หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Warren Buffett 2 (Eddie Lampert)

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 28, 2007 4:45 pm
โดย Onokung
ขออนุญาตรวบรวม นักลงทุนที่มีคนจำกัดความว่าเป็น"นักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลก" ,หรือเป็น "วอร์เรนบัปเฟต 2"

รูปภาพ

การศึกษา - จบเศรษฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัย เยล   เริ่มสนใจเรื่องหุ้นตั้งแต่อายุ  9 ขวบ โดยเรียนทางอ้อมจากคุณยายผู้ชื่นชอบหุ้นโค๊กเพราะให้ปันผลดี

ปัจจัยหนุนให้อยากประสบความสำเร็จทางการเงิน - เชื่อว่าเกิดจากเหตุการณ์ที่พ่อเขาเสียชีวิตขณะอายุแค่ 47 ปีด้วยโรคหัวใจ ในช่วงที่เขาอายุแค่ 14 ปี ทำให้ต้องช่วยแม่ทำงานพยุงครอบครัวให้อยู่รอด

ต้นแบบการลงทุน - เขาศึกษาบทเขียนทุกๆชิ้นของวอร์เรน บัฟเฟตต์อย่างละเอียดละอออยู่หลายปี  วิเคราะห์การลงทุนที่บัฟเฟตต์ทำในอดีต แบบ reverse engineering (ชำแหละเจาะลึกแบบถอดหลังกลับ) เช่น การลงทุนในบริษัทประกันภัย GIECO

วิธีการลงทุน - ไม่ได้ลอกเลียนจากบัฟเฟตต์มาทั้งดุ้นแต่อย่างใด   ขณะที่วอร็เรน อาศัย Berkshire Hat้haway เป็นแหล่งป้อนกระสุนเงินสดสำหรับใช้ในการลงทุน   แต่ Eddie ใช้ Kmart ซึ่งเป็นห้างสรพสินค้าที่เคยล้มละลายมาเป็นแหล่งป้อนเงินสดสำหรับใช้ในการลงทุน   คนในวงการมองว่าเขาคือ วอร์เรน บัฟเฟตต์คนต่อไป
ภายใต้สภาวะการเมืองที่กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกับสถานการณ์การรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเช่นนี้ คงจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ในครั้งนี้ความรุนแรงคงไม่เหมือนอย่างช่วงพฤษภาทมิฬ เพราะไม่มีการเสียเลือดเนื้อเหมือนในครั้งนั้น


อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่คงพยายามหาทางบรรเทาความรุนแรงจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ และรอดูสถานการณ์กันว่าแนวทางที่คณะปฏิรูปฯ จะดำเนินการต่อไปนั้นจะเป็นไปในทางใด และจะส่งผลต่อมุมมองของนักลงทุนทั้งใน และต่างประเทศอย่างไร

เพื่อลดความตึงเครียดดังกล่าว ผมเลยดึงข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจมาพูดคุยแทน เป็นเรื่องของนักลงทุนที่ถูกยกให้เป็นมือวางอันดับหนึ่งของโลก

เมื่อพูดถึงชื่อ วอเรน บัฟเฟตต์ คิดว่าทุกคนคงคุ้นเคยกับชื่อนี้แน่นอน เพราะชายคนนี้คือ กูรูแห่งวงการการลงทุน ซึ่งมีผลงานให้ทุกคนได้ประจักษ์แล้วด้วยตำแหน่งบุคคลที่รวยที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากบิล เกตส์ ด้วยทรัพย์สินที่มีหลายหมื่นล้านดอลลาร์

แนวทางในการลงทุนที่ทำให้บัฟเฟตต์ก้าวข้ามฐานะทางการเงินที่เหนือมนุษย์นี้ ก็คือ การลงทุนแบบ Value Investor ที่อธิบายสั้นๆ ได้ว่า การเลือกลงทุนในบริษัทที่มีพื้นฐานดี มีแนวโน้มในอนาคตที่ดี อยู่ในธุรกิจที่ยังสามารถเติบโตและสร้างกำไรได้ แต่ราคาหุ้นยังต่ำอยู่

