หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ไปเจอรายงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรณีสุวรรณภูมิ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 01, 2007 2:21 pm
โดย lekmak333
http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/t ... 97606.html

ปัญหา สนามบินสุวรรณภูมิ

เท่าที่อ่านดู เกิดจาก เรื่องน้ำ drainage system ที่ไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดในการใช้สนามบินตั้งแต่แรก

ส่วนเรื่องการออกแบบ ที่ข่าวลงเกิดจากการคอร์รัปชั่น จากการตรวจสอบ วัสดุที่ใช้ตรงตามมาตราฐานทุกอย่าง

ใครเป็นวิศวกรโยธา ช่วยให้ความกระจ่าง กรณีนี้หน่อยครับ เพราะเห็นบอกเป็นข้อสรุปจาก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ดูแล้วน่าเชื่อถือแค่ไหน

ไปเจอรายงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรณีสุวรรณภูมิ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 01, 2007 2:37 pm
โดย lekmak333
วิศวกรรมสถานฯ ชี้ลูกคลื่นแท็กซี่เวย์กระทบการอ่านข้อมูลของเครื่องบิน

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 กุมภาพันธ์ 2550 14:28 น.



วิศวกรรมสถานฯ ระบุแท็กซี่เวย์และรันเวย์ในสนามบินสุวรรณภูมิเสียหายรวมทั้งหมด 97,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ ยังพบว่าแท็กซี่เวย์เป็นรอยลูกคลื่น กระทบต่อผลการอ่านข้อมูลของเครื่องบิน และเป็นอันตรายต่อระบบการบิน ขณะเดียวกันเรียกร้องทุกฝ่ายอย่ารีบร้อนเร่งฟ้นธงจนกว่าจะให้ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมตรวจสอบให้ชัดเจนก่อน
     
      สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจเบื้องต้นถึงความเสียหายของทางขับ (แท็กซี่เวย์) และทางวิ่ง (รันเวย์)ในสนามบินสุวรรณภูมิ ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อมกราคมที่ผ่านมา รวมทั้งหมด 97,000 ตารางเมตร หรือร้อยละ 5.3 ของพื้นที่แท็กซี่เวย์และรันเวย์ทั้งหมด ความเสียหายที่พบเกิดจากร่องล้อเป็นส่วนใหญ่ รอยร้าวแตกหลุดเป็นหลุมเป็นแผ่น รอยแตกที่เกิดจากแรงเฉือน รวมทั้งตามรอยเลี้ยวของแนวล้อเครื่องบิน และทางวิ่งทางตรงความเสียหายลุกลามมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบความเสียหายของวัสดุผิวทาง และพบคราบน้ำซึมที่ผิวบนชั้นรอง หรือชั้นหินผสมซีเมนต์ โดยจากสภาพความเสียหายสันนิษฐานได้หลายประเด็น
     
      โดยทั้งหมดนำมาสรุปเป็นประเด็นศึกษาและซ่อมแซมใน 4 เรื่องหลัก คือ คุณสมบัติของลักษณะผิวทางว่ามีส่วนผสมและขีดความสามารถในการรับแรงกดทับ ศึกษาลักษณะชั้นทรายในแง่ความสัมพันธภาพกับน้ำใต้ผิวดินว่าทรายสามารถนั้นระบายน้ำ และทรุดตัวอย่างไร ศึกษาระดับน้ำ และการระบายน้ำออกจากใต้ผิวทาง ศึกษาอัตราและลักษณะการทรุดตัวของพื้น
     
      นายธิติ ปวีณชนา กรรมการผู้อำนวยการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือ ว.ส.ท. เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจอย่าเพิ่งตั้งข้อสันนิษฐานใดๆ จนกว่าจะทราบสาเหตุที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรายหรือน้ำ เพราะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่ทำร้ายโครงสร้าง และควรจะร่วมกันศึกษาเก็บข้อมูลให้รอบคอบ อย่าเร่งฟันธงว่า ต้องรื้อสนามบิน และควรให้วิศวกร หรือผู้เชี่ยวชาญจากส่วนอื่น มีส่วนร่วมในการตรวจสอบให้ชัดเจนก่อน ไม่อยากให้วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างสะเปะสะปะ เพราะจะเกิดความเสียหายมากกว่าผลดี
     
      อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า แท็กซี่เวย์ที่เป็นรอยลูกคลื่น กระทบต่อผลการอ่านข้อมูลของเครื่องบิน และเป็นอันตรายต่อระบบการบิน ซึ่งมาตรการฉุกเฉินเฉพาะหน้า ต้องหาวัสดุที่เหมาะสม คงทน มาซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน รวมทั้งเร่งติดตั้งเครื่องมือวัดแรงดันน้ำ และบ่อตรวจวัดระดับน้ำ ในบริเวณที่พบด้วย

ไปเจอรายงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรณีสุวรรณภูมิ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 01, 2007 4:22 pm
โดย คนเรือ VI
แสดงว่าที่พูดๆกันมาก็ บวม เรื่องน่ะสิครับ

ไปเจอรายงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรณีสุวรรณภูมิ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 01, 2007 4:48 pm
โดย Wutipongk
ผมสงสัยจังครับว่า การก่อสร้างระดับนี้ไม่มีช่วงรับประกันของบริษัทรับเหมาเหรอ ? AOT จำเป็นต้องจ่ายค่าซ่อมแซมเองเหรอ น่าแปลกใจจริง ๆ

ไปเจอรายงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรณีสุวรรณภูมิ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 01, 2007 5:04 pm
โดย 007-s
ไม่ได้มีความรู้อ่ะค่ะ เอามาฝากเจ๋ยๆ

http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic ... 94561.html

อันล่างนี่ต้องมีอมยิ้มก่อน

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/t ... 94870.html

:roll:

ไปเจอรายงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรณีสุวรรณภูมิ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 01, 2007 5:12 pm
โดย 007-s
มีต่อ แตกทู้

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/t ... 97687.html


ปล.ทู้ต้นฉบับต้องอมยิ้มก่อนค่ะ

:lol:

ไปเจอรายงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรณีสุวรรณภูมิ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 01, 2007 5:14 pm
โดย MisterK
007-s เขียน:ไม่ได้มีความรู้อ่ะค่ะ เอามาฝากเจ๋ยๆ

http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic ... 94561.html

อันล่างนี่ต้องมีอมยิ้มก่อน

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/t ... 94870.html

:roll:
อันบนต้นฉบับอยู่ที่นี่ครับ
http://www.sarakadee.com/web/modules.ph ... &artid=596

เป็นเวปของ วารสาร  "สารคดี"   ยังไงคงน่าเชื่อถือกว่า manager เยอะ   :lol:

เนื้อความข้างล่างน่าสนใจมากว่าถ้าผิดจริงใครควรเป็นคนรับผิด   เกิดในสมัยใคร   (ทักกี้ชนะเลือกตั้งครั้งแรกต้นปี 44)    แต่ยุคนี้ขอสรุปว่าความผิดทั้งหมดเป็นเพราะทักกี้ไม่งั้นไม่สมานฉันท์   :twisted:

เมื่อสรุปผลเป็นที่แน่นอนแล้วว่า หนองงูเห่า--พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ งานยักษ์ที่รออยู่ข้างหน้า ก็คือการปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะแก่การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ รวมถึงรันเวย์ที่มั่นคงแข็งแรง

นับเป็นงานใหญ่ที่หลายฝ่ายรู้ดีว่าเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และท้าทายมากที่สุดขั้นตอนหนึ่งในการก่อสร้างสนามบิน

ทั้งนี้เพราะในแต่ละปี ดินที่หนองงูเห่ามีอัตราการทรุดตัวมากกว่าพื้นที่ทั่วไปหลายเท่า ซึ่งถ้าไม่จัดการแก้ปัญหานี้ เมื่อสร้างทางวิ่ง (runway) กับทางขับ (taxi way) เสร็จแล้วระยะหนึ่ง อาจเกิดเนินหรือหลุมขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับเครื่องบินที่ลงจอด

ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ วิทยารัฐ นักภูมิศาสตร์อาวุโส เคยกล่าวถึงการทรุดตัวของดินในจังหวัดสมุทรปราการซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไว้ใน ข้อสังเกตการทรุดตัวบริเวณสมุทรปราการ ตีพิมพ์ในวารสาร ราชบัณฑิตยสถาน (เดือนมกราคม-มีนาคม ๒๕๔๖) ว่า

ความหนาแน่นของตะกอนเลนบริเวณนี้มีประมาณ ๑๘-๒๐ เมตร ลักษณะของชั้นตะกอนมีความยืดหยุ่น ไม่แน่น เพราะมีน้ำแทรกอยู่ ประมาณว่ามีน้ำอยู่ร้อยละ ๒๕-๓๐ ดินประเภทนี้ไม่สามารถต้านทานน้ำหนักที่กดทับมากได้ และยังมีคุณสมบัติเลื่อนไหลได้ง่าย...

