หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Quick Ratio สำคัญไฉน??

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 31, 2007 1:20 pm
โดย energizer
เรียนถามท่านพี่น้องทั้งหลายว่า หากเจอบริษัทดีๆบริษัทหนึ่งที่สามารถทำกำไรและสร้างกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นได้ทุกปี ไม่มีหนี้ระยะยาว มีแต่หนี้สินระยะสั้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้า ในส่วนของสินทรัพย์ชั่วคราวมีมากพอที่จะสามารถใช้ชำระหนี้สินทั้งหมดได้โดยไม่ต้องขายสินทรัพย์ถาวรเลย หากแต่ในส่วนของสินทรัพย์ชั่วคราวนั้นประกอบไปด้วยสินค้าคงคลังเป็นส่วนใหญ่ซึ่งสินค้าเกือบทั้งหมดเป็น สินค้าสำเร็จ(Finished Goods) ไม่ใช่ Raw Material เวลาหา Current Ratio ก็ดูดี แต่ส่วน Quick Ratio นั้นต่ำกว่า 1 ด้วยเหตุผลเรื่อง สินค้าคงคลังที่ว่านี้ แล้วอยากทราบความเห็นพี่น้องว่า จะลงทุนในบริษัทนี้ที่มีความเสี่ยงเรื่อง liquidity ไหมครับ :?:

Quick Ratio สำคัญไฉน??

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 31, 2007 5:52 pm
โดย adisornboonsong
สินค้าคงคลังส่วนที่เป็น Finish goods ถ้ามีมาก ต้องดูรายละเอียดประกอบท้ายงบการเงิน ดูก็ดีนะครับ  ว่าสินค้าสำเร็จรูปคงคลังที่เหลือมากๆ  นี่เกิดจากอะไร  เพราะในบางธุรกิจ  ผมมองว่า  สินค้า ไม่สามารถ Plan ได้ ตายตัว ต้องมีส่วนที่เกินจากการผลิต  ซึ่งถ้าเป็นสินค้าที่ทำเป็น job ก็แน่นอนว่า นานกว่าจะมีลูกค้ารายเดิมหรือรายอื่นๆ ที่สนใจในสินค้าตัวนี้  มาซื้อ  ซึ่งเป็นผลให้สินค้าคงเหลือดูมากกว่าปกติ  ซึ่งผมมองว่าไม่เป็นความเสี่ยงอ่ะครับ  เพราะราคาของสินค้าก็ได้รวมเป็นต้นทุนผลิตไปแล้ว  ส่วนต่างก็แค่เป็นส่วนที่ไม่ได้กำไรเท่านั้นเอง  

ส่วนถ้าสินค้าตัวนี้  เกิดจากการไม่เป็นที่ต้องการของตลาด หรือ สินค้าล้าสมัย  ตรงนี้ถึงจะน่าสนครับ  เพราะว่าจะกระทบกับผลประกอบการของบริษัทโดยตรง  ตรงนี้คงต้องติดตามข่าวสารเอาอ่ะครับ  ว่า  มีเรื่องที่ไม่ดีของสินค้าหรือป่าว  ทำให้สินค้าไม่เป็นที่ต้องการของตลาดอ่ะครับ  

สรุป  ผมมองว่าความเสี่ยงแค่นี้พอรับได้นะ  ถ้าเทียบกับ  กระแสเงินสด ที่คุณว่ามาอ่ะครับ  แล้วก็สภาพคล่องก็ดีด้วย

ปล. มือใหม่หัดวิเคราะห์  ฟังหูไว้หูนะงับ  :lol:

Quick Ratio สำคัญไฉน??

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 01, 2007 7:32 am
โดย Alastor
เรื่องสภาพคล่องต้องดูที่ Cash Cycle ด้วยครับ เป็นไปได้ว่าบริษัทขายสินค้าเป็นเงินสด เลยไม่ต้องมี ลูกหนี้การค้า ทำให้ หนึ่งในตัวตั้งของ Quick Ratio ((Cash + A/R + Inventory)/Current Liability) หายไป ค่า Quick Ratio เลยต่ำ ถ้าเป็นแบบนี้ลองคำนวณ Cash Cycle อาจจะออกมาติดลบก็ได้ แบบนี้ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องเงินสดเลยเพราะสามารถหาเงินได้ทันอยู่แล้ว

ว่าแต่เจ้าหุ้นดีๆแบบนี้ตัวไหนอ่ะ PM มากระซิบด้วยนะครับ :P

Quick Ratio สำคัญไฉน??

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 01, 2007 8:31 am
โดย ดาวหางสีแดง
Alastor เขียน:เรื่องสภาพคล่องต้องดูที่ Cash Cycle ด้วยครับ เป็นไปได้ว่าบริษัทขายสินค้าเป็นเงินสด เลยไม่ต้องมี ลูกหนี้การค้า ทำให้ หนึ่งในตัวตั้งของ Quick Ratio ((Cash + A/R + Inventory)/Current Liability) หายไป ค่า Quick Ratio เลยต่ำ ถ้าเป็นแบบนี้ลองคำนวณ Cash Cycle อาจจะออกมาติดลบก็ได้ แบบนี้ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องเงินสดเลยเพราะสามารถหาเงินได้ทันอยู่แล้ว

ว่าแต่เจ้าหุ้นดีๆแบบนี้ตัวไหนอ่ะ PM มากระซิบด้วยนะครับ :P
เครื่องหมายตรงข้างหน้า Inventory น่าจะเป็นเครื่องหมายลบครับ

Quick Ratio สำคัญไฉน??

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 01, 2007 9:14 am
โดย Alastor
:oops: sorry krub

Quixk Ratio = (Cash + A/R)/Current Liability

Quick Ratio สำคัญไฉน??

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 01, 2007 9:23 am
โดย ดาวหางสีแดง
คุณ energizer ลองเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วยก็ดีนะครับ

เพราะเป็นอย่างที่คุณ Alastor บอกคือมันขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจด้วย

ผมเองก็เบลอแฮะ
ปรกติผมใช้  quick ratio = (current asset - inventory)/(current liability)

Quick Ratio สำคัญไฉน??

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 01, 2007 12:35 pm
โดย chatchai
ถ้าจะพิจารณาเรื่องสภาพคล่อง  ลองสูตรนี้ซิครับ

กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน / หนี้สินทั้งหมด  หรือ

กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน / หนี้เงินกู้ยืมระยะสั้น

Quick Ratio สำคัญไฉน??

โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 05, 2007 9:54 pm
โดย Series7
มีอีกสูตรหนึ่งคะ ใช้วัดสภาพคล่องในการหมุนเวียนเงินสด หน่วยเป็น วัน คะ มาลองดูกันคะ

Cash           Inventory     Receivables   Payables
 conversion = conversion +   collection  -  deferral .
      cycle             period              period         period

นั้นก้อคือ

CCC = (365/inventory turnover) + DSO - ( AP/(COG/365))

Quick Ratio สำคัญไฉน??

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 15, 2007 10:27 pm
โดย Newbee
[quote="chatchai"]ถ้าจะพิจารณาเรื่องสภาพคล่อง

Quick Ratio สำคัญไฉน??

โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 20, 2007 9:43 am
โดย energizer
[quote="chatchai"]ถ้าจะพิจารณาเรื่องสภาพคล่อง