หน้า 1 จากทั้งหมด 2
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 11:34 am
โดย คัดท้าย
PR ตอนนี้ ถือหุ้น PB เป็นมูลค่าเท่ากับ MarketCap ของ PR เอง ...
อย่างนี้ PB กับ PR ตัวไหนน่าซื้อกว่ากันครับ และ ขอเหตุผลด้วยครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 11:58 am
โดย คลายเครียด
เสี่ยพิพัฒน์ สุดยอดเซียนการตลาดเคยพูดในที่ประชุมประจำปี
ในประเทศที่เจริญแล้ว
เบเกอรี่มีอนาคตกว่าบะหมีสำเร็จรูปครับ
ผมเลยเอา pr หนึ่งหุ้น
ไปแลกเป็น pb น่าจะได้ สองหุ้นครึ่งครับ
(หมายถึงตอนที่แลกนะ ไม่ใช่ตอนนี้)
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 12:05 pm
โดย Pekko
มีแต่ PR ไม่มี PB
สงสัยต้องเก็บ PB ตามเซียนซะแล้ว :)
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 12:20 pm
โดย triathlon
อืม น่าคิดคะ
เอาความเห็นตัวเองมาจับ
บะหมี่สำเร็จรูป ยังไงๆคนก็กิน ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดียิ่งกินเยอะ แต่ตอนนี้ แม้แต่ร้านก๊วยเจี๋ยวก็เอามาม่ามาขายด้วย ยำมาม่าก็อาร่อย
แต่...บะหมี่เนี่ยไม่ดีต่อสุขภาพแน่ๆ
เบเกอรี่ มีทั้งกินแล้วอ้วน และกินแบบสุขภาพดีเช่นพวกโฮลวีททั้งหลาย
ในแง่นี้ น่าจะดีทั้งคู่ แต่ถ้าขายในฐานะสินค้าสุขภาพ เบเกอรี่น่าจะเรียกราคาได้ดีกว่ามั้งคะ
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 12:25 pm
โดย คัดท้าย
ขอขัดจังหวะนิดครับ บางท่านน่าจะยังไม่ได้เห็นประเด็นที่ผมบอก
คือ
PR .... ถือหุ้น PB
PB ที่ PR ถืออยู่ตอนนี้ มีมูลค่าเท่ากับ มูลค่าทั้งบริษัทของ PR ... พูดง่ายๆคือ ถ้าคุณ เอาเงินไปซื้อ PR ทั้งบริษัท คุณจะได้หุ้น PR มาพร้อมกับหุ้น PB มูลค่าเท่าหุ้น PR ที่คุณซื้อ .... เอ ทำไมผมพูดไปงงๆ :lol:
พูดง่ายๆคือ เอาเงิน 100 ล้าน ซื้อ PB จะได้ PB 100 ล้านบาท
แต่เอาเงินซื้อ PR 100 ล้าน จะได้ หุ้น PR พร้อมหุ้น PB 100 ล้านบาท
ผมถามว่าอันไหนน่าซื้อกว่ากันและเพราะอะไร ซึ่งมันน่าสนใจอย่างที่พี่อีโต้ บอกครับ คือ PR ไม่ได้คิดจะขาย PB นี่หว่า เอ แล้วแบบไหนมันน่าสนกว่ากัน ผมเลยมาถามครับ
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 12:39 pm
โดย fantasia
เคยคุยกันไว้ในกระทู้เก่า ๆ เป็นประเด็นที่ค่อยข้างยาวพอสมควร
ตอนนั้นก็มีทั้งสองฝ่าย บ้างก็ว่า pb ดีกว่า บ้างก็ว่า pr ดีกว่า