โจทย์ใหญ่นี้วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญจึงต้องดำเนินการแก้ไขโดยอาศัยศาสตร์หลายแขนง ไม่ว่าธรณีวิทยา อุทกวิทยา ภูมิศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์

สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วิศวกรมี ๒ ทางเลือก คือ หนึ่ง สร้างทางวิ่งและทางขับแบบไม่มีเสาเข็มป้องกันการทรุดตัว โดยใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพดิน สอง ใช้วิธีการตอกเสาเข็มคล้ายกับการสร้างอาคาร ซึ่งเราเลือกวิธีแรก

สมชัย สวัสดีผล ผอ. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อธิบายขั้นตอนการปรับปรุงคุณภาพดินซึ่งเริ่มขึ้นในปี ๒๕๔๐ ว่า

เราศึกษาสภาพดินหนองงูเห่าหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครั้งที่บริษัท NACO จากประเทศเนเธอร์แลนด์มาศึกษาในปี ๒๕๒๖ ผมพูดถึงบริษัทนี้เพราะเขาเคยเป็นที่ปรึกษาให้โครงการก่อสร้างสนามบินในทะเล ซึ่งที่แบบนั้นทรุดตัวมากกว่าหนองงูเห่าเสียอีก พอเราจะเริ่มต้นก่อสร้าง จึงให้ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มาศึกษาสภาพดินเพิ่มเติมอีกครั้ง ก่อนที่วิศวกรจะลงมือไล่น้ำออกจากดินโดยใช้วิธี ระบายน้ำแนวดิ่ง หรือ PVD (Preloading Vertical Drainage) เฉพาะบริเวณที่จะก่อสร้างทางวิ่งและทางขับ

โดยมีขั้นตอน คือ หนึ่ง ปรับหน้าดินให้เสมอกันทั่วพื้นที่ สอง ล้อมบริเวณที่จะสร้างสนามบินด้วยแผ่นไฟเบอร์ป้องกันโคลนไหลออกทางด้านข้าง โดยจะปักลงดินเป็นแนวดิ่งเหมือนกั้นคอกในพื้นที่ที่ต้องการ สาม เจาะรูระบายน้ำ ความลึก ๑๑ เมตร เว้นระยะห่างรูละ ๑ เมตร สี่ ถมทรายกรองน้ำและหินคลุกลงไปกดทับดิน น้ำหนักที่กดลงไปจะดันให้น้ำพุ่งขึ้นทางรูระบายน้ำที่เจาะไว้ จากนั้นคนงานจะปั๊มน้ำออกจากพื้นที่ ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายนี้ต้องอาศัยระยะเวลานานนับปี

หินกับทรายที่ถมจะกดดินให้ทรุดและแห้งจนเหลืออัตราการทรุดตัวในระดับที่ไม่เป็นอันตรายกับสนามบิน คือประมาณ ๒-๓ เซนติเมตรต่อปี จากนั้นจึงเริ่มสร้างอาคารต่างๆ รวมถึงทางวิ่งและทางขับ ผอ. สมชัยกล่าว

ขั้นตอนการกดทับนี้ใช้เวลาตั้งแต่ปี ๒๕๔๐-๒๕๔๒ ซึ่งถ้าใครขับรถผ่านหนองงูเห่าช่วงนั้น ก็จะพบภูเขาทรายผสมหินคลุกที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทยตั้งตระหง่านอยู่กลางทุ่ง

