หน้า 1 จากทั้งหมด 1
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 09, 2007 10:06 pm
โดย Eyore
เห็นหลายคนลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้
เลยอยากขอความรู้เป็นวิทยาทานหน่อยครับ
1.การประกันภัยแบบต่างๆเช่น อัคคีภัย รถยนต์อะไรพวกนี้ อันไหนความเสี่ยงมากน้อยยังไง
2. บางบริษัททุนน้อย ทุนมาก หนี้น้อย หนี้มากอันไหนดีกว่ากัน
เวลาเขาเขียนว่า
หนี้สิน
เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้
สำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย
พวกนี้มันหมายความว่ายังไง
3.แล้วเงินที่เอาไปใช้ในกิจกรรมการลงทุนนี่มันมาจากเงินส่วนไหนครับ
ตอนแรกคิดว่ามาจากเบี้ยประกัน (ตามที่เข้าใจจากการอ่านหนังสือบัฟเฟต์)
แต่เห็นบางบริษัท
เบี้ยประกันภัยรับจากการรับประกันภัยโดยตรง 3,427,736,171
ค่าสินไหมทดแทนจากการรับประกันภัยโดยตรง -1,905,214,243
แต่
กระแสเงินสดได้มา
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ 3,888,648,702
กระแสเงินสดใช้ไป
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ -4,162,627,837
แล้วเอาเงินมาจากไหนอ่ะ
4.การรับประกันภัยเองเลย กับไปประกันภัยต่อคนอื่นอีกที อันไหนมีข้อดีข้อเสียยังไง
รู้สึกยิ่งเขียนยิ่งงง สรุปคือ ไม่รู้อะไรเลยซักอย่าง
เอาง่ายๆ ใครพอจะอธิบายคร่าวๆให้เห็นภาพรวมธุรกิจได้บ้างครับ
ขอบคุณหลายๆ
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 09, 2007 11:05 pm
โดย miracle
ประกันภัยมีอยู่สี่หมวดใหญ่คือ
1. ประกันอัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดจากไฟไหม้ ความเสี่ยงคือ เท่ากับเจ้าของว่าป้องกันดีขนาดไหนแต่ตามสุภาษิตไทย โจรปล้น100 ครั้งไม่เท่าน้ำท่วม10 ครั้งแต่ไม่เท่ากับไฟไหม้ครั้งเดียว
คงจะเข้าใจน่าครับคืออะไร
2. ประกันภัยทางทะเล อันนี้เกี่ยวกับพวกสินค้าเรือ ครับ (อันนี้ก็ไม่ค่อยมีความรู้)
3. ประกันภัยรถยนต์ อันนี้มีหลายประเภทคือ เครื่องหมาย (อันนี้ไม่ค่อยเข้าใจแต่มันมีขายน่า เท่าที่รู้มีวิริยะประกันภัยกับอะไรอีกที่ขายล่ะครับ)
ประกันภัยภาคบังคับคือพวกพรบ.รถยนต์ และประกันภัยบุคคลที่สามที่รถทุกคันต้องมี และประกันภัยภาคสมัครใจคือพวกประกันภัยชั้น1 2 3 พวกนี้
รวมไปถึงประกันภัยกลุ่มของรถยนต์ ก็คือพวกที่ไปถอยรถออกจากงานมอเตอร์โชว์ต่างๆหรือดีลเลอร์ มันจะทำประกันภัยประเภทกลุ่มมาใช้คิดเบี้ยน้อยกว่าประกันปกติ
4. ประกันภัยเบ็ดเตร็ด เป็นประกันภัยที่มีขนาดพอๆกับรถยนต์ กลุ่มนี้เช่น พวกประกันภัยอุบัติเหตุบุคคล ประกันภัยหมู่เป็นต้น
แต่ละตัวมันจะมีความเสี่ยงแตกต่างกันไป แล้วแต่ผู้ที่ทำประกันภัยไว้ว่ามีการรักษาสิ่งทรัพย์อย่างไง และเมื่อเกิดแล้วประวัติเสียจะมีผลต่อผู้ทำประกันภัยอย่างไง
ข้อแรกคงจะตอบเข้าใจ
ข้อสอง ทุนน้อยทุนมาก นั้นมีความสำคัญ คือธนาคารมีกองทุนชั้น 1 2 เพื่อดำรงรักษาอัตราส่วนทุนต่อการปล่อยกู้ และหนี้สินเอาไว้ เพื่อเป็นหลักประกันเงินฝาก
ฉันใดก็ฉันนั้น บริษัทประกันภัยก็มีเงินกองทุนที่จ่ายชดเชยผู้มาเครมประกันภัย ถ้าหากกองทุนนี้ติดลบทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะพิจารณาให้สั่งปิดบริษัทประกันภัยดังกล่าวไป
เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ คือ มีการเก็บประกันภัยจากผู้ทำประกันภัยแล้ว แต่ตอนนี้เงินประกันภัยดังกล่าวยังอยู่ที่ตัวแทน/นายหน้า/บริษัทนายหน้าประกันภัย/กำลังทำประกันภัยต่ออยู่
ทำให้เงินดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นรายได้ของตัวบริษัท ต้องรอให้เงินมาถึงตัวบริษัทก่อน
ในเคสของบริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันภัย มักจะเกิดกรณีที่ว่าตัวแทน/นายหน้า/บริษัทนายหน้า เชิดเงินหนีอยู่เนื่องๆ ปัจจุบันทางหน่วยงานผู้ที่เกี่ยวข้องกำลังให้มีการออกใบเสร็จ ณ สถานที่เก็บเงินค่าประกันอยู่
สำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย คือ เงินที่ผู้ทำประกันภัยเครมแล้วทางบริษัทจัดสรรให้แล้ว แต่ยังไม่จ่ายให้แก่ทางผู้ทำประกันภัยไว้
หมายเหตุผู้ทำประกันภัยในที่นี้อาจจะเป็นผู้อื่นได้เนื่องจากผู้ประกันภัยถึงแก่กรรมได้ครับ
ข้อสองคงจะเคลียร์ได้ระดับหนึ่ง
ต่อไป เงินที่ไหนเอาไปลงทุน อันนี้ไปอ่านในพรบ.ประกันภัย พรบ.ประกันชีวิตล่ะกันน่าครับ
ผมสามารถบอกได้คร่าวๆว่า ทางบริษัทประกันภัยต่างๆจะกันเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อจ่ายค่าเครมประกันภัย (อันนี้จะมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยคำนวณอัตราการจ่ายดังกล่าว่าปีหนึ่งจะต้องเตรียมไว้เท่าไร)
จากนั้นเงินที่เหลือสามารถเอาไปลงทุนได้ ดังนี้
1. พันธบัตรรัฐบาล
2. หุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจ
3. หุ้นกู้ของบริษัทต่างๆ
4. ตั๋วแลกเงิน
5. ตั๋งคงคลัง
6. หุ้นสามัญ
ซึ่งจะมีบอกไว้ในพรบ. และทางหน่วยงานราชการจะทำการตรวจสอบอยู่เนื่องๆ
ซึ่งบ้างส่วนของเงินลงทุนจะถูกเก็บไว้ที่หน่วยงานราชการ เพื่อเป็นหลักประกันภัยว่า ทางบริษัทประกันภัยมีเงินจ่ายให้แก่ลูกค้า (ก็คือเงินกองทุนนั้นเอง)
คงจะเข้าใจแล้วน่าครับข้อนี้
ส่วนข้อสุดท้าย
ดูที่อัตราการเกิดและทุนประกันภัยเป็นสำคัญครับ
เพราะว่ารับไว้เองก็เจ็งเองครับ จึงต้องเกิดการกระจายความเสี่ยงให้แก่ผู้อื่น/บริษัทอื่นครับ
มันถึงได้มีคำว่าเบี้ยประกันภัยตรงและเบี้ยประกันภัยต่อเกิดขึ้น
เบี้ยประกันภัยต่อ อันนี้ไปหาอ่านจากTHREได้ครับ
คงจะให้ความรู้ได้แค่นี้ครับ
ถ้าสงสัยเพิ่มเติมจากนี้คงต้องไปหาความรู้เพิ่มเติมมาตอบให้แล้วครับ
เพราะนี้ก็เรียกได้ว่าจะหมดไส้หมดพุงกันมาตอบแล้วครับ
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 09, 2007 11:18 pm
โดย miracle
หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องโดนตรงคือ
กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ (อีกไม่น่าก็จะเป็นหน่วยงานอิสระเหมือน กลต.แล้วครับ)
www.doi.go.th
หาข้อมูลได้ครับ
http://www.doi.go.th/type_doi/insurance ... 270250.pdf
ส่วนอันนี้คือบริษัทที่ได้รับการลงโทษเนื่องจากกระทำความผิด
http://www.doi.go.th/stat_data/Financia ... r_2005.htm
อันนี้ดูว่าปี 2546-2548 บริษัทไหนสุขภาพดีหรือไม่ดูที่นี้ครับ
ปี 2549 ยังไม่ออก กว่าจะออกต้องใช้เวลาหน่อย ประมาณหนังสือครบรอบกรมการประกันภัยออกหรือเปล่าเนี่ย
หรือว่าไม่ใช่ฉลองพร้อมชื่อใหม่เลย
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 09, 2007 11:20 pm
โดย naris
ยังไงคุณmiracleรับหน้าเสื่อไปแล้วช่วยตอบด้วยนะครับ ถามแบบโง่ๆไม่ว่ากันนะครับ เพราะไม่มีความรู้จริงๆ
1กลุ่มลูกค้านี่เปลี่ยนบ่อยหรือเปล่าครับ รายได้สม่ำเสมอหรือเปล่า หรือขึ้นกับความสัมพันธ์ตัวแทนและการตัดราคา
2จุดแข็งแต่ละแห่งของธุรกิจนี้อยู่ตรงไหน
3การรับรู้รายได้จะรับรู้เป็นก้อนทันทีเมื่อรับเงินหรือทะยอยรับหาร12เดือนในอนาคต(ที่รับเงินมา) และสุดท้ายการรับรู้รายได้จะบันทึกกำไรไปก่อนทั้งจำนวนและถ้ามีการเครมก็บันทึกเป็นรายจ่ายทั้งจำนวน หรือใช้ค่าเฉลี่ยในอดีตมาคิดและมาปรับเมื่อสิ้นสุดสัญญา
ขอบคุณครับ
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 10, 2007 8:34 am
โดย miracle
เดี๋ยวมาตอบน่าครับ
ตอนนี้ขอตัวไปทำธุรกิจก่อนครับ
ไม่ว่ากันน่าครับ เกริ่นไว้ก่อนข้อ1และ2 พอจะได้
แต่ข้อ3 เนี่ยสุดความสามารถครับ ต้องหาผู้รู้ทางด้านบัญชีเฉพาะมาตอบครับ
ขนาดเรื่องที่ปรับเปลี่ยนบัญชีในการรับเบี้ยประกันภัยที่แก้ไขตอนปลายเดือนกันยายน 2549
ต้องถามคนอื่นอยู่เหมือนกัน
แต่ที่น่าแปลกใจ คนของTVIหรือเวปอื่นๆไม่ค่อยให้ความสนใจกลุ่มประกันภัย
แต่ตอนนี้เริ่มให้ความสนใจเป็นเพราะศกอยู่ในขาลงแล้วหรือ ถึงได้มาหลบภัยกับกลุ่มนี้
แปลกๆๆๆ เพราะกลุ่มนี้ยังหาเพชรพอจะได้ แต่ต้องขุดเอาหน่อย
เม็ดก็น้อยสามารถขุดกันได้อยู่แล้วล่ะคนแถวนี้
ส่วนเรื่องตอบคำถามพี่Naris รอก่อนน่าครับ
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 10, 2007 4:02 pm
โดย miracle
มาตอบพี่narinที่ถามไว้(กลับมาจากทำธุระส่วนตัวนิดหน่อย)
ข้อแรก
ข้อย่อยแรก ลูกค้าเปลี่ยนแปลงบ่อยเหมือนอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยไหม
มันขึ้นอยู่กับความพอใจของลูกค้า แต่กลุ่มประกันภัยถ้าเป็นลูกค้ากันนานจะมีส่วนลดให้อยู่แล้ว
ส่วนใหญ่ลูกค้าจะติดตัวแทน/นายหน้า/บริษัทนายหน้าประกันภัยมากกว่าตัวบริษัท
(เดี๋ยวคนแถวนี้บอกว่าติดตัวบริษัทเพราะถือหุ้นอยู่ขอไม่นับน่าครับ)
อีกอย่างขึ้นอยู่กับอัตราเบี้ยประกันภัยที่ทางบริษัทจัดเก็บ อันนี้มีกรอบโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แต่จริงๆบริษัทเป็นคนกำหนดอัตราเบี้ยเก็บแก่ลูกค้า (กลุ่มที่เห็นชัดเจนในจุดนี้คือ รถยนต์ อัคคีภัยเพราะมันใกล้ตัวและอุบัติเหตุส่วนบุคคล)
ข้อย่อยที่สอง รายได้สม่ำเสมอหรือเปล่า
อันนี้เป็นคำถามต่อเนื่องจากข้อแรก สามารถคาดการณ์ได้ แต่ต้องระวังไว้หน่อยตามข้อย่อยข้อแรกว่าลูกค้ายึดติดกับตัวแทน/นายหน้า/บริษัทนายหน้าประกันภัย
ข้อย่อยที่สามความสัมพันธ์ของบริษัทกับตัวแทน/นายหน้า/บริษัทนายหน้าประกันภัย
ตอบในเชิงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องล่ะกัน ตัวแทนต้องมีบริษัทให้ทำงาน แต่นายหน้าและบริษัทนายหน้าประกันภัยไม่ต้องมีบริษัทสังกัด
ใคร่จะขายให้ใครก็ขาย
ต้องระวังว่าตัวแทนอยู่กับบริษัท ถ้าย้ายงานต้องสอบใบอนุญาตใหม่ เหมือนกรณีที่marketingย้ายบริษัทล่ะครับ
ข้อย่อยสุดท้ายการตัดราคา
การตัดราคามีอยู่ทุกแวดวง อันนี้ถามพี่สุมาอี้จะดีที่สุดเพราะแกเขียนทฤษฏีเกมไว้น่าตื่นเต้นในการส่วนของการตัดราคาหรือสงครามราคา
ข้อสองจุดแข็งของธุรกิจนี้
การสร้างเงินจากเงินประกันภัย ซึ่งต้องจ่ายปีต่อปี นั้นเอง
อันนี้ต้องเจอตัวเดี๋ยวนั่งอธิบายให้ฟังก็ได้อ่ะ หรือไม่ก็อ่านหนังสือของวอเลนต์ไปได้เลยครับ
ว่าทำไมวอเลนต์แกถึงลงทุนในหุ้นบริษัทประกันภัย
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 10, 2007 6:17 pm
โดย miracle
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=153228
แห่ร้องบ.ประกันเบี้ยว 8พันรายโวยจ่ายเงินช้า
โพสต์ทูเดย์ ลูกค้าประกันภัย ประกันชีวิต ร้องเรียนกรมการประกันภัยยังสูงลิ่ว 1 ปี กว่า 8 พันราย
กรมการประกันภัย เปิดเผยสถิติร้องเรียนเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนทั่วประเทศในปี 2549 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนกันยายน 2549 จำนวน 8,023 เรื่อง ว่า อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา สำหรับเรื่องร้องเรียนประกอบด้วย เรื่องประกันภัยภาคบังคับ หรือ ประกันพ.ร.บ. ประกันชีวิต และประกันวินาศภัย เช่น การให้บริการของพนักงานบริษัทประกันพูดจาไม่สุภาพ การจ่ายสินไหมทดแทนล่าช้า ระยะเวลาในการประเมินความเสียหายล่าช้า มีการประเมินทรัพย์สินเสียหายต่ำกว่าความเป็นจริง
ทั้งนี้ สามารถยุติปัญหาได้แล้ว 7,160 เรื่อง อยู่ในขั้นตอนการรอเอกสารและหลักฐานจำนวน 389 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 474 เรื่อง และยังคงทำการ รับเรื่องร้องเรียนอย่างต่อเนื่องทุกวัน แต่ละวันจะมีลูกค้าร้องเรียนในกรณีต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 8-9 เรื่อง เฉลี่ยเดือนละกว่า 100 เรื่อง แต่สามารถไกล่เกลี่ยได้แล้วจำนวนมาก
สำหรับความคืบหน้าในการแก้ปัญหาฐานะเงินกองทุนของบริษัท ธนสินประกันภัย นางจันทรา บูรณฤกษ์ อธิบดีกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า ผู้บริหารบริษัท ธนสินประกันภัย ยืนยันจะเพิ่ม เงินกองทุนถึง 424 ล้านบาท ภายใน ไม่เกินวันที่ 15 มีนาคมนี้ แบ่งเป็น เงินสด 100 ล้านบาท ที่เหลือจะเป็นอสังหาริมทรัพย์
นายนรนาถ รัตนศักดิ์วิบูลย์ เจ้าของ อู่ปิยราชยนต์ ตัวแทนอู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล นายเจริญศักดิ์ รณรงค์ไพรี เจ้าของอู่สุเมธ การาจ ตัวแทนอู่ต่างจังหวัด และนายอาทิตย์ เพิ่มรัตนะ ตัวแทนอดีตพนักงาน บริษัท ธนสินประกันภัย ได้เดินทางเข้าร้องเรียนกับทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี โดยระบุว่า ไม่ได้มีการเสนอราคาสูงเกินจริงเหมือนกับที่ผู้บริหารบริษัท ธนสินประกันภัย กล่าวอ้างแต่อย่างใด ความจริงคือบริษัทได้ค้างจ่ายค่าซ่อมมาตั้งแต่ ปี 2548
จากข่าวนี้แสดงว่ามีสัญญาณอตร.แล้วว่าบริษัทประกันภัยมีปัญหา
ถ้ามีปัญหามากๆข้อร้องเรียนของกองนิติการ กรมการประกันภัยต่อบริษัทนั้นๆจะมากแบบมหาศาล
อันนี้เป็นข้อพึ่งเฝ้าระวังไว้ครับ
หากบริษัทมีปัญหาธรรมดาคือ จะมีปัญหาแค่เครมประกันภัยช้า มีน้อย
แต่ปัญหาหนักคือตัวแทน/นายหน้า/นายนิติบุคคลไม่ส่งเงินประกันแล้ว
ผู้ประกันภัยเครมเงินไม่ได้ จุดนี้ซิ น่าเป็นห่วงชื่อเสียงของบริษัท
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 10, 2007 6:48 pm
โดย nowkung
ขอตอบแบบสามัญๆนะครับ
1.การประกันภัยแบบต่างๆเช่น อัคคีภัย รถยนต์อะไรพวกนี้ อันไหนความเสี่ยงมากน้อยยังไง
อัคคีภัยความเสี่ยงจะต่ำกว่ารถยนต์ ดูง่ายๆ ในกทมนานๆทีจะมีไฟไหม้สักที ในขณะที่รถชนกันทุกวันและวันละหลายๆคัน
หนี้สิน
เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้
สำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย
พวกนี้มันหมายความว่ายังไง
ปกติบริษัทประกันจะกักเงินส่วนหนึ่งไว้จ่ายค่าเคลมความเสียหายให้ลูกค้าก็เป็นเงินสำรองเบี้ยประกันภัยไงครับ ถ้าลูกค้าเคลมประกันก็เอาเงินส่วนนี้จ่ายไป ถ้าลูกค้าไม่ต่อประกันบริษัทก็บันทึกเงินสำรองประกันเป็นรายได้ไป...หวาน
3.แล้วเงินที่เอาไปใช้ในกิจกรรมการลงทุนนี่มันมาจากเงินส่วนไหนครับ
เขาก็เอาเงินเบี้ยประกันไปซื้อหุ้น พันธบัตร และอื่นๆ สิครับดีกว่าดองไว้ในธนาคารเฉยๆ
ดูแบบธนาคารครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 10, 2007 9:56 pm
โดย path2544
พิจารณาแบบธนาคารครับ
ดูที่ ฐานะเงินกองทุนของบริษัท
หากน้อยกว่าเกณฑ์ต้องเพิ่มทุนครับ
Re: ดูแบบธนาคารครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 11, 2007 3:53 am
โดย miracle
path2544 เขียน:พิจารณาแบบธนาคารครับ
ดูที่ ฐานะเงินกองทุนของบริษัท
หากน้อยกว่าเกณฑ์ต้องเพิ่มทุนครับ
