หน้า 1 จากทั้งหมด 1

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2007 10:55 pm
โดย Ryuga
ไม่ได้ถือหุ้นเขาเหมือนพี่ WEB หรอกครับ แต่เห็นความข้องใจเกี่ยวกับประเด็นการลงทุนในหุ้นปันผล/ไม่ปันผล โดยมี Berkshire เป็นวัตถุดิบในการสนทนาด้วย ในระหว่างทีรอพี่ WEB มาตอบ/ให้ความเห็น ผมก็มาช่วยขยายความให้กระจ่างกันมากขึ้นสำหรับการลงทุนระยะยาว 10 ปีที่ผ่านมา

อย่างที่คุณปู่ Buffett ชอบพูดว่าเวลาลงทุนจะมองล่วงหน้าไป 10 ปี ด้วยกำหนดขอบเขตนี้ผมจะยกตัวอย่าง 10 ปี ย้อนหลังของหุ้น Berkshire หรือ BRKA มาเป็นกรณีศึกษา

ขอให้เราลืมไปเสียว่าราคาหุ้น Berkshire ได้พุ่งพรวดพราดอย่างไรตั้งแต่ปี 1988 หากเรามาซื้อในปี 1997 ก็ไม่เสียหายอะไรหรอก ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ ปลายปี 96 ต้นปี 97 เราจึงเก็บ BRKA มาได้ที่ราคา 33,000 เหรียญ/หุ้น ตั้งใจจะลงทุนยาวเต็มที่

10 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก เงินปันผลที่เราไม่เคยได้เลยแต่ทบลงไปในกิจการอยู่ทุกปีๆ นั้นแสดงผลกลับมา แต่เหตุการณ์เปี๊ยนไป๋เพราะเราเกิดอยากจะใช้เงิน ไหนๆ ก็ลงทุนมา 10 ปีแล้ว ขอเปลี่ยนเอาเงินไปทำอะไรอย่างอื่นบ้าง แม้ปลายปี 2006 ราคาหุ้นจะไปทำ high ที่ 114,500 เหรียญ แต่ด้วยความลงทุนยาวจนชิน จะไปขายแข่งคนอื่นทำราคาคงยากจึงขายได้ที่ 110,000 เหรียญ ถ้วนๆ (สูงกว่าราคาปัจจุบันเล็กน้อย)

ด้วยราคานี้อัตราผลตอบแทนจะเท่ากับ 233.33% เอา 10 หารได้ 23.33% ซึ่งไม่ถูกหรอก เราควรจะคิดเป็นอัตราทบต้นดีกว่า
เมื่อคิดออกมาปรากฏว่า ได้อัตราผลตอบแทนทบต้นต่อปีที่ 12.79% (เองหรือ) ถ้าเราขาย BRKA ทิ้งหมดตั้งแต่ปี 2000 แถวๆ 60,000 เหรียญ++ แล้วเอามาซื้อหุ้นถูกๆ บ้านเราเช่น แบงก์บัวหลวง 25 บาท ปูนใหญ่ 30 บาท จะดีกว่าหรือไม่  :ep:

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2007 10:57 pm
โดย Ryuga
เพื่อความไม่ลำเอียงขอยกตัวอย่างหุ้นปันผลขนาดใหญ่ที่ได้ชื่อว่ามีมูลค่าตลาดสูงสุดของโลกตามที่จัดอันดับกันเร็วๆ นี้ขึ้นมาบ้าง (ล่าสุด 447 พันล้านเหรียญ)

Exxon ได้ควบรวมกิจการกับ Mobil ในปี 1999 ซึ่งเป็นปีที่ราคาพลังงานตกต่ำเป็นประวัติการณ์ เรื่องนี้ถือว่าสะเทือนวงการน้ำมันแต่เราซื้อหุ้นบริษัทตั้งแต่ต้นปี 1997 แล้วนี่ ช่วงนั้นหุ้นในตลาดนิวยอร์คกำลังบูมเราก็ไม่สนใจหรอกว่าราคาหุ้น Exxon จะขึ้นมาเท่าไหร่แล้ว (ตอนนั้นยังชื่อ Exxon corporation) เอาเป็นว่าตั้งซื้อได้ที่หุ้นละ 100 เหรียญก็แล้วกัน ผ่านมาไม่กี่เดือนบริษัทก็แตกหุ้นจาก 1 เป็น 2 แต่เราตั้งใจจะลงทุนยาวอยู่แล้ว แตกหุ้นเป็นเรื่องจิ๊บๆ

เมื่อ ExxonMobil ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการแลก 1.32015 หุ้นของ Exxon กับ 1 หุ้นของ Mobil แล้ว แม้จะมี dilution อยู่พอสมควรแต่ก็ช่วยให้บริษัทดีขึ้นในระยะยาว (มั้ง เพราะเราจะลงทุนยาวอ่ะ  :roll: ) แม้ปีต่อมาราคาหุ้นจะขึ้นไปทำ new high ที่ 95 เหรียญ เราก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น (ต้นทุนเดิมหลังแตกหุ้นคือ 50 เหรียญ) ยังคงเชื่อมั่นกับการลงทุนระยะยาวไม่ยอมขายทิ้ง

เมื่อพฤษภาฯ ปี 2001 ถัดมาอีกเพียงปีเดียวบริษัทก็ประกาศแตกหุ้นอีกรอบจาก 1 เป็น 2 (ต้นทุนเดิมเหลือ 25 เหรียญ แล้ว) แต่ภาวะตลาดหุ้นกลับซบเซา ราคา XOM เลยร่วงลงทีละนิดทีละหน่อย และแล้วใครจะคาด ปรากฏว่าคาวบอยบุช (จะเรียกชัยฎอนบุช ตามคุณนิติภูมิก็ไม่ว่ากัน) ตัดสินใจก่อ oil war แปลงร่างเป็นหมาป่าขย้ำลูกแกะอิรัก ราคาน้ำมันตั้งแต่นั้นวิ่งกระฉูดไม่หยุด ผ่านไป 4 ปี XOM ก็ขึ้นไปทำ high ใหม่

หลังจากนั้นก็ new high ไม่หยุด ลากเอา DJI วิ่งตาม แต่พอจะครบ 10 ปี ก็ให้เกิดครั่นเนื้อครั่นตัวอยากขายเอากำไรขึ้นมาใจจะขาด ไม่ได้ขายที่ 79 หรอกครับ ได้แค่ 75 เหรียญก็พอใจแล้ว อัตราผลตอบแทนรวม 200% หาร 10 ได้ 20.0%
เมื่อคิดเป็นอัตราทบต้นต่อปีปรากฏว่าได้ท่ากับ 11.61% เท่านั้น แต่ช้าก่อน จะด่วนสรุปว่า XOM แพ้ BRKA ได้ยังไงในเมื่อเงินปันผล 10 ปีเต็มของ XOM ยังไม่ได้เอามาคิดเลย ตลอด 40 ไตรมาส XOM จ่ายปันผลตลอดและยังเพิ่มขึ้นทุกปีอีกด้วย สะระตะรวมแล้วได้เงินปันผลต่อหุ้น 9.646 เหรียญ รวมเท่ากับ 84.646 เหรียญ คิดอัตราทบต้นต่อปีใหม่ได้เท่ากับ 12.97% ชนะ BRKA ไปแบบฉิวเฉียดเส้นยาแดงเดียว

ทั้งนี้เรายังไม่ได้ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ ภาษีเงินปันผล หรืออานุภาพแห่งการลงทุนโดยนำเงินปันผลที่ได้รับตลอด 10 ปีจาก XOM มาคำนวณ  8)

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 01, 2007 11:00 pm
โดย Ryuga
ขอย้อนไปต้นปี 1997 กันอีกรอบ ก่อนหน้านั้นหุ้น KO ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นเดียวกับผลประกอบการแต่นั่นเป็นการเพิ่มขึ้นมากเกินไปหรือไม่ คงไม่หรอกมั้งก็คุณปู่ท่านบอกว่าหุ้น KO นี้ดี คงไม่ถูก TKO กลางทางหรอก
ผมคิดว่าหุ้นที่ดีไม่ได้หมายความว่าจะซื้อเมื่อไรก็ได้ เพราะบัฟเฟตเองก็บอกว่า เขาต้องรอคอยถึง 16 ปีถึงจะได้ซื้อ KO ครับ

ตั้งแต่บัฟเฟตซื้อ KO จนถึงตอนที่ KO peak ตอนตลาดฟองสบู่นั้นราคาหุ้นเพิ่มขึ้นถึง 16 เท่าตัวครับ (ยังไม่นับเงินปันผลนะครับ) แต่หลังจากนั้นเมื่อฟองสบู่แตก ราคาหุ้น KO ก็ตกลงมาจนบัฟเฟตเหลือกำไรเพียง 8 เท่าตัวเท่านั้น ผมจำได้ว่าบัฟเฟตเขียนไว้ใน annual report ว่ามีคนถามเขาว่า ทำไมถึงไม่ขาย KO ตอนที่มันขึ้นไป 16 เท่า เขาตอบว่า "ก็นั่นนะสิ" เขาบอกว่าเขายอมรับว่านี่เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดของเขาที่ไม่ได้ขายมันออกไปในตอนนั้น แปลกมั้ยครับ เหอๆ

ถ้าลองไปดูการเติบโตของกำไรของบริษัทที่อายุเป็นร้อยปี จะเห็นได้ว่าทุกบริษัทจะมีช่วงเวลาหนึ่งที่อาจจะยาวนานเป็นสิบปีที่กำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีบางช่วงเวลาที่กำไรไม่ไปไหนเลยเป็นสิบๆ ปี เราต้องเข้าให้ถูกเวลาด้วยเหมือนกันครับ แต่อันนี้ไม่ใช่หมายความว่าให้ timing market นะครับ แต่ผมคิดว่าเราควรจะมอง environment ด้วย ว่าอีกห้าหรือสิบปีข้างหน้า environment จะ favor บริษัทนั้นหรือไม่ ไม่ใช่มองแค่ตัวบริษัทอย่างเดียวซึ่งเป็นการมองเฉพาะ internal factors น่ะครับ

Re: case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2007 3:27 pm
โดย สุมาอี้
[quote="Ryuga"]
ด้วยราคานี้อัตราผลตอบแทนจะเท่ากับ 233.33% เอา 10 หารได้ 23.33% ซึ่งไม่ถูกหรอก เราควรจะคิดเป็นอัตราทบต้นดีกว่า
เมื่อคิดออกมาปรากฏว่า ได้อัตราผลตอบแทนทบต้นต่อปีที่ 12.79% (เองหรือ) ถ้าเราขาย BRKA ทิ้งหมดตั้งแต่ปี 2000 แถวๆ 60,000 เหรียญ++ แล้วเอามาซื้อหุ้นถูกๆ บ้านเราเช่น แบงก์บัวหลวง 25 บาท ปูนใหญ่ 30 บาท จะดีกว่าหรือไม่

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2007 5:53 pm
โดย Ryuga
นับจากสิ้นปี 1996 มาจนสิ้นปี 2006 รวมระยะเวลา 10 ปีเต็มๆ นั้น ดัชนีต่างๆ ได้แก่

S&P500    เพิ่มจาก     740.74  ไปเป็น   1,418.30  คิดเป็นอัตราทบต้นต่อปีได้ 6.71%
DJI           เพิ่มจาก   6,448.27  ไปเป็น 12,463.15  คิดเป็นอัตราทบต้นต่อปีได้ 6.81%
Nasdaq     เพิ่มจาก  1,291.03 ไปเป็น    2,415.29  คิดเป็นอัตราทบต้นต่อปีได้ 6.46%

จะเห็นได้ว่า BRKA และ XOM ชนะดัชนีทั้งสามอย่างงดงาม ในขณะที่ KO แพ้ยับเยิน 8)

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 02, 2007 7:05 pm
โดย Ryuga
เย้ กระทู้ถูกลบเป็นครั้งแรกแย้ว  :mrgreen:  :mrgreen:  :mrgreen:  :mrgreen:  :mrgreen:  :mrgreen:  :mrgreen:

เช่นเดียวกับที่เคยกล่าวไว้หลายกรรมหลายวาระว่าผมนิยมชมชอบการวิจารณ์เสียๆ หายๆ แม้จะอยู่บนพื้นฐานความจริงก็ตาม หากจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจหรือพาดพิงคุณปู่แรงเกินไปก็ลบเถอะครับ บริษัทบ้านเราจะสับอะไรไปก็เกรงใจผู้ถือหุ้น เลยไปหยิบเอาใน NYSE มาเป็นเหยื่อแทน อิ อิ  :mrgreen:

การลงทุนย่อมถืออนาคตเป็นหลัก ในอดีตผลประกอบการจะเพิ่มขึ้นชนาดไหนหรือราคาหุ้นขึ้นแรงแค่ไหนก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สำคัญแต่ว่าอนาคตจะโตเพิ่มไปจากปัจจุบันอีกเท่าไหร่ ในอดีตเมื่อ Berkshire ยังเล็กการโตมากๆ ย่อมไม่เป็นปัญหา แต่หากยึดมูลค่าตลาดที่ 168 พันล้านเหรียญ อัตราการเติบโต 23% ต่อปี บริษัทจะมีมูลค่าตลาดแซงหน้า XOM กิจการที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดของโลกขณะนี้ภายใน 4 ปี กับอีก 3 ไตรมาสเท่านั้น ถัดจากนั้น Berkshire คงจะกลืนโลก  :shock:

ในบริษัทขนาดใหญ่แม้จะมีบางช่วงเวลาที่กำไรไม่ไปไหนเลยเป็นสิบๆ ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอีกสิบๆ ปีต่อมามันจะไปไหนได้ไกล ในช่วงนั้น(1995-1997)การทุ่มซื้อหุ้นคืนอย่างหนักหน่วงของ KO ผมก็ไม่ทราบเหตุผลแท้จริงว่าเหตุใดผู้บริหารจึงตัดสินใจเผากระแสเงินสดของผู้ถือทิ้งได้น่าสะพรึงกลัวถึงขนาดนั้นทั้งๆ ที่ราคาตลาดก็สูงมากๆ อยู่แล้ว เอาไว้อีก 10 ปีต่อไปค่อยมาดูใหม่ว่า KO จะลบล้างตัวเลขการเติบโตของยอดขายที่ 2.06% ต่อปี และกำไร 1.74% ต่อปีทบต้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมานี้ได้หรือไม่ 8)

เดี๋ยวใครมาอ่านทีหลังจะงงขอโพสซ้ำอีกครั้ง  :mrgreen:

จากสิ้นปี 1996 ถึงสิ้นปี 2006
KO    เปลี่ยนแปลงจาก     52.63 ไปเป็น   48.25 คิดเป็นอัตราทบต้นต่อปีได้ -0.87%
หากรวมเงินปันผลที่ 8.24 เหรียญ/หุ้น ตลอด 40 ไตรมาส จาก     52.63 ไปเป็น   56.49 คิดเป็นอัตราทบต้นต่อปีได้ 0.71%

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 04, 2007 3:36 am
โดย tanate@man
KO คือ coca cola ใช่ใหม

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 04, 2007 11:56 pm
โดย Ryuga
แม่นแล้วครับ KO ก็คือ CocaCola ระหว่างนี้ผมก็รออยู่ว่าแฟนพันธุ์แท้ Berkshire จะมาโต้ตอบกระบวนท่าที่ผมซัดใส่ Berkshire อย่างไร การประเมินค่าแบบ value นั้นราคาเป็นเรื่องรองแต่เพราะเห็นได้ง่ายเป็นรูปธรรมจึงกล่าวไว้ (หมายความว่ากระบวนท่าที่ผมใช้ไปมีช่องว่างรอยโหว่ให้โต้ตอบกลับมา)  8)

ที่ผมสับ KO นั้น ประเด็นหลักไม่ใช่ที่ราคาหุ้นตกต่ำ หรือผลประกอบการไม่ไปไหน แต่เป็นประเด็นที่คุณปู่ Buffett มอง KO ดีเกินไปต่างหาก ตอนฟองสบู่หุ้นส่วนใหญ่ก็ขึ้นแรงๆ ทั้งนั้น ก่อนหน้าฟองสบู่จะแตก 6 ปี Microsoft ยังขึ้นตั้ง 35 เท่า(ถ้านับตั้งแต่เวลาเดียวกันกับที่ Buffett ซื้อ KO จะมากกว่านี้อีก) ตามที่ท่านแม่ทัพให้เหตุผลมาก็ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ของ KO ดีขึ้น ตรงกันข้ามกลับเป็นการช่วยสนับสนุนคำกล่าวของผมให้แน่นหนามากขึ้นไปอีก เพราะหากเป็นอย่างที่ท่านแม่ทัพกล่าวจริงว่ากำไรของบริษัทขนาดใหญ่สามารถนิ่งไปได้เป็นสิบปี ย่อมแสดงให้เห็นชัดเจนว่า KO ไม่ได้แตกต่างจากบริษัทขนาดใหญ่ธรรมดาๆ ที่มีอยู่ดาดดื่นเต็มตลาด NYSE แต่อย่างใด

สำหรับบริษัทใหญ่ๆ ใน DJIA ดูอย่าง McDonald's ก็ได้ แม้บริษัทจะผ่านพ้นจากการโตพรวดๆ เป็นจรวดไปแล้ว แต่สิบปีย้อนหลังมานี้ยังสร้างการเติบโตทบต้นได้ที่ 7% Altria แม้ 10 ปีที่ผ่านมายอดขายโตทบต้นได้แค่ 3.6% แต่กำไรกลับโตทบต้นได้ที่ 6.1% เพราะ margin ดีขึ้น ทั้งราคาและผลประกอบการยังคงเดินหน้าทำลายถ้อยคำที่กล่าวว่า จะสูงขึ้นไปอีกได้อย่างไร ได้อย่างต่อเนื่อง

10 ปีที่ผ่านมา  KO ใส่เกียร์ว่างเขาเกียร์ถอย หากใครมองแค่ 5 ปีมานี้อาจมองว่ากำไรโตดีแต่แท้จริงแล้วแค่กลับมาใส่เกียร์ 1 เราจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับผลประกอบการปี 1997 ที่กำไร 4,129 ล้านเหรียญได้อย่างไร ผมเองยังมองในแง่ดีว่าจากนี้ KO จะเข้าเกียร์สอง แต่คงไม่สามารถทำให้สถิติเฉลี่ย 20 ปีนี้ (1996-2016) เป็นตัวเลขที่น่าตื่นเต้นแต่ประการใด

ถ้าอยากสับจริงๆ ผมว่า Disney ตอนหลังจากซื้อ Capital Cities ABC มายังน่าสับกว่าเป็นไหนๆ  :lovl:

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 05, 2007 12:11 am
โดย สุมาอี้
ลองดูช่วงสิบปีแรกหลังจากที่บัฟเฟตซื้อ KO สิครับ  8)

แม้ยี่สิบปีหลังจากนั้นราคาจะไม่ไปไหนก็ไม่สำคัญแล้ว

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 05, 2007 12:48 am
โดย Ryuga
เสียเวลาตรวจสอบข้อมูลหน่อยนะครับ นับจากปี 1988 ที่คุณปู่ซื้อ KO  8)

       อัตราผลตอบแทนทบต้นต่อปี           10 ปี (1988-1998)        18 ปี (1988-2006)
KO                                                            30.11%                       14.59%
MCD                                                         21.36%                       12.95%
MO                                                           25.06%                       18.94%
MSFT                                                       57.39%                       28.64%
XOM                                                         17.60%                       15.16%
WMT                                                        27.10%                       15.45%
AIG                                                           25.18%                       15.59%

10 ปีแรกหลังจากคุณปู่ซื้อ KO จากข้อมูล 7 บริษัท DJIA นั้น KO แพ้แต่ Microsoft แต่พอคิดยาวขึ้นเป็น 18 ปี KO แพ้ Philip Morris ชัดเจนมาก และชนะได้แต่ McDonald's ผมว่าค่อนข้างชัดเจนทีเดียวที่ KO ก็ไม่ได้ต่างอะไรนักกับบริษัทขนาดใหญ่อื่นๆ ถึงไม่ได้รวมเงินปันผลแต่ในบรรดาสมาชิกทั้ง 7 มีแต่ Microsoft ที่พึ่งมาจ่าย 4 ปีหลังมานี้นอกนั้นสม่ำเสมอดี

20 ปีหลังจากนั้นไม่สำคัญจริงหรือครับ (อิ อิ :ep:) เพราะเห็นแล้วว่าไม่ต่างกันมากมายอะไร

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 05, 2007 9:26 am
โดย สุมาอี้
คนเราเวลาจะลงทุนคงวิเคราะห์อย่างมากได้แค่ 5-10 ปีข้างหน้าเท่านั้น อะไรที่ไกลกว่านั้นคงต้องมั่วเอาอย่างเดียวแล้วล่ะครับ เพราะฉะนั้นในช่วงเวลา 5-10 ปีแรกหลังจากที่ลงเงินไป น่าจะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการวัดผลงานการลงทุนแบบระยะยาวนะครับ

ถ้าเลือกหยิบผลตอบแทนช่วงไหนมาดูก็ได้ตามใจชอบ ทุกบริษัทจะมีทั้งช่วงเวลาที่ผลตอบแทนดีและไม่ดีมาให้เลือกโชว์ตามใจชอบทั้งนั้น MSFT ช่วงห้าปีที่ผ่านมาก็ไม่ไปไหนเลย แบบนี้มิกลายเป็น self-selection bias ไปหรือครับท่านริว    :bow:

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 06, 2007 6:07 pm
โดย Ryuga
แหะ แหะ  :lol:  ขอแก้ตัวเลขนิดหน่อยครับ ก่อนหน้าฟองสบู่จะแตก 6 ปี Microsoft ไม่ได้ขึ้น 35 เท่า แต่ขึ้น 31 เท่าครึ่ง นั่งเทียนมากไปหน่อย :lol:  
ตัวเลข% ของ AIG ก็พิมพ์ทศนิยมพลาดไปหน่อยครับ 25.16% มิใช่ 25.18%

ถ้ามองแค่ 10 ปีหลังจากคุณปู่ซื้อ KO แล้วนับอัตราผลตอบแทนเป็นความสำเร็จย่อมแฝงนัยด้วยว่าถือหุ้นไป 10 ปีแล้วจะขายทิ้ง ซึ่งดูจะขัดหลักปรัชญาการลงทุนของคุณปู่ ในความเป็นจริงท่านก็ขายเพียงบางส่วน ซึ่งตลาดช่วงนั้นมันขึ้นแรงมากจน intelligent investor ท่านใดก็ควรขาย

เรื่อง self-selection bias นั้นเห็นด้วยครับ เพราะผมไม่ได้ตั้งใจจะให้มาประกวดประขันกันว่าบริษัทไหนมี 10 ปีที่ดีที่สุดดีกว่ากัน หรือมี 10 ปีที่แย่ที่สุดแย่กว่ากัน ข้อมูลที่ยกมาจึงเป็นข้อมูลระยะยาวเพื่อแสดงให้เห็นว่าหากยึดตามปรัชญาของคุณปู่ที่ตั้งใจจะถือหุ้นไปตราบชีวิตจะหาไม่แล้ว อะไรดีกว่ากัน จากตัวเลขที่เห็น หากราคาหุ้นเป็นภาพสะท้อนของผลประกอบการของกิจการใดๆ KO ยังนับว่ามีผลประกอบการไม่สม่ำเสมอที่สุดอีกด้วย เฉพาะ 7 บริษัทนี้ 10 ปีแรก KO แพ้แต่ Microsoft แต่ยาว 18 ปีกลับรั้งท้ายชนะแค่ McDonald's ที่สม่ำเสมอที่สุดน่าทึ่งยิ่งว่ากลับเป็นบริษัทน้ำมันอย่าง XOM ที่อัตราผลตอบแทน 10 ปี กับ 18 ปีไม่ค่อยต่างกัน  8)  8)  8)  8)  8)

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 07, 2007 1:00 am
โดย acdc
ผมคิดว่าการที่จะปรับพอร์ตขนาดใหญ่คงเป็นเรื่องที่ยากมาก
ถ้าเขาขายแล้วใครจะซื้อ ราคาจะเหลือเท่่าไร จะมี panic sell ไหม
ถ้าขายได้แล้วจะซื้ออะไร
ถ้ารอจะคุ้มกับค่าเสียโอกาสไหม

บางทีที่เขาไม่ขาย เพราะเขาคิดว่าการขายยากกว่าการซื้อ

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 07, 2007 10:11 am
โดย sattaya
acdc เขียน:ผมคิดว่าการที่จะปรับพอร์ตขนาดใหญ่คงเป็นเรื่องที่ยากมาก
ถ้าเขาขายแล้วใครจะซื้อ ราคาจะเหลือเท่่าไร จะมี panic sell ไหม
ถ้าขายได้แล้วจะซื้ออะไร
ถ้ารอจะคุ้มกับค่าเสียโอกาสไหม

