กลุ่มเซ็นทรัล อาจจะต้องจ่ายค่าตอบแทน รถไฟเป็น 2 เ่ท่าของ mbk
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 21, 2007 8:18 am
'บรรณวิทย์' เดินหน้าค้าน การรถไฟฯต่อสัญญาเช่าที่ดินกับ 'เซ็นทรัล'เหตุจ่ายค่าเช่าถูก
สุดๆ ยกสัญญาเช่าที่ดินของกลุ่มมาบุญครองกับจุฬาฯมาเปรียบเทียบ ยันหากเปิดประมูลใหม่จะ
รฟท. จะได้รับประโยชน์มากกว่า มาบุญครอง 2 เท่า
พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.)ได้แสดงความคิดเห็นคัดค้าน การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ที่จะต่อสัญญาเช่าที่ดิน
ย่านสามเหลี่ยมพหลโยธิน (ห้างเซ็ลทรัลลาดพร้าว และโรงแรมโซฟิเทล)กับ บริษัท เซ็นทรัล
อินเตอร์พัฒนา จำกัด(มหาชน) โดยเห็นว่าเมื่อสัญญาหมดลงในปี2551แล้ว รฟท.ควรเปิดประมูล
ใหม่
อย่างไรก็ตามเมื่อเปิดประมูลแล้ว ไม่ว่าบริษัทใดจะชนะประมูล และจะเข้ามาบริหารใน
พื้นที่บริเวณดังกล่าว ประเด็นสำคัญที่สุดคือ รฟท.จะต้องได้ค่าตอบแทนจากค่าเช่ามากกว่าปัจจุ
บัน เพราะเมื่อเทียบกับสัญญาที่ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) หรือ มาบุญครอง ได้เช่าพื้นที่
เช่าศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ กับทาง จุฬาลงกรณ์มาหวิทยาลัยพบว่า สูงมากถึง25,310
ล้านบาท
มีรายงานข่าวแจ้งว่า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด(มหาชน)ตกลงต่อสัญญาเช่าพื้นที่ ศูนย์การค้า
เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ กับทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีก20ปี หรือตั้งแต่ปี2556-2576 โดยมี
เงื่อนไขต่อสัญญามีมูลค่ารวม 25,310 ล้านบาท หรือเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 1,256.5 ล้านบาทต่อปี
ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สนช.กล่าวอีกว่า ดังนั้น ในกรณีของเซ็นทรัลฯ หากมี
การเปิดประมูลคัดเลือกบริษัทเอกชนรายใหม่ให้ เข้ามาดำเนินการแล้ว รฟท. จะได้ผลตอบแทนที่
สูงมาก เนื่องจากรฟท.มีพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสามเหลี่ยมย่านพลโยธิน(เซ็นทรัล)47ไร่ ขณะที่
ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์มีพื้นที่เชิงพาณิชย์ 20 ไร่ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่กันแล้ว
ถือว่ามากกว่า2เท่า ดังนั้นรฟท.ควรที่จะได้ค่าตอบแทนไม่ต่ำกว่า 40,000-50,000 ล้านบาท
มีรายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสัญญาเช่าทรัพย์สินของ รฟท.บริเวณสามเหลี่ยมย่าน
พหลโยธิน กับบริษัท เซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด(มหาชน)นั้น สัญญาจะหมดลงในวันที่ 19
ธันวาคม 2551 โดยก่อนหน้านี้ เซ็นทรัลฯขอต่ออายุสัญญากับรฟท.เป็นเวลา 30 ปี
โดยที่ผ่านมาเซ็นทรัลฯจ่ายผลตอบแทนให้กับรฟท. ในปี2521 ซึ่งเป็นปีแรกที่เช่าเป็นเงิน
3 ล้านบาทต่อปี และนับตั้งแต่ปี 2522 บริษัทจะต้องจ่ายเพิ่ม 5% ทุกปี โดยปัจจุบัน(ปี2550)ค่า
เช่าที่ดินอยู่ที่ 10 ล้านบาทต่อปี
ก่อนหน้านนี้ อัยการสูงสุด และคณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นตรงกันว่า การต่อสัญญา
เช่าให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการใน
กิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 คือ รฟท.ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาต่อรองเรื่อง
ผลประโยชน์ของรฟท. ตามมาตรา 14(4) อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถเจรจาต่อสัญญากันได้
บริษัทเซ็นทรัลฯจะต้องคืนทรัพย์สินให้กับรฟท.จากนั้นรฟท.ก็มีสิทธิตัดสินใจในการเปิดประมูลให้
รายใหม่เข้ามาดำเนินการบริหารต่อไป แต่ล่าสุดยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะต่อสัญญาหรือไม่
ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า
สุดๆ ยกสัญญาเช่าที่ดินของกลุ่มมาบุญครองกับจุฬาฯมาเปรียบเทียบ ยันหากเปิดประมูลใหม่จะ
รฟท. จะได้รับประโยชน์มากกว่า มาบุญครอง 2 เท่า
พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.)ได้แสดงความคิดเห็นคัดค้าน การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ที่จะต่อสัญญาเช่าที่ดิน
ย่านสามเหลี่ยมพหลโยธิน (ห้างเซ็ลทรัลลาดพร้าว และโรงแรมโซฟิเทล)กับ บริษัท เซ็นทรัล
อินเตอร์พัฒนา จำกัด(มหาชน) โดยเห็นว่าเมื่อสัญญาหมดลงในปี2551แล้ว รฟท.ควรเปิดประมูล
ใหม่
อย่างไรก็ตามเมื่อเปิดประมูลแล้ว ไม่ว่าบริษัทใดจะชนะประมูล และจะเข้ามาบริหารใน
พื้นที่บริเวณดังกล่าว ประเด็นสำคัญที่สุดคือ รฟท.จะต้องได้ค่าตอบแทนจากค่าเช่ามากกว่าปัจจุ
บัน เพราะเมื่อเทียบกับสัญญาที่ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) หรือ มาบุญครอง ได้เช่าพื้นที่
เช่าศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ กับทาง จุฬาลงกรณ์มาหวิทยาลัยพบว่า สูงมากถึง25,310
ล้านบาท
มีรายงานข่าวแจ้งว่า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด(มหาชน)ตกลงต่อสัญญาเช่าพื้นที่ ศูนย์การค้า
เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ กับทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีก20ปี หรือตั้งแต่ปี2556-2576 โดยมี
เงื่อนไขต่อสัญญามีมูลค่ารวม 25,310 ล้านบาท หรือเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 1,256.5 ล้านบาทต่อปี
ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สนช.กล่าวอีกว่า ดังนั้น ในกรณีของเซ็นทรัลฯ หากมี
การเปิดประมูลคัดเลือกบริษัทเอกชนรายใหม่ให้ เข้ามาดำเนินการแล้ว รฟท. จะได้ผลตอบแทนที่
สูงมาก เนื่องจากรฟท.มีพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสามเหลี่ยมย่านพลโยธิน(เซ็นทรัล)47ไร่ ขณะที่
ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์มีพื้นที่เชิงพาณิชย์ 20 ไร่ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่กันแล้ว
ถือว่ามากกว่า2เท่า ดังนั้นรฟท.ควรที่จะได้ค่าตอบแทนไม่ต่ำกว่า 40,000-50,000 ล้านบาท
มีรายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับสัญญาเช่าทรัพย์สินของ รฟท.บริเวณสามเหลี่ยมย่าน
พหลโยธิน กับบริษัท เซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด(มหาชน)นั้น สัญญาจะหมดลงในวันที่ 19
ธันวาคม 2551 โดยก่อนหน้านี้ เซ็นทรัลฯขอต่ออายุสัญญากับรฟท.เป็นเวลา 30 ปี
โดยที่ผ่านมาเซ็นทรัลฯจ่ายผลตอบแทนให้กับรฟท. ในปี2521 ซึ่งเป็นปีแรกที่เช่าเป็นเงิน
3 ล้านบาทต่อปี และนับตั้งแต่ปี 2522 บริษัทจะต้องจ่ายเพิ่ม 5% ทุกปี โดยปัจจุบัน(ปี2550)ค่า
เช่าที่ดินอยู่ที่ 10 ล้านบาทต่อปี
ก่อนหน้านนี้ อัยการสูงสุด และคณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นตรงกันว่า การต่อสัญญา
เช่าให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการใน
กิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 คือ รฟท.ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาต่อรองเรื่อง
ผลประโยชน์ของรฟท. ตามมาตรา 14(4) อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถเจรจาต่อสัญญากันได้
บริษัทเซ็นทรัลฯจะต้องคืนทรัพย์สินให้กับรฟท.จากนั้นรฟท.ก็มีสิทธิตัดสินใจในการเปิดประมูลให้
รายใหม่เข้ามาดำเนินการบริหารต่อไป แต่ล่าสุดยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะต่อสัญญาหรือไม่
ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า