รบกวนเรื่องการผ่อนผันมาตรการ 30%
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 01, 2007 10:13 pm
ธปท.เตรียมผ่อนผันมาตรการกันสำรอง 30% เงินลงทุนใน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารหนี้ กองทุนรวม และกองทุนอสังหาฯ โดยให้มีผล 15 มี.ค.นี้ โดยเลือกที่จะทำประกันความเสี่ยงกับสถาบันการเงินในปท.เท่ากับจำนวนเงิน และระยะเวลาการลงทุน(Fully Hedge) แทนการสำรอง 30% ได้ โดยประกันความเสี่ยง FX Swap หรือ Cross Currency Swap อายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ผ่านคัสโตเดียน และหากถือครองเงินลงทุนดังกล่าวต่อ ให้ rollover ธุรกรรม swap โดยมีระยะเวลาสอดคล้องกับการถือครองเงินลงทุน
เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. วันนี้(1 มี.ค.) น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดแถลงมาตรการผ่อนผันการตั้งสำรอง 30% สำหรับ เงินทุนนำเข้าระยะสั้นที่เข้ามาลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารหนี้ กองทุนรวม และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ให้สามารถเลือกที่จะทำประกันความเสี่ยงกับสถาบันการเงินในประเทศไทยเท่ากับจำนวนเงินและระยะเวลาการลงทุน(Fully Hedge)แทนการสำรอง 30% ได้
ทั้งนี้ นักลงทุนจะต้องทำประกันความเสี่ยงเป็นธุรกรรม FX Swap หรือ Cross Currency Swap อายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ผ่านคัสโตเดียน และหากถือครองเงินลงทุนดังกล่าวต่อ ให้ rollover ธุรกรรม swap โดยมีระยะเวลาสอดคล้องกับการถือครองเงินลงทุน
เงินดังกล่าวจะต้องนำเข้าบัญชีเงินบาทที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะการลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุน(Special Non-resident Baht Account for Debt Securities and Unit Trust: SND)โดยให้มียอดคงค้าง ณ สิ้นวันไม่เกิน 300 ล้านบาท และการฝากถอนเงินจากบัญชี SND ให้ทำเพื่อธุรกรรมการลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุนเท่านั้น
พร้อมกันนั้น ธปท.ยังยกเลิกข้อกำหนดมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทในเรื่องให้ Non-resident ถือครองพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. เกินกว่า 3 เดือนด้วย
น.ส.นิตยา กล่าวอีกว่า ผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรธปท.ไม่เกิน 3 เดือน สามารถขายตราสารได้ในตลาด หากประสงค์จะเปลี่ยนไปถือครองตราสารหนี้ประเภทอื่น แต่เงินที่นำเข้ามาลงทุนต้องอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 3 เดือน
ก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวยืนยันที่จะคงมาตรการสำรอง 30% ต่อไป เพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท แต่จะให้ทางเลือกกับการนำเงินเข้ามาลงทุนทุกประเภท เพราะการทำประกันความเสี่ยงทำให้ค่าเงินบาทไม่กระเพื่อม
นางธาริษา ระบุว่า มาตราการ 30% เป็นประโยชน์เพื่อชาติ อะไรให้ทางเลือกได้ก็ให้ไป การให้ทางเลือกไม่ได้ทำให้มาตรการอ่อนลงไป
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการลาออกของม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังว่า คงไม่ทำให้การใช้มาตรการสำรอง 30% เปลี่ยนแปลงไป เพราะการนำมาตรการดังกล่าวมาใช้เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนและผลลัพธ์ที่ออกมาก็ดีมาก ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง จนกระทั่งปัจจุบันเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มกับค่าเงินในภูมิภาค ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้ธปท.พอใจ
"ค่าเงินบาทอยู่ที่เท่าไหร่ไม่ได้กะเกณฑ์ ขอให้เกาะกลุ่มก็พอ"
ส่วนผลกระทบในด้านอื่นจากการเปลี่ยนตัวรมว.คลังนั้น นางธาริษา กล่าวว่า แม้จะเกิดความไม่แน่นอนขึ้น แต่หลังจากที่ผู้คนเคยชินทุกอย่างก็กลับเข้าที่ ไม่ใช่เรื่องถาวร กลไกระบบการทำงานของธปท.ก็เป็นไปตามปกติ เพราะธปท.มีบทบาทชัดเจนในการดูแลเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพการเงิน
อย่างไรก็ตาม นางธาริษา ให้ความเห็นว่ารมว.คลังคนใหม่ควรจะต้องมีบทบาทและความน่าเชื่อถือในสายตานักลงทุนและสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
คือจากข่าวนี้อ่านแล้วงงน่ะครับ อยากทราบว่ามันต่างจาก
การตั้งสำรองอย่างไรครับการทำFully Hedgeโดยประกันความเสี่ยง FX Swap หรือ Cross Currency Swap อายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ผ่านคัสโตเดียน และหากถือครองเงินลงทุนดังกล่าวต่อ ให้ rollover ธุรกรรม swap โดยมีระยะเวลาสอดคล้องกับการถือครองเงินลงทุน
รบกวนพี่ๆที่รู้ช่วยอธิบายหน่อยครับ
เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. วันนี้(1 มี.ค.) น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดแถลงมาตรการผ่อนผันการตั้งสำรอง 30% สำหรับ เงินทุนนำเข้าระยะสั้นที่เข้ามาลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตราสารหนี้ กองทุนรวม และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ให้สามารถเลือกที่จะทำประกันความเสี่ยงกับสถาบันการเงินในประเทศไทยเท่ากับจำนวนเงินและระยะเวลาการลงทุน(Fully Hedge)แทนการสำรอง 30% ได้
ทั้งนี้ นักลงทุนจะต้องทำประกันความเสี่ยงเป็นธุรกรรม FX Swap หรือ Cross Currency Swap อายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ผ่านคัสโตเดียน และหากถือครองเงินลงทุนดังกล่าวต่อ ให้ rollover ธุรกรรม swap โดยมีระยะเวลาสอดคล้องกับการถือครองเงินลงทุน
เงินดังกล่าวจะต้องนำเข้าบัญชีเงินบาทที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะการลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุน(Special Non-resident Baht Account for Debt Securities and Unit Trust: SND)โดยให้มียอดคงค้าง ณ สิ้นวันไม่เกิน 300 ล้านบาท และการฝากถอนเงินจากบัญชี SND ให้ทำเพื่อธุรกรรมการลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุนเท่านั้น
พร้อมกันนั้น ธปท.ยังยกเลิกข้อกำหนดมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทในเรื่องให้ Non-resident ถือครองพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. เกินกว่า 3 เดือนด้วย
น.ส.นิตยา กล่าวอีกว่า ผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรธปท.ไม่เกิน 3 เดือน สามารถขายตราสารได้ในตลาด หากประสงค์จะเปลี่ยนไปถือครองตราสารหนี้ประเภทอื่น แต่เงินที่นำเข้ามาลงทุนต้องอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 3 เดือน
ก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวยืนยันที่จะคงมาตรการสำรอง 30% ต่อไป เพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท แต่จะให้ทางเลือกกับการนำเงินเข้ามาลงทุนทุกประเภท เพราะการทำประกันความเสี่ยงทำให้ค่าเงินบาทไม่กระเพื่อม
นางธาริษา ระบุว่า มาตราการ 30% เป็นประโยชน์เพื่อชาติ อะไรให้ทางเลือกได้ก็ให้ไป การให้ทางเลือกไม่ได้ทำให้มาตรการอ่อนลงไป
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการลาออกของม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังว่า คงไม่ทำให้การใช้มาตรการสำรอง 30% เปลี่ยนแปลงไป เพราะการนำมาตรการดังกล่าวมาใช้เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนและผลลัพธ์ที่ออกมาก็ดีมาก ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง จนกระทั่งปัจจุบันเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มกับค่าเงินในภูมิภาค ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้ธปท.พอใจ
"ค่าเงินบาทอยู่ที่เท่าไหร่ไม่ได้กะเกณฑ์ ขอให้เกาะกลุ่มก็พอ"
ส่วนผลกระทบในด้านอื่นจากการเปลี่ยนตัวรมว.คลังนั้น นางธาริษา กล่าวว่า แม้จะเกิดความไม่แน่นอนขึ้น แต่หลังจากที่ผู้คนเคยชินทุกอย่างก็กลับเข้าที่ ไม่ใช่เรื่องถาวร กลไกระบบการทำงานของธปท.ก็เป็นไปตามปกติ เพราะธปท.มีบทบาทชัดเจนในการดูแลเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพการเงิน
อย่างไรก็ตาม นางธาริษา ให้ความเห็นว่ารมว.คลังคนใหม่ควรจะต้องมีบทบาทและความน่าเชื่อถือในสายตานักลงทุนและสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
คือจากข่าวนี้อ่านแล้วงงน่ะครับ อยากทราบว่ามันต่างจาก
การตั้งสำรองอย่างไรครับการทำFully Hedgeโดยประกันความเสี่ยง FX Swap หรือ Cross Currency Swap อายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ผ่านคัสโตเดียน และหากถือครองเงินลงทุนดังกล่าวต่อ ให้ rollover ธุรกรรม swap โดยมีระยะเวลาสอดคล้องกับการถือครองเงินลงทุน
รบกวนพี่ๆที่รู้ช่วยอธิบายหน่อยครับ