บางทีที่เขาไม่ขาย เพราะเขาคิดว่าการขายยากกว่าการซื้อ
เห็นด้วยครับ และทราบมาว่าตลาดหุ้นของเขาจะต้องจ่ายภาษี ไม่เหมือนตลาดเมืองไทยที่ได้รับการยกเว้นภาษี ประเด็นนี้อาจทำให้คุณปู่คิดหนักก็ได้ครับ ว่าถ้าขายแล้วรอซื้อใหม่ผลที่ได้จะคุ้มเสียหรือไม่

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 07, 2007 5:22 pm
โดย Ryuga
สำหรับ KO ช่วงเวลาขายก็ผ่านมานานเสียแล้วครับ ช่วงก่อนตอนที่ P/E ลงมาเลี่ยๆ 20 เท่าจะเป็นจังหวะซื้อที่ดี เรื่องว่าใครจะซื้อนั้นไม่ต้องห่วงครับเทคนิคการขายอันลือลั่นผ่านการแลกหุ้นของคุณปู่ถือว่าระดับตำนาน ภาษีก็ไม่เสีย นอกจากนั้นการซื้อหุ้นคืนอย่างเป็นล่ำเป็นสันของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในเมืองมะกันนั้นน่าทึ่งมาก บางครั้งบางปีซื้อกันเกินกว่ากระแสเงินสดรับจากการดำเนินงานเสียอีก (หมายความว่าถ้าไม่รู้จะขายใครตัวบริษัทก็รับซื้อเอง) ยังรอแฟนพันธุ์แท้ Berkshire ตอบโต้กระบวนท่าที่ผมใช้ไปว่าได้อัตราผลตอบแทน 10 ปีย้อนหลังมานี้พอๆ กับบริษัทน้ำมันอยู่นะครับ  :lol:

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 07, 2007 9:59 pm
โดย evolution
เป็ฯกระทู้ที่ดีมากครับ มีหลายๆแฝงอยู่ในนั้นมากๆ จะติดตามต่อไปครับ

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 08, 2007 5:35 pm
โดย Onokung
สุมาอี้

Posted: Sat May 05, 2007 12:11 am    Post subject:    

--------------------------------------------------------------------------------

ลองดูช่วงสิบปีแรกหลังจากที่บัฟเฟตซื้อ KO สิครับ  

แม้ยี่สิบปีหลังจากนั้นราคาจะไม่ไปไหนก็ไม่สำคัญแล้ว

-------------------------------------------------------------------------------

Ryuga

Posted: Sat May 05, 2007 12:48 am Post subject:  

--------------------------------------------------------------------------------

เสียเวลาตรวจสอบข้อมูลหน่อยนะครับ นับจากปี 1988 ที่คุณปู่ซื้อ KO    
      อัตราผลตอบแทนทบต้นต่อปี           10 ปี (1988-1998)        18 ปี (1988-2006)
KO                                                            30.11%                       14.59%
MCD                                                         21.36%                       12.95%
MO                                                           25.06%                       18.94%
MSFT                                                       57.39%                       28.64%
XOM                                                         17.60%                       15.16%
WMT                                                        27.10%                       15.45%
AIG                                                           25.18%                       15.59%



สุดยอดครับ ......  :shock:  :shock: ระดับเทพเป็นแบบนี้นี่เอง  :drink: สมแล้วที่ใช้ชื่อ แอล ครับ  :bow:

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 26, 2007 5:24 am
โดย chaiyos
แล้วไม่ทราบว่าถ้าตอนนนี้ถ้าจะให้เลือกซื้อใหม่

ระหว่าง

Google กับ Berkshire

จะเลือกตัวไหนครับ

ซื้อแล้วไป Backpack Around the World
เอาแบบอีก 5 ปีค่อยว่ากัน

case study 10 ปี กับ Berkshire

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 26, 2007 11:29 am
โดย Ryuga
ก็ BRKA น่ะสิครับ ด้วยเหตุผลเบื้องหลังคำกล่าวที่ว่า "ผมยังรอแฟนพันธุ์แท้ Berkshire ตอบโต้กระบวนท่าที่ผมใช้ไปว่าได้อัตราผลตอบแทน 10 ปีย้อนหลังมานี้พอๆ กับบริษัทน้ำมันอยู่" อิ อิ :mrgreen: