ถามเล่นๆครับ MAJOR จะโตและยิ่งใหญ่แบบ CPN ได้หรือไม่ครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 31, 2007 11:45 pm
เท่าที่ผมอ่าน 56-1 ดู ผมว่าหุ้นตัวนี้ ถ้าไม่ติดที่ PE และ ESOP ผมว่าหุ้นตัวนี้น่าลงทุนนะครับ ไม่นุ้ว่าพี่ๆมองอย่างไรบ้างนะครับ ยังไงลองพิจารณาประเด้นที่ผมมองนะครับ
1.) การชมภาพยนตร์ของคนไทยอยุ่ในระดับที่ต่ำมากๆ เพียง 2 เรื่อง/คน/ปี และราคาค่าเข้าชมภาพยนตร์ของประเทศไทยอยุ่ที่รัดับต่ำกว่าเพื่อนบ้านมากครับ (น่าจะเพราะอัตราค่าครองชีพของเราต่ำกว่าเพื่อนบ้านนะครับ)
2.) โรงภาพยนตร์แบบ Multiplex มีเพียง MAJOR, EGV และ SF Cinema ดังนั้นคู่แข่งที่ Segment เดียวกันก็มีแค่รายเดียว ถ้าจะมองการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ ผมว่าไม่ง่ายครับ MAJOR มีแต่จะไปกลืนโรงหนัง Local ซึ่งจะทำให้ Market Share สุงขึ้นไปเรื่อยๆครับ
โดย MAJOR มีสาขาในประเทศไทยอยุ่ จังหวัดครับ ได้แก่
- กรุงเทพ
- เชียงใหม่
- นครสวรรค์
- อุดรธานี
- นนทบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- อุบลราชธานี
ส่วน EGV มี
- กรุงเทพ
- ชลบุรี
- โคราช
ถ้ามองการขยายสาขาของทางกลุ่ม MAJOR ยังสามารถขยายสาขาได้อีกเยอะครับ อีกหลายจังหวัดที่ยังคงต้องการโรงภาพยนตร์แบบ Multiplex โดยในปี 49 ทาง MAJOR ได้มีการขยายสาขาดังนี้ครับ
สาขาสยามพารากอน ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 15 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 38 เลน
สาขาหัวหิน ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 4 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 8 เลน
สาขาแจ้งวัฒนะ ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 5 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 16 เลน
สาขาพิษณุโลก ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 4 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 8 เลน
สาขาเชียงใหม่ ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 4 โรง (เพิ่มโรงภาพยนตร์ในสาขาเดิม)
สาขาสมุย ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 4 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 12 เลน
สาขารัชดาภิเษก ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 14 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 18 เลน
3.) MAJOR จะว่าเป็นธุรกิจที่ลงทุนเพียงครั้งเดียวแล้วกินไปตลอดก็ได้ เนื่องจากการลงทุนมีแค่เพียงการตบแต่ง และ จัดหาเครื่องฉายภาพยนตร์เท่านั้น ส่วนรายรับมาจากการขายตั๋วหนัง, คาราโอเกะ, โบว์ลิ่ง, ให้เช่าพื้นที่ และ ขายโฆษณาในโรงหนัง
- การนำหนังมาฉาย MAJOR จ่ายให้กับทางผู้นำเข้าหนังโดยการจ่ายเป็นส่วนแบ่งค่าตั๋วในอัตราเฉลี่ย 50 เปอร์เซ็นต์ของยอดจำหน่ายตั๋วครับ ส่วนเรื่องการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เป็นหน้าที่ของบริษัทผุ้นำเข้าครับ MAJOR ไม่ได้มีส่วนในตรงนี้
- คาราโอเกะ ลงทุนหนังๆครั้งเดียว ที่เหลือคือการซื้อลิขสิทธิ์เพลงมาเปิดเพื่อให้บริการ
- โบว์ลิ่ง ลงทุนครั้งเดียวครับ
- ธุรกิจให้เช่าพื้นที่ ผมแบ่ง MAJOR ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. MAJOR ในห้างสรรพสิค้า ซึ่งจะมีพื้นที่ให้เช่าไม่เยอะ เช่น สาขาเซ็นทรัลเวิร์ล และ สาขาเซ็นทรัลพระราม 3 เป็นต้น โดยมากร้านค้าที่จะให้เช่าในส่วนของ MAJOR ที่อยู่ในห้างจะเป็นธุรกิจที่ทำให้ MAJOR มีความสมบูรณ์ในด้าน Multiplex มากขึ้น เช่น ร้านอาหารต่างๆ ได้แก่ MK Suki, Mcdonalds, Baskin Robbin, Black Canyon และ KFC เป็นต้น ดังนั้น รายได้ตรงนี้ค่อนข้างจะสม่ำเสมอแน่นอนเพราะมีการทำสัญญาระยะยาว และ เครดิตของบริษัทกลุ่มนี้จะจัดว่าค่อนข้างดี
2. MAJOR ที่เป็นเจ้าของอาคารเอง เช่น สาขาปิ่นเกล้า และ สาขาสุขุมวิท(เอกมัย)
ก็คงเหมือนกับข้อหนึ่ง แต่ จะมีร้านค้าพวก Retail Shop มากกว่า เครดิตลูกค้ากลุ่มนี้ก็คงจะสู้กลุ่มร้านอาหารใหญ่ๆไม่ได้ครับ
1.) การชมภาพยนตร์ของคนไทยอยุ่ในระดับที่ต่ำมากๆ เพียง 2 เรื่อง/คน/ปี และราคาค่าเข้าชมภาพยนตร์ของประเทศไทยอยุ่ที่รัดับต่ำกว่าเพื่อนบ้านมากครับ (น่าจะเพราะอัตราค่าครองชีพของเราต่ำกว่าเพื่อนบ้านนะครับ)
2.) โรงภาพยนตร์แบบ Multiplex มีเพียง MAJOR, EGV และ SF Cinema ดังนั้นคู่แข่งที่ Segment เดียวกันก็มีแค่รายเดียว ถ้าจะมองการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ ผมว่าไม่ง่ายครับ MAJOR มีแต่จะไปกลืนโรงหนัง Local ซึ่งจะทำให้ Market Share สุงขึ้นไปเรื่อยๆครับ
โดย MAJOR มีสาขาในประเทศไทยอยุ่ จังหวัดครับ ได้แก่
- กรุงเทพ
- เชียงใหม่
- นครสวรรค์
- อุดรธานี
- นนทบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- อุบลราชธานี
ส่วน EGV มี
- กรุงเทพ
- ชลบุรี
- โคราช
ถ้ามองการขยายสาขาของทางกลุ่ม MAJOR ยังสามารถขยายสาขาได้อีกเยอะครับ อีกหลายจังหวัดที่ยังคงต้องการโรงภาพยนตร์แบบ Multiplex โดยในปี 49 ทาง MAJOR ได้มีการขยายสาขาดังนี้ครับ
สาขาสยามพารากอน ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 15 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 38 เลน
สาขาหัวหิน ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 4 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 8 เลน
สาขาแจ้งวัฒนะ ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 5 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 16 เลน
สาขาพิษณุโลก ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 4 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 8 เลน
สาขาเชียงใหม่ ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 4 โรง (เพิ่มโรงภาพยนตร์ในสาขาเดิม)
สาขาสมุย ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 4 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 12 เลน
สาขารัชดาภิเษก ลงทุนโรงภาพยนตร์ จำนวน 14 โรง และโบว์ลิ่ง จำนวน 18 เลน
3.) MAJOR จะว่าเป็นธุรกิจที่ลงทุนเพียงครั้งเดียวแล้วกินไปตลอดก็ได้ เนื่องจากการลงทุนมีแค่เพียงการตบแต่ง และ จัดหาเครื่องฉายภาพยนตร์เท่านั้น ส่วนรายรับมาจากการขายตั๋วหนัง, คาราโอเกะ, โบว์ลิ่ง, ให้เช่าพื้นที่ และ ขายโฆษณาในโรงหนัง
- การนำหนังมาฉาย MAJOR จ่ายให้กับทางผู้นำเข้าหนังโดยการจ่ายเป็นส่วนแบ่งค่าตั๋วในอัตราเฉลี่ย 50 เปอร์เซ็นต์ของยอดจำหน่ายตั๋วครับ ส่วนเรื่องการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เป็นหน้าที่ของบริษัทผุ้นำเข้าครับ MAJOR ไม่ได้มีส่วนในตรงนี้
- คาราโอเกะ ลงทุนหนังๆครั้งเดียว ที่เหลือคือการซื้อลิขสิทธิ์เพลงมาเปิดเพื่อให้บริการ
- โบว์ลิ่ง ลงทุนครั้งเดียวครับ
- ธุรกิจให้เช่าพื้นที่ ผมแบ่ง MAJOR ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. MAJOR ในห้างสรรพสิค้า ซึ่งจะมีพื้นที่ให้เช่าไม่เยอะ เช่น สาขาเซ็นทรัลเวิร์ล และ สาขาเซ็นทรัลพระราม 3 เป็นต้น โดยมากร้านค้าที่จะให้เช่าในส่วนของ MAJOR ที่อยู่ในห้างจะเป็นธุรกิจที่ทำให้ MAJOR มีความสมบูรณ์ในด้าน Multiplex มากขึ้น เช่น ร้านอาหารต่างๆ ได้แก่ MK Suki, Mcdonalds, Baskin Robbin, Black Canyon และ KFC เป็นต้น ดังนั้น รายได้ตรงนี้ค่อนข้างจะสม่ำเสมอแน่นอนเพราะมีการทำสัญญาระยะยาว และ เครดิตของบริษัทกลุ่มนี้จะจัดว่าค่อนข้างดี
2. MAJOR ที่เป็นเจ้าของอาคารเอง เช่น สาขาปิ่นเกล้า และ สาขาสุขุมวิท(เอกมัย)
ก็คงเหมือนกับข้อหนึ่ง แต่ จะมีร้านค้าพวก Retail Shop มากกว่า เครดิตลูกค้ากลุ่มนี้ก็คงจะสู้กลุ่มร้านอาหารใหญ่ๆไม่ได้ครับ