กระเป๋าแฟบลามธุรกิจสุขภาพ ร.พ.เอกชนรับสภาพแอดมิต ลด

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
smartfan
Verified User
โพสต์: 456
ผู้ติดตาม: 0

กระเป๋าแฟบลามธุรกิจสุขภาพ ร.พ.เอกชนรับสภาพแอดมิต ลด

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3897 (3097

กระเป๋าแฟบลามธุรกิจสุขภาพ ร.พ.เอกชนรับสภาพแอดมิตลด
ธุรกิจโรงพยาบาลไม่วายโดนหางเลข ศก. โค้งแรกตัวเลขสะดุด ทั้งในกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด เผยคนไข้หันหน้าไปพึ่งโรงพยาบาลรัฐ-ประกันสังคมแทนการควักกระเป๋าจ่ายแพง ชี้ผู้ป่วยยุคนี้เขียมสุดๆ ไม่อยากนอนโรงหมอ จำนวนคนไข้ในลด เพิ่มน้ำหนักดึงลูกค้า ตปท. หวั่นสถานการณ์ซึมยาว กระตุ้นรัฐเร่งเลือกตั้งฟื้นฟูความเชื่อมั่น

ถึงนาทีนี้ดูเหมือนว่าภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบในวงกว้างมากขึ้น และไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจโรงพยาบาลที่หลายๆ คนมองว่าไม่น่าจะมีผลกระทบนักเนื่องจากเป็นเรื่องของความเจ็บป่วยความจำเป็นที่ทั้งคนป่วยและญาติพี่น้องนั้นพร้อมที่จะจ่าย

นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลปิยะเวท และกรรมการบริหาร โรงพยาบาลธนบุรี แสดงทรรศนะในเรื่องนี้กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธุรกิจโรงพยาบาลก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ตอนนี้โรงพยาบาลขนาดกลางหลายๆ แห่งเริ่มเห็นภาพการเติบโตที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

เบนเข็มพึ่ง ร.พ.รัฐ-ประกันสังคม

นายแพทย์บุญกล่าวว่า อย่างกรณีของโรงพยาบาลธนบุรีตอนนี้ตัวเลขก็ลดลงไปบ้างเล็กน้อย และลูกค้าที่ลดลงส่วนหนึ่งก็หันไปใช้บริการจากโรงพยาบาลรัฐแทน หรือบางคนที่อาจจะมีประกันสังคมอยู่ก็จะไปใช้บริการจากส่วนนี้แทน โรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็ก-กลางที่พึ่งลูกค้าในประเทศเป็นหลักอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง สิ่งที่ทำได้เบื้องต้นในตอนนี้ก็คือการพยายามปรับลดต้นทุนการดำเนินงานต่างๆ ที่ไม่จำเป็นลง

สำหรับปิยะเวทเองที่เน้นจับกลุ่มลูกค้าระดับบนและชาวต่างประเทศ ตอนนี้ลูกค้าไม่ได้ตกลงมาก เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ แต่ก็ยอมรับว่า จากการที่เกิดเหตุการณ์ระเบิดในบ้านเราหลายๆ ครั้งนั้นก็มีผลทำให้ชาวต่างประเทศส่วนหนึ่งที่กังวลในเรื่องนี้


"ทางออกในเรื่องนี้อีกทางหนึ่งก็คือ ภาครัฐจะต้องรีบฟื้นฟูความเชื่อมั่น ความมั่นใจ ให้กลับมาโดยเร็ว และสิ่งที่จะช่วยได้ก็คือการเร่งให้มีการเลือกตั้งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากภาวะ เศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้เชื่อว่าในระยะยาวธุรกิจโรงพยาบาลก็จะซึมตามไปด้วย" นายแพทย์บุญกล่าว

ปม ศก.ทำตัวเลขคนไข้ในลด
ขณะที่นายธนา ถิรมนัส รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาดและสนับสนุน โรงพยาบาลพญาไท กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตอนนี้คนไข้ที่เข้ามาใช้บริการกับพญาไทยังเข้ามาใช้บริการอยู่ ในส่วนของคนไข้นอก (OPD) ยังมีการเติบโต แต่จากการติดตามสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ ก็คือ จำนวนการเข้ามาเป็นคนไข้ใน (IPD) ลดลง ยกเว้นกรณีที่เป็นเคสที่ซีเรียสจริงๆ จึงยอมเข้ารับการรักษา (admit) ส่วนโรคหรือเคสที่ไม่ร้ายแรงและเป็นโรคที่รอได้คนไข้ก็จะชะลอไว้ก่อน

พร้อมกันนี้ นายธนายังให้ข้อมูลด้วยว่า ในแง่ของคนไข้ในนั้นตัวเลขลดลงอย่างเห็นได้ชัด คือ ที่ผ่านมาคนไข้โอพีดีมีอัตราการเติบโต 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ส่วนคนไข้ไอพีดี -3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นายธนาย้ำว่า อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของเราในเบื้องต้นในตอนนี้หลักๆ จะเป็นการเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษาโรค ฯลฯ กับคนไข้ เนื่องจากพญาไทนั้นในเรื่องของคุณภาพการรักษาที่ต้องมาเป็นอันดับแรก ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลก็ได้หันไปเน้นในแง่ของโรคที่รักษายากๆ มากขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็เป็นนโยบายที่ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ต้นปี อาทิ เรื่องของโรคที่เกี่ยวกับสมอง ที่พญาไทมีบริการที่ครบวงจร ภาวะที่เกิดขึ้นนี้น่าจะซึมยาวไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง

ขณะที่นายชาคริต ศึกษากิจ กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยอมรับว่าส่งผลกระทบกับกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลพอสมควร ซึ่งเริ่มเห็นภาพชัดเจนมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา โดยเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยนอกที่เข้ามารับการรักษาและบริการมีจำนวนที่ลดลง เชื่อว่าเนื่องมาจากผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปซื้อยารับประทานเอง และรักษาโรงพยาบาลรัฐบาลมากขึ้น
smartfan
Verified User
โพสต์: 456
ผู้ติดตาม: 0

กระเป๋าแฟบลามธุรกิจสุขภาพ ร.พ.เอกชนรับสภาพแอดมิต ลด

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เพิ่มน้ำหนักลูกค้า ตปท.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามเรื่องดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลขนาดกลางหลายๆ แห่ง ก็พบว่าในแง่ของจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการ นั้นมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างทรงตัว และ โรงพยาบาลหลายๆ แห่งก็มองว่าภาวะที่เกิดขึ้นนี้น่าจะซึมยาวไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ทำให้ต้องเร่งปรับแผนการดำเนินงานในบางส่วนใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อจะขยายการเติบโตให้เพิ่มขึ้น

โดยโรงพยาบาลหลายๆ แห่งก็จะมีโปรแกรมทางการตลาดใหม่ๆ ออกมาเพื่อให้สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อ อาทิ เมื่อช่วงปิดเทอมการศึกษาที่ผ่านมามีโรงพยาบาลหลายๆ แห่งที่มีการจัดโปรแกรมตรวจสุขภาพเด็กในราคาพิเศษ เพื่อจับกลุ่มพ่อแม่ที่มีบุตร เป็นต้น

ขณะเดียวกัน นายธนายังกล่าวถึงคนไข้ต่างประเทศที่เข้ามาใช้บริการว่า ไม่กระทบ และยังมีการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีการเติบโตถึง 40% และที่โตมากดังกล่าวส่วนหนึ่งก็เพราะฐานยังเล็ก และลูกค้าชาวต่างประเทศก็มองว่าบริการทางการแพทย์ของบ้านเรานั้นมีมาตรฐานสูง ที่สำคัญคือราคาไม่แพง

ส่วนนายชาคริตได้กล่าวถึงแนวทางในการปรับตัวของโรงพยาบาลเวชธานีว่า โรงพยาบาลก็ได้ปรับตัวด้วยการหันไปโฟกัสกลุ่มลูกค้าต่างประเทศมากขึ้น โดยเมื่อปีที่ผ่านมารายได้ของโรงพยาบาลที่มาจากลูกค้าต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วน 12% ของรายได้รวม และปีนี้กลยุทธ์หลักๆ จะเน้นการทำโรดโชว์ร่วมกับภาครัฐไปยังประเทศต่างๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการส่งต่อผู้ป่วยมารักษาที่เวชธานีมากขึ้น อาทิ โอมาน กาตาร์ เป็นต้น