นอกจากคุณตาบัฟเฟตต์แล้ว ยังมีนักลงทุนมือฉมังอีกคนหนึ่งที่นักลงทุนชาวไทยอาจไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน ชื่อของเขาก็คือ เอ็ดดี้ แลมเพิร์ท (Eddie Lampert) เจ้าของ Hedge Fund ชื่อ ESL Investment ที่มีขนาดสินทรัพย์กว่า 15,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 5 ล้านล้านบาท (ใหญ่พอที่จะซื้อบริษัททั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้) ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทชื่อดังและมีพื้นฐานดีหลายบริษัท หนึ่งในนั้นก็คือ Sears และ Kmart ห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ในอเมริกาซึ่งเป็นคู่แข่งของวอล-มาร์ท

ชายวัย 42 คนนี้ เพิ่งได้รับการขนานนามจากนิตยสารฟอร์จูน ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่าเป็น The best investor of his generation หรือนักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลก เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลที่มีอายุเท่ากัน และถึงขนาดเปรียบเทียบว่าเก่งยิ่งกว่าวอเรน บัฟเฟตต์ในวัยเดียวกันเสียอีก เพราะบัฟเฟตต์เองก็เพิ่งมีความมั่งคั่งอย่างมหาศาลตอนแก่และ

ชื่อเสียงของแลมเพิร์ทโด่งดังจนทำให้เคยโดนจับตัวไปเรียกค่าไถ่กว่า 5 ล้านดอลลาร์ ในวันก่อนหน้าการประชุมปรับโครงสร้างหนี้ของ Kmart แต่สุดท้ายก็ถูกปล่อยตัว เพราะคนร้ายแสนซื่อบื่อ ดันเอาบัตรเครดิตของแลมเพิร์ทไปซื้อพิซซ่าและกลัวโดนตำรวจจับได้ จึงปล่อยตัวเขาออกมา

แลมเพิร์ทเรียกรูปแบบการลงทุนของตนว่าเป็น Value Investor เช่นกัน โดยนิยามคำนี้ว่า เป็นการลงทุนในบริษัทที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง แต่มีแนวคิดที่แตกต่างจากบัฟเฟตต์ คือ จะเลือกซื้อบริษัทที่อยู่ในช่วงแย่ แต่มีรูปแบบธุรกิจและแนวโน้มในอนาคตที่ดี ในขณะที่บัฟเฟตต์จะลงทุนในบริษัทที่ดีมาก และต้องเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้น เช่น เลือกลงทุนใน Wallmart แทนที่จะมาปลุกปั้นบริษัทใกล้เจ้งอย่าง Kmart โดยแลมเพิร์ทจะไม่ลงทุนแบบ Trading หรือกระจายการลงทุนใน Derivative หรือลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยนเหมือนกองทุน Hedge Fund อื่นๆ เลย นอกจากนี้ยังให้นักลงทุนที่มาลงทุนผ่านกองทุน ESL ต้องยืนยันที่จะลงทุนอย่างน้อย 5 ปีด้วย

แลมเพิร์ทเริ่มตั้ง ESL Investment ในปี 2541 (ซึ่งเป็นช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียมาหมาดๆ) ด้วยวัยเพียง 27 ปี โดยมีนักลงทุนชื่อดังหลายคนเป็นลูกค้า เช่น Michale Dale ผู้ก่อตั้งเดลคอมพิวเตอร์ และ David Geffen เจ้าพ่อแห่งสื่อในอเมริกา ที่กล้าลงทุนกว่า 200 ล้านดอลลาร์ กับแลมเพิร์ทซึ่งขณะนั้นอายุเพียง 29 ปี โดยในช่วงแรกๆ แลมเพิร์ทเริ่มลงทุนใน IBM ซึ่งสร้างผลตอบแทนกว่า 4 เท่า ภายในเวลา 4 ปี หลังจากนั้นก็เริ่มลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจรถยนต์ ได้แก่ บริษัท Auto-Zone และ AutoNation และเมื่อ 2 ปีก่อน แลมเพิร์ทได้มองเห็นโอกาสที่หลบซ่อนอยู่ภายใต้หนี้สินมหาศาลของ Kmart และได้เริ่มเข้าไปซื้อหุ้นตั้งแต่เวลานั้น

ตลอดระยะเวลา 18 ปีที่ลงทุนมา กองทุน ESL Investment ที่มีพนักงานเพียง 20 คนของแลมเพิร์ทมีผลตอบแทนจากการลงทุนโดยเฉลี่ยกว่าร้อยละ 30 ต่อปี ตัวเลขนี้ดีกว่าผลตอบแทนร้อยละ 20 ต่อปีของบัฟเฟตต์ที่ลงทุนในบริษัท Berkshire Hataway

แค่ผลตอบแทนจากการลงทุนใน Kmart บริษัทเดียวที่แลมเพิร์ทเริ่มลงทุนในปี 2547 และเข้าไปปรับปรุงการบริหารงาน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ได้ในปีนั้นปีเดียว ก็มีมูลค่าอย่างมหาศาลถึงร้อยละ 300 แล้ว โดยมูลค่าของหุ้น Kmart ที่ ESL ถืออยู่เพิ่มขึ้นจาก 1,300 ล้านดอลลาร์ เป็น 5,400 ล้านดอลลาร์ ภายในเวลาเพียงปีเดียว และทำให้ในปีนั้น ESL รายงานผลการดำเนินงานที่มีรายได้กว่า 1 พันล้านดอลลาร์

จะว่าไปแล้วรูปแบบการลงทุนของแลมเพิร์ท ก็คล้ายกับแนวคิดของนักลงทุนขาใหญ่ในประเทศไทยหลายคน ที่สนใจเข้าไปซื้อบริษัทในกลุ่ม Rehabco ในตลาดหลักทรัพย์ เพราะบริษัทเหล่านี้มีปัญหาทางด้านการเงิน และมีมูลค่าที่ค่อนข้างถูก เพียงแต่เป้าหมายของนักลงทุนบางคนอาจแตกต่างกันไป

บางรายก็ต้องการลงทุนจริงๆ โดยต้องการซื้อแบรนด์ของบริษัทเพื่อนำมาบริหารต่อ บางรายก็ต้องการเพียงซื้อสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียน หรือการซื้อ Shell และขายธุรกิจเก่าออกไป เพื่อนำธุรกิจใหม่เข้ามาใส่แทน จะได้ไม่ต้องผ่านกระบวนการยื่นไฟลิ่งต่อ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์

วิธีการแบบหลังนี้เรียกกันทั่วไปว่าการทำ Backdoor Listing ตัวอย่างที่เห็นได้ก็คือกรณีของ บมจ. ดราก้อนวัน (D1) ที่เพิ่งจุดประกายการซื้อ Shell ของบริษัทจดทะเบียนอย่างเปิดเผยไปเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ เล่นเอาตลาดหลักทรัพย์เองก็งงไประยะหนึ่ง และเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ก็มีข่าวการประกาศเพิ่มทุนกว่า 2,600 ล้านบาท ของ บมจ.ซีฮอร์ส เพื่อนำเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่น ซึ่งก็เข้าข่ายการทำ Backdoor Listing ด้วยเช่นกัน

เส้นทางความสำเร็จของทั้งบัฟเฟตต์ และแลมเพิร์ท อาจไม่ใช่วิถีที่นักลงทุนรายย่อยจะทำได้ง่ายนัก เพราะการจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และบริหารบริษัท หมายถึงจำนวนเงินก้อนโตที่ต้องมีเพื่อการเข้าไปมีที่นั่งในบอร์ด

ดังนั้นแนวทางตามแบบฉบับของนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองคนนั้น อาจเหมาะสำหรับผู้มีเงินเป็นจำนวนมากหรือกองทุนขนาดใหญ่ แต่ก็ใช่ว่านักลงทุนรายย่อยจะหมดโอกาสในการหาบริษัทที่จะสามารถให้ผลตอบแทนดี และมีความเสี่ยงน้อยได้

เพราะ Value Investor ก็สามารถลงทุนในฐานะผู้ถือหุ้นส่วนน้อยได้ แม้จะไม่มีปากมีเสียงมากนักในการบริหาร เพียงแต่คงต้องพึ่งความสามารถผู้บริหารของบริษัทที่จะเข้าไปลงทุนนั้นๆ ด้วย
http://www.doohoon.com/smf/index.php?PH ... _replies=0

หมายเหตุ - ผมว่าตัวเลขปีการเริ่มลงทุนของ เอ็ดดี้ใน เนื้อหานี้น่าจะผิดไปจาก "แลมเพิร์ทเริ่มตั้ง ESL Investment ในปี 2541 (ซึ่งเป็นช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียมาหมาดๆ) ด้วยวัยเพียง 27 ปี"

-จริงๆ แล้วแลมเพิร์ด เริ่มต้นที่ปี 1988 มีผลตอบแทนใกล้เคียง 30 % ตลอด 19-20 ปีที่ผ่านมา ลบด้วยค่าธรรมเนียมแล้ว แต่ว่า การลงทุน ทาง ESL Investment ต้องให้ผู้ลงทุนลงทุนเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี ห้ามถอนก่อน
-ในขณะที่ตัวเลขผลตอบแทนของวอร์เรน จนถึงปัจจุบัน อยู่ที่ 23-25 % ตั้งแต่ปี 1965  
-ในขณะที่ตัวเลขของพนักงานของ ESL Investment บางเว็บ ว่ามี 12 คน บางเว็บมี 15 คน
-ครั้งนึง เอ็ดดี้ เคยรวมรวมคำถามใส่โนต๊ แล้วขอพบ วอร์เรน ทั้งสองคุยกัน นาน 90 นาทีแต่ว่าไม่มีรายละเอียดการพูดคุยครั้งนั้น
 -ปี 2006 นิตยาสาร ฟอร์บ จัดให้ เอ็ดดี้ แลมเพิร์ด อยู่ในอันดับความร่ำรวยที่ 67 ของ ประเทศ อเมริกา
 
โปรไฟล์ของ เอ็ดดี้แลมเพิร์ด

โค้ด: เลือกทั้งหมด

Eddie Lampert
AKA Edward S. Lampert

Born: 19-Jul-1962
Birthplace: Roslyn, NY


Gender: Male
Race or Ethnicity: White
Sexual orientation: Straight
Occupation: Business

Nationality: United States
Executive summary: Billionaire, Chairman of Sears

While at Yale, worked as a research assistant for Nobel laureate James Tobin, 1981-84. After four years at Goldman Sachs, Lampert quit and spent some time in Texas, where Fort Worth investor Richard Rainwater provided some of the seed money for Lampert's ESL Investments. Net worth $3.5B in 2005 (Forbes).

Father: Floyd Lampert (attorney, d. 1976 heart attack, age 47)
Mother: Dolores Lampert
Sister: Tracey (younger)
Wife: Kinga (former corporate lawyer, b. 1973, m. 2001, three children)
Son: (b. 2002)


    University: BA Economics, Yale University (1984)


    ESL Investments Chairman & CEO (1988-)
    Goldman Sachs Risk arbitrage (1984-88)
    Member of the Board of Sears Roebuck Chairman (2005-)
    Member of the Board of K-Mart Chairman (2003-05)
    Member of the Board of AutoNation (2002-07)
    Member of the Board of AutoZone (1999-2006)
    Skull and Bones Society 
    Phi Beta Kappa Society President of his class
    Kidnapped (10-Jan-2003 for two days)
หนังสือแนวการลงทุนของ แลมเพิร์ด
รูปภาพ
How Billionaire Financier Eddie Lampert Turned $28 Million into $10 Billion
Learn the investing secrets and individual stocks that this financial genius has used to become one of the richest individuals in the world.