ถูกต้องน่าครับ
แต่ว่าผู้ที่ทำกรมธรรม์ไว้กับบริษัทนั้นจะไม่ได้คุ้มครองอะไรเลย
ถ้าหากบริษัทถูกปิด มีแต่บริษัทอื่นรวมมือให้ผู้ทำกรมธรรม์โอนกรมธรรม์มาสู่บริษัทตน
เป็นการช่วยเหลือแบบขอความร่วมมือครับ
ไม่เหมือนกับธนาคารที่มีการรับประกันเงินฝากและจะก่อตั้งสถานบันประกันเงินฝาก
โปรดระวังจุดที่แตกต่างนี้ไว้ด้วย
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 12, 2007 3:51 pm
โดย adi
[quote="miracle"]เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 12, 2007 3:58 pm
โดย adi
miracle เขียน:สำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย คือ เงินที่ผู้ทำประกันภัยเครมแล้วทางบริษัทจัดสรรให้แล้ว แต่ยังไม่จ่ายให้แก่ทางผู้ทำประกันภัยไว้
หมายเหตุผู้ทำประกันภัยในที่นี้อาจจะเป็นผู้อื่นได้เนื่องจากผู้ประกันภัยถึงแก่กรรมได้ครับ
เช่นเดียวกันกับสำรองเบี้ยประกัน สำรองค่าสินไหมทดแทน ก็เป็นไปตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์เหมือนกันครับ คือเผื่อไว้สำหรับกรณีที่บริษัทยังไม่ได้รับรายงาน โดยกระทรวงพาณิชย์ให้ตั้งไว้ร้อยละ 2.5ของเบี้ยประกันภัยรับสุทธิย้อนหลังสิบสองเดือน
ในกรณีที่ผู้ทำประกันเคลมแล้ว ทางบริษัทต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายครับ แต่ถ้ายังไม่จ่าย ก็บันทึกไว้เป็นค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 12, 2007 4:01 pm
โดย adi
naris เขียน:3การรับรู้รายได้จะรับรู้เป็นก้อนทันทีเมื่อรับเงินหรือทะยอยรับหาร12เดือนในอนาคต(ที่รับเงินมา) และสุดท้ายการรับรู้รายได้จะบันทึกกำไรไปก่อนทั้งจำนวนและถ้ามีการเครมก็บันทึกเป็นรายจ่ายทั้งจำนวน หรือใช้ค่าเฉลี่ยในอดีตมาคิดและมาปรับเมื่อสิ้นสุดสัญญา
ขอบคุณครับ
ข้างล่างนี้ผมเอามาจากนโยบายทางบัญชีของ pha ไม่แน่ใจว่าเหมือนกันทุกที่นะครับ
3.1 การรับรู้รายได้
ก) เบี้ยประกันภัย
เบี้ยประกันภัยถือเป็นรายได้ตามวันที่ที่มีผลบังคับใช้ในกรมธรรม์ประกันภัยหลังจาก หักเบี้ยประกันภัยต่อและส่งคืนแล้วสำหรับกรมธรรม์ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ในกรณีที่กรมธรรม์มีอายุเกิน 1 ปีจะบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นรายการรับหรือจ่ายล่วงหน้า โดยทยอยรับรู้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายตามอายุการให้ความคุ้มครอง
ข) เบี้ยประกันภัยต่อ
เบี้ยประกันภัยต่อถือเป็นรายได้เมื่อบริษัทฯได้รับใบคำขอเอาประกันภัยต่อหรือใบแจ้งการ ประกันภัยต่อจากบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อ
ค) ดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ
ดอกเบี้ยรับถือเป็นรายได้ตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลาโดยคำนึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง เงินปันผลรับถือเป็นรายได้เมื่อมีสิทธิในการรับเงินปันผล
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 12, 2007 4:09 pm
โดย Saitthasak
miracle เขียน:
...
ข้อสองจุดแข็งของธุรกิจนี้
การสร้างเงินจากเงินประกันภัย ซึ่งต้องจ่ายปีต่อปี นั้นเอง
อันนี้ต้องเจอตัวเดี๋ยวนั่งอธิบายให้ฟังก็ได้อ่ะ หรือไม่ก็อ่านหนังสือของวอเลนต์ไปได้เลยครับ
ว่าทำไมวอเลนต์แกถึงลงทุนในหุ้นบริษัทประกันภัย
หนังสือเล่มไหนครับพี่miracle
เอาข่าวนี้มาให้เป็นกรณีีศึกษาครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 14, 2007 4:23 pm
โดย path2544
กรมประกันสั่งธนสินหยุดรับประกันชั่วคราว
รายงานข่าวกรมการประกันภัย เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด(มหาชน) มีฐานะการเงินดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย มีปัญหาสภาพคล่อง จัดสรรทรัพย์สินตามประเภทที่กฎหมายกำหนดไม่เพียงพอกับเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัย ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัทและเงินสำรอง สำหรับค่าสินไหมทดแทน
กรมการประกันภัยในฐานะผู้กำกับดูแลบริษัทประกันภัย ได้ส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัท ให้บริษัทดำเนินการแก้ไขฐานะการเงินและเร่งรัดให้บริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทนพร้อม แต่บริษัทก็ไม่สามารถดำเนินการได้
นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เห็นว่า บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด(มหาชน) ขาดเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามกฎหมาย มีทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้สิน และค้างจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ ผู้ เอาประกันภัยหรือประชาชนเป็นจำนวนมาก การดำเนินการจึงอยู่ในลักษณะอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน
กรมประกันจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 สั่งให้บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด(มหาชน) หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.เป็นต้นไป จนกว่าจะสามารถแก้ไขปรับปรุงฐานะการเงินให้มีความมั่นคง อยู่ในสถานะที่สามารถจะประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อไปได้และนายทะเบียนมีคำสั่งยกเลิกการหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวดังกล่าว
เอาไว้ศึกษา ครับสำหรับธุรกิจประกัน
หลักในการดูบริษัทประกันภัย
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 15, 2007 1:27 pm
โดย miracle
ถูกต้องนักครับ
สำหรับเรื่องข่าวบน
แต่ยังมีประเด็นเพิ่มเติมว่า มาตราบัญชีจะใช้มาตราเดียวกันในกรอบของกฏหมาย ซึ่งต้องไปศึกษาต่อครับ