ตจว.ยอมรับรายได้ต่ำกว่าเป้า
นายแพทย์สิน ลิ่วศิริรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ระยะนี้คนไข้ลดลงไปบ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัว ทำให้โรงพยาบาลมีรายได้ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ประมาณ 10% ซึ่งไม่เพียงโรงพยาบาลกรุงเทพ-ราชสีมา เท่านั้นที่มีรายได้ลดลง แต่เชื่อว่าโรงพยาบาลเอกชนจะได้รับผลกระทบคล้ายๆ กัน

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลได้ยกเลิกผู้ป่วยประกันสังคม ที่มีผู้ประกันตน 78,000 ราย ซึ่งโดยภาพรวมทำให้มีผู้ป่วยลดลง แต่สำหรับ ผู้ป่วยที่เป็นผู้ป่วยชำระเงินเอง และประกันสุขภาพ มียอดเพิ่มขึ้นประมาณ 11%

"มั่นใจว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 น่าจะดีขึ้น เนื่อง จากจะมีการลงเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมจะเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ตอนนี้ต้องประคับประคองไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังไปได้ดี แม้จะต่ำกว่าเป้าเล็กน้อย" นายแพทย์สินกล่าว

ขณะที่นายแพทย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ ประธานกรรมการ โรงพยาบาลรามคำแหง กล่าวเรื่องนี้เพียงสั้นๆ ว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นยังกระทบกับธุรกิจโรงพยาบาลไม่มาก ส่วนโรง พยาบาลในเครือรามคำแหงที่ผ่านมาก็มีทั้งที่คนไข้ลดลง บางแห่งก็เพิ่มขึ้น หรือบางแห่งก็ปกติ

ด้านนายแพทย์บุญชัย อิศราพิศิษฐ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลราชธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวในเรื่องเดียวกันนี้ว่า สำหรับราชธานีเองตอนนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบในลักษณะดังกล่าว และโดยภาพรวมยังมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 10%
ภาพประจำตัวสมาชิก
thumbman2001
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 8116
ผู้ติดตาม: 1

กระเป๋าแฟบลามธุรกิจสุขภาพ ร.พ.เอกชนรับสภาพแอดมิต ลด

โพสต์ที่ 3

โพสต์

โรงพยาบาลเอกชน ข้อตกลง JTEPAดันคนไข้ชาวญี่ปุ่นโต

11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 10:42:00


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :     คนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ประมาณปีละ 2 แสนคน ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ที่ได้มีการเซ็นสัญญาไปเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนตุลาคม 2550 นี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนับเป็นการเปิดโอกาสที่ดีต่อความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การลงทุนระหว่างกันรวมทั้งเอื้อต่อการเข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนไทยของคนไข้ชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่สนใจเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในไทยโดยเฉพาะ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่ประเทศและธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก

   อย่างไรก็ตาม ในส่วนของทางฝ่ายไทยเองก็มีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมไว้รองรับคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่จะมีเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นการอบรมให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรมเพื่อให้เข้าใจอุปนิสัย ความต้องการของคนญี่ปุ่น รวมไปถึงการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังขาดแคลนให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งในส่วนของคนไข้ในประเทศและคนไข้ชาวต่างชาติ

    ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเป็นคนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยในสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนไข้ชาวต่างชาติประเทศอื่นๆ โดยมีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศในเอเชียใต้ เป็นกลุ่มที่คนไข้เข้ามารักษาในลำดับรองลงมา ทั้งนี้จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนไทยของกรมส่งเสริมการส่งออกพบว่า คนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการสามารถแยกออกได้เป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานและพักอาศัยในประเทศไทยรวมทั้งกลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศเพื่อนบ้านคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ส่วนอีก 40% จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยแล้วเกิดเจ็บป่วยรวมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมารักษาพยาบาลในไทยโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาในระยะเวลาสั้นๆอาทิ ทำฟัน ตรวจสุขภาพ ศัลยกรรม รักษาเกี่ยวกับสายตาเช่นเลสิก เป็นต้น