ภูเขานี้ลดระดับลงทุกปี เพราะเมื่อกดน้ำออกจากดินแล้ว มันจะทรุดตัวลงไปแทนที่

ผ่านไป ๒ ปี ๖ เดือน ดินบริเวณหนองงูเห่าก็ทรุดตัวลงไป ๒ เมตรกว่า ทั้งที่ปรกติ อัตราการทรุดตัวขนาดนี้ต้องใช้เวลาถึง ๓๐ ปี นับเป็นความสำเร็จขั้นหนึ่งที่น่าพอใจ ...หากเราจะไม่มองย้อนหลังไปในปี ๒๕๓๙ ถึงต้นปี ๒๕๔๐--ก่อนที่ภูเขาทรายผสมหินคลุกจะมาถมทับหนองงูเห่าเพื่อเร่งอัตราการทรุดตัวของดิน--ที่ข่าวคราวการทุจริตเกี่ยวกับการประมูลหาผู้รับเหมาปรับปรุงคุณภาพดินแพร่สะพัดไปทั่ว โดยผู้รับผิดชอบโครงการขณะนั้นคือ บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.)

เพราะหลังเปิดประมูล มีการร้องเรียนจากบริษัทเอกชน ๑๑ รายที่เข้าร่วมว่า เงื่อนไขการประมูลเอื้อต่อเอกชนเพียงรายเดียว กระทั่งนายวันมูหะหมัด นอร์มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขณะนั้น ต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ก่อนจะสรุปผลว่าไม่มีการทุจริตและให้ดำเนินการต่อไปได้ ถึงปลายปี ๒๕๓๙ คณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) ชุดที่ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นประธาน ก็ทำสัญญาจ้างผู้รับเหมาก่อนการเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นไม่กี่วัน

ถึงปลายปี ๒๕๔๐ รัฐบาลนายชวน หลีกภัย จึงได้ทบทวนขั้นตอนการประมูลนี้อีกครั้งก่อนมีมติ ครม. เมื่อปลายปี ๒๕๔๑ ว่า เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมยกเลิกสัญญากับผู้รับเหมาที่ชนะการประมูล โดยให้สอบสวนเจ้าหน้าที่ บทม. ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ในที่สุดก็ไม่มีการยกเลิกสัญญากับบริษัทเอกชนผู้รับงานแต่อย่างใด
และในปี ๒๕๔๒ เมื่อต้องทำการปรับปรุงคุณภาพดินก่อนก่อสร้างรันเวย์ที่ ๒ (ฝั่งตะวันตก) ประธานบอร์ด บทม. ขณะนั้นก็ให้บริษัทผู้รับเหมารายเดิมได้งานไปโดยไม่ผ่านขั้นตอนการประมูลแข่งขัน ทั้งที่ปัญหาการทุจริตในการประมูลหาผู้รับเหมาปรับปรุงคุณภาพดินในรันเวย์แรกยังไม่สามารถหาข้อยุติได้

ในที่สุดปี ๒๕๔๔ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็เปิดเผยผลสอบสวนว่า ผู้บริหาร บทม. บางคนเอื้อประโยชน์ให้บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูลถมทรายของรันเวย์ที่ ๑ มีมติให้ลงโทษผู้บริหารของ บทม. ๓ คน ตามด้วยการที่คณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ขาดว่าการประมูลงานครั้งนั้นขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
จากนั้นข่าวคราวต่างๆ เกี่ยวกับดินก็จางหายไป ก่อนจะกลับมาปะทุขึ้นอีกครั้งในปี ๒๕๔๘ เมื่อรันเวย์เกิดรอยร้าวและรัฐบาลไม่สามารถชี้แจงให้สาธารณชนเข้าใจได้ กระทั่งทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) ต้องส่งทีมงานเข้าไปตรวจสอบ

ไปเจอรายงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรณีสุวรรณภูมิ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 01, 2007 6:57 pm
โดย lekmak333
ถ้าไม่เสียหายมาก แต่โดนประโคมข่าวให้ร้ายแรง

ผมว่า รอ AOT เกิด panic มากๆ แล้วเข้าไปช้อนเก็บ  :roll:

เพราะดูไปแล้ว ถึง AOT จะขึ้นค่าธรรมเนียม แต่สามารถรองรับการขนส่งได้ในภูมิภาคนี้ ขูดเลือดขูดเนื้อยังไง รัฐบาลก็น่าจะโอเค เพราะได้จากต่างชาติ มากกว่าคนไทย  :wink: