ต่างชาติวิเคราะห์'บาทแข็ง-เชื่อมั่นหด'ทำศก.ไทยแย่สุดในรอบ5ปี
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 04, 2007 10:58 pm
เอเอฟพี - นักวิเคราะห์ลงความเห็น การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอาจเลวร้ายที่สุดในรอบ 5 ปี อันเป็นผลจากความเชื่อมั่นนักลงทุนตกต่ำ อีกทั้งเงินบาทที่กำลังแข็งค่ายังกระทบการส่งออก
ถึงแม้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมิได้เปิดเผยข้อมูลชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญบางชิ้นตามคาด โดยให้เหตุผลการล่าช้าครั้งนี้ว่าเป็นเพราะการใช้ระบบบัญชีใหม่ ทว่า นักวิเคราะห์จำนวนมากต่างฟันธงไปล่วงหน้าเรียบร้อยแล้วว่า สัญญาณบ่งชี้เศรษฐกิจในปัจจุบันคงออกมาไม่ดีนัก
ข่าวการลาออกอย่างกะทันหันของม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีคลังของไทยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (28 ก.พ.) และความพยายามเฟ้นหาผู้ดำรงตำแหน่งขุนคลังคนต่อไปของรัฐบาลไทย มีแต่จะสร้างความไม่มั่นใจให้แก่บรรดานักลงทุนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจของไทย ภายหลังเกิดการรัฐประหารแบบไร้การนองเลือดเมื่อ 5 เดือนก่อน
บรรดานักลงทุนไม่ได้เศร้าเสียใจกับการลาออกของรัฐมนตรคลังผู้นี้ ภายหลังจากเขาได้สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วด้วยการประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุนอย่างเข้มงวด และยกเครื่องกฎการลงทุนของต่างชาติ
และแม้ว่าทางรัฐบาลจะประกาศยกเลิกมาตรการควบคุมเงินทุนส่วนใหญ่แล้ว แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นและความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังไม่สามารถฟื้นคืนดังเดิมได้
สถานการณ์ความเชื่อมั่นของนักลงทุนดูจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้น เมื่อเกิดการลอบวางระเบิดในกรุงเทพฯช่วงเทศกาลปีใหม่ ตามติดมาด้วยคำเตือนจากรัฐบาลถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการลอบโจมตีขึ้นอีก
ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยระบุว่า ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้มีส่วนทำให้ทางสถาบันคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ลดลงมาต่ำกว่าระดับ 4% เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ระดับ 5% ในปีที่แล้ว
ดร.พิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวแจกแจงยกตัวอย่างโดยอ้างอิงตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า ตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ของเพื่อนบ้าน อาทิ เวียดนามอยู่ที่ระดับ 7.7% มาเลเซีย 5.4% และอินโดนีเซีย 5.9%
"ส่วนตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้ อาจดำดิ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา"
ดร.พิมลวรรณกล่าวต่อว่า การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและความไร้ระเบียบในสังคม รวมไปถึงปัญหาการขู่วางระเบิด โดยปัญหาทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น จำเป็นที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขโดยเร็ว เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจกลับมาเข้มแข็งดังเดิม
ด้าน ถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากบริษัทหลักทรัพย์ ภัทรชี้ว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนน่าจะอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ต่อไปจนกว่ารัฐบาลจะจัดการเลือกตั้ง โดยทางบริษัทได้ปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ลงจาก 4.4% เหลือ 3.7%
ขณะที่ตัวเลขประมาณการจีดีพีของรัฐบาลไทยแม้อยู่ที่ราว 4.5% แต่ก็ถือว่าเป็นชาติที่ต่ำที่สุดรายหนึ่งในภูมิภาค
บริษัทหลักทรัพย์ ภัทรกล่าวไว้ในรายงานฉบับหนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า ดีมานด์การบริโภคภายในประเทศลดต่ำลง พร้อมๆกับการที่ดัชนีชี้วัดการลงทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตัวต่ำลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ขณะที่ปริมาณการบริโภคแทบจะไม่มีแนวโน้มเติบโตเลย
"ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจไทยจึงยังไม่น่าฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด จนกว่าจะถึงปลายปีนี้"
นอกจากนั้น ปัญหาที่น่าวิตกสำหรับเศรษฐกิจไทยอีกเรื่องคือ ธุรกิจด้านการส่งออกซึ่งมีสัดส่วนถึง 60% ของเศรษฐกิจทั้งประเทศ ทว่า ภาคธุรกิจนี้เริ่มอ่อนกำลังลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและเงินบาทแข็งค่าขึ้น
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้า กล่าวว่า ทางศูนย์คาดว่า การส่งออกของไทยน่าจะขยายตัวประมาณ 10% ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ เมื่อเทียบกับระดับ 17.9% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยดร.อัทธ์แจงว่า สาเหตุหลักที่ทำให้การส่งออกชะลอตัวลงคือ การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทซึ่งทำให้สินค้าไทยในต่างประเทศแพงขึ้น
กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่า การส่งออกของไทยปีนี้จะขยายตัว 12.5% เมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวที่ระดับ 17.4% ในปีที่แล้ว รวมมูลค่าประมาณ 145,900 ล้านดอลลาร์
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000025768
ผมว่าส่งออกปีนี้น่าจะโดนเต็มๆ ยิ่งหม่อมอุ๋ยไม่อยู่คงไม่มีใครออกมาตรการบรรเจิดมาช่วยอีกแล้ว ปีนี้เตรียมรัดเข็มขัดเลือกหุ้นอย่างระมัดระวังไว้ก็น่าจะดีนะครับ
เอ... แต่นักวิเคราะห์พร้อมใจกันออกมาฟันธงแบบนี้ หรือว่ามันจะเป็นตรงกันข้ามหว่า :lol:
ถึงแม้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมิได้เปิดเผยข้อมูลชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญบางชิ้นตามคาด โดยให้เหตุผลการล่าช้าครั้งนี้ว่าเป็นเพราะการใช้ระบบบัญชีใหม่ ทว่า นักวิเคราะห์จำนวนมากต่างฟันธงไปล่วงหน้าเรียบร้อยแล้วว่า สัญญาณบ่งชี้เศรษฐกิจในปัจจุบันคงออกมาไม่ดีนัก
ข่าวการลาออกอย่างกะทันหันของม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีคลังของไทยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (28 ก.พ.) และความพยายามเฟ้นหาผู้ดำรงตำแหน่งขุนคลังคนต่อไปของรัฐบาลไทย มีแต่จะสร้างความไม่มั่นใจให้แก่บรรดานักลงทุนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจของไทย ภายหลังเกิดการรัฐประหารแบบไร้การนองเลือดเมื่อ 5 เดือนก่อน
บรรดานักลงทุนไม่ได้เศร้าเสียใจกับการลาออกของรัฐมนตรคลังผู้นี้ ภายหลังจากเขาได้สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วด้วยการประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุนอย่างเข้มงวด และยกเครื่องกฎการลงทุนของต่างชาติ
และแม้ว่าทางรัฐบาลจะประกาศยกเลิกมาตรการควบคุมเงินทุนส่วนใหญ่แล้ว แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นและความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังไม่สามารถฟื้นคืนดังเดิมได้
สถานการณ์ความเชื่อมั่นของนักลงทุนดูจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้น เมื่อเกิดการลอบวางระเบิดในกรุงเทพฯช่วงเทศกาลปีใหม่ ตามติดมาด้วยคำเตือนจากรัฐบาลถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการลอบโจมตีขึ้นอีก
ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยระบุว่า ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้มีส่วนทำให้ทางสถาบันคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ลดลงมาต่ำกว่าระดับ 4% เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ระดับ 5% ในปีที่แล้ว
ดร.พิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวแจกแจงยกตัวอย่างโดยอ้างอิงตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า ตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ของเพื่อนบ้าน อาทิ เวียดนามอยู่ที่ระดับ 7.7% มาเลเซีย 5.4% และอินโดนีเซีย 5.9%
"ส่วนตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้ อาจดำดิ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา"
ดร.พิมลวรรณกล่าวต่อว่า การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและความไร้ระเบียบในสังคม รวมไปถึงปัญหาการขู่วางระเบิด โดยปัญหาทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น จำเป็นที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขโดยเร็ว เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจกลับมาเข้มแข็งดังเดิม
ด้าน ถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากบริษัทหลักทรัพย์ ภัทรชี้ว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนน่าจะอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ต่อไปจนกว่ารัฐบาลจะจัดการเลือกตั้ง โดยทางบริษัทได้ปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ลงจาก 4.4% เหลือ 3.7%
ขณะที่ตัวเลขประมาณการจีดีพีของรัฐบาลไทยแม้อยู่ที่ราว 4.5% แต่ก็ถือว่าเป็นชาติที่ต่ำที่สุดรายหนึ่งในภูมิภาค
บริษัทหลักทรัพย์ ภัทรกล่าวไว้ในรายงานฉบับหนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า ดีมานด์การบริโภคภายในประเทศลดต่ำลง พร้อมๆกับการที่ดัชนีชี้วัดการลงทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตัวต่ำลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ขณะที่ปริมาณการบริโภคแทบจะไม่มีแนวโน้มเติบโตเลย
"ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจไทยจึงยังไม่น่าฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด จนกว่าจะถึงปลายปีนี้"
นอกจากนั้น ปัญหาที่น่าวิตกสำหรับเศรษฐกิจไทยอีกเรื่องคือ ธุรกิจด้านการส่งออกซึ่งมีสัดส่วนถึง 60% ของเศรษฐกิจทั้งประเทศ ทว่า ภาคธุรกิจนี้เริ่มอ่อนกำลังลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและเงินบาทแข็งค่าขึ้น
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้า กล่าวว่า ทางศูนย์คาดว่า การส่งออกของไทยน่าจะขยายตัวประมาณ 10% ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ เมื่อเทียบกับระดับ 17.9% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยดร.อัทธ์แจงว่า สาเหตุหลักที่ทำให้การส่งออกชะลอตัวลงคือ การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทซึ่งทำให้สินค้าไทยในต่างประเทศแพงขึ้น
กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่า การส่งออกของไทยปีนี้จะขยายตัว 12.5% เมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวที่ระดับ 17.4% ในปีที่แล้ว รวมมูลค่าประมาณ 145,900 ล้านดอลลาร์
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000025768
ผมว่าส่งออกปีนี้น่าจะโดนเต็มๆ ยิ่งหม่อมอุ๋ยไม่อยู่คงไม่มีใครออกมาตรการบรรเจิดมาช่วยอีกแล้ว ปีนี้เตรียมรัดเข็มขัดเลือกหุ้นอย่างระมัดระวังไว้ก็น่าจะดีนะครับ
เอ... แต่นักวิเคราะห์พร้อมใจกันออกมาฟันธงแบบนี้ หรือว่ามันจะเป็นตรงกันข้ามหว่า :lol: