จุดเปลี่ยน(จริงๆนะ)...โทรคมนาคมไทย
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 22, 2007 11:31 am
จุดเปลี่ยนการลงทุนโทรคมฯไทย เดินหน้าอย่างไร? เมื่อขัดกม.ร่วมทุน
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดสัมมนาเรื่อง "จุดเปลี่ยนการลงทุนโทรคมนาคมไทย" โดยผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมเข้าร่วมการอภิปราย พร้อมทั้งเชิญนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ปาฐกถาพิเศษ โดยตอนหนึ่งของการสัมมนาได้หยิบยกผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีการะบุว่าสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เกือบทุกฉบับไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ 2535 หรือกฎหมายร่วมทุน ขึ้นมาอภิปราย
สิทธิชัย โภไคยอุดม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที
ในการดำเนินการให้สัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน เห็นว่าจะต้องมีการเจรจากัน และจะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณา หากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น คาดว่าประมาณ 2-3 เดือนจะสามารถเจรจาได้สำเร็จ แต่ถ้าไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ก็อาจจะต้องเจรจาไปเรื่อยๆ และหากสามารถแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ ทุกอย่างจะดำเนินการอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องห่วงว่าการดำเนินการในรัฐบาลชุดหน้าจะมีเรื่องของผลตอบแทนหรือเงินใต้โต๊ะ ที่ผู้ให้บริการจะต้องจ่ายให้กับใครบางคน เพราะทุกอย่างที่ทำภายใต้รัฐบาลชุดนี้จะเป็นไปด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด
"ตอนนี้กำลังพิจารณาอยู่ว่าการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ใหม่จะเป็นเท่าไร จะใช้อัตราเดิม หรืออัตราใหม่ แต่เข้าใจว่าผู้ที่ลงทุนย่อมต้องการกำไร แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป ถ้าได้กำไรสูงมาก ก็ต้องยอมที่จะลดลงบ้าง"
มีเอกชนหลายรายระบุว่าการที่กฤษฎีกาตีความออกมาในลักษณะดังกล่าว จะส่งผลให้ธุรกิจเสียหาย และยังทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เห็นว่าการที่บริษัทเอกชนทำสัญญาทั้งที่รู้ว่าสัญญาไม่ถูกต้อง ทางผู้บริหารของบริษัทเอกชนก็ต้องพิจารณาตัวเองด้วย ไม่ใช่จะอ้างว่าฝ่ายรัฐให้จึงรับไว้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ให้ดี หากอะไรที่ไม่ถูกต้องก็ต้องทำให้ถูกต้อง หากบริษัทเอกชนจะอ้างว่าไม่ทราบ แล้วทำไมการทำสัญญาของโทรศัพท์พื้นฐานทุกรายถูกต้องหมด ไม่มีฉบับไหนผิดเลย ขณะที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำสัญญาผิดทุกราย
อย่างไรก็ตามก็ขอยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ที่สามารถดำเนินงานต่างๆ ไปได้ด้วยดี เพราะมีการเดินตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ดังนั้นเชื่อว่าการดำเนินการของกระทรวงไอซีทีจะส่งผลดีในอนาคต และไม่เชื่อว่าจะส่งผลให้ธุรกิจโทรคมนาคมขาดความน่าเชื่อถือกับนักลงทุน
งานนโยบายที่ถือเป็นเรื่องสำคัญ คือ ต้องทำให้เป็นตัวอย่าง เช่น ถ้าเป็นนักการเมืองก็ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ซึ่งจะทำให้การโกงกินในระดับนโยบายไม่เกิด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างปลูกฝังข้าราชการว่า ถ้าใครสั่งอะไรที่ไม่ชอบธรรม ไม่ต้องดำเนินการ ก็จะเกิดความโปร่งใสในทุกโครงการ และเกิดความภาคภูมิใจในการเป็นข้าราชการด้วย
สำหรับเวลาที่เหลืออยู่ 7 เดือน จะเร่งแก้ไขเรื่องของสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ และสัมปทานดาวเทียมให้แล้วเสร็จ แต่ในส่วนของดาวเทียมมีปัญหาน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากดำเนินการได้เร็วก็จะเป็นผลดี โดยให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้จะไม่มีการกลั่นแกล้ง หรือขอเงินใต้โต๊ะเด็ดขาด
วิเชียร เมฆตระการ
กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส
เรื่องที่จะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนอีกเรื่องหนึ่ง คือ อะไรไม่ถูกก็ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง อะไรผิดก็ต้องแก้ไข เช่น การตีความของกฤษฎีกาเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 เมื่อเป็นแบบนี้ก็ต้องดำเนินการต่างๆ ตามที่กฤษฎีกาตีความ แต่การดำเนินการให้ถูกต้อง ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องกำหนดให้รัฐเอาเปรียบบริษัทเอกชนไว้ก่อน เพราะหากบริษัทเอกชนมีการแข่งขันจนไม่สามารถอยู่รอดได้ก็ไม่มีใครสามารถช่วยเหลือได้
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการตีความของกฤษฎีกาส่งผลให้เรื่องดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องพิจารณาร่วมกันอีกว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
ธนา เธียรอัจฉริยะ
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มพาณิชย์ ดีแทค
การที่รัฐบาลรื้อสัญญา และกล่าวหาว่าบริษัทเอกชนผิด กอบโกยกำไรเพียงอย่างเดียวนั้น ถือว่าไม่ถูกต้องนัก เพราะในอดีตดีแทคและเอไอเอสซึ่งได้รับสัมปทานให้เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเพียง 2 ราย ในสมัยนั้นเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์มือถือราคาเครื่องละ 2-3 แสนบาท กว่าจะสามารถสร้างฐานลูกค้าและสร้างกำไรได้ก็ต้องใช้ระยะเวลานาน จนกระทั่งมีการเปิดเสรีให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้าสู่ตลาดได้ และมีการลงทุนขยายบริการอย่างครอบคลุม แต่เมื่อผู้ประกอบการทุกรายก้าวหน้า ก็บอกว่าเซ็นสัญญาไม่ครบ กระทำผิด ทั้งที่ในรายละเอียดมีที่มาที่ไปอยู่ บางทีการฟังคนพูดเพียง 2-3 คน คงไม่ได้ เพราะต้องพิจารณาที่มาที่ไปของการทำสัญญาประกอบด้วย
ขณะเดียวกันก็เห็นว่าการดำเนินงานของ 3 เสาหลัก คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงส่งให้ผู้ประกอบการเอกชนไม่รู้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหน เช่น กระทรวงไอซีที ซึ่งไม่มีอำนาจในการกำกับดูแล แต่ชอบออกมาพูดในเรื่องต่างๆ ในขณะที่ กทช.ซึ่งมีอำนาจเต็มที่แต่กลับไม่ยอมออกมาพูดอะไร ซึ่งจะเห็นได้จากเรื่องของการจัดตั้งเทเลคอมพูล
นอกจากการตรวจสอบสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแล้ว ยังต้องการให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาสัญญาอื่นๆ ที่ภาครัฐทำร่วมกับบริษัทเอกชนด้วย เพราะจากการพิจารณาในเบื้องต้น ยังมีสัญญาที่เข้าข่ายในลักษณะเดียวกันกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออีกประมาณ 70 ราย เช่น สัญญาระหว่างบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอทีไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด หรือฮัทช์ กับ กสท เป็นต้น
ศุภชัย เจียรวนนท์
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรู คอร์ปอเรชั่น
บริษัทยินดีที่จะเจรจาเพื่อให้สัญญาสัมปทานเป็นไปอย่างถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน และหวังว่าการแก้ไขในครั้งนี้จะไม่ส่งผลให้ ทรูมูฟ จะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากไปกว่าเดิม เพราะหากเป็นแบบนั้นก็จะสามารถแข่งขันได้ลำบาก ขณะเดียวกันก็เห็นว่าหากเรื่องดังกล่าวไม่ได้ข้อสรุปโดยเร็ว จะมีผลกระทบกับบริษัทแน่นอน แต่ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะเป็นในรูปแบบใด แต่ยืนยันว่าการให้บริการจะไม่หยุดชะงัก เพราะสามารถดำเนินการในสิ่งที่ทำอยู่แล้วต่อไปได้ แต่ที่เป็นปัญหา คือเรื่องใหม่ ซึ่งอาจจะต้องหยุดดำเนินการจนกว่าจะได้ข้อสรุป และต้องการฝากผู้ที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะการดำเนินงานในขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนการผ่าตัด เมื่อผ่าออกแล้วก็ต้องรีบรักษา และเย็บกลับคืน หากไม่รีบก็อาจจะป่วยหนักมากกว่าเดิมก็ได้
ทั้งนี้ เห็นว่าการตีความของกฤษฎีกาไม่ใช่การตัดสินว่าขาวหรือดำ แต่เป็นเรื่องที่รัฐมีอำนาจที่จะสามารถเข้าไปพิจารณาตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ไม่ใช่กิจการที่แตะต้องไม่ได้อย่างที่หลายคนคิด แต่ก็ต้องพิจารณาถึงการดำเนินการด้วยว่าเป็นในรูปแบบใด หากดำเนินการเพื่อสร้างสรรค์ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเป็นการหักร้างก็จะเกิดผลเสียขึ้นในกิจการโทรคมนาคมในประเทศอย่างแน่นอน
มติชนวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 106
ais เล่นกันมาเมื่อสัปดาห์ก่อน inside ข่าวนี้ป่าวเนี่ย ...ฮึฮึ
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดสัมมนาเรื่อง "จุดเปลี่ยนการลงทุนโทรคมนาคมไทย" โดยผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมเข้าร่วมการอภิปราย พร้อมทั้งเชิญนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ปาฐกถาพิเศษ โดยตอนหนึ่งของการสัมมนาได้หยิบยกผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีการะบุว่าสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เกือบทุกฉบับไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ 2535 หรือกฎหมายร่วมทุน ขึ้นมาอภิปราย
สิทธิชัย โภไคยอุดม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที
ในการดำเนินการให้สัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน เห็นว่าจะต้องมีการเจรจากัน และจะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณา หากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น คาดว่าประมาณ 2-3 เดือนจะสามารถเจรจาได้สำเร็จ แต่ถ้าไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ก็อาจจะต้องเจรจาไปเรื่อยๆ และหากสามารถแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ ทุกอย่างจะดำเนินการอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องห่วงว่าการดำเนินการในรัฐบาลชุดหน้าจะมีเรื่องของผลตอบแทนหรือเงินใต้โต๊ะ ที่ผู้ให้บริการจะต้องจ่ายให้กับใครบางคน เพราะทุกอย่างที่ทำภายใต้รัฐบาลชุดนี้จะเป็นไปด้วยความเป็นธรรมมากที่สุด
"ตอนนี้กำลังพิจารณาอยู่ว่าการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ใหม่จะเป็นเท่าไร จะใช้อัตราเดิม หรืออัตราใหม่ แต่เข้าใจว่าผู้ที่ลงทุนย่อมต้องการกำไร แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป ถ้าได้กำไรสูงมาก ก็ต้องยอมที่จะลดลงบ้าง"
มีเอกชนหลายรายระบุว่าการที่กฤษฎีกาตีความออกมาในลักษณะดังกล่าว จะส่งผลให้ธุรกิจเสียหาย และยังทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น เห็นว่าการที่บริษัทเอกชนทำสัญญาทั้งที่รู้ว่าสัญญาไม่ถูกต้อง ทางผู้บริหารของบริษัทเอกชนก็ต้องพิจารณาตัวเองด้วย ไม่ใช่จะอ้างว่าฝ่ายรัฐให้จึงรับไว้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ให้ดี หากอะไรที่ไม่ถูกต้องก็ต้องทำให้ถูกต้อง หากบริษัทเอกชนจะอ้างว่าไม่ทราบ แล้วทำไมการทำสัญญาของโทรศัพท์พื้นฐานทุกรายถูกต้องหมด ไม่มีฉบับไหนผิดเลย ขณะที่โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำสัญญาผิดทุกราย
อย่างไรก็ตามก็ขอยกตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ที่สามารถดำเนินงานต่างๆ ไปได้ด้วยดี เพราะมีการเดินตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ดังนั้นเชื่อว่าการดำเนินการของกระทรวงไอซีทีจะส่งผลดีในอนาคต และไม่เชื่อว่าจะส่งผลให้ธุรกิจโทรคมนาคมขาดความน่าเชื่อถือกับนักลงทุน
งานนโยบายที่ถือเป็นเรื่องสำคัญ คือ ต้องทำให้เป็นตัวอย่าง เช่น ถ้าเป็นนักการเมืองก็ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ซึ่งจะทำให้การโกงกินในระดับนโยบายไม่เกิด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างปลูกฝังข้าราชการว่า ถ้าใครสั่งอะไรที่ไม่ชอบธรรม ไม่ต้องดำเนินการ ก็จะเกิดความโปร่งใสในทุกโครงการ และเกิดความภาคภูมิใจในการเป็นข้าราชการด้วย
สำหรับเวลาที่เหลืออยู่ 7 เดือน จะเร่งแก้ไขเรื่องของสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ และสัมปทานดาวเทียมให้แล้วเสร็จ แต่ในส่วนของดาวเทียมมีปัญหาน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากดำเนินการได้เร็วก็จะเป็นผลดี โดยให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้จะไม่มีการกลั่นแกล้ง หรือขอเงินใต้โต๊ะเด็ดขาด
วิเชียร เมฆตระการ
กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส
เรื่องที่จะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนอีกเรื่องหนึ่ง คือ อะไรไม่ถูกก็ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง อะไรผิดก็ต้องแก้ไข เช่น การตีความของกฤษฎีกาเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือ ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 เมื่อเป็นแบบนี้ก็ต้องดำเนินการต่างๆ ตามที่กฤษฎีกาตีความ แต่การดำเนินการให้ถูกต้อง ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องกำหนดให้รัฐเอาเปรียบบริษัทเอกชนไว้ก่อน เพราะหากบริษัทเอกชนมีการแข่งขันจนไม่สามารถอยู่รอดได้ก็ไม่มีใครสามารถช่วยเหลือได้
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการตีความของกฤษฎีกาส่งผลให้เรื่องดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องพิจารณาร่วมกันอีกว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
ธนา เธียรอัจฉริยะ
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มพาณิชย์ ดีแทค
การที่รัฐบาลรื้อสัญญา และกล่าวหาว่าบริษัทเอกชนผิด กอบโกยกำไรเพียงอย่างเดียวนั้น ถือว่าไม่ถูกต้องนัก เพราะในอดีตดีแทคและเอไอเอสซึ่งได้รับสัมปทานให้เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเพียง 2 ราย ในสมัยนั้นเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์มือถือราคาเครื่องละ 2-3 แสนบาท กว่าจะสามารถสร้างฐานลูกค้าและสร้างกำไรได้ก็ต้องใช้ระยะเวลานาน จนกระทั่งมีการเปิดเสรีให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้าสู่ตลาดได้ และมีการลงทุนขยายบริการอย่างครอบคลุม แต่เมื่อผู้ประกอบการทุกรายก้าวหน้า ก็บอกว่าเซ็นสัญญาไม่ครบ กระทำผิด ทั้งที่ในรายละเอียดมีที่มาที่ไปอยู่ บางทีการฟังคนพูดเพียง 2-3 คน คงไม่ได้ เพราะต้องพิจารณาที่มาที่ไปของการทำสัญญาประกอบด้วย
ขณะเดียวกันก็เห็นว่าการดำเนินงานของ 3 เสาหลัก คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงส่งให้ผู้ประกอบการเอกชนไม่รู้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหน เช่น กระทรวงไอซีที ซึ่งไม่มีอำนาจในการกำกับดูแล แต่ชอบออกมาพูดในเรื่องต่างๆ ในขณะที่ กทช.ซึ่งมีอำนาจเต็มที่แต่กลับไม่ยอมออกมาพูดอะไร ซึ่งจะเห็นได้จากเรื่องของการจัดตั้งเทเลคอมพูล
นอกจากการตรวจสอบสัญญาสัมปทานของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแล้ว ยังต้องการให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาสัญญาอื่นๆ ที่ภาครัฐทำร่วมกับบริษัทเอกชนด้วย เพราะจากการพิจารณาในเบื้องต้น ยังมีสัญญาที่เข้าข่ายในลักษณะเดียวกันกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออีกประมาณ 70 ราย เช่น สัญญาระหว่างบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอทีไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด หรือฮัทช์ กับ กสท เป็นต้น
ศุภชัย เจียรวนนท์
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรู คอร์ปอเรชั่น
บริษัทยินดีที่จะเจรจาเพื่อให้สัญญาสัมปทานเป็นไปอย่างถูกต้องตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน และหวังว่าการแก้ไขในครั้งนี้จะไม่ส่งผลให้ ทรูมูฟ จะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากไปกว่าเดิม เพราะหากเป็นแบบนั้นก็จะสามารถแข่งขันได้ลำบาก ขณะเดียวกันก็เห็นว่าหากเรื่องดังกล่าวไม่ได้ข้อสรุปโดยเร็ว จะมีผลกระทบกับบริษัทแน่นอน แต่ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะเป็นในรูปแบบใด แต่ยืนยันว่าการให้บริการจะไม่หยุดชะงัก เพราะสามารถดำเนินการในสิ่งที่ทำอยู่แล้วต่อไปได้ แต่ที่เป็นปัญหา คือเรื่องใหม่ ซึ่งอาจจะต้องหยุดดำเนินการจนกว่าจะได้ข้อสรุป และต้องการฝากผู้ที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะการดำเนินงานในขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนการผ่าตัด เมื่อผ่าออกแล้วก็ต้องรีบรักษา และเย็บกลับคืน หากไม่รีบก็อาจจะป่วยหนักมากกว่าเดิมก็ได้
ทั้งนี้ เห็นว่าการตีความของกฤษฎีกาไม่ใช่การตัดสินว่าขาวหรือดำ แต่เป็นเรื่องที่รัฐมีอำนาจที่จะสามารถเข้าไปพิจารณาตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ไม่ใช่กิจการที่แตะต้องไม่ได้อย่างที่หลายคนคิด แต่ก็ต้องพิจารณาถึงการดำเนินการด้วยว่าเป็นในรูปแบบใด หากดำเนินการเพื่อสร้างสรรค์ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเป็นการหักร้างก็จะเกิดผลเสียขึ้นในกิจการโทรคมนาคมในประเทศอย่างแน่นอน
มติชนวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 106
ais เล่นกันมาเมื่อสัปดาห์ก่อน inside ข่าวนี้ป่าวเนี่ย ...ฮึฮึ