หน้า 1 จากทั้งหมด 1

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 11:11 am
โดย ply33
ทำไมลงหนักจังครับ จากปีที่แล้วลงมาหนักตลอดเลย หรือว่าปีที่แล้วเป็น Peak แล้วครับ

SAT ลงมาเรื่อยๆจาก 16-17 บาท ลงมาเกิน 100% แล้วครับ
AH ก็ลงมาด้วยครับจาก 20 กว่า ลงมาประมาณ 20% กว่าแล้วครับ

ผู้รู้ช่วยบอกทีครับ หรือว่าอุตนี้จะไม่รอดแล้วครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 11:15 am
โดย Jeng
tru

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 12:49 pm
โดย สามัญชน
น่าจะเป็นจากอาการ "กลัว" ว่าญี่ปุ่นหรือชาติอื่นๆจะย้ายฐานอ่ะครับ

แต่ผมว่าคงไม่ย้ายง่ายๆ

stanly ก็ร่วงเยอะ  อาจจะเป็นโอกาสเก็บก็ได้ครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 2:16 pm
โดย ฐิติ
[quote="สามัญชน"]น่าจะเป็นจากอาการ "กลัว" ว่าญี่ปุ่นหรือชาติอื่นๆจะย้ายฐานอ่ะครับ

แต่ผมว่าคงไม่ย้ายง่ายๆ

stanly ก็ร่วงเยอะ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 2:26 pm
โดย triathlon
อ่านบทวิเคราะห์ของตรินิตี้ในเวบ settrade เห็นมองว่า SAT ต้องเพิ่มทุน แต่ราคาที่เหมาะสมก็ยัง 15 บาทอยู่ดี
อย่างนี้ ใช่จังหวะที่จะเข้าหรือเปล่าคะ ถ้ามองว่าจะมี dilution effect?

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 2:31 pm
โดย @DNA@
เพื่อผมได้มีโอกาสไปดูงานทั้งในจีน เวียดนาม อินโด ไม่ต้องกลัวว่าญี่ปุ่นจะย้ายฐานการผลิตง่ายๆ นะครับ เนื่องจากเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ครับ หอการค้าทุกที่ และหน่วยงานของแต่ละประเทศล้วนแต่พูดเหมือนกัน การลงทุนจากญี่ปุ่นที่เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านี้ก็เพื่อกระจายความเสี่ยงเท่านั้นครับ เนื่องจากเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ครับ คนพื้นที่ยังเกลียดและกลัวคนญี่ปุ่นอยู่ คนญึ่ปุ่นก็กลัวปัญหาที่จะตามมาครับเลยไม่กล้าทำอะไรจริงจัง มีพี่ไทยนี่แหละครับที่มีสัมพันธ์อันดีต่อกัน แม้แต่ภาพยนตร์ก็โกโบริ ไม่ได้มีภาพของการเกลียดญึ่ปุ่น หรือทุนญี่ปุ่น ญึ่ปุ่นไม่มีทางเลือกมากนัก ไทยนี่แหละครับดีสุดแล้ว

ถ้าจะกลัวให้กลัวรถยนต์จากค่ายอื่นๆ หรือรถยนต์จากจีนเอง(แต่คงอีกหลายปี)ดีกว่าครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 2:42 pm
โดย Frankie
triathlon เขียน:อ่านบทวิเคราะห์ของตรินิตี้ในเวบ settrade เห็นมองว่า SAT ต้องเพิ่มทุน แต่ราคาที่เหมาะสมก็ยัง 15 บาทอยู่ดี
อย่างนี้ ใช่จังหวะที่จะเข้าหรือเปล่าคะ ถ้ามองว่าจะมี dilution effect?
นอกเรื่องครับ
เขาชื่อ บล.ทรีนีตี้ ครับ  :wink:

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 2:55 pm
โดย Jeng
ทดลองเล่นเก็งกำไร ซื้อ 7.70 10000 หุ้น คริๆ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 2:56 pm
โดย Jeng
ไม่ได้ซื้อจริงๆนะ แค่ไม่ได้ดูกราฟ แล้วซื้อเลย

ดูว่าผิดหรือถูก เอาแบบเก็งกำไร 10 ครั้ง

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 4:25 pm
โดย ply33
[quote="ฐิติ"][quote="สามัญชน"]น่าจะเป็นจากอาการ "กลัว" ว่าญี่ปุ่นหรือชาติอื่นๆจะย้ายฐานอ่ะครับ

แต่ผมว่าคงไม่ย้ายง่ายๆ

stanly ก็ร่วงเยอะ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 6:53 pm
โดย @DNA@
สำหรับคนที่เป็นห่วงเรื่องการลงทุนจะไหลไปจีนหมดนะครับน่าจะสบายใจขึ้น
จาก the economist ครับ
China is choking on its success at attracting the world's factories. That has handed its Asian neighbours a big opportunity
Retna Pictures
AS A vote of confidence in Vietnam, the decision by Intel early in 2006 to spend $350m building a new factory in the emerging South-East Asian economy was hard to beat. And yet, before the year was out, the American chipmaker went further and raised its investment to $1 billion. In eight months Intel had committed as much money to Vietnam as it had to China in the previous ten years.

In the Johor region of Malaysia, another global firm, Flextronics, has fired up the production lines of a new M$400m ($110m) factory to make computer printers for another American firm, Hewlett-Packard. One of the largest contract electronics manufacturers, Flextronics already has vast facilities in China. But it chose Malaysia as the site for its latest investment.

Further east, in Indonesia, Yue Yuen, a Hong Kong-based shoemaker, has been ramping up its output of trainers and casual footwear for brands like Nike and Adidas. Production is increasing at the firm's factories in China and Vietnam too, but output in Indonesia is growing the fastest.

Although all three companies had different reasons for their decisions, the outcome was the same: they chose to avoid China's thundering economy in order to put their factories elsewhere in Asia. These companies are not alone. In the calculus of costs, risks, customers and logistics that goes into building global operations, an increasing number of firms are coming to the conclusion that China is not necessarily the best place to make things.

With its seemingly limitless supply of cheap labour and the rapid acquisition of technological prowess, China appears to be unstoppable. Indeed, the perception is that every factory closing in America or Europe is destined to reopen in China. Many have, helping China's share of the world's exported goods to triple to 7.3% between 1993 and 2005. In comparison, every member of the G8 group of rich nations, with the exception of Russia, saw its share fall. It is a similar story with manufacturing output. Whereas China doubled its share of global production to almost 7% in the decade to 2003, most of the G8 saw their shares fall. Interestingly, only the United States and Canada saw their shares risewith just over a quarter between them. Most things nowadays might seem to be made in China, but North America remains the true workshop of the world.

Yet it is not only China that is booming as a base for low-cost production. Manufacturing and exports are growing rapidly in other parts of Asia (see chart 1). Taken together, South Korea, Taiwan, India and the Association of South-East Asian Nations (ASEAN) increased their share of global manufacturing from less than 7% to more than 9% in the decade to 2003. Exports also rose across the board. China is the emerging giant, but the investments that are being diverted away from the Middle Kingdom present the rest of Asia with a huge opportunity to become manufacturing hubs in their own right. The question is whether they can seize it.

Too far, too expensive
Scott Brixen, an analyst at CLSA Asia-Pacific Markets, a Hong Kong-based investment bank, gives two big reasons why China has not found itself at the top of the list for some new factories: Rising costs and a natural desire by companies for diversification.

So far, most industrial development in China has taken place in the country's eastern coastal regions, particularly around Shanghai and the Pearl River Delta near Hong Kong. But costs in these centres are now rising sharply. Office rents are soaring, industrial land is in short supply and utility costs are climbing. Most significant of all are rocketing wages. In spite of the mass migration of workers from China's vast interior to the coast, pay for factory workers has been rising at double-digit rates for several years. For managers, the situation is worse still.

China has become a victim of its own success, sighs Peter Tan, president and managing director of Flextronics in Asia. He finds it especially hard to hire and retain technical staff, ranging from finance directors to managers versed in international production techniques such as six sigma and lean manufacturing. There are not enough qualified workers to go around, causing rampant poaching and extremely fast wage inflation. China is definitely not the cheapest place to produce any more, he says.

An analysis of labour rates across Asia by CLSA's Mr Brixen supports that view. Average wages for a factory worker, combined with social security costs, came to almost $350 a month in Shanghai in 2005 and almost $250 a month in Shenzhen. By comparison, monthly wages were less than $200 in Manila, around $150 in Bangkok and just over $100 in Batam in Indonesia. Although the productivity of Chinese workers is rising, in many industries it is not keeping pace with wages.

One solution is for companies to move inland where many costs are much lower than on China's heavily developed coastline. Indeed, the government has been promoting such a policy since 2000, to spread the benefits of development to China's poor interior. Domestic Chinese companies have led the charge into the hinterland and a small, but growing, number of foreign firms have followed them.

Intel is one. In 2004 it decided to invest $525m in a new plant in Chengdu, the capital of Sichuan province, to complement its existing factories on the coast in Shanghai, 1,600km (994 miles) away. Brian Krzanich, general manager of Intel's test and assembly business, says the company's decision was based on cost. The government was keen to promote its go west policy, so it offered Intel generous incentives. Needless to say, being so far inland raises transport costs for exporters. But Mr Krzanich reckons there are compensations, because labour and utilities are much cheaper than on the coast.

But not everyone is convinced. At Flextronics, Mr Tan's China factories are all located in eastern coastal provinces. We have no interest in going west, he says, because it is too expensive to get products to America and Europe from there. Other observers add that the shortage of management talent inland is even greater than on the coast. And it is not easy persuading expatriate workers to take their families to places like Chongqing and Chengdu, where foreign companions and international schools are thin on the ground. So many firms decide they would rather invest elsewhere in Asia.

Costs are only part of the equation. Just as important is diversification. Having already moved a big chunk of their production to China, many firms are reluctant to put any more of their eggs in the same basket. A research report written last year by the Japan External Trade Organisation concluded: Due to the country's increasing business risks and rising labour costs...Japanese firms employing a China-plus-one strategyin which they invest in China and another country, namely in ASEANshould consider placing more emphasis on the plus one country.

Japanese companies may be particularly wary, but such nervousness is now shared by managers from other countries. Some of their firms are concerned about growing unrest in China as swathes of the country's rural population, particularly in the west, fall behind the thriving east. Official figures record 87,000 incidences of rioting and social disturbance in 2005, much of it following the forced appropriation of farmers' land in the name of development. The actual number of cases of civil unrest could be far larger.

Equally important are concerns about growing protectionism. The United States and the European Union are becoming more assertive in holding China to account over its World Trade Organisation obligations. Companies worry that this could lead to sudden interruptions to trade.

Ask Yue Yuen, the world's largest contract shoe manufacturer. The company produces more than 180m shoes a year from factories in China, Vietnam and Indonesia, most of them bound for America and Europe. So when the European Union imposed anti-dumping duties in October 2006 on leather shoes imported from China and Vietnam, the firm was quick to raise its production in Indonesia. Trade relations with other nations and the tariff and quota situation are vital considerations for where we invest, says Terry Ip, a spokesman for the company.

So too are wage rates. With each shoe passing through up to 200 pairs of hands on the production line, Yue Yuen's operations are highly labour-intensive. In China the firm is experiencing rapid wage inflation. Although this is partly offset by productivity improvements which mean that overall unit labour costs are rising by 8% a year. Pay for factory workers is rising in Vietnam and Indonesia too, notes Mr Ip, but labour costs there are as much as 35% lower than in coastal China.

Another company with a China-plus-one strategy is Uniqlo, a Japanese clothing retailer. Last year it decided to reduce the share of clothes it sources in China from 90% to 60% as a hedging strategy against future trade disputes. New factories in Cambodia and Vietnam will make up the shortfall. Intel, with facilities in Vietnam, the Philippines, Malaysia and China, is creating a diversified portfolio also.

Keeping secrets
China also has other risks, notably a lack of protection for intellectual property rights. Stories abound of foreign investors finding local companies churning out identical goods to their own, but under a different brand. For that reason a number of companies in industries such as medical devices have instead set up shop in Singapore. Often these products are capital-intensive, so labour costs are less important than strong intellectual property laws. Several chemical companies have even built facilities in Singapore with the intention of shipping most of their products to China. Feedstock is more easily available in Singapore, but just as important is confidence that valuable industrial processes will not be stolen.

Managers also worry about the rising value of the Chinese currency. Although nobody expects sudden leaps, the yuan does appear to be on a steadily upward trajectory, having risen by a further 4% against the dollar since the government first revalued the currency by 2.1% in July 2005. Pundits expect it will continue to rise by around 5% in the year ahead, which will do little to bolster China's attractiveness for export-based manufacturing.

Of course, cost and risk are not the only considerations in choosing where to put a factory. The quality of a country's infrastructure, the presence of suppliers and the size of the local market all count. For such reasons, China will remain an attractive place to invest.

Kumar Bhattacharyya, a professor of manufacturing at Britain's University of Warwick, believes the lure of China's burgeoning domestic market will outweigh the various concerns over cost. Why do people go to India and China? The standard answer is for cheap labour, but most big technology companies go there for the market, he says.

Naturally, industries such as textiles and clothing will always seek places with cheap labour, hopping from country to country as wages rise and equalise. However, for more complex and capital-intensive manufacturing, it is clear that foreign direct-investment flows are aimed at accessing local markets rather than low costs.

In emerging Asia markets simply do not come any bigger than China, with its 1.3 billion people. Individual wealth is still extremely low compared with figures for the United States and Europe, but a vibrant middle class is emerging in the big cities. With growth rates of more than 10% a year, China offers huge potential. Transport and other infrastructure in China is also in better shape than many other Asian countries and the quality and availability of suppliers is improving all the time, enabling highly integrated supply chains to develop within the country.

Yet other parts of Asia also offer sizeable markets. India has 1.1 billion people, an emerging middle class of its own and will grow at around 8% this year, although the country is a good deal poorer than China. To date, foreign investment in manufacturing has been limitedtotal investment inflows in 2005 amounted to a meagre $7 billion, compared with more than $70 billion for China (see chart 2). Hugely inadequate infrastructure is one of the chief obstacles in India, as is a business climate famous for its bureaucracy. Yet even there, more foreign companies are starting to open factories.

Manufacturing graduates
The car-parts industry is a good example, with both Toyota and Hyundai investing recently to take advantage of the almost 700,000 engineering and science graduates that India produces every year. It has even been suggested that Indian technicians could re-engineer some of the West's highly automated car-production lines to make them more labour-intensive for the Indian market. Firms making specialty chemicals are keen to combine technical expertise with low costs and a growing market. Even low-technology industries are interested: Yue Yuen is close to building its first shoe factory in India, attracted not only by the country's vast pool of cheap workers but also by efforts to set up special economic zones that offer tax breaks.

Most observers reckon India's manufacturing evolution is ten years behind China's, but progress is unlikely to be as swift or as smooth. A country that puts a higher value than China does on democracy and the rights of the individual will inevitably find it harder to push through infrastructure projects and reform to sensitive areas such as the rigid labour market.

With 560m people, the ASEAN trade bloc also offers a big population. South-East Asia has been the chief beneficiary of companies' decisions to diversify out of China. The problem is that the ten ASEAN nations have yet to form a single market. Although the region offers plenty of opportunity for export-based manufacturing, as a single market it remains highly fragmented. Companies want to be able to set up one factory to serve the whole region, but numerous barriers prevent them from doing so.

Governments in the region have announced bold plans to create the ASEAN Economic Community by 2015, with a free flow of goods, services and investment. Following a free-trade agreement in 1992, tariffs on the majority of goods traded in the region have fallen below 5%. Much harder to achieve will be the removal of non-tariff barriers, which would call for harmonising thousands of industry standards and customs regulations, and setting up independent bodies to govern regional trade and mediate in disputes.

Few believe that the ASEAN Economic Community will come about as its architects hope. Less developed nations, such as Myanmar and Laos, will integrate at a slower pace than countries like Singapore and Malaysiaif they integrate at all. Nonetheless, progress is being made and the rapid rise of China and India has added urgency to the process. Twelve areas, including electronics, health care, textiles and logistics, have been singled out as the first to be worked on.

AFP

Trainers to peddle harderIn the meantime, governments must also think how to get their industries into higher-value manufacturing. Although ASEAN received record levels of foreign direct investment in 2005, at $37 billion, much of the manufacturing coming into the region is basic, labour-intensive assembly work that adds only a little value.

I get worried about ASEAN, says Roland Villinger, a Bangkok-based partner at McKinsey, a consulting firm. He thinks the region urgently needs to add to the sophistication of its manufacturingpartly because India and China are improving so fast. He agrees that a lot of factories in ASEAN are part of a China-plus-one or plus-two strategy. However, he believes South-East Asia needs to be more than just a hedge against risk in China. And ASEAN has its own share of risks. Thailand's new military government seems to be doing its utmost to deter investment, including tighter curbs on foreign ownership and botched currency controls.

Smart but tiny
Bright spots do stand out. Singapore has a highly educated workforce, although its population is only about 4m. The country has a solid history of attracting sophisticated manufacturing that calls for strong technical skills and often involves extensive research and development. Malaysia too has had some success in moving into higher-value manufacturing. In May last year, for example, Intel opened a new research centre in Kulim employing 900 people to design microprocessors, chipsets and motherboards for use in its products worldwide. And in Thailand efforts to make the country the Detroit of the East are starting to pay dividendsat least they were until the present troubles. Thailand was set to overtake the United States last year as the world's largest maker of one-tonne pick-up trucks. Toyota recently set up a new research-and-development centre in Thailand for its light truck business.

