เพื่อนๆ พี่ๆ ช่วยวิเคราะห์หุ้นตัวนี้หน่อยครับ JAS
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 26, 2007 11:36 pm
"จัสมิน" หลังปลดล็อก...แผนฟื้นฟู จังหวะก้าว..."เสือซุ่ม" ผู้มากประสบการณ์
มูฟเมนท์ที่ผ่านมา ของ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ถูกวางหมากไว้เป็นสเต็ปอย่างดี ด้วยสตอรี่ของหุ้นเทิร์นอะราวด์ ที่มากด้วยประสบการณ์ของอดีต รมว.ศึกษาฯ "อดิศัย โพธารามิก"
ก่อนที่ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งให้ จัสมิน ออกจากแผนฟื้นฟู ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2549 มีรายงานว่า "กลุ่มโพธารามิก" และพันธมิตร "กลุ่มบูลกุล" เข้ามาสะสมหุ้น JAS และ วอร์แรนท์ (JAS-W2) เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมาก
ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า กลุ่มโพธารามิก ถือหุ้น JAS แล้วราว 27-29% และ JAS-W2 ประมาณ 41-43%
กล่าวกันว่าถ้ารัฐบาลทักษิณไม่สะดุดขาตัวเองล้มซะก่อน จนเกิดเหตุการณ์ยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 หุ้น JAS จะทำให้ตระกูลโพธารามิก "รีเทิร์น" ความมั่งคั่ง อย่างมหาศาล
สคริปท์ธุรกิจขณะนั้นวางให้ JAS เป็น หุ้น "ซูเปอร์ เทิร์นอะราวด์" แต่แผนการกลับ "รวน" แบบเหนือความคาดหมาย
แผนการที่ว่า ก็คือ การดูด ทริปเปิลที บรอดแบนด์ (TTT BB) กล่องดวงใจจาก ทีทีแอนด์ที เข้ามาไว้กับบริษัทลูก อคิวเมนท์ เพื่อต่อภาพจิ๊กซอว์อนาคตใหม่
ตามมาติดๆ กับจังหวะการนำ หุ้น JTS (จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์) เข้าตลาดหุ้น ก่อนวัน "เผด็จศึกทักษิณ" เพียง 1 วัน
นั่นคือ เหตุผลที่ทำให้หุ้น JAS และ JTS พลาดเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ตั้งใจจะ "ดัน" ส่วนหุ้น TT&T เหมือนถูกแกล้งให้ "ปล่อยรูด" ราคาหุ้น ถูกกระหน่ำ..ซัมเมอร์เซลส์ เพื่อหาจังหวะ "ช้อปของถูก" ภายหลังหรือไม่???
ทุกคนมองว่าการที่ จัสมิน เป็นของ "อดิศัย โพธารามิก" (อำนาจเก่าระบอบทักษิณ) ธุรกิจน่าจะสั่นคลอน แต่นักวิเคราะห์บางส่วน กลับมองว่า การปลดล็อกทางการเมือง จะเท่ากับเป็นการล้างไพ่ใหม่ อาจจะพลิกให้กลุ่มจัสมิน ได้รับอานิสงส์จากงานประมูล ที่มากขึ้นก็ได้
เพราะจุดเด่นของจัสมิน ก็คือ มีกระแสเงินสด ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 มากถึง 5,356 ล้านบาท คาดว่าเงินก้อนนี้ น่าจะเป็นโอกาสการลงทุนใหม่ๆ เข้ามาชดเชยรายได้จาก "ธุรกิจเสือนอนกิน" ที่ขาดหายไป
หลังจากหมดสัมปทานโทรศัพท์ทางไกลชนบทตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ขณะที่สัมปทานโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ ใกล้จะหมดอายุในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือปี 2554
