar Corporation) ทุนจดทะเบียน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นประกอบไปด้วย กลุ่ม KSL ร้อยละ 80 กลุ่มบ้านโป่งร้อยละ 20 เงินลงทุนขั้นแรก 700 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินลงทุนทั่วไป 300 ล้านบาท กับเงินลงทุนก่อสร้างโรงงานน้ำตาลอีก 400 ล้านบาท
นอกจากนี้แล้ว โรงงานน้ำตาลที่สะหวันนะเขตยังได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก สปป.ลาวด้วยการ "ยกเว้น" ภาษีนำเข้าเครื่องจักรและภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปีอีกด้วย
"ในขั้นแรกเราจะเข้าไปส่งเสริมการปลูกอ้อยในพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ เมื่อได้ผลผลิตก็จะทันพอดีกับการก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จ ตั้งเป้าว่าจะหีบน้ำตาลได้ประมาณ 3,000 ตัน/วันในระยะแรก ผมคาดว่าโรงงานน้ำตาลของเราจะเปิดหีบได้ในปี 2551" นายชลัชกล่าว
ส่วนการลงทุนตั้งโรงงานน้ำตาลในกัมพูชานั้น กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น ตัดสินใจที่จะลงทุนตั้งโรงงานอยู่ที่เกาะกง ในเบื้องต้นได้ตั้งบริษัทขึ้นมา 2 บริษัทคือ บริษัทเกาะกง แพลนเตชั่น จำกัด (KPT) กับ บริษัท เกาะกง ซูการ์ อินดัสตรี จำกัด(KSI) โดยบริษัทแรกจะส่งเสริมการปลูกอ้อย ส่วนบริษัทหลังจะเป็นโรงงานน้ำตาล ทั้ง 2 บริษัท กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น จะถือหุ้นร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนบริษัทละ 5 ล้านเหรียญ ส่วนผู้ถือหุ้นที่เหลือได้แก่ บริษัทวีวอง จากไต้หวัน ร้อยละ 30 กับ นายลี ยอง พัต นักธุรกิจกัมพูชา อีกร้อยละ 20
พร้อมกันนี้ กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลกัมพูชา ในการเช่าพื้นที่สัมปทานปลูกอ้อยเป็นจำนวน 20,000 เฮกตาร์ ระยะเวลาเช่า 90 ปี และได้รับสิทธิประโยชน์ "ยกเว้น" ค่าสัมปทานในระยะ 5 ปีแรกของการดำเนินกิจการด้วย "โรงงานน้ำตาลของเราที่เกาะกง คงจะเปิดหีบได้ในปี 2552 หรือหลังจากที่โรงงานน้ำตาลที่สะหวันนะเขตเปิดหีบไปแล้วได้ 1 ปี ขั้นต้นเราตั้งเป้าที่จะหีบอ้อยให้ได้ 5,000 ตัน/วัน" นายชลัชกล่าว
สำหรับเหตุผลที่กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น ไปลงทุนตั้งโรงงานน้ำตาลอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านนั้น นายชลัชกล่าวว่า ผลผลิตอ้อยในประเทศมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับรัฐบาลที่ผ่านๆ มามักจะส่งเสริมให้มีการปลูกยางพารา-ปาล์มน้ำมันมากกว่าอ้อย
ดังนั้นทางกลุ่มจึงตัดสินใจไปลงทุนส่งเสริม การปลูกอ้อยและตั้งโรงงานน้ำตาลในประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับค่าแรงก็ถูกกว่าแรงงานไทยมาก
แต่ที่สำคัญก็คือ น้ำตาลที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำตาลดิบ สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรปภายใต้สิทธิพิเศษทางการค้า เนื่องจาก สปป.ลาว/กัมพูชา จัดเป็นกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อย ส่วนน้ำตาลทรายขาว ที่เหลือก็จะจัดหน่ายภายในประเทศทั้ง 2 ซึ่งมีความต้องการน้ำตาลไม่มากนัก