Back in 1988 at the young age of 26, Eddie Lampert left a high-ranking job at prestigious investment banking firm Goldman Sachs to begin his own hedge fund. What started with a modest sum of $28 million has quickly turned into one of the largest hedge funds on the planet, with total assets of over $10 billion.  In the process, Lampert has gained incredible fame and fortune by engineering some of the largest takeovers in American corporate history.

In this special report we'll show you how Eddie Lampert has managed to deliver average annual gains of +29% for his investors.  We'll also tell you how you can go along for the ride by investing in some of the same stocks Lampert is adding to his portfolio right now.
ลิ้งที่เกี่ยวข้อง
http://www.businessweek.com/magazine/co ... _mz001.htm
http://money.cnn.com/2006/02/03/news/co ... /index.htm
http://www.streetauthority.com/eddie-lampert.asp
http://www.forbes.com/lists/2006/54/biz ... _22YS.html
รูปภาพ



:?  :?  :?

Warren Buffett 2 (Eddie Lampert)

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 28, 2007 4:54 pm
โดย Onokung
อีกนิดกับ เคมาร์ท เป็นห้างสรรพสินค้า คล้าย วอลมาร์ท เป็นห้างสรรพสินค้าอันดับ 3 ช่วงทีเอ็ดดี้ เข้าไปเก็บหุ้นเคมาร์ท จนกระทั่งเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่และเป็นแหล่งป้อนเงินของ อีพีแอล อินเวสเม้น นั่นนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า เคมาร์ทไม่น่าจะรอดเนื่องจากภาวะขาดทุน แต่ว่า ภายหลังจากที่ อีพีแอล เข้าไปบริหาร เอ็ดดี้ ลดขนาดของ เคมาร์ทลง และ ขายสาขาที่ไม่ได้กำไรออกไป จัดการ รีเอ็นจิเนียริ่ง เคมาร์ทใหม่ และในที่สุดกระแสเงินสดของเคมาร์ทก็เป็นบวก ซึ่ง เอ็ดดี้ ให้แนวคิดว่า ตอนที่ซื้อเคมาร์ท ราคาขนาดนั้นคุ้มค่ากับความเสี่ยง และ ขนาดและจำนวนสาขาของเคมาร์ทไม่สำคัญเท่ากระแสเงินสด

หมายเหตุ - อันนี้ผมไปยืนอ่านที่ร้านหนังสือ(ขาประจำ)ชื่ออะไรไม่รู้ครับ จำไม่ได้  :lovl:  :lovl:  :lovl:

Warren Buffett 2 (Eddie Lampert)

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 28, 2007 6:20 pm
โดย Onokung
ส่วนช่วงตรงนี้

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ชื่อเสียงของแลมเพิร์ทโด่งดังจนทำให้เคยโดนจับตัวไปเรียกค่าไถ่กว่า 5 ล้านดอลลาร์ ในวันก่อนหน้าการประชุมปรับโครงสร้างหนี้ของ Kmart แต่สุดท้ายก็ถูกปล่อยตัว เพราะคนร้ายแสนซื่อบื่อ ดันเอาบัตรเครดิตของแลมเพิร์ทไปซื้อพิซซ่าและกลัวโดนตำรวจจับได้ จึงปล่อยตัวเขาออกมา 
บ้างก็ว่า เอ็ดดี้ นั้นมีทักษะการเจรจาต่อรองกับผู้ที่จับตัวเองเรียกค่าไถ่ และ ยอมเสียเงิน หลายหมื่นดอลล่า และพูดเจรจาจนกระทั่งคนร้ายปล่อยตัว  และถูกตำรวจตามรวบตัวภายหลัง