ยุทธวิธีหนึ่งในการเสริมพลังบารมี ภายใต้การยกชั้นขึ้นเป็น "โฮลดิ้ง" ของกลุ่ม คือ ภาพของการ Synergy กันเอง ผ่าน 2 ตัวละครดาวรุ่ง อย่าง จัสมิน เทเลคอม และ ทริปเปิลที
หลังจาก "ทรงฤทธิ์ กุสุรสนานันท์" ซีอีโอ ของ จัสมิน ถ่างขาเข้าไปนั่งคุมเกมใน ทีทีแอนด์ที ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร
การเดินเกมดึง ทริปเปิลที มาจาก ทีทีแอนด์ที จะเป็น แรงส่ง ใหม่ให้กับ จัสมิน ปั้นรายได้ (ใหม่) เข้าสู่ อคิวเมนท์ บริษัทลูกที่หมดรายได้จากธุรกิจเดิม (สัมปทานการให้บริการโทรศัพท์ทางไกลชนบท หมดอายุลงกลางปี 2549 ) ซึ่งเคยสร้างรายได้ราวปีละ 2,000 ล้านบาท
เดือนกันยายน ที่ผ่านมา อคิวเมนท์ รุกเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 90.9% ในทริปเปิลที บรอดแบนด์ แทนที่ ทีทีแอนด์ที ที่สละสิทธิไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน จนสัดส่วนการถือหุ้นลดลงจากเกือบๆ 100% เหลือเพียง 9.09%
ภาพขณะนี้ก็คือหุ้น TT&T ลับดับแสง จนแทบมองไม่เห็นแววฟื้นจากหลุม
สวนทาง จัสมิน ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ทีทีแอนด์ที ที่อนาคตกำลังจะ "รุ่ง กับ 2 จิ๊กซอว์สำคัญ JTS และ TTT BB ที่ดูแล้วไม่ต่างจาก อัฐยายซื้อขนมยาย
เพราะธุรกิจบรอดแบนด์ ส่งอานิสงส์ต่อมายัง จัสมิน เทเลคอม อีกทอดในฐานะผู้รับงานวางระบบให้ ทริปเปิลที
จากรายได้ธุรกิจวางระบบ (System Integration) ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ประมาณ 825 ล้านบาท มาจากงานของ ทีทีแอนด์ที 258 ล้านบาท, ทริปเปิลที 391 ล้านบาท , ทีโอที และกสท 176 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าตามแผนขยายการลงทุนโครงข่ายบรอดแบนด์เฟสต่อไปของ ทริปเปิลที มีแนวโน้มส่งอานิสงส์ต่อมายังจัสมิน เทเลคอม
ก่อนจะผลักดัน ทริปเปิลที เข้าตลาดหุ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า และให้สิทธิผู้ถือหุ้น ทีทีแอนด์ที เข้ามาถือหุ้น...แผนนี้ดูลึกซึ้ง
ล่าสุด วรศักดิ์ พิทธวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบัญชีและการเงิน จัสมิน ให้สัมภาษณ์ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ถึงทิศทางของ จัสมิน ต่อจากนี้ว่า จะยังอยู่ที่ 3 ธุรกิจตัวหลัก ได้แก่ จัสมิน เทเลคอม (JTS) , ทริปเปิลที บรอดแบนด์ (TTT BB) และ จัสมิน ซับมารีน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (JSTC) หรือธุรกิจให้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ
นโยบาย จัสมิน ในฐานะโฮลดิ้งของกลุ่ม จะเน้นลงทุนในธุรกิจที่มีผลตอบแทนที่ดี อย่างน้อยต้องมีรีเทิร์น 8-10% (ต่อปี) และเราจะไม่ทำอะไรที่เสี่ยง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบัญชีและการเงิน กล่าว
พร้อมทั้งระบุว่า ธุรกิจบรอดแบนด์จะเป็นดาวรุ่งตัวใหม่ จะสร้างรายได้ที่สำคัญให้กับจัสมิน โดยจะเริ่มสร้างรายได้ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้คาดว่า ธุรกิจบรอดแบนด์ จะสร้างรายได้ปีละประมาณ 2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นราว 30% ของรายได้รวม
เขากล่าวว่า ตามแผน ทริปเปิลที จะมีการลงทุนด้านโครงข่ายการให้บริการบรอดแบนด์ ประมาณ 6,000 ล้านบาท โดยเฟสแรก 2,000 ล้านบาท ลงทุนไปแล้ว ส่วนเฟสที่สอง จะขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 แสนพอร์ต เป็น 6 แสนพอร์ต คาดว่าจะมีการลงทุนในช่วงไตรมาสแรก ปี 2550
ตัวธุรกิจบรอดแบนด์ จะเป็นตัวที่มีโอกาสเติบโตอย่างมาก และยังมีช่องว่างให้เข้าไปทำแชร์ส่วนแบ่ง โดยในกลุ่มของเราก็มี ทีทีแอนด์ที ที่เป็นเจ้าของโครงข่ายเนชั่นไวด์ในต่างจังหวัด ทำให้ความพร้อมในด้านตัวโครงข่ายเรามีอยู่แล้ว
ถ้าดูตามโปรเจคชั่นธุรกิจของ ทริปเปิลที จะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรอย่างมาก สามารถมาทดแทนรายได้จากสัมปทานเดิมที่เสียไป วรศักดิ์ พิทธวงศ์ กล่าว
มือการเงินของจัสมิน อธิบายต่อว่า ส่วนมูฟเมนท์ในอีก 2 ธุรกิจหลักของกลุ่ม ในส่วนของ จัสมิน เทเลคอม (JTS) ถ้าดูจากตอนนี้ ยังมีงาน Backlog อยู่ในมือ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 อีกประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการรับรู้รายได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ประมาณครึ่งหนึ่งหรือราวๆ 1,000 ล้านบาท โดยในปีนี้ คาดว่า JTS จะทำรายได้ทั้งปี เฉียด 3,000 ล้านบาท
ยังไม่รวมถึงโครงการใหม่ๆ อีกหลายโครงการที่อยู่ระหว่างประมูล ซึ่งบางโครงการอยู่ในหลักพันล้านบาท โดยในช่วงไตรมาสสุดท้าย ทั้ง ทีโอที และกสท ต่างเร่งเปิดประมูลงานวางระบบโทรคมนาคม เป็นจำนวนมาก
ส่วนตัวธุรกิจของ จัสมิน ซับมารีน (JSTC) จะมีโครงการส่วนขยายของเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ ซึ่งได้ขยายลงทุนไปกว่า 200 ล้านบาท โดยตั้งบริษัทลูก จัสเทล เน็ตเวอร์ค เข้ามาดำเนินการ
ทั้งนี้ จัสมิน ซับมารีน เป็นผู้รับสัมปทานร่วมลงทุน และให้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ แก่ ทีโอที เป็นเวลา 20 ปี และจะครบกำหนดสัมปทานในปี 2554 อย่างไรก็ตาม วรศักดิ์ คาดว่าคงจะมีการพูดคุยหารือในการต่อสัญญาสัมปทาน เนื่องจากโครงข่ายยังใช้งานได้ต่อไปอีก
เขายังบอกด้วยว่า ฐานะทางการเงินของ จัสมิน ขณะนี้ ถือได้ว่าแข็งแกร่งอย่างมาก เพราะมีเงินสดกว่า 5,000 ล้านบาท ขณะที่หนี้ก็อยู่ในระดับที่สามารถชำระได้อย่างไม่มีปัญหา โดยเฉพาะหนี้ในส่วนบริษัทแม่ จัสมิน มีหนี้ประมาณ 2,600 ล้านบาท แต่ถ้าหักหนี้ระหว่างบริษัทในเครือ จะอยู่ที่ประมาณ 2,300 ล้านบาท เท่านั้น
" ถ้าดูจาก "กระแสเงินสด" ของเราตอนนี้ ก็มีความสามารถพอที่จะจ่ายเงินปันผลได้" ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบัญชีและการเงิน จัสมิน แย้มแผนการประกาศข่าวดีในสเต็ปต่อไป
มูฟเมนท์ที่ผ่านมา ของ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ถูกวางหมากไว้เป็นสเต็ปอย่างดี ด้วยสตอรี่ของหุ้นเทิร์นอะราวด์ ที่มากด้วยประสบการณ์ของอดีต รมว.ศึกษาฯ "อดิศัย โพธารามิก"
ก่อนที่ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งให้ จัสมิน ออกจากแผนฟื้นฟู ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2549 มีรายงานว่า "กลุ่มโพธารามิก" และพันธมิตร "กลุ่มบูลกุล" เข้ามาสะสมหุ้น JAS และ วอร์แรนท์ (JAS-W2) เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมาก
ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า กลุ่มโพธารามิก ถือหุ้น JAS แล้วราว 27-29% และ JAS-W2 ประมาณ 41-43%
กล่าวกันว่าถ้ารัฐบาลทักษิณไม่สะดุดขาตัวเองล้มซะก่อน จนเกิดเหตุการณ์ยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 หุ้น JAS จะทำให้ตระกูลโพธารามิก "รีเทิร์น" ความมั่งคั่ง อย่างมหาศาล
สคริปท์ธุรกิจขณะนั้นวางให้ JAS เป็น หุ้น "ซูเปอร์ เทิร์นอะราวด์" แต่แผนการกลับ "รวน" แบบเหนือความคาดหมาย
แผนการที่ว่า ก็คือ การดูด ทริปเปิลที บรอดแบนด์ (TTT BB) กล่องดวงใจจาก ทีทีแอนด์ที เข้ามาไว้กับบริษัทลูก อคิวเมนท์ เพื่อต่อภาพจิ๊กซอว์อนาคตใหม่
ตามมาติดๆ กับจังหวะการนำ หุ้น JTS (จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์) เข้าตลาดหุ้น ก่อนวัน "เผด็จศึกทักษิณ" เพียง 1 วัน
นั่นคือ เหตุผลที่ทำให้หุ้น JAS และ JTS พลาดเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ตั้งใจจะ "ดัน" ส่วนหุ้น TT&T เหมือนถูกแกล้งให้ "ปล่อยรูด" ราคาหุ้น ถูกกระหน่ำ..ซัมเมอร์เซลส์ เพื่อหาจังหวะ "ช้อปของถูก" ภายหลังหรือไม่???
ทุกคนมองว่าการที่ จัสมิน เป็นของ "อดิศัย โพธารามิก" (อำนาจเก่าระบอบทักษิณ) ธุรกิจน่าจะสั่นคลอน แต่นักวิเคราะห์บางส่วน กลับมองว่า การปลดล็อกทางการเมือง จะเท่ากับเป็นการล้างไพ่ใหม่ อาจจะพลิกให้กลุ่มจัสมิน ได้รับอานิสงส์จากงานประมูล ที่มากขึ้นก็ได้
เพราะจุดเด่นของจัสมิน ก็คือ มีกระแสเงินสด ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 มากถึง 5,356 ล้านบาท คาดว่าเงินก้อนนี้ น่าจะเป็นโอกาสการลงทุนใหม่ๆ เข้ามาชดเชยรายได้จาก "ธุรกิจเสือนอนกิน" ที่ขาดหายไป
หลังจากหมดสัมปทานโทรศัพท์ทางไกลชนบทตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ขณะที่สัมปทานโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ ใกล้จะหมดอายุในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือปี 2554
ยุทธวิธีหนึ่งในการเสริมพลังบารมี ภายใต้การยกชั้นขึ้นเป็น "โฮลดิ้ง" ของกลุ่ม คือ ภาพของการ Synergy กันเอง ผ่าน 2 ตัวละครดาวรุ่ง อย่าง จัสมิน เทเลคอม และ ทริปเปิลที
หลังจาก "ทรงฤทธิ์ กุสุรสนานันท์" ซีอีโอ ของ จัสมิน ถ่างขาเข้าไปนั่งคุมเกมใน ทีทีแอนด์ที ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร
การเดินเกมดึง ทริปเปิลที มาจาก ทีทีแอนด์ที จะเป็น แรงส่ง ใหม่ให้กับ จัสมิน ปั้นรายได้ (ใหม่) เข้าสู่ อคิวเมนท์ บริษัทลูกที่หมดรายได้จากธุรกิจเดิม (สัมปทานการให้บริการโทรศัพท์ทางไกลชนบท หมดอายุลงกลางปี 2549 ) ซึ่งเคยสร้างรายได้ราวปีละ 2,000 ล้านบาท
เดือนกันยายน ที่ผ่านมา อคิวเมนท์ รุกเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 90.9% ในทริปเปิลที บรอดแบนด์ แทนที่ ทีทีแอนด์ที ที่สละสิทธิไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน จนสัดส่วนการถือหุ้นลดลงจากเกือบๆ 100% เหลือเพียง 9.09%
ภาพขณะนี้ก็คือหุ้น TT&T ลับดับแสง จนแทบมองไม่เห็นแววฟื้นจากหลุม
สวนทาง จัสมิน ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ทีทีแอนด์ที ที่อนาคตกำลังจะ "รุ่ง กับ 2 จิ๊กซอว์สำคัญ JTS และ TTT BB ที่ดูแล้วไม่ต่างจาก อัฐยายซื้อขนมยาย
เพราะธุรกิจบรอดแบนด์ ส่งอานิสงส์ต่อมายัง จัสมิน เทเลคอม อีกทอดในฐานะผู้รับงานวางระบบให้ ทริปเปิลที
จากรายได้ธุรกิจวางระบบ (System Integration) ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ประมาณ 825 ล้านบาท มาจากงานของ ทีทีแอนด์ที 258 ล้านบาท, ทริปเปิลที 391 ล้านบาท , ทีโอที และกสท 176 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าตามแผนขยายการลงทุนโครงข่ายบรอดแบนด์เฟสต่อไปของ ทริปเปิลที มีแนวโน้มส่งอานิสงส์ต่อมายังจัสมิน เทเลคอม
ก่อนจะผลักดัน ทริปเปิลที เข้าตลาดหุ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า และให้สิทธิผู้ถือหุ้น ทีทีแอนด์ที เข้ามาถือหุ้น...แผนนี้ดูลึกซึ้ง
ล่าสุด วรศักดิ์ พิทธวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบัญชีและการเงิน จัสมิน ให้สัมภาษณ์ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ถึงทิศทางของ จัสมิน ต่อจากนี้ว่า จะยังอยู่ที่ 3 ธุรกิจตัวหลัก ได้แก่ จัสมิน เทเลคอม (JTS) , ทริปเปิลที บรอดแบนด์ (TTT BB) และ จัสมิน ซับมารีน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (JSTC) หรือธุรกิจให้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ
นโยบาย จัสมิน ในฐานะโฮลดิ้งของกลุ่ม จะเน้นลงทุนในธุรกิจที่มีผลตอบแทนที่ดี อย่างน้อยต้องมีรีเทิร์น 8-10% (ต่อปี) และเราจะไม่ทำอะไรที่เสี่ยง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบัญชีและการเงิน กล่าว
พร้อมทั้งระบุว่า ธุรกิจบรอดแบนด์จะเป็นดาวรุ่งตัวใหม่ จะสร้างรายได้ที่สำคัญให้กับจัสมิน โดยจะเริ่มสร้างรายได้ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้คาดว่า ธุรกิจบรอดแบนด์ จะสร้างรายได้ปีละประมาณ 2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นราว 30% ของรายได้รวม
เขากล่าวว่า ตามแผน ทริปเปิลที จะมีการลงทุนด้านโครงข่ายการให้บริการบรอดแบนด์ ประมาณ 6,000 ล้านบาท โดยเฟสแรก 2,000 ล้านบาท ลงทุนไปแล้ว ส่วนเฟสที่สอง จะขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 แสนพอร์ต เป็น 6 แสนพอร์ต คาดว่าจะมีการลงทุนในช่วงไตรมาสแรก ปี 2550
ตัวธุรกิจบรอดแบนด์ จะเป็นตัวที่มีโอกาสเติบโตอย่างมาก และยังมีช่องว่างให้เข้าไปทำแชร์ส่วนแบ่ง โดยในกลุ่มของเราก็มี ทีทีแอนด์ที ที่เป็นเจ้าของโครงข่ายเนชั่นไวด์ในต่างจังหวัด ทำให้ความพร้อมในด้านตัวโครงข่ายเรามีอยู่แล้ว
ถ้าดูตามโปรเจคชั่นธุรกิจของ ทริปเปิลที จะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรอย่างมาก สามารถมาทดแทนรายได้จากสัมปทานเดิมที่เสียไป วรศักดิ์ พิทธวงศ์ กล่าว
มือการเงินของจัสมิน อธิบายต่อว่า ส่วนมูฟเมนท์ในอีก 2 ธุรกิจหลักของกลุ่ม ในส่วนของ จัสมิน เทเลคอม (JTS) ถ้าดูจากตอนนี้ ยังมีงาน Backlog อยู่ในมือ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 อีกประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีการรับรู้รายได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ประมาณครึ่งหนึ่งหรือราวๆ 1,000 ล้านบาท โดยในปีนี้ คาดว่า JTS จะทำรายได้ทั้งปี เฉียด 3,000 ล้านบาท
ยังไม่รวมถึงโครงการใหม่ๆ อีกหลายโครงการที่อยู่ระหว่างประมูล ซึ่งบางโครงการอยู่ในหลักพันล้านบาท โดยในช่วงไตรมาสสุดท้าย ทั้ง ทีโอที และกสท ต่างเร่งเปิดประมูลงานวางระบบโทรคมนาคม เป็นจำนวนมาก
ส่วนตัวธุรกิจของ จัสมิน ซับมารีน (JSTC) จะมีโครงการส่วนขยายของเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ ซึ่งได้ขยายลงทุนไปกว่า 200 ล้านบาท โดยตั้งบริษัทลูก จัสเทล เน็ตเวอร์ค เข้ามาดำเนินการ
ทั้งนี้ จัสมิน ซับมารีน เป็นผู้รับสัมปทานร่วมลงทุน และให้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ แก่ ทีโอที เป็นเวลา 20 ปี และจะครบกำหนดสัมปทานในปี 2554 อย่างไรก็ตาม วรศักดิ์ คาดว่าคงจะมีการพูดคุยหารือในการต่อสัญญาสัมปทาน เนื่องจากโครงข่ายยังใช้งานได้ต่อไปอีก
เขายังบอกด้วยว่า ฐานะทางการเงินของ จัสมิน ขณะนี้ ถือได้ว่าแข็งแกร่งอย่างมาก เพราะมีเงินสดกว่า 5,000 ล้านบาท ขณะที่หนี้ก็อยู่ในระดับที่สามารถชำระได้อย่างไม่มีปัญหา โดยเฉพาะหนี้ในส่วนบริษัทแม่ จัสมิน มีหนี้ประมาณ 2,600 ล้านบาท แต่ถ้าหักหนี้ระหว่างบริษัทในเครือ จะอยู่ที่ประมาณ 2,300 ล้านบาท เท่านั้น
" ถ้าดูจาก "กระแสเงินสด" ของเราตอนนี้ ก็มีความสามารถพอที่จะจ่ายเงินปันผลได้" ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบัญชีและการเงิน จัสมิน แย้มแผนการประกาศข่าวดีในสเต็ปต่อไป