ทั้งนี้ กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น หรือที่รู้จักกันอีกชื่อในนาม กลุ่มท่ามะกา ประกอบไปด้วย โรงงานน้ำตาล 4 แห่งคือ บริษัทน้ำตาลขอนแก่น, บริษัทน้ำตาลท่ามะกา, บริษัทโรงงานน้ำตาลนิวกรุงไทย และบริษัทน้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี ขณะที่กลุ่มน้ำตาลบ้านโป่ง ประกอบไปด้วย บริษัทน้ำตาลนครเพชร กับ บริษัทน้ำตาลบ้านโป่ง
ทำไมเขาปิดข่าว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 15, 2007 5:25 pm
โดย toon
วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3856 (3056)
ชลัช ชินธรรมมิตร์ เปิดเสรีอุตฯน้ำตาลคือ "ความคล่องตัว"
สัมภาษณ์
อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่ถูกจับตามอง หลังจากที่รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้ามาบริหารประเทศ ในข้อถกเถียงที่ว่า อุตสาหกรรมนี้สมควรที่จะเปิดเสรีหรือไม่ และคำว่า "เสรี" นั้น กินความหมายมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงปัญหาและอุปสรรค "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ นายชลัช ชินธรรมมิตร์ ในฐานะประธานคณะทำงานด้านพัฒนาอ้อยและพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาล
- อุปสรรคในการผลิตน้ำตาลให้มีคุณภาพดี
ความจริงแล้ว โรงงานน้ำตาลอยากหีบน้ำตาลคุณภาพดี แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่น ได้กำหนดค่าความหวาน หรือค่า Pol ในน้ำตาลดิบนำเข้า "ไม่เกิน" 98 ขณะที่ประเทศผู้นำเข้าอื่นๆ กำหนดค่า Pol "ไม่ต่ำกว่า" 98.5 นั้น หมายความว่า ถึงโรงงานน้ำตาลอยากจะผลิตน้ำตาลดิบที่มีคุณภาพดีมากเพียงไรก็ตาม แต่ในความเป็นจริงผลิตไม่ได้ เนื่องจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลดิบรายใหญ่ที่สุดของไทย มีการนำเข้าปีละไม่ต่ำกว่า 600,000 กระสอบ ใช้กลไกภาษีนำเข้าบังคับให้น้ำตาลดิบเข้าประเทศมีค่า Pol ไม่เกิน 98 หากเกินกว่านั้น จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง ขณะที่เราจำเป็นที่จะต้องรักษาตลาดส่งออกน้ำตาลดิบตลาดนี้เอาไว้ให้ได้ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพน้ำตาลก็เกิดขึ้นลำบาก
- กอน.พยายามจะกำหนดประสิทธิภาพโรงงาน
ใช่ กอน.เคยพยายามที่จะออกระเบียบกำหนดประสิทธิภาพในการหีบอ้อย (ร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพอ้อย อ้อยไฟไหม้ ความบริสุทธิ์ของอ้อย และกำหนดประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานน้ำตาล พ.ศ. ...) ด้วยการบังคับให้โรงงานน้ำตาลแต่ละโรงต้องผลิตน้ำตาลทรายไว้ที่ 90 กิโลกรัม ณ ค่าความหวานที่ 10 CCS จากอ้อยที่เข้าหีบในโรงงานทุกๆ 1 ตัน
แต่ตรงนี้ยังไม่มีความชัดเจน ความจริงโรงงานน้ำตาลส่วนใหญ่ก็หีบอ้อยเฉลี่ยทุก 1 ตันอ้อยที่ค่าความหวาน 10 CCS เกินกว่า 90 กิโลกรัมอยู่แล้ว แต่แน่นอนก็มีบางโรงงานยังทำได้ไม่ถึง ตรงนี้จะเป็นปัญหา และส่วนที่หีบเกินกว่า 90 กิโลกรัมนั้น จะให้ใคร กับประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น กอน.บอกว่า เป็นมาตรการจูงใจ ผมก็สงสัยว่า เอาทฤษฎีใดมาวัดว่าประสิทธิภาพต้องอยู่ที่ 90 กิโลกรัม
ความจริงทุกโรงงานอยากจะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตแทบทั้งสิ้น แต่หากระบบแบ่งปันผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมของเรายังเป็นแบบนี้ ก็ไม่มีใครอยากลงทุนเพิ่ม หนี้เก่าก็ยังมี เราเคยเสนอให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเข้ามาช่วยเหลือปล่อยกู้ในการปรับปรุงพัฒนาเครื่องจักร แต่ก็มาติดปัญหา กองทุนฯขาดสภาพคล่องอีก ล่าสุดเข้าใจว่า กอน.ชะลอการบังคับใช้เรื่องประสิทธิภาพในการหีบอ้อยของโรงงานน้ำตาลออกไปแล้ว
เรื่องเอทานอลแบ่งปันกันอย่างไร
โรงงานน้ำตาลถือเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ กติกาปัจจุบันกำหนดให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อย กับโรงงานน้ำตาล ในระบบ 70/30 การตั้งโรงงานเอทานอลโดยนำโมลาสที่ได้จากการหีบอ้อยมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต เอทานอลนั้น ถือเป็นการต่อยอดของโรงงานน้ำตาล ต้องเข้าใจว่าเราเป็นผู้ลงทุนตั้งโรงงาน เอทานอล เสร็จแล้วชาวไร่อ้อยก็ยังตามมาขอแบ่งปันผลประโยชน์จากเอทานอลอีก ซึ่งความจริงชาวไร่ได้แบ่งปันไปจากราคาโมลาสอยู่แล้ว
ปัจจุบันเราตกลงกันไว้ว่า จะใช้สูตรในการแบ่งปันด้วยการคำนวณปริมาณน้ำอ้อยไปสู่เอทานอล แล้วย้อนกลับมาเป็นน้ำตาลอีกครั้งหนึ่ง
- การเปิดเสรีอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาล
ที่ผ่านมาเรามีปัญหาเรื่องของกฎระเบียบถูกคุมอย่างเข้มงวดทุกขั้นตอน โรงงานน้ำตาลก็อึดอัด เราถูกคุมตั้งแต่อ้อยเข้าโรงงานไปจน กระทั่งถึงน้ำตาลทุกเม็ดที่หีบออกมา ชาวไร่/ส่วนราชการรับรู้ตลอด แต่พอน้ำตาลในประเทศขาดแคลน ก็มาโวยวายว่าโรงงานน้ำตาลกักตุน ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ เราจะกักตุนได้อย่างไรในเมื่อควบคุมทุกขั้นตอนอย่างนี้ น้ำตาลไปไหนใครๆ ก็รู้ สุดท้ายมาโทษโรงงานคนเดียว
อย่างการเปิดเสรีในอุตสาหกรรมน้ำตาลต้องทำ คำว่า "เสรี" ในความหมายของผมก็คือ ความคล่องตัว ทุกวันนี้ไม่มีความคล่องตัว ยกตัวอย่าง เรามีคณะกรรมการที่มีทั้งชาวไร่อ้อย-โรงงานน้ำตาล-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ถึง 5 ชุด ซึ่งความจริงแล้วไม่จำเป็นเลย เพราะทุกวันนี้พอมีปัญหาอะไรขึ้นมาในแต่ละชุดก็ตัด สินใจอะไรไม่ได้ กลับโยนทุกเรื่องกลับมาที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กันอีก แล้วผมถามว่า จะมีอีก 4 ชุดที่เหลือเอาไว้ทำไม
- เปิดเสรีแล้ว ต้องคุมราคาหรือไม่
จะปล่อยราคาน้ำตาลขึ้นลงอย่างเสรีในระยะแรกคงไม่ได้ ต้องมีช่วงเปลี่ยนผ่าน ผมคิดว่าจะต้องมีการกำหนดราคาน้ำตาลทรายในประเทศเป็นราคาขั้นสูงกับราคาขั้นต่ำเอาไว้ มีการประกาศราคาจำหน่ายเป็นคราวๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยราคานั้นจะคำนวณมาจากราคาส่งออกกับราคานำเข้า การประกาศ/บริหารในเรื่องราคาน้ำตาลทรายในประเทศจะต้องมีคนกลางที่ได้รับการยอมรับทั้งฝ่ายโรงงาน-ชาวไร่-ผู้บริโภค เข้ามาดูแล
ส่วนคำถามที่ว่า เมื่อปล่อยราคาน้ำตาลในประเทศแล้ว การตั้ง/ขยาย/ย้าย โรงงานน้ำตาล ยังจะถูกควบคุมหรือไม่นั้น ในประเด็นนี้ผมคิดว่าต้องทำให้เกิดความชัดเจนขึ้น ยกตัวอย่าง ถ้าจะย้ายโรงงานน้ำตาลไปที่อื่น จะต้องตั้งห่างจากโรงงานน้ำตาลเดิมกี่กิโล ผู้ย้ายจะต้องมีการลงทุนสนับสนุนการปลูกอ้อยในพื้นที่ที่จะย้ายไป ใครเข้าเกณฑ์ที่กำหนดก็ย้ายไปได้เลย แต่ปัจจุบันนี้ "ไม่" ลงทุนในการปลูกอ้อยไปแล้วก็ยังไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้ย้ายโรงงาน