หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เศรษฐศาสตร์มหภาคมักสร้างความประหลาดใจให้เราอยู่เสมอ

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 07, 2007 6:35 pm
โดย สุมาอี้
ปีที่แล้วนักเศรษฐศาสตร์บอกว่า เพราะน้ำมันแพงขึ้น 5 บาททำให้เงินในกระเป๋าของผู้บริโภคหายไปหลายหมื่นล้านบาท ก็เลยทำให้การบริโภคลดลง

พอมาปีนี้ นักเศรษฐศาสตร์ก็บอกอีกว่าการบริโภคจะลดลงเพราะเหตุระเบิดในกทม...

นักเศรษฐศาสตร์ลืมไปเหรอว่า น้ำมันปีนี้ลดลง 5 บาท เงินในกระเป๋าจึงกลับมาหลายหมื่นล้านในปีนี้ ทำไมเวลาเงินในกระเป๋าน้อยลงทำให้การบริโภคลดลงได้ แต่เวลาเงินในกระเป๋ากลับมากลับไม่มีผลอะไรเลยซะงั้น

นักเศรษฐศาสตร์มักมองแค่เพียงปัจจัยไม่กี่ปัจจัยที่กำลังเป็นข่าวอยู่เท่านั้น ไม่ได้ factor in ปัจจัยทุกปัจจัยอย่างรอบด้านโดยแท้จริง ตัวเลขทางเศรษฐกิจมหภาคจริงๆที่ประกาศออกมาจึงมักสร้างความประหลาดใจให้กับนักเศรษฐศาสตร์มหภาคอยู่เสมอ

GDP forecast เป็นเรื่องที่ยากที่สุด ผมสังเกตเห็นว่าทุกปี ตัวเลขคาดการณ์จีดีพีตอนต้นปี มักแตกต่างจากตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงตอนปลายปีอย่างมาก ปีนี้ก็คงจะเช่นเดียวกัน
Dr.Laurance J.Peter เขียน:An economist is an expert who will know tomorrow why the things he predicted yesterday didn't happen today.
8)

เศรษฐศาสตร์มหภาคมักสร้างความประหลาดใจให้เราอยู่เสมอ

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 07, 2007 10:35 pm
โดย MO101
มันทายยากมั้งครับ
บอลเล่นกัน 20 กว่าคน ยังทายยากเลยว่าใครชนะ

ถ้าทายง่ายๆ ว่า gdp มาขึ้น หรือลดลงแค่นี่ทายง่ายแต่ กูรู้ คงไม่ได้ชื่อเสียง
มันไม่เทพ ว่างั้น เลยต้องทายกันเวอร์ๆ เช่น 4.0 อีกคนเกทับ 3.5 แล้ว
ก็ 3.0 เกทับกันมาเรื่อยๆ

เศรษฐศาสตร์มหภาคมักสร้างความประหลาดใจให้เราอยู่เสมอ

โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 07, 2007 11:25 pm
โดย Ryuga
เห็นด้วยครับ นักเศรษฐศาสตร์กับหมอดูจริงๆ แล้วไม่ค่อยต่างกันหรอก :mrgreen:

เศรษฐศาสตร์มหภาคมักสร้างความประหลาดใจให้เราอยู่เสมอ

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 10, 2007 9:28 am
โดย ม้าเฉียว
บ้างก็ว่า มันพลวัติ
บ้างก็ว่า มันปฎิกิริยาสะท้อนกลับ
บ้างก็ว่า มันคาดคะเน

ไม่ว่าจะกี่บ้าง

แบบจำลองจึงไม่เคยสมบูรณ์

เลยเชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง

แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค อาจจะต้องมีตัวแปร Dummy ตัวหนึ่ง เชื่อ กับ ไม่เชื่อ

เศรษฐศาสตร์มหภาคมักสร้างความประหลาดใจให้เราอยู่เสมอ

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 17, 2007 7:04 pm
โดย BloodyMary
ผมว่าการทาย GDP เป็นเรื่องเหลวไหลสำหรับชาวบ้าน แต่เรื่องเงินเฟ้อนี่สิ กระทบเต็มๆ สังเกตกันบ้างหรือเปล่าครับ ว่าเดือนเมษานี้เงินเฟ้อ(นับจากตระกร้าของท่านเอง) พุ่งไปเท่าไหร่แล้ว

เศรษฐศาสตร์มหภาคมักสร้างความประหลาดใจให้เราอยู่เสมอ

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 17, 2007 7:12 pm
โดย สุมาอี้
ถ้าเงินเฟ้อเม.ย.พุ่งต่อ ดอกเบี้ยก็ลงไม่ได้อีกแล้วสิ  :!:

เศรษฐศาสตร์มหภาคมักสร้างความประหลาดใจให้เราอยู่เสมอ

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 17, 2007 10:48 pm
โดย Ryuga
นึกถึงตอนเรียน ม.ต้น อาจารย์เอาคำถามมาถามว่าชอบดอกไม้ชนิดไหนมากที่สุด คือถามเพื่อจะดูลักษณะนิสัยคนตอบ ผมตอบแหกคอกเค้าหมดเลยว่าชอบดอบเบี้ย :lol:

เศรษฐศาสตร์มหภาคมักสร้างความประหลาดใจให้เราอยู่เสมอ

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 17, 2007 10:53 pm
โดย woody
Ryuga เขียน:นึกถึงตอนเรียน ม.ต้น อาจารย์เอาคำถามมาถามว่าชอบดอกไม้ชนิดไหนมากที่สุด คือถามเพื่อจะดูลักษณะนิสัยคนตอบ ผมตอบแหกคอกเค้าหมดเลยว่าชอบดอบเบี้ย :lol:
แสดงว่าด้าน Assets มากกว่าด้าน Liabilities นะครับนี่  :D

เศรษฐศาสตร์มหภาคมักสร้างความประหลาดใจให้เราอยู่เสมอ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 04, 2007 9:59 pm
โดย econometrica
เวลาน้ำมันขึ้น5บาทแล้วเงินหายไปหมื่นล้านเนี้ยะ มันไปกระทบความเชื่อมั่นและการใช้จ่าย ทางทฤษฏีของ ศศ เค้าเรียกว่า price is not flexible กล่าวคือ ราคามันมักจะขึ้นง่ายแต่ลงยากครับ ดังนั้นถึงแม้น้ำมันจะลด แต่ราคาสินค้าต่างๆไม่ได้ลดตาม มันก็ไม่ได้เงินคืนไง

เศรษฐศาสตร์มหภาคมักสร้างความประหลาดใจให้เราอยู่เสมอ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 6:41 am
โดย Sir~*[V]
นักเศรษฐศาสตร์มักมองแค่เพียงปัจจัยไม่กี่ปัจจัยที่กำลังเป็นข่าวอยู่เท่านั้น ไม่ได้ factor in ปัจจัยทุกปัจจัยอย่างรอบด้านโดยแท้จริง ตัวเลขทางเศรษฐกิจมหภาคจริงๆที่ประกาศออกมาจึงมักสร้างความประหลาดใจให้กับนักเศรษฐศาสตร์มหภาคอยู่เสมอ
ถ้ามันมองอะไรได้ทุก ๆ ปัจจัยจริง ก็วิเคราะห์ได้หมดแหละคับ (มัน factor in ทุกปัจจัย ได้ซะที่ไหนกันเล่า)