update เรื่องวงการอิเลกฯ
-
- ผู้ติดตาม: 0
update เรื่องวงการอิเลกฯ
โพสต์ที่ 1
แม้แรงงานจะเป็นส่วนเล็กๆในอุตสาหกรรมนี้ แต่การขายเป็นเงิน USD แต่จ่ายค่าแรงเป็นเงินบาท ในขณะที่บาทแข็ง ทำให้เพิ่มต้นทุนตรงนี้ในระดับหนึ่ง พวก local expense อย่างค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า ก็ใช่ครับ
บางบริษัทเริ่มหยุดรับแรงงานแล้วนะครับ บางแห่งคนลาออกก็ออกไป คนเก่าๆก็ต้องทำให้ได้
ใครถือหุ้นกลุ่มนี้ไปประชุมก็อย่าลืมถามประเด็นนี้นะครับ
บางบริษัทเริ่มหยุดรับแรงงานแล้วนะครับ บางแห่งคนลาออกก็ออกไป คนเก่าๆก็ต้องทำให้ได้
ใครถือหุ้นกลุ่มนี้ไปประชุมก็อย่าลืมถามประเด็นนี้นะครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
update เรื่องวงการอิเลกฯ
โพสต์ที่ 2
งั้นที่เขาบอกว่าอิเล็กไม่กระทบเพราะ re-export content เยอะก็ไม่จริงสิครับ
ขอบคุณครับพี่ JC
ขอบคุณครับพี่ JC
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 279
- ผู้ติดตาม: 0
update เรื่องวงการอิเลกฯ
โพสต์ที่ 3
กำลังเล็งอยู่เลย ถ้าแบบนั้นก็ถามตรงๆจากท่านjaychou
เลยหละ กันโดยปกติ local expense จะเป็นต้นทุนโดย
ประมาณกี่เปอร์เซนต์ในอุตสหกรรมนี้ ที่รับจ้างผลิตอุปกรณ์ ในระดับเทคโนโลยีขนาดกลางๆนะครับ
เลยหละ กันโดยปกติ local expense จะเป็นต้นทุนโดย
ประมาณกี่เปอร์เซนต์ในอุตสหกรรมนี้ ที่รับจ้างผลิตอุปกรณ์ ในระดับเทคโนโลยีขนาดกลางๆนะครับ
Way of life is way of brain
-
- ผู้ติดตาม: 0
update เรื่องวงการอิเลกฯ
โพสต์ที่ 4
จริงของท่านแม่ทัพครับ re-export content นั้นเกือบ 100% ทีเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่า cost จะจบแค่นั้น ยังไงซะตั้งอยู่ในเมืองไทย และกิจกรรมการเพิ่มมูลค่านั้นเกิดในไทย local expense ก็มีอยู่แน่นอน
ถ้าไม่นับความผันผวนของค่าเงิน ต้นทุนต่างประเทศ ต่อต้นทุนในประเทศ ทั่วๆไปผมให้ตัวเลข 80:20 ครับ ต้นทุนต่างประเทศส่วนมากก็เป็นวัตถุดิบและค่าบำรุงรักษาที่ต้องจ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ อะไหล่ จากต่างประเทศ
ส่วนต้นทุนในประเทศก็คือแรงงาน สาธารณูปโภค ค่าเช่าที่ดิน ฯลฯ รวมทั้ง ดอกเบี้ยเงินกู้สกุลบาทด้วย
Inventory Turn จะเป็นปัจจัยอันหนึ่ง ถ้ามี turn มาก จนค่าเงินในเวลาที่ซื้อวัตถุดิบที่ซื้อกับราคาขายสินค้าไม่ห่างกันมาก ก็คงไม่โดนหนัก แต่ถ้าซื้อของมาดองเอาไว้ แถวๆ 38 บาท แล้วขายออกไปตอน 35 บาท (อย่าลืมนะครับ ตรงนี้เป็น 80% ของต้นทุน) ก็น่าดูชมล่ะครับ ของดีที่ผลิตแล้วขายได้เลย คงไม่มีปัญหาหรอก ปัญหาจะเกิดจากของตกสเปค หรือเกิดกรณีผลิตเกินขายไม่ออก หรือลูกค้า(แกล้ง)คืนของ
อีกเรื่องก็เรื่อง credit term พวกนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รับจ้างผลิตเสียเปรียบครับ
ผมคงบอกไมได้ว่าหุ้นไหนจะเป็นอย่างไร แต่โอกาสนี้แนะนำเอาประเด็นทั้งหลายนี้ ไปถามผู้บริหารในประชุมครับ
ถ้าไม่นับความผันผวนของค่าเงิน ต้นทุนต่างประเทศ ต่อต้นทุนในประเทศ ทั่วๆไปผมให้ตัวเลข 80:20 ครับ ต้นทุนต่างประเทศส่วนมากก็เป็นวัตถุดิบและค่าบำรุงรักษาที่ต้องจ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ อะไหล่ จากต่างประเทศ
ส่วนต้นทุนในประเทศก็คือแรงงาน สาธารณูปโภค ค่าเช่าที่ดิน ฯลฯ รวมทั้ง ดอกเบี้ยเงินกู้สกุลบาทด้วย
Inventory Turn จะเป็นปัจจัยอันหนึ่ง ถ้ามี turn มาก จนค่าเงินในเวลาที่ซื้อวัตถุดิบที่ซื้อกับราคาขายสินค้าไม่ห่างกันมาก ก็คงไม่โดนหนัก แต่ถ้าซื้อของมาดองเอาไว้ แถวๆ 38 บาท แล้วขายออกไปตอน 35 บาท (อย่าลืมนะครับ ตรงนี้เป็น 80% ของต้นทุน) ก็น่าดูชมล่ะครับ ของดีที่ผลิตแล้วขายได้เลย คงไม่มีปัญหาหรอก ปัญหาจะเกิดจากของตกสเปค หรือเกิดกรณีผลิตเกินขายไม่ออก หรือลูกค้า(แกล้ง)คืนของ
อีกเรื่องก็เรื่อง credit term พวกนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รับจ้างผลิตเสียเปรียบครับ
ผมคงบอกไมได้ว่าหุ้นไหนจะเป็นอย่างไร แต่โอกาสนี้แนะนำเอาประเด็นทั้งหลายนี้ ไปถามผู้บริหารในประชุมครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 279
- ผู้ติดตาม: 0
update เรื่องวงการอิเลกฯ
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณมากครับคุณ jaychou สงสัยเรื่องเงินบาทจะไม่เรื่องเล่นๆเสียแล้ว สงสัยอีกเรื่องหนึ่งครับเกี่ยวกับ
inventory trun เท่าที่ทราบ(ไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่า)
ส่วนใหนควรจะนับเป็น inventory เพราะที่ทราบมาว่า
สินค้าพวกนี้(OEM) ต้องมีการผลิตล่วงหน้าค่อนข้างจะนานพอสมควร แล้วถึงออกจำหน่าย อย่างนี้ สินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว จะถือว่าเป็น inventory หรือเปล่า
inventory trun เท่าที่ทราบ(ไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่า)
ส่วนใหนควรจะนับเป็น inventory เพราะที่ทราบมาว่า
สินค้าพวกนี้(OEM) ต้องมีการผลิตล่วงหน้าค่อนข้างจะนานพอสมควร แล้วถึงออกจำหน่าย อย่างนี้ สินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว จะถือว่าเป็น inventory หรือเปล่า
Way of life is way of brain
-
- ผู้ติดตาม: 0
update เรื่องวงการอิเลกฯ
โพสต์ที่ 6
inventory หรือสินค้าคงคลังก็นิยามเหมือนธุรกิจอื่นๆครับ วัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จ
- atsu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1220
- ผู้ติดตาม: 1
update เรื่องวงการอิเลกฯ
โพสต์ที่ 8
ผมก็กำลังสนอยู่ตัวนึงที่ขายเป็นเยนซื้อวัตถุดิบก็เยนnaris เขียน:แล้วเป็นไปได้ไหมครับ ว่าเขาซื้อขายเป็นเงินชาติอื่นเช่นยูโร หรือ เยน หรือมีการเฮดเอาไว้ครับคุณ เจย์โชว์
หลายๆอย่างกำลังชี้ว่าจะกลับมาทำ gpm ได้ดีใกล้เคียงเดิม
แต่ปัญหาคือบาทเทียบกับเยนมันก็ดันแข็งขึ้นด้วยสิครับ
จากปลายปีนี่ ก็10%ได้แล้ว(แทบไม่ต่างกับดอลเลย)
เลยชักเสียวๆ ง้างเข้าง้างออก ไม่ได้ซัดซะที :lol:
-
- ผู้ติดตาม: 0
update เรื่องวงการอิเลกฯ
โพสต์ที่ 11
ไม่ค่อยเห็นนะครับ แม้จะเป็นจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น หรือยุโรป ก็ยังใช้ USD ในธุรกิจนี้
- CEO
- Verified User
- โพสต์: 1243
- ผู้ติดตาม: 0
update เรื่องวงการอิเลกฯ
โพสต์ที่ 12
ฮิตาชิปิดโรงงานเม็กซิโก ลอยแพพนักงาน4,400คน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 23 มีนาคม 2550 12:36 น.
ฮิตาชิปรับโครงสร้างองค์กร ในส่วนงานผลิตฮาร์ดไดรฟ์ ประกาศข่าวร้ายปิดโรงงานในเม็กซิโกพร้อมลอยแพพนักงาน 4,400 ตำแหน่ง หวังประหยัดค่าใช้จ่ายองค์กรได้เพิ่มขึ้น 300 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะเวลา 5 ปี
การประกาศลอยแพพนักงานของฮิตาชิครั้งนี้ คิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพนักงานทั้งหมดในกลุ่มฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ ขณะที่พนักงานทั้งหมดของกลุ่มบริษัทมีทั้งสิ้น 356,000 คน โดยบริษัทมีแผนจะขยายการลงทุนส่วนงานฮาร์ดไดรฟ์ในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฟิลิปปินส์ จีน และประเทศไทยแทนอีกด้วย
เหตุที่ฮิตาชิต้องปรับโครงสร้างองค์กรดังกล่าวมาจากยอดขายเครื่องบันทึกดีวีดีที่ทำไม่ได้ตามเป้า อีกทั้งราคาของฮาร์ดดิสก์ก็มีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางบริษัทเชื่อว่าหลังจากปรับโครงสร้างแล้วจะสามารถลดขั้นตอนการผลิตลงได้มากขึ้น และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นด้วย
"การปรับโครงสร้างองค์กรครั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทให้ดีขึ้น และช่วยให้ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากบริษัทได้ใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้น และสามารถเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย" ฮิโรอากิ นากานิชิ ผู้บริหารของฮิตาชิกล่าวให้สัมภาษณ์
ทั้งนี้ ทางบริษัทได้ประมาณการว่าในปีนี้จะมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิประมาณ 55 พันล้านเยน (เมษายน 2006 - มีนาคม 2007)
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 23 มีนาคม 2550 12:36 น.
ฮิตาชิปรับโครงสร้างองค์กร ในส่วนงานผลิตฮาร์ดไดรฟ์ ประกาศข่าวร้ายปิดโรงงานในเม็กซิโกพร้อมลอยแพพนักงาน 4,400 ตำแหน่ง หวังประหยัดค่าใช้จ่ายองค์กรได้เพิ่มขึ้น 300 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะเวลา 5 ปี
การประกาศลอยแพพนักงานของฮิตาชิครั้งนี้ คิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพนักงานทั้งหมดในกลุ่มฮิตาชิ โกลบอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ ขณะที่พนักงานทั้งหมดของกลุ่มบริษัทมีทั้งสิ้น 356,000 คน โดยบริษัทมีแผนจะขยายการลงทุนส่วนงานฮาร์ดไดรฟ์ในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฟิลิปปินส์ จีน และประเทศไทยแทนอีกด้วย
เหตุที่ฮิตาชิต้องปรับโครงสร้างองค์กรดังกล่าวมาจากยอดขายเครื่องบันทึกดีวีดีที่ทำไม่ได้ตามเป้า อีกทั้งราคาของฮาร์ดดิสก์ก็มีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางบริษัทเชื่อว่าหลังจากปรับโครงสร้างแล้วจะสามารถลดขั้นตอนการผลิตลงได้มากขึ้น และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นด้วย
"การปรับโครงสร้างองค์กรครั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทให้ดีขึ้น และช่วยให้ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากบริษัทได้ใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้น และสามารถเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย" ฮิโรอากิ นากานิชิ ผู้บริหารของฮิตาชิกล่าวให้สัมภาษณ์
ทั้งนี้ ทางบริษัทได้ประมาณการว่าในปีนี้จะมีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิประมาณ 55 พันล้านเยน (เมษายน 2006 - มีนาคม 2007)