   สำหรับในส่วนของคนไข้ชาวญี่ปุ่นนั้นในปี 2544 มีคนไข้ชาวญี่ปุ่นเข้ารักษายังโรงพยาบาลเอกชนของไทย จำนวน 118,170 คนคิดเป็นร้อยละ 21.5 จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 550,161 คน ในขณะที่ปี 2546 คนไข้ชาวญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 162,909 คน คิดเป็นสัดส่วน 16.7% จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 973,532 คน ส่วนในปี 2548 คนไข้ชาวญี่ปุ่นมีทั้งหมด 185,616 คน คิดเป็น 14.9% จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 1,249,984 คน สำหรับในปี 2550 คาดว่าจำนวนคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารักษาพยาบาลในไทยจะมีไม่ต่ำกว่า 200,000 คนจากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ารับบริการจากโรงพยาบาลเอกชนของไทยที่คาดว่าจะมีประมาณ 1.54 ล้านคน

    สำหรับปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้มีคนไข้ชาวญี่ปุ่นเข้ามารักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยนอกจากปัจจัยทางด้านอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ต่ำกว่าโรงพยาบาลคู่แข่งของต่างประเทศแต่คุณภาพการรักษาใกล้เคียงกันแล้ว โรงพยาบาลเอกชนของไทยยังมีความได้เปรียบจากศักยภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องซึ่งช่วยส่งเสริมและเกื้อหนุนต่อธุรกิจอาทิ ธุรกิจทางด้านสปาและการแพทย์แผนไทยซึ่งสามารถนำมาใช้เสริมการรักษาคนไข้ควบคู่กันเพื่อให้คนไข้ได้รับความพึงพอใจมากขึ้น ในขณะเดียวกันจากการที่ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่นิยมของต่างชาติทำให้การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมไปกับการรักษาพยาบาลให้กับคนไข้และผู้ติดตามมีศักยภาพยิ่งขึ้น

   ประการสำคัญ การที่ไทยและญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมประเพณีที่ใกล้เคียงกันทั้งทางด้านศาสนา ความเชื่อ รวมทั้งความสัมพันธ์ทางด้านการค้าการลงทุนมายาวนานโดยเฉพาะอุปนิสัยใจคอของคนไทยที่ยิ้มแย้มแจ่มใส รักงานให้บริการ เข้าได้กับอุปนิสัยใจคอของคนญี่ปุ่น ส่งผลให้มีชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาทำงานอยู่อาศัยและท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หากพิจารณาจากข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพบว่าญี่ปุ่นเป็นชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอยู่ในอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย โดยในปี 2549 ที่ผ่านมามีชาวญี่ปุ่นเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 1.31 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 9.5% จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมดที่เข้ามาในประเทศไทยจำนวนประมาณ 13.82 ล้านคน

   สำหรับในส่วนของชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาพักอาศัยและทำงานในประเทศไทยนั้นจากข้อมูลของกรมการจัดหางานพบว่าแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยในส่วนของคนญี่ปุ่นมีจำนวนทั้งสิ้น 22,976 คน ทั้งนี้หากรวมกับผู้ติดตามเช่นคู่สมรสและบุตรแล้วจำนวนคนญี่ปุ่นที่พักอาศัยในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 เท่าตัวเลยทีเดียว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นฐานสนับสนุนให้ชาวญี่ปุ่นเป็นคนไข้ชาวต่างชาติที่มีบทบาทมากที่สุดในกลุ่มคนไข้ต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของไทย

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลจากการที่ไทยมีการทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ไปเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งข้อตกลงทางการค้า การลงทุน และภาคบริการที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้คนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารักษายังโรงพยาบาลเอกชนของไทยมีเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้

    กลุ่มคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย จากข้อตกลงเสรีทางการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการค้า การลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างกันทั้งการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวหรือการพักอาศัยเพื่อทำงาน โดยในส่วนของนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นนั้น จากการเปิดเสรีให้ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งบริษัทในประเทศไทยทำให้มีหลายสาขาธุรกิจที่ญี่ป่นสนใจเข้ามาลงทุ

source: http://www.bangkokbiznews.com/2007/05/1 ... wsid=68621
ข่าวนี้น่าจะเป็นข่าวดีของโรงพยาบาลที่มีคนญี่ปุ่นมารักษามากนะครับ
โพสต์โพสต์