หน้า 1 จากทั้งหมด 2
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 1:46 am
โดย kevinbig
อ่านแล้วจะรู้ความบอบช้ำของไอทีวีที่พยายามต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ที่เป็นคดีมาตั้งแต่ตันครับ
ลองอ่านดูนะครับ ยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรมอย่างไรงวิจารณ์ได้ครับ
ลำดับเหตุการณ์ที่เกินขึ้น และการดำเนินการเกี่ยวกับคดีพิพาทระหว่าง ไอทีวี กับ สปน.
1. 12 พฤศจิกายน 2542 ไอทีวี ยื่นเรื่อง ขอให้ สปน. พิจารณาหามาตรการชดเชยความเสียหายให้แก่ไอทีวี กรณีที่ สปน. มิได้ปฏิบัติตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 5 วรรค 4
2. 6 มีนาคม 2545 สปน. มีหนังสือถึงไอทีวี ยอมรับข้อเท็จจริงว่า กรมปรชาสัมพันธ์ได้ทำสัญญาให้มีทีวีระบบบอกรับสมาชิกแบบมีโฆษณาได้จริงผ่านช่อง TTV เข้าข่ายที่ไอทีวีจะสามารถขอให้ สปน. หามาตราการชดเชยความเสียหายตามสัญญาเข้าร่วมงาน ข้อ5 วรรค4 และได้ขอให้ไอทีวีส่งข้อมูลเพิ่มเติมว่าได้รับความเสียหายจากผลกระทบทางการเงินอย่างไร
3. 17 กันยายน 2545 หลังจากที่ไอทีวี ได้ส่งหนังสือถึงสำนักงานปลัดสำนักนายกถึง 6 ครั้ง นับตั้งแต่วันที่ 12 พ.ย. 42 และ สปน. ใช้เวลาพิจารณานานถึง 2 ปี 10 เดือน โดยไม่มีทีท่าว่าจะได้ข้อยุติ ไอทีวีจึงขอเสนอข้อพิพาทให้คณะอนุญญาโตตุลาการชี้ขาด
4. 30 มกราคม 2547 คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ สปน. ชดเชยความเสียหายตามสัญญาเข้าร่วมงาน ข้อ5 วรรค4 ภายใต้มาตราการต่อไปนี้
1. ให้ลดค่าตอบแทนขั้นต่ำเหลือ 230 ล้านบาทต่อปี จากเดิมต้องจ่ายค่าตอบแทน 44% ของรายได้โดยไม่ต่ำกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท
2. ให้ผังรายการมีสัดส่วนรายการข่าวและสารประโยชน์ไม่น้อยกว่า 50% จากเดิมที่ต้องมีข่าวและสาระประโยชน์ไม่น้อยกว่า 70% ของเวลาออกอากาศ และช่วงเวลา 19.00 21.30 ต้องเป็นข่าวและสารประโยชน์เท่านั้น
ข้อสังเกต อัตราค่าตอบแทนตามคำชี้ขาดนี้ยังสูงกว่าที่ผู้ประกอบการทีวีรายอื่นๆ รับภาระอยู่ อีกทั้งสัญญาเข้าร่วมงานของผู้ประกอบทีวีรายอื่นไม่มีข้อจำกัดเรื่องผังรายการ
5. 1 เมษายน 2547 ไอทีวีปรับผังรายการโดยยึดสัดส่วนรายการตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยไอทีวีหารือกับที่ปรึกษากฎหมายซึ่งเห็นว่า คำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการเป็นที่สุดและมีผลผูกพันคู่สัญญา 2 ฝ่ายทันที โดยมีข้อสรุป 2 ประการ
1. สัญญาข้อ 15 ระบุว่า ... ให้คำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นที่สุดและผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย...
2. ข้อบังคับฯ ของสถาบันคณะอนุญาโตตุลาการ ข้อ 30 วรรคท้าย กำหนดไว้ว่า ...ให้ถือว่าคำชี้ขาดมีผลผูกพันคู่พิพาทแล้วตั้งแต่วันที่สำเนาคำชี้ขาดไปถึงคู่พิพาทฝ่ายนั้น..
6. 27 เมษายน2547 สปน. ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการโดยอ้างว่า สัญญาข้อ 5 วรรค 4 ไม่ได้นำเสนอ คณะรัฐมนตรีจึงไม่มีผลผูกพัน
ข้อสังเกต การทำสัญญานั้น มิได้เป็นการแอบกระทำการ หรือทำสัญญาโดยบุคคลสองฝ่าย แต่เป็นการตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยบุคคลฝ่ายภาคส่วน มิได้มีการเพิ่มข้อสัญญาในตอนหลัง แต่เป็นข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้ทั้งหมด และการที่ สปน. ไม่ได้เอาเข้า ครม. ก็ไม่ได้เป็นความผิดพลาดของไอทีวี และสัญญาสัมปทานส่วนใหญ่ไม่ได้เข้า ครม. เป็นส่วนใหญ่
7. 3 กรกฏาคม 2547 ไอทีวี ชำระค่าตอบแทนจำนวน 230 ล้านบาทตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ
8. 9 พฤษภาคม 2549 ศาลปกครองกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยวินิจฉัยว่า สัญญาข้อ5 วรรค4 ไม่ได้นำเสนอ ครม.
9. หลังจากรับทราบคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ไอทีวียังคงยึดสัดส่วนรายการและชำระค่าตอบแทน 230 ล้านบาทตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการต่อไป เนื่องจากเห็นว่า คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังไม่มีผลบังคับ โดยเป็นไปตามมาตรา 70 วรรคท้าย ของ พรบ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่เป็นคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นให้รอการปฏิบัติตามคำบังคับไว้จนกว่าจะพ้นระยะเวลาการอุธรณ์ หรือในกรณีที่มีการอุทรณ์ให้รอการบังคับคดีไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
10. 7 มิถุนายน 2549 ไอทีวี ยึ่นอุทรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุด
11. 23 มิถุนายน 2549 สปน. ส่งหนังสือให้ไอทีวีปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง และให้ชำระผลต่าค่าตอบแทนของปี 47-49 รวม 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และค่าปรับผังรายการรวม 75,960 ล้านบาท
ข้อสังเกต สปน. คิดค่าปรับตั้งแต่ปี 47 -49 ซึ่งไอทีวีก็ปรังผังตามผลตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการ ไม่ได้ปรับเองตามใจ
12. 7 กรกฎาคม 2549 ไอทีวีได้มีหนังสือตอบกลับ สปน. ว่าเนื่องจากไอทีวีได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดแล้ว ดังนั้น คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังไม่มีผลบังคับกับคู่สัญญาจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาเป็นที่สุดตามมาตรา 70 วรรคสองแห่ง พรบ. จัดตั้งศาลปกครอง ดังนั้น สปน. จึงไม่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้บริษัทชำระค่าตอบแทนส่วนต่างและค่าปรับรวมทั้งให้บริษัทปรับผังรายการให้เป็นไปตามสัญญาเข้าร่วมงานข้อ 11 วรรคหนึ่ง
13. 13 ธันวาคม 2549 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนให้เพิกถอนคำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 47 โดยวินิจฉัยตามคำพิพากษาว่า สัญญาข้อ 5 วรรค4 ไมได้นำเสนอ ครม. จึงไม่ผูกพัน ผลของคำพิพากษาทำให้ไอทีวีต้องกลับไปจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาเดิม และปรับผังรายการตามสัญญาเดิมด้วย ซึ่งไอทีวีก็ได้ปรับผังรายการตามเดิมในวันถัดไป และศาลปกครอง ระบุว่า คำพิพากษาของศาลปกครองไม่เกี่ยวข้องกับค่าปรับอันเกิดจากการที่บริษัทไม่ปรับผังรายการตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ ข้อ 11 วรรคแรก โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้อง ว่ากล่าวกันเอง หากตกลงกันไม่ได้ ต้องเสนอข้อพิพาทตามวิธีการที่ระบุไว้ในสัญญาเข้าร่วมงานฯ
เหตุการณ์ต่อจากนี้คิดว่าทุกท่านคงได้ข้อมูลกันพอสมควรอยู่แล้วข้อมูลข้างบนเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ค่อยถูกนำเสนอ หวังว่าข้อมูลนี้คงช่วยให้เห็นความจริงกันมากขึ้น
*** ข้อสังเกต***
1. ไอทีวีมีความผิดหรือ ที่ปรับผังรายการตามที่คณะอนุญาโตตุลาการตัดสิน
2. เป็นความผิดของไอทีวีหรือ ที่ สปน. ไม่ได้เอาเข้า ครม.
3. ไอทีวีมีจ่ายค่าสัมปทานค้างจ่าย แต่ สปน. เล่นเอาแสนล้านมาขู่ ทำให้ไม่มีใครปล่อยกู้ แล้วบีบให้ไอทีวีผิดสัญญา ทั้งที่ค่าปรับนี้ก็ยังไม่แน่ไม่นอน
4. ยุติธรรมแล้วหรือกับทีวีข่าว ทึ่จ่ายค่าสัมปทานพันล้าน แต่ช่องอื่นจ่ายกันร้อยสองร้อยล้าน
5. ทักษิณมันไม่รู้เรื่องอะไรแล้ว กลุ่มชินของสิงคโปรก็ยอมแล้ว ทำแบบนี้เพื่อจะเอาไปตอบแทนใครรึเปล่า ทำแบบนี้คนที่กระทบมีแต่คนทำงาน คำดูทีวี และอีกมาก
6. นี่หรือการกระทำของรัฐบาลที่อ้างว่ามีจริยธรรมสูง นี่หรือความจริงใจในการแก้ไขปัญหา แล้วปัญหาใหญ่ๆ ในประเทศละจะเป็นอย่างไร คิดแล้วน่าสงสารกว่าไอทีวีอีก
เรามาช่วยให้ไอทีวีเป็นสื่อเสรี ปราศจากการเมืองกันเถอะครับ
คงเท่านี้แหละครับที่ผมจะทำเพื่อไอทีวีได้บ้าง เห็นหลายคนออกมาช่วยเหลือไอทีวีแล้ว ผมเองตอดูทีวีก็น้ำตาไหลเหมือนกัน
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 7:46 am
โดย triathlon
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ไอทีวี ได้ยื่นข้อพิพาทเรื่องจำนวนค่าปรับตามสัญญาเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานได้รับเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาแล้ว
ทำไมเรื่องค่าปรับต้องไปอนุญาโตตุลาการ เพราะสัญญาสัมปทานระบุไว้
ทำไมระบุไว้แบบนั้น เพราะทักษิณสั่งหรือ
ไม่ใช่ เพราะประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาว่าด้วยการบังคับใช้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศซึ่งมีองค์การสหประชาติเป็นเจ้าภาพ (UNCITRAL) ไทยเลยมาออกกฏหมาย พรบ.อนุญาโตตุลาการ และได้มีมติ ครม ตั้งแต่สมัย พลเอกเกรียงศักดิ์ หรือเปรมนี่แหละ ให้หน่วยงานราชการใช้อนุญาโตในการตัดสินข้อพิพาท สัญญาสัมปทานทุกฉบับเลยต้องใช้อนุญาโตตุลาการ
คิดเล่นๆ
ถ้า อนุญาโตตุลาการตัดสินว่า สปน คิดค่าปรับผิด
ใครจะรับผิดชอบ
แต่ท่น่าคิดแต่ผิดเวบ อิอิ สื่อหลักๆเมืองไทย ไม่มีใครยอมทำประเด็นข่าวนี้เล้ย
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 5:26 pm
โดย kevinbig
นายกเอาข้อกฏหมายมาอ้างในการปิดไอทีวี ว่าต้องให้ถูกต้องตามกฏหมาย แต่ทำไมทีเรื่องค่าปรับแสนล้าน ไม่เห็นทำให้มันถูกต้องก่อนละ เอาให้มันแน่ชัดไปก่อนว่าปรับจริงไม่จริง แล้วปรับเท่าไหร่
ต่อไปถ้ามีค่าโง่ไอทีวี อยากรู้ใครจะมารับผิดชอบในการกระทำนี้ นายกเป็นแค่หุ่นหรือไง คนโน้นสั่งทีคนนี้สั่งที พูดจาไม่น่าเชื่อถือแล้ว จะนำประเทศได้ไง
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 7:06 pm
โดย junkbond
ใครที่คิดว่าไอทีวีผิดนะครับ
ลองคิดดูว่าถ้าเราซื้อบ้านแล้วสัญญาสอดไส้ว่า
จ่ายค่าผ่อนบ้านช้าวันเดียว บริษัทมีสิทธิ์ยึดบ้านได้เลย
ลองดูสิว่าถ้าเผลอผ่อนช้าไปวันนึงจริงจะออกมาโวยวายมั้ย
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 8:33 pm
โดย น้ำครึ่งแก้ว
หนุกดีครับ
รายละเอียดเยอะดี
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 9:52 pm
โดย เพื่อน
ก่อนจะพิจารณากันต่อ ขอให้ความหมายของอนุญาโตตุลาการตามความเข้าใจทั่วๆไปก่อนนะครับ
ตามที่ผมพบเจอมาจากสัญญาก่อสร้างทั่วๆไป(งานระดับชาติก็ใช้)
เมื่อเกิดข้อพิพาธขึ้นระหว่างคู่สัญญา ให้ทั้ง2ฝ่ายแต่งตั้งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นที่ยอมรับของทั้ง2ฝ่ายขึ้นมาเพื่อตัดสินข้อพิพาธดังกล่าว ถ้าตกลงกันได้ก็ให้ถือคำตัดสินนั้นเป็นที่สุด แต่ถ้ายังตกลงกันไม่ได้ ก็ให้ดำเนินการฟ้องร้องทางกฎหมายผ่านทางศาลยุติธรรมต่อไป
ทีนี้มาดูคำถาม(ข้อสังเกตุ)ของคุณkevinbig ทีละข้อครับ
1. ไอทีวีมีความผิดหรือ ที่ปรับผังรายการตามที่คณะอนุญาโตตุลาการตัดสิน
2. เป็นความผิดของไอทีวีหรือ ที่ สปน. ไม่ได้เอาเข้า ครม.
เมื่อก่อนผมก็เข้าใจว่าITVไม่น่าผิด น่าจะฟ้องร้องสปน.ได้ ที่ยอมรับคำตัดสินของอนุญาโตฯ
แต่ผมมาเจอในตอนหลังว่า สปน.ไม่เคยยอมรับคำตัดสินนั้น(ไม่ทราบเหตุผล)โดยเห็นได้ว่า สปน.ยื่นคัดค้านสู่ศาลปกครอง....แสดงว่าคำตัดสินของอนุญาโตไม่มีผลครับ ตามความเข้าใจของผมITV จึงถือว่ามีความผิด เพราะคำตัดสินยังไม่ถือว่าถึงที่สุด
3. ไอทีวีมีจ่ายค่าสัมปทานค้างจ่าย แต่ สปน. เล่นเอาแสนล้านมาขู่ ทำให้ไม่มีใครปล่อยกู้ แล้วบีบให้ไอทีวีผิดสัญญา ทั้งที่ค่าปรับนี้ก็ยังไม่แน่ไม่นอน
ถ้าดูคำตอบตามข้อแรก ต้องถือว่าITVผิดที่ค้างจ่ายด้วยครับ
ผมคิดว่าITVก็รู้มาตลอดว่าผิดครับ ถึงได้ไม่ฟ้องกลับ สปน.ให้เราเห็น
4. ยุติธรรมแล้วหรือกับทีวีข่าว ทึ่จ่ายค่าสัมปทานพันล้าน แต่ช่องอื่นจ่ายกันร้อยสองร้อยล้าน
ผมก็ว่าไม่ยุติธรรมครับ แต่เท่าที่ทราบ ตอนประมูลITVเค้าเป็นฝ่ายเสนอค่าสัมปทานเองให้สูงๆเพื่อหวังจะชนะผู้อื่น(อาจจะมีความคิดประเภท ชนะให้ได้ก่อนแล้วมาแก้ทีหลัง แบบที่นิยมทำกันในอดีต...วงการสุราก็ร่ำรวยกันมาเยอะด้วยวิธีแบบนี้ จนเป็นเศรษฐีอันดับ1ของประเทศ)
5. ทักษิณมันไม่รู้เรื่องอะไรแล้ว กลุ่มชินของสิงคโปรก็ยอมแล้ว ทำแบบนี้เพื่อจะเอาไปตอบแทนใครรึเปล่า ทำแบบนี้คนที่กระทบมีแต่คนทำงาน คำดูทีวี และอีกมาก
ผมคิดว่าไม่มีใครอยากทำครับ ลองหาข้อมูลดู ผมก็เห็นเค้าพยายามช่วยทุกฝ่ายครับ แต่ไม่มีใครกล้าเอาคอตัวเองไปขึ้นเขียงเพราะเรื่องผิดกฎหมายหลายๆเรื่องที่ดิ้นไม่ออก...ลองอ่านคอลัมภ์อินไซด์ ครม.ในไทยรัฐวันนี้ดูครับ ว่าเหนื่อยกันทุกคน
6. นี่หรือการกระทำของรัฐบาลที่อ้างว่ามีจริยธรรมสูง นี่หรือความจริงใจในการแก้ไขปัญหา แล้วปัญหาใหญ่ๆ ในประเทศละจะเป็นอย่างไร คิดแล้วน่าสงสารกว่าไอทีวีอีก
คนทำงานวิจารณ์ส่วนใหญ่จะทำงานง่ายกว่าคนทำงานจริงครับ
บางทีอารมณ์ ความเชื่อ ความรัก ความเกลียด มันพยายามหาเหตุผลสนับสนุนความรู้สึกของมันเอง จนไม่อยากรับหรือเพิกเฉยในการหาข้อมูลอื่นที่แย้งกับความรู้สึกนั้น...กลายเป็นกับดักทางความคิดได้เหมือนกันครับ
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 9:56 pm
โดย เพื่อน
junkbond เขียน:ใครที่คิดว่าไอทีวีผิดนะครับ
ลองคิดดูว่าถ้าเราซื้อบ้านแล้วสัญญาสอดไส้ว่า
จ่ายค่าผ่อนบ้านช้าวันเดียว บริษัทมีสิทธิ์ยึดบ้านได้เลย
ลองดูสิว่าถ้าเผลอผ่อนช้าไปวันนึงจริงจะออกมาโวยวายมั้ย
เป็นผม ก็คงไม่ยอมลงชื่อทำสัญญาเอาเปรียบแบบนี้ครับ นอกจากว่ามันมีอะไรดึงดูดมากจริงๆและมั่นใจตัวเองว่าจัดการได้และยอมเสี่ยงแล้วคุ้มมากๆ
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 10:01 pm
โดย เพื่อน
ที่จริงITVน่าจะสู้เรื่องค่าปรับตามสัญญาว่าไม่เป็นธรรมมากกว่านะครับ ผมไม่แน่ใจว่าเค้าลองดูหรือยัง เพราะผมมองว่าค่าปรับที่ระบุในสัญญานั้นสามารถตีความให้แตกต่างจากที่สปน.ใช้เรียกค่าปรับได้
เรื่องนี้ครับที่ผมไม่เข้าใจ...ผู้บริหารITVคิดอะไรอยู่ หรือว่าไม่สนใจ...
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 10:17 pm
โดย tanatat
ปี 2542 .ใครเป็นนายกฯเหรอครับ ใครเป็นอนุญาโตตุลาการ(มีหรือยังครับ)แล้วผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นใครครับ
ปี 2545 ใครเป็นนายกฯครับ ใครเป็นอนุญาโตตุลาการครับ ใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ครับ การเข้ามาของกลุ่มชิน ไม่รู้หรือครับว่ามีปัญหาเช่นนี้
ปี 2547 อนุญาโตตุลาการ เอาหลักเกณฑ์อะไรมากำหนดว่าจะต้องจ่ายค่าสัมปทานปีละ 230 บาท แทนที่ 1000 ล้านบาท และสามารถปรับผังการออกโทรทัศน์จาก 70ป็น50% ได้ เอาหลักเกณฑ์อะไรมากำหนด ถ้านายกไม่ใช่เจ้าของใหญ่ใน itv ผลการตัดสินของอนุญาโตจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่าอนุญาโตตุลาการในปีนั้นเป็นใครครับช่วยหารายชื่อมาหน่อยครับเป็นชุดเดียวตั้งแต่แรกหรือเปล่าครับ
ปี 2547ทำไม itv ไม่ฟ้องศาลจนถึงที่สุดก่อน ในเมื่อมีความมั่นใจในสื่งที่ทำอยู่ก่อนจะดำเนินการปรับผัง และลดค่าสัมปทานอย่ามาอ้างว่าจะช้าเลยครับการกล่าวอ้างแต่เรื่องอนุญาโตตุลาการผมว่าลองดูกรณีค่าโง่ทางด่วนจะดีกว่าครับ
การกล่าวอ้างว่าการจ่ายค่าสัมปทาน230 บาท มากกว่าที่ช่อง 3และช่อง 7จ่าย ผมว่าเป็นคนละเรื่องเลยครับถ้างั้นการที่dtac ต้องจ่ายค่า acces charge มากกว่าais ทำไม itv ไม่เห็นทำเป็นสกู๊ปบ้างครับ ทำไม tt&t ต้องจ่ายค่าสัมปทานแพงกว่า true ละครับ
ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยเห็น itv เป็น ทีวีเสรีมาตั้งนานแล้วครับผมเห็นแต่itv ทีวีของคนรุ่นใหม่ เพิ่งจะกลับมาเห็นอีกทีว่าอยากเป็นทีวีเสรีก็ตอนคุณสุรยุทธ์นี่ละครับ ตอนชินคอร์ปถือหุ้นไม่เคยคิดมั่งถึงเปลี่ยนแปลงไป
ผมไม่เชื่อครับว่าทักษิณไม่รู้เรื่อง เหตุการณ์เกิดตั้งแต่ช่วงมาซื้อหุ้น จนเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่สมัยนี้ทั้งหมดจนถึงวันนี้ผมก็ยังเชื่อว่าชินคอร์ปก็ยังเป็นของคุณทักษิณไม่ได้เป็นของลูกๆคุณทักษิณตามที่กล่าวอ้างครับ แต่ผมเชื่อครับว่า เทมาเส็กอาจไม่รู้เรื่อง
รู้แต่แรกว่าจะต้องจ่ายค่าสัมปทาน 1000 ล้านบาทแล้วเข้าไปซื้อมาทำไมหรือครับ เป็นธรรมกับรัฐบาลหรือครับ
เหตุการณ์ที่เกิดถ้าไม่มีการทำผิดสัมปทาน ใครจะไปยึดครับ รัฐอลุ่มอลวยมากขนาดให้มาเจรจายืดเวลาต้องหลายหน ถ้าเจ้าของรูสึกว่าตนเองถูกทำไมไม่รอศาลตัดสินก่อนจะเปลี่ยนแปลงสัมปทาน ลูกจ้างเอาแต่ได้เงินชดเชยก็จะเอาแล้วยังจะให้รัฐจ้างตามเงินเดือนเดิมสวัสดการเดิม เป้นธรรมกับใครบ้าง ผู้ถือหุ้น รัฐ หรือตัวเอง ผู้บริหารที่ทำผิดสัมปทานจนถูกยึดสัมปทานเป๋นใครหรือครับ ทุกวันนี้ถามหน่อยเถอะครับถ้าวันนันนายกไม่ใช่ชื่อทักษิณ คุณบุญคลี่ คุณนิวัตทรง ผู้บริหารคนอื่นของ itv กล้าทำอย่างที่ทำหรือครับ ถามใจตัวเองก่อนเถอะครับอย่าโกหกตัวเองเลยครับที่จะมาบอกว่าคุณทักษิณฯ กับผู้บริหารไม่รู้เรื่อง
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 10:18 pm
โดย triathlon
กรณีที่บอกว่า สปน ไม่ยอมรับคำตัดสินเท่ากับคำขี้ขาดอนุญาโตตุลาการไม่ผูกพัน ดีคะ คิดแบบนี้ก็ดี งั้นดิฉันหรือเอกชนคนไทยคนไหนก็ได้ ผิดสัญญาแล้วแพ้ในชั้นอนุญาโตตุลาการแล้วไม่ยอมรับ คำชี้ขาดก็ไม่มีผลผูกพัน ทั้งๆที่ กฏหมายไทยเอง (พรบ อนุญาโตตุลาการ พศ ๒๕๓๐) ระบุว่าคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพัน
ที่คุณ "เพื่อน" บอว่าไอทีวีรู้ตัวว่าผิดเลยไม่ฟ้องสปน กลับ ไม่จริงคะ ไอทีวียื่นเรื่องข้อพิพาทต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรมแล้วหลายสัปดาห์ เรื่องค่าปรับแสนล้าน ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ นี่แหละ ที่มาของว่าที่ "ค่าโง่ไอทีวี" ในอนาคต
ข้อที่ว่าเรื่องค่าสัมปทานสูงมาก ค่าปรับสูงมากไปเซ็นทำไม
อย่าลืมว่าในสัญญาระบุค่าสัมปทานที่สูงก็จริง แต่ก็ให้สิทธิ ไอทีวีว่า ถ้าหลังจากรัฐให้สัมปทานไอทีวี แล้ว รัฐ หรือหน่วยงานหน่วยใดหน่วยหนึ่งของรัฐ ไปให้สัมปทานใหม่ หรือต่ออายุสัมปทานโทรทัศน์ในค่าสัมปทานที่ต่ำกว่าที่ไอทีวีจ่าย หรือ อนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิ้ลทีวีโฆษณาได้ รัฐต้องเจรจขาปรับลดค่าสัมปทานเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้ไอทีวี
คนที่ตกลงเงื่อนไขนี้คือ เนชั่น รัฐบาลเวลานั้น คือ นายชวน หลีกภัย
ปัญหาของเรื่องไอทีวีคือไม่มีใครเล่าความจริงเลย เนชั่นก็ไม่เคยยอมรับว่าตัวเองเป็นคนขอแก้เรื่องสัดส่วนการถือหุ้นที่เดิมรัฐบาลอานันท์กำหนดไว้ห้ามผู้ถือหุ้นแต่ละรายถือหุ้นเกินสิบเปอร์เซนต์ และแก้สำเร็จสมัยรัฐบาลชวน
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 10:22 pm
โดย junkbond
http://www.pub-law.net/article/ac040247.html
ลองอ่านดูสัญญาเวอร์ชั่นเต็ม รวมถึงความเห็นแบบมืออาชีพต่อคำตัดสิน (แต่รู้สีึกจะเป็นตอนชั้นต้นนะ)
วันนี้คุณหญิง ท เป็นถึง รมต แต่พูดเรื่อง ฮอ เรื่อง ตึก แบบไม่มีความรู้โดยสิ้นเชิง
รู้สึกอนาถ
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 10:34 pm
โดย ShexShy
[quote="triathlon"]กรณีที่บอกว่า สปน ไม่ยอมรับคำตัดสินเท่ากับคำขี้ขาดอนุญาโตตุลาการไม่ผูกพัน ดีคะ คิดแบบนี้ก็ดี งั้นดิฉันหรือเอกชนคนไทยคนไหนก็ได้ ผิดสัญญาแล้วแพ้ในชั้นอนุญาโตตุลาการแล้วไม่ยอมรับ คำชี้ขาดก็ไม่มีผลผูกพัน ทั้งๆที่ กฏหมายไทยเอง (พรบ อนุญาโตตุลาการ พศ ๒๕๓๐) ระบุว่าคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพัน
ที่คุณ "เพื่อน" บอว่าไอทีวีรู้ตัวว่าผิดเลยไม่ฟ้องสปน กลับ ไม่จริงคะ ไอทีวียื่นเรื่องข้อพิพาทต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรมแล้วหลายสัปดาห์ เรื่องค่าปรับแสนล้าน ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ นี่แหละ ที่มาของว่าที่ "ค่าโง่ไอทีวี" ในอนาคต
ข้อที่ว่าเรื่องค่าสัมปทานสูงมาก ค่าปรับสูงมากไปเซ็นทำไม
อย่าลืมว่าในสัญญาระบุค่าสัมปทานที่สูงก็จริง แต่ก็ให้สิทธิ ไอทีวีว่า ถ้าหลังจากรัฐให้สัมปทานไอทีวี แล้ว รัฐ หรือหน่วยงานหน่วยใดหน่วยหนึ่งของรัฐ ไปให้สัมปทานใหม่ หรือต่ออายุสัมปทานโทรทัศน์ในค่าสัมปทานที่ต่ำกว่าที่ไอทีวีจ่าย หรือ อนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิ้ลทีวีโฆษณาได้
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 10:46 pm
โดย triathlon
แฮะๆ แวะมาเติมข้อมูลให้คุณ tanatat คะ
เอาเท่าที่รู้นะคะ
ทำไมต้อง 230 ล้านบาท เพราะตัวเลขนี้คือค่าสัมปทานรายปีที่กองทัพบก วีรบุรุษผู้เสียสละมาล่มชาติ เอ๊ยกู้ชาติ ให้ช่องเจ็ดต่อสัญญา
อยากรู้เรื่องคนดีศรีกองทัพต่อมั้ย
สัญญาช่องเจ็ดยังไม่หมดอายุ เหลืออีกสี่ห้าปี แต่ ผบทบ ต่อให้ช่องเจ็ด โดยไม่ต้องประมูลยี่สิบปี ในราคาปีละสองร้อยสามสิบล้านบาท ไชโยๆๆๆๆ รักชาติจัง
ทำไมไอทีวีไม่ฟ้องศาลให้ถึงที่สุด
เพราะ พรบ อนุญาโตตุลาการกำหนดว่า สัญญาที่มีข้อตกลงให้ใช้อนุญาโตตุลาการ ห้ามศาลรับฟ้อง
ห้ามศาลรับฟ้อง เพราะกฏหมายต้องการให้ใช้อนุญาโตตุลาการแทนศาล
และท้ายสุด ไอทีวียังดำเนินการรักษาสิทธิตามกฏหมายทุกประการ ข้อพิพาทเรื่องค่าปรับยังอยู่ในการพิจารณาของสำนักอนุญาโตตุลาการกระทรวงยุติธรรม
การที่ไอทีวีปล่อยให้ สปน ยึดคลื่น ไม่ใช่ ย้ำ ไม่ใช่การสละสิทธิตามกฏหมาย ถ้า อนุญาโตตุลาการชี้ขาดออกมาว่า สปน คิดค่าปรับผิด งานนี้ ดูไม่จืด
อีกอย่าง ลองใช้สามัญสำนึกคิดดู ท่านจะตกลงเข้าทำสัญญาที่มีบทปรับสูงกว่าค่าตอบแทนตามสัญญาหรือ
การตีความสัญญา กฏหมายแพ่งให้ใช้หลักสุจริตและ ในกรณีที่ข้อความไม่ชัดเจน ให้คำนึงผลประโยชน์ของฝ่ายที่จะเสียหายจากการตีความ
ไม่ได้ปลื้ม ทรท แต่ในฐานะคนที่เรียนกฏหมายมา ชื่นชมหลักการและเหตุผลของกฏหมายมาโดยตลอด ประมาณมั่นใจว่า กฏหมายนี่แหละเป็นหลักในการต้ำสังคม ดังนั้น เสียใจ และรับไม่ได้ที่เห็นหลักประกันความเป็นสังคมที่เจริญด้วยวัฒนธรรมของเราถูกย่ำยีเพราะการเมือง
บ้านเมืองเราจะเละยังไง นักการเมือง ทหารจะผลัดกันปล้นชาติยังไง ก็ฉีกกฏหมายทำ ไม่ใช่ใช้ศาลเป็นเครื่องมือ
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 10:52 pm
โดย ShexShy
triathlon เขียน:ทำไมไอทีวีไม่ฟ้องศาลให้ถึงที่สุด
เพราะ พรบ อนุญาโตตุลาการกำหนดว่า สัญญาที่มีข้อตกลงให้ใช้อนุญาโตตุลาการ ห้ามศาลรับฟ้อง
ห้ามศาลรับฟ้อง เพราะกฏหมายต้องการให้ใช้อนุญาโตตุลาการแทนศาล
แล้วทำไม สปน. ส่งให้ศาลได้ครับ :?
อย่างนี้ ITV ก็มีทางออกไม่ใช่หรือครับ ว่า สปน. ส่งให้ ศาลไม่ได้ สปน. ก็ไม่น่าจะมีสิทธิ์ มาระงับ ช่องสัญญาณ ITV
และ อีกกรณี ของ ช. การช่าง ทำไม เรื่องถึง เข้าศาล จนไปถึง ศาลฎีกาได้ครับ :?
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 10:55 pm
โดย kevinbig
เพื่อน เขียน:
2. เป็นความผิดของไอทีวีหรือ ที่ สปน. ไม่ได้เอาเข้า ครม.
เมื่อก่อนผมก็เข้าใจว่าITVไม่น่าผิด น่าจะฟ้องร้องสปน.ได้ ที่ยอมรับคำตัดสินของอนุญาโตฯ
แต่ผมมาเจอในตอนหลังว่า สปน.ไม่เคยยอมรับคำตัดสินนั้น(ไม่ทราบเหตุผล)โดยเห็นได้ว่า สปน.ยื่นคัดค้านสู่ศาลปกครอง....แสดงว่าคำตัดสินของอนุญาโตไม่มีผลครับ ตามความเข้าใจของผมITV จึงถือว่ามีความผิด เพราะคำตัดสินยังไม่ถือว่าถึงที่สุด
คำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการมีผลครับ เพราะตามสัญญาระบุไว้ว่าให้ถือคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นที่สิ้นสุดแล้วมีผลพูกพันธ์ทั้งสองฝ่าย
อยากจะอธิบายอีกอย่างครับ การคิดค่าปรับเรื่องผังรายการ สปน. คิดตั้งแต่ปี 47 -49 ซึ่ง ในปี 47 ที่ไอทีวีปรับผังรายการนั้นปรับตามที่คณะอนุญาโตตุลาการอนุญาติตามคำตัดสิน และระหว่างมีคดีอยู่ที่ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด ไอทีวีก็ยังไม่ปรับผังรายการคืน ก็ทำตามกฎหมายครับ ตามมาตรา 70 วรรคท้าย ของ พรบ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่เป็นคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นให้รอการปฏิบัติตามคำบังคับไว้จนกว่าจะพ้นระยะเวลาการอุธรณ์ หรือในกรณีที่มีการอุทรณ์ให้รอการบังคับคดีไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
พอหลังจากแพ้คดีที่ศาลปกครองสูงสุด ไอทีวีก็ปรับผังตามกลับมาตามเดิมคือ 70 : 30 ไพร์ทามต้องมีแต่ข่าวและสาระ จากเดิมที่เป็น 65 : 35 ไพร์ทามมีบันเทิงได้
เพื่อน เขียน:4. ยุติธรรมแล้วหรือกับทีวีข่าว ทึ่จ่ายค่าสัมปทานพันล้าน แต่ช่องอื่นจ่ายกันร้อยสองร้อยล้าน
ผมก็ว่าไม่ยุติธรรมครับ แต่เท่าที่ทราบ ตอนประมูลITVเค้าเป็นฝ่ายเสนอค่าสัมปทานเองให้สูงๆเพื่อหวังจะชนะผู้อื่น(อาจจะมีความคิดประเภท ชนะให้ได้ก่อนแล้วมาแก้ทีหลัง แบบที่นิยมทำกันในอดีต...วงการสุราก็ร่ำรวยกันมาเยอะด้วยวิธีแบบนี้ จนเป็นเศรษฐีอันดับ1ของประเทศ)
อันนี้เกิดจากเจ้าของแรกๆ ที่ประมูลครับ ซึ่งประมูลไว้สูงมาก ทำให้ไม่สามารถทำธุรกิจได้ ผมคิดว่าการแก้ปัญหาอันนี้เป็นไปได้สองทางครับ คือปล่อยให้มันล้มไป แล้วประมูลใหม่ หรือไม่ก็ มาตกลงกันใหม่ให้พออยู่กันได้ ซึ่ง สปน. เลือกทางที่สอง และไอทีวีก็ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในบันดาทีวีทุกช่องครับ ซึ่งอันนี้ก็ต้องไปคิดกันเอาเองว่ามันยุติธรรมกับภาครัฐเพียงพอรึเปล่า
ต่อไปกลัวก็แต่จะมีค่าโง่ไอทีวีครับ ไม่รู้ว่าผู้บริหารถอดใจรึยังเห็นลาออกกันไปเกือบหมดแล้วหน้าเก่าๆ แต่จริงๆ แล้วที่ผ่านมาผู้บริหารเค้าก็ทำหน้าที่ในการปกป้องบริษัทดีแล้วนะครับ เพียงแต่มีน้อยคนที่จะเห็นครับ เพราะเค้าไม่ค่อยได้ออกสื่อเท่าไหร่ เพียงแต่การต่อสู้ของเค้าในครั้งนี้ไม่อาจจะต้านทางอำนาจการเมืองได้
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 11:00 pm
โดย kevinbig
ShexShy เขียน:
แล้วทำไม สปน. ส่งให้ศาลได้ครับ
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 07, 2007 11:15 pm
โดย tanatat
บังเอิญไม่ใช่นักกฏหมายแต่ผมว่าต้องดูเจตนารมย์ของกฏหมายจะดีกว่าตีตามตัวหนังสือในข้อกฏหมายจะดีกว่ามั่งครับ
กรณีของช่อง 7 เป็นคนละเรื่องกับ itv ต่างกรรมต่างวาระ ผมว่าต้องลองดูครับตอนนั้นใครเป็น ผบทบ ตอนนั้นครับ ถ้าคิดว่ามีนอกมีในทำไม itv ไม่ตีแผ่เรื่องเหล่านี้ให้เป็นประเด็น และตัวนายกฯที่ต้องดูแลผลประโยชน์กับบ้านเมืองก็ควรมาช่วยเทกแอกชั่นให้การต่อสัญญากับช่อง 7 ให้ได้ประโยชน์มากขื้น ไม่ใช่เอามาเป็น benchmark ของการจ่ายสัมปทาน นอกจากนั้นของช่อง 7 น่าจะเป็นเรื่องการต่อสัญญา ไม่ใช่เรื่องการเปลี่ยนแปลงสัมปทาน
ความถูกต้องเป็นหลักของสังคมต่างหากครับไม่ใช่หลักกฏหมาย
ถามว่า คนที่ประมูล itv มาตั้งแต่แรก คนที่มาซื้อต่อ ผู้บริหารทุกๆคนที่เข้ามาบริหาร ไม่รู้หรือครับว่า ผังรายการที่จะต้องเป็นไปตามสัมปทานเป็นอย่างไร ค่าสัมปทานที่ต้องจ่ายเป็นอย่างไร ทำไมถึงไม่คิดที่จะต่อสู้ในแนวทางที่ถูกต้องกลับเรียกร้องแต่จะขอลดค่าสัมปทาน เปลี่ยนแปลงผัง เหล่านั้นคืดความถูกต้องหรือครับ ไม่ต้องอ้างเรื่องอื่นๆเลยครับ
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 12:19 am
โดย เพื่อน
triathlon เขียน:กรณีที่บอกว่า สปน ไม่ยอมรับคำตัดสินเท่ากับคำขี้ขาดอนุญาโตตุลาการไม่ผูกพัน ดีคะ คิดแบบนี้ก็ดี งั้นดิฉันหรือเอกชนคนไทยคนไหนก็ได้ ผิดสัญญาแล้วแพ้ในชั้นอนุญาโตตุลาการแล้วไม่ยอมรับ คำชี้ขาดก็ไม่มีผลผูกพัน ทั้งๆที่ กฏหมายไทยเอง (พรบ อนุญาโตตุลาการ พศ ๒๕๓๐) ระบุว่าคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพัน
ขอบคุณครับที่ช่วยชี้แจง.... ตามที่เคยเข้าใจมาแต่เดิมคือ อนุญาโตตุลาการไม่ถือว่าเป็นการตัดสินสูงสุดครับ ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ในขั้นนี้ สามารถไปฟ้องร้องกันต่อได้ตามกระบวนการปรกติทางกฎหมาย แต่ถ้าตกลงกันได้ในขั้นนี้ก็ถือว่าเป็นข้อยุติแล้วครับ ถ้าเข้าใจผิดก็ขออภัยครับ และขอบคุณที่ช่วยชี้แจงเป็นความรู้
ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับว่าการตัดสินของอนุญาโตฯ ถือว่าสูงสุดแล้ว แม้ว่าคู่กรณีจะไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินก็ตาม
ขออนุญาตไปศึกษา พรบ.อนุญาโตตุลาการ พศ2530 อีกทีครับ (รู้สึกจะมีของปี 2545 ด้วยใช่มั้ยครับ)
ที่คุณ "เพื่อน" บอว่าไอทีวีรู้ตัวว่าผิดเลยไม่ฟ้องสปน กลับ ไม่จริงคะ ไอทีวียื่นเรื่องข้อพิพาทต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรมแล้วหลายสัปดาห์ เรื่องค่าปรับแสนล้าน ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ นี่แหละ ที่มาของว่าที่ "ค่าโง่ไอทีวี" ในอนาคต
คงต้องอ่านที่ผมโพสต์อีกทีครับ ผมก็ยุให้เค้าฟ้องกลับเรื่องนี้แหละครับ ที่ว่าค่าปรับที่สปน.ตีมูลค่ามา มันสูงเกินปรกติ ดีแล้วครับที่เค้าฟ้องกลับเรื่องนี้ เพราะเรื่องนี้มีทางชนะอยู่
ส่วนที่ผมหมายถึงว่าทำไมเค้าไม่ฟ้องกลับ สปน. นั้นผมหมายถึง ทำไมตอนนั้นสปน.ยอมรับคำตัดสินของอนุญาโตฯ แต่ตอนนี้ไม่รับ ทำให้เกิดความเสียหายกับITV เพราะเข้าใจกันทั้ง2ฝ่ายตรงกันตามที่อนุญาโตฯต้ดสินไปแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้จริง ITVเค้าน่าจะฟ้อง สปน.ได้ แต่เค้าเลือกไม่ฟ้องเรื่องนี้ น่าจะเป็นเพราะ ฝ่ายสปน.ไม่ยอมรับคำตัดสินของอนุญาโตฯในขณะ พูดง่ายๆว่ายังไม่มีการยอมรับคำตัดสินของอนุญาโตในขณะนั้น แต่ITVไม่สนใจเลือกที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงตามความเห็นของอนุญาโตเลย ทางสปน.ซึ่งปฎิเสธไม่ยอมรับคำตัดสินจึงร้องเรียนข้อพิพาทในแนวทางปรกติโดยผ่านทางศาลปกครองแทน
เหตุการณ์ออกมาแบบนี้ ตามความเข้าใจของผมจึงไม่คิดว่าคำคัดสินของอนุญาโตฯเป็นที่สุดให้ITVทำตามได้ เพราะข้อพิพาทยังไม่เป็นที่ยอมรับในขั้นตอนของอนุญาโตครับ ....อาจจะเข้าใจอะไรผิด ช่วยชี้แจงด้วยครับ(แบบเบาๆก็ได้นะครับ นึกว่าสงสารเด็กตาดำๆที่ยังต้องการใฝ่หาความรู้คนหนึ่ง)
ข้อที่ว่าเรื่องค่าสัมปทานสูงมาก ค่าปรับสูงมากไปเซ็นทำไม
เรื่องนี้ผมไม่ได้ตำหนิครับ แต่ผมเห็นว่าเค้าเป็นฝ่ายกำหนดค่าสัมปทานที่สูงมากเองครับ ซึ่งผมก็ไม่เห็นเค้าไปโทษใคร มีแต่คนเข้าใจผิดคิดว่าเค้าโดนบังคับโดนกลั่นแกล้งมา
อย่าลืมว่าในสัญญาระบุค่าสัมปทานที่สูงก็จริง แต่ก็ให้สิทธิ ไอทีวีว่า ถ้าหลังจากรัฐให้สัมปทานไอทีวี แล้ว รัฐ หรือหน่วยงานหน่วยใดหน่วยหนึ่งของรัฐ ไปให้สัมปทานใหม่ หรือต่ออายุสัมปทานโทรทัศน์ในค่าสัมปทานที่ต่ำกว่าที่ไอทีวีจ่าย หรือ อนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการเคเบิ้ลทีวีโฆษณาได้ รัฐต้องเจรจขาปรับลดค่าสัมปทานเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้ไอทีวี
คนที่ตกลงเงื่อนไขนี้คือ เนชั่น รัฐบาลเวลานั้น คือ นายชวน หลีกภัย
ปัญหาของเรื่องไอทีวีคือไม่มีใครเล่าความจริงเลย เนชั่นก็ไม่เคยยอมรับว่าตัวเองเป็นคนขอแก้เรื่องสัดส่วนการถือหุ้นที่เดิมรัฐบาลอานันท์กำหนดไว้ห้ามผู้ถือหุ้นแต่ละรายถือหุ้นเกินสิบเปอร์เซนต์ และแก้สำเร็จสมัยรัฐบาลชวน
เรื่องนี้ No comment ครับ ....ไม่มีความรู้พอ และยังไม่ได้ศึกษาเหตุการณ์ในขณะนั้น และก็ไม่ได้วิจารณ์อะไรเรื่องนี้เลยครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับที่ช่วยให้ความรู้เพิ่มเติม.... :lol:
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 1:21 am
โดย เพื่อน
คำชี้ขาดในส่วนของการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในเรื่องการนำเสนอรายการข่าว สารคดี และสาระประโยชน์ ซึ่งสัญญาเข้าร่วมงาน ฯ ข้อ 11 กำหนดไว้ว่า ต้องมีการเสนอรายการเหล่านี้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของเวลาที่ออกอากาศทั้งหมด และจะต้องเสนอเฉพาะรายการเหล่านี้ ในระหว่างเวลา 19.00 - 21.30 น. นั้น นอกจากจะเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการแล้ว ยังเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดที่เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของบริการสาธารณะตามสัญญาเข้าร่วมงาน ฯ นี้ คือ การกระจายเสียงทางโทรทัศน์ที่มุ่งไปที่ข่าวสาร สารคดีและสาระประโยชน์ อันเป็นวัตถุประสงค์หลักในการตั้งสถานีโทรทัศน์ ITV ขึ้นด้วย เพราะหากไม่มีวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้กำกับไว้ สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ก็จะกลายเป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงอีกแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับสถานีอื่น ๆ ซึ่งย่อมไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการให้จัดตั้งและดำเนินการสถานีโทรทัศน์แห่งนี้นั่นเอง
ดังนั้น คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดให้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญอันเป็นวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีบริการสาธารณะในเรื่องการกระจายภาพและเสียงทางโทรทัศน์ตามสัญญาเข้าร่วมงาน ฯ นี้ จึงเป็นการก้าวล่วงเข้ามาลบล้างจุดมุ่งหมายและทำลายความเป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อสาระและข่าวสารของ ITV ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบเฉพาะขององค์กรฝ่ายปกครองที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนี้โดยตรง (ซึ่งได้แก่คณะรัฐมนตรี และ สปน.) ลงโดยสิ้นเชิง และย่อมไม่ใช่กรณีที่อยู่ในอำนาจวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ คำชี้ขาดในส่วนนี้จึงเป็นคำชี้ขาดที่เกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถระงับโดยการอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมาย ซึ่งองค์กรตุลาการที่มีเขตอำนาจอาจเพิกถอนเสียได้ตามมาตรา 40 (2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
คัดลอกมาบางส่วน....แสดงให้เห็นว่า บางครั้งคู่กรณีก็มีสิทธิที่จะไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของอนุญาโตฯได้..... ตามตัวอย่างนี้ เป็นการตัดสินเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงและอยู่นอกเหนืออำนาจวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ ฝ่ายคู่กรณีน่าจะมีสิทธิยื่นเรื่องคัดค้านต่อศาลปกครองได้
คำถามที่น่าสนใจตามมาคือ ใครกันที่ถูกแต่งตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการในสมัยนั้น รู้สึกจะไม่ค่อยเป็นกลางเท่าที่ควรรึปล่าวครับ สามารถตัดสินนอกเหนือขอบเขตข้อตกลงได้?
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 9:46 am
โดย triathlon
ถามว่าเป็นทนายความหรือเปล่า แฮะๆ ใช้คำว่ามีอาชีพประจำเป็นที่ปรึกากฏหมายดีกว่าคะ เคยมีใบอนุญาตทายความ แต่ไปขึ้นศาลสองครั้ง เจอ "นรก" เลยเลิกเอาดีทางว่าความ หันมาประกอบอาชีพที่ไม่ต้องขึ้นศาลไปรองรับอารมณ์คน
ข้อเท็จจริงคดีไอทีวี ศาลปกครองตัดสินว่าคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันด้วยสองสาเหตุ
ข้อแรก การแก้ไขสัญญา (ซึ่งทำตั้งแต่ปี 38 ) ทาง สปน ไม่ได้นำกลับไปให้ ครม เห็นชอบ เลยไม่ผูกพัน (อันนี้ แอบเติมความเห็นตัวเองนิดนึงว่า ตรงนี้ไม่เห็นด้วยมากๆ ถ้าเป็นเรื่องบริษัทเอกชน กรรมการไปทำสัญญา แม้คณะกรรมการไม่เห็นด้วย ก็ยังมีผลผูกพันบริษัท เพราะกฏหมายคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริต มีคำพิพากษาฏีกามาเป็นสิบๆเรื่อง แต่พอมาเป็นรัฐบาลไม่ทำเอง กลายเป็นไม่คุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริต อันนี้ อย่าเพิ่งมองว่าเป็นนายก นาย ท นะคะ มองแค่ว่า คนนอกรัฐบาลจะรู้ได้อย่างไรว่าเอาเข้า มติครม หรือเปล่า หรือต้องเอาเข้าไหม เรื่องนี้ทำให้เกิดปัญหาทางกฏหมายตามมาเพราะสัญญาสัมปทานทั้งหมดของรัฐ เวลาแก้ไข ไม่เคยนำกลับเข้า ครม อีก ถ้าศาลถือเรื่องนี้เป็นแนวปฏิบัติ จะทำให้เกิดเรื่องสองมาตรฐานในการบังคับใช้กฏหมายไทย หลายท่านอาจมองผลประโยชน์ของรัฐนำ แต่ในทางทฤษฎี เรื่องนี้ถือเป็น "มหาชนทางแพ่ง" คือรัฐเข้ามาทำสัญญากับเอกชน ดังนั้น แม้ต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ แต่ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองภาคเอกชนด้วย ในอนาคต หากมีโครงการใหญ่ในไทยอีก กลุ่มนักลงทุน ธนาคารที่จะสนับสนุนโครงการของรัฐบาลไทย จะมองระบบกฏหมายไทยว่ามีสองมาตรฐานและมี political risk ทีสูงมาก ที่ผ่านมา แม้กฏหมายบางเรื่องเราจะล้าหลัง แต่ส่วนมากเป็นประเด็นปลีกย่อย แต่ครั้งนี้เป็นเรื่องที่กระทบถึงหลักเกณฑ์ และพื้นฐานในการบังคับใช้กฏหมายเลน อันนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ อาจจะมองที่ระบบ และการรักษาระบบ at any cost มากไป)
เข้าใจว่าที่พนักงานไอทีวีขอความคุ้มครอง หมายถึง ในระหว่างที่รัฐบาลยังแก้ปัญหาภายใยไม่เสร็จ ไม่น่าปิดสถานีไปเลย แต่รัฐสามารถเปิดให้มีการส่งสัญญาณต่อไปได้ โดยไม่กระทบถึงสิทธิในการเลิกสัญญา
เรื่องอนุญาโตตุลาการ ที่ว่าเป็นที่สุด หมายความว่าเมื่อมีคำชี้ขาดแล้ว ต้องผูกพันตามนั้น จะมาเจรจาใหม่ หรือฟ้องศาลเพื่อนำสืบหรือโต้แย้งในข้อต่อสู้เดิมไม่ได้
ถ้าจะฟ้องศาล (ซึ่งทั้ง สปน และ การทาง ทำ) สามารถฟ้องได้เฉพาะตามเหตุที่ พรบ อนุญาโตตุลาการอนุญาตไว้เท่านั้น ได้แก่ คำชี้ขาดขัดต่อกฏหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน) หรือ อนุญาโตตุลการทุจริต ดำเนินการะบวนวิธีพิจารณาไม่ชอบ หรือ ตัดสินเกินขอบข้อตกลงของสัญญา
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 9:56 am
โดย triathlon
ตอบคุณเพื่อนนะคะ
ยกตัวอย่างศาลแพ่ง สมมติ เราถูกฟ้องรียกค่าเสียหาย ถ้าเราชนะคดีศาลชั้นต้น อีกฝ่ายเขาอุทธรณ์ได้ แต่ระหว่างที่อุทธรณ์ ในทางกฏหมายถือว่าเราเป็นฝ่ายถูก สามารถดำเนินการต่างๆได้คะ
เช่น ถ้าศาลยกฟ้อง เราก็ไม่ต้องจ่ายเงินนะคะ และถ้า อีกฝ่ายเขาห้ามเราทำอะไร เราทำได้ เพราะตามคำพิพากษาในเวลานั้น เราเป็นฝ่ายถูกคะ
พอมีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วค่อยดูอีกที
กรณีไอทีวี พอไอทีวีชนะในชั้นอนุญาโตตุลาการ ตามกฏหมาย ไอทีวีก็เลยถือว่าตัวเองปรับผังรายการได้ ลดค่าสัมปทานได้ พอมาแพ้ในชั้นศาลปกครอง เรื่องจัดผังรายการเป็นอันยุติ คือปรับผังไม่ได้ ต้องทำตามคำพิพากษาทันที เรื่องค่าสัมปทาน ก็กลายเป็นจ่ายน้อยไป ต้องจ่ายเพิ่มทันที
แต่ที่ยังยื้อกันอยู่ คือเรื่องค่าปรับ และดอกเบี้ยคะ ซึ่งตอนนี้ อยู่ที่สำนักอนุญาโตตุลาการอยู่
ถามว่า ไอทีวี ฟ้อง สปน ได้ไหม ที่มายื้อเรื่องเข้าสู่ศาลปกครอง ฟ้องไปก็แพ้เปล่าๆ เพราะกฏหมายจะคุ้มครองการใช้สิทธิตามกฏหมายโดยสุจริตเสมอ การที่หน่วยงานของรัฐแพ้คดี แล้วนำไปดำเนินการในชั้นศาลต่อ ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติปรกติ ว่าต้องใช้สิทธิตามกฏหมายให้ถึงที่สุด
อย่าลืมว่าข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐเขามีความรับผิดทางอาญาตาม ป.อาญามาตรา ๑๕๗ อยู่ เลยไม่สามารถประนีประนอมอะไรได้เหมือนเอกชนคะ
คุณเพื่อนคะ ถ้าใช้ถ้อยคำที่ดูไม่เหมาะสม ขอโทษด้วยคะ
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 11:20 am
โดย MisterK
[quote="tanatat"]บังเอิญไม่ใช่นักกฏหมายแต่ผมว่าต้องดูเจตนารมย์ของกฏหมายจะดีกว่าตีตามตัวหนังสือในข้อกฏหมายจะดีกว่ามั่งครับ
กรณีของช่อง 7 เป็นคนละเรื่องกับ itv ต่างกรรมต่างวาระ ผมว่าต้องลองดูครับตอนนั้นใครเป็น ผบทบ
สำหรับผม..
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 11:35 am
โดย path2544
จากความเห็นอันอ่อนด้อยของผมนั้น ผมว่ามันเป็นความโลภ และการลุแก่อำนาจของคนครับ
จริงๆๆ แล้วเรื่องการลดค่าสัมปทานนั้น สปน. ไม่สามารถโต้แย้งได้ เพราะสามารถลดได้ เพราะสัญญาระบุไว้ให้ทำได้
แต่เรื่องการปรับผังรายการ ดันเอามารวมกับ การลดค่าสัมปทาน ซึ่งการปรับผังรายการเป็นอำนาจที่นอกเหนือจากอำนาจของอนุญาโตฯ
แถมยังจะเอาเงินค่าปรับจากภาครัฐอีก (โลภจริงๆๆ :twisted: :twisted: ) ข้าราชการซึ่งกลัวติดคุกจึงต้องทำตามกฎหมาย
(ถ้าแยกกันซะ ในความเห็นผมคงไม่เกิดเรื่องนี้ขึ้น)
ดังนั้น เมื่อมันเป็นเรื่องเดียวกัน ศาลจึงพิพากษาให้ โมฆะทั้งหมด (อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ หากผิดก็บอกกันมั่งครับ)
ประเทศไทยมีพระสมายเทวาธิราชคุ้มครองอยู่จริงๆๆ และคงมีข้อสรุปได้อย่างเดียวครับ กรรมมีจริง และสมัยนี้มันติดจรวดด้วย
สำหรับผม..
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 11:40 am
โดย path2544
จากความเห็นอันอ่อนด้อยของผมนั้น ผมว่ามันเป็นความโลภ และการลุแก่อำนาจของคนครับ
จริงๆๆ แล้วเรื่องการลดค่าสัมปทานนั้น สปน. ไม่สามารถโต้แย้งได้ เพราะสามารถลดได้ เพราะสัญญาระบุไว้ให้ทำได้
แต่เรื่องการปรับผังรายการ ดันเอามารวมกับ การลดค่าสัมปทาน ซึ่งการปรับผังรายการเป็นอำนาจที่นอกเหนือจากอำนาจของอนุญาโตฯ
แถมยังจะเอาเงินค่าปรับจากภาครัฐอีก (โลภจริงๆๆ :twisted: :twisted: ) ข้าราชการซึ่งกลัวติดคุกจึงต้องทำตามกฎหมาย
(ถ้าแยกกันซะ ในความเห็นผมคงไม่เกิดเรื่องนี้ขึ้น) แต่เพราะความโลภ และการต้องการราคาหุ้น ของคนบางกลุ่ม ซึ่งทำให้ผลออกมาแบบนี้ และเป็นผู้ฆ่า ITV จริงๆๆ
ดังนั้น เมื่อมันเป็นเรื่องเดียวกัน ศาลจึงพิพากษาให้ โมฆะทั้งหมด (อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ หากผิดก็บอกกันมั่งครับ)
ประเทศไทยมีพระสมายเทวาธิราชคุ้มครองอยู่จริงๆๆ และคงมีข้อสรุปได้อย่างเดียวครับ กรรมมีจริง และสมัยนี้มันติดจรวดด้วย
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 1:44 pm
โดย junkbond
triathlon เขียน:เรื่องนี้ทำให้เกิดปัญหาทางกฏหมายตามมาเพราะสัญญาสัมปทานทั้งหมดของรัฐ เวลาแก้ไข ไม่เคยนำกลับเข้า ครม อีก ถ้าศาลถือเรื่องนี้เป็นแนวปฏิบัติ จะทำให้เกิดเรื่องสองมาตรฐานในการบังคับใช้กฏหมายไทย หลายท่านอาจมองผลประโยชน์ของรัฐนำ แต่ในทางทฤษฎี เรื่องนี้ถือเป็น "มหาชนทางแพ่ง" คือรัฐเข้ามาทำสัญญากับเอกชน ดังนั้น แม้ต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ แต่ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองภาคเอกชนด้วย ในอนาคต หากมีโครงการใหญ่ในไทยอีก กลุ่มนักลงทุน ธนาคารที่จะสนับสนุนโครงการของรัฐบาลไทย จะมองระบบกฏหมายไทยว่ามีสองมาตรฐานและมี political risk ทีสูงมาก ที่ผ่านมา แม้กฏหมายบางเรื่องเราจะล้าหลัง แต่ส่วนมากเป็นประเด็นปลีกย่อย แต่ครั้งนี้เป็นเรื่องที่กระทบถึงหลักเกณฑ์ และพื้นฐานในการบังคับใช้กฏหมายเลน อันนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ อาจจะมองที่ระบบ และการรักษาระบบ at any cost มากไป)
ต้องบอกว่าเห็นด้วยอย่างที่สุดเลยครับ
ผลกระทบวันนี้มันเกิดขึ้นแล้วครับ มันเกิดกับคนทำงานในภาคธรุกิจจริงๆ
ดีลใหญ่ๆ ตอนนี้อย่างการ funding ที่ need เงินต่างชาติน่ะ ตายหมด
รัฐบาลใช้หลักเกณฑ์การตัดสินใจอย่างกับ นสพ รายวัน
ข้อเขียนวันนี้ของ ลม เปลี่ยนทิศ ผู้ใหญ่มากๆ คนนึงในวงการ
ก็เขียนได้ตรงใจผมมาก
.... รัฐบาลชุดนี้ทำงานไม่เป็น ไม่ศึกษาอะไรล่วงหน้า ทำกันไปวันต่อวัน...
ผมไม่รู้ว่าท่านๆ ที่เอาเงินภาษีส่วนตัวผม และภาษีจากธุรกิจไปจ่ายเงินเดือนอยู่ทุกวัน
ไม่รู้ว่าฉลาดไม่พอหรืออย่างไร ถึงไม่รู้ปัญหา
ไม่คิดถึงอนาคตข้างหน้าที่จะตามมา
จ้องแต่จะเล่นการเมืองกันจนประเทศเดือดร้อน
ปากก็ปาวๆ ว่าสมานฉันท์ รักพ่อ ไม่เห็นหน้าไหนทำกันซักคน
เรากำลังจะตายแล้วครับ ผมบอกได้เลย
ยังไม่รู้สึกตัวกันหรอก เพราะน้ำมันค่อยๆอุ่น
ปัญหาที่รัฐบาลชุดนี้ก่อไว้ ตอนนี้มันค่อยๆ ฝังรากลึกลงไป
จนกว่าที่พวกท่านทั้งหลายจะรับผิดชอบกันไหว....รู้ตัวกันบ้างไหม
ตอนนี้ฝรั่งเห็นเครดิตชื่อ Thailand ส่ายหัวแล้ว
โอเคคุณบอกไม่เป็นไรไม่แคร์ สนใจทำไมต่างชาติไม่ใช่พ่อ
ผมฟังใครพูดอย่างนี้แล้วท้อแท้ครับ ลองเปิดหูเปิดตาครับ
ตราบใดที่เรายังใช้รถ ใช้มือถือ ใช้คอม เปิดไฟ เปิดแอร์ ดูทีวี กินยา ซื้อคอนโด หรือทุกอย่างที่เป็นอุตสาหกรรม
พึงสังวรณ์ครับ
พึงสังวรณ์ว่าทั้งหมดที่ว่าๆ มาเนี่ย เรายังไม่มีปัญญาผลิตเองครับ เราหลีกเลี่ยงต่างชาติไม่ได้
เราหลีกเลี่ยงทุนนิยมไม่ได้ ตอนนี้ประเทศเรากำลังวิกฤติอย่างที่สุดแล้วจริงๆครับ
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 9:58 pm
โดย ShexShy
คุยต่อ ...
ขอบคุณ คุณ triathlon ที่ตอบคำถามครับ
ครั้งนี้คงคุยในประเด็นที่บอกว่า
เรื่องนี้ทำให้เกิดปัญหาทางกฏหมายตามมาเพราะสัญญาสัมปทานทั้งหมดของรัฐ เวลาแก้ไข ไม่เคยนำกลับเข้า ครม อีก ถ้าศาลถือเรื่องนี้เป็นแนวปฏิบัติ จะทำให้เกิดเรื่องสองมาตรฐานในการบังคับใช้กฏหมายไทย หลายท่านอาจมองผลประโยชน์ของรัฐนำ แต่ในทางทฤษฎี เรื่องนี้ถือเป็น "มหาชนทางแพ่ง" คือรัฐเข้ามาทำสัญญากับเอกชน ดังนั้น แม้ต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ แต่ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองภาคเอกชนด้วย ในอนาคต หากมีโครงการใหญ่ในไทยอีก กลุ่มนักลงทุน ธนาคารที่จะสนับสนุนโครงการของรัฐบาลไทย จะมองระบบกฏหมายไทยว่ามีสองมาตรฐานและมี political risk ทีสูงมาก ที่ผ่านมา แม้กฏหมายบางเรื่องเราจะล้าหลัง แต่ส่วนมากเป็นประเด็นปลีกย่อย แต่ครั้งนี้เป็นเรื่องที่กระทบถึงหลักเกณฑ์ และพื้นฐานในการบังคับใช้กฏหมายเลน อันนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ อาจจะมองที่ระบบ และการรักษาระบบ at any cost มากไป)
ถ้าจะยก case อย่าง ITV นี้มาศึกษา ผมยังมองว่า
มันยังอยู่ในกรอบของ กฎหมาย ที่มีการเขียนไว้แล้ว
risk ที่เกิดขึ้น คือ ไม่รู้ว่า เนื้อหาของ คำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการ นั้น อยู่ในขอบเขต อำนาจหรือไม่
... คราวนี้ สมมติ ดูว่า ศาลปกครอง บอกว่า เนื้อหาของ คำชี้ขาด อยู่ในอำนาจของ อนุญาโตตุลาการ ... สปน. ก็คงไม่มีสิทธิ์ ไปยึด สัปทาน หรือเปล่าครับ?
และ บางทีเป็นการทำให้เห็นแน่ชัดว่า อนุญาโตตุลาการ มีขอบเขต ของ อำนาจคำสั่ง ไม่ใช่ จะกำหนด อะไรก็ได้ อนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่ พระเจ้า ที่จะสั่งอะไรก็ได้ สั่งอะไร ต้องทำหมด ทั้ง ๆ ที่อยู่นอกเหนืออำนาจ
อย่างนี้ คู่กรณี อย่าง สปน. กับ ITV จึงควรที่จะ พิจารณาให้ดี ในการเลือก อนุญาโตตุลาการ
ถ้ามองในมุมมองของความชัดเจน ทางอำนาจตามกฏหมาย ยังเห็นเป็นแง่บวก (นอกจาก จะมีคนบอกว่า ศาล สั่งให้ตัดสินอย่างไรก้ได้ ซึ่ง หลายคน มีความเชื่อส่วนตัว ว่าอย่างนั้น)
นักลงทุน ในไทย โดยเฉพาะ การทำสัปทาน กับรัฐ จะได้เห็นช่องทาง กรณ๊ที่ไม่เห็นด้วยกับอนุญาโตตุลาการด้วย
เราในฐานะ นักลงทุน จะได้พิจารณา ว่าพวกบริษัท ที่ไม่เคยนำ สัญญา ที่แก้ไขเข้า ครม. นั้น อะไรที่เป็นความเสี่ยงเรื่องพวกนี้บ้าง ...
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 10:41 pm
โดย junkbond
เหอ ๆ ถ้าฟันธงว่า สัมปทานไหนแก้ไขไม่ผ่าน ครม เป็นโมฆะหมด
DTAC กับ TRUE ก็เก็บกระเป๋ากลับบ้านครับ
สัมปทานหมดอายุสัญญาไปแล้ว!!!!!!
ตอนนี้กฤษฎีกาดูอยู่ครับ แต่คงไม่กล้าตัดสินตอนนี้แน่ คงดึงไปยาว
เรื่องมันใหญ่ มันเสียวครับ
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 11:02 pm
โดย เพื่อน
ความเห็นเพิ่มเติมครับ
ถ้าศึกษาย้อนกลับไปในอดีต บรรดาสัมปทานผูกขาดทั้งหลาย ส่วนใหญ่ รัฐมักจะเสียเปรียบเอกชนนะครับ
ตัวเจ้าหน้าที่ผู้แทนของภาครัฐ ไม่เสียประโยชน์และมักจะได้ประโยชน์ไปพร้อมๆกับเอกชน....แต่รัฐ(ซึ่งไม่ได้หมายถึงตัวบุคคล)มักจะเป็นผู้เสียประโยชน์โดยเฉพาะจากการเจราเปลี่ยนแปลงสัญญาภายหลังแทบทุกครั้ง
...สรุปคนที่มักจะได้ประโยชน์ก็คือ เอกชนผู้รับสัมปทานกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจากภาครัฐ....นี่คือที่มาของคำว่าค่าโง่ซึ่งส่วนใหญ่รัฐ(ของประชาชน)จะเป็นฝ่ายโง่ครับ
ที่นิยมอีกอย่างในการประมูลสัมปทานมา ก็คือเสนอค่าตอบแทนให้ภาครัฐสูงๆไว้ เพื่อให้ชนะการประมูลมาก่อน เมื่อได้มาแล้วก็ห่ำหั่นกับคู่แข่งให้ราบคาบเท่าที่จะทำได้ เสร็จแล้วก็มาขอเจรจากับรัฐทีหลัง ว่าไม่สามารถดำรงค์กิจการต่อได้หากรัฐไม่ช่วยเหลือ...ก็จะมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐในการแบ่งสรรปันส่วนกันจนลงตัว แล้วรัฐ(ของประชาชน)ก็ยอมช่วยเหลือเอกชนผู้ได้สัมปทาน
จากจุดนี้ครับ สมควรจะหาความเป็นธรรมก่อนว่า แล้วบรรดาเอกชนผู้เข้าร่วมประมูลในตอนแรก จะมองภาครัฐของประเทศไทยกันยังไงครับ แล้วต่อไปจะเหลือเอกชนที่คิดดีๆคิดซื่อๆเค้าอยากจะเข้ามาร่วมประมูลสักกี่ราย.....สมควรหาความยุติธรรมจากจุดนี้ให้ได้ก่อนนะครับ
ส่วนตัวผมเอง ในเบื้องต้นแล้วเห็นว่า บรรดาสัญญาของภาครัฐขนาดใหญ่ทั้งหลายไม่ควรให้อำนาจอยู่ที่อนุญาโตตุลาการ ควรจะยกเลิกไปเลยจะดีกว่า และเสริมเกราะป้องกันการทุจริตระหว่างเอกชนกับภาครัฐเข้าไปคอยตรวจตราจะดีกว่ามาก โดยเฉพาะให้สถาบันทางวิชาการต่างๆเข้าร่วมตรวจสอบได้เมื่อเกิดข้อสงสัยต่างๆครับ
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 09, 2007 10:24 am
โดย triathlon
ตั้งแต่รัฐแพ้เรื่องหวยออนไลน์ และค่าโง่ทางด่วน เข้าใจว่ามีมติ ครม ออกมา ห้ามหน่วยงานของรัฐตกลงระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ (แต่ที่ทำสัญญาและตกลงไปแล้วก็คงต้อง...ให้มันแล้ว แล้วไป)
มาต่อประเด็นคุณ ShexShy นิดนึง เห็นด้วยคะว่า อำนาจในการชี้ขาดของอนุญาโต ไม่ควรครอบจักรวาล และก็เห็นด้วยเรื่องปรับผังรายการว่าอนุญาโต ไม่น่าวินิจฉัยตรงนี้ได้ อันนี้เห้นด้วยกับศาล 8)
แต่ที่มาฟันว่าการแก้ไขสัญญาไม่มีผลผุกพันเพราะไม่ได้เอาเข้าผ่านมติ ครม อีกครั้งนี้ ไม่เห็นด้วยจริงๆ
แถมถ้าไปหลักนี้ แต่ไม่ฟันสัญญาสัมปทานอื่นๆ อย่าง ดีแทคหรือทรู ก็กลายเป็นประเทสเรามีสองมาตรฐาน แถมจะกลายเป็นศาลทำตามออเดอร์ แม้ว่าพวกเราหลายๆคน อาจจะมองทะลุไปถึงต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งปวง แต่ก้ไม่คิดว่านี่เป็นวิธีที่ถูกต้องในการแก้ปัญหา
ข้อมูลคดีไอทีวีตั้งแต่ปี 42 -49 แล้วจะรู้ความจริง
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 09, 2007 12:04 pm
โดย ShexShy
อย่างนี้ Detac หรือ True ก็อยู่บนความเสี่ยง
ถ้าเราเป็น Dtac หรือ True ไม่น่าประมาทเรื่องนี้นะครับ
น่าจะมีวิธีแก้ไขให้มันถูกต้องซะ เช่น ส่งเรื่องให้ศาลปกครอง วินิจฉัย แทนที่จะต้องรอ ให้หน่วยงานของรัฐ เอาเข้ามติ ครม. คือ พยายามใช้ อำนาจศาลสั่ง หน่วยงานของ รัฐ
เพราะ เดี๋ยว นี้ เกียร์ว่างเยอะ
เพราะ เอกชน คงยากที่จะสั่ง รัฐ ได้ (ถ้าไม่เส้นใหญ่ จริง นะ)
ผู้ถือหุ้น ก็น่าจะตั้งกระทู้ ถามผู้บริหารว่า ประเด็นเรื่องนี้ ควรจะจัดการอย่างไร
ไม่ควรปล่อยให้อยู่เฉย ๆ ไม่งั้น .. เดี๋ยวเป็นเรื่องเหมือน ITV
มันจะได้ จบ