Elsewhere in the region, though, governments talk a good game, but have yet to make enough progress. For the moment, as foreign investors choke on their China investments and look elsewhere, that does not matter too much. But as India sorts out its problems and as China grows into an ever bigger market, South-East Asia needs to integrate its own markets or see its newly found popularity among manufacturers slowly fade.
สำหรับคนที่ขี้เกียจอ่านนะครับ สรุปได้ว่าจีนไม่ได้ได้เปรียบค่าแรงอะไรมากมายนะครับ ตอนนี้ตามเมืองใหญ่ค่าแรงก็แพงกว่าไทยแล้ว สำหรับเมืองทางตะวันตก ค่าขนส่งไม่คุ้มและหลายอุตสาหกรรมไม่ได้ต้องการแค่ค่าแรงถูก ธุรกิจก็ไม่ได้คิดว่าจะเอาไข่ไปใส่ไว้ในตระกร้าจีนใบเดียว ประเทศที่เขาจะต้องลงทุนคู่ขนานไปด้วย มีแค่อินเดีย และอาเซียนครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 6:55 pm
โดย @DNA@
ลืมไปครับ

เผื่อใครอยากอ่านต้นฉบับจริง

อ้างอิงครับ
http://www.economist.com/displayStory.c ... id=8515811

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 7:10 pm
โดย สุมาอี้
จีนใช้วิธีกู้เงินต่างประเทศมาสร้างถนนตัดลึกเข้าไปในทวีปครับ เมื่อตัดถนนไปถึงเมืองไหน นักลงทุนก็จะตามไปสร้างโรงงานเพราะค่าแรงของคนที่ถนนเพิ่งตัดไปถึงจะถูกมาก สักพักเมื่อคนในเมืองนั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นค่าแรงก็จะแพงขึ้น รัฐบาลก็จะตัดถนนให้ลึกเข้าไปอีกในทวีปอีกเพื่อไปหาแหล่งแรงงานที่ถูกกว่า ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ประมาณกันว่าจีนยังใช้วิธีนี้ในการทำให้ค่าแรงถูกได้อีกอย่างน้อย 20 ปี แค่เสฉวนมณฑลเดียวก็มีประชากรเป็นร้อยล้านแล้ว และยังจนอยู่มาก

ไม่รู้ว่าทำไมคนเขียนบทความนี้จึงพูดถึงเมืองอย่างเซี่ยงไฮ้เวลาพูดถึงเรื่องค่าแรงคนงานโรงงาน เซี่ยงไฮ้เป็นนครใหญ่ ไม่ใช่ที่ตั้งของโรงงานค่าแรงย่อมสูง (สูงกว่ากรุงเทพเสียอีก) เซี่ยงไฮ้กำลังถูกพัฒนาให้เป็นเมื่องที่คนใช้หัวคิดเป็นหลัก เป็นธุรกิจออกแบบเสื้อผ้า ส่วนโรงงานทอผ้าถูกย้ายออกไปยังเมื่องชนบท

เมืองอุตสาหกรรมจริงๆ คือพวกที่อยู่ลึกไปในทวีป ค่าแรงยังถูกกว่าไทยมากเลยครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 7:28 pm
โดย Capo
การที่เขตอุตสาหกรรมอยู่ลึกเข้าไปประเทศมากขึ้น ๆ
น่าจะทำให้ค่าขนส่งแพงขึ้นหรือเปล่าครับ

หรือว่าค่าขนส่งส่วนที่สูงขึ้น ยังมีมูลค่าน้อยกว่าค่าแรงที่ถูกลงครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 7:53 pm
โดย สุมาอี้
วันก่อนดูกบนอกกะลา Again เรื่อง วิกผม

ตลาดใหญ่ของวิกผมอยู่ที่ญี่ปุ่นครับ คนญี่ปุ่นอายเรื่องหัวล้าน

เส้นผมมาจากประเทศจีน

แต่โรงงานถักผมอยู่ที่ประเทศไทย

เส้นผมจากจีนถูกขนส่งมายังโรงงานถักผมที่เมืองไทยแล้ววิกผมก็ถูกส่งไปขายที่ญี่ปุ่น

ถ้าวิ่งไปวิ่งมาขนาดนี้ยังถูกกว่าทำอยู่อย่างในที่เดียวแสดงว่าค่าขนส่งคงจิ๊บจ๊อยนะครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับขนาด น้ำหนัก และมูลค่าของสินค้าแต่ละชนิดด้วย

ผมว่าโรงถักผมที่เมืองไทยสู้จีนได้แน่ๆ เพราะงานถักผมเป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความปราณีตมาก ตรงนี้คนจีนสู้คนไทยไม่ได้หรอก

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 8:42 pm
โดย Capo
ขอบคุณครับพี่  :bow:

เรื่องความประณีตของชาวน้ำ
เคยตั้งคำถามเหมือนกันว่า ฤาเราจะถูกออกแบบมาให้เป็นเช่นนี้ ???

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 9:05 pm
โดย กระบี่อยู่ที่ใจ
ผมว่าการย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นคงไม่น่าจะเกิดขึ้น
แต่กลุ่มที่จะมาลงทุนใหม่คงไม่มาแล้วตอนนี้
นอกเสียจาก รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง จะมี
นโยบายส่งเสริมเหมือนที่ผ่านมา และต้องส่งเสริมให้
จริงจังกว่าเดิมด้วย ไม่ใช่เป็นได้แค่รับจ้างผลิตอย่างเดียว

ว่าแต่การเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะมาถึง เราจะเลือกใครดีล่ะ :?:
_________________
จงอย่าพึ่งเชื่อในสิ่งที่เห็น

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 27, 2007 12:15 am
โดย somchai88
ส่งออกเยอะนะครับ กลุ่มนี้

ค่าเงินยิ่งแข็ง  ก็ยิ่งแย่

เงินอ่อนลงเมื่อไหร่ก็น่าจะกลับมาได้ครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 28, 2007 11:36 am
โดย @DNA@

สุมาอี้ Posted: Fri Jan 26, 2007 7:10 pm    Post subject:  

--------------------------------------------------------------------------------

จีนใช้วิธีกู้เงินต่างประเทศมาสร้างถนนตัดลึกเข้าไปในทวีปครับ เมื่อตัดถนนไปถึงเมืองไหน นักลงทุนก็จะตามไปสร้างโรงงานเพราะค่าแรงของคนที่ถนนเพิ่งตัดไปถึงจะถูกมาก สักพักเมื่อคนในเมืองนั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นค่าแรงก็จะแพงขึ้น รัฐบาลก็จะตัดถนนให้ลึกเข้าไปอีกในทวีปอีกเพื่อไปหาแหล่งแรงงานที่ถูกกว่า ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ประมาณกันว่าจีนยังใช้วิธีนี้ในการทำให้ค่าแรงถูกได้อีกอย่างน้อย 20 ปี แค่เสฉวนมณฑลเดียวก็มีประชากรเป็นร้อยล้านแล้ว และยังจนอยู่มาก

ไม่รู้ว่าทำไมคนเขียนบทความนี้จึงพูดถึงเมืองอย่างเซี่ยงไฮ้เวลาพูดถึงเรื่องค่าแรงคนงานโรงงาน เซี่ยงไฮ้เป็นนครใหญ่ ไม่ใช่ที่ตั้งของโรงงานค่าแรงย่อมสูง (สูงกว่ากรุงเทพเสียอีก) เซี่ยงไฮ้กำลังถูกพัฒนาให้เป็นเมื่องที่คนใช้หัวคิดเป็นหลัก เป็นธุรกิจออกแบบเสื้อผ้า ส่วนโรงงานทอผ้าถูกย้ายออกไปยังเมื่องชนบท

เมืองอุตสาหกรรมจริงๆ คือพวกที่อยู่ลึกไปในทวีป ค่าแรงยังถูกกว่าไทยมากเลยครับ
สุมาอี้ Posted: Fri Jan 26, 2007 7:53 pm    Post subject:  

--------------------------------------------------------------------------------

วันก่อนดูกบนอกกะลา Again เรื่อง วิกผม

ตลาดใหญ่ของวิกผมอยู่ที่ญี่ปุ่นครับ คนญี่ปุ่นอายเรื่องหัวล้าน

เส้นผมมาจากประเทศจีน

แต่โรงงานถักผมอยู่ที่ประเทศไทย

เส้นผมจากจีนถูกขนส่งมายังโรงงานถักผมที่เมืองไทยแล้ววิกผมก็ถูกส่งไปขายที่ญี่ปุ่น

ถ้าวิ่งไปวิ่งมาขนาดนี้ยังถูกกว่าทำอยู่อย่างในที่เดียวแสดงว่าค่าขนส่งคงจิ๊บจ๊อยนะครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับขนาด น้ำหนัก และมูลค่าของสินค้าแต่ละชนิดด้วย

ผมว่าโรงถักผมที่เมืองไทยสู้จีนได้แน่ๆ เพราะงานถักผมเป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความปราณีตมาก ตรงนี้คนจีนสู้คนไทยไม่ได้หรอก
ขอแสดงความเห็นแลกเปลี่ยนนะครับ ถึงมุมมองที่แตกต่างจากคุณสุมาอี้ ลองพิจารณานะครับ ว่าค่าแรงไว้ใช้อย่างเดียวที่ธุรกิจพิจารณาจากตัวอย่างที่คุณสุมาอี้ยกขึ้นมาก็ค่อนข้างชัดเจนว่า วิกผมทำไมต้องขนวัตถุดิบมาทำที่ไทยทั้งที่ประเทศจีนค่าแรงถูกกว่ามาก โดยเฉพาะพื้นที่ด้านใน

เรื่องของการเลือก location ของธุรกิจ เท่าที่ผมมีความเข้าใจนะครับ ค่าขนส่งมีบทบาทพอสมควรขึ้นกับว่าจะชดเชยส่วนต่างของค่าแรง และต้นทุนด้านอื่นๆ ได้หรือไม่

การเลือก location จะสัมพันธ์กับสัดส่วนของต้นทุนค่าขนส่งคิดเป็นกี่ % ของต้นทุนทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีเรื่องของกระบวนการผลิตที่ได้สินค้าขึ้นมาว่าจะเป็นลักษณะน้ำหนักเพิ่ม หรือน้ำหนักลด สินค้าบางชนิดหากไม่ผ่านกระบวนการผลิตการค้นย้ายวัตถุดิบจะมีต้นทุนมหาศาล เช่นทองคำก็ที่จะแยกแร่ทองออกจากกรวดหินดินทราย การขนดินทั้งล็อตจะแพงมาก โรงถลุงทองจึงต้องตั้งอยู่ในทำเลที่วัตถุดิบอยู่ หรืออย่างการแปรรูปสินค้าเกษตรหากมีการเคลื่อนย้ายไกลจะทำให้คุณภาพของวัตถุดิบลดลงได้ แต่บางชนิดหลังจากผลิตแล้วค่าขนส่งจะเพิ่มขึ้นมากตัวอย่างเช่นเฟนนิเจอร์สำเร็จรูป เราจะพบรูปแบบให้เราไปประกอบขึ้นใหม่เอง พวกโรงกลั่นปิโตรเคมีก็เป็นอีกตัวอย่างเพราะเวลาที่ทำการกลั่นเสร็จแล้ว ผลผลิตจะได้หลายรูปแบบ บางแบบการค้นย้ายจะมีต้นทุนสูง สู้ไปตั้งใกล้แหล่ง demand หรือในเส้นทางที่สะดวกต่อการขนส่งไม่ได้ และแบบสุดท้ายค่าขนส่งแทบจะไม่มีความสำคัญเลยดังนั้นทำเลไม่สำคัญ ที่ไหนก็ได้ที่ค่าแรงถูก เพราะการขนส่งไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน เช่น พวกสิ่งทอ

สำหรับรถยนต์ ผมเข้าใจว่าเป็นประเด็นที่สอง เพราะหลังจากประกอบเสร็จต้นทุนบางอย่างจะสูงขึ้นมาก (เราเอารถยนต์วางซ้อนกันไม่ได้) หรือแม้แต่ชิ้นส่วนรถยนต์การขนส่งก็ทำได้ลำบาก นอกจากนี้จำนวนชิ้นส่วนที่มากก็มีความจำเป็นที่ต้องวางแผน logistic การที่อยู่ลึกเข้าไปในผืนทวีป 2 วัน หากไม่มี supplier ชิ้นส่วนพวก การวางแผนการผลิตเพื่อให้ได้ต้นทุนถูก ทุกชิ้นส่วนจะติดปัญหาล่าช้าลงซึ่งถือเป็นต้นทุนทั้งสิ้นและยังต้องขนออกมาให้ถึงทะเลอีก ดังนั้นหากตั้งใจจะผลิตเพื่อส่งออกจริง ต้องพยายามเอาใกล้น้ำที่สุดเพราะการขนส่งทางน้ำถือว่าต้นทุนต่ำสุด แม้มีถนนค่าขนส่งก็ลดลงไม่ได้มากหรอกครับ สุดท้ายก็ต้องขนออกมาให้ถึงทะเล (สังเกตดูนะครับทำไม่นิคมที่ได้รับความนิยมในบ้านเราเกือบทั้งหมดต้องใกล้ทะเลใช้เวลาเดินทางไม่กี่ชั่วโมง) ส่วนนิคมที่เข้าไปในผืนแผ่นดินกลับไม่ค่อยได้รับความนิยมทั้งที่ด้านในค่าแรงถูกกว่ายกเว้นพวกที่มีลักษณะสินค้าแบบประเภทแรก

การเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนของรัฐน้อยมาก ที่เกิดเพราะเหมาะสมมากกว่า ส่วนรัฐอาศัยแค่ว่าอุตสาหกรรมพวกนั้นต้องเกิดอยู่แล้วขอพ่วงเป็นผลงานไปด้วย ไทยเราโชคดีที่มี location ดีสุด ถ้าผมจำไม่ผิดเคยมีการวิเคราะห์ถ้าเราเปิดเขตการค้าเสรี AFTA เต็มรูปแบบอุตสาหกรรมหลักเพื่อส่งออกของ asean จะเป็น อุตสาหกรรมรถยนต์โดยมีประเทศสมาชิกอื่นเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วน และมีไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต (เสียดายที่ asean เรายังกั๊กกันไปกั๊กกันมาอยู่ การเปิดเสรีล้วนแต่มีเงื่อนไขระหว่างกันเต็มไปหมด แต่ถึงกระนั้นก็ยังสร้างความฮือฮาได้มาก)

ส่วนจีนถ้าจะมีการตั้งโรงงานการผลิตจริงก็เพื่อสนองความต้องการในประเทศโดยเฉพาะเมื่อคนจีนจำเป็นต้องใช้รถยนต์เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในพื้นทวีป ดังนั้นแม้จะมีการตั้งโรงงานในจีนก็ไม่ได้แย่งตลาดกันครับ เพราะลักษณะที่ตั้งจีนไม่ได้ยกเว้นอนาคตจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีเรื่องการขนส่งมากกว่านี้จนลักษณะของอุตสาหกรรมรถยนต์มีความแตกต่างไปจากปัจจุบันที่เป็นอยู่

ประเด็นสุดท้ายก็คือค่าแรงไม่ใช่คำตอบทั้งหมด ทักษะแรงงาน กฏหมายที่คุ้มครองเรื่อง Property right ล้วนแต่เป็นเรื่องที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนทั้งสิ้น หากพื้นที่ชายฝั่งทะเลของจีนหมดไปและจีนยังไม่ยอมให้มีการอพยพของแรงงานได้ ผมว่าธุรกิจประเภทที่ 2 คงต้องคิดหนักขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ในพื้นที่เข้าไปในแผ่นดินของจีนยังมีคนจนอยู่มากค่าแรงถูกนั้น ทักษะของแรงงานหรือคนจนเหล่านั้นเพียงพอหรือไม่ เพราะขนาดเราที่มีทำเลเหมาะสมกว่าจะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ มาสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ การเปลี่ยนแปลงทักษะแรงงานยังกินเวลาเกินกว่า 30 ปี นอกจากนี้เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของบริษัท Nikon ยังได้เล่าให้ผมฟังว่า Nikon ตั้งใจที่จะลดขนาดของโรงงานในจีนลง หรือไม่ก็เลือกที่จะผลิตสินค้าที่เป็นสินค้าโหลๆ พื้นๆ เนื่องจากบริษัทเคยผลิตกล้องรุ่นใหม่เตรียมที่จะออกจำหน่ายในตลาด แต่ปรากฏว่าก่อนวันเปิดตัวสินค้า บริษัทท้องถิ่นกลับมีสินค้าที่มีลักษณะแทบจะเหมือน Nikon ทุกประการแต่ติดเป็นชื่อยี่ห้อของตัวเองวางอยู่ในท้องตลาดก่อนหน้า Nikon เป็นสัปดาห์ ปัญหาเรื่องการหานายญึ่ปุ่นที่จะเข้าไปดูการผลิตและการจัดการชั้นสูงที่ยอมไปอยู่ในจีนหายากมากครับ ไม่เหมือนที่ไทยนายญี่ปุ่นตีกลอฟทุกวัน เรื่องของการคอร์รัปชั่นจีนก็ยังมีปัญหาอีกมาก ผมเคยอ่านพบในบทความของอาจารย์ผาสุก เรื่องอำนาจลึกลับกว่าทุน เชื่อไหมครับว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เกือบจะตายแล้วของไทยกลับกับมาใหม่ (มีบางเจ้าย้ายฐานมาจากจีนด้วยซ้ำ) โดยมีชาวไต้หวันเป็นเจ้าของโรงงาน โดยโรงงานพวกนี้จะตั้งอยู่ตามจังหวัดชายแดนของไทย เพื่อใช้แรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า เขมร แล้วทำไมประเทศพวกนี้ถึงไม่ตั้งในประเทศเพื่อนบ้านเรา และบางรายทำไมย้ายกลับจากจีน คำตอบก็คือประเทศเหล่านี้มีการคอร์รัปชั่นที่จะต้องจ่ายมากและยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิเท่าที่ควร แต่ไม่ใช่เพราะเราไม่มีการคอร์ปรัปชั่นนะครับ แต่เพราะของเรามีการคอร์ปรัปชั่นที่เป็นระบบกว่า คือ วิวัฒนาการของเราในเรื่องนี้ดีกว่าไม่ยุ่งยาก จะมีนายหน้ามาติดต่อวิ่งให้ จ่ายตั้งแต่หัวขบวน (มี one-stop service ของการคอร์ปรัปชั่นครับ)

วิวัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ ผมยังไม่เคยเห็นประเทศไหนพัฒนาแล้วไม่เคยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ถ้าค่าแรงเป็นคำตอบสุดท้ายจริง ทำไมโรงงานของเราจึงตั้งอยู่ในไม่กี่พื้นที่ ทำไมค่าในต่างจังหวัดของเราที่ยังถูกอยู่ทั้งที่ถนนก็ตัดไปทั่วแล้ว จีนจะเดินไปได้แค่ไหนน่าสนใจนะครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 28, 2007 1:30 pm
โดย คนเรือ VI
วันก่อนนั่งคุยเล่นๆกะแม่ผมครับว่าจริงการเกิดของ เวียตนามที่มีประชากรมากกว่า 80 ล้านและ ครึ่งหนึ่งเป็นคนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีนี่น่าจะเป้นประโยชน์สำหรับเมืองไทยในแง่ ตลาด และแรงงาน ถ้าเราขยับตัวเร็วกว่าเค้า เพราะเท่าที่สัมผัสมาแรงงานระดับล่างเวียตนามมี skills และ discipline มากกว่าแรงงานไทย ถ้าเราอาศัยแรงงานเหล่านี้โดยที่มีค่าแรงสูงกว่าน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า

ปัจจุบันมีชุมชนคนเวียตนามอยู่แล้วในเมืองไทย บางจังหวัดในอีสานแทบจะครองธุรกิจหลักๆไว้หมดเลยด้วยซ้ำ

แล้วการที่จีนเข้าลึกไปเรื่อยๆในทวีป จะทำให้ประเทศไทยอาจจะได้ประโยชน์จากการขนส่งลงใต้ออกทางอ่าวไทยแล้วออกไปมหาสมุทรอินเดียถ้าเราขยับตัวเร็วและเพิ่มศักยภาพด้านนี้ เหมือนเรื่องท่อก๊าซจากอ่าวไทยขึ้นเหนือไปจีน เราได้ประโยชน์ทั้งนั้นครับ ตรงนี้ต้องเป็นนโยบายรัฐ และเป้น mega project อันนึงครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 28, 2007 1:34 pm
โดย คนเรือ VI
โดยโรงงานพวกนี้จะตั้งอยู่ตามจังหวัดชายแดนของไทย เพื่อใช้แรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า เขมร


เพื่อนผมคนนึงมีโรงงานเสื้อผ้าที่เชียงรายครับ ตอนแรกก็งงอยู่เหมือนกันครับว่ามันไปตั้งทำไมที่เชียงราย เสื้อบางยี่ห้อที่ผมซื้อเริ่มมี made in laos แล้วนะครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 31, 2007 1:10 pm
โดย nanakorn
ข่าวที่เกี่ยวข้องครับ

http://www.bloomberg.com/apps/news?pid= ... refer=home
Ford May Scrap Up to $1 Billion of New Thailand Investments

By Margo Towie

Jan. 31 (Bloomberg) -- Ford Motor Co., the world's third- largest carmaker, may scrap as much as $1 billion of planned investment in Thai factories after the nation's military-backed government imposed currency and foreign-investment curbs.

``These things make it extremely difficult to do business in a globally competitive environment,'' Steve Biegun, Ford's Washington-based vice president for international government affairs, said yesterday in an interview in Bangkok, where he met leaders including the Prime Minister. ``What we need in our business is predictability.''

Thailand's military seized control in September and installed a government that imposed currency controls and new foreign-ownership laws, shaking investor confidence. A group representing Pfizer Inc. and other drug companies last week said members may cut spending after the Thai government pledged to force them to surrender patents so it can make cheaper medicines.

``Thailand's potential for economic growth and investment liberalization has definitely taken a knocking,'' said Kim Eng Tan, an analyst at Standard & Poor's in Singapore. ``We are seeing an increase in policy risk that may deter investors.''

S&P last week kept the outlook on Thailand's BBB+ rating stable, which means it's inclined to leave the ranking unchanged. The rating is the third-lowest investment grade.

Top 20 Investors

Ford, among Thailand's top 20 foreign companies with about $1 billion already invested, is reviewing plans to build a new plant in the nation with capacity for 150,000 cars and extend existing output by an additional 24,000 vehicles at a 176,000- unit factory it operates with Mazda Motor Corp.

The coup and the measures taken by the government ``have generated a sense of turmoil,'' Biegun said. ``We came to discuss with government very specifically the policies surrounding the auto industry and what should be the expectations of a potential investor.''

Ford will decide where to invest the earmarked $1 billion in ``the first half of this year,'' Biegun said, citing China and India as alternative investment destinations. Ford wants to make sure that Thailand will remain ``a stable place to do business.''

``So far the government is moving in a direction that could keep things together, but they have a monumental task ahead of them,'' said Biegun. Dearborn, Michigan-based Ford, which ranks No. 5 in Thailand in sales, last week reported a record $12.75 billion full-year loss.

Generic Drugs

The Pharmaceutical Research and Manufacturers' Association, which has representatives of Pfizer, GlaxoSmithKline Plc and Novartis AG on the board, said it will assess proposed laws after the Thai health ministry said it planned to force companies to relinquish patents for heart and HIV drugs to cut drug costs because of Thailand's ``limited budget.''

``Forcefully taking property rights simply because of a ministry's budget shortfalls is internationally unprecedented,'' Teera Chakajnarodom, president of the trade group said yesterday. ``We have no objections to generics -- but don't take patented products and allow other companies to copy them.''

``There is a misunderstanding that this government is protectionist and doesn't want foreign investment,'' Thailand's Finance Minister Pridiyathorn Devakula said today. ``I want to repeat again that all the measures are to help domestic businesses be able to compete.''

Thailand's central bank triggered a slump in stocks, bonds and the currency in December when it required local banks to withhold 30 percent of new foreign funds and penalized investments of less than a year. The controls aimed to slow gains in the baht after the currency's 16 percent increase last year undermined exports.

Foreign Loans

The rule was abandoned for equity funds a day later, after the stock market sank the most in 16 years. It remains in place for bonds and real-estate mutual funds. The bank yesterday wound the rules back further, exempting some hedged foreign loans and fund transfers.

``The measures that they've taken are going to result in foreign direct investment outflows, not inflows, in 2007,'' said Tim Condon, an economist at ING Bank NV in Singapore. ``The government seems to be trying to sort out the regulatory framework and the outcome is one that looks investor unfriendly.''

Total foreign investment in Thailand last year dropped 18 percent from 2005, according to Board of Investment data. Investment fell amid a political standoff that ended in the coup ousting the government of Prime Minister Thaksin Shinawatra.

Ford's vehicle sales rose by more than 80 percent in both China and India last year. Ford has invested more than $1.5 billion in China since 2001 and more than $500 million in India since 2005. In Thailand sales fell 18 percent last year.

Consumer confidence in Southeast Asia's second-largest economy fell to a five-month low after Dec. 31 bomb blasts killed three. Prime Minister Surayud Chulanont, a retired army chief installed by coup leaders, blamed them on ``people who lost their political power'' following the military coup.

``One government can give you what you need to develop a successful business plan,'' said Biegun. ``Another coup, another government and you could lose it all.''

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 31, 2007 9:18 pm
โดย san
SAD  เหรอครับ     อ้าวโทษที  SAT   นะเอง

จ้าว  นวด  +  ทุบ   เอาของ  อิอิอิ
ใครน่วม ก็ อ๊วก คายของออกมา
ศึกษา pattern พวกนี้เอานะครับ
ดูจากหุ้น หลายๆตัวก่อนหน้านี้  เช่น  STA  ตอนที่เพิ่มทุน  แล้วจะเข้าใจครับ

ผมว่ากรณีนี้  เจ้ามือได้เพิ่มทุน  โดยที่มีหุ้นเพิ่มแล้ว  โดยที่ไม่ต้องออกเงินเพิ่มครับ    เงิรที่เจ้ามือจะเอามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนนั้น  นักลงทุนทั้งหลายเป้นคนช่วยออกทุนให้เขาครับ
โดยการที่เจ้ามือ ขายหุ้นออกไปก่อนตอนราคาสูง  ทุบครั..บทุบ  แล้วมารอซื้อคืนที่ราคาต่ำๆ  จำนวนไม่น้อยกว่าเดิม    ทำให้ได้ส่วนต่างของราคา  เอาไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน  ในขณะที่คนอื่น  ต้องเอาเงินตัวเองเข้าไปซือ้หุ้นเพิ่มทุน  แต่เจ้ามือไม่ต้องครับ  

เจ้ามืออาศัยกลยุทธ์  ขงเบ้ง ครับ  เอาธนูโจโฉ  มาเป็นของตัวเอง  ต้องดูเรือ่ง 3 ก๊ก ครับ  

อิอิอิ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 01, 2007 10:44 pm
โดย Kaiser
nanakorn เขียน:ข่าวที่เกี่ยวข้องครับ

http://www.bloomberg.com/apps/news?pid= ... refer=home
มาแล้วยังดีกว่ามาช้า มาช้ายังดีกว่าไม่มา

'โฆสิต' ลั่นเปิดกว้างอีโคคาร์ [30 ม.ค. 50 - 04:47]

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐและ รมว.อุตสาหกรรม  เปิดเผยว่า  จากกรณีที่บริษัทฟอร์ดและมาสด้าสนใจที่จะเข้าร่วมดำเนินโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ แต่ไม่สามารถยื่นแสดงความสนใจทันตามเวลาที่กำหนดไว้คือวันที่ 28 ธ.ค. 2549 ตนได้มอบให้ คณะกรรมการพิจารณาและกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของอีโอคาร์ที่มีนายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นประธานพิจารณาในรายละเอียดรัฐบาลจะมีเกณฑ์กลางออกมาเพื่อส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวซึ่งจะเป็นการเปิดกว้างการลงทุนให้ทุกรายที่สนใจซึ่งเราจะพยายามมองประโยชน์ประเทศชาติให้มากสุดแล้วจึงจะประกาศเกณฑ์ออกมาให้ยื่นผลิตซึ่งจะพยายามให้เสร็จภายใน มี.ค.  

นายโฆสิตกล่าวว่า คาดว่าบีโอไอจะมีการรายงานผลหารือเบื้องต้นเกี่ยวกับอีโคคาร์ในการประชุมบอร์ดบีโอไอ วันที่ 1 ก.พ.นี้ ส่วนโครงการก่อสร้างท่อน้ำมันของบริษัทสุโขทัยปิโตรเลียม จำกัด คาดว่าคงจะยังไม่มีวาระเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดบีโอไอ เนื่องจากยังต้องดูรายละเอียดของโครงการอย่างรอบคอบเสียก่อนและจะต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่ด้วย  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประกาศเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนรถอีโคคาร์ จะเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดบีโอไอได้ภายในเดือน มี.ค. หลังจากนั้นบีโอไอจะประกาศให้เอกชนที่ต้องการลงทุนเข้ามายื่นโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ส่วนกรณีที่ฟอร์ดและมาสด้าสนใจจะลงทุน ก็สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมได้ แต่เกณฑ์ที่จะออกมาจะยึดหลักจากการเจรจากับ 6 รายคือฮอนด้า โตโยต้า มิตซูบิชิ ซูซูกิ นิสสันและยนตรกิจที่ได้ยื่นเงื่อนไขตามระยะเวลากำหนด.

เพื่อนที่ Auto Alliance บอกว่าวันที่ 24 เดือนนี้บริษัทจะจัด Walk-in Interview รับหลายร้อยตำแหน่งงานรองรับ project ใหม่

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 02, 2007 2:36 am
โดย ISUZU
Jeng เขียน:ทดลองเล่นเก็งกำไร ซื้อ 7.70 10000 หุ้น คริๆ
มาคำนวณให้พี่เจ๋งเล่นๆ ถ้าขายวันนี้ ที่ราคา 9.45 ก็จะได้เงินกินหนม ประมาณ 23% ภายใน 1 อาทิตย์

แซวเล่นนะครับ เห็นพี่เจ๋งแกตั้งไว้เลยขอขายทิ้งซะเลย..  :D

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 02, 2007 8:50 am
โดย ซากทัพ
รบกวนช่วยแปลให้ด้วยครับ เก่งเลขแต่ตกอังกฤษครับ

กลุ่มยานยนต์ถึงกาลอวสานแล้วเหรอครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 02, 2007 10:35 am
โดย ply33
YNP หวังรายได้ปีนี้ 5.3 พันล. วิชัย ทองแตง ย้ำแค่บริหาร

เกี่ยวไหมเนี่ย เมื่อไร ทนายทองแตงจะเอา โรงบาลเข้าตลาดน้า หรือว่ารอหลังเลือกตั้ง เหอๆๆ