หน้า 1 จากทั้งหมด 1

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 9:57 am
โดย juntuma
ได้ข่าวมาจากเว็บพี่ร็อค  อ่านแล้วไม่เข้าใจครับ
บอกว่า  บ.ที่เป็นโฮลดิ้ง  ถ้าไม่มีรายได้เป็นของตนเอง
จะจ่ายปันผลได้น้อยกว่าเดิม  เนื่องจากการรับรู้รายได้จาก บ.ลูก
มีการเปลี่ยนมาตรฐานใหม่  ถ้า บ.แม่  ไม่มีรายได้  
อาจไม่มีปันผลหรือน้อยกว่าเดิม  เช่น  บ.ชิน

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 10:23 am
โดย perper
เท่าที่ทราบนะ

เดิม การบันทึกบัญชีรับรู้เงินลงทุนจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วม จะใช้วิธีส่วนได้เสีย เช่น

บริษัท ก มีการลงทุนในบริษัท ข ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ในอัตราร้อยละ 50

ถ้าบริษัท ข มีกำไร 100 บาท บริษัท ก จะรับรู้กำไร 50 บาท ในงบการเงินของบริษัท ก ซึ่งถ้าดูที่งบเดี่ยว จะอยู่ที่รายการส่วนได้เสียจากบริษัทย่อยในงบกำไรขาดทุน และจะเพิ่มเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบดุล ซึ่งถ้าบริษัทย่อยขาดทุนก็จะรับรู้ผลขาดทุนเช่นเดียวกัน

สำหรับปัจจุบัน การบันทึกจะบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมด้วยวิธีราคาทุน โดยจะรับรู้รายได้เมื่อได้รับเงินปันผลเท่านั้น ถ้าบริษัท ข ไม่จ่ายปันผล บริษัท ก ก็ไม่มีรายได้ ถ้าบริษัท ข ขาดทุน ยังไม่แนใจ น่าจะไม่รับรู้อะไรเลยนะ

ถูกต้องหรือเปล่า เพื่อนๆช่วยดูด้วยก็แล้วกัน

แค่นี้ก่อนนะ ถ้ารู้มาเพิ่มจะมาบอกเพิ่มเติม

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 10:41 am
โดย fantasia
อ่านจากกระทู้ข้างล่าง กลต. กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะให้จ่ายได้จากกำไรของงบรวมได้หรือไม่

ส่วนจะดูว่ากำไรของงบเดี่ยวจะเป็นอย่างไรตามมารตฐานบัญชีใหม่

ให้นำกำไรสุทธิ
ลบด้วย ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนของบริษัทย่อย/บริษัทร่วม
บวกด้วย เงินปันผลรับจากบริษัทย่อย/บริษัทร่วม (ดูจากงบกระแสเงินสด)

จะได้เป็นกำไรขาดทุนของงบเดี่ยวครับตามมารตรฐานใหม่ครับ

ถ้าตัวเลขที่ได้ยังมากกว่า ปันผลที่บริษัทนั้นจ่ายอยู่
บริษัทนั้นจะไม่เกิดปัญหาสำหรับการจ่ายปันผลครับ

สำหรับ holding company ที่บริษัทลูกมีการจ่ายปันผลให้แม่อยู่อย่างสม่ำเสมอ คงไม่ได้รับผลกระทบเท่าไรครับ
ส่วนบริษัทที่ลูกไม่ได้จ่ายปันผลให้แม่ แต่ใช้วิธีกู้ยืมระหว่างกันเช่น TTA จะได้รับผลกระทบมากครับ

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 1:19 pm
โดย perper
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี
ฉบับที่ ๒๖/๒๕๔๙
เรื่อง มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๑)

อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ (๓) และมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และกฎหมายอื่น ทั้งนี้มาตรฐานการบัญชีนั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้

เนื่องจากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยในย่อหน้า ๒๗ กำหนดให้บริษัทใหญ่ต้องนำเสนองบการเงินเฉพาะกิจการของเงินลงทุนในบริษัทย่อย โดยใช้วิธีส่วนได้เสียเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นตามมาตรฐานการบัญชีสากลเนื่องจากมาตรฐานการบัญชีสากลกำหนดให้ใช้วิธีราคาทุน

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยความเห็นชอบในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ในการประชุมครั้งที่ ๕ (๒/๒๕๔๙) เมื่อวันที่๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ จึงออกประกาศ ไว้ดังต่อไปนี้

ให้ยกเลิกความในย่อหน้าที่ ๒๗ การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทใหญ่ ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๔ เรื่อง งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย ตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) เรื่อง มาตรฐานการบัญชี และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

เมื่อเสนองบการเงินเฉพาะกิจการ ให้บริษัทใหญ่ที่มีการลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่มี
อำนาจควบคุมร่วม และบริษัทร่วมที่ไม่จัดจำแนกเป็น การถือเพื่อขาย (held for sale) ให้บริษัทใหญ่บันทึกเงินลงทุนดังกล่าวตามวิธี
ก) ราคาทุน หรือ
ข) ตามเกณฑ์การรับรู้ และ การวัดมูลค่า ตราสารการเงิน(เมื่อมีการประกาศใช้)
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีจากวิธีส่วนได้เสียเป็นวิธีราคาทุนสามารถกระทำได้
สำหรับงบการเงินปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป โดยให้ปรับปรุงงบการเงินย้อนหลัง (ถ้ากระทำได้)

หรืออาจจะใช้ราคาตามบัญชี ณ วันที่เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีเป็นราคาทุนเริ่มต้น ณ วันที่เปลี่ยนนโยบายบัญชี โดยจะต้องคำนึงถึงรายการที่ได้บันทึกตามวิธีส่วนได้เสียไปแล้วจะต้องไม่นำมาบันทึกซ้ำอีกในเวลาต่อมา เช่น การบันทึกกำไรจากบริษัทย่อยไว้แล้ว และหลังจากเปลี่ยนนโยบายบัญชีเป็นวิธีราคาทุน บริษัทย่อยจ่ายเงินปันผลมาให้ บริษัทใหญ่จะต้องไม่บันทึกเงินปันผลรับนั้นเป็นรายได้ซ้ำอีกแต่ให้นำไปปรับปรุงเงินลงทุนที่ยกมาแทน

สำหรับกิจการที่ไม่ประสงค์จะใช้วิธีราคาทุนในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ก็ให้ใช้วิธีส่วนได้เสียไป
ตามเดิมจนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้วิธีราคาทุนเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
เกษรี ณรงค์เดช
นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 09, 2007 1:22 pm
โดย naris
ลองไปดูงบircซิครับ ใช้มาตรฐานใหม่แล้ว :D

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 13, 2007 4:24 pm
โดย ply33
ใครพอจะทราบมั้ยว่ามี บจ ไหนบ้างที่ได้รับผลกระทบมากๆครับ

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 14, 2007 7:41 am
โดย Viewtiful Investor
SHIN

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 14, 2007 10:28 am
โดย ply33
ถกเกณฑ์บัญชีใหม่ก่อนใช้Q1/50

โดย ผู้จัดการรายวัน 12 กุมภาพันธ์ 2550 20:22 น.


      ผู้จัดการรายวัน - สภาวิชาชีพบัญชี จับมือ สมาคมบจ. ศึกษาปัญหาในทางปฏิบัติ และ ความชัดเจน ในการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย และ บริษัทร่วม ในงบเฉพาะกิจการ จากวิธีส่วนได้เสีย (Equity method) เป็นวิธีราคาทุน ( Cost method) ซึ่งมีผลบังคับใช้กับบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 นี้
       ศาสตราจารย์เกษรี ณรงค์เดช นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ทางสภาวิชาชีพบัญชี ได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชี ที่มีผลต่อกิจการ จึงได้ให้แนวทางปฏิบัติทางบัญชีที่ชัดเจน และ ได้ให้ข้อผ่อนผันในกรณีที่มีข้อจำกัดทางกฎหมาย ทั้งนี้ทางสภาฯ ได้ร่วมมือกับทางสมาคมบริษัทจดทะเบียน จัดสัมมนาเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันและถูกต้องตามหลักการมาตรฐานการบัญชี
       ดร. วีรวัฒน์ กาญจนดุล ในฐานะ อุปนายก สมาคมบริษัทจดทะเบียน กล่าวถึง การสัมมนาการบัญชี เรื่อง แนวทางปฏิบัติการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และการจัดทำงบการเงินรวม ที่จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนเกิดความเข้าใจที่ชัดเจน และปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการบัญชี ซึ่งเป็นเรื่องที่เร่งด่วน เนื่องจากมีผลบังคับกับบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 1 ปี 2550 ที่จะถึงนี้
       ทั้งนี้ทางสมาคมฯได้ทำหนังสือรวบรวมประเด็นคำถามและข้อคิดเห็น ต่อทางสภาวิชาชีพบัญชีฯ และได้รับความร่วมมืออย่างดีในการตอบคำถามและให้แนวทางปฏิบัติ โดยทางสมาคมฯ จะรวบรวมความเห็นและประเด็นปัญหาจากสมาชิกสมาคมฯ อย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี เพื่อนำเสนอต่อสภาวิชาชีพบัญชีฯ โดยเฉพาะจากบริษัทจดทะเบียนขนาดกลางและขนาดเล็กที่ยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควรในการปรับตัว เพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีไทย เป็นมาตรฐานการบัญชีสากล ซึ่งเป็นหนึ่งในบทบาทของสมาคมบริษัทจดทะเบียนที่จะช่วยผลักดันในเรื่องการยกระดับมาตรฐานบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียนไทย

แปลว่าเริ่ม Q1/07 ตอนนี้ยังไม่ใช้ใช้มั้ยครับ แล้วพวก 1M/07 ของบจ.ต่างๆก็ยังไม่ได้ใช้ใช่ป่าวคับ

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 14, 2007 10:30 am
โดย ply33
Viewtiful Investor เขียน:SHIN
แต่ว่า บจ. ที่ลงทุนในบริษัทลูกมีตั้งเยอะนี่ครับ เช่น โรงหนัง,สื่อสาร,พลังงานด้วย หมายความว่าจะบันทึกเป็นรายได้ต่อเมื่อ บริษัทลูกปันผลมาให้ใช่ป่าวครับ

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 14, 2007 1:32 pm
โดย juntuma
ไปเปิดหนังสือมาครับ  งบรวมไม่มีปัญหาอะไร
ปัญหาอยู่ตรงงบเดี่ยวของแม่นี่สิ  ถ้าไม่มีรายได้เป็นของตนเอง
รอรับรู้รายได้จากลูกตามวิธีเดิม  งบเดี่ยวของแม่ก้อสวย
แต่ถ้ารับรู้เป็นแบบราคาทุน  งบแม่กำไรวูบ  ต้องรอปันผลที่จ่ายมาจริง
มันจะมีปัญหาในการปันผล  เรื่องใหญ่แน่ ๆ  ครับ
samart  tta  psl  etc.

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 14, 2007 1:44 pm
โดย ลูกอิสาน
ต้องถามว่านักลงทุนดูงบเดี่ยวหรืองบรวม
ผมคิดว่าเกือบทั้งหมดดูงบรวมทั้งนั้น

ส่วนเรื่องปันผล ถ้าบริษัทแม่อยากจะจ่าย
ก็บังคับให้บริษัทย่อยจ่ายปันผล
ถ้าบริษัทย่อยเหล่านั้นไม่ติดเงื่อนใขทางการเงินของธนาคาร
ประเด็นนี้คงไม่มีปัญหา


ส่วนสาเหตุที่แก้ใขประเด็นนี้คงเป็นเพราะต้องการให้นักลงทุนเห็นผลประกอบการชัดเจนขึ้น รู้ว่ากำไรมาจากบริษัทไหน ประมาณนี้ครับ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญมากแต่อย่างใด

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 14, 2007 11:21 pm
โดย โอ@
แต่มีอีกเรื่องครับ

ปกติเวลาบริษัทไปซื้อหุ้นบริษัทอื่นมา จะตัดค่า good will ไปเรื่อยๆจนเท่ากับมูลค่าตามบัญชีถูกไหมครับ

แต่ประกาศใหม่บอกว่าให้ประเมินค่า goodwill นั้นไปทุกปีครับ ถ้าปีไหนคิดว่าค่า goodwill นั้นเหมาะสมก็ไม่ต้องตัดบัญชี แต่ถ้าปีไหนคิดว่ามันลดลงก็ต้องเอามาคิด
(เอาเพิ่มไม่ได้นะครับได้แต่ลด)

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 15, 2007 12:55 pm
โดย terati20
ลูกอิสาน เขียน:ต้องถามว่านักลงทุนดูงบเดี่ยวหรืองบรวม
ผมคิดว่าเกือบทั้งหมดดูงบรวมทั้งนั้น

ส่วนเรื่องปันผล ถ้าบริษัทแม่อยากจะจ่าย
ก็บังคับให้บริษัทย่อยจ่ายปันผล
ถ้าบริษัทย่อยเหล่านั้นไม่ติดเงื่อนใขทางการเงินของธนาคาร
ประเด็นนี้คงไม่มีปัญหา


ส่วนสาเหตุที่แก้ใขประเด็นนี้คงเป็นเพราะต้องการให้นักลงทุนเห็นผลประกอบการชัดเจนขึ้น รู้ว่ากำไรมาจากบริษัทไหน ประมาณนี้ครับ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญมากแต่อย่างใด
เเสดงว่า งบรวมจะไม่มีผลกระทบ หรือเปล่า ?
งบดุล งบกระเเสเงินสด  จะมีผลกระทบไหมคับ ?
:?  :?  :?

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 15, 2007 5:49 pm
โดย ลูกอิสาน
terati20 เขียน:
เเสดงว่า งบรวมจะไม่มีผลกระทบ หรือเปล่า ?
งบดุล งบกระเเสเงินสด

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 15, 2007 6:00 pm
โดย Jeng
ไว้ดู spi ก็รู้เรื่อง มีแต่ลูก หลาน เหลน เต็มไปหมด หลอนก็มีนะ spi นี่

มาตรฐานบัญชีใหม่ เกี่ยวกับโฮลดิ้งกัมปะนี ชี้แนะด้วยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.พ. 15, 2007 7:39 pm
โดย Pekko
เท่าที่จำได้สมัยเรียน (ถ้าผิดถูกยังไงก็ขอโทษด้วย ลางเลือนเหลือเกิน)
กระแส M&A (Merged and Acquisition) มาจากฝั่งอเมริกาเมื่อประมาณ 7-8 ปีก่อน โดยแบ่งได้ 2 วิธี คือ Pooling และ Purchase

Pooling ไม่มีปัญหา เพราะต้องยุบบริษัทฯ รวมกัน แต่ Purchase มีปัญหา เพราะมีเรื่องให้ถกเถียงกันว่า เปอร์เซ็นต์การซื้อเท่าใดจึงถือเป็นหุ้นส่วนใหญ่ และจะใช้วิธีการรับรู้รายได้จากบริษัทย่อยอย่างไร

คำตอบตอนนั้น ให้ดูว่าบริษัทฯที่เข้าไปซื้อนั้น มีอำนาจการควบคุมบริษัทย่อยนั้นหรือไม่ ถ้ามีให้ใช้วิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) คือ จะรับรู้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯย่อยตามสัดส่วนการลงทุนในบริษัทย่อยในงบเดี่ยวของบริษัทฯ แม่  ส่วนงบการเงินรวมของบริษัทแม่ให้รับรู้ผลการดำเนินงานเต็มจำนวนของบริษัทย่อย และให้เพิ่มส่วนผู้ถือหุ้นกลุ่มน้อยของบริษัทย่อยในส่วนระหว่างหนี้สินกับทุนของบริษัทแม่ (กึ่งหนี้กึ่งทุน)

แต่ถ้าบริษัทที่เข้าซื้อนั้น ไม่มีอำนาจการควบคุมบริษัทย่อย ให้ใช้วิธีทุน (cost method) จะรับรู้รายได้ของบริษัทย่อยต่อเมื่อได้รับเงินปันผลจากบริษัทย่อยเท่านั้น

สำหรับเหตุผล และผลกระทบจากการเปลี่ยน คงเหมือนที่คุณลูกอิสานโพสท์ไว้ทุกประการ

เงินปันผล บริษัทแม่บอกบริษัทย่อยเพิ่ม% ก็หมดเรื่อง (แต่ก็อาจจะได้รับน้อยลง) อย่าห่วงมากเลยครับ