ถ้ามูลค่าหุ้น pb ที่ pr ถือเท่ากับหรือมากกว่า mkt cap ของ pr
สำหรับผม pr ดีกว่าครับ ตราบเท่าที่ธุรกิจบะหมี่ยังไม่เป็น negative value
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 1:09 pm
โดย Accidental Hero
กรณี minor กับ mint คงคล้ายกันนะครับ
ในลักษณะที่คล้ายกัน คือหุ้นมีทรัพย์สินมาก
เช่น ถ้าเป็นหุ้นที่มีสินทรัพย์เป็นเงินสดหรือเทียบเท่าเงินสดมากๆ อย่าง CNS
ปัจจุบัน P/B แค่ 0.56
ถ้าซื้อได้ทังบริษัท แล้วแบ่งทรัพย์สินกัน ก็กำไรเห็นๆ
แต่ติดตรงที่ว่า บริษัทไม่ได้คิดจะเลิกกิจการ เลยไม่สามารถแบ่งเค้กสินทรัพย์กันได้
ส่วนความสามารถในการสร้างรายได้ ก็มีแนวโน้มลดลง
ถ้าถือไว้ เงินปันผลก็ไม่มากนัก อนาคตก็ทรงๆ
อย่างนี้ คุ้มไหมครับ ที่จะซื้อหุ้นอย่างนี้
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 1:36 pm
โดย jaychou
ถ้าซื้อ PR หวังแค่ PB และธุรกิจบะหมี่ทรงๆตัว
ซื้อ PR ...รับรู้ปันผลจาก PB เป็นกำไรทางบัญขี
ซื้อ PB ...รับรู้ปันผลจาก PB เป็นเงิน(เช็ค หรือเข้าบัญชี)
เรื่อง Mkt Cap. ก็คงเหมือนกับหุ้น P/B ต่ำกว่า 1 นั่นแหละ
ท่านคัทท้ายบอกผมเอง ว่าเงินของเรามาจากกระเป๋าคนอื่นไม่ใช่เหรอครับ
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 1:43 pm
โดย adi
ถ้าเป็นผมๆเลือก pr ซื้อหุ้นอย่างนี้ lynch ยังทำเลย
ถ้าผมมั่นใจในมูลค่าหุ้นของ pb ว่าราคาตอนนี้ไม่มั่ว แล้วมั่นใจว่าธุรกิจของ pr >0 ยังไงๆก็ต้องเลือก pr
นึกเหตุผลที่จะไม่ซื้อไม่ออก ถ้าจะว่ากันตามมูลค่าจริงๆ
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 4:18 pm
โดย สามัญชน
น่าคิดครับในยุคที่อะไรๆก็ไม่แน่นอน.......
ผมว่าถ้าเราซื้อได้ทั้งบริษัทก็ต้องเลือก pr เพราะเราไปเปลี่ยนจากความไม่แน่นอนมาสู่ความแน่นอน
แต่ถ้าเราซื้อได้บางส่วน เราก็ต้องอยู่กับความไม่แน่นอนต่อไป
ดร.เคยซื้อ tipco เพราะหวังในตัว tasco แต่แล้วก็ไม่สมหวังเพราะ tipco ไม่ทำในสิ่งที่ดร.อยากให้ทำ
ถ้าผมจะจีบหญิง ผมก็ต้อง set priority ว่าหญิงสำคัญอันดับหนึ่ง และลงมือจีบ ถ้าผมเข้าทางพ่อตาก็อาจจะมีโอกาสเหมือนกัน แต่ก็มีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง ขนาดพ่อตาตั้งใจยกลูกสาวให้แหงๆ แต่หญิงอาจจะไม่ยอมก็ได้
ง่า........ผมไม่อยากได้พ่อตามาครองอ่ะ.........
แซวเล่นเฉยๆ........เห็นหายหน้าหายตาไปนาน...
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 4:24 pm
โดย คลายเครียด
ขอบคุณเสี่ยคัดท้ายที่ช่วยชี้ลายแทงขุมทรัพย์ให้ครับ
เดี๋ยวเอาสามกลับไปแลกเป็นสองดีกว่า
:roll: :roll: :roll: :roll: :roll: :roll: :roll: :roll:
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 6:08 pm
โดย fantasia
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 6:27 pm
โดย fantasia
jaychou เขียน:
ซื้อ PR ...รับรู้ปันผลจาก PB เป็นกำไรทางบัญขี
ซื้อ PB ...รับรู้ปันผลจาก PB เป็นเงิน(เช็ค หรือเข้าบัญชี)
ตั้งแต่ PB เข้าตลาดมา ยังไม่เคยมีแม้แต่ปีเดียวครับที่ PR จ่ายปันผลเป็นจำนวนเงิน น้อยกว่า ปันผลที่รับมาจาก PB
มีแต่ PB ที่มาขอเงินเพิ่มทุนจาก PR
ปี 02 PB จ่ายปันผลให้ PR 16 ล้าน PR จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น 72 ล้าน
ปี 03 PB จ่ายปันผลให้ PR 23 ล้าน PR จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น 68 ล้าน
ปี 04 PB จ่ายปันผลให้ PR 25 ล้าน PR จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น 64 ล้าน
ปี 05 PB จ่ายปันผลให้ PR 36 ล้าน PR จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น 70 ล้าน
ภายใต้เงื่อนไงที่ว่า
1 ณ ราคาที่ Mkt Cap ของ PR เท่ากับหรือน้อยกว่า มูลค่าหุ้น PB ที่ PR ถืออยู่
2 PR จ่ายเงินปันผล ในจำนวนเงินที่มากกว่า ปันผลที่รับมาจาก PB
dividend yield ของ PR ณ ราคาดังกล่าว จะมากกว่า dividend yiled ของ PB ตลอดไป
ผมคิดว่าธุรกิจหลักของ PR มันไม่ได้ย่ำแย่ถึงขนาดที่จะต้องดึงเงินปันผลของ PB มาใช้หรอกครับ
และถึงเอามาใช้ ก็คงไม่เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า แต่จะเป็นการลงทุนที่นำมาเพิ่มผลตอบแทนในอนาคตครับ
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 7:19 pm
โดย ผู้ติดตาม
1.
jaychou wrote:
ซื้อ PR ...รับรู้ปันผลจาก PB เป็นกำไรทางบัญขี
ซื้อ PB ...รับรู้ปันผลจาก PB เป็นเงิน(เช็ค หรือเข้าบัญชี)
ยืนยันว่าเปลี่ยนไปแล้วครับ เพราะมีการประกาศเป็นนโยบายแล้วว่า เงินปันผลที่ได้จากบริษัทร่วม จะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลทั้งหมด และและเมื่อรวมกันแล้วปันผลรวมจะไม่น้อยกว่า 50% ของกำไรปกติครับ ดังนั้นอย่างไรเสียเงินปันผลของ PR ก็ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ PB วันยังค่ำครับ จากข้อนี้ตราบใดที่ PE ของ PR ยังต่ำกว่า PB แล้ววัดเฉพาะเงินปันผลซื้อ PR คุ้มกว่า PB ครับ
2. PR พึ่งจะสร้างโรงงานใหม่ที่มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนของตัวเอง แถมยังมีเงินไปเพิ่มทุน PB อีก ถ้าเป็นกรณีปกติ ผมอาจจะสงสัยว่า หาเรื่องเพิ่มทรัพย์สินโดยไม่เข้าเรื่องเดี๋ยวก็หาข้ออ้างไม่จ่ายปํนผล แต่เมื่อดูจากข้อ 1. และคุณพิพัฒน์ ที่เป็นกูรูทางการตลาดคนนึงของเมืองไทย ทำให้เชื่อว่า น่าจะมีช่องทางเติบโตได้ แต่ทีไม่ดีคือ ได้ BOI ทำให้ปันผลที่ได้ใหม่เอาไปเครดิตภาษีไม่ได้
3. ผมเคยมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจาก PR ไปเป็น PB ตามที่เฮียคลายเครียดแนะนำ ซึ่งถ้าทำ ก็จะได้ประมาณ PR 1 แลก PB ได้ 1.5 - 2 แต่ปัญหาคือปล่อย PR ได้ยากมาก ตอนนั้นมี แค่ 7000 หุ้น แต่ดูแล้วถ้าจะปล่อยหมดก็หลายวัน ในขณะที่ PB ราคาเดินหน้าทุกวัน ก็เลยท้อ ข้อสำคัญคือผมเคยตั้งใจว่า ถ้า PR เลิกถือหุ้น PA ผมจะลงทุน PR ต่อไปเพราะความเสี่ยงหายไปบานเลย
จากการวิเคราะห์ทุกอย่างแล้วรู้สึกว่า PR ปลอดภัยมากเหมาะกับการเป็นที่เก็บเงินให้ค่อยๆ โต โดยมีความเสี่ยงน้อย ก็เลยหลงกลเอาปันผลที่ได้จากทุกตัวมาลงที่ตัวนี้หมด ปัจจุบันทบจนมากกว่าเดิมอีกเท่าตัว แต่ราคามันก็ยิ่ง Under Book Value มากยิ่งขึ้น แสดงว่า
วิเคราะห์ดีมีเหตุผลหมด แต่นายตลาดยังตาถั่วอยู่ก็เลยต้องจมอยู่กับ PR ต่อไป ใครอยากจะมาจมร่วมกับผมเชิญได้ครับ เพี้ยงขอให้เฮียคลายเครียดย้ายมาจริงเผื่อ จะทำให้นายตลาดเปลี่ยนใจหันมาดู PR บ้าง ไม่ขอมากครับแค่ให้ราคากลับขึ้นไปเท่ากับ BOOk ก็พอ :D :D :D
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 16, 2007 7:34 pm
โดย โอ@
ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) % หุ้น
1 บริษัท เพรซิเดนท์โฮลดิ้ง จำกัด 3,901,960 32.52
2 นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ 1,450,179 12.08
3 นายวีรพัฒน์ พูนศักดิ์อุดมสิน 507,600 4.23
4 นายกำธร ตติยกวี 432,800 3.61
5 บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 360,000 3.00
6 นายสงวน ตติยกวี 300,800 2.51
7 นายนิติ โอสถานุเคราะห์ 292,700 2.44
8 นายเพชร พะเนียงเวทย์ 277,400 2.31
9 MR.PETER ERIC DENNIS 244,800 2.04
10 MR.KENNETH RUDY KAMON 221,500 1.85
11 นายกำธร พูนศักดิ์อุดมสิน 182,400 1.52
12 น.ส.ดวงตา ไกรฤกษ์ 147,000 1.23
13 บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) 144,500 1.20
14 SOMERS (U.K.) LIMITED 144,200 1.20
15 นางอรพินท์ พูนศักดิ์อุดมสิน 140,300 1.17
16 นายไกรยง ธนยงพิบูล 121,065 1.01
17 น.ส.มัลลิกา ตันอนุชิตติกุล 119,998 1.00
18 MISSMICHIKO TSUKIOKA 96,000 0.80
19 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 83,100 0.69
20 น.ส.ไพเราะ ฉัตรชมชื่น 79,898 0.67
21 นายกำพล ตติยกวี 79,200 0.66
22 นางกมลวรรณ เชาว์ขวัญยืน 75,700 0.63
23 นายบุญชัย ศิริวัฒนา 68,000 0.57
24 นายบุญเปี่ยม เอี่ยมรุ่งโรจน์ 65,500 0.55
Take over เลย 8)
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 17, 2007 1:17 pm
โดย 007-s
อืม ก็น่าสนใจทั้งสองตัวแหละค่ะ
เมื่อ คำนวนสัดส่วนที่ pr ถือ pb อยู่ แล้วคูณด้วยราคาตลาดของ pb ตรงๆ แล้วหักด้วยหนี้สิน และบวกด้วยเงินสด ของ pr แล้วหาร จำนวนหุ้นของ pr
จะเห็นว่า ตลาดให้ราคา กิจการและทรัพย์สินอื่นๆ ของ pr น้อยมาก
pr จัดเป็นหุ้นที่ไม่แพง
แต่ ถ้าทุกคนร่วมใจกันขาย pb ราคาตลาดของ pb ย่อมไหลร่วงลงมา ซึ่งก็ย้อนกลับไปมีผลต่อมูลค่าหุ้น pb ตามจำนวนที่ pr ถืออยู่
แล้วตอนนั้น pr จะยังคงเป็นหุ้นที่ไม่แพงอีกหรือไม่
ทีนี้ แล้วโดยความเป็นจริง pr คงยังไม่มีแม้แต่แนวคิด ที่จะขาย pb
เพราะเพิ่งจะยอมให้เงินเพิ่มทุนไป ย่อมหมายถึง มองแล้วว่าจำนวนเงินที่ใส่ลงไปใหม่ให้ pb นั้นมีอนาคตที่ดีมากกว่าเก็บเงินส่วนนั้นไว้ลงทุนเองใน pr ตอนที่ตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติม
ก็มีนัยยะว่า pb คือลูกคนโปรดของ pr ....อิอิ
ท่านฉัตรชัยพูดไว้งี้ น่าสนใจ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... c&start=30
หลักเกณฑ์การบันทึกรายได้ ค่าใช้จ่าย ตลอดจนกำไรสุทธินั้น ขึ้นอยู่กับการตั้งหลักเกณฑ์
สำหรับผมแล้ว เงินสดก็คือเงินสดครับ ไม่ว่าหลักเกณฑ์จะเป็นอย่างไร
เข้าใจว่า หมายถึง ต้องไปคิดเอากันเองว่า ระหว่าง pr และ pb ใครจะผลิตกำไรที่เป็นตัวเงินจริงๆ ได้ดีกว่ากัน
สำหรับเรื่อง การคิดมูลค่าหุ้น pb ที่ pr ถืออยู่
ดิฉันว่า ถ้าทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า pr ถูกกว่า(วัดที่ราคาตลาด) แล้วพร้อมใจกันขาย pb ไปซื้อ pr
pr ต้องมีราคาตลาดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว,และ pb ย่อมต้องลดลงรวดเร็วด้วย (เนื่องจากวอลลุ่มน้อยมาก)
แล้วที่สุด มุมมองด้านใครถูกแพง จะกลับข้างทันที
:lol:
และ ไม่น่าใช้เวลานาน ในการกลับมุม
ถ้า ผู้ถือหุ้น pb ระดับแค่ซักหลักหมื่น *10-20 ท่าน คิดพร้อมกัน ก็พอแล้ว
(พวกหลักแสน คงกลับมุมไปมา ไม่ทันแน่ ดังนั้นคงทราบดีว่าไม่กลับดีกว่า,พวกหลักพันลงมา คงกลับตัวไปมาเร็วกว่าใคร แต่ถ้าหลักพันรวมตัวกันกลับ แล้วหลักหมื่นเปลี่ยนใจไม่ยอมกลับมุมด้วย อันนี้หลักพันอาจจะต่อยฟรีชกลมก็เป็นได้นะ )
นายตลาด มีเสน่ห์อย่างนี้นี่เอง
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 17, 2007 1:24 pm
โดย woody
พี่ 007-s นี่เฉียบคบมากครับ สรุปได้ถึงแก่น :D
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 17, 2007 1:51 pm
โดย อองตวน
คุงศูนย้ศูนย์เจ็ดลึกซึ้งๆ ยิ่งทั้งคู่ไม่มีสภาพคล่องพอกัน อาร์บิทราจปั๊บก็หมดแก็บ
สำหรับเรโชโนโกรตหยาบๆของผม พีอาร์ ประมาณ เจ็ดฝ่าๆ ส่วนพีบี ประมาณ แปดฝ่าๆ สรุปว่าราคาทั้งคู่ตอนนี้ถูกแพงไม่ต่างกันมาก
ถ้าเอาทั้งคู่ไปเทียบกับหุ้นอื่นๆก็อยู่กลางๆไม่แพง ก็มีหุ้นอื่นทั้งที่ถูกกว่าและแพงกว่า
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 17, 2007 3:36 pm
โดย คัดท้าย
ที่คุณ 007-s อธิบาย เป็นเรื่องของราคา ของหุ้นสภาพคล่องต่ำ ในกรณีที่คนจะขายตัวนึง ไปซื้ออีกตัวนึง
ทีนี้ ถ้าสมมุติ ท่านไม่มีหุ้นทั้ง PB และ PR
และท่านเกิดสนใจหุ้นทั้งสองตัวนี้อยู่ และกำลังอยากลงทุน ท่านชอบ PB หรือ PR กว่ากันครับ ???
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 17, 2007 4:19 pm
โดย Jeng
ถ้า ราคา pb ที่ 72 บาทเป็นราคาที่ถูกมาก น่าซื้อ
ก็ให้ซื้อ pr ครับ เพราะ เหตุผลที่คัดท้ายว่าไว้ ว่า pr ถือหุ้น pb เท่ากับราคาตลาด pr
นั่นคือ ได้ pr ฟรี
ส่วนตัว pr นั้น เก่งเหมือนกัน คือ ไม่ต้องเพิ่มทุน แต่สามารถ ปันผลได้ และสามารถ ไปลงทุนเพิ่มใน pb อีก 225.09 ล้าน โดยไม่ก่อหนี้ได้
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ในระหว่างงวด บริษัทฯได้ซื้อเงินลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 5,627,250 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 40 บาท (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) เป็นจำนวนเงิน 225.09 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทร่วม
อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่า ราคา pb ที่ 72 น่าซื้อ หรือไม่ เพราะอะไร ถ้าน่าซื้อ เพราะผลตอบแทนคุ้มค่า ก็ซื้อ pr ครับ
เพราะ 1. pr มีกำไร
2. pr ไม่มีหนี้
3. pr มีหุ้น pb คิดเป็นมูลค่า 1200 ล้าน ที่ราคา 72 เท่ากับ ราคาทั้งบริษัทของ pr
4. pr ยังสามารถลงทุนต่อในหุ้นตัวอื่นๆ เพราะธุรกิจสร้างกระแสเงินสด และมีประสบการณ์ ในการลงทุนแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผมไม่ค่อยชอบกิจการที่โตแบบเพิ่มทุน คือ pb ที่ต้องเพิ่มทุน 15 ล้านหุ้น หุ้นละ 40 บาท ได้เงินไป 600 ล้านบาท
ซึ่งตรงนี้ ก่อนเพิ่มทุนนั้น ปี 2548 pb มียอดขาย 2156 ล้าน กำไร 191 ล้าน
ราคาตลาดขึ้นมาสูงมาก เป็น 74 เท่ากับ มาร์เก็ตแค๊บเดิม คือคูณ 30 ล้าน เท่ากับ 2220 ล้าน หรือ pe 11.62 ซึ่งนับว่าไม่แพง เพราะว่า pb โตเร็ว
ถ้าเดาไปเลย เอาแบบดีสุดๆ ใครมีตัวเลขประมาณการใกล้เคียงมาว่ากันด้วย คือ สมมุติว่า อีก 3 ปี หลังเพิ่มทุน คือเพิ่มทุน ปี 2549 ก็ ประมาณ ปี 2551
ขยายโรงงานเสร็จ และขายได้ด้วย เอาให้โตเท่าตัว ทั้ง ยอดขาย และกำไร คือ 4312 และกำไร 382 ล้าน
แต่ว่าตอนนี้ มีหุ้น 45 ล้านหุ้น ราคา 72 คือ มาร์เก็ตแค๊บ 3240 ล้าน กำไร 382 ล้าน
ก็ เท่ากับ pe 8.48
ถามว่า pe ของ pb ควรจะสูงต่อไปหรือไม่ ผมไม่ทราบ เพราะว่า ไม่รู้ว่า อีกหน่อย อยากโตอีก ต้องมาเพิ่มทุนอีกหรือเปล่า
หรือว่า สามารถใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานไปสร้างโรงงานใหม่ได้
สำหรับผมแล้ว pb 72 บาทไม่น่าซื้อเพราะมีตัวอื่นน่าซื้อกว่าครับ
ทำให้ไม่ต้องคิดว่า pr น่าซื้อหรือไม่
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 17, 2007 4:23 pm
โดย คัดท้าย
ขอบคุณครับพี่เจ๋ง :D
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 17, 2007 5:53 pm
โดย อองตวน
ตัวผมไม่ได้เน้นสต๊อคพิค อย่างเดียว ดูแอสเซทอัลโลเคชั่น(ระดับเซ็คเตอร์)ด้วย
ทั้งสองตัว สำหรับหุ้นในหมวด คอนซูเมอร์สเตเพิล ถือว่าน่าสนใจ ฮับ
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.พ. 17, 2007 9:13 pm
โดย nuttachk23
แต่ผมว่า pb นี้ถูกนะครับถ้าเทียบกับการเติบโต
EPS 06 ประมาณ 6 บาท/หุ้น PE = 12
รายได้น่าจะโตได้อีก 15 % ต่อปี ได้อีก 4-5 ปี จากการขยายโรงงาน
ส่วนกำไรน่าจะโตมากกว่า รายได้ จาก EOS และความสามารถในการขึ้นราคาขายได้ ต้นปี 06 ขึ้นราคาขนมปังแถว 1 บาท แต่กำไรโต 20-30%
ค่าเสื่อมเครื่องจักรใหม่บางส่วนก็ตัด 20 ปี จึงไม่น่าห่วงว่าขยายโรงงงานแล้วกำไรจะลด
ส่วนการเพิ่มทุนผมเข้าใจว่าจริงๆแล้ว บ.สามารถใช้กำไรสะสม และกู้มาเพื่อขยายโรงงานได้ เนื่องจาก D/E ก็ต่ำอยู่ แต่ บ.อาจจะอยากเพิ่มสภาพคล่อง ของหุ้นด้วยเลยเลือกวิธีนี้
ที่สำคัญคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจนี้ขาดทุนแทบทุกราย
ถึงจะดูว่า PR ถูกกว่า แต่ผมชอบ PB มากกว่าครับไม่มีเหตุผล
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 18, 2007 12:08 am
โดย woody
nuttachk เขียน:
ที่สำคัญคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจนี้ขาดทุนแทบทุกราย
อืม ไม่ทราบว่าได้ข้อมูลมาจากแหล่งไหนหรือครับ อยากไปดูบ้างจังเลย
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 18, 2007 8:39 am
โดย nuttachk23
บริษัท การ์ดิเนีย ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด
จำนวนเงิน (บาท)
ปีงบ 2547
รายได้หลัก 257,732,344
รวมรายได้ 276,512,920
ต้นทุนขาย 195,573,060
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 102,523,973
ดอกเบี้ยจ่าย 8,081,679
ภาษีเงินได้ 0
รวมรายจ่าย 0
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ -29,894,467
บริษัท เอส.ที.เบเกอรี่ จำกัด
ปีงบ 2547
รายได้หลัก 180,533,666
รวมรายได้ 182,455,277
ต้นทุนขาย 149,809,824
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 36,524,100
ดอกเบี้ยจ่าย 5,784,038
ภาษีเงินได้ 0
รวมรายจ่าย 0
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ -9,662,686
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 18, 2007 10:07 am
โดย yoyo
เค้าขาดทุนจริงๆ หรือเค้าจงใจให้ขาดทุนครับ ...
บริษัทนอกตลาดผมว่าคาดการณ์ยาก
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 18, 2007 10:37 am
โดย nuttachk23
บริษัท การ์ดิเนีย ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด
จำนวนเงิน (บาท)
ปีงบ 2547 ปีงบ 2546 ปีงบ 2545
สินทรัพย์
ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับสุทธิ 27,530,642***30,410,290***21,840,169
สินค้าคงเหลือ 14,023,118***11,095,798***10,238,761
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 53,843,918***49,064,654***38,118,316
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์(สุทธิ) 157,185,113***172,499,822***82,557,269
รวมสินทรัพย์ 248,767,831***249,900,546***149,548,636
หนี้สินและทุน
รวมหนี้สินหมุนเวียน 166,088,077***281,702,744***48,446,033
รวมหนี้สิน 224,944,168***354,730,160***680,288,785
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 23,823,663***-104,829,614***-530,740,149
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 248,767,831***249,900,546***149,548,636
ทุนจดทะเบียน 588,727,600***409,727,600***12,000,000
ทุนชำระแล้ว 588,727,600***409,727,600***12,000,000
บริษัท การ์ดิเนีย ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทลูก แม่เข้าใจว่าเป็นสิงคโปร์
ขาดทุนสะสมจนต้องเพิ่มทุนมาตลอด ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะแต่งงบหรือเปล่า
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 18, 2007 1:25 pm
โดย woody
ขอบคุณครับพี่ nuttachk ว่าแต่ ST Bakery นี่ เค้าทำอะไรหรือครับ อืม ว่าแต่พี่ nuttachk พอจะมีงบของบริษัทที่ทำหนมปัง a-plus หรือเปล่าครับ เห็นว่าเชียงใหม่โฟรเซ่นถือหุ้นอยู่ด้วย 49%
Re: ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทขอ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 18, 2007 3:27 pm
โดย jaychou
คัดท้าย เขียน:PR ตอนนี้ ถือหุ้น PB เป็นมูลค่าเท่ากับ MarketCap ของ PR เอง ...
พลิกตำราบัญชีมาตอบครับ ตามงบการเงิน PR ล่าสุดไตรมาส 3
เห็นลงในงบการเงิน 612 ล้านเองนี่ครับ วิธีส่วนได้เสีย หรือ 425 ล้าน ด้วยวิธีราคาทุน
ดังนั้นแปลว่า PR รับรู้แต่เพียง
ส่วนของผู้ถือหุ้น ของ PB ครับ แต่ถ้าขายหุ้นPB ออกไป ก็จะเกิดเป็นกำไรระหว่างราคาขาย-ราคาทุนครับ ถ้ายุให้ PR ขายได้จะกำไรเพียบเลยครับ
ในหมายเหตุประกอบงบ บอกไว้แต่เพียงว่า "ในระหว่างงวด บริษัทฯได้ซื้อเงินลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 5,627,250 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 40 บาท (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) เป็นจำนวนเงิน 225.09 ล้านบาท
ทั้งนี้เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทร่วม"
อยากให้ PR รับรู้กำไรหรือมูลค่าหุ้น PB ต้องภาวนาให้สหพัฒน์เปลี่ยนนโยบายเรื่องการถือหุ้น ขายหุ้นครับ ผมว่า ICC นี่ก็น่าแกะงบ เพราะถือหุ้นในเครือสหพัฒน์เพียบเลยเหมือนกัน มีเวลาว่างซัก 2-3 วันก็ลองดูนะครับ :lol:
ถาม VI หน่อยครับ ถ้า PR ถือ PB มูลค่าเท่ากับทั้งบริษัทของ PR
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 18, 2007 5:53 pm
โดย nuttachk23
บริษัท เอส.ที.เบเกอรี่ จำกัด เป็น ผู้ดำเนินธุรกิจขนมปังแบรนด์ twist"
เชียงใหม่โฟรเซ่นฟู้ดส์, บมจ.
บริษัทย่อย
- บริษัท ซี แอนด์ ดับบลิว อินเตอร์ฟูดส์ จำกัด ผลิตและจำหน่าย Frozen Dough
และ Bakery Products โดยการนำเอาแป้งมาเป็นวัตถุดิบ นำมาผ่านกระบวนการผลิต แล้วนำไปแช่แข็งไว้ที่อุณหภูมิ ประมาณ -25 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์ของ
บริษัทฯ เช่น ขนมปัง ขนมเค็ก คุ้กกี้ ขนมอบทุกชนิด แป้งและขนมปังแช่แข็ง เป็นต้น
งบกำไรขาดทุนของ บริษัท ซี แอนด์ ดับบลิว อินเตอร์ฟูดส์
ปีงบ 2547
รายได้หลัก 124,784,600
รวมรายได้ 127,689,887
ต้นทุนขาย 124,965,771
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 62,162,175
ดอกเบี้ยจ่าย 4,254,238
ภาษีเงินได้ 0
รวมรายจ่าย 0
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ -63,692,298